การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการตั้งปัญหาในการวิจัย
(1) เพื่อบรรยาย
(2) เพื่ออธิบาย
(3) เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
(4) เพื่อการทํานาย
(5) เป็นจุดมุ่งหมายทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 94 – 95 จุดมุ่งหมายของการตั้งปัญหาในการวิจัย มีดังนี้
1 เพื่อบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้
2 เพื่อบรรยาย
3 เพื่ออธิบาย
4 เพื่อทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
2 ข้อใดไม่ใช่หลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อของการวิจัย
(1) ความเป็นไปได้
(2) ความน่าสนใจและทันต่อเหตุการณ์
(3) ความสนใจของผู้วิจัย
(4) ความยากง่ายในการศึกษา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 96 – 97 หลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อของการวิจัย มีดังนี้
1 ความสําคัญของปัญหา
2 ความเป็นไปได้
3 ความน่าสนใจและทันต่อเหตุการณ์
4 ความสนใจของผู้ที่จะวิจัย
5 ความสามารถที่จะทําให้บรรลุผล
3 ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น ๆ มากําหนดความสัมพันธ์ เรียกว่าปัญหา ประเภทใด
(1) ปัญหาเชิงวิเคราะห์
(2) ปัญหาเชิงประจักษ์
(3) ปัญหาเชิงปทัสถาน
(4) ปัญหาเชิงสังเคราะห์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 97 ปัญหาเชิงประจักษ์ (Empirical Problems) คือ ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น ๆ มากําหนดความสัมพันธ์
4 ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ความคิด ความรู้ในเชิงวิชาการมาประมวลเป็นข้อสรุปหรือกฎ หรืออ้างอิงจากแนวคิดทฤษฎี หรือนักวิชาการ เรียกว่าปัญหาประเภทใด
(1) ปัญหาเชิงวิเคราะห์
(2) ปัญหาเชิงประจักษ์
(3) ปัญหาเชิงปทัสถาน
(4) ปัญหาเชิงสังเคราะห์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 97, (คําบรรยาย) ปัญหาเชิงปที่สถาน (Normative Problems) คือ ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ความคิด ความรู้เชิงวิชาการมาประมวลเป็นข้อสรุปหรือกฏ หรือใช้การอ้างอิงจากตําราวิชาการ แนวคิดทฤษฎี หรือนักวิชาการ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ มายืนยันและตรวจสอบความถูกต้อง
5 วัตถุประสงค์ในการวิจัย “เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างภูมิหลังของบุคคลกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง” เป็นวัตถุประสงค์ประเภทใด
(1) วัตถุประสงค์เชิงพรรณนา
(2) วัตถุประสงค์เชิงอธิบาย
(3) วัตถุประสงค์เชิงทํานาย
(4) วัตถุประสงค์เชิงเปรียบเทียบ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 99 – 100, (คําบรรยาย) การกําหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย มีดังนี้
1 วัตถุประสงค์เชิงพรรณนา เช่น เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี เป็นต้น
2 วัตถุประสงค์เชิงเปรียบเทียบ เช่น เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างภูมิหลังของบุคคลกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นต้น
6 การมีส่วนร่วมทางการเมืองในวัตถุประสงค์ข้างต้น เป็นตัวแปรประเภทใด (1) ตัวแปรอิสระ
(2) ตัวแปรแทรกซ้อน
(3) ตัวแปรต้น
(4) ตัวแปรตาม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) ตัวแปรที่กําหนดความสัมพันธ์โดยตรง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1 ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) หรือตัวแปรต้น เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุหรือเป็นความสัมพันธ์ตั้งต้นที่ก่อให้เกิดผล เป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดตัวแปรตาม มักจะใช้สัญลักษณ์แทน เป็นตัวอักษร X เช่น ระดับการศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนน, ภูมิหลังของบุคคล,การอยู่อาศัยในท้องถิ่น เป็นต้น
2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลหรือเปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของตัวแปรอื่น มักจะใช้สัญลักษณ์แทนเป็นตัวอักษร Y เช่น ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ภูมิประเทศ, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ความพึงพอใจในการทํางาน, ประสิทธิผลในการทํางาน เป็นต้น
7 ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์เชิงพรรณนา
(1) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างภูมิหลังของบุคคลกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
(2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ของประชาชนกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
(4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน (5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ
8 กระบวนการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เป็นนามธรรมในการศึกษากับสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตได้ ได้แก่
