การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2310 ทฤษฎีองค์การ

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน (รวม 100 คะแนน)

ข้อ 1 จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบย่อยองค์การกับการจัดการมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

องค์การ หมายถึง การที่คนมารวมตัวกันเพื่อเข้าทํางานโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันและต้องการ ที่จะทํางานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งระบบย่อยขององค์การ ประกอบด้วย เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ คน โครงสร้าง เทคนิค และความรู้ข้อมูลข่าวสาร

การจัดการ หมายถึง การดําเนินงานของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ ที่ได้ตั้งเอาไว้ร่วมกัน โดยคํานึงถึงการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพเข้าช่วย ซึ่งกระบวนการจัดการ ประกอบด้วย การวางแผน การประสานงาน การจัดองค์การ การตัดสินใจ และการควบคุมงาน

ความสัมพันธ์ระหว่างระบบย่อยองค์การกับการจัดการ มีดังนี้

1 ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมาย/วัตถุประสงค์กับการวางแผน หมายถึง เมื่อกําหนด เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การแล้ว ก็ต้องหาหนทางเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น โดยนักบริหารจะต้อง นําความรู้ในวิชาการวางแผนมาใช้ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ

1) การกําหนดเป้าหมาย

2) การอธิบายสถานการณ์ปัจจุบัน

3) การหาเครื่องมือที่จะมาช่วย พร้อมทั้งตระหนักถึงปัญหาและอุปสรรคในการบรรลุเป้าหมาย

4) การพัฒนาทางเลือกที่จะบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์

2 ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับการประสานงาน หมายถึง นักบริหารต้องมีภาวะผู้นํา และมีความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นํา เพื่อจูงใจให้กลุ่มคนมาบริหารองค์การให้บรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ผู้บริหารต้อง มีความสามารถในการสื่อข้อความ เพราะการสื่อข้อความจะช่วยให้เข้าใจงานและสามารถทํางานได้ง่ายขึ้น รวมทั้ง ช่วยให้เกิดประสิทธิผลที่ดี

3 ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับการจัดองค์การ หมายถึง การจัดองค์การเพื่อให้ องค์การมีโครงสร้างที่เหมาะสม ซึ่งพิจารณาจากเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1) ปัญหารอบด้านขององค์การ

2) กระบวนการปฏิบัติงานที่มีความรวดเร็ว

3) การจัดสรรคนให้เหมาะสมกับโครงสร้างขององค์การ

4) การติดต่อและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในองค์การที่สอดคล้องกับ โครงสร้างองค์การ

5) การจัดโครงสร้างองค์การที่เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพมีความยืดหยุ่น และจูงใจให้คนมีความเอาใจใส่ต่อการทํางาน

6) การปกครองบังคับบัญชาทุกระดับมีความสอดคล้องกัน

7) การให้อํานาจหน้าที่กับผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการจัดโครงสร้างองค์การ

8) การจัดโครงสร้างให้สอดคล้องกับนโยบาย

9) การแบ่งส่วนงานที่มีความเหมาะสม

4 ความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคกับการตัดสินใจ หมายถึง เทคนิคการบริหารจะเป็น ประโยชน์ที่ทําให้องค์การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเทคนิคทางการบริหารมี 2 รูปแบบ คือ การตัดสินใจที่ใช้อยู่ เป็นประจํา (Programmed Decision-Making) และการตัดสินใจที่ไม่เกิดบ่อยนัก (Nonprogrammed Decision Making) ดังนั้นนักบริหารจะต้องรู้จักหลักการตัดสินใจในโอกาสต่าง ๆ เช่น

1) การตัดสินใจภายใต้ภาวะที่แน่นอน (Certainty) คือ การตัดสินใจที่ทราบผลในแต่ละทางเลือก

2) การตัดสินใจในภาวะที่มีความเสี่ยง (Risk) คือ การตัดสินใจที่ทราบความเป็นไปของผลในแต่ละทางเลือก

3) การตัดสินใจในภาวะที่ไม่แน่นอน (Uncertainty) คือ การตัดสินใจที่ไม่ทราบความเป็นไปของผลที่เกิดขึ้น

