การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3112 ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 4 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียง 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายถึงทฤษฎีการกําเนิดของรัฐมาให้เข้าใจอย่างน้อย 3 ทฤษฎี

แนวคําตอบ

ทฤษฎีการกําเนิดของรัฐ

รัฐมีกําเนิดมาหลายพันปี อาจจะถึง 10,000 ปีมาแล้ว และหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ก็ยืนยันไม่ได้ว่า รัฐกําเนิดขึ้นมาอย่างไร นักรัฐศาสตร์จึงตั้งทฤษฎีหรือสมมุติฐานของตนขึ้นมาอธิบายว่ารัฐกําเนิด ขึ้นมาอย่างไร ซึ่งมีหลายทฤษฎีด้วยกัน โดยในที่นี้จะกล่าวถึง 3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเทวสิทธิ์ ทฤษฎีสัญญาประชาคม และทฤษฎีกําลังอํานาจ

1 ทฤษฎีเทวสิทธิ์ (The Divine Theory) ทฤษฎีนี้อาจเป็นทฤษฎีการกําเนิดรัฐที่เก่าแก่ ที่สุด โดยทฤษฎีนี้เชื่อว่าพระเจ้า (God) เป็นผู้ให้กําเนิดและสร้างรัฐขึ้นมา

ในอาณาจักรโบราณและชนเผ่าที่เก่าแก่จะมีความเชื่อว่า ผู้ปกครอง (Rulers) เป็นผู้สืบ เชื้อสายมาจากพระเจ้า พวกคริสเตียนยุคก่อนเชื่อว่า พระเจ้าสร้างรัฐขึ้นมาปกครองมนุษย์เพื่อลงโทษบาปที่มนุษย์ ได้กระทําไว้

ในสมัยกลางทฤษฎีเทวสิทธิ์ยังเป็นที่ยอมรับกัน แม้ว่าจะมีความขัดแย้งระหว่างสันตะปาปา (Pope) และจักรพรรดิโรมัน (Emperor) ในข้อที่ว่า ผู้ปกครองได้รับมอบอํานาจโดยตรงจากพระเจ้าหรือต้องผ่าน สันตะปาปา ต่อมาพวกที่สนับสนุนระบบกษัตริย์โดยเฉพาะพวกโปรเตสแตนต์ได้อ้างว่า กษัตริย์ได้รับอํานาจโดยตรง จากพระเจ้า จึงทําให้ทฤษฎีอํานาจเทวสิทธิ์ของกษัตริย์ (The Divine Right of Kings) เป็นที่ยอมรับ

ทฤษฎีอํานาจเทวสิทธิ์ทําให้กษัตริย์มีอํานาจมากจนสามารถรวบรวมนครรัฐต่าง ๆ เข้า ด้วยกันเป็นรัฐชาติได้ แต่ก็มีผลเสียที่ทําให้กษัตริย์ใช้อํานาจกดขี่ประชาชนอย่างรุนแรงโหดร้าย

2 ทฤษฎีสัญญาประชาคม (The Social Contract Theory) ทฤษฎีนี้ถือว่าประชาชนเป็น เจ้าของอํานาจอธิปไตย (Popular Sovereignty) โดยมีแนวความคิดว่า มนุษย์เป็นผู้ก่อตั้งรัฐ โดยวิธีการที่ปัจเจกชน (Individual) ยกอํานาจอธิปไตยที่ตนมีให้แก่ผู้ปกครองหรือรัฐบาลให้มาใช้อํานาจปกครองเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ดูแลทุกข์สุขของประชาชน แต่ถ้าผู้ปกครองหรือรัฐบาลไม่ดี กดขี่ประชาชน ประชาชนทุกข์ยาก ประชาชนก็ยกเลิก สัญญาประชาคมได้ โดยลุกฮือขึ้นล้มล้างผู้ปกครองหรือรัฐบาลที่เลวร้ายนั้นได้

ทฤษฎีนี้ได้รับความนิยมในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 – 18 เป็นอย่างมากจนทําให้ทฤษฎี เทวสิทธิ์หมดความน่าเชื่อถือลง จึงเกิดปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์ในยุโรปอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส จนมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยและรัฐสภาขึ้นมาแทนที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

นักทฤษฎีสัญญาประชาคมที่มีชื่อเสียงมี 2 ท่าน คือ

1) โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เชื่อว่า แต่แรกนั้นมนุษย์ไม่ได้รวมกันอยู่ในสังคม แต่แยกกันอยู่ตามสภาพธรรมชาติ อยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ ซึ่งไม่เหมาะสมกับความเจริญ เพราะมีลักษณะโดดเดี่ยว ยากจน โหดร้าย ไม่มีความรับผิดชอบ และไม่มีความยุติธรรมต้องต่อสู้เพื่อรักษาให้ชีวิตอยู่รอดโดยลําพัง มนุษย์จึง ตกลงทําสัญญาต่อกันให้มารวมอยู่ภายใต้การปกครองของผู้ที่มีอํานาจเข้มแข็งกว่า ซึ่งฮอบส์เห็นว่า การปกครองโดยกษัตริย์ที่มีอํานาจมากจะดีที่สุด และประชาชนไม่มีสิทธิที่จะยกเลิกสัญญา ไม่สามารถเรียกร้องอํานาจคืนจาก องค์อธิปัตย์ได้

2) จอห์น ล็อก John Locke) เห็นว่า สภาพธรรมชาติของมนุษย์ยังไม่สมบูรณ์เพราะ มนุษย์มีหน้าที่ตัดสินความผิดที่ตนทําด้วยตนเองจึงหาความยุติธรรมไม่ได้ ล็อกเสนอว่าควรมีการจัดตั้งสถาบันขึ้น 3 ประเภท คือ สภานิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และศาลยุติธรรม เพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมที่สมบูรณ์

การที่จะให้ได้สถาบันทั้ง 3 ขึ้นมา มนุษย์ต้องสละสิทธิพิพากษาลงโทษของตน โดยยอม ยกสิทธินี้ให้องค์กรหนึ่งเป็นผู้นําแทนทุกคน แต่ต้องทําตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกําหนด ขั้นตอนนี้ล็อกถือว่าเป็นสัญญา เมื่อเกิดมีสัญญาสังคมแล้ว สังคมและรัฐบาลก็เกิดขึ้นทันที