(1) กรอบแนวความคิด
(2) มาตรวัด
(3) ตัวบ่งชี้เชิงประจักษ์
(4) นิยามความหมาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 101, (คําบรรยาย) มาตรวัด (Measurement) คือ กระบวนการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เป็นนามธรรมในการศึกษากับสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตได้
9 วิธีการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เป็นระบบ มีเหตุมีผลและเป็นวัตถุวิสัย เพื่อที่จะบรรยาย อธิบายหรือทํานายปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตเห็นได้ เรียกวิธีการนั้นว่าอะไร
(1) ทฤษฎี
(2) สมมุติฐาน
(3) ศาสตร์
(4) องค์ความรู้
(5) กรอบแนวคิด
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ศาสตร์ หมายถึง วิธีการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เป็นระบบ มีเหตุมีผลและเป็นวัตถุวิสัย (Objectivity! เพื่อที่จะบรรยาย อธิบาย และทํานายปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตเห็นได้
10 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามารอบของทฤษฎีที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้นและรอการพิสูจน์ เรียกว่าอะไร
(1) ตัวแปรตาม
(2) สมมุติฐาน
(3) ศาสตร์
(4) องค์ความรู้
(5) กรอบแนวคิด
ตอบ 2 หน้า 108 สมมุติฐาน (Hypothesis) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามกรอบของทฤษฎีที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้น และรอการพิสูจน์ต่อไป
11 ภูมิหลังของประชากร ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา เรียกว่าตัวแปรประเภทใด
(1) ตัวแปรเชิงพัฒนา
(2) ตัวแปรมาตรฐาน
(3) ตัวแปรหลัก
(4) ตัวแปรองค์ประกอบ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 109 ตัวแปรม ตรฐาน คือ ตัวแปรที่จําเป็นต้องมีในการวิจัยทุก ๆ เรื่อง ได้แก่ คุณสมบัติของสิ่งที่ศึกษา เช่น ภูมิหลังของประชากร ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา เป็นต้น
12 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรซึ่งเมื่อตัวแปรตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปทําให้ตัวแปรอีกตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วยในลักษณะคงที่ เรียกความสัมพันธ์นั้นว่าอย่างไร
(1) ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล
(2) ความสัมพันธ์เชิงซ้อน
(3) ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง
(4) ความสัมพันธ์เชิงตอบโต้
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 114 ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรซึ่งเมื่อตัวแปรหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปจะทําให้ตัวแปรอีกตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วยในลักษณะคงที่ เช่น ปริมาณที่ขายสินค้ากับรายได้ เป็นต้น
13 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ที่มีทิศทางของความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยไม่ทราบลําดับก่อนหลังของตัวแปร เรียกความสัมพันธ์นั้นว่าอย่างไร
(1) ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล
(2) ความสัมพันธ์เชิงซ้อน
(3) ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง
(4) ความสัมพันธ์เชิงตอบโต้
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 114 ความสัมพันธ์เชิงตอบโต้ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ที่มีทิศทางของความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยไม่ทราบลําดับก่อนหลังของตัวแปร
14 ตัวแปรที่พิสูจน์ได้ว่ามีความสัมพันธ์กันโดยทราบลําดับก่อนหลังและพิสูจน์ได้ว่าไม่มีสิ่งใดมาแทรกซ้อน เรียกความสัมพันธ์นั้นว่าอย่างไร
(1) ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล
(2) ความสัมพันธ์เชิงซ้อน
(3) ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง
(4) ความสัมพันธ์เชิงตอบโต้
ตอบ 1 หน้า 115 116, (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว โดยที่ตัวแปรสาเหตุ (X) จะต้องเกิดก่อนตัวแปรที่เป็นผล (Y) นั่นคือ ความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรที่พิสูจน์ได้ว่ามีความสัมพันธ์กันโดยทราบลําดับก่อนหลังและพิสูจน์ได้ว่าไม่มีสิ่งใดมาแทรกซ้อน
15 ข้อใดเป็นสิ่งจําเป็นในการสร้างมาตรวัด
(1) ข้อคําถาม
(2) นิยามปฏิบัติการ
(3) ตัวแปร
(4) ดัชนีชี้วัด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 128, (คําบรรยาย) สิ่งจําเป็นในการสร้างมาตรวัด คือ การกําหนดนิยามปฏิบัติการของตัวแปรและตัวชี้วัดหรือดัชนีชี้วัดที่สัมพันธ์กัน ต่อจากนั้นจึงกําหนดข้อคําถามที่ตรงกับตัวชี้วัดก็จะได้มาตรวัดตัวแปรตามที่ต้องการ
16 เพศ เป็นการวัดระดับใด
(1) Nominal Scale
(2) Ordinal Scale
(3) Interval Scale
(4) Ratio Scale