5 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ข้อมูลข่าวสารกับการควบคุมงาน หมายถึง นักบริหาร จะต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารในการกําหนดนโยบายและการนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งในการควบคุมงาน ทุกประเภทเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยนักบริหารจะต้องใช้ระบบการควบคุมเพื่อตรวจสอบว่าการบริหารงานในองค์การ เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในแผนหรือไม่ ซึ่งการควบคุมงานจะทําให้องค์การสามารถปฏิบัติงานต่อไปได้อย่างราบรื่น

 

ข้อ 2 ทฤษฎีองค์การสํานักคลาสสิก สํานักนีโอคลาสสิก และสํานักระบบเปิด มีแนวทางการศึกษาแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบายมาให้เข้าใจอย่างชัดเจน

แนวคําตอบ

  1. Richard Scott ได้แบ่งทฤษฎีองค์การออกเป็น 3 สํานัก ดังนี้

1 สํานักคลาสสิก หรือสํานักเหตุผลนิยม

สํานักคลาสสิก หรือสํานักเหตุผลนิยม เป็นสํานักที่ให้ความสําคัญกับโครงสร้างที่เป็นทางการ ขององค์การ โดยมีความเชื่อว่า โครงสร้างสามารถควบคุมพฤติกรรมของคนได้ ซึ่งเป็นการมองเฉพาะภายในองค์การ เน้นประสิทธิภาพของงานจนมองคนเป็นเครื่องจักร ลักษณะองค์การของสํานักนี้จึงเป็นองค์การระบบปิด

ฐานคติของสํานักคลาสสิก ได้แก่

1 องค์การเป็นระบบที่มีเหตุผลและประกอบด้วยสมาชิกในองค์การที่มีเหตุผลและรู้สํานึกในสิ่งที่ตนเองกระทํา

2 การตัดสินใจหรือการกระทําใด ๆ ของคนมุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3 การควบคุมสมาชิกเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพที่สุดขององค์การ

สาระสําคัญของแนวคิด ได้แก่

1 เน้นความเฉพาะเจาะจงของวัตถุประสงค์ โดยเชื่อว่าหากองค์การมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแล้ว การกําหนดทิศทางการทํางานหรือการเลือกตัดสินใจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การเป็นสิ่งที่สามารถทําได้

2 เน้นความเป็นทางการของโครงสร้างองค์การ โดยเชื่อว่าโครงสร้างที่เป็นทางการจะทําให้พฤติกรรมต่าง ๆ ของคนอยู่ในระเบียบวินัย

คุณสมบัติขององค์การตามแนวคิดของสํานักคลาสสิก ได้แก่

1 เป็นกลุ่มสังคม

2 มีขอบเขตที่ชัดเจน

3 มีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง

4 มีการจัดแบ่งอํานาจหน้าที่

5 ใช้กฎ ระเบียบ การดําเนินการ การควบคุมและเทคนิค

6 ใช้การสื่อสารอย่างเป็นทางการ

7 เน้นความชํานาญเฉพาะด้านและการจัดแบ่งงาน

8 มีการว่าจ้างผู้มีทักษะ

แนวคิดของสํานักคลาสสิกให้ความสําคัญกับโครงสร้างองค์การ จึงเหมาะที่จะนําไปประยุกต์ใช้ กับองค์การแบบราชการ (Bureaucracy) และองค์การที่เป็นทางการ (Format Organization)

นักทฤษฎีองค์การของสํานักคลาสสิก ได้แก่ Max Weber, Frederick W. Taylor, Luther Gulick & Lyndall Urwick, Henri Fayol

 

