การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2310 ทฤษฎีองค์การ

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ

ข้อ 1. มีแนวคิดในยุคต่าง ๆ ที่ได้นําเสนอเกี่ยวกับค่านิยมในการบริหารในระบบราชการ จึงให้นักศึกษาอธิบายความหมายของระบบราชการ ข้าราชการ และแนวทางหรือหลักการของระบบราชการ มาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

ความหมายของระบบราชการ

คําว่า ระบบราชการ (Bureaucracy) นั้น ได้มีนักวิชาการให้ความหมายไว้หลากหลาย ซึ่ง หากพิจารณาตามช่วงเวลา เราสามารถแบ่งความหมายของระบบราชการได้เป็น 2 ช่วง คือ ในอดีตระบบราชการ ถูกมองว่าเป็นองค์การที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะของการบริหารจัดการที่มีความสลับซับซ้อนบนพื้นฐานของ หลักเหตุผล ความสัมพันธ์ของคนในองค์การอยู่ภายใต้บรรทัดฐานของความเป็นทางการ โดยมิได้มุ่งประเด็น ความเป็นภารกิจของรัฐหรือเอกชน ดังจะเห็นได้จากคํานิยามของ Weber บิดาของระบบราชการ ซึ่งมองว่า ระบบราชการเป็นองค์การที่มีการดําเนินงานที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎระเบียบที่ชัดเจนตายตัว และความสัมพันธ์ที่ คํานึงถึงสายการบังคับบัญชา ซึ่งแตกต่างจากมุมมองในยุคใหม่ที่มองว่า ระบบราชการเป็นองค์การที่บริหารงาน เพื่อเสริมสร้างประโยชน์แก่สาธารณะเป็นสําคัญ ซึ่งพยายามแสดงถึงเจตนารมณ์ของผู้บริหารองค์การระบบราชการ ที่สะท้อนการตอบสนองความต้องการของสาธารณะ และโดยมากมุ่งเป้าประสงค์ไปที่การผลิตสินค้าและบริการสาธารณะ

ความหมายของข้าราชการ นักวิชาการได้ให้ความหมายของข้าราชการไว้หลากหลาย ดังนี้

1 ข้าราชการ หมายถึง บุคคลที่ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีลักษณะของ การทํางานแบบถาวร และโดยมากมีสถานภาพเป็นพนักงานประจําหรือเป็นลูกจ้างทํางานเต็มเวลาของหน่วยงาน มีบทบาทในการใช้งบประมาณของแผ่นดิน เนื่องจากเป็นบุคคลที่ดําเนินงานในระบบราชการ

2 ข้าราชการ หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ได้รับการเลือกสรรให้บรรจุในตําแหน่งโดยระบบ คุณธรรม ซึ่งอาศัยสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคคลเป็นฐานสําคัญ และผลงานของบุคคลเหล่านี้ไม่สามารถ ประเมินค่าได้โดยตรงเหมือนกับการประเมินกําไรขาดทุนในทางเศรษฐศาสตร์ การสรรหาและคัดเลือกจะจัดให้มี การสอบแข่งขันและการสอบคัดเลือก

3 ข้าราชการ หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ต้องรับผิดชอบต่อการบริหารงานให้เป็นไปตาม นโยบายของฝ่ายการเมือง เป็นบุคคลที่ต้องรับผิดชอบต่อสาธารณะ มีอิสระในการตัดสินใจและใช้ทรัพยากร และเป็นบุคคลที่เสียสละเข้ามารับใช้ประชาชนเป็นอาชีพ

4 ข้าราชการ หมายถึง บุคคลที่ทํางานตามธรรมเนียมหรือปฏิบัติงานในส่วนของราชการ เป็นบุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการการเมือง ข้าราชการครู ข้าราชการอัยการ ข้าราชการตุลาการ เป็นต้น

แนวทางหรือหลักการของระบบราชการ

หากพิจารณาแนวคิดของนักคิดในยุคต่าง ๆ เกี่ยวกับค่านิยมของการบริหารในระบบราชการ สามารถสรุปแนวทางหรือหลักการของระบบราชการได้ดังนี้

