การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา POL3101 วิเคราะห์การเมืองเปรียบเทียบ
คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทั้ง 4 ข้อ แต่ละข้อต้องเขียนแสดงออกซึ่งความคิดเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน คาดหวังคําตอบข้อละประมาณ 3 – 5 หน้า
ข้อ 1 (ก) การเปรียบเทียบคืออะไร ?
ศึกษาอะไรบ้าง ?
อย่างไร ?
มีประโยชน์อย่างไร ?
มีความเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร ?
เทียบกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ (เคมี ชีวะ ฟิสิกส์) อย่างไร ?
สังคมโลกสนใจเปรียบเทียบเรื่องอะไรเป็นสําคัญ ? และ
(ข) จงเปรียบเทียบตัวแบบโครงสร้างหรือระบบ ตามแนวคิดของ David Easton กับของ Gabriel Almond อธิบายให้ละเอียดโดยยกตัวอย่างเกิดขึ้นจริงในชีวิตสังคมการเมืองไทย
แนวคําตอบ
การเปรียบเทียบ คือ การศึกษาวิเคราะห์ความคล้ายคลึงและความแตกต่างของคุณลักษณะ ต่าง ๆ ซึ่งการศึกษาเปรียบเทียบนั้นไม่จําเป็นในการตัดสินว่า ระบบการเมืองใดหรือสถาบันการเมืองใดดีที่สุด แต่เพื่อการเรียนรู้มากขึ้นว่า ทําไม (why) หรืออย่างไร (how) ในความเหมือนหรือความแตกต่าง และความเหมือน หรือความแตกต่างนั้นได้ส่งผลกระทบอะไรบ้าง
ลักษณะการศึกษาเปรียบเทียบ พิจารณาได้จาก
1 ความเหมือนและความแตกต่าง
– ความเหมือน (Similarities) เป็นลักษณะที่สอดคล้องกัน หรือคล้ายกันของสิ่งที่นํามา เปรียบเทียบ ส่วนความแตกต่าง (Differences) จะเป็นลักษณะที่ไม่สอดคล้องกัน ซึ่งอาจมีลักษณะของความ แตกต่างกันน้อย แตกต่างกันมาก หรือแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น ดูว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มีเนื้อหาใน ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง แตกต่างกับร่างรัฐธรรมนูญใหม่อย่างไร เป็นต้น
โดยส่วนที่ซ่อนอยู่ในเรื่องความเหมือนและความแตกต่างในการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ก็คือ องค์ความรู้หรือข้อมูลนั่นเอง ถ้าเรามีความรู้เฉพาะรัฐธรรมนูญฯ 2550 เพียงอย่างเดียวแต่ไม่รู้เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ การเปรียบเทียบความเหมือนหรือความแตกต่างก็ไม่สามารถทําได้ เนื่องจากข้อมูลที่นํามา เปรียบเทียบมีเพียงด้านเดียวเท่านั้น
2 หน่วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบ
หน่วยการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) เป็นกรอบของการวิเคราะห์ที่ใช้ในการศึกษา ทางการเมือง เพื่อให้การวิเคราะห์ดําเนินไปในทิศทางที่แน่นอน ซึ่งก็คือ การเลือกหน่วยที่จะทําการเปรียบเทียบนั่นเอง โดยอาจจะเป็นปัจจัยบุคคล องค์กร สถาบัน หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งอาจใช้หลักความเหมือนหรือความแตกต่าง และใช้ปัจจัยดังกล่าวในการเปรียบเทียบ สําหรับตัวอย่างของหน่วยการวิเคราะห์ทางการเมือง เช่น ผู้นํา บทบาท องค์กร สถาบันต่าง ๆ ทางการเมือง เป็นต้น
– หน่วยการวิเคราะห์นั้นถือว่ามีความสําคัญมากในการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ เพราะจะทําให้สามารถศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ที่ต้องการได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เนื่องจากมุมมองในการอธิบายการเมืองนั้น มีขอบเขตที่กว้างขวางมาก หากไม่มีหน่วยการวิเคราะห์ก็จะไม่ทราบว่าควรจะเริ่มศึกษาจากตรงไหน หรืออาจทําให้ การวิเคราะห์ไม่มีกรอบที่ชัดเจน ซึ่งทําให้การวิเคราะห์ดําเนินไปในทิศทางที่ไม่แน่นอน
ผู้ศึกษาจะต้องตั้งปัญหาพื้นฐานถามตัวเองก่อนว่า ควรจะนําหน่วยการวิเคราะห์อะไร มาใช้ในการศึกษาทางการเมือง เช่น ถ้าต้องการจะศึกษาผู้นํา หน่วยการวิเคราะห์ก็คือ ตัวผู้นํา โดยอาจจะมุ่งไปที่ ตัวนายกรัฐมนตรีหรือเปรียบเทียบความเป็นผู้นําของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันกับนายกรัฐมนตรีคนก่อนในแง่ของ บุคลิกภาพ ดังนั้นหน่วยการวิเคราะห์ตรงนี้ก็คือตัวนายกรัฐมนตรีนั่นเอง นอกจากนี้จะเห็นว่าในการศึกษาเปรียบเทียบ อาจจะวิเคราะห์หน่วยเหนือขึ้นไป เช่น กลุ่มทางสังคม สถาบันทางการเมืองต่าง ๆ ได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐธรรมนูญ พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ ฯลฯ
3 ระดับการวิเคราะห์
ระดับการวิเคราะห์ (Level of Analysis) เป็นการจัดชั้นและระดับของระบบการเมือง เพื่อทําให้เกิดความชัดเจนที่ผู้ศึกษาจะวิเคราะห์ถึงหน้าที่และโครงสร้างของระบบการเมืองนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น การแบ่งระดับการเมืองไทยออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น
ในการเปรียบเทียบที่มีการจัดระดับในการวิเคราะห์นั้น จะทําให้การศึกษาเปรียบเทียบ สามารถมองเห็นหรือเปรียบเทียบให้เห็นในทุกระดับ ตั้งแต่การวิเคราะห์ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่นได้ ซึ่งในการเปรียบเทียบนั้นจะต้องเปรียบเทียบในระดับเดียวกัน
4 การแจกแจงข้อมูล
การแจกแจงข้อมูล (Classification) เป็นการจัดระบบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อจะ ทําให้ผู้ศึกษาสังเกตเห็นความเหมือน (Similarities) และความแตกต่าง (Differences) ของข้อมูลนั้น ๆ ได้อย่าง ชัดเจน นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดทิศทางในการเลือกสรร การรวบรวม การจัดระบบระเบียบของข้อมูล และสร้าง กรอบความคิด ยุทธวิธีในการวิจัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ตัวอย่างเช่น การศึกษาข้อมูลในเรื่องการมีส่วนร่วม ทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ ข้อมูลที่ได้ควรจะต้องมีการจัดระเบียบเป็นหมวดหมู่ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ในการ เลือกตั้ง การเสนอกฎหมาย ฯลฯ โดยจะต้องใช้ข้อมูลที่มีการแจกแจงอย่างเดียวกันมาพิจารณา
สิ่งที่มักนํามาศึกษาเปรียบเทียบ
1 การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านการเมือง
2 การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
3 การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
4 การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
5 การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ
6 การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น
7 การวิเคราะห์เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมือง
8 การวิเคราะห์เปรียบเทียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง
9 การวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาผู้แทนราษฎร
10 การวิเคราะห์เปรียบเทียบวุฒิสภา เป็นต้น
ประโยชน์ของการเปรียบเทียบ
1 ช่วยให้ผู้ศึกษามองเห็นการเมืองและการปกครองของประเทศอื่นได้ชัดเจนและลึกซึ้ง ยิ่งขึ้น อันจะนํามาสู่ความเข้าใจต่อการเมืองของประเทศตัวเองที่ดีกว่าเดิม เมื่อผู้ศึกษาสามารถเชื่อมโยงอิทธิพล ความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างประเทศเหล่านั้นกับประเทศตัวเองได้
2 ช่วยให้ผู้ศึกษาหลีกเลี่ยงการใช้เชื้อชาติตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Ethnocentrism) ใน การตัดสินผู้อื่น อันนําไปสู่การเปิดใจกว้างต่อการปกครองที่หลากหลายยิ่งขึ้น เพราะรูปแบบการเมืองและการปกครองของประเทศที่ผู้ศึกษาอาศัยอยู่นั้นไม่ได้มีลักษณะเฉพาะตัวมาตั้งแต่ต้น หากแต่ได้รับอิทธิพลและได้ ผสมผสานกับรูปแบบการเมืองการปกครองของประเทศอื่นมานาน
3 ช่วยให้ผู้ศึกษามีทางเลือกหรือการแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่หลากหลายกว่าเดิมจากการเรียนรู้ถึงบริบท และพัฒนาการทางการเมืองของประเทศต่าง ๆ
4 ช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจภาวะปัจจุบัน รวมไปถึงกฎเกณฑ์สากลเกี่ยวกับการเมืองโลก เป็นต้น
ความเป็นวิทยาศาสตร์ของการวิเคราะห์เปรียบเทียบ
การวิเคราะห์เปรียบเทียบถือเป็นสังคมศาสตร์อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่มีห้องทดลองที่จะทําการศึกษา เหมือนกับวิทยาศาสตร์ แต่จะศึกษาโดยอาศัยรูปแบบ แบบแผน พฤติกรรมและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในแต่ละสังคม หรือในแต่ละประเทศ เสมือนเป็นห้องทดลองขนาดใหญ่ เพื่อเปรียบเทียบการเมืองระหว่างประเทศ วิธีการศึกษา เปรียบเทียบดังกล่าวถือเป็นเครื่องมือที่เก่าแก่ที่สุดเครื่องมือหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งความเป็นศาสตร์ดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นมาจากลักษณะสําคัญ 2 ประการ คือ
