การสอบซ่อมภาค 1 ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 2 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ
ข้อ 1 ข้อสอบนี้เป็นของ รศ.ชลิดา (สมุดคําตอบสีดํา)
1.1 ให้นักศึกษาให้ความหมายของคําว่า “ทุนมนุษย์” (Human Capital) ว่าคืออะไร
แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข ๓-3328-2 หน้า 2)
ทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ โดยถือว่าการศึกษาเป็น สินค้าที่ใช้บริโภคอย่างหนึ่ง การศึกษาทําให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตของแรงงาน การตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษา หรือให้การศึกษาจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อผลผลิตและผลตอบแทนจากการทํางานอันสูงสุด ซึ่งเกิดจาก แรงงานผู้บริโภคการศึกษานั้น
1.2 ให้นักศึกษาอธิบายคําว่า “กําลังคน” (Manpower) คืออะไร
แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 0-3328-2 หน้า 4)
กําลังคน (Manpower) คือ ประชากรที่อยู่ในกําลังแรงงานและนอกกําลังแรงงานที่ให้ประโยชน์ ทางเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้โดยพิจารณาว่าคนเป็นปัจจัยในการผลิต เพื่อเพิ่มผลผลิตและบริการอันเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และสังคม
1.3 หากต้องการจะให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้ารุ่งเรือง และชาวไทยมีความสุขการวางแผนพัฒนาชาติควรเป็นเช่นใด
แนวคําตอบ
(เอกสารหมายเลข 0-3328-2 หน้า 5 – 10, 45 – 46),
(คําบรรยาย)การพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ซึ่งมองว่าเมื่อมีการพัฒนาที่ตัวคนแล้วก็จะ ทําให้เกิดการพัฒนาในด้านอื่น ๆ ตามมาด้วย ทั้งนี้จะดูแลและพัฒนาคนในทุกเรื่องไปพร้อม ๆ กัน ทั้งการศึกษาและ สุขภาพอนามัย การพัฒนาประเทศชาติให้เจริญได้นั้นต้องเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพราะจะให้คนที่มี ความรู้ความสามารถก่อนแล้วถึงจะไปพัฒนาด้านอื่น ๆ ได้ ฉะนั้นเวลาเราจะพัฒนาคนก็จะต้องพัฒนาทุกด้านของคน ทั้งกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์ จริยธรรมและศาสนาก่อน คนที่ได้รับการพัฒนาหมดทุกด้านดังกล่าวแล้วก็สามารถ นําเอาความรู้ความสามารถมาพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ดูแลครอบครัว ชุมชน สังคม การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม และพอทุกอย่างเจริญก้าวหน้าแล้วก็จะส่งผลกลับมาที่คน ทําให้คนในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
การพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องเริ่มจากการพัฒนาคนก่อน ซึ่งมีความสําคัญที่จะต้องพัฒนาคนเป็น 2 ด้าน คือ
1 พัฒนาคนให้มีคุณสมบัติที่จะเป็นแกนนําในการพัฒนาและบูรณาการให้เกิดความสมดุลอย่างถูกทาง และเป็นการอํานวยประโยชน์แก่สังคมได้ เช่น พัฒนาคนให้มีสุขภาพดีมีความรับผิดชอบ มีความรู้ความสามารถ ขยันขันแข็ง มีระเบียบวินัย เป็นต้น
2 พัฒนาคนเพื่อประโยชน์สุขแก่ตัวมนุษย์เองทุกคน เช่น พัฒนาคนในเรื่องของคุณค่าความเป็นคน พัฒนาคนให้มีความสุข มีพัฒนาการด้านจิตใจและสติปัญญา มีชีวิตที่ดีงามสมบูรณ์ เป็นต้น
การพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบและนําไปสู่ การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป อย่างในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ได้เน้นที่การพัฒนาคน เพื่อก้าวไปสู่วิสัยทัศน์การพัฒนาที่พึงประสงค์ในระยะยาว ซึ่งวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จะเน้นการ พัฒนาที่ตัวคนทั้งสิ้น ดังนี้
1 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคนทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาให้มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ และสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง
2 เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้มีความมั่นคง และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน ให้สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคน รวมทั้ง ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมากยิ่งขึ้น
3 เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ มั่นคง และสมดุลเสริมสร้างโอกาสการพัฒนาศักยภาพของคนในการมีส่วนร่วมในกระบวนการการพัฒนาและได้รับผลจากการพัฒนาที่เป็นธรรม
4 เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความสมบูรณ์ สามารถจะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน
5 เพื่อปรับระบบบริหารจัดการเปิดโอกาสให้องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน ชุมชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศมากขึ้น
ดังนั้น การวางแผนพัฒนาประเทศซึ่งมีความสําคัญต่อคนและประเทศควรยึดหลักการปฏิบัติ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกภาคส่วนทุกระดับ ยึดแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มีการเชื่อมโยงทุกมิติของ การพัฒนาอย่างบูรณาการทั้งมิติตัวคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมือง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อมเผชิญ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ขณะเดียวกันก็ให้ความสําคัญ กับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในกระบวนการพัฒนาประเทศ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและ ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย
ข้อ 2 ข้อสอบนี้เป็นของ ดร.ปรัชญา (สมุดคําตอบสีแดง)
2.1 อธิบายคําว่า “ทรัพยากรมนุษย์” (Human Resource) ว่าคืออะไร และมีความสําคัญอย่างไร
แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข n-3328-2 หน้า 2)
ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) คือ ผลรวมของความรู้ ความชํานาญ ความถนัดของ ประชากรทั้งหมดในประเทศ ทั้งในด้านปริมาณ เช่น จํานวนการกระจายของประชากร กําลังแรงงาน ฯลฯ และ ด้านคุณภาพ เช่น ความรู้ ความชํานาญ ความถนัด คุณค่า แรงจูงใจ จิตใจ สุขภาพ ฯลฯ
ซึ่งประชากรที่อาศัยอยู่ในชาติมีความสําคัญต่อการผลิตสินค้าและบริการ และผลผลิตหรือ รายได้ประชากรชาติจะต่ำลงหากปราศจากการศึกษาอบรมและการดูแลด้านสุขภาพอนามัยที่ดี
2.2 อธิบายคําว่า “Human Resource Planning” พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
แนวคําตอบ (คําบรรยาย)
Human Resource Planning (การวางแผนทรัพยากรมนุษย์) หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ คาดคะเนความต้องการทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตอย่างเป็นระบบ โดยระบุจํานวนคน ประเภทของบุคคลที่จะ ปฏิบัติงาน รวมถึงระดับทักษะ ความรู้ และความสามารถที่ต้องการ เพื่อให้องค์การมั่นใจได้ว่ามีบุคลากรที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมและมีจํานวนเพียงพอกับการปฏิบัติงานที่คาดว่าจะมีในอนาคต พร้อมทั้งกําหนดแนวทางในการปฏิบัติ และมีแผนการใช้บุคลากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ ตัวอย่างเช่น การวางแผนกําลังคน เพื่อให้ได้ปริมาณ และคุณภาพที่ต้องการตามระยะเวลา และเป้าหมาย เป็นต้น
2.3 จงอธิบายลักษณะการลงทุนด้านการศึกษา จะส่งผลต่อการวางแผนทรัพยากรมนุษย์เมื่อต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบมาให้เข้าใจ
แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 0-3328-1 หน้า 3, 17 – 20, 24), (คําบรรยาย)
สภาพปัญหาของทรัพยากรมนุษย์
