การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2310 ทฤษฎีองค์การ

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ

1 พฤติกรรมองค์การคืออะไร และมีปัจจัยอะไรบ้างที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมองค์การ จงอธิบายมาให้เข้าใจโดยละเอียด

แนวคําตอบ

ความหมายของพฤติกรรมองค์การ

Gibson, Ivancevich and Downelly ให้ความหมายว่า พฤติกรรมองค์การเป็นการศึกษา พฤติกรรมของมนุษย์ ทัศนคติ และผลการปฏิบัติงานภายในสภาพแวดล้อมขององค์การ โดยใช้ทฤษฎี วิธีการ และหลักการของวิชาสาขาจิตวิทยา สังคมวิทยา และมานุษยวิทยามาผสมผสานเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการรับรู้ของคน ค่านิยม ความสามารถในการเรียนรู้ การกระทําต่าง ๆ ในขณะที่กําลังทํางานอยู่ในองค์การ รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ ผลกระทบของสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การที่มีผลต่อองค์การ ทรัพยากรบุคคล จุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ต่าง ๆ ภายนอกด้วย

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมองค์การ ได้แก่

1 บุคลากร ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านความรู้ความสามารถ การรับรู้ การเรียนรู้ ทัศนคติ ค่านิยม และบุคลิกภาพ จึงส่งผลให้บุคลากรที่ทํางานในองค์การมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม องค์การที่แตกต่างกันออกไปด้วย

2 โครงสร้าง หมายถึง การจัดกลุ่มงานเข้าด้วยกันตามจุดมุ่งหมายขององค์การและตาม หน้าที่ มีสายการบังคับบัญชา มีการจัดสรรอํานาจหน้าที่ระหว่างตําแหน่งหน้าที่การบริหารต่าง ๆ หรืออาจกล่าว ได้ว่า โครงสร้างเป็นแบบแผนของความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ในองค์การที่สร้างขึ้นมา โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อสนับสนุนการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

โครงสร้างองค์การจะช่วยขจัดความไม่ชัดเจนต่าง ๆ ของบทบาทหน้าที่ ทําให้การปฏิบัติงาน ขององค์การสามารถบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ ก่อให้เกิดความร่วมมือในการทํางานในองค์การ การจัดองค์การ มีระเบียบขั้นตอนการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งแก้ปัญหาข้อบกพร่องในการดําเนินงานได้เป็นอย่างดี ดังนั้นโครงสร้างองค์การจึงเป็นพื้นฐานที่สําคัญในการบริหาร ถ้าองค์การมีโครงสร้างที่เหมาะสม มีการจัดโครงสร้าง ที่ชัดเจนสมดุลกับปริมาณงานที่มีอยู่ในองค์การแล้ว ก็จะช่วยให้การบริหารงานในองค์การประสบความสําเร็จ

3 เทคโนโลยี ถือเป็นปัจจัยที่มีบทบาทสําคัญในการทํางาน โดยในปัจจุบันมีการนํา เครื่องจักรมาใช้แทนที่คนงานระดับล่าง ทําให้การผลิตหรือการทํางานมีความรวดเร็วขึ้น การนําเทคโนโลยีมาใช้ใน การทํางานทําให้องค์การต้องมีการออกแบบองค์การใหม่ และบุคคลในองค์การจะต้องมีการฝึกฝนพัฒนาตนเอง เพื่อเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นองค์การจึงจําเป็นต้องมีการพัฒนา องค์การด้วยวิธีการดังนี้

1) การจัดการคุณภาพ (Total Quality Management หรือ TQM) เป็นการพัฒนา กระบวนการทํางานให้ต่อเนื่องกัน เพื่อลดความแตกต่างระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน ตลอดจนให้มีมาตรฐานใน การผลิตและการให้บริการในแนวเดียวกัน ซึ่งจะทําให้ต้นทุนในการผลิตลดลงและผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น

2) การรื้อปรับระบบ (Reengineering) เป็นการปรับระบบในองค์การโดยการคิดใหม่ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน มีการทํางานและกระบวนการใหม่ ๆ โดยนําเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการทํางาน

3) ระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น (Flexible Manufacturing System) เป็นระบบ การผลิตที่จะสามารถผลิตสินค้าที่มีปริมาณน้อย แต่ใช้ต้นทุนตําหรือมีต้นทุนต่อหน่วยเหมือนกับการผลิตจํานวนมาก ในการผลิตแบบนี้องค์การสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ โดยที่องค์การไม่จําเป็นที่จะต้องผลิตสินค้า ในปริมาณมากอีกต่อไป