2 สํานักนีโอคลาสสิก หรือสํานักธรรมชาตินิยม

สํานักนีโอคลาสสิก หรือสํานักธรรมชาตินิยม สํานักนี้ไม่เห็นด้วยกับสํานักคลาสสิก โดยเฉพาะ เรื่องโครงสร้าง เพราะถือว่าโครงสร้างเป็นเพียงส่วนหนึ่งขององค์การเท่านั้น แต่สิ่งที่สําคัญในองค์การคือ “คน” ดังนั้นการศึกษาของสํานักนีโอคลาสสิกจึงแตกต่างกับสํานักคลาสสิก เพราะสํานักนีโอคลาสสิกให้ความสนใจ พฤติกรรมของคน โดยเห็นว่าคนเป็นปัจจัยที่สําคัญขององค์การ และถ้าคนมีประสิทธิภาพจะทําให้สามารถแก้ปัญหา ขององค์การได้ ซึ่งสํานักนี้ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ทฤษฎีย่อย คือ ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation School) และทฤษฎีมนุษยนิยม (Humanism)

ฐานคติของสํานักนีโอคลาสสิก ได้แก่

1 คนมีความต้องการที่หลากหลาย และความต้องการนี้เป็นแรงขับให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ

2 การควบคุมและการลงโทษไม่ใช่วิธีการที่จะทําให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่กําหนด

3 วิธีการจูงใจที่ดีที่สุด คือ การจูงใจที่ตอบสนองความต้องการของคนในการได้รับการยอมรับและการตระหนักในศักยภาพและความสามารถในฐานะมนุษย์

สาระสําคัญของแนวคิด ได้แก่

1 เน้นความสลับซับซ้อนของวัตถุประสงค์ โดยเห็นว่าองค์การไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพียงประการเดียวที่จะเป็นกรอบของพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นในองค์การ

2 เน้นโครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ โดยเชื่อว่าการมีโครงสร้างที่ไม่เป็นทางการจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารให้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

คุณสมบัติขององค์การตามแนวคิดของสํานักนีโอคลาสสิก ได้แก่

1 ต้องมีโครงสร้างเชิงพฤติกรรม

2 ขึ้นอยู่กับความเต็มใจของสมาชิกในการอุทิศเวลาในการทํางาน

3 แสวงหาความอยู่รอด

4 เน้นการมีส่วนร่วม

5 ใช้การสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการ

แนวคิดของสํานักนีโอคลาสสิกเหมาะที่จะนําไปประยุกต์ใช้กับองค์การที่ไม่เป็นทางการ (Informal organization) เช่น องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) กลุ่มให้คําปรึกษาทางกฎหมาย กลุ่มสหกรณ์ เป็นต้น

นักทฤษฎีองค์การสํานักนีโอคลาสสิก ได้แก่ Hugo Munsterberg, Elton Mayo, Douglas Murray McGregor, Abraham H. Maslow, Frederick Herzberg เป็นต้น

3 สํานักระบบเปิด

สํานักระบบเปิด จะเน้นคนและคํานึงถึงสิ่งแวดล้อมขององค์การ ซึ่งแตกต่างจากสํานักคลาสสิก ที่ไม่ได้ให้ความสําคัญกับคน และสํานักนีโอคลาสสิกที่สนใจเฉพาะคนแต่ไม่ได้คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม การศึกษาของ สํานักระบบเปิดให้ความสําคัญกับองค์การระบบเปิด โดยเน้นให้องค์การต้องปรับตัวให้ทันกับสิ่งแวดล้อมและ รู้จักการบริหารงานให้เป็นระบบในลักษณะบูรณาการ และให้ความสําคัญกับข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งในปัจจุบันนี้ ทฤษฎีระบบเปิดสามารถนํามาประยุกต์ใช้ได้ทั้งงานประจําและงานโครงการ

ฐานคติของสํานักระบบเปิด ได้แก่

1 องค์การและสิ่งแวดล้อมภายนอกมีปฏิสัมพันธ์กัน

2 สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

3 คนมีค่านิยมและผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน

สาระสําคัญของแนวคิด ได้แก่

1 ระบบต้องมีระบบย่อย เช่น วัตถุประสงค์ คน โครงสร้าง เทคนิค ความรู้ข้อมูลข่าวสารซึ่งระบบย่อยเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์และติดต่อซึ่งกันและกัน