ล็อกมีความเห็นที่ต่างจากฮอบส์ในข้อที่ว่า สิทธิที่มอบให้รัฐบาลไปแล้ว สามารถเรียกคืน ได้ถ้ารัฐบาลหรือองค์อธิปัตย์เป็นทรราช ล็อกสนับสนุนให้เอกชนมีสิทธิในทรัพย์สิน ซึ่งเป็นการปกป้องสิทธิเสรีภาพ ส่วนบุคคลที่สําคัญ และได้เน้นว่าสังคมเกิดขึ้นมาได้เพราะการยินยอมโดยสมัครใจของสมาชิกของสังคม ซึ่งมีการปกครองโดยเสียงข้างมาก (Majority) โดยความคิดเห็นของล็อกเป็นพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในปัจจุบัน

3 ทฤษฎีกําลังอํานาจ ทฤษฎีนี้เชื่อว่า รัฐมีจุดเริ่มต้นจากการยึดครองและการบังคับโดย ผู้ที่แข็งแรงกว่าต่อผู้ที่อ่อนแอกว่า นักทฤษฎีนี้บางท่านเห็นว่า รากฐานของรัฐคือความอยุติธรรมและความชั่วร้าย ดังนั้นผู้ที่แข็งแรงกว่าจึงสามารถข่มเหงผู้ที่อ่อนแอกว่าได้ และได้สร้างกฎเกณฑ์ที่ดูเหมือนชอบด้วยกฎหมายใน การจํากัดสิทธิของบุคคลอื่น

นักรัฐศาสตร์ส่วนหนึ่งเห็นว่าการใช้กําลังอํานาจของรัฐเป็นสิ่งจําเป็น และกําลังสร้าง ความชอบธรรม (Might made Right) อํานาจคือความยุติธรรม และรัฐคืออํานาจสูงสุด มีฐานะสูงกว่าศีลธรรมจรรยา ทฤษฎีนี้มีส่วนทําให้เกิดระบอบการปกครองแบบเผด็จการในยุโรปหลายลัทธิ เช่น ลัทธินาซีเยอรมัน และลัทธิ ฟาสซิสต์อิตาลี เป็นต้น

 

ข้อ 2 ธรรมราชาคืออะไร ต้องมีคุณธรรมใดบ้าง และใครที่นับกันว่าเป็น “ธรรมราชาในประวัติศาสตร์”  จงอธิบายถึงจริยวัตรต่าง ๆ ของธรรมราชาองค์นี้มาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ

ธรรมราชาคืออะไร

ธรรมราชา หมายถึง พระราชาผู้ทรงชนะโดยธรรม ไม่ใช่ชนะด้วยสงคราม หรือนักปกครอง ผู้ใช้ธรรมะในการเอาชนะศัตรู ไม่ใช้อาวุธหรือศาสตรา มีธรรมเป็นที่พึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวหรือเป็นเครื่องชี้นําใน การปกครองและดําเนินชีวิต

คุณธรรมของธรรมราชา

พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเรื่องธรรมหรือข้อที่ควรปฏิบัติเป็นประจําของธรรมราชา ไว้หลายประการดังนี้ คือ

1 จักกวัตติสูตร – ข้อปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ

พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนภิกษุสาวกด้วยจักกวัตติสูตร หรือสูตรว่าด้วยสิ่งที่พระเจ้า จักรพรรดิปฏิบัติเป็นประจํา โดยตรัสสอนตามลําดับคือเรื่องรัตนเจ็ดประการของพระเจ้าจักรพรรดิ อันประกอบด้วย

1 จักรแก้ว

2 ช้างแก้ว

3 ม้าแก้ว

4 แก้วมณี

5 นางแก้ว

6 ขุนคลังแก้ว

7 ขุนพลแก้ว

ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ยิ่งใหญ่ที่แท้จริงนั้น จะต้องมีบารมีสูงส่ง มีสิ่งประเสริฐคู่บารมีอย่างพร้อมเพรียง โดยสิ่งเหล่านี้จําเป็นสําหรับการรักษาพระราชอํานาจและบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิด้วย เช่น นางแก้วคือภรรยาที่ดี ขุนพลแก้วคือแม่ทัพที่ดี และขุนคลังแก้วคือเสนาบดีที่ดูแลพระราชทรัพย์ ซึ่งล้วนมีความสําคัญต่อผู้เป็นประมุขทั้งสิ้น

ในจักกวัตติสูตรสอนข้อปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ ดังนี้

1) จงอาศัยธรรม สักการะเคารพนับถือธรรม ให้ความคุ้มครองอันเป็นธรรมแก่มนุษย์และสัตว์ ไม่ยอมให้ผู้ทําการอันเป็นอธรรมเป็นไปได้ในแว่นแคว้น

2) ผู้ใดไม่มีทรัพย์ก็มอบทรัพย์ให้

3) เข้าไปหาสมณะพราหมณ์เพื่อปรึกษาและนําธรรมมาปฏิบัติ

2 ราชสังคหวัตถุ 4

ราชสังคหวัตถุ 4 เป็นสังคหวัตถุของพระราชา หรือหลักการสงเคราะห์ประชาชนของ นักปกครอง ได้แก่

1) สัสสเมธะ (ฉลาดบํารุงธัญญาหาร) คือ ส่งเสริมการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนในสมัยพุทธกาล

2) ปุริสเมธะ (ฉลาดบํารุงข้าราชการ) คือ ส่งเสริมข้าราชการที่ดี ซื่อสัตย์สุจริต และขยันขันแข็ง

3) สัมมาปาสะ (ประสานรวมใจประชาชน) คือ ช่วยเหลือประชาชนให้มีอาชีพเลี้ยงตนเองได้

4) วาชไปยะ (วาทะดูดดื่มใจ) คือ รู้จักชี้แจงแนะนํา ไต่ถามทุกข์สุข และเป็นกันเองกับประชาชนทุกระดับการสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนด้วยหลักธรรม 4 ข้อดังกล่าวนี้ จะช่วยทําให้ประชาชน อยู่เย็นเป็นสุข เจริญก้าวหน้า ในขณะเดียวกันก็เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

3 กฎทันตสูตร – สูตรว่าด้วยพราหมณ์ฟันเขยิน สิ่งที่ผู้ปกครองควรปฏิบัติตามกฎทันตสูตร มีดังนี้