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 129, คําบรรยาย) Nominal Scale เป็นวิธีการวัดที่ง่ายที่สุด เพียงแต่การกําหนดเกณฑ์แบ่งแยกประชากรที่ศึษาออกเป็นกลุ่ม แล้วตั้งชื่อให้แต่ละกลุ่มที่มีคุณสมบัติเหมือนกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ตัวเลขหรือสัญลักษณ์เป็นเพียงแต่ชื่อไม่สามารถเอามาคํานวณทางเลขคณิตได้ เช่น เพศ สถานภาพการสมรส ภูมิลําเนา อาชีพ เป็นต้น
17 อายุ เป็นการวัดระดับใด
(1) Nominal Scale
(2) Ordinal Scale
(3) Interval Scale
(4) Ratio Scale
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 129, (คําบรรยาย) Ratio Scale เป็นการวัดที่มีคุณสมบัติของมาตรวัดแบบช่วงทุกประการแต่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือ มีจุดเริ่มต้นที่ศูนย์ที่แท้จริง เช่น อายุ น้ําหนัก ความสูง เงินเดือน รายได้ เป็นต้น
18 การศึกษา เป็นการวัดระดับใด
(1) Nominal Scale
(2) Ordinal Scale
(3) Interval Scale
(4) Ratio Scale
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 129, (คําบรรยาย) Ordinal Scale เหมือนกับการแบ่งกลุ่ม แต่สามารถจัดอันดับอัตราความแตกต่างระหว่างกันและกันได้ ซึ่งอาจใช้ข้อความว่า มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่แสดงไม่มีผลต่อการคํานวณ แต่จะบอกความสําคัญเท่านั้น ไม่สามารถบอกปริมาณและความแตกต่างได้ เช่น ระดับการศึกษา เกรด ความคิดเห็น ความพึงพอใจ เป็นต้น
19 จุดประสงค์ในการใช้สถิติ t-Test ใช้เพื่อทดสอบอะไร
(1) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม
(2) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม
(3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
(4) ทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างตัวแปร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 178, (คําบรรยาย) สถิติ t-Test ใช้เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม โดยมีเงื่อนไขในการใช้คือ ต้องมีการแจกแจงแบบโค้งปกติ ข้อมูลของตัวแปรตามต้องมีระดับการวัดเป็น Interval Scale ขึ้นไป และใช้เพื่อทดสอบสมมติฐานความแตกต่างระหว่างตัวแปร
20 จุดประสงค์ในการใช้สถิติ F-Test ใช้เพื่อทดสอบอะไร
(1) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม
(2) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม
(3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
(4) ทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างตัวแปร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 278, (คําบรรยาย) สถิติ F-Test หรือ One way ANOVA ใช้เพื่อทดสอบความแตกต่าง ระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม โดยมีเงื่อนไขในการใช้เหมียน t-Test แต่ไม่จําเป็นต้องมีการแจกแจงแบบโค้งปกติ
21 จุดประสงค์ในการใช้สถิติ Correlation ใช้เพื่อทดสอบอะไร
(1) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม
(2) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม
(3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
(4) ทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างตัวแปร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 179, (คําบรรยาย) สถิติ Correlation ใช้เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยข้อมูลทั้งตัวเปรอิสระและตัวแปรตามต้องมีระดับการวัดเป็น Interval Scale แต่ไม่สามารถ บอกได้ว่าตัวใดเป็นเหตุหรือตัวใดเป็นผล ทราบแต่เพียงความสัมพันธ์ของตัวแปรและขนาดของ ความสัมพันธ์เท่านั้น
22 Rating Scale เป็นมาตรวัดระดับใด
(1) Nominal Scale
(2) Ordinal Scale
(3) Interval Scale
(4) Ratio Scale
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 130, (คําบรรยาย) Rating Scale เป็นมาตรวัดระดับ Ordinal Scale ที่ใช้ในการกําหนดค่าคะแนนให้กับข้อคําถามที่ใช้วัดตัวแปรต่าง ๆ โดยมีคะแนนแตกต่างกันตามลักษณะของตัวแปร – เช่น 3 5 7 9 หรือ 11 ดังนั้นการใช้ Rating Scale ผู้ให้คะแนนควรมีความรู้ในการให้คะแนนเป็นอย่างดี
23 เทคนิคการทดสอบสหสัมพันธ์เฉลิยระหว่างข้อ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
(1) การทดสอบทฤษฎี
(2) การทดสอบความแม่นตรงของมาตรวัด
(3) การทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด
(4) ไม่มีข้อใดถูก
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 หน้า 135 136, (คําบรรยาย) เทคนิคการทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด มีดังนี้
1 เทคนิคการทดสอบซ้ำ (Test-Retest)
2 เทคนิคการทดสอบ แบบแบ่งครึ่ง (Split-Hal)
3 เทคนิคการทดสอบ คู่ขนาน (Parallel Form)
4 เทคนิคการทดสอบ สหสัมพันธ์เฉลี่ยระหว่างข้อ (Average Inter Correlation)
24 Content Validity เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
(1) การทดสอบทฤษฎี
(2) การทดสอบความแม่นตรงของมาตรวัด
(3) การทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด
(4) ไม่มีข้อใดถูก