1 หลักเหตุผล (Rationality) ระบบราชการที่มีสมรรถนะสูงจะต้องเป็นระบบราชการ ที่อาศัยหลักเหตุผลในการดําเนินการตัดสินใจ ซึ่งเป็นข้อสรุปที่สอดคล้องกันของนักคิดรัฐประศาสนศาสตร์ตั้งแต่ ยุคคลาสสิกจนถึงยุคสมัยใหม่ เนื่องจากนักคิดส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าการบริหารงานในภาครัฐเป็นเรื่องที่มี ความสลับซับซ้อน ดังนั้นการจะแก้ปัญหาในการบริหารได้จําเป็นจะต้องอาศัยหลักเหตุผล เช่น ข้อเสนอของ Taylor ซึ่งได้พยายามที่จะนําเอาหลักวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน โดยเชื่อว่าหลักวิทยาศาสตร์ จะสามารถสร้างการบริหารงานที่มีเหตุผลจนนําไปสู่การบรรลุประสิทธิผลขององค์การได้ หรือผลงานของ Weber ได้นําเสนอการใช้หลักเหตุผลในการบริหารงานในองค์การขนาดใหญ่ เช่น การบริหารงานที่คํานึงถึงกฎระเบียบ แบบแผนที่ชัดเจนตายตัว การบริหารงานที่คํานึงถึงความสัมพันธ์ที่เป็นทางการตามที่ระบุไว้ในสายการบังคับบัญชา เป็นต้น แม้แต่แนวคิดการบริหารงานในยุคปัจจุบันก็ยังให้ความสําคัญกับการบริหารงานตามหลักเหตุผล เช่น การนําเสนอหลักการตัดสินใจที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การวิเคราะห์แบบเป็นระบบ หรือการบริหารงาน ที่อาศัยคณิตศาสตร์ เป็นต้น

2 หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) การบริหารงานที่ต้องคํานึงถึงหลักประสิทธิภาพ ได้แก่ การมีสมรรถนะ (Competence) การเพิ่มผลผลิต (Productivity) การมีสมรรถภาพ (Capable) หรือ การบริหารงานที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย แรงงาน หรือวัสดุอุปกรณ์ให้น้อยที่สุด ถือเป็นหลักการที่สําคัญในการ บริหารงานในระบบราชการ ด้วยเหตุนี้แนวคิดการบริหารงานของนักคิดในยุคต่าง ๆ จึงพยายามคิดค้นแนวทาง เพื่อทําให้เกิดบระสิทธิภาพในการบริหารงานไม่ว่าจะเป็นแนวคิดของนักคิดยุคคลาสสิกที่นําเสนอให้มีการแบ่งงาน กันทําตามความถนัด การสร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงานโดยจายค่าตอบแทนเป็นรายชิ้น แนวคิดของนักคิดยุคสมัยใหม่ ที่นําเสนอการจูงใจโดยคํานึงถึงคุณค่าทางจิตใจ หรือแนวคิดของนักคิดในยุคปัจจุบันที่นําเสนอการบริหารงาน ภายใต้ระบบประกันคุณภาพ ได้แก่ ISO 9000, 9001, 9002 และ PSO รวมทั้งการบริหารงานโดยการควบคุมคุณภาพแบบครบวงจร (TQM) เป็นต้น

3 ยึดหลักการในการปฏิบัติงาน (Principle Mindedness) ระบบราชการที่มี ประสิทธิภาพและคํานึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมจะต้องบริหารงานโดยอาศัยหลักกฎหมาย เพื่อให้ ความเสมอภาคแก่บุคคลทั่วไป โดยไม่คํานึงถึงเรื่องส่วนตัว ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอของ Weber มองว่า การบริหาร ราชการในประเทศที่พัฒนาแล้ว ข้าราชการจะยึดหลัก Principle Mindedness กล่าวคือ จะละทิ้งเรื่องส่วนตัว สนใจเรื่องส่วนรวม ซึ่งตรงกันข้ามกับการบริหารราชการในประเทศกําลังพัฒนาที่มักมีการเลือกใช้กฎหมาย และข้าราชการคํานึงถึงเรื่องส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม

4 หลักการมีส่วนร่วมในการบริหาร (Participation) หลักการนี้ถือเป็นความแตกต่าง ที่ชัดเจนของแนวคิดการบริหารราชการของนักคิดในอดีตและปัจจุบัน กล่าวคือ นักคิดในยุคคลาสสิกมุ่งเน้นการ แบ่งงานกันทําและการเคร่งครัดกับการทํางานที่ยึดติดกับสายการบังคับบัญชาจึงส่งผลให้การบริหารงานในองค์การ มีลักษณะของการรวมอํานาจ แต่นักคิดในยุคปัจจุบันให้ความสําคัญกับความเป็นประชาธิปไตยจึงส่งผลให้แนวคิด การบริหารงานอยู่บนพื้นฐานของการกระจายอํานาจและเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน

5 หลักผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) ถือเป็นองค์ประกอบสําคัญที่ช่วยให้ การบริหารในระบบราชการมีความชอบธรรมและได้รับการสนับสนุนจากสังคม ในอดีตนักคิดในยุคคลาสสิก ไม่ค่อยให้ความสนใจกับเรื่องของผลประโยชน์สาธารณะ แต่กลุ่มนักคิดสมัยใหม่กลับพยายามนําเสนอการบริหาร ที่คํานึงถึงผลประโยชน์สาธารณะ และการบริหารที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาของสังคม เช่น ข้อเสนอของ Ostrom เป็นการนําเสนอการบริหารแบบประชาธิปไตย คํานึงถึงการมีส่วนร่วมและผลประโยชน์สาธารณะ

6 หลักความเสมอภาคทางสังคม (Social Equity) เป็นแนวคิดที่ได้เสนอเพื่อช่วยเหลือ ประชาชนที่เสียเปรียบทางสังคม โดยเห็นว่าประชาชนในประเทศควรมีโอกาสเท่าเทียมกัน ตามหลักการดังกล่าว เป็นการเปิดโอกาสให้คนที่เสียเปรียบมีโอกาสมากขึ้น ส่งผลให้สังคมน่าอยู่ และเป็นการคํานึงถึงคนส่วนน้อย ซึ่ง สอดคล้องกับข้อสังเกตของนักคิดสมัยใหม่ เช่น Rehfuss และ Shick ที่เสนอให้การบริหารงานในภาครัฐมุ่งเน้น การสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม

 

ข้อ 2 ให้นําเสนอแนวคิดทฤษฎีของนักคิดยุคพฤติกรรมศาสตร์มา 2 แนวคิดโดยละเอียด

แนวคําตอบ

นักคิดยุคพฤติกรรมศาสตร์ เป็นกลุ่มที่ทําการศึกษาพฤติกรรมในองค์การ คือ ศึกษาเรื่องของ การกระทําและการแสดงออกของมนุษย์ในองค์การทั้งในระดับบุคคลและกลุ่มบุคคล ตัวอย่างของนักคิด ยุคพฤติกรรมศาสตร์ที่สําคัญ ได้แก่ Hugo Munsterberg, Elton Mayo, Abraham Maslow, Clayton Alderfer, Douglas Murray McGregor, Frederick Herzberg, David McClelland, Victor H. Vroom, J. Stacy Adams เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะนําเสนอแนวคิดทฤษฎีของนักคิดยุคพฤติกรรมศาสตร์ 2 แนวคิด ดังนี้

1 Elton Mayo

Mayo เป็นหัวหน้า Department of Industrial Relations Research ของบัณฑิตมหาวิทยาลัย ด้านการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ร่วมกับ J.F. Roethlisberger ทําการทดลองเกี่ยวกับการทํางาน ของพนักงานภายใต้การทดลองชื่อ “Hawthorne Experiment” ซึ่งประกอบด้วยโครงการดังนี้

1 The Illumination Study

2 The Relay Assembly Test Room Study

3 The Interviewing Programs

4 The Blank Writing Observation Room Study

ผลจากการทดลอง พบว่า

1 คนมีความต้องการทางสังคม ต้องการเพื่อน และต้องการให้ผู้อื่นได้รับรู้ในพฤติกรรม หรือความสําคัญของตน ในการทํางานทุกคนมีความสําคัญกับงานเท่าเทียมกัน ดังนั้นการให้ความสําคัญจึงควรมี การเปลี่ยนแปลง เช่น จากการควบคุมมาเป็นการปรึกษาหารือ การรวมอํานาจมาเป็นการกระจายอํานาจ การบริหารงานคนเดียวมาเป็นการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม เป็นต้น

2 กลุ่มจะมีอยู่ในทุกระดับขององค์การ บุคคลในองค์การยินยอมที่จะให้กลุ่มครอบงํา พฤติกรรมของกลุ่มจะมีความหมายมากกว่าพฤติกรรมของคน นักบริหารจึงหันมาสนใจพฤติกรรมของกลุ่มมากกว่าพฤติกรรมของคน เพราะการทํางานกับคนจํานวนมากเป็นเรื่องยาก ดังนั้นการบริหารที่จะทําให้งานที่ยากกลายเป็น งานที่ง่ายจึงต้องติดต่อกับกลุ่ม