การพัฒนาประเทศตลอดระยะเวลา 30 กว่าปีที่ผ่านมานั้น ได้ถูกครอบงําด้วยกระแสหลักของ กระบวนการพัฒนาตามประเทศทุนนิยมตะวันตกที่มุ่งเน้นความสําคัญของภาคเศรษฐกิจเป็นหลัก และให้ความสําคัญ ของมนุษย์เป็นเพียงแค่เครื่องมือหรือเน้นคนเป็นเพียงปัจจัยการผลิตเท่านั้น จึงทําให้เกิดปัญหามากมายที่มาพร้อมกับ กระบวนการพัฒนาที่ขาดสมดุลระหว่างระบบต่าง ๆ ในสังคมไม่ว่าจะเป็นปัญหากระจายรายได้ ปัญหาความยากจน ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสียหาย ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม ปัญหาความล่มสลายของ ชุมชนชนบท ปัญหาความอ่อนล้าของคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรม ปัญหาความไม่มั่นใจในระบบการเมือง การปกครอง การบริหารที่เป็นอยู่ ฯลฯ ดังคํากล่าวที่ว่า เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน
เมื่อผลของการพัฒนาเป็นเช่นนี้ก็ได้มีการทบทวนกระบวนการพัฒนาจากเดิมที่เน้นภาคเศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มาเป็นการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบ และ นําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
การลงทุนด้านการศึกษา
การศึกษาในฐานะกลไกพื้นฐานของการพัฒนาคนจึงเป็นสิ่งที่สังคมหวังพึ่งพาให้เป็นเครื่องมือ เตรียมคนและสังคมให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลของการศึกษา ที่ผ่านมาของประเทศไทยมักจะถูกผลักให้มองคนเป็นเพียงทรัพยากรมนุษย์มากกว่าที่จะมองคนเป็นคนที่มีเกียรติ ศักดิ์ศรี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของตนเอง การศึกษาจึงเอนเอียงไปในการทําคนให้เป็นเพียงปัจจัยการผลิตที่มี คุณค่ามากกว่าจะเคารพในคุณค่าของความเป็นคน การศึกษาที่ผ่านมาจึงมิได้ส่งเสริมให้คนรอบรู้และเข้าใจชีวิตและ เป็นคนที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษาที่ผ่านมาให้ความสําคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development) มากกว่าการพัฒนามนุษย์ (Human Development)
การศึกษาจะมีบทบาทสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะสังคมไทยในช่วงที่ ผ่านมาดูเหมือนว่ามีคนเก่งมากมายที่ช่วยกันทําให้เกิดความเจริญทุกด้าน แต่คนในสังคมมีความบกพร่องทางศีลธรรม เพิ่มมากขึ้นทั้งคนเก่งและคนไม่เก่ง จึงก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาอย่างมากมายในทุกองค์กร ดังนั้นการศึกษา จึงไม่ควรทุ่มเทด้านความเก่ง (Manpower) เพียงเพื่อจะเพิ่มมูลค่าภายนอกของมนุษย์ (Economic Value Added) เท่านั้น แต่ต้องให้ความสนใจต่อความเป็นคนดี (Manhood) และการเพิ่มมูลค่าภายในของมนุษย์ (Social Value Added) ด้วย ถ้าการศึกษาได้สร้างทรัพยากรมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งสองด้านย่อมจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุล ทางปัญญาและดุลทางเศรษฐกิจ และจะได้มีเวลามาพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อไป ดังนั้นการศึกษาที่ควรจะ เป็นคือ การศึกษาที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People Oriented)
จะเห็นได้ว่าการศึกษามีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาวที่จะช่วยสร้าง และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยกับนานาชาติได้ โดยสิ่งที่สําคัญที่สุดที่จะต้องเร่งดําเนินการ ก็คือ การสะสมทุนมนุษย์ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการลงทุนทางด้านการศึกษาภายในประเทศ ให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
การลงทุนด้านสุขภาพอนามัย
สุขภาพอนามัยมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังคํากล่าวที่ว่า จิตใจที่มั่นคงจะอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง (A sound mind is in a sound body) หรือคํากล่าวในพุทธสุภาษิตที่ว่า อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ กล่าวคือ ใครก็ตามที่เป็นผู้ที่มีสุขภาพอนามัยดี ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัย ก็จะสามารถ ทํากิจกรรมใด ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น จะศึกษาเล่าเรียนก็จะศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทํางานก็ทําได้ดี ซึ่งผู้ที่มีการศึกษาดีกว่ามักจะมีแนวโน้มที่จะสนใจรักษาสุขภาพอนามัยมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาด้อยกว่า