2 มีลักษณะเป็นภาพรวม

3 มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับสิ่งแวดล้อม

4 ให้ความสําคัญกับการแปรเปลี่ยนข้อมูลจากปัจจัยนําเข้ามาเป็นปัจจัยนําออก

5 ช่วยในการจัดแบ่งส่วนต่าง ๆ ขององค์การตามความแตกต่าง มีสถานภาพที่คงที่ คือ การให้องค์การมีความสมดุลกับสภาพแวดล้อม

6 เน้นความสําคัญของความแตกต่างระหว่างองค์การกับสิ่งแวดล้อม

คุณสมบัติขององค์การตามแนวคิดของสํานักระบบเปิด ได้แก่

1 เป็นระบบที่มีลําดับชั้น

2 มีความสามารถในการดํารงรักษาตนเอง โดยอาศัยกระบวนการแลกเปลี่ยนทรัพยากรกับสิ่งแวดล้อม

3 ระบบประกอบด้วยปัจจัยนําเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output)

4 ไม่มีขอบเขตชัดเจน

5 เป็นระบบที่ทํางานเองโดยอัตโนมัติ

นักทฤษฎีองค์การของสํานักระบบเปิด ได้แก่ Katz and Kahn, Chester L. Barnard, Herbert A Simon, Amitai Etzioni เป็นต้น

 

ข้อ 3 ให้เลือกนักคิดมา 3 ท่านพร้อมทั้งอธิบายผลงานของท่านมาพอให้เข้าใจ

แนวคําตอบ

1 Max Weber

Weber นักทฤษฎีองค์การชาวเยอรมัน ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของระบบราชการ” เขาเสนอว่า การจัดองค์การแบบระบบราชการ (Bureaucracy) เป็นวิธีการจัดองค์การที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่า วิธีอื่นใด ซึ่งลักษณะขององค์การแบบระบบราชการมีดังนี้

1 มีการควบคุมกันโดยการแบ่งลําดับชั้นของการบังคับบัญชา (Hierarchy)

2 การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎระเบียบ (Rule and Regulation) 3 มีการจัดคนที่มีความรู้ความชํานาญเข้าด้วยกัน (Specialization)

4 มีการบริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว (Impersonality)

5 เน้นการยึดถือความสามารถทางวิชาการ (Technical Competence)

6 เน้นความสําคัญของการพัฒนาบุคคล (Training and Development)

7 แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากองค์การ (Individual Interest, Official)

จุดเด่นของแนวคิดของ Weber ได้แก่

1 เป็นการควบคุมโดยอาศัยการจัดโครงสร้างการบังคับบัญชาลดหลั่นกันลงมา

2 ไม่สนใจตัวบุคคล

3 เน้นที่ตัวบทกฎหมายและความมีเหตุผลเพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ

4 เน้นความสําคัญของโครงสร้าง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม สนใจแต่การบริหารภายในองค์การ

ข้อดีจากแนวคิดของ Weber ได้แก่

1 องค์การมีประสิทธิภาพในการทํางาน (Efficiency)

2 มีความเสมอภาค (Equity)

ข้อเสียจากแนวคิดของ Weber ได้แก่

1 เกิดความแปลกแยกต่อองค์การ งาน และกฎระเบียบ (Alienation)

2 เกิดความเฉื่อยชา ไม่มีประสิทธิภาพ

3 เกิดความล่าช้า (Red Tape)

4 เกิดความไม่คล่องตัว (Rigidity)

5 เน้นความสําคัญของกฎ ระเบียบ และข้อบังคับมากเกินไป จนมองข้ามความสําคัญในด้านอื่น

6 แบ่งแยกงานกันตามความถนัดมากจนเกินไป

7 ขาดการประสานงาน (Lack of Coordination)

8 มีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (Resistance to Change)

นอกจากนี้ Weber ยังได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงํา (Domination) โดยเห็นว่า ผู้นํา หรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้ขึ้นอยู่กับการที่ผู้ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม และ ต้องมีระบบการบริหารมาดําเนินการให้คําสั่งมีผลใช้บังคับได้ ซึ่งลักษณะของการครอบงํา มี 3 รูปแบบ คือ