1 เป็นการศึกษาวิเคราะห์ที่เกิดจากความคิดและสติปัญญา โดยการตรึกตรองและ การวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผล ซึ่งสามารถที่จะพิสูจน์ได้ด้วยตัวแปรที่ควบคุมได้ แล้วจึงทําการทดสอบเพื่อหาข้อสรุป ที่ต้องการ
2 เป็นการศึกษาวิเคราะห์ที่เกิดจากประสบการณ์ของผู้ทําการศึกษา ซึ่งได้แก่ การดู การฟัง การสัมผัส เป็นต้น โดยจะต้องปลอดจากค่านิยมหรือตัดอคติออกไปแล้ว เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เที่ยงตรง และ เชื่อถือได้
เทียบกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ (เคมี ชีวะ ฟิสิกส์) ได้ดังนี้
1 การเลือกปัญหา (Problem Selection) จะเกี่ยวพันกับการสร้างทฤษฎีเพื่อเป็น องค์ประกอบของการสร้างปัญหาที่จะวิเคราะห์ว่าปัญหานั้น ๆ ควรมีตัวแปรอะไรเข้าไปเกี่ยวพันบ้าง และเมื่อมี ตัวแปรเหล่านั้นแล้วจะก่อให้เกิดปรากฏการณ์อะไรบ้าง ผู้ที่จะสร้างทฤษฎีทางสังคมจะต้องเลือกปัญหาที่มี ผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ในสังคม และต้องเป็นประเด็นที่คนส่วนมากให้ความสนใจ ผู้เลือกปัญหามาศึกษา จะต้องเป็นผู้มีจิตนาการที่กว้างไกลและมีความสํานึกต่อปัญหาสังคมนั้น ทั้งนี้เพราะปัญหาสังคมที่ล้ําลึกบางครั้ง เกิดจากสภาพสามัญสํานึกของนักทฤษฎีที่มีความรู้สึกว่าประเด็นนั้น ๆ สําคัญนั่นเอง ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัวของ บุคคล ดังนั้นการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบจะต้องอาศัยทั้งศิลปะ และวิทยาศาสตร์ทางสังคมเข้ามาช่วยอธิบาย ปรากฏการณ์ทางสังคม
2 การสังเกตอย่างเป็นระบบ (Systematic Observation) จะช่วยในการสร้างตัวแบบใน การเปรียบเทียบ ซึ่งจะต้องมีการจัดลําดับข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ และที่สําคัญจะต้องมีการพรรณนาข้อมูลที่ได้มา ในเชิงวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ นักสังคมศาสตร์นั้น ๆ จะต้องเป็นผู้มีจินตนาการ รู้จักจัดสรรข้อมูล และที่สําคัญจะต้อง สามารถอธิบายข้อมูลนั้น ๆ ได้อย่างเป็นระบบ มิใช่แต่นักวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่จะต้องมีความสามารถในการ พรรณนาข้อมูลที่ค้นคว้ามา นักเคมี นักชีววิทยา และนักฟิสิกส์ก็จะต้องมีความสามารถในการสังเกตและพรรณนา ข้อมูลที่ได้มาจากการสังเกตอย่างเป็นระบบด้วย เมื่อข้อมูลที่จัดเก็บมาอย่างเป็นระบบนั้นถูกนํามาวิเคราะห์ ก็จะ สามารถตั้งเป็นสมมุติฐานและทําการทดสอบต่อไปได้นั่นเอง
สังคมโลกมักเปรียบเทียบในประเด็นที่สําคัญดังนี้
1 การพัฒนา ซึ่งเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ดีขึ้น โดยมีเป้าหมาย ที่ชัดเจน และชี้วัดความเป็นอยู่ของประชากรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการพัฒนานั้นจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาใน ด้านต่าง ๆ เช่น
– การพัฒนาเศรษฐกิจ คือ การทําให้รายได้ที่แท้จริงต่อคนเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็น เวลานาน เพื่อทําให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกทั้งยังทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้าน เศรษฐกิจและสังคม
– การพัฒนาการศึกษา คือ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและการ เรียนรู้ของประชาชน เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ รวมไปถึงส่งเสริม การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา
– การพัฒนาสังคม คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ดีทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และวัฒนธรรม เพื่อประชาชนจะได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งทางด้านที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม สุขภาพอนามัย การศึกษา การมีงานทํา มีรายได้เพียงพอในการครองชีพ ประชาชนได้รับความเสมอภาค
– ความยุติธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้ประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการเปลี่ยนแปลงทุกขั้นตอนอยางมีระบบ
2 ความเป็นประชาธิปไตย ประเทศที่ได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นประชาธิปไตยนั้น จะมีลักษณะที่สําคัญ คือ ต้องยึดถืออํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ต้องมีการเลือกตั้ง ยึดหลักของเสียงข้างมาก สิทธิขั้นพื้นฐานของเสียงข้างน้อยจะต้องได้รับการเคารพและการรับฟัง ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง มีเสรีภาพ ในการแสดงออก มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เคารพเหตุผลมากกว่าบุคคล นอกจากนี้เรายังสามารถพิจารณา ความเป็นประชาธิปไตยได้จากเรื่องต่าง ๆ เช่น
– หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) คือ การบริหารกิจการบ้านเมืองและ สังคมที่ดี เป็นแนวทางสําคัญในการจัดระเบียบให้สังคมรัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งครอบคลุมถึง ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคี และ รวมกันเป็นพลังก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยหลักธรรมาภิบาลนั้นจะมีองค์ประกอบที่สําคัญ 6 ประการ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้ หลักความคุ้มค่า และ หลักคุณธรรม
– หลักสิทธิมนุษยชน (Human Right) คือ สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและ การกระทําที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่ได้มาพร้อมกับการเกิด และเป็นสิทธิติดตัวบุคคลนั้น ตลอดไปไม่ว่าจะอยู่ในเขตปกครองใด หรือเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาใด ๆ ซึ่งไม่สามารถถ่ายโอนกันได้ เช่น สิทธิในร่างกาย สิทธิในชีวิต เป็นต้น
3 สิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็น รูปธรรมและนามธรรม ซึ่งมีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน และเป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน โดยผลกระทบ จากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทําลายอีกส่วนหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมยังถือว่าเป็น วงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ สิ่งแวดล้อมสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1) สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา น้ํา ดิน ฟ้า อากาศ
ทรัพยากร ฯลฯ
2) สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ บ้านเรือน ถนน สนามบิน เขื่อน เทคโนโลยี
การตัดต่อพันธุกรรม ชุมชนเมือง ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม
ศาสนา การเมืองการปกครอง ฯลฯ
เปรียบเทียบตัวแบบโครงสร้างหรือระบบของ David Easton และ Gabriel Almond David Easton นั้นได้เสนอแนะการวิเคราะห์การเมืองเปรียบเทียบโดยดูหน่วยการวิเคราะห์ เชิงระบบ ซึ่งเขาเห็นว่าการใช้ระบบในการวิเคราะห์การเมืองจะสามารถสร้างความเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ที่มี ความสัมพันธ์เข้ากันและเรียกว่า “การเมือง” ได้ การศึกษาของเขาช่วยสร้างศาสตร์แห่งการสื่อสารทางการเมือง เพื่อสร้างระบบที่เชื่อมโยงการเมืองในที่ต่าง ๆ ได้ โดยสามารถเปรียบเทียบในเชิงปรากฏการณ์ทางการเมือง สรีระของสังคม และพฤติกรรมของระบบการเมืองได้
2) สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ บ้านเรือน ถนน สนามบิน เขื่อน เทคโนโลยีการตัดต่อพันธุกรรม ชุมชนเมือง ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม
ศาสนา การเมืองการปกครอง ฯลฯ % เปรียบเทียบตัวแบบโครงสร้างหรือระบบของ David Easton และ Gabriel Almond
David Easton นั้นได้เสนอแนะการวิเคราะห์การเมืองเปรียบเทียบโดยดูหน่วยการวิเคราะห์ เชิงระบบ ซึ่งเขาเห็นว่าการใช้ระบบในการวิเคราะห์การเมืองจะสามารถสร้างความเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ที่มี ความสัมพันธ์เข้ากันและเรียกว่า “การเมือง” ได้ การศึกษาของเขาช่วยสร้างศาสตร์แห่งการสื่อสารทางการเมือง เพื่อสร้างระบบที่เชื่อมโยงการเมืองในที่ต่าง ๆ ได้ โดยสามารถเปรียบเทียบในเชิงปรากฏการณ์ทางการเมือง สรีระของสังคม และพฤติกรรมของระบบการเมืองได้