3 พบความสําคัญขององค์การที่ไม่เป็นทางการ เพราะการทํางานตามรูปแบบองค์การ ที่เป็นทางการมักยึดติดกับกฎระเบียบ ข้อบังคับ ส่วนองค์การที่ไม่เป็นทางการจะทําให้การปฏิบัติงานรู้จักการ ผ่อนคลายความตึงเครียดในบางโอกาส

4 ผู้นํามี 2 ลักษณะ คือ ผู้นําที่ชอบออกคําสั่ง และผู้นําที่มีความเข้าใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาที่มีประสิทธิภาพ คือ ผู้บังคับบัญชาที่สามารถเร่งรัดงานจากผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ในขณะเดียวกัน ต้องทําความเข้าใจในความรู้สึกของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย

5 องค์การควรหารูปแบบที่มีความเหมาะสมในการส่งเสริมให้คนมีความเป็นอิสร วนรอ ในการปฏิบัติงาน และมีการจูงใจจากภายในองค์การ

การศึกษาที่ Hawthorne ของ Mayo ทําให้ Mayo เป็นนักคิดยุคพฤติกรรมศาสตร์คนแรกที่ ค้นพบเรื่องสําคัญว่าพฤติกรรมของมนุษย์ ในการทํางานนั้นมิได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์หรือการจูงใจ ทางด้านการเงินเพียงอย่างเดียว หากแต่ขึ้นอยู่กับความพอใจทางด้านจิตใจด้วย นอกจากนี้การศึกษาของ Mayo ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นที่มีความสําคัญในการศึกษาฤติกรรมของคนกับความสัมพันธ์ในงานที่ทํา การศึกษาครั้งนี้ จึงเป็นแนวความคิดที่ตรงกันข้ามกับการจัดการงบบวิทยาศาสตร์ เพราะการทํางานเป็นกลุ่มจะทําให้คนงาน มีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่จะทํางานร่วมกัน และทําให้ผลของงานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

2 Douglas  McGregor

McCregor เสนอขาษฎี X และทฤษฎี Y ไว้ในหนังสือชื่อ “The Human Side of Enterprise” โดยมีฐานคติในการอนในวง 2 แบบ คือ

1 กาะฎี X ถือว่า

– คนทั่วไปเกียจคร้าน ชอบเลี่ยงงาน

– ขาดความกระตือรือร้น ไม่มีความรับผิดชอบ

– เห็นแก่ตัวเพิกเฉยต่อความต้องการขององค์การ

2 ทฤษฎี Y ถือว่า

– คนชอบทํางาน ไม่ได้เกียจคร้าน

– การควบคุมภายนอกไม่ใช่วิถีทางที่จะได้มาซึ่งงาน คนสามารถที่จะหาแนวทางและควบคุมตนเองได้

– ความพึงพอใจที่ได้ปฏิบัติงานตามศักยภาพเป็นรางวัลที่มีความสําคัญที่จะทําให้คนมีความรู้สึกผูกพันกับองค์การ

– คนโดยทั่วไปจะเรียนรู้เพื่อแสวงหาความรับผิดชอบต่อไป

– คนส่วนใหญ่อาศัยภาวะสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาในองค์การ

ทฤษฎี Y คือ “ภาพพจน์ของคน” ในแนวมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งเชื่อว่าโดยธรรมชาติมนุษย์เป็นคนดี ดังนั้นคนจึงควรควบคุมตนเองได้ การควบคุมตนเองหมายถึงการปรับปรุงองค์การในเรื่องต่าง ๆ เช่น การกระจายอํานาจ การมอบอํานาจหน้าที่ การขยายงาน การมีส่วนร่วม และการบริหารงานโดยยึดเป้าหมาย จึงเห็นได้ว่าข้อเสนอ

– ปรับปรุงของ McGregor เป็นการย้ำให้เห็นความสําคัญของคน และช่วยให้คนหลุดพ้นจากการควบคุมของ องค์การ ซึ่งเป็น “มหลักของมนุษย์ที่เห็นว่าคนมาก่อนองค์การ

การมองคนในองค์การตามทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของ McGregor ช่วยให้เราแยกแยะคนได้ ทําให้เรารู้ว่าใครเป็นเพื่อนที่ดีหรือนายที่ดี ซึ่งการมองแบบนี้เรียกว่า “Polarization” แต่ในสภาพความเป็นจริง เราไม่สามารถบอกได้ว่าคนไหนเป็นประเภท X หรือประเภท Y แต่อาจจะบอกได้ว่าค่อนข้างไปทาง X หรือ Y มากกว่า ดังนั้นการมองคนเป็น Polarization จึงเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามก็ถือว่าทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีแรกที่ช่วย ทําให้สามารถจําแนกประเภทของคนได้