1 การครอบงําโดยอาศัยจารีตประเพณี (Traditional Domination)

2 การครอบงําโดยใช้บารมี (Charismatic Domination)

3 การครอบงําโดยวิธีกฎหมายและการมีเหตุผล (Legal Domination)

 

2 Luther Gulick และ Lyndall Urwick

Gulick และ Urwick ได้รวบรวมแนวคิดทางด้านการบริหารต่าง ๆ ไว้ในหนังสือชื่อ “Paper on the Science of Administration : Note on the Theory of organization” โดยเสนอแนวความคิด กระบวนการบริหารที่เรียกว่า “POSDCORB” ซึ่งเป็นหน้าที่สําคัญของนักบริหาร 7 ประการ ได้แก่

1 P = Planning คือ การวางแผน เป็นการวางเค้าโครงกิจกรรมซึ่งเป็นการเตรียมการ ก่อนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้การดําเนินการบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 O = Organizing คือ การจัดองค์การ เป็นการกําหนดโครงสร้างขององค์การโดย พิจารณาให้เหมาะสมกับงาน เช่น การแบ่งงานเป็นกรม กอง หรือแผนก โดยอาศัยปริมาณงาน คุณภาพของงาน หรือจัดตามลักษณะเฉพาะของงาน นอกจากนี้อาจพิจารณาในแง่ของการควบคุม หรือพิจารณาในแง่ของ หน่วยงาน เช่น หน่วยงานหลัก และหน่วยงานที่ปรึกษา เป็นต้น

3 S = Staffing คือ การจัดหาบุคลากรมาปฏิบัติงาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ในองค์การนั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้ได้บุคลากรมาปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับ การจัดแบ่งหน่วยงานที่กําหนดเอาไว้

4 D = Directing คือ การอํานวยการ เป็นภารกิจในการใช้ศิลปะในการบริหารงาน เช่น ภาวะผู้นํา มนุษยสัมพันธ์ การจูงใจ และการตัดสินใจ เป็นต้น

5 Co – Coordinating คือ การประสานงาน เป็นการประสานให้ส่วนต่าง ๆ ของ กระบวนการทํางานมีความต่อเนื่องกัน เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและราบรื่น

6 R = Reporting คือ การรายงาน เป็นกระบวนการและเทคนิคของการรายงานให้ ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นได้ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน โดยมีความสัมพันธ์กับการติดต่อสื่อสารในองค์การอยู่ด้วย

7 B = Budgeting คือ การงบประมาณ เป็นภารกิจที่เกี่ยวกับการวางแผนการทําบัญชี การควบคุมเกี่ยวกับการเงินและการคลัง

สาระสําคัญของแนวคิด POSDCORB คือ “ประสิทธิภาพ” ซึ่ง Gulick และ Urwick เห็นว่า ประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่สําคัญที่สุดของการบริหาร และเพื่อให้การบริหารงานในทุกหน่วยงานมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการแบ่งงานตามความเหมาะสมและความจําเป็นหรือความถนัดของคนงาน โดยแบ่งหน่วยงานออก ตามกระบวนการ วัตถุประสงค์ ลูกค้า และพื้นที่ ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องจัดรูปแบบองค์การเป็นรูปสามเหลี่ยม พีระมิด และมีสายการบังคับบัญชาที่ลดหลั่นกันลงมา

3 Douglas Murray McGregor

McGregor เสนอทฤษฎี X และทฤษฎี Y ไว้ในหนังสือชื่อ “The Human Side of Enterprise” โดยมีฐานคติในการมองคนในองค์การ 2 แบบ คือ

1 ทฤษฎี X ถือว่า

– คนทั่วไปเกียจคร้าน ชอบเลี้ยงงาน

– ขาดความกระตือรือร้น ไม่มีความรับผิดชอบ

– เห็นแก่ตัวเพิกเฉยต่อความต้องการขององค์การ

2 ทฤษฎี Y ถือว่า

– คนชอบทํางาน ไม่ได้เกียจคร้าน – การควบคุมภายนอกไม่ใช่วิถีทางที่จะได้มาซึ่งงาน คนสามารถที่จะหาแนวทางและควบคุมตนเองได้