1 ปัจจัยนําเข้า (Input) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1) การเรียกร้อง (Demand) อาจจะเป็นการเรียกร้องเพื่อสนองตอบต่อความต้องการ ทางรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับลักษณะและขนาดของการเรียกร้องเอง เช่น กรณีประชาชนที่เดือดร้อน ในเรื่องที่ทํากินและปัญหาหนี้นอกระบบ ถ้าประชาชนเพียงคนเดียวเรียกร้องรัฐบาลอาจจะไม่รับฟัง หรือรับฟังแต่ไม่ ตอบสนอง ในทางตรงกันข้าม ถ้าประชาชนจํานวนมากรวมตัวกันเรียกร้องในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ชุมนุมเดินขบวนปิดถนน ฯลฯ ข้อเรียกร้องดังกล่าวก็จะมีผลเกิดขึ้น กล่าวคือ รัฐบาลหรือนายกรัฐมนตรีจะรับฟังและนําไปพิจารณาต่อไป
2) การสนับสนุน (Support) สามารถแยกได้เป็น 3 ส่วน คือ
– การสนับสนุนประชาคมทางการเมือง คือ การที่สมาชิกที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ในระบบการเมือง มีความผูกพันกันในแง่ของความตั้งใจร่วมมือร่วมแรงกันในการแก้ไขปัญหาของระบบการเมือง ซึ่งจะแสดงออกโดยการแบ่งงานกันทํา เช่น กลุ่มชาวนา กลุ่มนักศึกษา กลุ่มสื่อมวลชน เป็นต้น ซึ่งการสนับสนุน ประชาคมทางการเมืองนั้นจะเป็นเรื่องของความรู้สึกเป็นเจ้าของสังคมร่วมกันนั้นเอง
– การสนับสนุนระบอบการเมือง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้าง ความชอบธรรมของระบอบการเมืองในการทําให้สมาชิกยอมรับ เช่น ระบอบประชาธิปไตยมีความชอบธรรมที่จะ ให้สมาชิกของสังคมยอมรับในกฎกติกา รัฐธรรมนูญ และรูปแบบการปกครองด้วย แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามระบอบ การเมืองไม่ได้รับการสนับสนุนจะมีผลเสียอย่างมาก นั่นคือ มีผลทําให้เกิดการต่อต้านที่รุนแรง เกิดจลาจลขึ้นได้
– การสนับสนุนผู้มีอํานาจหน้าที่ทางการเมือง หมายถึง การสนับสนุนบุคคล ที่เข้าไปทําหน้าที่บริหารบ้านเมืองหรือรัฐบาล โดยดูจากความพึงพอใจของสมาชิกต่อการตัดสินใจของระบบ เช่น การที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกการเก็บภาษีเข้ากองทุนน้ํามัน หรือดูจากความพอใจต่อนโยบาย รถยนต์คันแรก เป็นต้น
2 ระบบการเมือง (System) ประกอบด้วย
1) ผู้เฝ้าประตู (Gate Keeper) ทําหน้าที่รวบรวมข้อมูลก่อนที่จะส่งต่อไปสู่ระบบ การเมืองเป็นผู้ตัดสินใจ ตัวอย่างผู้เฝ้าประตู เช่น กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง เป็นต้น
2) รัฐบาลหรือรัฐสภา (ผู้ตัดสินใจ)
3 ปัจจัยนําออก (Output) อาจสรุปได้ดังนี้ คือ
1) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของระบบ การเมือง เช่น เศรษฐกิจตกต่ํา อัตราการว่างงานสูง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการเมือง
2) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในระบบการเมืองเอง ซึ่ง Output ประเภทนี้จะมีผล ต่อระบบการเมืองและสภาพแวดล้อมของระบบ
– จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่ผ่านออกมาจากระบบนั้น จะมีลักษณะบังคับ เช่น ประกาศ คําสั่ง ” ข้อบังคับ กฎหมาย ฯลฯ นอกจากนี้การดําเนินการยังมีผลผูกพันเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ก็เพื่อเอื้ออํานวยประโยชน์และ ความสะดวกแก่คนบางกลุ่มในระบบนั้นเอง
4 การสะท้อนป้อนกลับ (Feedback) ก็คือ การป้อนข้อมูลย้อนกลับเพื่อนํามาสู่กระบวนการ Input อีกครั้งหนึ่งว่า Output ที่ออกไปนั้นสามารถแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ ผลเป็นอย่างไร
5 สิ่งแวดล้อม (Environment) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) สิ่งแวดล้อมภายใน (Internal Environment) ซึ่งจะเป็นสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ชิด กับระบบการเมืองมาก ประกอบด้วย
– สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ซึ่งเป็นเรื่องสภาพทั่วไป เช่น อาคาร สิ่งปลูกสร้างชุมชน ถนน ลําคลอง ฯลฯ – สิ่งแวดล้อมทางชีววิทยา เป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความมีเหตุผล
การร่วมมือร่วมใจกัน และความขัดแย้งที่เกิดขึ้น – สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาและสังคม ซึ่งได้แก่ วัฒนธรรมในสังคม โครงสร้างทางสังคม ระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างด้านประชากร ฯลฯ
2) สิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment) เช่น วิกฤติเศรษฐกิจตกต่ําของโลก ปัญหาที่เกิดกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น
ส่วน Almond นั้นเชื่อว่าถ้าผู้ศึกษาเปรียบเทียบให้ความสําคัญกับการศึกษาพฤติกรรมและการ แสดงออกของคนจะช่วยให้การศึกษาเปรียบเทียบก้าวสู่ขั้นที่ก้าวหน้าไปจากการศึกษาเดิมที่ให้ความสําคัญกับ กฎหมายและพิธีการ และจากหน่วยการวิเคราะห์เดิมที่ศึกษาสถาบันทางการเมืองเป็นหลัก นักรัฐศาสตร์ก็จะหันมา สนใจ “บทบาท” (Role) และ “โครงสร้าง” (Structure) ซึ่ง Almond ได้ให้คําจํากัดความของบทบาทว่าเป็นหน่วยที่มีการปะทะสัมพันธ์ในระบบการเมือง และแบบแผนของการบะทะสัมพันธ์ก็คือระบบนั่นเอง
Almond ได้รับอิทธิพลทางความคิดในการวางแผนเปรียบเทียบระบบการเมืองจาก David Easton ในหนังสือชื่อ “ระบบการเมือง” (The Political System) โดยเขาให้หลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ระบบการเมืองไว้ดังนี้
Almond เห็นว่า หน้าที่ (Function) ของระบบการเมืองสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ
- หน้าที่ในการส่งปัจจัยเข้าสู่ระบบ (Input Functions) ได้แก่
1) การอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) ซึ่งถือว่าเป็น กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมการเมือง และการสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย
2) การคัดเลือกคนเข้าสู่ระบบการเมือง (Political Recruitment) ซึ่งหมายถึง การคัดเลือกหรือสรรหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อเป็นตัวแทนเข้าไปทําหน้าที่ต่าง ๆ ทางการเมือง
3) การเป็นปากเสียงของผลประโยชน์ที่ชัดเจน (Interest Articulation) หมายถึง การแสดงออกถึงความต้องการของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ในสังคม เพื่อให้รัฐบาลหรือหน่วยที่ตัดสินใจกําหนด นโยบายต่อไป
4) การรวบรวมผลประโยชน์ (Interest Aggregation) ก็คือ การสมานฉันท์ของ การเรียกร้องที่เสนอเข้าสู้ในระบบการเมือง ซึ่งสามารถเห็นได้จากการรวมกลุ่มกันของกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มอาชีพ หรือกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เป็นต้น
5) การสื่อสารทางการเมือง (Political Communication) คือ การถ่ายทอดแลกเปลี่ยน ข่าวสารของส่วนต่าง ๆ ในระบบและระหว่างระบบ
2 หน้าที่ในการส่งปัจจัยออกจากระบบการเมือง (Output Functions) ได้แก่
1) การออกกฎระเบียบ (Rule Making) ซึ่งหมายถึง อํานาจของฝ่ายนิติบัญญัติ 2) การบังคับใช้กฎระเบียบ (Rule Application) ซึ่งหมายถึง อํานาจของฝ่ายบริหาร
3) การตีความกฎระเบียบ (Rule Adjudication) ซึ่งหมายถึง อํานาจของฝ่ายตุลาการ โดย Almond มีความเห็นสอดคล้องกับ Easton นั่นคือ การเรียกร้องและการสนับสนุน
– การเรียกร้อง แบ่งได้เป็น 4 ประการ คือ
1) การเรียกร้องให้มีการจัดสรรสินค้าและบริการ เช่น เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เพิ่ม
สถานศึกษา เพิ่มสถานพยาบาล ฯลฯ
2) การเรียกร้องให้มีการออกกฎควบคุมความประพฤติ เช่น การขอให้มีการควบคุมราคาสินค้า คุ้มครองลิขสิทธิ์ ปราบปรามโจรผู้ร้าย ฯลฯ
3) การเรียกร้องให้มีส่วนร่วมในระบอบการเมือง เช่น เรียกร้องสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฯลฯ
4) การเรียกร้องให้มีการสื่อสารและได้รับทราบข้อมูลจากระบบการเมือง เช่น ต้องการรับรู้เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ การยืนยันสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายว่าไม่ผิดจนกว่าศาลจะตัดสิน ฯลฯ
– การสนับสนุน มีอยู่ 4 ประการ คือ
1) การสนับสนุนทางวัตถุ เช่น การสนับสนุนในรูปตัวเงิน การจ่ายภาษีให้รัฐโดยไม่บิดพลิ้ว การเข้ารับราชการทหาร ฯลฯ
2) การเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เช่น การให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามกฎหมาย การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ฯลฯ
3) การสนับสนุนในลักษณะที่เป็นการเข้ามามีส่วนร่วม เช่น การใช้สิทธิเลือกตั้งการออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ฯลฯ
4) สนใจข่าวสารของรัฐ เคารพผู้มีอํานาจทางการเมือง สัญลักษณ์ต่าง ๆ รวมทั้งพิธีการของสังคม
ข้อ 2 (ก) การพัฒนาที่แท้จริงคืออะไร ? ขณะนี้ประเทศไทยประกาศการปฏิรูปประเทศมากมาย เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12, Thailand 4.0, Digital Thailand เป็นต้น ทั้งหมดดังกล่าวจะทําให้สังคมไทยมีการพัฒนาที่แท้จริงหรือเป็นเพียง “การทันสมัยแต่ด้อยพัฒนา” ? ทําไม ?