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 139, (คําบรรยาย) Zeller & ammunes ได้จําแนกความแม่นตรงของมาตรวัด ออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 ความแม่นตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)
2 ความแม่นตรงที่สัมพันธ์กับมาตรฐาน (Criterion-Related Validity)
3 ความแม่นตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity)
25 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของเครื่องมือวัด
(1) การทดสอบทฤษฎี
(2) การทดสอบความแม่นตรงของมาตรวัด
(3) การทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด
(4) การมีความหมายของการวัด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 135 136, 13 – 140, (คําบรรยาย) คุณภาพของเครื่องมือวัด มีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
1 ความเชื่อถือได้ (Reliability)
2 ความแม่นตรง (Validity)
3 ความเป็นปรนัย (Objectivity)
4 ความแม่นยํา (Precision)
5 ความไวในการแบ่งแยก (Sensibility)
6 การมีความหมายของการวัด (Meaningfulness)
7 การนําเครื่องมือนั้นไปปฏิบัติได้ง่าย (Practicality)
8 การมีประสิทธิภาพสูง (Efficiency)
26 ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) ตัวแปรที่มีความซับซ้อนอาจใช้ดัชนีหลาย ๆ อันประกอบกัน
(2) การสร้างมาตรวัดต้องทําความเข้าใจประเภทของตัวแปร และระดับการวัดของตัวแปร
(3) มาตรวัดระดับสูงสามารถลดระดับลงมาเป็นระดับต่ำได้
(4) มาตรวัดระดับต่ำสามารถยกระดับให้สูงได้
ตอบ 4 หน้า 129, (คําบรรยาย) ข้อสังเกตที่สําคัญของมาตรวัด คือ มาตรวัดระดับสูงนั้นสามารถลดระดับลงมาแบบต่ำได้ แต่มาตรวัดระดับต่ำไม่สามารถยกระดับให้สูงขึ้นได้
27 ท่านสามารถใกล้ชิดกับเกย์ได้เพียงใด
1 นั่งใกล้ ๆ ได้
2 กินข้าวร่วมกันได้
3 อยู่บ้านเดียวกันได้
4 นอนห้องเดียวกันได้
เป็นมาตรวัดประเภทใด
(1) Likert Scale
(2) Guttman Scale
(3) Semantic Differential Scale
(4) Rating Scale
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 132 Guttman Scale เป็นคําตอบในมิติเดียว โดยแต่ละคําถามจะถูกการกลั่นกรองและเรียงลําดับ ข้อที่ได้คะแนนสูงกว่าจะมีการสะสมข้อที่ได้คะแนนน้อยกว่า ตัวอย่างเช่น
คําถาม : ท่านสามารถใกล้ชิดกับเกย์ได้มากน้อยเพียงใด
คําตอบ : 1 นั่งใกล้ ๆ ได้ 2 กินข้าวร่วมกันได้ 3 อยู่บ้านเดียวกันได้ 4 นอนห้องเดียวกันได้
ถ้าตอบข้อ 1 ท่านสามารถทําข้อ 1 ได้เพียงข้อเดียว
ถ้าตอบข้อ 2 ท่านสามารถทําทั้งข้อ 1 และ 2 ได้
ถ้าตอบข้อ 3 ท่านสามารถทําทั้งข้อ 1, 2 และ 3 ได้
ถ้าตอบข้อ 4 ท่านสามารถทําได้ทุกข้อ
28 ความรู้สึกต่อชีวิตปัจจุบันของท่านเป็นอย่างไร
ชีวิตไร้ค่า________ชีวิตมีค่า
สิ้นหวัง_________มีความหวัง
เป็นมาตรวัดประเภทใด
(1) Likert Scale
(2) Guttman Scale
(3) Semantic Differential Scale
(4) Rating Scale
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 132 133 Semantic Differential Scale เป็นมาตรวัดที่พัฒนาขึ้นโดย Osgood และคณะเพื่อศึกษามิติของความแตกต่างโดยมาจากการตัดสินคําศัพท์คู่ที่ตรงกันข้าม โดยแต่ละแนวคิด จะปรากฏอยู่ตรงกันข้ามภายใต้คะแนน 7-11 และให้ผู้ตอบตัดสินแนวคิด โดยเลือกช่วงที่เหมาะสม กับความรู้สึกมากที่สุด ตัวอย่างเช่น
คําถาม : ความรู้สึกต่อชีวิตปัจจุบันของท่านเป็นอย่างไร
คําตอบ : ชีวิตไร้ค่า <——-> ชีวิตมีค่า
สิ้นหวัง <———-> มีความหวัง
เบื่อหน่าย <———-> น่าสนใจ
ยาก <————> ง่าย
29 การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร โดยกําหนดประเด็นที่ต้องการศึกษา และทําการค้นคว้าหาข้อมูลจากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นการวิจัยประเภทใด
(1) Survey Research
(2) Documentary Research
(3) Field Research
(4) Experimental Research
(5) Descriptive Research
ตอบ 2 หน้า 27, (คําบรรยาย การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เป็นการวิจัยแบบหนึ่งที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ หรือสื่อข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต โดยกําหนดประเด็นที่ต้องการศึกษา และทําการค้นคว้าหาข้อมูล ซึ่งต้องใช้ทักษะด้านการอ่านมาก ที่สุดในการศึกษา จากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือพิมพ์ เอกสารราชการ หนังสือ ตํารา คลิป YouTube รวมไปถึงหลักฐาน/เอกสารทางประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุ และสิ่งปรักหักพัง ศิลาจารึก เป็นต้น
30 ผู้วิจัยสามารถควบคุมตัวแปรต่าง ๆ โดยวิธีกําหนดกลุ่มควบคุมและกลุ่มเปรียบเทียบเพื่อให้การวิจัยมีความเชื่อถือได้สูง เป็นการวิจัยประเภทใด
(1) Survey Research
(2) Documentary Research
(3) Field Research
(4) Experimental Research
(5) Descriptive Research
ตอบ 4 หน้า 27, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมและตัวแปรต่าง ๆ โดยวิธีกําหนดกลุ่มควบคุมและกลุ่มเปรียบเทียบ เพื่อให้การวิจัยมีความเชื่อถือได้สูง ซึ่งวิธีการวิจัยในลักษณะนี้แทบจะไม่ค่อยได้นํามาใช้ในทางรัฐศาสตร์ แต่มักจะถูกนํามาใช้มากในทางศึกษาศาสตร์
31 การวิจัยโดยจัดทําแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของหน่วยในการศึกษา เป็นการวิจัยประเภทใด
(1) Survey Research
(2) Documentary Research
(3) Field Research
(4) Experimental Research
(5) Descriptive Research
ตอบ 1 หน้า 28, (คําบรรยาย การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) เป็นการวิจัยที่เน้นการสํารวจข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ลงลึกมากนัก โดยจัดทําแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นตัวแทนของหน่ายในการศึกษา การวิจัยนี้จะไม่เน้นการอธิบายหรือวิเคราะห์ถึงสาเหตุของ การเกิดขึ้นของข้อมูล เต่จะมุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย ตัวอย่างเช่น การสํารวจ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งของไทยในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 ว่ามีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนกี่คน ไม่มาใช้สิทธิกี่คน เป็นต้น
32 การวิจัยที่ผู้วิจัยเลือกหมู่บ้านใดหมู่บ้านหนึ่ง หรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อทําการศึกษา เพื่อให้เข้าใจในพื้นที่นั้น ๆเป็นการวิจัยประเภทใด
(1) Survey Research
(2) Documentary Research
(3) Field Research
(4) Experimental Research
(5) Descriptive Research
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การวิจัยสนาม (Field Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยเลือกหมู่บ้านในหมู่บ้านหนึ่งหรือพื้นที่ในพื้นที่หนึ่งเพื่อทําการศึกษา เพื่อให้เข้าใจในพื้นที่นั้น ๆ โดยการวิจัยประเภทนี้มีข้อจํากัดอยู่ว่า ไม่สามารถนํามาขยายผลในพื้นที่อื่นได้ เพราะผลการวิจัยเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ แต่จะมีข้อดีคือ เข้าใจตัวอย่างที่ศึกษาได้อย่างละเอียด ครอบคลุมในทุกประเด็นที่ต้องการศึกษา
33 การวิจัยเพื่อมุ่งหาข้อเท็จจริงใหม่ ๆ เท่านั้น ไม่ต้องการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการวิจัยประเภทใด
(1) Survey Research
(2) Documentary Research
(3) Field Research
(4) Experimental Research
(5) Descriptive Research
ตอบ 5 หน้า 26 – 27, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เป็นการวิจัยเพื่อมุ่งหาข้อเท็จจริงใหม่ ๆ เท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายว่าปรากฏการณ์ที่ศึกษานั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร หรือมีปัจจัยอะไรที่ทําให้เกิด
34 ข้อใดที่การสุ่มตัวอย่างไม่สามารถเป็นตัวแทนประชากรทั้งหมดได้
(1) การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย
(2) การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ
(3) การเลือกตัวอย่างแบบกําหนดโควตา
(4) การสุ่มตัวอย่างแบบแยกประเภทสุ่ม
(5) การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นกลุ่ม
ตอบ 3 หน้า 146, (คําบรรยาย) การกําหนดกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น เป็นการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เจตนาใช้ความสะดวก หรือความสนใจของผู้วิจัยเป็นหลัก ซึ่งไม่สามารถ เป็นตัวแทนประชากรทั้งหมดได้ เช่น การเลือกตัวอย่างแบบกําหนดโควตา การเลือกตัวอย่างโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญระบุ การเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ เป็นต้น
35 ข้อใดเป็นสถิติอนุมาน
(1) การแจกแจงความถี่
(2) การวัดการกระจาย
(3) การประมาณค่า
(4) ไม่มีข้อใดถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 158 – 160 สถิติอนุมาน (Inferential Statistics) แบ่งออกเป็น 3 เทคนิคย่อย ได้แก่
1 การประมาณค่า
2 การทดสอบสมมุติฐาน
3 การกระจายของกลุ่มประชากร
36 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยตามหลัก “SMART”
(1) สามารถวัดและตรวจสอบได้
(2) สามารถทําได้จริง
(3) สอดคล้องกับปัญหา
(4) ใช้ระยะเวลาอย่างเต็มที่ไม่จํากัด
(5) มีความเหมาะสมกับผู้วิจัย
ตอบ 4 หน้า 195 วัตถุประสงค์ที่มีลักษณะ “SMART” ประกอบด้วย ความเหมาะสม (Sensible : S),การวัดและตรวจสอบได้ (Measurably : M), การบรรลุและทําได้จริง (Attainable : A), ความสมเหตุสมผลสอดคล้องกับปัญหา (Reasonable : R) และการคํานึงถึงระยะเวลาที่ เหมาะสม (Time : T)
37 ข้อใดต่อไปนี้เป็นการเขียนที่มาและความสําคัญของปัญหาที่เหมาะสม
(1) การเขียนอารัมภบทให้น่าอ่านและได้อรรถรส
(2) การเลือกเขียนบางประเด็นที่น่าสนใจมากกว่าความครอบคลุมทั้งหมด
(3) การอ้างอิงแหล่งที่มาเท่าที่จําเป็นเท่านั้น
(4) การนําตัวเลขและตารางมาประกอบให้มากที่สุด
(5) การขมวดประเด็นที่จะศึกษาในย่อหน้าสุดท้าย
ตอบ 5 หน้า 194, (คําบรรยาย) การเขียนที่มาและความสําคัญของปัญหาที่เหมาะสม ผู้วิจัยต้องคํานึงถึงหลักสําคัญ ได้แก่