1) เพิ่มข้าวปลูกและข้าวกินให้แก่เกษตรกรที่มีความขยันขันแข็ง

2) เพิ่มทุนให้แก่พ่อค้าที่ขยันขันแข็ง

3) เพิ่มเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนให้แก่ข้าราชการที่ขยันขันแข็งในกฎทันตสูตร อธิบายว่า การที่ผู้ปกครองเพิ่มทรัพย์สิ่งของให้แก่ผู้ทําดีเป็นวิธีการที่จะทําให้อาชญากรรมหมดไป นั่นคือ ทําให้เศรษฐกิจดีและช่วยเหลือประชาชนในการประกอบอาชีพให้มีรายได้ เพียงพอ เช่น ช่วยให้ชาวนามีสิ่งจําเป็นในการทํานา ช่วยให้พ่อค้ามีทุนในการค้าขาย ช่วยให้ลูกจ้างมีเงินพอเพียง สําหรับการเลี้ยงชีพ ช่วยให้คนเดือดร้อนได้รับการยกเว้นภาษี และให้รางวัลหรือเพิ่มเงินเดือนแก่เหล่าขุนนาง ข้าราชการที่ขยันขันแข็ง เป็นต้น

4 ทศพิธราชธรรม – คุณธรรมของพระราชา 10 ประการ

ทศพิธราชธรรมหรือคุณธรรมของพระราชา 10 ประการ ประกอบด้วย ทาน ศีล การบริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทน และความไม่พิโรธ

พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเรื่องทศพิธราชธรรมก็เพื่อสอนให้กษัตริย์ที่มีอํานาจมาก ทรงปกครองโดยธรรม โดยมีหลักธรรมประจําใจควบคุมพระองค์เอง ประชาชนจะได้อยู่เย็นเป็นสุข

5 อปริหานิยธรรม – ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม

อปริหานิยธรรม 7 ประการ คือ ธรรมที่ไม่ทําให้เกิดความเสื่อม มีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนอปริหานิยธรรมแก่เจ้าลิจฉวีให้ชาววัชชีที่เป็นชนชั้นสูงที่มีอํานาจปกครองรัฐแบบ สามัคคีธรรม ได้แก่

1) ประชุมกันเนืองนิตย์

2) พร้อมเพรียงกันประชุม เลิกประชุม และกระทํากิจที่ควรทํา

3) ไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติ และไม่ตัดรอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว

4) เคารพนับถือชาววัชชีที่เป็นผู้ใหญ่ผู้เฒ่า

5) ไม่ข่มเหงล่วงเกินสตรีที่มีสามีแล้วและสตรีสาว

6) สักการะเคารพเจดีย์ของชาววัชชี

7) จัดแจงให้การอารักขาคุ้มครองอันเป็นธรรมให้พระอรหันต์ และปรารถนาให้อรหันต์ที่ยังไม่มา ได้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข

6 ธัมมิกสูตร – พระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรม

ธัมมิกสูตรหรือพระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรม โดยพระพุทธเจ้าทรงสอนให้พระราชาเป็น ผู้ตั้งอยู่ในธรรม เพราะในฐานะผู้นําที่ต้องนําพาประชาชนไปสู่ความมั่นคงปลอดภัย ความเจริญก้าวหน้า และอยู่เย็นเป็นสุขนั้น ถ้าผู้นํานําดีและทําตัวเป็นตัวอย่างที่ดีประชาชนก็จะทําตัวดีตามอย่างผู้นํา อีกทั้งประชาชนก็จะมี ความสุขความเจริญ ชาติบ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรืองและสงบสันติ

พระพุทธเจ้าทรงตรัสในธัมมิกสูตรตอนหนึ่งว่า “เมื่อฝูงโคข้ามไปอยู่ ถ้าโคผู้นําฝูงไปคด โคเหล่านั้นย่อมไปคดทั้งหมด ในเมื่อโคผู้นําไปคด ในมนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมุติให้เป็นผู้นํา ถ้าผู้นั้น ประพฤติอธรรม ประชาชนนอกนี้ก็จะประพฤติอธรรมเหมือนกัน แว่นแคว้นทั้งหมดจะได้ประสบความทุกข์…”

พระเจ้าอโศกมหาราช – ธรรมราชาในประวัติศาสตร์

พระพุทธเจ้าทรงยกตัวอย่างพระเจ้าจักรพรรดิที่เป็นธรรมราชาไว้ในจักกวัตติสูตร ซึ่งเป็น ธรรมราชาในอุดมคติ หาตัวตนจริงไม่พบ แต่ธรรมราชาที่มีตัวตนจริงอยู่ในประวัติศาสตร์ คือ “พระเจ้าอโศกมหาราช” หรือพระศรีธรรมโศกราช ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์พระร่วง ของกรุงสุโขทัย

ประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นที่รู้กันแพร่หลายนับพันปีมาแล้ว เพราะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมาย โดยเฉพาะหลักศิลาจารึกที่กล่าวถึงพระจริยวัตรในการปกครองโดยธรรมของพระองค์ โดยมีประเด็นต่าง ๆ ที่แสดงถึงความเป็นธรรมราชาของพระเจ้าอโศกมหาราชดังนี้คือ

1 ธรรมวิชัย – ชัยชนะด้วยธรรม ธรรมวิชัย คือ การเอาชนะด้วยธรรม แทนที่การใช้ แสนยานุภาพ แต่เดิมพระเจ้าอโศกมหาราชไม่ได้ทรงนับถือพุทธศาสนา ทรงมีพระทัยดุร้ายมาก การขยายอาณาจักร ของพระองค์ทรงใช้แสนยานุภาพปราบปรามข้าศึกอย่างโหมเหี้ยม กองทัพของพระองค์ได้ชัยชนะแบบที่เรียกว่า เลือดท่วมท้องช้าง

หลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงหันมานับถือพุทธศาสนาแล้ว ก็ทรงเปลี่ยนแปลง พระองค์เป็นธรรมราชา และขยายอํานาจโดยใช้ธรรมวิชัยในการเอาชนะข้าศึก เช่น การใช้ธรรมโดยมิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศาสตรา, การใช้กองทัพขู่ให้กลัวและยอมแพ้แล้วหันมาปฏิบัติธรรมตามแบบของพระองค์, การอบรมสั่งสอน ให้ประชาชนประพฤติธรรม, การประกาศธรรมอย่างกึกก้องแทนเสียงกลองศึก เป็นต้น