จงอธิบายและระบุตัวชี้วัดการพัฒนาที่แท้จริงให้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม และ
(ข.) สังคมไทยจําเป็นต้องกล่อมเกลาปลูกฝังผู้คนในสังคมในมิติใดบ้าง เพื่อให้เกิดมีวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมตามตัวชี้วัดการพัฒนาที่แท้จริงที่ระบุในข้อ
ก และใครหรือองค์กรใดบ้างจะทําหน้าที่ เป็นผู้ปลูกฝังกล่อมเกลา (Change agents) ระบุและอธิบายให้ชัดเจน
แนวคําตอบ
การพัฒนาที่แท้จริง คือ กระบวนการที่ทําให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในลักษณะที่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการผลิต โครงสร้างทางสังคม ค่านิยม ทัศนคติ การศึกษา ระบบการปกครอง และการใช้ทรัพยากรที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของประเทศ นอกจากนี้ยังทําให้เกิดการกระจายรายได้ ที่เป็นไปอย่างเสมอภาค นั่นคือ ประชากรส่วนใหญ่จะต้องได้รับประโยชน์จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน และนําไปสู่ความกินดีอยู่ดีของประชาชนโดยถ้วนหน้า
สาระสําคัญหนึ่งในการปฏิรูปประเทศ ก็คือ ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ปี 2560 – 2579) อันประกอบด้วย วิสัยทัศน์ เป้าหมายอนาคตของชาติที่คนไทยทุกคนต้องการบรรลุร่วมกัน รวมทั้งยุทธศาสตร์หลัก หรือนโยบายแห่งชาติและมาตรการเฉพาะ ซึ่งเป็นแนวทาง ทิศทาง และวิธีการที่ทุกองค์กรและคนไทยทุกคนต้อง มุ่งดําเนินการไปพร้อมกันอย่างประสานสอดคล้องเพื่อให้บรรลุซึ่งสิ่งที่คนไทยทุกคนต้องการ คือ ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในทุกสาขาของกําลังอํานาจแห่งชาติ ได้แก่ การเมืองภายในประเทศ การเมือง ต่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา การทหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และคนไทยทุกคนอยู่ดีมีสุข
รัฐบาลจึงได้ประกาศแผน ฯ ปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน ตามยุทธศาสตร์ชาติ เช่น พัฒนาให้มี ความรู้ความเข้าใจการเมืองการปกครอง, พัฒนาโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐให้ทันสมัย, ทบทวนหรือยกเลิกกฎหมาย ที่ล้าสมัย, กระบวนการยุติธรรมเป็นไปอย่างรวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้, ยกระดับผลิตภาพ ความสามารถใน การแข่งขันสูงขึ้น, รักษา ฟื้นฟูให้สมบูรณ์ละยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
มาตรการดังกล่าวนั้นสามารถทําให้ประเทศไทยเกิดการพัฒนาที่แท้จริงเกิดขึ้นอย่างแน่นอน โดยมีประเด็นการพัฒนาที่สําคัญในอนาคต หากประชาชนทุกภาคส่วนร่วมมือกันในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้าน ต่าง ๆ อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องดังต่อไปนี้ คือ
1 การพัฒนาคน / ทรัพยากรมนุษย์ในทุกช่วงวัย เป็นการพัฒนาในทุกมิติทั้งด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติ สุขภาพกายและจิตใจ และจิตวิญญาณอย่างจริงจัง เพื่อให้คนไทยเป็นคนมีคุณภาพอย่างแท้จริง
2 การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ําและสร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการให้บริการทางสังคมเป็นไปอย่างทั่วถึง
3 การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการที่มุ่งสู่คุณภาพ มาตรฐาน และความยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจศักยภาพสูงบนฐานของการเพิ่มผลิตภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสําหรับการพัฒนา เศรษฐกิจและการพัฒนาสังคม
4 การปฏิรูปภาครัฐและกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อสร้างความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ ให้บริการคุณภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
5 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและพัฒนานวัตกรรมให้ก้าวหน้าทันโลก สามารถ ตอบโจทย์การผลิตและบริการที่มีมูลค่าสูงและแข่งขันได้ และมีคุณค่าทําให้คุณภาพชีวิตดีโดยการสร้างสภาวะ แวดล้อมและปัจจัยสนับสนุนที่เอื้อต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อก้าวผ่านจากการเป็นผู้ซื้อ เทคโนโลยีไปสู่การเป็นผู้ผลิตและขายเทคโนโลยี เป็นต้น
6 ตัวชี้วัดการพัฒนาที่แท้จริง ได้แก่
1 ความมั่นคงทางการเมือง หรือบางครั้งอาจใช้คําว่า “เสถียรภาพทางการเมือง” ก็ได้ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก
– ความต่อเนื่องของระบบการเมือง ซึ่งเราพบว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือมีความ มันคงทางการเมือง มักจะมีความต่อเนื่องทางการเมือง ไม่มีการแทรกแซงของทหาร กลไกทางการเมืองดําเนินไป ตามกฎหมายที่กําหนดไว้ ขณะที่การเมืองในประเทศที่กําลังพัฒนามักมีปัญหาเรื่องของการแทรกแซงของทหาร หรือถูกแทรกแซงจากภายนอกซึ่งไม่ใช่เงื่อนไขทางการเมือง
– ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มักถูกเชื่อมโยงกับความมั่นคงทางการเมืองเสมอ เนื่องจากประเทศใดที่มีเศรษฐกิจไม่ดี มีคนว่างงานจํานวนมาก รายได้ของประชาชนน้อยลง สินค้ามีราคาแพงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อรัฐบาลอย่างแน่นอน ดังนั้นเสถียรภาพหรือความมั่นคงทางการเมืองย่อมลดลงถ้าเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตค่อนข้างสูงก็จะทําให้เสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลมีมากเช่นกัน
– สังคม ปัญหาสังคมมักเชื่อมโยงกับปัญหาทางเศรษฐกิจ และนําไปสู่ปัญหาทาง การเมืองของประเทศ ตัวอย่างเช่น ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาของยาเสพติด ปัญหาของคนว่างงาน ปัญหาของผู้ไร้ที่อยู่อาศัย เป็นต้น
2 สถาบันทางการเมือง
– รัฐธรรมนูญ ถือเป็นกฎหมายสูงสุด และเป็นสถาบันทางการเมืองที่สําคัญของ ประเทศ เนื่องจากรัฐธรรมนูญจะเป็นตัววางกรอบโครงสร้างทั้งหมดทางการเมืองที่จะพูดถึงในเรื่องสิทธิ อํานาจหน้าที่ และที่มาของสถาบันตัวอื่น ๆ รวมทั้งสมาชิกทางการเมืองในแบบต่าง ๆ ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงต้องมีความชอบธรรม ไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อวัฒนธรรมและวิถีการดําเนินชีวิตของคนในชาติ นอกจากนี้จะต้องไม่มีความเอนเอียง หรืออํานวยประโยชน์ให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างเด็ดขาด มิฉะนั้นจะถูกยับยั้งและเกิดการรวมกลุ่มของประชาชน เพื่อต่อต้าน ดังนั้นการมีรัฐธรรมนูญที่ดีจึงก่อให้เกิดการพัฒนาทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
– สภา ถือเป็นสถาบันทางการเมือง ซึ่งเราให้ความสนใจในเรื่องที่มาและอํานาจหน้าที่ ของสภาว่ามีอะไรบ้าง สมาชิกมาจากการสรรหาหรือการแต่งตั้ง สัดส่วนของ ส.ส. และ ส.ว. เป็นเท่าใด สิ่งเหล่านี้ จะถูกนํามาพิจารณาทั้งสิ้น นอกจากนี้เรายังมองไปถึงพฤติกรรมของสมาชิกในสภาว่ามีลักษณะเช่นไร
– พรรคการเมือง ถือว่าเป็นสถาบันทางการเมืองที่สําคัญที่จะเปิดโอกาสให้แต่ละพรรค ที่มีนโยบายและอุดมการณ์ของตนเองได้มีบทบาทในการสรรหาคนที่มีความรู้ ความสามารถเพื่อเป็นตัวแทนให้กับประชาชนเข้าไปทําหน้าที่ในสภา พรรคการเมืองที่มีโอกาสทําหน้าที่บริหารประเทศ จะต้องรู้จักวางแนวทางในการ