– ความพึงพอใจที่ได้ปฏิบัติงานตามศักยภาพเป็นรางวัลที่มีความสําคัญที่จะทําให้คนมีความรู้สึกผูกพันกับองค์การ

– คนโดยทั่วไปจะเรียนรู้เพื่อแสวงหาความรับผิดชอบต่อไป

– คนส่วนใหญ่อาศัยภาวะสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาในองค์การ

ทฤษฎี Y คือ “ภาพพจน์ของคน” ในแนวมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งเชื่อว่าโดยธรรมชาติมนุษย์เป็นคนดี ดังนั้นคนจึงควรควบคุมตนเองได้ การควบคุมตนเองหมายถึงการปรับปรุงองค์การในเรื่องต่าง ๆ เช่น การกระจายอํานาจ การมอบอํานาจหน้าที่ การขยายงาน การมีส่วนร่วม และการบริหารงานโดยยึดเป้าหมาย จึงเห็นได้ว่าข้อเสนอ การปรับปรุงของ McGregor เป็นการย้ําให้เห็นความสําคัญของคน และช่วยให้คนหลุดพ้นจากการควบคุมของ องค์การ ซึ่งเป็นค่านิยมหลักของมนุษย์ที่เห็นว่าคนมาก่อนองค์การ

การมองคนในองค์การตามทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของ McGregor ช่วยให้เราแยกแยะคนได้ ทําให้เรารู้ว่าใครเป็นเพื่อนที่ดีหรือนายที่ดี ซึ่งการมองแบบนี้เรียกว่า “Polarization” แต่ในสภาพความเป็นจริง เราไม่สามารถบอกได้ว่าคนไหนเป็นประเภท X หรือประเภท Y แต่อาจจะบอกได้ว่าค่อนข้างไปทาง X หรือ Y มากกว่า ดังนั้นการมองคนเป็น Polarization จึงเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามก็ถือว่าทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีแรกที่ช่วย ทําให้สามารถจําแนกประเภทของคนได้

 

ข้อ 4 จงอธิบายคําต่อไปนี้มาให้เข้าใจอย่างชัดเจน

ก. ความขัดแย้ง

แนวคําตอบ

ความขัดแย้ง (Conflicts) หมายถึง การที่บุคคล 2 ฝ่ายขึ้นไปมีข้อมูล ค่านิยม ความเชื่อ ความคิดเห็น และความรู้สึกที่แตกต่างกันในด้านต่าง ๆ ดังนี้

– ด้านจิตวิทยา คือ การตกลงกันไม่ได้ ต่างฝ่ายต่างคิดในจิตของตน

– ด้านเศรษฐศาสตร์ คือ การแย่งชิงผลประโยชน์

– ด้านรัฐศาสตร์ คือ การแย่งชิงอํานาจ

– ด้านสังคมวิทยา คือ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่าง ๆ

– ด้านมานุษยวิทยา คือ ความเป็นมาที่แตกต่างกันของมนุษย์

– ด้านการจัดการ คือ ถ้ามองภาพดีจะเห็นว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องของการสร้างสรรค์แต่ถ้ามองในแง่ไม่ดีจะเห็นว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องของการทําลาย

สาเหตุของความขัดแย้ง ได้แก่

1 ความแตกต่างกันด้านวัตถุประสงค์

2 การแข่งขันกันใช้ทรัพยากรที่มีจํากัด

3 การมีบทบาทที่แตกต่างกัน

4 การมีพื้นฐานส่วนตัวที่แตกต่างกัน เช่น ค่านิยม ความเชื่อ พฤติกรรมส่วนตัว

5 การเปลี่ยนแปลงในองค์การที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง

ผลของความขัดแย้ง

ผลดี คือ ทําให้มีแนวความคิดที่จะรับมือกับปัญหา และปัญหาต่าง ๆ ได้รับการแก้ไข ความ ขัดแย้งภายนอกช่วยกระตุ้นให้เกิดความสามัคคี