2 พุทธศาสนาภายในพระบรมราชูปถัมภ์ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนา อย่างเต็มที่ โดยที่สําคัญมี 2 ประเภท คือ

1) การอุปถัมภ์การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ซึ่งกระทําที่วัดอโศการาม กรุงปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย โดยมีสาเหตุมาจากการที่มีพวกเดียรถีย์ หรือนักบวชศาสนาอื่นมาปลอมบวชแล้ว แสดงลัทธิศาสนาและความเห็นของตนว่าเป็นพระพุทธศาสนา ทําให้คําสอนและการประพฤติปฏิบัติของสงฆ์ บิดเบือนไป

2) การส่งสมณทูตออกเผยแผ่พุทธศาสนาไปในดินแดนต่าง ๆ เช่น คณะของ พระมหินทเถระ ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้นําพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในลังกาทวีปเป็นครั้งแรก และคณะหนึ่งที่นําโดยพระโสณะเถระ และพระอุตตระเถระมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิโดยมี ศูนย์กลางที่นครปฐมในปัจจุบัน และได้สร้างพระปฐมเจดีย์ขึ้นเป็นเครื่องหมายแห่งการเผยแผ่ธรรมในดินแดน สุวรรณภูมิเป็นครั้งแรก

3 การยกย่องบูชาและอุปถัมภ์บํารุงศาสนา พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ดังนี้คือ

1) ทรงมีใจกว้างต่อศาสนาอื่น ไม่ทําลายล้างศาสนาฮินดูซึ่งเป็นความเชื่อของคนอินเดีย ทั่วไป และมิได้ทรงบังคับให้ประชาชนเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ

2) ทรงไม่สนับสนุนให้ยกย่องนักบวชของตนเองแล้วกล่าวร้ายนักบวชที่คนอื่นนับถือพระเจ้าอโศกมหาราชทรงให้ความสําคัญต่อนักบวชเป็นพิเศษ เพราะทรงเห็นว่านักบวช เป็นผู้ปฏิบัติธรรมและสั่งสอนธรรม โดยได้ทรงพระราชทานที่เพื่อปฏิบัติธรรมแก่พวกนักบวชหลายแห่ง นอกจากนี้ ยังทรงดูแลพุทธศาสนาเป็นพิเศษ เช่น ห้ามการแตกสามัคคีในหมู่สงฆ์ ทรงตั้งพระทัยจะรักษานักบวชที่ดี และ ขจัดนักบวชที่ไม่ดี

4 การสั่งสอนธรรมแก่ประชาชนทั้งที่อยู่ในและนอกอาณาจักร พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงตั้งพระทัยให้ประชาชนเจริญทางธรรมและเข้าถึงธรรม จึงทรงดําเนินการให้สั่งสอนธรรมแก่ประชาชนทั้งที่อยู่ ใกล้และที่อยู่ห่างไกล โดยทรงแสวงหาวิธีการส่งเสริมให้ประชาชนประพฤติธรรมหลายวิธี ได้แก่

1) การประกาศธรรมออกไปในทิศต่าง ๆ

2) การอบรมสั่งสอนธรรมแก่ประชาชน

3) การให้มหาดเล็กและข้าหลวงซึ่งปกครองคนจํานวนมากหลายแสนคนนั้นพูดชักชวน ให้ประชาชนเข้าถึงธรรม

4) การกําหนดให้ประชาชนฟังธรรม เป็นต้น

5 การเมตตาธรรมต่อมนุษย์และสัตว์ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีเมตตาธรรมต่อมนุษย์ และสัตว์อย่างเปี่ยมล้น ดังจะเห็นได้จากการห้ามไม่ให้ปฏิบัติต่อนักโทษด้วยความชั่วร้ายทั้งหลาย คือ ด้วยความ เกลียดแกล้ง ด้วยความเหลื่อมล้ํา ด้วยความรุนแรง ด้วยความด่วนได้ ด้วยความละเลย ด้วยความเกียจคร้าน และ ด้วยความท้อถอย โดยทรงปล่อยนักโทษ 25 ครั้งใน 26 ปี ทรงยกเลิกการล่าสัตว์ส่วนพระองค์ ห้ามฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญ ห้ามประชาชนล่าสัตว์ ห้ามฆ่าสัตว์บางชนิด บางเวลา และการสร้างโรงพยาบาลสัตว์จํานวนมากทั่วประเทศอินเดีย

6 การตั้งธรรมอํามาตย์ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงตั้งข้าราชการตําแหน่งใหม่ขึ้นมาชื่อว่า “ธรรมมหาอํามาตย์” มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพระองค์ในการบําเพ็ญธรรม ดูแลพระราชวงศ์ให้บําเพ็ญธรรม สั่งสอน ประชาชน และทํางานด้านสังคมสงเคราะห์

7 การปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีพระทัยรักและเสียสละ ให้ประชาชนเสมือนหนึ่งเป็นลูกของพระองค์ จึงทรงปกครองโดยธรรมได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้แล้วยังทรงดูแล ข้าราชการให้รักประชาชนเหมือนลูกเช่นเดียวกัน

พระองค์ทรงห่วงใยและเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของประชาชนอย่างยิ่ง จะเห็นได้จากการที่ พระองค์เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีความทุกข์เข้าร้องทุกข์ได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะทรงบรรทมหรือทรงเสวยอยู่ก็ตาม

กล่าวโดยสรุปคือ ธรรมราชา หมายถึง พระราชาผู้ทรงชนะโดยธรรม ไม่ใช่ชนะด้วยสงคราม โดยคุณธรรมหรือข้อควรปฏิบัติเป็นประจําของธรรมราชามีหลายประการ คือ จักกวัตติสูตร-ข้อปฏิบัติของพระเจ้า จักรพรรดิ, ราชสังคหวัตถุ 4, กูฏทันตสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์ฟันเขยิน, ทศพิธราชธรรม-คุณธรรมของ พระราชา 10 ประการ, อปริหานิยธรรม-ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม และธัมมิกสูตร-พระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรม

พระพุทธเจ้าทรงยกตัวอย่างพระเจ้าจักรพรรดิที่เป็นธรรมราชาไว้ในจักกวัตติสูตร ซึ่งเป็น ธรรมราชาในอุดมคติ หาตัวตนจริงไม่พบ แต่ธรรมราชาที่มีตัวตนจริงอยู่ในประวัติศาสตร์ คือ “พระเจ้าอโศกมหาราช” หรือพระศรีธรรมโศกราช ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์พระร่วง ของกรุงสุโขทัย โดยจริยวัตรต่าง ๆ ที่แสดงถึงความเป็นธรรมราชาของพระเจ้าอโศกมหาราชมีดังนี้ คือ ธรรมวิชัยชัยชนะด้วยธรรม, พุทธศาสนาภายในพระบรมราชูปถัมภ์, การยกย่องบูชาและอุปถัมภ์บํารุงศาสนา, การสั่งสอน ธรรมแก่ประชาชนทั้งที่อยู่ในและนอกอาณาจักร, การเมตตาธรรมต่อมนุษย์และสัตว์, การตั้งธรรมอํามาตย์ และ การปกครองแบบพ่อปกครองลูก

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงหลักการสําคัญ ๆ ของประชาธิปไตยสมัยใหม่มาให้เข้าใจอย่างชัดเจน

แนวคําตอบ

หลักการสําคัญของประชาธิปไตยสมัยใหม่ มีดังนี้

1 หลักอํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (Popular Sovereignty) อํานาจสูงสุดใน การปกครองประเทศหรืออํานาจอธิปไตยนั้นเป็นของประชาชนทุกคนร่วมกัน ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอํานาจร่วมกัน ใช้อํานาจนี้จะทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเอง รวมทั้งอํานาจในการถอดถอนในกรณีที่มี การใช้อํานาจโดยมิชอบ

2 หลักสิทธิและเสรีภาพ

สิทธิ (Right) หมายถึง อํานาจหรือความสามารถที่จะทําอะไรได้ตราบใดที่ไม่ไปละเมิด สิทธิของผู้อื่น สิทธิบางอย่างเกิดมาตามธรรมชาติ เช่น สิทธิในชีวิตและร่างกายของตนเอง ตนจึงมีสิทธิที่จะเลี้ยงดู ปกป้องคุ้มครองชีวิตของตน สิทธิบางอย่างได้มาตามกฎหมาย เพราะกฎหมายกําหนดไว้ให้มีสิทธินั้น โดยในทาง การเมืองประชาชนก็มีสิทธิที่สําคัญหลายอย่าง เช่น สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง (Election) สิทธิในการออกเสียง ประชามติ (Referendum) สิทธิเสนอร่างกฎหมาย (Initiative) และสิทธิในการถอดถอนเจ้าหน้าที่ของรัฐออกจาก ตําแหน่ง (Recall) เป็นต้น

เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ความเป็นอิสระในการกระทําการต่าง ๆ ตราบใดที่ไม่ได้ ทําให้ผู้อื่นเสียหายหรือผิดกฎหมาย โดยในทางการเมืองนั้นเสรีภาพที่สําคัญที่จะบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ได้แก่ เสรีภาพในการพูดและแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการพิมพ์ เสรีภาพในการศึกษา และเสรีภาพในการจัดตั้ง สมาคมและพรรคการเมือง เป็นต้น

3 หลักความเสมอภาค (Equality) หมายถึง ความเท่าเทียมที่จะทําอะไรได้เหมือนกัน และได้รับการปฏิบัติเหมือนกันภายใต้กฎหมาย โดยในทางการเมืองที่มีความเสมอภาคที่สําคัญหลายอย่าง เช่น ความเสมอภาคในการเป็นมนุษย์เหมือนกัน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ คนรวยหรือคนจน ก็มีค่าแห่งความเป็นคนเหมือนกัน ย่อมมีศักดิ์ศรีเกียรติยศที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์เหมือนกัน

ความเสมอภาคทางการเมืองมีความสําคัญ คือ บุคคลจะได้รับความคุ้มครองหรือปฏิบัติ จากกฎหมายเสมอเหมือนกัน ความเสมอภาคทางการเมืองเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเมือง คือ คนที่มีภาวะหรือสภาพ เหมือนกัน ย่อมมีสิทธิทางการเมืองเสมอภาคกัน เช่น อายุ 18 ปีบริบูรณ์มีสิทธิเลือกตั้งเหมือนกันหมด เป็นต้น

4 หลักการปกครองโดยกฎหมาย (Rule of Law) หมายถึง ผู้ปกครองจะใช้อํานาจใด ๆ ได้ ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อํานาจไว้ อีกทั้งการใช้อํานาจนั้นจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเท่านั้น การจํากัดสิทธิเสรีภาพใด ๆ ของประชาชนจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ของกฎหมายเท่านั้น ดังนั้นหลักการนี้มีขึ้นเพื่อมุ่งจะให้ความคุ้มครองแก่สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน เป็นสําคัญ

5 หลักเสียงข้างมาก (Majority Rule) หมายถึง ในการตัดสินใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกําหนด ตัวผู้ปกครอง หรือการตัดสินใจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ จะต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ และเพื่อให้มั่นใจว่าการตัดสินนั้นสะท้อนถึงความต้องการของคนส่วนใหญ่อย่างแท้จริงก็ต้องให้ความเคารพและ คุ้มครองเสียงข้างน้อยด้วย (Minority Right) ทั้งนี้เพื่อประกันว่าฝ่ายเสียงข้างมากจะไม่ใช้มติในลักษณะพวกมากลากไป

 

ข้อ 4 จงอธิบายถึง “หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา” มาให้ชัดเจน

แนวคําตอบ

หลักประชาธิปไตยในพุทธศาสนา

“พระพุทธเจ้าตรัสสอนพุทธธรรมเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว ดังนั้นการที่จะนําเอาหลักธรรมคําสอน ของพระองค์มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักประชาธิปไตยซึ่งเป็นระบอบการปกครองหนึ่งในปัจจุบันนั้น จะต้อง คํานึงถึงความแตกต่างของกาละเทศะ และบุคคลด้วย

1 หลักสาราณียธรรม 6 ประการ พระธรรมปิฎกได้อธิบายหลักการอยู่ร่วมกันแบบ ประชาธิปไตยโดยใช้หลักสาราณียธรรม 6 ประการ ดังนี้

1) เมตตากายกรรม คือ การจะทําอะไรก็ทําต่อกันด้วยความเมตตา ด้วยความรักด้วยไมตรี ด้วยความปรารถนาดีต่อกัน มีการช่วยเหลือ มีการร่วมมือ มีความพร้อม

