การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555
ข้อสอบกระบวนวิขา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1
คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน
ข้อ 1. นายก้านเป็นบุคคลวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถให้นาฬิกาของตนแก่นายชัย ซึ่งเป็นน้องชายของนายก้านโดยนางเพ็ญมารดาของนายก้านที่ศาลได้ตั้งให้เป็นผู้อนุบาลของนายก้าน ได้ให้ความยินยอมในการให้นาฬิกาดังกล่าว ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า นิติกรรมการให้นาฬิกาของนายก้าน มีผลทางกฎหมายอย่างไร
ธงคำตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 บัญญัติว่า “การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นเป็นโมฆียะ ”
ตามหลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่ากฎหมายไต้บัญญัติห้ามมิให้คนไร้ความสามารถ กระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้ามีการฝ่าฝืนไปกระทำนิติกรรมใด ๆ ขึ้น ไม่ว่าจะได้กระทำในขณะที่จิตปกติหรือไม่ หรือการทำนิติกรรมนั้นผู้อนุบาลจะได้ให้ความยินยอมหรือไม่ นิติกรรมก็จะตกเป็นโมฆียะ
ตามปัญหา การที่นายก้านซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถ ได้ทำนิติกรรมโดยการให้นาฬิกาของตน แก่นายชัยนั้น แม้นายชัยจะเป็นน้องชายของนายก้านและนายก้านได้ทำนิติกรรมการให้ดังกล่าวโดยนางเพ็ญ มารดาของนายก้านที่ศาลได้ตั้งให้เป็นผู้อนุบาลของนายก้านได้ให้ความยินยอมในการให้นาฬิกาดังกล่าวก็ตาม นิติกรรมการให้นาฬิกาของนายก้านก็มีผลเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 29
สรุป นิติกรรมการให้นาฬิกาของนายก้านมีผลเป็นโมฆียะ
ข้อ 2. นิติกรรมอำพรางมีองค์ประกอบและผลตามกฎหมายอย่างไร อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ธงคำตอบ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 บัญญัติว่า “การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ…
ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่ง ทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอื่น ให้นำบทบัญญัติของ กฎหมายอับเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางมาใช้บังคับ”
ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคสอง ดังกล่าว เป็นบทบัญญัติเรื่องนิติกรรมอำพราง ซึ่งในเรื่อง “นิติกรรมอำพราง” นั้น เป็นเรื่องที่ในระหว่างคู่กรณีได้มีการ ทำนิติกรรมขึ้นมา 2 ลักษณะ ได้แก่ นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวงอันหนึ่ง กับนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ อีกอันหนึ่ง
1. นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง (นิติกรรมที่เปิดเผย) หมายถึง นิติกรรมที่ คู่กรณีได้ทำขึ้นมาโดยไม่มีเจตนาให้มีผลใช้บังคับกัน แต่ได้ทำขึ้นมาเพื่อลวงให้บุคคลอื่นเข้าใจว่าคู่กรณีไต้ตกลง ทำนิติกรรมลักษณะนี้กัน และเพื่อเป็นการอำพรางหรือปกปิดนิติกรรมที่แท้จริงนั้นเอง
2. นิติกรรมที่ถูกอำพราง หมายถึง นิติกรรมที่แท้จริงของคู่กรณีที่ได้ทำขึ้นมา และต้องการ ให้มีผลใช้บังคับกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ได้ปกปิดอำพรางไว้ไม่เปิดเผยให้บุคคลอื่นรู้
ตามกฎหมายได้บัญญัติว่า ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ มาใช้บังคับ หมายความว่า ให้คู่กรณีบังคับกับด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางนั่นเอง ส่วนนิติกรรมที่เกิดจากการ แสดงเจตนาลวงจะมีผลเป็นโมฆะ
ตัวอย่าง ปู่ได้ยกรถยนต์คันหนึ่งให้แก่หลานที่ชื่อ ก. โดยเสน่หา แด่เกรงว่าหลานคนอื่นรู้ จะหาว่าปู่ลำเอียง จึงได้ทำสัญญาซื้อขายกับ ก. ไว้เพื่อลวงหลานคนอื่น ดังนี้นิติกรรมที่จะมีผลใช้บังคับกันระหว่าง ปู่กับหลานที่ชื่อ ก. คือนิติกรรมให้ ซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพราง ส่วนนิติกรรมซื้อขายตกเป็นโมฆะเพราะเป็นนิติกรรม ที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง
ข้อ 3. นายเอต้องการซื้อรถยนต์จากนายบี 1 คัน ราคา 350,000 บาท โดยตกลงกันด้วยวาจา ซึ่งนายเอ ได้ชำระหนี้ราคารถยนต์บางส่วนให้นายบีจำนวน 80,000 บาท ต่อมา นายบีไม่ยอมส่งมอบรถยนต์ให้ ถ้านายเอต้องการจะฟ้องร้องให้บังคับคดีจะทำได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์