ผลเสีย คือ ในองค์การขาดความร่วมมือ ขาดการยอมรับซึ่งกันและกัน และสูญเสียบุคลากร ในองค์การ

วิธีการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง ได้แก่

1 ประนีประนอม

2 จัดหาทรัพยากรเพิ่มขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการ

3 ใช้กฎหมายหรือกฎระเบียบบังคับ

4 หลีกเลี่ยงไม่พูดถึงเรื่องความขัดแย้ง

 

ข. อํานาจ

แนวคําตอบ

อํานาจ (Power) หมายถึง ขีดความสามารถซึ่งบุคคลคนหนึ่งมีอิทธิพลเหนือพฤติกรรมของคนอีกคนหนึ่ง

อํานาจประกอบด้วย

1 ศักยภาพที่ไม่จําเป็นต้องให้เกิดประสิทธิผล

2 มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน

3 มีข้อสมมติฐานว่าบุคคลที่มีอํานาจด้อยกว่าต้องรู้จักสํารวมพฤติกรรม

John Frence และ Bertram Raven ได้จําแนกประเภทของอํานาจไว้ 5 ประเภท คือ

1 อํานาจที่ได้รับการยอมรับ (Legitimate Power) คือ ความสามารถของบุคคลในการมีอิทธิพลเหนือผู้อื่นโดยอาศัยตําแหน่งหน้าที่

2 อํานาจในการให้รางวัล (Reward Power) คือ ความสามารถของบุคคลในการให้รางวัล แก่ผู้อื่น เช่น ขึ้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง เลื่อนขั้น เลื่อนตําแหน่ง

3 อํานาจในการบังคับ (Coercive Power) คือ อํานาจในการลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตาม เช่น ไม่เลื่อนขั้นหรือเลื่อนตําแหน่ง โยกย้ายไปทํางานที่แย่ลง

4 อํานาจที่มาจากความเชี่ยวชาญ (Expert Power) คือ อํานาจในการมีอิทธิพลเหนือผู้อื่นโดยอาศัยความเชี่ยวชาญพิเศษ

5 อํานาจจากบุคลิกลักษณะ (Referent Power) คือ บุคลิกลักษณะพิเศษของแต่ละบุคคล ยุทธวิธีในการได้มาซึ่งอํานาจ ได้แก่

1 ความมีเหตุผล (Reason)

2 ความเป็นมิตร (Friendliness)

3 การรวมกัน (Coalition)

4 การต่อรอง (Bargaining)

5 ใช้วิธีการบังคับ (Assertiveness)

6 ใช้อํานาจหน้าที่ที่สูงกว่า (Higher Authority)

7 บังคับมิให้ละเมิด (Sanctions)

 

ค. อํานาจหน้าที่

แนวคําตอบ

อํานาจหน้าที่ (Authority) หมายถึง อํานาจที่ได้รับจากการมอบหมาย ซึ่งเป็นอํานาจที่ จะต้องปฏิบัติตามและถือว่าเป็นสิ่งที่มีความชอบธรรม

Max Weber เห็นว่า การได้มาซึ่งอํานาจหน้าที่มี 3 ประการ คือ

1 อํานาจจากประเพณีนิยม (Traditional Authority)

2 อํานาจจากบุคลิกภาพหรือบารมี (Charismatic Authority)

3 อํานาจตามหน้าที่ที่กฎหมายระบุไว้ (Legalistic Authority)

หลักเกณฑ์การมอบอํานาจหน้าที่ ได้แก่

1 มอบให้กับตําแหน่งไม่ใช่ตัวบุคคล

2 ผู้บริหารระดับสูงต้องปฏิบัติตามนโยบาย และมีการมอบอํานาจให้คนอื่นทําแทน

3 เป็นการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา

4 การมอบหมายควรมอบเป็นลําดับชั้น

5 การมอบหมายควรทําเป็นลายลักษณ์อักษรถ้าเป็นเรื่องสําคัญ

ปัญหาอุปสรรคของการมอบอํานาจหน้าที่ ได้แก่

1 เกิดจากผู้มอบอํานาจหน้าที่ เช่น กลัวการสูญเสียอํานาจ ไม่เห็นความสําคัญ มีความพอใจที่จะรวบอํานาจหน้าที่ไว้ด้วยตนเอง