ที่จะประสานงานกัน

2) เมตตาวจีกรรม คือ จะพูดอะไรก็พูดด้วยเมตตา พูดด้วยความหวังดีต่อกันและมุ่งประโยชน์ต่อส่วนรวม

3) เมตตามโนกรรม คือ คิดอะไรก็คิดต่อกันด้วยเมตตา มีความหวังดีและปรารถนาดีต่อกัน

4) สาธารณโภคี คือ การแบ่งปันทรัพย์สินผลประโยชน์กันอย่างทั่วถึง หรือการมีกินมีใช้ร่วมกัน

5) สีลสามัญญตา แปลว่า การมีศีลเสมอกัน คือ มีความประพฤติดี รักษาระเบียบวินัยมีความสุจริตทางกาย วาจาที่จะกลมกลืนเข้ากันได้

6) ทิฏฐิสามัญญตา คือ มีความเห็น มีความเชื่อมันยึดถือในหลักการ อุดมการณ์ และอุดมคติที่ร่วมกันหรือสอดคล้องไปกันได้

2 อํานาจอธิปไตย พระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องอธิปไตย 3 ไว้ในสังคีติสูตร ดังนี้

1) อัตตาธิปไตย (ถือตนเป็นใหญ่) คือ ถือเอาตนเอง ศักดิ์ศรีเกียรติภูมิ ตลอดจน ผลประโยชน์ตนเป็นใหญ่ กระทําการด้วยปรารภตน และสิ่งที่เนื่องด้วยตนเป็นประมาณ

2) โลกาธิปไตย (ถือโลกเป็นใหญ่) คือ การถือเอาความนิยมของชาวโลกเป็นใหญ่ หวั่นไหวไปตามเสียงนินทาและสรรเสริญ ไม่มีหลักการที่แน่นอน กระทําการด้วยวิธีการเอาใจประชาชนเพื่อมุ่งหา ความนิยมหรือลดเสียงว่ากล่าวประณาม

3) ธรรมาธิปไตย (ถือธรรมเป็นใหญ่) คือ การยึดหลักความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม เหตุผลเป็นใหญ่ กระทําการด้วยปรารถนาสิ่งที่ได้ศึกษาตรวจสอบข้อเท็จจริงและความคิดเห็นที่รับฟังอย่างกว้างขวาง แจ้งชัด และได้พิจารณาอย่างดีที่สุด เต็มขีดแห่งสติปัญญา ซึ่งจะมองเห็นได้ด้วยความบริสุทธิ์ใจว่าเป็นไปโดยชอบธรรม และเพื่อความดีงามเป็นประมาณ ซึ่งผู้ปกครองที่ดีควรใช้หลักธรรมข้อนี้ในการปกครองประเทศ

3 รัฐ ในอัคคัญญสูตร พระพุทธเจ้าตรัสถึง กําเนิดมนุษย์ สังคม และสถาบันการเมือง โดย แสดงลําดับวิวัฒนาการมาเป็นชั้น ๆ กล่าวคือ ในสมัยที่โลกพินาศ สัตว์โลกที่มีบุญก็ได้ไปเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม มีรัศมี ไม่มีเพศ มีปิติเป็นอาหาร เมื่อโลกเกิดขึ้นใหม่ เริ่มจากโลกเป็นน้ำหมด มืดมนไม่มีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ไม่มีกลางวันกลางคืน ต่อมาเกิดพื้นดินลอยขึ้นมาอยู่เหนือน้ำ มีกลิ่นมีสี รสดี อาภัสสรพรหมตนหนึ่งก็ลองชิม ก็ติดใจ สัตว์โลกอื่น ๆ ก็ชิมตามทําให้ติดใจ เกิดตัณหา หมดรัศมีต้องเป็นมนุษย์ อยู่บนพื้นโลก เกิดผิวพรรณหยาบ ละเอียดต่างกัน ก็มีการดูถูกเหยียดหยามกันด้วยเหตุแห่งผิวพรรณ เกิดเพศชายหญิง เกิดการเสพเมถุนขึ้น สัตว์โลก (มนุษย์) อื่นเห็นก็ขว้างปาทําให้ต้องสร้างบ้านเรือนที่กําบังขึ้น ทําให้เกิดครอบครัวขึ้น ครอบครัวจึงเป็นเครื่องหมาย แห่งกิเลสตัณหา และความตกต่ำทางจิต

ทางด้านอาหารที่เริ่มจากการแสวงหาอาหารจากธรรมชาติมาเป็นเพาะปลูกเองนั้น เกิดจาก มีผู้สะสมอาหารไว้เกินกว่าความจําเป็นจึงเอาอย่างกัน ทําให้มีการแบ่งปันเขตแดน เกิดทรัพย์สินส่วนตัวขึ้น บางคน เกิดความโลภมากก็ลักทรัพย์ผู้อื่น จึงมีการจับกุมลงโทษทัณฑ์กันขึ้น แต่ยังลงโทษไม่เป็นธรรม จึงได้ตกลงกันเลือกหรือ สมมติคนผู้หนึ่งขึ้นเป็นหัวหน้า ทําหน้าที่ว่ากล่าวติเตียนลงโทษคนที่ทําผิด โดยได้รับส่วนแบ่งผลผลิตจากผู้อยู่ ในความดูแล จึงเกิดคําเรียกผู้ปกครองว่า มหาชนสมมุติ คือเป็นคนที่คนทั่วไปสมมุติขึ้นเป็นหัวหน้า โดยเรียกว่า “กษัตรีย์” เพราะเป็นหัวหน้าดูแลเขตหรือที่ทํากิน และเรียกว่า “ราชา” เพราะทําให้เกิดความสุขใจโดยการให้ ความเป็นธรรม ส่วนคนทั่วไปก็ต้องแบ่งงานกันทําเป็นหน้าที่ต่าง ๆ ในสังคม เพราะต้องเลี้ยงดูครอบครัวจึงเกิดรัฐ ขึ้นเต็มรูปแบบ