1 การเขียนให้ตรงประเด็น ไม่เยิ่นเย้อหรืออ้อมค้อมวกวน
2 การเขียนให้ครอบคลุมประเด็นสําคัญทั้งหมด
3 การเขียนให้มีความยาวเหมาะสมไม่สั้นจนเกินไป
4 การหลีกเลี่ยงการนําตัวเลขและตารางยาว ๆ หรือข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องมาใส่
5 การอ้างอิงแหล่งที่มาของเอกสารประกอบอย่างสมบูรณ์เสมอ
6 การขมวดหรือสรุปประเด็นที่จะศึกษาในย่อหน้าสุดท้าย เป็นต้น
38 การเขียนบทนําให้มีความชัดเจนเละดึงดูดผู้อ่านสามารถเริ่มจากสิ่งใดได้
(1) ปัญหาสังคมในวงกว้าง
(2) ข่าวสารบ้านเมืองทั่วไป
(3) ความลับของนักการเมือง
(4) เรื่องเล่าเกี่ยวกับดารา
(5) ประเด็นที่นักวิจัยต้องการศึกษาเป็นการส่วนตัว
ตอบ 1 หน้า 194 การเขียนบทนําให้มีความชัดเจนและดึงดูดผู้อ่านให้ได้ โดยทั่วไปแล้วควรเริ่มต้นจากสภาพการณ์หรือเหตุการณ์บางอยางที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมอย่างกว้าง ๆ เพื่อชี้ให้เห็นว่า สังคมกําลังมีความเดือดร้อนหรือความยุ่งยากอย่างไรบ้าง ถ้าหากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่รีบหา ทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้นย่อมนําไปสู่ความสูญเสียที่มากขึ้นได้
39 คําว่า “การออกแบบงานวิจัย” ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) Research Result
(2) Research Project
(3) Research Design
(4) Research Outcome
(5) Research Method
ตอบ 3 หน้า 193 บทนํา เป็นเนื้อหาที่มีความสําคัญอย่างมากในการเปิดประเด็นให้ผู้อ่านเห็นถึง – ความสําคัญของการศึกษาปัญหาวิจัย อันจะนําไปสู่ “การออกแบบงานวิจัย (Research Design) ต่อไป
40 ข้อตกลงที่เรียกว่า “สัญญา” ในการทําวิจัย สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด (1) ความสําคัญของการศึกษา
(2) วัตถุประสงค์
(3) สมมุติฐาน
(4) ประโยชน์ในการทําวิจัย
(5) ข้อตกลงในการทําวิจัย
ตอบ 2 หน้า 194 วัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นการอธิบายที่ต้องการบอกเป้าหมายหรือความต้องการของงานวิจัยว่า ผู้วิจัยต้องการทราบอะไรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการวิจัยที่มีความ เหมาะสมต่อไป หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเปรียบได้กับ “สัญญา”ที่ผู้วิจัยได้กระทําไว้ว่าผู้อ่านจะได้รับทราบข้อมูลเหล่านั้นในรายงานการวิจัยฉบับนี้ก็ได้
41 ประโยคที่ว่า “เพื่อแก้ปัญหาในการดําเนินงานของหน่วยงานที่ทําวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการ เพื่อบริการให้ความรู้แก่ประชาชน” เป็นตัวอย่างของข้อใดต่อไปนี้
(1) ความสําคัญของการศึกษา
(2) วัตถุประสงค์
(3) สมมุติฐาน
(4) ประโยชน์ในการทําวิจัย
(5) ข้อตกลงในการทําวิจัย
ตอบ 4 หน้า 195 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในการทําวิจัย เป็นการแสดงให้ผู้อ่านได้เห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาวิจัย ทั้งนี้ผู้วิจัยจําเป็นต้องแสดงประโยชน์ให้อยู่ใน ขอบเขตของวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้วิจัยสามารถแสดงได้หลายทาง ตัวอย่างเช่น เพื่อ แก้ปัญหาในการดําเนินงานของหน่วยงานที่ทําวิจัย, เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการเพื่อบริการให้ความรู้แก่ประชาชน, เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจ เป็นต้น
42 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ขอบเขตของการทําวิจัย
(1) ขอบเขตด้านประชากร
(2) ขอบเขตด้านเนื้อหา
(3) ขอบเขตด้านเวลา
(4) ขอบเขตด้านสถานที่
(5) ขอบเขตด้านวิธีการวิจัย
ตอบ 5 หน้า 195 ขอบเขตของการวิจัย เป็นการทําให้ผู้อ่านเห็นภาพทั้งหมดของงานวิจัยว่า การศึกษาของผู้วิจัยนั้นครอบคลุมในประเด็นใด พื้นที่ใด หรือระยะเวลาใดบ้าง ซึ่งการกําหนดขอบเขตที่ ชัดเจนนั้นจะทําให้ผู้วิจัยตีกรอบที่ชัดเจนว่างานวิจัยมีความเกี่ยวข้องกับอาณาบริเวณของคลัง ข้อมูลจํานวนมหาศาลเพียงใด ดังนั้นขอบเขตของงานวิจัยจึงสามารถปรากฏได้ในหลายลักษณะ เช่น ขอบเขตด้านสถานที่ ประชากร เนื้อหาสาระ เวลา เป็นต้น
43 การทําให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาความคลาดเคลื่อน (Error) ในช่วงระหว่างการวิจัย โดยที่ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวได้ จนกระทั่งอาจส่งผลต่อผลการศึกษาหรือข้อค้นพบของงานวิจัยนั้น หมายถึงข้อใดต่อไปนี้
(1) ข้อตกลงในการท้าวิจัย
(2) ข้อจํากัดของการวิจัย
(3) นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย
(4) ขอบเขตของการวิจัย
(5) ประโยชน์ในการทําวิจัย
ตอบ 2 หน้า 196 ข้อจํากัดของการวิจัย เป็นการทําให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาความคลาดเคลื่อน (Error)ในช่วงระหว่างการวิจัย โดยที่ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวได้ จนกระทั่งอาจส่งผลต่อผลการศึกษาหรือข้อค้นพบของงานวิจัยนั้น
44 คําว่า “ขนมชั้น” มักปรากฏให้เห็นในส่วนใดของการวิจัย
(1) ความสําคัญของการศึกษา