มาตรา 456 “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน- เจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย
สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้ มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกัน เป็นราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย ”
วินิจฉัย
จากหลักกฎหมายดังกล่าว สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ ชนิดพิเศษ ถ้าไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะตกเป็นโมฆะ (ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคแรก) แต่ถ้าเป็นสัญญาจะซื้อขายหรือคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินดังกล่าว หรือสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ธรรมดา กฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้แต่อย่างใด
แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ หรือสัญญา ซื้อขายเสร็จเด็ดขาดสังหาริมทรัพย์ธรรมดาซึ่งตกลงกันเป็นราคา 20,000 บาทหรือกว่านั้นขึ้นไป จะฟ้องร้องบังคับคดี กันได้ จะต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปบี้คือ
1. มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ
2. มีการวางประจำ (หรือมัดจำ) ไว้หรือ
3. มีการชำระหนี้บางส่วน (ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม)
ตามปัญหา สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างนายเอและนายบีเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เพราะทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันเป็นสังหาริมทรัพย์ธรรมดา และเมื่อเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดสังหาริมทรัพย์ธรรมดา แม้ทั้งสองจะตกลงกันด้วยวาจา สัญญาซื้อขายดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายเพราะกฎหมาย ไม่ได้กำหนดเรื่องแบบไว้
และเมื่อสัญญาซื้อขายระหว่างบายเอและนายบีเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดสังหาริมทรัพย์ ที่มีราคามากกว่า 20,000 บาท และนายเอได้มีการชำระหนี้บางส่วนคือได้ชำระราคารถยนต์ให้แก่นายบีแล้ว 80,000 บาท ซึ่งถือว่ามีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีแล้ว ดังนั้น เมื่อนายบีไม่ยอมส่งมอบรถยนต์ให้แก่นายเอ นายเอย่อมสามารถที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้
สรุป นายเอสามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้
ข้อ 4. การเขียนตั๋วเงินผู้ถือที่สมบูรณ์ตามหลักกฎหมายมีอยู่อย่างไร อธิบาย
ธงคำตอบ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 909 และมาตรา 910 ได้บัญญัติหลักในการ เขียนตั๋วแลกเงินไว้ดังนี้คือ
ในการเขียนตั๋วแลกเงินไม่ว่าจะเป็นตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อผู้รับเงินหรือตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือนั้น ตั๋วแลกเงินจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ผู้เขียนตั๋วแลกเงินจะต้องเขียนให้มีข้อความหรือรายการที่สำคัญ 5 ประการ ให้ครบถ้วนเสมอ ได้แก่ข้อความดังต่อไปนี้คือ
1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน
2. คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนที่แน่นอน
3. ชื่อหรือรห้อผู้จ่าย
4. ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
5. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย
ถ้าหากผู้เขียนตั๋วแลกเงินได้เขียนโดยมีข้อความที่สำคัญดังกล่าวอันใดอันหนึ่งขาดตกบกพร่องไป เอกสารนั้นย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน
ตัวอย่าง นายหนึ่งต้องการออกตั๋วแลกเงินเพื่อชำระหนี้แก่นายสาม 100,000 บาท นายหนึ่ง ก็จะต้องเขียนตั๋วแลกเงินให้มีข้อความที่สำคัญ 5 ประการดังกล่าวข้างต้น โดยนายหนึ่งอาจจะเขียนโดยระบุให้นายสอง จ่ายเงินให้แก่นายสาม (ซึ่งถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อ) หรือนายหนึ่งอาจจะเขียนโดยสั่งให้นายสองผู้จ่าย จ่ายเงินให้แก่ผู้ถือตั๋วแลกเงิน (ซึ่งถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ) หรือนายหนึ่งอาจจะเขียนโดยสั่งให้นายสองผู้จ่าย จ่ายเงินให้แก่นายสามหรือผู้ถือก็ได้ (ซึ่งถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือเช่นเดียวกัน)