การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1
คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)
ข้อ 1. (ก) ผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะได้โดยทางใดบ้าง จงอธิบาย
(ข) จงอธิบายนิติกรรมที่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียวทีผู้เยาว์ทำได้โดยไม่ต้องขอความ ยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
ธงคำตอบ
(ก) ผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะได้โดยทางใดทางหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ
1. บรรลุนิติภาวะโดยอายุ กล่าวคือ เมื่อบุคคลใดมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บุคคลนั้น ย่อมบรรลุนิติภาวะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะ เมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์”
2. บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส กล่าวคือ ผู้เยาว์อาจจะบรรลุนิติภาวะได้ ถ้าหากชายและ หญิงได้จดทะเบียนสมรสกัน ในขณะที่ชายและหญิงนั้นมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรืออาจมีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ก็ได้ ถ้าหากได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 20 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448” และในมาตรา 1448 ก็ได้ บัญญัติไว้ว่า “การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้”
(ข) นิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝายเดียวที่ผู้เยาว์ทำได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจาก ผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น มีบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 22 ว่า “ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียง เพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง”
ซึ่งจากบทบัญญัติลังกล่าว นิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียวนั้น มีได้ 2 กรณี คือ
1. นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่เสียสิทธิ หรือรับเอาหน้าที่อย่างใด ๆ เพิ่มขึ้นมา เช่น การที่ผู้เยาว์ตกลงรับเอาทรัพย์สินที่บุคคลอื่นยกให้โดยเสน่หา โดย ไม่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันใด ๆ เป็นต้น
2. นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง เช่น ผู้เยาว์ได้ทำนิติกรรมรับ การปลดหนี้จากเจ้าหนี้ ทำให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่ที่จะต้องชำระหนี้ เป็นต้น
ข้อ 2. นาย ก. เป็นนักธุรกิจประสบปัญหาทำให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว นาย ก. จึงไปตกลงสมรู้กับนาย ข.ให้นาย ข. ชื้อรถยนต์คันหนึ่ง ซึ่งนาย ก. หวงมาก เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จาก รถยนต์คันนั้น แต่การชื้อขายกันนี้มิได้มีการชำระราคากันแต่อย่างใด ดังนี้ เจ้าหนี้ของนาย ก. ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากรถยนต์คันดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคแรก ได้ปัญญัติหลักเกี่ยวกับการแสดงเจตนาลวงไว้ว่า
“การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้”
การแสดงเจตนาลวงตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงการที่คู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะทำนิติกรรม ให้มีผลบังคับกันตามกฎหมาย แต่ได้แสดงเจตนาหรือทำนิติกรรมขึ้นมาเพื่อหลอกลวงบุคคลอื่นเท่านั้น กฎหมาย จึงได้กำหนดให้นิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะใช้บังคับกันไม่ได้
ตามปัญหา การที่นาย ก. ซึ่งเป็นนักธุรกิจที่ประสบปัญหาทำให้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้ไปตกลง สมรู้กับนาย ข. ให้นาย ข. ซื้อรถยนต์ของตน เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จากรถยนต์คันนั้น โดย การชื้อขายกันนั้นก็มิได้มีการชำระราคากันแต่อย่างใด จะเห็นได้ว่า นิติกรรมชื้อขายรถยนต์ระหว่างนาย ก. กับ นาย ข. นั้น เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นจากการแสดงเจตนาลวงของคู่กรณี ดังนั้นนิติกรรมดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ใช้บังคับกันไม่ได้ และเมื่อนิติกรรมซื้อขายนั้นตกเป็นโมฆะ รถยนต์คันดังกล่าวจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของนาย ก. ดังนั้นเจ้าหนี้ของนาย ก. ย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากรถยนต์คันดังกล่าวได้
สรุป เจ้าหนี้ของนาย ก. ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากรถยนต์คันดังกล่าวได้ ตามเหตุผล และหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
ข้อ 3. นายดำซื้อแอปเปิลจากนายแดงทั้งสวน ตกลงราคากัน 200,000 บาท โดยการซื้อขายแอปเปิลครั้งนี้ นายดำและนายแดงตกลงกันด้วยวาจาเท่านั้น ดังนี้ สัญญาชื้อขายระหว่างนายดำและนายแดงเป็น สัญญาชื้อขายประเภทใด และกรรมสิทธิ์ในแอปเปิลโอนไปเป็นของนายดำผู้ซื้อแล้วหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ
ตามปัญหา การที่นายดำซื้อแอปเปิลจากนายแดงนั้น สัญญาชื้อขายระหว่างนายดำและนายแดง เป็นสัญญาชื้อขายเสร็จเด็ดขาด เพราะทรัพย์สินที่ตกลงชื้อขายกันนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์ธรรมดา ซึ่งโดยหลักแล้ว ไม่อาจทำเป็นสัญญาจะชื้อจะขายกันได้แต่อย่างใด และแม้ว่าในการชื้อขายแอปเปิลกันนั้น นายดำและนายแดง จะได้ตกลงกันด้วยวาจาเท่านั้น สัญญาชื้อขายดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะสัญญาชื้อขาย สังหาริมทรัพย์ธรรมดานั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบได้แต่อย่างใด
สำหรับในเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ในการซื้อขายสังหาริมทรัพย์นั้น กฎหมายได้กำหนดหลักได้ดังนี้ คือ
1. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ตกลงชื้อขายกัน ย่อมโอนไปเป็นของผู้ชื้อนับตั้งแต่ที่ได้ทำ สัญญาซื้อขายกัน (ป.พ.พ. มาตรา 458)
2. ในการซื้อขายสังหาริมทรัพย์นั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปยังผู้ชื้อก็ต่อเมื่อ ทรัพย์สินที่ตกลงชื้อขายกันนั้นเป็นทรัพย์ที่ได้กำหนดไว้เป็นที่แน่นอนแล้ว หรือเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งและได้รู้หรือ กำหนดราคาทรัพย์สินนั้นแน่นอนแล้ว (ป.พ.พ. มาตรา 460)
ตามปัญหา เมื่อสัญญาซื้อขายระหว่างนายดำและนายแดงเป็นการตกลงซื้อขายแอปเปิล ทั้งสวนในราคา 200,000 บาท จึงถือว่าเป็นการตกลงซื้อขายทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์สินเฉพาะสิ่งและทราบราคาของทรัพย์สินนั้นแล้ว ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในแอปเปิลจึงโอนไปเป็นของนายดำผู้ซื้อแล้ว ตาม ป.พ.พ. 3 มาตรา 458 และมาตรา 460
สรุป สัญญาซื้อขายระหว่างนายดำและนายแดงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และกรรมสิทธิ์ในแอปเปิลได้โอนไปเป็นของนายดำผู้ซื้อแล้ว