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การตามข้อเสนอของ Mintzberg ว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

แนวคําตอบ

Mintzberg ได้เสนอองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้

1 Strategic Apex คือ ผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการกําหนดกลยุทธ์ และนโยบาย หรือทิศทางขององค์การ

2 Middle Line คือ ผู้บริหารระดับกลาง มีหน้าที่คอยประสานระหว่างผู้บริหารระดับสูง กับผู้ปฏิบัติในระดับล่าง ซึ่งในปัจจุบันผู้บริหารระดับกลางถูกลดบทบาทลงและมีจํานวนน้อยลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะ ในองค์การภาคเอกชน แต่ในทางตรงข้ามองค์การภาครัฐกลับมีคนกลุ่มนี้จํานวนมาก

3 Operating Core คือ ผู้ปฏิบัติการในระดับล่างเป็นกลุ่มคนที่มีความสําคัญในกระบวนการ ผลิต โดยมีหน้าที่ในการผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายขององค์การ ซึ่งผู้ปฏิบัติการในระดับล่างนี้ถือเป็น ส่วนของโครงสร้างที่มีจํานวนมากที่สุดและมีโอกาสเปลี่ยนแปลงบ่อยที่สุดในองค์การ

4 Technostructure คือ ผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคนิคการดําเนินงานขององค์การ เช่น วิศวกร โปรแกรมเมอร์ นักบัญชี นักเทคนิคการแพทย์ นักวิจัยการตลาด เป็นต้น

5 Support Staff คือ ฝ่ายอํานวยการ มีหน้าที่อํานวยความสะดวกแก่ฝ่ายงานหลัก เช่น ฝ่ายบุคคล ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายธุรการ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น

ทั้งนี้ Mintzberg ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า ส่วนที่จัดว่าเป็นส่วนของ “สายงานหลัก” ขององค์การ จะประกอบไปด้วยส่วนที่ 1, 2 และ 3 เท่านั้น ในส่วนที่ 4 และ 5 เป็นเพียง “ฝ่ายสนับสนุน” ไม่มีบทบาทตาม สายการบังคับบัญชาชัดเจน ซึ่งบางองค์การอาจใช้บุคคลภายนอกมาปฏิบัติงานในส่วนนี้ได้

 

ข้อ 4 จงอธิบายเปรียบเทียบแนวความคิดเกี่ยวกับการจูงใจมาอย่างน้อย 2 แนวคิดโดยละเอียด

แนวคําตอบ

การจูงใจ (Motivation) หมายถึง การสร้างแรงปรารถนาในตัวคนให้กระทําบางสิ่งบางอย่าง เพื่อให้การกระทํานั้นเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของปัจเจกบุคคล หรือหมายถึงความสามารถในการชักจูง ให้บางคนเกิดความคล้อยตาม ซึ่งนักคิดกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์มองว่า การจูงใจถือเป็นปัจจัยตัวหนึ่งที่มีผลต่อ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การนอกเหนือจากค่านิยม ทัศนคติ บุคลิก มุมมอง การเรียนรู้ และเป็นปัจจัยที่มีส่วนสําคัญต่อการเกิดผลสําเร็จของงาน โดยแนวคิดการจูงใจนี้ได้รับความสนใจจากนักคิด กลุ่มพฤติกรรมศาสตร์หลายท่าน เช่น Abraham Maslow, Clayton Alderfer, Douglas Murray McGregor, Frederick Herzberg, David McClelland, Victor H. Vroom, J. Stacy Adams เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะขอยก แนวคิดของ Abraham Maslow และ Frederick Herzberg มาอธิบายและเปรียบเทียบให้เห็นถึงความสอดคล้องกันของแนวคิด

Abraham Maslow

Maslow เสนอ “ทฤษฎีลําดับขั้นของความต้องการ” (Hierarchy of Needs Theory) หรือ “ทฤษฎีความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ 5 ประการ” (Five Basic Needs Theory) โดยเห็นว่า ผู้บริหารจะสามารถ สร้างแรงจูงใจแก่พนักงานได้หากคํานึงถึงความต้องการที่แตกต่างกันไปตามลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ดังนี้

1 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) คือ ปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาหารและน้ํา ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ปัจจุบันยังอาจหมายความรวมถึงการติดต่อสื่อสารด้วย