– ทําหน้าที่เมื่อเป็นรัฐบาล มีนโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ และรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ ของประเทศชาติเสมอ
3 การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ถือเป็นหัวใจของการพัฒนาการเมือง เพราะเมื่อใดก็ตามที่ ประเทศมีสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การเมืองก็มักจะขับเคลื่อนไปได้ยาก ฉะนั้นถ้าประเทศใดก็ตามที่มีภาวะเศรษฐกิจที่ดี ประชาชนอยู่ดีกินดี มีการศึกษาที่ดี และมีความรู้ การซื้อสิทธิขายเสียงก็มักจะทําได้ยาก ในทางตรงกันข้าม ถ้า ประเทศใดมีภาวะเศรษฐกิจตกต่ํา ประชาชนอดอยาก ขาดการศึกษา การซื้อสิทธิขายเสียงก็มักจะทําได้ง่าย ดังนั้น จะเห็นว่าการพัฒนาทางการเมืองจึงมักจะถูกเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจเสมอโดยทั้ง 2 ตัวแปรมักแยกกันไม่ออก เป็นต้น
การกล่อมเกลาปลูกฝังผู้คนในสังคมเพื่อให้มีวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมตามตัวชี้วัดการพัฒนา ที่แท้จริง มีดังนี้
1 ภาครัฐจะต้องมุ่งเน้นสร้างประชาธิปไตยทางการเมือง และประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ โดยเร็ว รวมทั้งมีระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมคุ้มครองความมั่นคงให้แก่ประชาชน ไม่ใช่มีไว้เพื่อให้พรรคการเมือง บางพรรคนําไปใช้เป็นเงื่อนไขกับประชาชน เพื่อนําไปใช้เป็นนโยบายประชานิยมในการนําตนเข้าไปสู่อํานาจ หรือ ซื้อเวลาให้ตนอยู่ในอํานาจเท่านั้น
2 ภาครัฐจะต้องรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชน เพื่อส่งเสริมในเรื่องการสร้างจิตสํานึก ทางการเมือง วัฒนธรรม ค่านิยม การมีส่วนร่วมทางการเมือง การเรียนรู้ประชาธิปไตยร่วมกันระหว่างพลเมือง โดยเฉพาะชาวบ้านในชนบท ชนชั้นกลางในเมือง นิสิตและนักศึกษา
3 เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น โดยมีกฎหมายรองรับ อีกทั้งรัฐบาล ภาครัฐ และภาคการศึกษาจะต้องส่งเสริมและผลักดันให้มีกิจกรรมเพื่อสังคมของนักเรียน นักศึกษาตามมหาวิทยาลัย และโรงเรียนต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อช่วยสร้างจิตสํานึกทางการเมืองที่ดีให้แก่ประชาชนและสังคม
4 ในด้านภาคการศึกษาจะต้องปลูกฝังจิตสํานึกทางการเมือง โดยมีวิชาสิทธิตามรัฐธรรมนูญ สิทธิพลเมือง และอุดมการณ์ทางการเมือง บรรจุในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ
5 ในด้านภาคกฎหมายจะต้องมีกฎหมายป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงที่เข้มข้น ผู้ที่ซื้อสิทธิ หรือขายเสียงต้องมีโทษความผิดที่หนัก เพื่อป้องกันวัฒนธรรมการซื้อสิทธิขายเสียง
6 ภาครัฐและภาคประชาชนต้องร่วมกันปฏิรูป กํากับ และรณรงค์จริยธรรมคุณธรรม ทุกภาคส่วนในสังคมไทย โดยไม่ฝากความหวังไว้กับองค์กรอิสระ มากกว่าการสร้างภาคพลเมืองให้เข้มแข็ง เป็นต้น
ผู้ที่จะทําหน้าที่เป็นผู้ปลูกฝังกล่อมเกลา (Change agents) ได้แก่
– ครอบครัว การสร้างสังคมที่ดีและการกล่อมเกลาวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบ ประชาธิปไตยจําเป็นต้องใช้สื่อในการสร้างความรู้ทางการเมือง โดยครอบครัวถือว่าเป็นหน่วยแรกในการฝึก ให้เด็กได้รับรู้สภาพและเป็นการปูพื้นฐานทางการเมือง นักรัฐศาสตร์เปรียบเทียบได้ให้ความสําคัญกับครอบครัว และบทบาทของครอบครัวในการสร้างประสบการณ์ให้กับเด็กเป็นอย่างมาก ซึ่งครอบครัวจะช่วยในเรื่องการ หล่อหลอมทางการเมืองได้ 3 แนวทางด้วยกัน คือ
1) ครอบครัวจะช่วยถ่ายทอดทัศนะของพ่อแม่ต่อเด็ก โดยเด็กจะเรียนรู้สภาพ ความคิดและโอกาสในการแสดงความคิดเห็นจากทัศนคติของพ่อแม่ เช่น ถ้าพ่อแม่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือเปิดโอกาสและพูดคุยการเมืองให้กับเด็กแล้ว เด็กคนนั้นก็จะได้รับรู้และมีจิตใจเป็นประชาธิปไตย ฯลฯ แม้ว่า บางครั้งในสังคมไทยอาจจะมีบางครอบครัวที่มีความเผด็จการกับลูก ๆ อยู่บ้าง แต่โดยทั่วไปแล้วก็ยังถือได้ว่ายังมี ความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าเผด็จการ
2) พ่อแม่จะมีลักษณะเป็นตัวแบบให้กับเด็ก โดยเด็กจะมีการเลียนแบบจากสิ่งที่ พ่อแม่กระทํา เช่น พฤติกรรมในการกิน การแบ่งปัน การช่วยเหลือผู้อื่น ความมีน้ําใจ การมีส่วนร่วม การมีนิสัย ชอบการเลือกตั้ง ชอบแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ฯลฯ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เด็กจะเรียนรู้และตามแบบจากพ่อแม่
3) บทบาทและสิ่งที่เด็กคาดหวังที่จะกระทําเมื่อเป็นผู้ใหญ่ จะมีความสัมพันธ์กับ การแสดงออกทางการเมืองของเขา นั่นคือ เด็กจะแสดงออกทางการเมืองอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับความหวังที่เขาได้รับ เมื่อครอบครัวสั่งสอน เขาอาจมีเป้าหมายที่จะเป็นนักการเมือง เป็นรัฐมนตรี หรือเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเขาเติบโต ขึ้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีผลผูกพันกับระบบการเมืองแทบทั้งสิ้น
– โรงเรียน นับว่ามีบทบาทอย่างยิ่งในการสร้างให้เกิดสังคมที่ดี และเป็นหน่วยสร้าง การกล่อมเกลาวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย ซึ่งโดยทั่วไปเด็กมีโอกาสได้รับอิทธิพล ในการเรียนรู้จากโรงเรียนค่อนข้างมาก เนื่องจากระยะเวลาที่อยู่ในโรงเรียนมีเวลานาน จึงเป็นผลให้ความรู้ ทางการเมืองที่เด็ก ๆ จะได้รับมีการสะสมมานานจนสามารถฝังอยู่ในความทรงจํา
ในสังคมไทยนั้นระบบโรงเรียนและการจัดการเรียนการสอนนับว่ามีอิทธิพลต่อความเชื่อ ของเด็กมาก เด็กมักจะเชื่อฟังครูมากกว่าพ่อแม่ เนื่องจากมีโอกาสอยู่ในโรงเรียนมากกว่าที่บ้าน เมื่อเด็กมีการศึกษามากขึ้นโอกาสที่เขาจะได้รับรู้ความเป็นไขทางการเมืองก็จะมากกว่าคนที่ไม่มีการศึกษา เนื่องจากเขาสามารถศึกษา เพิ่มเติมได้จากสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ บทความ การสนทนาทางวิชาการ ฯลฯ ซึ่งคนที่ต้อยการศึกษาอาจไม่ได้รับ ในรายละเอียดได้มากเท่ากับคนที่มีการศึกษา นอกจากนี้โรงเรียนยังช่วยในการสร้างค่านิยมของระบอบประชาธิปไตย ให้เยาวชนผูกพันกับระบอบประชาธิปไตยได้อีกด้วย
– สื่อมวลชน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ ต่างก็เข้ามามีบทบาทใน ชีวิตประจําวันของประชาชนมากขึ้น ซึ่งในการสร้างสังคมที่ดีและการกล่อมเกลาวัฒนธรรมทางการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยจําเป็นต้องใช้สื่อมวลชนมาเป็นเครื่องมือในการอบรมหรือเป็นช่องทางในการเผยแพร่
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมือง ดังนั้นการนําเสนอข้อมูลของสื่อมวลชนจึงมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อ การพัฒนาการเมืองของไทย เพราะถ้าสื่อมวลชนไม่มีความเป็นกลางทางการเมืองและนําเสนอข่าวสารที่บิดเบือน จากข้อเท็จจริงแล้ว อาจทําให้ประชาชนหรือเยาวชนสับสนกับข้อมูลข่าวสารที่ได้รับและก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้นได้