2 เกิดจากผู้รับมอบอํานาจหน้าที่ เช่น ไม่เต็มใจรับ ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ไม่มีความรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่เข้าใจงานที่ได้รับมอบอํานาจหน้าที่

3 เกิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น ระเบียบกําหนดให้เป็นอํานาจเฉพาะตัว ความสามัคคีหรือความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ แนวคิดเผด็จการ

วิธีแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการมอบอํานาจหน้าที่ ได้แก่

1 กําหนดเป้าหมายให้ผู้รับมอบเข้าใจชัดเจน

2 ให้ความรับผิดชอบกับอํานาจได้สัดส่วนกัน

3 ต้องมีศิลปะการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา

4 กําหนดเครื่องมือในการควบคุมให้ดี

5 จัดให้มีการมอบหมายอย่างเป็นระบบ

 

ง. อิทธิพล

แนวคําตอบ

อิทธิพล (Influence) หมายถึง การปฏิบัติการทางสังคมที่บุคคลหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งสามารถ ชักจูงให้บุคคลอีกคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งให้กระทําหรือไม่กระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งในสภาพปกติฝ่ายหลังจะ ไม่กระทําเช่นนั้น

วิธีการที่จะมีอิทธิพล เช่น ทางร่างกาย การถูกบังคับ ด้านความเชี่ยวชาญ และอิทธิพลด้านบารมี

คุณลักษณะของผู้ใช้อิทธิพล เช่น มีความเชี่ยวชาญ อยู่ในตําแหน่งที่สามารถให้คุณให้โทษได้ หรือในขณะที่มีกฎหมายรองรับ และมีผลกระทบต่อการตัดสินใจในองค์การ

 

จ. พฤติกรรมความเครียด

แนวคําตอบ

พฤติกรรมความเครียด (Stress Behavioral) หมายถึง สภาวะทางจิตใจที่ต้องเผชิญกับปัญหา ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากตัวเราหรือสภาพแวดล้อม โดยอาจเป็นสิ่งดีที่คาดว่าจะเกิดแต่ไม่เกิด หรือเป็นสิ่งไม่ดีที่ คาดว่าจะไม่เกิดแต่กลับเกิด เช่น มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย เป็นต้น

สาเหตุของความเครียดส่วนที่เกี่ยวกับองค์การ ได้แก่

1 นโยบายองค์การ เช่น พิจารณาผลงานไม่ยุติธรรม ได้รับการโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรมกฎเกณฑ์ไม่มีความยืดหยุ่น

2 โครงสร้างขององค์การ เช่น ขาดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีโอกาสก้าวหน้าน้อยเน้นความเชี่ยวชาญมากเกินไป

3 สภาวะด้านกายภาพ เช่น ขาดความเป็นส่วนตัว อากาศไม่ดี

4 กระบวนการทํางาน เช่น กระบวนการติดต่อสื่อสารไม่เหมาะสม ข้อมูลย้อนกลับมีน้อยเป้าหมายขององค์การไม่ชัดเจน ระบบการควบคุมไม่ดี

5 สาเหตุอื่น ๆ เช่น ผู้ใต้บังคับบัญชาขาดประสิทธิภาพ งานที่ทําเสี่ยงอันตราย เกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนร่วมงาน

วิธีการบริหารความเครียด มี 2 วิธี คือ

1 เกี่ยวกับงาน เช่น กําหนดบทบาทในการทํางานของตนเองให้ชัดเจน รู้จักการแบ่งเวลาบริหารเวลาให้เหมาะสม มอบหมายงานให้คนอื่นทําบ้าง

2 เกี่ยวกับอารมณ์ เช่น คบกับคนที่ไม่เครียด หาวิธีคลายเครียด

Advertisement