การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 2 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ

ข้อ 1 ข้อสอบข้อนี้เป็นของ รศ.ชลิดา

จากที่นักศึกษาได้ศึกษาเรื่อง “ดัชนีวัดระดับการพัฒนามนุษย์” (Indicators of Human Resource Development) มาแล้วนั้น ให้นักศึกษาตอบคําถามว่า ดัชนีชี้วัดระดับการพัฒนามนุษย์ที่กําหนด โดยสหประชาชาติ ที่เรียกว่า Human Development Index (HDL) นั้น ประกอบด้วยตัวชี้วัด (ตัวบ่งชี้) ที่ประเมินการพัฒนามนุษย์ระดับสากลในปัจจุบัน ประกอบด้วยตัวชี้วัดด้านใดบ้าง จงระบุและอธิบายมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 0-3328-1 หน้า 10, เอกสารหมายเลข n-3328-2 หน้า 25), (คําบรรยาย)

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index : HDI)สํานักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nation Development Programme : UNDP) ได้ศึกษาและจัดอันดับดัชนีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development Index : HDI) คือ เป็นดัชนีการวัดและเปรียบเทียบ ความยากจน การรู้หนังสือ การศึกษา อายุขัย การคลอดบุตร และปัจจัยอื่น ๆ ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นวิธีการวัดความอยู่ดีกินดีตามมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและเยาวชน ซึ่ง หลายคนก็ใช้ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาตินี้ในการระบุว่าประเทศใดประเทศหนึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศ ที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่กําลังพัฒนา หรือประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยดัชนีชี้วัดระดับการพัฒนามนุษย์ประกอบด้วย ตัวชี้วัด 3 ด้าน ดังนี้

1 การมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดี ซึ่งวัดได้จากอายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (Life Expectancy Index)

2 ความรู้ ซึ่งวัดได้จากการรู้หนังสือ และอัตราส่วนการเข้าเรียนสุทธิที่รวมกันทั้งระดับ ประถม มัธยม และอุดมศึกษา (Education Index)

3 มาตรฐานคุณภาพชีวิต ซึ่งวัดได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ต่อหัว และความเท่าเทียมกันของอํานาจซื้อ (Purchasing Power Parity : PPP), (GDP Index)

ประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติจะถูกจัดอันดับตามดัชนีนี้ในแต่ละปี ประเทศที่ได้รับ การจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ มักจะโฆษณาผลการจัดอันดับดังกล่าว (เช่น กรณีของนายฌอง เครเตียง อดีตนายกรัฐมนตรี ของแคนาดา) เพื่อที่จะดึงดูดให้บุคลากรที่มีความสามารถอพยพเข้ามาในประเทศของตนมากขึ้น เพื่อเป็นทรัพยากร มนุษย์ในทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อที่จะลดแรงจูงใจในการอพยพย้ายออก

ทั้งนี้ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index :HDI) ยังถูกนําไปใช้วัดการพัฒนา เศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจคือการคํานึงถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยไม่ได้จํากัด อยู่เพียงรายได้ หากแต่รวมถึงสุขภาพและการศึกษาซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของดัชนีการพัฒนามนุษย์ด้วย

 

ข้อ 2 ข้อสอบข้อนี้เป็นของ ผศ.ดร.ปรัชญา

2.1 อธิบายคําว่า “Human Resource” พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข n-3328-2 หน้า 2)

ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) คือ ผลรวมของความรู้ ความชํานาญ ความถนัดของ ประชากรทั้งหมดในประเทศ ทั้งในด้านปริมาณ เช่น จํานวนการกระจายของประชากร กําลังแรงงาน ฯลฯ และ ด้านคุณภาพ เช่น ความรู้ ความชํานาญ ความถนัด คุณค่า แรงจูงใจ จิตใจ สุขภาพ ฯลฯ

ซึ่งประชากรที่อาศัยอยู่ในชาติมีความสําคัญต่อการผลิตสินค้าและบริการ และผลผลิตหรือรายได้ ประชากรชาติจะต่ำลงหากปราศจากการศึกษาอบรมและการดูแลด้านสุขภาพอนามัยที่ดี

2.2 อธิบายคําว่า “Human Resource Planning” พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

Human Resource Planning (การวางแผนทรัพยากรมนุษย์) หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ คาดคะเนความต้องการทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตอย่างเป็นระบบ โดยระบุจํานวนคน ประเภทของบุคคลที่จะ ปฏิบัติงาน รวมถึงระดับทักษะ ความรู้ และความสามารถที่ต้องการ เพื่อให้องค์การมั่นใจได้ว่ามีบุคลากรที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมและมีจํานวนเพียงพอกับการปฏิบัติงานที่คาดว่าจะมีในอนาคต พร้อมทั้งกําหนดแนวทางในการปฏิบัติ และมีแผนการใช้บุคลากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ ตัวอย่างเช่น การวางแผนกําลังคน เพื่อให้ได้ปริมาณ และคุณภาพที่ต้องการตามระยะเวลา และเป้าหมาย เป็นต้น

2.3 จงอธิบายคําว่า คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มีลักษณะอย่างไร และจะส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพของคนไทยด้วยการลงทุนด้านการศึกษาได้อย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบ มาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 0-3328-2 หน้า 5 – 10, 45 – 46), (คําบรรยาย)

คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

การพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ซึ่งมองว่าเมื่อมีการพัฒนาที่ตัวคนแล้วก็จะทํา ให้เกิดการพัฒนาในด้านอื่น ๆ ตามมาด้วย ทั้งนี้จะดูแลและพัฒนาคนในทุกเรื่องไปพร้อม ๆ กัน ทั้งการศึกษาและ สุขภาพอนามัย การพัฒนาประเทศชาติให้เจริญได้นั้นต้องเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพราะจะให้คนที่มี ความรู้ความสามารถก่อนแล้วถึงจะไปพัฒนาด้านอื่น ๆ ได้ ฉะนั้นเวลาเราจะพัฒนาคนก็จะต้องพัฒนาทุกด้านของ คนทั้งกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์ จริยธรรมและศาสนาก่อน คนที่ได้รับการพัฒนาหมดทุกด้านดังกล่าวแล้วก็ สามารถนําเอาความรู้ความสามารถมาพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ดูแลครอบครัว ชุมชน สังคม การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และพอทุกอย่างเจริญก้าวหน้าแล้วก็จะส่งผลกลับมาที่คน ทําให้คนในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

การพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องเริ่มจากการพัฒนาคนก่อน ซึ่งมีความสําคัญที่จะต้องพัฒนาคนเป็น 2 ด้าน คือ

1 พัฒนาคนให้มีคุณสมบัติที่จะเป็นแกนนําในการพัฒนาและบูรณาการให้เกิดความสมดุลอย่างถูกทาง และเป็นการอํานวยประโยชน์แก่สังคมได้ เช่น พัฒนาคนให้มีสุขภาพดีมีความรับผิดชอบ มีความรู้ความสามารถ ขยันขันแข็ง มีระเบียบวินัย เป็นต้น

2 พัฒนาคนเพื่อประโยชน์สุขแก่ตัวมนุษย์เองทุกคน เช่น พัฒนาคนในเรื่องของคุณค่าความเป็นคน พัฒนาคนให้มีความสุข มีพัฒนาการด้านจิตใจและสติปัญญา มีชีวิตที่ดีงามสมบูรณ์ เป็นต้น

การพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบและนําไปสู่ การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป อย่างในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ได้เน้นที่การพัฒนาคน เพื่อก้าวไปสู่วิสัยทัศน์การพัฒนาที่พึงประสงค์ในระยะยาว ซึ่งวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จะเน้นการ พัฒนาที่ตัวคนทั้งสิ้น ดังนี้

1 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคนทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาให้มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ และสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง

2 เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้มีความมั่นคง และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน ให้สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคน รวมทั้งให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมากยิ่งขึ้น

3 เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ มั่นคง และสมดุลเสริมสร้างโอกาสการพัฒนาศักยภาพของคนในการมีส่วนร่วมในกระบวนการการพัฒนาและได้รับผลจากการพัฒนาที่เป็นธรรม

4 เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความสมบูรณ์ สามารถจะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน

5 เพื่อปรับระบบบริหารจัดการเปิดโอกาสให้องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน ชุมชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศมากขึ้น

ดังนั้น การวางแผนพัฒนาประเทศซึ่งมีความสําคัญต่อคนและประเทศควรยึดหลักการปฏิบัติตาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกภาคส่วนทุกระดับ ยึดแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มีการเชื่อมโยงทุกมิติของ การพัฒนาอย่างบูรณาการทั้งมิติตัวคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมือง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อมเผชิญ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ขณะเดียวกันก็ให้ความสําคัญ กับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในกระบวนการพัฒนาประเทศ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและ ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย

การลงทุนด้านการศึกษา

การศึกษาในฐานะกลไกพื้นฐานของการพัฒนาคนจึงเป็นสิ่งที่สังคมหวังพึ่งพาให้เป็นเครื่องมือ เตรียมคนและสังคมให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลของการศึกษา ที่ผ่านมาของประเทศไทยมักจะถูกผลักให้มองคนเป็นเพียงทรัพยากรมนุษย์มากกว่าที่จะมองคนเป็นคนที่มีเกียรติศักดิ์ศรี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของตนเอง การศึกษาจึงเอนเอียงไปในการทําคนให้เป็นเพียงปัจจัยการผลิตที่มีคุณค่า มากกว่าจะเคารพในคุณค่าของความเป็นคน การศึกษาที่ผ่านมาจึงมิได้ส่งเสริมให้คนรอบรู้และเข้าใจชีวิตและ เป็นคนที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษาที่ผ่านมาให้ความสําคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development) มากกว่าการพัฒนามนุษย์ (Human Development)

การศึกษาจะมีบทบาทสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะสังคมไทยในช่วงที่ ผ่านมาดูเหมือนว่ามีคนเก่งมากมายที่ช่วยกันทําให้เกิดความเจริญทุกด้าน แต่คนในสังคมมีความบกพร่องทาง ศีลธรรมเพิ่มมากขึ้นทั้งคนเก่งและคนไม่เก่ง จึงก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาอย่างมากมายในทุกองค์กร ดังนั้น การศึกษาจึงไม่ควรทุ่มเทด้านความเก่ง (Manpower) เพียงเพื่อจะเพิ่มมูลค่าภายนอกของมนุษย์ (Economic Value Added) เท่านั้น แต่ต้องให้ความสนใจต่อความเป็นคนดี (Manhood) และการเพิ่มมูลค่าภายในของมนุษย์ (Social Value Added) ด้วย ถ้าการศึกษาได้สร้างทรัพยากรมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งสองด้านย่อมจะไม่ก่อให้เกิด ปัญหาการขาดดุลทางปัญญาและดุลทางเศรษฐกิจ และจะได้มีเวลามาพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อไป ดังนั้น การศึกษาที่ควรจะเป็นคือ การศึกษาที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People Oriented)

จะเห็นได้ว่าการศึกษามีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาวที่จะช่วย สร้างและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยกับนานาชาติได้ โดยสิ่งที่สําคัญที่สุดที่จะต้องเร่ง ดําเนินการก็คือ การสะสมทุนมนุษย์ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการลงทุนทางด้านการศึกษา ภายในประเทศให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

Advertisement