ข้อ 3 ให้นักศึกษาหยิบยกประเด็นทางการเมืองประเด็นใดประเด็นหนึ่งขึ้นมาวิเคราะห์ โดยเลือกใช้แนวทางการศึกษา (Approach) ของการเมืองเปรียบเทียบแนวทางใดแนวทางหนึ่งที่เห็นว่าเหมาะสม จะใช้ในการอธิบาย โดยให้บรรยายถึงลักษณะของประเด็นปัญหาหรือเหตุการณ์ วิเคราะห์สาเหตุ และบอกถึงแนวทางแก้ปัญหาหรือแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
แนวคําตอบ
“การแทรกแซงทางการเมืองของทหาร” ถือเป็นประเด็นทางการเมืองหนึ่งที่สําคัญซึ่งมัก เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศโลกที่สาม หลังจากประเทศมหาอํานาจส่วนใหญ่ได้ปลดปล่อยประเทศในอาณานิคม ของตนออกมาเป็นประเทศเอกราชที่เกิดใหม่ ซึ่งประเทศเอกราชเหล่านี้มักมีแนวทางการพัฒนารูปแบบของ ระบอบการปกครองเหมือนกับประเทศแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตย แต่การพัฒนาไปสู่ ความเป็นประชาธิปไตยกลับไม่ประสบความสําเร็จ เกิดช่องว่างของอํานาจทางการเมือง โดยทหารมักจะเป็น กลุ่มทางสังคมที่มีพลัง มีประสิทธิภาพ และมีเทคโนโลยีที่สามารถเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองได้
บทบาททางการเมืองของทหาร มีวิวัฒนาการดังนี้
ช่วงที่ 1 ระหว่างปี ค.ศ. 1930 นักรัฐศาสตร์ในสหรัฐอเมริกามีปฏิกิริยาต่อต้านการขยายตัว ของระบอบการปกครองแบบเผด็จการในยุโรป เกิดทฤษฎีและรูปแบบของนายทหารประจําการ ซึ่งจะสร้างสรรค์ อํานาจเผด็จการและใช้ความรุนแรงในรูปแบบใหม่
ช่วงที่ 2 เมื่อสงครามโลกครั้ง 2 สงบ แนวทางการศึกษาบทบาททางการเมืองของทหารได้ มุ่งเน้นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับพลเรือน ทหารได้พัฒนาตนเองในลักษณะของทหารอาชีพ
– ช่วงที่ 3 มีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับพลเรือนในสังคมกําลังพัฒนาในเชิง
– เปรียบเทียบเกี่ยวกับสาเหตุผลักดันให้ทหารใช้อํานาจเข้าแทรกแซงเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง นักวิชาการส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า สาเหตุสําคัญมาจากความล้มเหลวของการปกครองแบบรัฐสภาและความไม่มี ประสิทธิภาพในการปกครองของรัฐบาลพลเรือน
ช่วงที่ 4 แนวการศึกษาที่มุ่งวิเคราะห์บทบาทของ “ทหารอาชีพ” ในประเทศตะวันตก เปลี่ยนมาเป็นการศึกษาบทบาทของทหารในประเทศกําลังพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะบทบาทของทหารซึ่งอาจจะ ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเมือง
ช่วงที่ 5 มีการนําเอารูปแบบของการศึกษาที่เชื่อว่า “ทหารเป็นนักพัฒนาหัวก้าวหน้าและ เป็นสมัยใหม่” มาใช้อธิบายพฤติกรรมทางการเมืองของประเทศกําลังพัฒนา โดยให้ความสําคัญแก่บทบาททหาร ต่อกระบวนการการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสมัยใหม่ และการพัฒนาการเมือง
ช่วงที่ 6 ทหารมีบทบาทเป็นองค์กรที่คอยเหนี่ยวรั้งการพัฒนาทางการเมือง จึงเริ่มหันมาให้ ความสนใจศึกษาและค้นคว้าหามาตรการที่จะทําให้ทหารเป็นพลเรือนมากขึ้น ซึ่งนักวิชาการเริ่มให้ความสนใจ กับปัญหาการก้าวออกจากอํานาจ และผลักดันให้ทหารกลับไปเป็นทหารอาชีพตามเดิม
สาเหตุของการแทรกแซงทางการเมืองของทหาร
1 ความเปราะบางของรัฐบาลพลเรือนทําให้ทหารเข้าแทรกแซงทางการเมืองได้โดยง่าย ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลเข้ามาโดยไม่ชอบธรรม มีการทุจริตการเลือกตั้ง ผู้นําพลเรือนมีความอ่อนแอขาดประสิทธิภาพ ในการบริหารประเทศ การปกครองระบอบประชาธิปไตยล้มเหลว ประชาชนเสื่อมศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งประชาชนไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองที่สนับสนุนประชาธิปไตย เกิดความตึงเครียดทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง และรัฐบาลพลเรือนไม่สามารถแก้ปัญหาได้
2 องค์กรของทหารมีการจัดองค์กรที่เป็นระเบียบและเข้มแข็ง และมีอาวุธอยู่ในมือ ทําให้ สามารถแทรกแซงทางการเมืองได้ดีกว่ากลุ่มพลังทางสังคมกลุ่มอื่น
3 ทหารมีผลประโยชน์ของกลุ่มตนเองซึ่งอาจจะขัดกับรัฐบาลพลเรือน เมื่อรัฐบาลพลเรือน ไม่ทําตามที่ทหารต้องการหรือขัดกับผลประโยชน์ของทหาร ทหารก็มีแนวโน้มที่จะเข้าแทรกแซง
4 ทหารมีความทะเยอทะยานส่วนตัวและต้องการขึ้นสู่อํานาจทางการเมือง ซึ่งในบางครั้ง หารมักถูกใช้ให้ทําหน้าที่ปราบปรามจลาจลแทนตํารวจ ทําให้โอกาสของการใช้กําลังรุนแรงในการล้มรัฐบาล เท่าได้ง่าย
5 เกิดช่องว่างทางสังคม เป็นผลให้ทหารต้องเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง เพราะผู้นํา พลเรือนมัวแต่แย่งชิงอํานาจกัน ทําให้ไม่รู้ว่าอํานาจแท้จริงเป็นของใคร
6 ทหารไม่ยอมรับอํานาจและความชอบธรรมของรัฐบาลพลเรือน
7 ประชาชนไม่ตื่นตัวทางการเมือง เป็นต้น
แนวทางแก้ปัญหาการแทรกแซงทางการเมืองของทหาร
1 กลไกด้านสังคม สังคมต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ กล่าวคือ สังคมต้องสร้างองค์ความรู้ ในเรื่องกิจการทหาร และการป้องกันประเทศให้แก่สังคม ซึ่งถือเป็นวิธีหนึ่งในการทําให้สังคมมีความเข้มแข็ง ทั้งนี้เพราะหากสังคมไม่มีความเข้มแข็งแล้ว การทําประชาธิปไตยให้เข้มแข็งคงเป็นไปได้ยาก
2 กลไกด้านการเมือง กล่าวคือ ต้องสร้างความเป็นสถาบันให้เกิดแก่องค์กรในสังคมการเมือง โดยคาดหวังว่า เมื่อสถาบันมีความเข้มแข็ง ประชาธิปไตยก็จะเข้มแข็ง ซึ่งทําให้โอกาสที่กองทัพจะเข้ามามีบทบาท ในการแทรกแซงการเมืองโดยตรงอย่างในอดีตจะเกิดขึ้นได้ยาก
3 กลไกการสร้างความเข้มแข็งของกองทัพ การพัฒนากองทัพด้วยการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ ไม่ใช่สิ่งที่ระบอบประชาธิปไตยจะยอมรับไม่ได้ แต่ต้องให้สังคมมีส่วนเข้ามารับรู้ สามารถตรวจสอบได้ โปร่งใส หรือสร้างกําลังพลในกองทัพให้เกิดความรู้สึกว่าตัวเองเป็นทหารอาชีพ ไม่มีความจําเป็นที่จะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับ การเมือง การให้ความรู้แก่ทหารจะทําให้ทหารมีความเข้าใจในเรื่องของกิจการทหาร ซึ่งจะส่งผลให้กองทัพมีความเข้มแข็งสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองอีก
ข้อ 4 ให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทยว่าเป็นอย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง และนักศึกษามีข้อเสนออย่างไรเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่งยืน
แนวคําตอบ
การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทยที่ผ่านมาจะครบ 86 ปี ใน พ.ศ. 2561 นับตั้งแต่ เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 พบว่าคนไทยจํานวนมากยังขัดแย้งกันทั้งในเรื่องวิธีการและเป้าหมาย ของประชาธิปไตยอยู่ ซึ่งความไม่ชัดเจนในเรื่องประชาธิปไตยนี้เองได้ส่งผลต่อการพัฒนาความเป็นพลเมืองที่ ยังไม่อาจเกิดขึ้นได้อย่างจริงจัง และยังเป็นอุปสรรคสําคัญในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยสําหรับสังคมไทย
ปัญหาการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทย
1 การเป็นรัฐอุปถัมภ์ คือ การผูกขาดอํานาจไว้ที่ส่วนกลาง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยในปี 2475 เป็นการถ่ายโอนอํานาจจากระบอบเก่าสู่ ระบอบใหม่ เป็นรัฐใหม่ที่ใช้ระบอบรัฐธรรมนูญนิยมหรือประชาธิปไตยบนความแข็งแกร่งของระบบราชการที่มี อยู่ก่อนแล้ว ความจําเป็นของระบอบใหม่ที่ต้องมีผู้นําจากการเลือกตั้งของประชาชนจึงถูกใช้เพื่อสร้างความชอบธรรม ให้กับการเปลี่ยนแปลง รัฐบาลยังคงผูกขาดอํานาจและบทบาทไว้ที่ส่วนกลางทั้งหมด ประชาชนจึงถูกครอบงํา และถูกกํากับเพียงทําหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย เสียภาษีและไปเลือกตั้ง ทําให้ประชาชนโดยทั่วไปเข้าใจว่า “ประชาธิปไตย คือ การไปเลือกตั้ง” เป็นเพียงพลเมืองที่ผู้มีหน้าที่ตามที่รัฐกําหนดให้ จึงยังไม่มีพลเมืองที่ ไปมีส่วนร่วมในการกําหนดการมีอํานาจเละการสืบทอดอํานาจทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองจึงจํากัด อยู่เพียงระดับการเลือกตั้ง นอกจากนี้การมีส่วนร่วมในการพัฒนาทางสังคมของประชาชนก็มีขอบเขตจํากัดอยู่เพียง การไปเข้าร่วมในโครงการของทางราชการ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น จึงทําให้ประชาชน ถอยห่างจากการเมือง และคอยรอรับความช่วยเหลือจากทางราชการ ซึ่งเป็นลักษณะของประชาชนที่อยู่ภายใต้การ อุปถัมภ์ของผู้ที่เหนือกว่า และขาดความเชื่อมั่นในการพึ่งตัวเอง
แม้ว่าจะมีการกระจายอํานาจสู่ท้องถิ่นนับตั้งแต่ปี 2540 แต่การกําหนดอํานาจ ดังกล่าวนี้มิได้เกิดจากการเข้าไปมีส่วนร่วมคิดและกําหนดจากประชาชนในท้องถิ่นทั้งในเรื่องของอํานาจหน้าที่ และการเงิน การคลัง ทําให้อํานาจของท้องถิ่นยังถูกยึดโยงอยู่ที่อํานาจส่วนกลาง นั่นคือ นักการเมืองในส่วน ปกครองท้องถิ่นเองก็มีพฤติกรรมทางการเมืองไม่แตกต่างจากส่วนกลางที่มาจากการเลือกตั้งระดับชาติ ทําให้เกิด ระบบอุปถัมภ์ใหม่กดทับความอ่อนแอของประชาชนมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ การที่รัฐบาลเป็นผู้ขาดอํานาจทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมนี้ ยังได้ มีการกําหนดและบงการความสัมพันธ์อาณาบริเวณของการเมืองและเศรษฐกิจออกจากกัน มิได้กระตุ้นส่งเสริม พลังต่าง ๆ ในประชาสังคม หากแต่จํากัดและควบคุมโดยอาศัยมาตรการทางกฎหมาย กฎระเบียบ และประกาศ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ทางการเมือง อันเป็นการแยกประชาสังคมออกจากการเมือง และมีผลทําให้ เนื้อยซาและเพิกเฉยต่อการมีส่วนร่วมในทางการเมือง ซึ่งกฎระเบียบดังกล่าวยังคงเป็นข้อปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน
การใช้อํานาจและระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยจึงมีอยู่มากในระบบราชการ เช่น การมี เส้นสายเพื่อเข้าสู่ตําแหน่งมากกว่าพิจารณาจากความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะในปัจจุบันจะเห็นว่านักการเมือง ที่อยู่ในอํานาจจะมีอิทธิพลสูงและใช้อํานาจของตนในการโยกย้ายข้าราชการอย่างไม่เป็นธรรม โดยอ้างความ เหมาะสมเมื่อประเทศไทยเร่งรัดพัฒนาประเทศเข้าสู่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ เกิดวัฒนธรรมบริโภค นักธุรกิจมุ่ง หากําไรอย่างขาดสติ นักการเมืองส่วนใหญ่ก็ใช้อํานาจทางการเมืองหาผลประโยชน์ใส่ตนเอง ทําให้การเมืองกลายเป็นเรื่อง “ธุรกิจการเมือง” เกิดเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนทั้งธุรกิจและการเมือง และมีการคอร์รัปชั่นง่าย และมากขึ้น จนทําให้เรื่องคอร์รัปชั่นกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้
2 การรัฐประหาร ถือเป็นสาเหตุสําคัญที่ไม่อาจนําไปสู่การพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ของไทย หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นเผด็จการทหาร หรือ “วงจรอุบาทว์” ของการเมืองไทยนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ. 2475 โดยพบว่าคณะรัฐประหารทุกยุคมักแสดงท่าที่เห็นด้วยกับแนวทางประชาธิปไตย หลังการ รัฐประหารจึงสนับสนุนให้เกิดสถาบันทางการเมืองประชาธิปไตยขึ้นมาใหม่ทั้งรัฐธรรมนูญ รัฐสภา พรรคการเมือง และการเลือกตั้ง แต่ปัญหาของเผด็จการก็คือ การใช้วิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทาง การเมือง อีกทั้งยังเป็นการทําลายหรือสกัดกั้นกระบวนการพัฒนาระบบประชาธิปไตย และเป็นการผลิตซ้ํา ๆ ของเผด็จการทหารให้แก่การเมืองของคนไทยอีกด้วย
ดังนั้นวงจรรัฐประหารจึงเปรียบเสมือนวงจรเผด็จการที่หล่อเลี้ยงไว้ด้วยวัฒนธรรม อํานาจนิยม (Authoritarian Culture) โดยพยายามสร้างและรักษาความชอบธรรมทางการเมืองจากความ อ่อนแอและขาดประสิทธิภาพของรัฐบาลที่ถูกล้มเลิกไป เมื่อสถานการณ์เอื้ออํานวยจากความอ่อนแอของสถาบัน การเมืองทั้งหลาย รวมทั้งพฤติกรรมคอร์รัปชั่นของนักการเมืองนั่นเอง
3 การศึกษา กล่าวคือ การศึกษาไทยมักถูกออกแบบและกํากับโดยระบอบการเมือง หรือผู้นําทางการเมืองนั่นเอง ซึ่งรัฐบาลไทยในอดีตก็ได้เน้นการกล่อมเกลาให้ราษฎรได้เข้าใจหน้าที่ของตนเพื่อ ตอบสนองต่อรัฐโดยมีรัฐเป็นศูนย์กลาง การจัดการศึกษาในเมืองหลวงจึงเน้นหนักไปในการสร้างคนเพื่อรับใช้ กลไกหลักของรัฐ เพื่อเป็นข้าราชการที่ดี ขณะที่การขยายการศึกษาไปยังส่วนต่าง ๆ ของประเทศเป็นการสร้าง พลเมืองที่ดี การจัดการศึกษาที่รวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลางเช่นนี้ได้ละเลยความสําคัญของความเป็นชุมชน ความเป็น พหุสังคมที่มีศาสนา ภาษา เชื้อชาติ และวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันในประเทศ ด้วยเหตุนี้ท้องถิ่นจึงไม่ได้มีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษาเรียนรู้ในแบบวิถีชุมชนเพื่อรักษาอัตลักษณ์และภูมิปัญญาของชุมชนที่มีอยู่อย่างหลากหลาย ซึ่งทําให้ชุมชนอ่อนแอและไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงการกระจายโอกาสทางการศึกษาที่ขาดความเสมอภาค และเท่าเทียมในพื้นที่ที่ห่างไกล
– นอกจากนี้ บรรยากาศการเรียนรู้ในระบบการศึกษาไทยในระยะยาวนั้น เป็นการสอน ตามความสนใจของผู้สอนที่มุ่งป้อนวิชาความรู้เพื่อให้ผู้เรียนเชื่อฟัง จดจํา และทําตาม ไม่ได้ฝึกฝนให้ทําและ นําไปคิด เพื่อนําสู่การปฏิบัติและแสดงออก เป็นการเน้นวิชาการแต่ขาดการส่งเริ่มทักษะทางสังคม ผู้เรียนจึงถูก แยกส่วนออกจากอาณาบริเวณทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ไม่สามารถเชื่อมโยงบทบาทของตนกับสังคม ภายนอกได้ และไม่สามารถสร้างจิตสํานึกของการเป็นเจ้าของสังคมที่เขามีชีวิตอยู่ และไม่มีความพร้อมที่จะ รับผิดชอบในภายภาคหน้า การศึกษาทําให้คนไทยรู้จักแต่เพียงการเลือกตั้งและรูปแบบการปกครอง แต่ยังขาด ทักษะชีวิต การคิด การใช้ชีวิตในแบบสังคมประชาธิปไตยที่ต้องการการแสดงออกถึงวุฒิภาวะในการใช้ความคิด การมีเหตุมีผล การมีความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นได้จริง ๆ
การศึกษาที่รวมศูนย์อํานาจไว้ที่รัฐบาลยังส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมของคนที่ไม่ค่อย เข้าใจบทบาทของรัฐบาลที่มีต่อความเป็นอยู่ของตนเอง และไม่สนใจเรื่องส่วนรวม นักเรียนจึงมุ่งแข่งขันกันเรียน มุ่งหาเลี้ยงชีพเพื่อประโยชน์ของตนเท่านั้น ทิ้งภาระทางสังคมการเมืองไว้กับนักการเมือง อันเป็นค่านิยมของ การบูชายกย่องผู้มีความสําเร็จทางเศรษฐกิจ มากกว่าการให้ความสําคัญกับการสร้างคนที่มีความรู้คู่คุณธรรม ที่พร้อมเสียสละเพื่อส่วนรวม