(2) นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย
(3) การทบทวนวรรณกรรม
(4) การเก็บข้อมูลการวิจัย
(5) การเขียนข้อเสนอแนะ
ตอบ 3 หน้า 184, (คําบรรยาย) คําว่า “ขนมชั้น” ในงานวิจัย หมายถึง การเรียงเอกสารงานวิจัยตามรายชื่อหรือปีที่มีการเผยแพร่ต่อกันไปเรื่อย ๆ ซึ่งมักปรากฏให้เห็นในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการทบทวนวรรณารรมและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
45 คําว่า “ประชากรเละกลุ่มตัวอย่าง” สัมพันธ์กับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด (1) Research Methodology
(2) Research Result
(3) Research Conclusion
(4) Recommendation
(5) Research Findings
ตอบ 1 หน้า 184, 199 200 (คําบรรยาย) บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์จะเกี่ยวข้องกับระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) ซึ่งเป็นการแสดงให้ผู้อ่านได้เห็นว่า การค้นหาคําตอบตามวัตถุประสงค์ข้างต้นนั้นได้ใช้วิธีการในการแสวงหาคําตอบอย่างไร มีรูปแบบ การวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย วิธีการสร้างเครื่องมือ การตรวจสอบ เครื่องมือ การทดสอบเครื่องมือ วิธีการและขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร
จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 46 – 55
(1) บทที่ 1 บทนํา
(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมและการสํารวจองค์ความรู้
(3) บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย
(4) บทที่ 4 ผลการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล
(5) บทที่ 5 การสรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
46 วิธีการและขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ
47 เงื่อนไขของงานวิจัยที่กําลังศึกษาว่าเป็นไปในลักษณะใด
ตอบ 1 หน้า 196 บทที่ 1 บทนํา ในส่วนของข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) เป็นการทําให้ผู้อ่านทราบถึงเงื่อนไขของงานวิจัยที่กําลังศึกษาว่าเป็นไปในลักษณะใด โดยอาจจะเป็นเงื่อนไขที่ผู้วิจัยไม่ได้ทําการตรวจสอบ หรือไม่ได้ศึกษาอย่างเพียงพอ
48 การนําเสนอข้อมูลของงานวิจัย สามารถกระทําได้ทั้งแบบ “นิรนัย” และแบบ “อุปนัย”
ตอบ 4 หน้า 185, 201. (คําบรรยาย) บทที่ 4 ผลการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีเทคนิคในการเขียนผลการวิจัยที่สําคัญ 2 ส่วน ได้แก่
1 การนําเสนอ ข้อมูล (Presentation of Data) สามารถกระทําได้ทั้งแบบ “นิรนัย” และแบบ “อุปนัย”
2 การตีความข้อมูล (Interpretation of Data) เป็นการที่ผู้วิจัยชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงและข้อค้นพบจากการวิจัยนั้น
49 การเขียนเพื่อประเมินและขยายความผลการวิจัยที่ได้ เพื่อยืนยันให้ผู้อ่านได้เห็นว่าผลการวิจัยที่ได้นั้นน่าเชื่อถือ ถูกต้อง และเป็นจริง
ตอบ 5 หน้า 185, 202, (คําบรรยาย) บทที่ 5 การสรุปผลการอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์นั้นพบว่า การอภิปรายผลเป็นการเขียนเพื่อประเมินและขยายความผลการวิจัยที่ได้ เพื่อยืนยันให้ผู้อ่านได้เห็นว่าผลการวิจัยที่ได้นั้นน่าเชื่อถือ ถูกต้อง และเป็นจริง
50 ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ
51 เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ตอบ 2 หน้า 184, 197 – 198, (คําบรรยาย) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมและการสํารวจองค์ความรู้ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วยเนื้อหาสําคัญ 6 ส่วน ได้แก่
1 แนวคิดของผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อที่ทําวิจัย
2 ทฤษฎีและกรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้อง
3 เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4 กรอบแนวคิดในการทําวิจัย
5 สมมติฐานของการวิจัย
6 นิยามปฏิบัติการ
52 การแสดงให้ผู้อ่านได้เห็นว่า การค้นหาคําตอบตามวัตถุประสงค์ข้างต้น งานวิจัยฉบับนี้ได้ใช้วิธีการในการแสวงหาคําตอบอย่างไร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ
53 วิธีการสร้างเครื่องมือ การตรวจสอบเครื่องมือ และการทดสอบเครื่องมือ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ
54 เป็นการให้ความหมายเฉพาะของคําศัพท์บางคําที่ผู้วิจัยนํามาใช้ในงานวิจัยโดยเป็นคําที่คนจํานวนน้อยเท่านั้นที่ทราบ
ตอบ 1 หน้า 196 บทที่ 1 บทนํา ในส่วนของนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย เป็นการให้ความหมายเฉพาะของคําศัพท์บางคําที่ผู้วิจัยนํามาใช้ในงานวิจัยโดยเป็นคําที่คนจํานวนน้อยเท่านั้นที่ทราบ หรือเป็น คําที่มีความหมายอันหลากหลายจนกระทั่งผู้อ่านอาจเกิดความสับสนและเข้าใจในวัตถุประสงค์ของผู้วิจัยคลาดเคลื่อนไป
55 สมมุติฐานของการวิจัย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ
56 ข้อใดต่อไปนี้ถือเป็นการเขียนข้อเสนอแนะของการวิจัยที่เหมาะสมได้