การเกิดขึ้นของรัฐตามแนวคิดของพุทธศาสนาไม่ได้เป็นแบบเทวสิทธิ์ (Divine Right) ที่ถือว่าอํานาจปกครองเป็นของผู้ปกครองโดยพระเจ้ามอบให้ แต่เป็นแบบสัญญาประชาคม (Social Contract) ประชาชนตกลงมอบอํานาจให้ แต่ผู้ปกครองต้องเป็นธรรมราชาปกครองโดยธรรม ไม่เป็นทรราช กดขีประชาชน ถ้าตัวผู้ปกครองไม่ดี ประชาชนเรียกคืนอํานาจปกครองนั้นได้

การเกิดขึ้นของรัฐตามแนวคิดของพุทธศาสนาจะคล้ายกับแนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม ของจอห์น ล็อก ซึ่งเป็นทฤษฎีพื้นฐานของประชาธิปไตยมาก เพราะล็อกเห็นว่าอํานาจเป็นของประชาชนที่ตกลง สร้างพันธะสัญญากันยกอํานาจปกครองให้ผู้ปกครอง และผู้ปกครองต้องทําดีถ้าทําไม่ดีประชาชนเรียกอํานาจคืนได้ โดยความคิดของล็อกนี้จะแตกต่างจากโทมัส ฮอบส์ ซึ่งมีความคิดแบบสัญญาประชาคมเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ อํานาจที่ยกให้ผู้ปกครองแล้ว ถือเป็นสิทธิขาดของผู้ปกครองและจะเรียกคืนไม่ได้

4 การเมืองกับเศรษฐกิจ ในจักกวัตติสูตรได้กล่าวถึงหน้าที่ของนักปกครองที่ยิ่งใหญ่ไว้ 5 ประการ โดยเน้นหน้าที่ ข้อ 3 คือ ธนานุประทาน ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ประชาชนผู้ไร้ทรัพย์ มิให้มีคนขัดสนยากไร้ ในแผ่นดิน การละเว้นธรรมข้อนี้จะนําไปสู่ความยุ่งยาก ดังนั้นผู้ปกครองต้องทําหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนไม่ให้ อดอยากด้วย หน้าที่ทางเศรษฐกิจของผู้ปกครองจึงมีความสําคัญ ผู้ปกครองต้องทําหน้าที่นี้ให้ดีด้วย มิฉะนั้นศีลธรรม ซึ่งเป็นหลักในการดําเนินชีวิตของประชาชนก็จะเสื่อมเสียไปด้วย

นอกจากนี้ในกฎทันตสูตร พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจเป็นสิ่งสําคัญที่ ทําให้รัฐมั่นคง โดยได้แสดงถึงสาเหตุของอาชญากรรมและวิธีการที่ทําให้อาชญากรรมหมดไปคือ ต้องทําให้เศรษฐกิจดี ชาวนาต้องได้สิ่งที่จําเป็นในการทํานา พ่อค้าต้องได้ทุน ลูกจ้างต้องได้เงินมากพอในการเลี้ยงชีพ คนเดือดร้อนต้อง ได้รับการยกเว้นภาษี ถ้าประชาชนมีรายได้เพียงพอ รัฐก็สงบสุข

กล่าวโดยสรุป ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจและการเมืองเป็นสิ่งที่คู่กัน และส่งเสริม ซึ่งกันและกัน เหมือนกับในปัจจุบันที่ระบอบประชาธิปไตยคู่กับระบบเศรษฐกิจแบบนายทุนหรือทุนนิยมซึ่ง ส่งเสริมกันและกัน กล่าวคือ ในทางการเมืองประชาชนก็มีสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค ในทางเศรษฐกิจแบบ นายทุนประชาชนก็มีเสรีในการแข่งขันกันในการประกอบอาชีพ

5 ระบอบการปกครอง ในสมัยพุทธกาลได้แบ่งระบอบการปกครองออกเป็น 2 ระบบ ดังนี้

1) ระบอบราชาธิปไตย (Monarchy) ที่กษัตริย์มีอํานาจสิทธิขาดแต่ผู้เดียว พระพุทธเจ้า จึงทรงสอนให้กษัตริย์ใช้วิธีการปกครองโดยธรรม เป็นธรรมราชาโดยมีหลักธรรมประจําใจควบคุมพระองค์เอง

2) ระบอบสามัคคีธรรม ที่พลเมืองชั้นสูงที่มีอํานาจ ตําแหน่งและเงินเลือกตั้งบุคคล ในชนชั้นสูงด้วยกันให้เป็นประธานที่ประชุมหรือเป็นพระราชาที่มีอํานาจจํากัด โดยต้องขึ้นอยู่กับสภาชนชั้นสูง เช่น การปกครองของแคว้นสักกะที่มีสภาซื้อ ศากยะสังฆะ ซึ่งการปกครองระบอบนี้มีลักษณะบางประการคล้ายกับ ระบอบประชาธิปไตย คือ มีการเลือกตั้งผู้ปกครอง และมีการประชุมสภา ที่มีระเบียบปฏิบัติหลายประการเหมือนกับ การประชุมรัฐสภาในปัจจุบัน

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่ชื่อว่า อปริหานิยธรรม (ธรรมที่ทําให้เจริญโดยส่วนเดียว คือไม่มีความเสื่อม) ให้กับแคว้นวัชชีที่ปกครองด้วยระบอบสามัคคีธรรมจนประสบความเจริญรุ่งเรืองมั่งคั่งและเข้มแข็ง แม้แต่พระเจ้าอชาตศัตรูกษัตริย์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของแคว้นมคธก็ยังไม่กล้ายกกองทัพไปตีในตอนแรก ต้องส่งไส้ศึกไปทําให้แตกแยกเสียก่อน จึงสามารถยกกองทัพไปยึดครองแคว้นวัชชีได้ โดยอปริหานิยธรรมมีหลักการ ที่สําคัญอยู่ 7 ประการดังนี้

1) หมั่นประชุมกันบ่อย ๆ

2) พร้อมเพรียงกันประชุมและเลิกประชุม

3) ไม่ทําอะไรนอกเหนือจากระเบียบข้อบังคับ

4) เคารพให้เกียรติท่านผู้ใหญ่ในที่ประชุม

5) ให้เกียรติและคุ้มครองสตรีและเด็ก

6) เคารพบูชาปูชนียสถานของชาติ

7) คุ้มครองดูแลสมณะพราหมณ์ และผู้ทรงวิชาคุณ

หลักธรรมทั้ง 7 ประการนี้ สามารถนํามาใช้ในการทั่วไปทั้งการประชุมของข้าราชบริพาร ของกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และการประชุมรัฐสภาของระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน ซึ่งจะทําให้ การขาดประชุมจนไม่ครบองค์ประชุม และความวุ่นวายต่าง ๆ ในรัฐสภาลดลงหรือหมดไปได้ .