4 สถาบันครอบครัว กล่าวคือ การเลี้ยงดูเด็กของคนไทยนั้นไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควร เพราะส่วนใหญ่เราจะสอนเด็กแบบอํานาจนียม ใช้ระบบอาวุโสเป็นใหญ่ ผูกขาดความถูกผิดทุกอย่างที่เด็กต้องเชื่อ ฟังและปฏิบัติตามโดยขาดเหตุผล ต้องคอยเอาใจผู้ใหญ่ พ่อ แม่ และผู้อาวุโสทุก ๆ คนที่อยู่ในครอบครัว ไม่รู้จัก รับผิดชอบตัวเอง ไม่มีวินัย จัดการตัวเองไม่ได้ ไม่รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไร ติดกับคตินิยมที่ว่า “เด็กดีคือผู้ที่เชื่อฟัง ผู้ใหญ่”
การอบรมเลี้ยงดูนั้นจะช่วยสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็ก ด้วยการสร้าง สมดุลระหว่างการใช้เสรีภาพ ความรับผิดชอบและความมีวินัย โดยเฉพาะการสร้างนิสัยให้เป็น “ผู้มีวินัย” ที่ ควบคุมตัวเองได้ เพราะวินัยถือเป็นสิ่งสําคัญมากในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นการปกครองตนเอง ดังนั้นถ้าประชาชนขาดความรับผิดชอบและไม่มีวินัยแล้ว ย่อม หมายถึงการไม่สามารถบังคับหรือควบคุมตัวเองให้อยู่ในกรอบ กติกาที่ตนเองและผู้อื่นร่วมกันกําหนดขึ้นได้ ซึ่ง ส่งผลทําให้ไม่สามารถที่จะใช้สิทธิในการปกครองอย่างเหมาะสมได้เช่นกัน การเป็นผู้มีวินัยนั้นยังเป็นผู้ที่มีความ ชื่อตรงต่อหน้าที่ของตน คือ มีความรับผิดชอบต่อสถานภาพต่าง ๆ ที่ตนเป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกของชุมชน ของครอบครัว และพลเมืองของประเทศ ดังนั้นการมีวินัยจึงมีความจําเป็นมากสําหรับสังคมไทย เพราะคนไทย โดยทั่วไปนั้นมักขาดวินัย ดังคํากล่าวที่ว่า “ทําอะไรตามใจคือไทยแท้” อีกทั้งยังชอบหลบหล็กกฎหมายหรือ ระเบียบของสังคม เช่น การฝ่าฝืนกฎจราจร การหลีกเลี่ยงภาษี เป็นต้น
6 แนวทางในการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยให้มีความมั่นคงยั่งยืน
1 พัฒนาความรู้ความเข้าใจและเจตคติให้แก่ประชาชนทุกระดับ ในการเรียนรู้และฝึกฝน ทักษะการเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจทางการเมือง ซึ่งประชาชนจะต้องเป็นตัวของตัวเอง ไม่ถูกอิทธิพล ของใคร่ชักจูง กระบวนการเรียนรู้นี้ต้องถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย และพัฒนา ให้มีความลึกซึ้งมากขึ้นในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น ครูผู้สอนในสถานศึกษาทุกระดับจะต้องเป็นกลไกสําคัญในการหล่อหลอมเยาวชนไทยให้เข้าใจและมีเจตคติที่ถูกต้องในเรื่องประชาธิปไตย การเผยแพร่ความรู้ในกลุ่มประชาชนทั่วไป ก็เป็นกิจกรรมที่ต้องทําควบคู่กันไป เพราะหลักการของประชาธิปไตยนั้นประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของสิทธิ หรือ เป็นเจ้าของเสียงในการเลือก “คน” ที่จะมาทําหน้าที่แทนตน
2 ฝึกฝนการเข้าร่วมกระบวนการตัดสินใจให้กับประชาชนทุกระดับ เพราะการเข้าร่วมใน กระบวนการตัดสินใจเป็นลักษณะสําคัญประการหนึ่งของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และเป็นสัญลักษณ์ ที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนทราบถึงความต้องการของตนเองและนักปกครองไม่สามารถละเลยความต้องการนี้ได้ การฝึกเข้าร่วมในกระบวนการตัดสินใจควรหล่อหลอมตั้งแต่ในครอบครัว โรงเรียน และชุมชน โดยบูรณาการให้เข้า กับวิถีของคนในชุมชนและฝึกจนเป็นปกติวิสัย ซึ่งจะมีผลให้ประชาชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนทาง การเมืองและมีความรู้สึกเป็นอิสระในการตัดสินใจ ประชาชนจะรู้สึกเป็นนายของตัวเองเพิ่มขึ้น และเมื่อเขา เหล่านั้นเติบโตขึ้นมาเป็นพลเมืองของประเทศ สํานึกในความเป็นประชาธิปไตยจะช่วยจรรโลงให้เกิดความยั่งยืน ในสังคม
3 ผู้บริหารประเทศต้องยึดขันติธรรมทางการเมือง และความยั่งยืนของการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่การยึด “เสียงข้างมาก” ว่าเป็นฝ่ายถูกต้อง หรือให้มีสิทธิมีอํานาจในการลิดรอนเสรีภาพ หรือคุกคามกลุ่มเสียงส่วนน้อย เพราะการกระทําดังกล่าวจะทําให้กลุ่มเสียงข้างน้อยไม่ได้รับประโยชน์ นํามาซึ่ง ความไม่สงบสุขของประเทศได้ ดังนั้นหลักขันติธรรมทางการเมืองจึงหมายถึงการยอมรับความหลากหลายในสังคม ไม่ปล่อยให้เสียงข้างมากกดขี่กลุ่มเสียงข้างน้อย โดยผู้บริหารประเทศต้องมีการส่งเสริมฉันทามติที่สมดุลในสังคม
การยอมรับความแตกต่างของกันและกัน โดยเฉพาะความแตกต่างด้านความรู้สึกนึกคิด และการแสดงออกซึ่ง ความคิดเห็น ตราบใดที่ความแตกต่างนั้นไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือสังคม ผู้มีวัฒนธรรมทางการเมือง ย่อมแสดงความอดกลั้น และเคารพในความแตกต่างของผู้อื่นได้ ซึ่งจะนําไปสู่การสร้างเอกภาพในความแตกต่างของ การอยู่ร่วมกันในสังคม
4 การจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้การศึกษาตอบสนองความเป็นอยู่ในชีวิตประจําวันมากขึ้น โดยขยายฐานการศึกษาที่ไร้ขีดจํากัด กล่าวคือ ทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเป็นธรรม ทั้งกลุ่มเยาวชน หรือบุคคลที่ไม่มีที่อยู่อาศัยแน่นอน การศึกษาต้องเปิดโอกาสสําหรับบุคคลทุกช่วงอายุและทุกสถานะ เพราะเมื่อ บุคคลได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ตัดสินใจในการแก้ปัญหา หรือลงความเห็น ต่าง ๆ จะเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น
5 ความรับผิดชอบต่อสาธารณะและความโปร่งใส สถาบันของรัฐหรือนักปกครองต้อง รับผิดชอบการกระทําของตน นอกจากจะต้องรับผิดชอบในการทํางานเพื่อประโยชน์ของประชาชนแล้ว ยังต้อง รับผิดชอบต่อฝ่ายตุลาการที่มีความเป็นอิสระ และรับผิดชอบต่อสถาบันกลางอื่น ๆ ที่ทําหน้าที่ในการตรวจสอบ การทํางานของรัฐบาล เพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับประโยชน์จากนโยบายที่แท้จริง ป้องกันการตกอยู่ในภาวะ สุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียผลประโยชน์ที่ตนจึงได้รับ
6 มีการกระจายอํานาจเพื่อไม่ให้อํานาจกระจุกอยู่ที่ส่วนกลางเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะทําให้ ประชาชนทุกภาคส่วนได้รับการตอบสนองความต้องการได้อย่างเหมาะสมตามสิทธิอันพึงได้รับ เกิดการกระจาย ของงบประมาณ อันจะส่งผลต่อการกระจายทรัพยากร การพัฒนาสาธารณูปโภค การพัฒนาการคมนาคม การพัฒนา สุขภาพ และการพัฒนาการศึกษา ทําให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้รับโอกาสในการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงใน กระบวนการประชาธิปไตย เปิดโอกาสในการพัฒนาการเมืองท้องถิ่น ซึ่งจะเอื้อให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มคน ของภาคส่วนนั้น ๆ มีการจัดตั้งกลุ่มประชาสังคมที่เข้มแข็งเป็นกลไกสําคัญที่ทําให้ประชาธิปไตยดําเนินต่อไปได้ อย่างต่อเนื่อง หากภาครัฐสามารถเชื่อมต่อกับกลุ่มประชาสังคมได้อย่างราบรื่น ย่อมเป็นการลดช่องว่างระหว่าง ภาครัฐและประชาชนได้ และหากการขับเคลื่อนประชาธิปไตยดังกล่าวนี้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ก็จะนําไปสู่การ พัฒนาประชาธิปไตยที่มันคงยั่งยืนนั่นเอง