2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs) คือ ความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน ความมั่นคงในการดํารงอยู่ เช่น การไม่ถูกไล่ออกจากงาน เป็นต้น

3 ความต้องการความรักและการยอมรับ (Love Needs หรือ Social Needs) คือ วาามต้องการความรักทั้งเป็นผู้รับและผู้ให้ และการได้รับการยอมรับในสังคม

4 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ (Esteem Needs) คือ ความต้องการในการ ได้รับการชื่นชมและการสรรเสริญจากสังคม

5 ความต้องการความสําเร็จที่เกิดจากตนเอง (Self-Actualization Needs) คือ ความ ต้องการทําในสิ่งที่ตนสามารถจะทําได้ เพื่อเป็นการสนองต่อความพอใจหรือความปรารถนาของตนเอง เช่น การบวช ความร่ํารวย เป็นต้น

ตามทฤษฎีของ Maslow นี้ เมื่อมนุษย์ได้รับการตอบสนองความต้องการด้วยขั้นของความ ต้องการใดไปแล้ว ความต้องการขั้นนั้นจะไม่มีผลในการจูงใจมนุษย์คนนั้นอีก ดังนั้นองค์การสามารถนําแนวทาง ดังกล่าวไปพิจารณาตอบสนองเพื่อก่อให้เกิดแรงจูงใจแก่คนงานได้โดยการตอบสนองตามระดับ อย่างไรก็ตาม

การตอบสนองความต้องการแต่ละระดับนั้น องค์การไม่ควรตอบสนองความต้องการนั้น ๆ เต็มที่ มิฉะนั้นแล้ว ความต้องการดังกล่าวจะไม่ใช่เป็นตัวมูลเหตุจูงใจให้คนงาน เพราะถูกมองว่าเป็นหน้าที่ขององค์การนั่นเอง

Frederick Herzberg

Herzberg ได้เสนอ “ทฤษฎีสองปัจจัย” (Two Factors Theory) โดยเห็นว่า ความต้องการ มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของคนงานโดยความต้องการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ปัจจัยจงใจ (Autotivation Factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง ได้แก่ ความสําเร็จ ของงาน การได้รับการยอมรับผลงาน ความก้าวหน้าของงาน ความรับผิดชอบในงานที่มากขึ้น และลักษณะของงาน ที่ท้าทายน่าสนใจ ดังนั้นถ้าองค์การสามารถดําเนินการให้เกิดสิ่งนี้จะมีผลกระตุ้นให้คนงานทํางานได้ดีขึ้น แต่ถึงแม้ว่า จะไม่มีก็ไม่ได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแต่อย่างใด

2 ปัจจัยอนามัย (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของงาน ได้แก่ นโยบายขององค์การ การบริหารบังคับบัญชา กฎระเบียบเพื่อควบคุมการทํางาน สภาพหรือเงื่อนไขการทํางาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความมั่นคงในการทํางาน เงินเดือน สวัสดิการ เป็นต้น ดังนั้นจึงเปรียบเสมือนกับ เป็นหน้าที่ขององค์การที่จะต้องทําให้เกิดขึ้น ซึ่งถ้าไม่มีจะทําให้คนงานไม่พอใจ แต่จะไม่มีส่วนกระตุ้นให้เกิด การทํางานที่ดีขึ้นแต่อย่างใด

การเปรียบเทียบความสอดคล้องกันระหว่างแนวคิดของ Maslow กับ Herzberg

1 ความต้องการระดับต่ำ ได้แก่ ความต้องการทางกายภาพ (ความต้องการขั้นที่ 1) และ ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (ความต้องการขั้นที่ 2) ตามแนวคิดของ Maslow สอดคล้องกับปัจจัยอนามัย เช่น เงื่อนไขการทํางาน เงินเดือน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา นโยบายและการบริหาร ตามแนวคิดของ Herzberg

2 ความต้องการระดับสูง ได้แก่ การได้รับการยอมรับ (ความต้องการขั้นที่ 3) การได้รับ การยกย่อง (ความต้องการขั้นที่ 4) และการทํางานให้สําเร็จด้วยตนเอง (ความต้องการขั้นที่ 5) ตามแนวคิดของ Maslow สอดคล้องกับปัจจัยจูงใจ เช่น ความสําเร็จของงาน การได้รับการยอมร ผลงาน ความก้าวหน้าของงาน ความรับผิดชอบในงาน และลักษณะของงาน ตามแนวคิดของ Herzberg

 

Advertisement