4) การพ้นสมัยของคนงาน (Worker Obsolescence) หมายถึง ความสําคัญของ พนักงานลดลง เนื่องจากการนําเทคโนโลยีที่มีพัฒนาการที่สูงขึ้นเข้ามาใช้แทนที่ ทําให้งานมีลักษณะต้องทําซ้ำและทําเหมือนกันทุกวัน กลายเป็นงานที่มีความสําคัญมากยิ่งขึ้น เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่ทําให้งานกลายเป็นงาน ในระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยทําให้ผลผลิตมากขึ้นโดยการใช้พนักงานเพียงไม่กี่คน แต่เป็นพนักงานที่มีความชํานาญ ในการทํางานที่แตกต่างไปจากเดิม

4 สิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์การแตกต่างกันออกไป โดยสิ่งแวดล้อม ของการบริหารองค์การแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) สิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์การของรัฐทุก ๆ องค์การ มีลักษณะเป็นสิ่งแวดล้อมร่วมของสังคมที่ทุก ๆ หน่วยงานจะต้องเผชิญ เช่น ลักษณะของวัฒนธรรมประเพณี ค่านิยมของคนในชาติ สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา ภูมิศาสตร์ของประเทศ เป็นต้น

2) สิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงและมักจะมีความ สัมพันธ์ต่อองค์การในลักษณะที่ค่อนข้างเป็นทางการ เช่น จํานวนทรัพยากรที่จําเป็นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการ บริหารงานในหน่วยงานนั้น ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานนั้น ๆ กับองค์การอื่น ๆ ในสังคม

 

ข้อ 2 จงอธิบายถึงมิติของโครงสร้างองค์การว่าประกอบไปด้วยมิติใดบ้างตามข้อเสนอของ Mintzberg

แนวคําตอบ

1 Strategic Apex คือ ผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการกําหนดกลยุทธ์ และนโยบาย หรือทิศทางขององค์การ

2 Middle Line คือ ผู้บริหารระดับกลาง มีหน้าที่คอยประสานระหว่างผู้บริหารระดับสูง กับผู้ปฏิบัติในระดับล่าง ซึ่งในปัจจุบันผู้บริหารระดับกลางถูกลดบทบาทลงและมีจํานวนน้อยลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะ ในองค์การภาคเอกชน แต่ในทางตรงข้ามองค์การภาครัฐกลับมีคนกลุ่มนี้จํานวนมาก

3 Operating Core คือ ผู้ปฏิบัติการในระดับล่าง เป็นกลุ่มคนที่มีความสําคัญในกระบวนการ เจิต โดยมีหน้าที่ในการผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายขององค์การ ซึ่งผู้ปฏิบัติการในระดับล่างนี้ถือเป็น ส่วนของโครงสร้างที่มีจํานวนมากที่สุดและมีโอกาสเปลี่ยนแปลงบ่อยที่สุดในองค์การ

4 Technostructure คือ ผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคนิคการดําเนินงานขององค์การ เช่น วิศวกร โปรแกรมเมอร์ นักบัญชี นักเทคนิคการแพทย์ นักวิจัยการตลาด เป็นต้น

5 Support Staff คือ ฝ่ายอํานวยการ มีหน้าที่อํานวยความสะดวกแก่ฝ่ายงานหลัก เช่น ฝ่ายบุคคล ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายธุรการ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น

ทั้งนี้ Mintzberg ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า มิติที่จัดว่าเป็นส่วนของ “สายงานหลัก” ขององค์การ จะประกอบไปด้วยส่วนที่ 1, 2 และ 3 เท่านั้น ส่วนมิติที่ 4 และ 5 เป็นเพียง “ฝ่ายสนับสนุน” ไม่มีบทบาทตาม สายการบังคับบัญชาชัดเจน ซึ่งบางองค์การอาจใช้บุคคลภายนอกมาปฏิบัติงานแทน

 

ข้อ 3 ให้นักศึกษาอธิบายและเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของแนวคิดวิทยาศาสตร์การจัดการของเทเลอร์ (Frederick W. Taylor) กับแนวคิดหลักการบริหารของฟาโยล (Henri Fayol)

แนวคําตอบ

แนวคิดวิทยาศาสตร์การจัดการของเทเลอร์ (Frederick w. Taylor) เทเลอร์เสนอหลักวิทยาศาสตร์การจัดการ (Scientific Management) เพื่อปรับปรุงวิธีการ ทํางานของคนงานให้มีประสิทธิภาพ โดยเทเลอร์เสนอให้ฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารมีหน้าที่ดังนี้