ดังนั้นจึงมักจะถือว่าการลงทุนด้านการศึกษาและการลงทุนด้านสุขภาพอนามัยเป็นการลงทุนร่วม (Joint Investment) คือจะเป็นการลงทุนที่สามารถเอื้อประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและกันได้
ประชาคมอาเซียนกับทรัพยากรมนุษย์
การก้าวหน้าไปสู่ประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็งได้นั้น ปัจจัยสําคัญที่สุดก็คือ ทรัพยากรมนุษย์ซึ่งควรที่จะมีความรู้และศักยภาพเท่าเทียมกันมากขึ้น และเกื้อหนุนซึ่งกันและกันในภูมิภาค
ประโยชน์ของการเป็นประชาคมอาเซียนก็คือ การได้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมาทดแทนศักยภาพแรงงาน และจัดระบบการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานระหว่างประเทศ
ประเทศไทยจําเป็นต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วนในการก่อให้เกิดความร่วมมือแบบหุ้นส่วนผลิตภาพ (Productivity) ของกําลังแรงงานทั้งในระดับแรงงานฝีมือการไหลเวียนของกําลังแรงงานข้ามพรมแดนระหว่างกันและกันในภูมิภาค ยึดหลัก “คน เป็นศูนย์กลางในการพัฒนา” ส่งเสริมให้มีงานทํา มีศักยภาพสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขัน มีความมั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ผลกระทบต่อประเทศไทยเมื่อเปิดแรงงานเสรีอาเซียน ปี 2558
การไหลบ่าของแรงงานที่จะเข้ามาแข่งขัน
แรงงานไทยจะขาดแคลนมากยิ่งขึ้น
เกิดการสมองไหลไปทํางานในต่างประเทศ
ลาว กัมพูชา พม่า จีน และอินเดียจะเข้ามาประเทศไทยมากยิ่งขึ้น คนไทยต้องเตรียมตัวให้พร้อม ดังนี้
– ใช้ภาษาอังกฤษให้คล่องในการสื่อสารได้
– ต้องเรียนรู้และสื่อสารภาษาประเทศเพื่อนบ้าน
– ต้องรู้จักอาเซียนมากกว่ารู้ว่าอาเซียนคืออะไร
– ต้องรู้จักวิธีการทํามาค้าขายกับประเทศในอาเซียน
– ต้องเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ทัศนคติประเทศในอาเซียน
ข้อตกลงการยอมรับร่วมกันในบุคลากรวิชาชีพ ซึ่งมี 7 อาชีพที่สามารถทํางานได้เสรีใน 10 ประเทศ อาเซียน ได้แก่ วิศวกร พยาบาล สถาปนิก การสํารวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และบัญชีแรงงานไทยต้องปรับตัว ดังนี้
– การยกระดับมาตรฐานการศึกษา
– พัฒนาแนวคิดและวัฒนธรรมทางการเรียนรู้
– เน้นการลงมือทําได้จริง
– พัฒนาระบบสาธารณสุขและคุณภาพชีวิต
– พัฒนาวิสัยทัศน์และแนวคิดมุมมองให้กว้างไกลทันโลก
– ติดตามความเปลี่ยนแปลงทุกด้านของประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
– พัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร
– พัฒนาแนวทางคุ้มครองแรงงานให้เป็นมาตรฐานสากล
มิติที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ควรมีการเตรียมรับมือ ดังนี้
1 ปรับเกณฑ์และเงื่อนไขในการคัดเลือกสรรหาให้พร้อมต่อการรับมือกับการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เช่น ตั้งเกณฑ์การคัดเลือกพนักงานใหม่ให้มีคุณลักษณะ มีสมรรถนะ (Competency) ที่พร้อมจะทํางานในสภาพแวดล้อมที่เป็นสากลด้วย และมีการพัฒนาเงื่อนไขการจ้างงานที่เอื้อต่อการจ้างงานจากนอกประเทศเข้ามาในองค์กร
2 พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมภาคบังคับที่จะเอื้อให้พนักงานเกิดความต้องการพัฒนาทักษะที่พร้อมทํางานข้ามประเทศ
3 เตรียมนโยบายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการส่งพนักงานไปประจําที่ต่างประเทศให้พร้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ตอบแทน
4 สร้างเงื่อนไขในการเลื่อนตําแหน่ง โดยมีการวางเกณฑ์ของการเคยไปประจําที่ต่างประเทศหรือรับผิดชอบงานต่างประเทศเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการรับการพิจารณา
5 สร้างความสัมพันธ์กับสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เพื่อให้ข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรที่จะเตรียมแรงงานทักษะให้มีความพร้อมต่อการเกิดขึ้นของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตั้งแต่ยังอยู่ในสถาบันการศึกษา