6 ธรรมราชา พระพุทธเจ้าทรงให้ความสําคัญต่อผู้ปกครองที่ดีมีคุณธรรมมากที่สุดโดย ทรงใช้คําว่า ธรรมราชา ผู้ทรงธรรม ผู้ปกครองโดยธรรม ซึ่งหลักธรรมหลายประการก็มุ่งที่จะสอนกษัตริย์ พระราชา และหัวหน้าหมู่ชนให้เป็นผู้ปกครองที่ดี เช่น หลักทศพิธราชธรรม หลักจักรวรรดิวัตร และหลักราชสังคหวัตถุ เป็นต้น

ธรรมราชานั้นสามารถใช้ได้กับการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และระบอบสามัคคีธรรม โดยหลักธรรมของผู้เป็นใหญ่ ผู้นํา และผู้ปกครองที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้นี้ก็สามารถนํามาใช้กับ ผู้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันด้วย เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี วุฒิสมาชิก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนข้าราชการระดับสูงต่าง ๆ ก็ควรจะปฏิบัติตามคําสอนของพระพุทธองค์ในเรื่องผู้ปกครองที่ดีที่ปกครอง หรือบริหารโดยธรรมด้วย

7 สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตรัสเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ และ ความเสมอภาคทางการเมืองการปกครองไว้โดยตรง แต่จากคําสอนและการประพฤติปฏิบัติจริงของพระองค์นั้น เป็นการให้สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคแก่ศาสนิกชนอย่างมาก จนเป็นที่กล่าวกันว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนา แห่งเสรีภาพและความเสมอภาค เนื่องจากพระพุทธเจ้าไม่ทรงบังคับให้ใครเชื่อถือศรัทธาในศาสนาของพระองค์ แต่ทรงชี้ทางที่ถูกต้องให้เท่านั้น ใครจะทําตามหรือไม่นั้นย่อมมีสิทธิเลือก

พระองค์ทรงแนะนําให้ใช้วิจารณญาณในการพิจารณาไตร่ตรองของตนเองเสียก่อน ดัง คําสอนในกาลามสูตรที่พระองค์ทรงสอนพวกกาลามะ ซึ่งตรัสสอนมีให้เชื่อในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ 1) โดยฟังตามกันมา 2) โดยนําสืบกันมา 3) โดยตื่นข่าวลือ 4) โดยอ้างตํารา 5) โดยนึกเดาเอาเอง 6) โดยการคาดคะเน 7) โดยตรึก ตามอาการ 8) โดยพอใจว่าชอบแก่ความเห็นของตน 9) โดยเห็นว่าพอเชื่อได้ 10) โดยเห็นว่าสมณะผู้นี้เป็นครูของเรา ทั้งนี้พระพุทธเจ้าจะทรงสอนให้มนุษย์สอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองแทน

นอกจากนี้ศีล 5 ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พุทธศาสนิกชนนําไปปฏิบัติตามนั้น จะเห็น ได้ว่าเป็นการรับรองสิทธิในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งถือเป็นสิทธิพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย คือไม่ให้ฆ่าผู้อื่น ไม่ให้ลักทรัพย์ผู้อื่น ไม่ให้ล่วงละเมิดทางเพศผู้อื่น เป็นต้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงการรับรองสิทธิส่วนบุคคลที่ผู้อื่น จะละเมิดมิได้ด้วย

ในด้านความเสมอภาคนั้นจะเห็นได้ว่าพระพุทธศาสนามีการเปิดโอกาสอย่างชัดเจน เช่น ผู้หญิงก็สามารถขอบวชเป็นภิกษุณีได้ เพียงแต่ผู้หญิงจะมีปัญหาเฉพาะเพศมากกว่าผู้ชาย จึงทรงให้ภิกษุณีถือศีล มากกว่าภิกษุ และต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดที่บังคับให้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอีก 8 ข้อจึงจะเข้ามาบวชได้ ซึ่งการ : – ยอมรับความเสมอภาคของหญิงเท่ากับชายในการบวชจึงเป็นการปฏิบัติทางสังคมที่ยิ่งใหญ่มากในสมัยนั้น

พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ทุกวรรณะแม้แต่จัณฑาลสามารถเข้าบวชในพุทธศาสนา และ ทรงสั่งสอนไม่ให้เชื่อในคําสอนที่ว่าพราหมณ์ดีกว่าวรรณะอื่น รวมทั้งทรงสอนว่า คนทุกคนมีความเสมอภาคกันหมด ต่อกรรมดีและกรรมชั่วที่ตนทํา

8 การปกครองคณะสงฆ์ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ส่งเสริมการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย ดังจะเห็นได้จากการปกครองคณะสงฆ์ที่มีลักษณะหลายประการที่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย ดังนี้

1) พระพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด ซึ่งคล้ายกับ การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด

2) พระพุทธศาสนาถือหลักความเสมอภาคภายใต้พระธรรมวินัย ซึ่งคล้ายกับสังคม ประชาธิปไตยที่บุคคลเสมอภาคกันภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย

3) การปกครองคณะสงฆ์มีการแบ่งอํานาจเป็นฝ่ายปกครองและฝ่ายสอบสวนพิจารณา โทษคล้ายกับในระบอบประชาธิปไตยที่มีการแบ่งเป็นฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ โดยคณะพระเถระผู้ใหญ่จะบริหาร คณะสงฆ์ตามพระธรรมวินัยหรือกฎหมายของสงฆ์ ส่วนพระวินัยธรจะทําหน้าที่สอบสวนพิจารณาโทษพระสงฆ์ที่ ทําผิดพระธรรมวินัย

4) การปกครองคณะสงฆ์ใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ตัดสิน ฝ่ายใดได้รับเสียงข้างมาก สนับสนุนฝ่ายข้างน้อยก็ปฏิบัติตาม แต่ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับพระธรรมวินัย

5) การมอบความเป็นใหญ่ให้สงฆ์

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า พุทธศาสนามีหลักธรรมหลายประการที่สอดคล้องกับการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย

Advertisement