1 สร้างหลักการทํางานหรือวิธีการทํางานที่ดีที่สุด (One Best Way) เพื่อใช้สําหรับการทํางานตามขั้นตอนต่าง ๆ ของงานแทนหลักความเคยชินซึ่งคนงานเคยใช้ปฏิบัติกันสืบมา

2 การคัดเลือกคนงานตามกฎเกณฑ์วิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้คนที่เหมาะสมกับงานแต่ละประเภท โดยฝ่ายจัดการมีหน้าที่มอบหมายประเภทของงานที่คนงานแต่ละคนถนัดที่สุดและทํางานได้ดีที่สุด

3 พัฒนาคนงานโดยการสอนให้คนงานสามารถทํางานได้อย่างถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ – การจัดการ

4 สร้างบรรยากาศการร่วมมือในการทํางานอย่างฉันมิตรระหว่างฝ่ายจัดการและฝ่ายคนงาน

การพัฒนาสร้างเกณฑ์การทํางานตามหลักวิทยาศาสตร์นั้นอาศัยการทดลองอย่างละเอียดตาม หลักของการศึกษาเรื่องเวลาและการเคลื่อนไหว (Time and Motion Study) เพราะเชื่อว่าหากมีการออกแบบงาน ให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายของคนงานให้น้อยที่สุด และมีเวลาการทํางานน้อยที่สุด จะนําไปสู่ประสิทธิภาพสูงสุด ในการทํางาน

แนวคิดหลักการบริหารของฟาโยล (Henri Fayol) ฟาโยล ได้เสนอหลักการบริหารทั่วไป 14 ประการ ได้แก่

1 การมีเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)

2 การมีเอกภาพในการสั่งการ (Unity of Direction)

3 การแบ่งงานกันทํา (Division of Work)

4 การรวมอํานาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization)

5 อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Authority and Responsibility) 6 ความเสมอภาค (Equity)

7 สายการบังคับบัญชา (Scalar Chain)

8 การให้ผลประโยชน์ตอบแทน (Remuneration)

9 การมีระเบียบข้อบังคับ (Order)

10 ความมีระเบียบวินัย (Discipline)

11 ความคิดริเริ่ม (Initiative)

12 ผลประโยชน์ของบุคคลควรจะเป็นรองจากผลประโยชน์ส่วนรวม (Subordination of Individual Interest to the General Interest)

13 ความมั่นคงในหน้าที่การงาน (Stability of Tenure of Person)

14 ความสามัคคีเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน (Esprit de Corps)

 

นอกจากนี้ฟาโยลยังได้เสนอกระบวนการบริหารของนักบริหารไว้ 5 ประการ หรือเรียกว่า “POCCC” ประกอบด้วย

1 P = Planning คือ การวางแผน

2 0 = Organizing คือ การจัดองค์การ

3 C = Commanding คือ การบังคับบัญชา

4 C = Coordinating คือ การประสานงาน

5 C = Controlling คือ การควบคุมงาน

หลักการบริหารของฟาโยลเป็นหลักการบริหารสากลที่สามารถนํามาใช้ได้กับองค์การทุกประเภท และนับเป็นหลักการของทฤษฎีที่สมบูรณ์ครั้งแรกที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถวางระเบียบแบบแผนและหลักเกณฑ์ ที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถรวบรวมทรัพยากรต่าง ๆ และบุคคลเข้ามารวมอยู่ในองค์การให้สามารถทํางานโดยมี ประสิทธิภาพจนบรรลุเป้าหมายที่กําหนดได้

เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของแนวคิดวิทยาศาสตร์การจัดการของเทเลอร์ กับแนวคิดหลักการบริหารของฟาโยล

ความเหมือน ทั้งสองแนวคิดต่างเป็นแนวคิดในยุคคลาสสิก ซึ่งมีจุดเน้นที่สําคัญ เช่น 1 เน้นประสิทธิภาพในการทํางาน

2 มององค์การในระบบปิด คือ มองเฉพาะเรื่องปัจจัยภายในองค์การ ละเลยเรื่องของปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ

3 มองคนเป็นสัตว์เศรษฐกิจ คือ คนทํางานเพราะต้องการผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ เช่น เงินเดือน โบนัส เป็นสําคัญ

4 เน้นการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน ความต่าง

หน่วยในการวิเคราะห์ทั้งสองแนวคิดแตกต่างกัน โดยเทเลอร์มุ่งเน้นการค้นหาวิธีการทํางาน ที่ดีที่สุดในการทํางานของกลุ่มคนงานในโรงงาน แต่ฟาโยลให้ความสําคัญกับการกําหนดหลักการบริหารสําหรับนักบริหาร

Advertisement