(1) ข้อเสนอแนะอาจสามารถนําไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่ก็ได้
(2) ข้อเสนอแนะเป็นเรื่องที่คนทั่วไปรับรู้กันอยู่แล้ว
(3) ข้อเสนอแนะไม่จําเป็นต้องตระหนักถึงข้อจํากัดและความจําเป็นต่าง ๆ (4) ข้อเสนอแนะต้องมาจากสามัญสํานึกของผู้วิจัยเป็นหลัก
(5) ข้อเสนอแนะต้องมีรายละเอียดมากพอสมควร
ตอบ 5 หน้า 203 204 ข้อควรระวังในการเขียนข้อเสนอแนะของการวิจัย คือ
1 ข้อเสนอแนะต้องเป็นเนื้อหาสาระจากการวิจัยมากกว่าสามัญสํานึกของผู้วิจัยเอง
2 ข้อเสนอแนะต้องเป็นเรื่องใหม่ที่มิใช่เรื่องที่รับรู้กันอยู่แล้ว
3 ข้อเสนอแนะต้องสามารถปฏิบัติหรือทําได้จริง ๆ
4 ข้อเสนอแนะต้องเป็นผลที่ได้ตระหนักถึงข้อจํากัดและความจําเป็นต่าง ๆ แล้ว
5 ข้อเสนอแนะต้องรายละเอียดมากพอสมควรที่นําไปสู่การปฏิบัติได้จริง
57 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงหน้าที่ของบทคัดย่อได้อย่างเหมาะสม
(1) ช่วยอธิบายถึงที่มาและความสําคัญของการศึกษา
(2) ทําให้ผู้อ่านวิจัยเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดได้ในเวลาอันรวดเร็ว
(3) ช่วยประหยัดเวลาของผู้บริหาร
(4) ช่วยอธิบายถึงนิยามเชิงปฏิบของการวิจัย
(5) ช่วยอธิบายถึงเครื่องมือของการวิจัยได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน
ตอบ 2 หน้า 205 บทคัดย่อ (Abstract) มีความสําคัญในการทําให้ผู้อ่านวิจัยสามารถทําความเข้าใจงานวิจัยหรือบทความวิชาการทั้งหมดได้ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นบทคัดย่อจึงเป็นข้อความโดย สรุปของรายงานการจัยที่สั้นกะทัดรัด แต่ได้ข้อความครอบคลุมเนื้อหาของรายงานการวิจัยทั้งหมด
58 ข้อใดต่อไปนี้ตรงกับคําว่า “ผู้ให้ข้อมูลคนสําคัญ”
(1) Key Informants
(2) Key Factors
(3) Population
(4) Sampling
(5) Literature Review
ตอบ 1 หน้า 207 องค์ประกอบของบทสรุปสําหรับผู้บริหารประการหนึ่งคือ บทสรุปควรประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งเนื้อหาในส่วนนี้ควรครอบคลุมถึงรูปแบบการวิจัย ประชากร ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยได้ทําการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลคนสําคัญ (Key Informants)ขั้นตอนและวิธีการเก็บรวบรวม แนวทางการสัมภาษณ์ และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
59 การเขียน “กิตติกรรมประกาศ” มีประโยชน์อย่างไร
(1) การแสดงความภาคภูมิใจของ นักวิจัยต่อความสําเร็จของงาน
(2) การระบุถึงอุปสรรคที่นักวิจัยพบและสามารถผ่านมาได้
(3) การขอบคุณหรือให้เกียรติผู้ที่มีส่วนส่งเสริมให้การวิจัยนี้สําเร็จ
(4) การนําเสนอรายงานฉบับสมบูรณ์ของการวิจัย
(5) การนําเสนอรายงานความก้าวหน้าของการวิจัย
ตอบ 3 หน้า 183, 208 209 กิตติกรรมประกาศ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สําคัญซึ่งอยู่ในส่วนประกอบตอนต้นของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ งานวิจัยบางฉบับอาจเรียกส่วนนี้ว่าเป็น “ประกาศคุณูปการ” โดยใช้ภาษาอังกฤษคําว่า “Acknowledgement” ซึ่งผู้วิจัยส่วนใหญ่มักใช้พื้นที่ในส่วนนี้เพื่อเป็นการให้เกียรติและแสดงความขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือ หรือผลักดัน ” ให้งานวิจัยสําเร็จลุล่วงไปได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ให้คําแนะนํา หน่วยงานต้นสังกัดหรือผู้ให้ทุนวิจัย
60 การเขียนรายงานการวิจัยประเภทใดที่สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะที่การวิจัยยังไม่เสร็จสิ้น
(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
(2) รายงานการวิจัยแบบสั้น
(3) บทความการวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร
(4) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 4 หน้า 190 รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย เป็นรายงานการวิจัยที่เขียนขึ้นในช่วงที่การวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ผู้วิจัยมีเป้าหมายเพื่อรายงานผลการวิจัยแก่ผู้ให้ทุนหรือหน่วยงานต้นสังกัด เป็นระยะ ๆ ซึ่งรายงานความก้าวหน้าดังกล่าวจะมีความสําคัญอย่างมากต่อการพิจารณาจัดสรร งบประมาณต่อเนื่องให้แก่ผู้วิจัย หรือการตัดงบประมาณและระงับการให้ทุนได้หากผลการวิจัยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขหรือสัมฤทธิผลที่ได้ทําสัญญากันไว้
61 ตัวเลือกใดไม่ใช่วิธีการแบบวิทยาศาสตร์
(1) การตั้งคําถามการวิจัย
(2) การคาดเดาคําตอบล่วงหน้า
(3) การรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต
(4) การเก็บข้อมูลจากเอกสารขั้นต้น
(5) ทุกข้อคือวิธีการแบบวิทยาศาสตร์
ตอบ 5 หน้า 6 – 10, 30 – 21, (คําบรรยาย) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5ขั้นตอน ดังนี้
1 การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการวิจัย โดยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและเกิดความสงสัยจนนําไปสู่ การตั้งคําถามการวิจัย
2 การตั้งสมมุติฐาน (Assumption/Hypothesis) เป็นขั้นตอนหลังจาก ตั้งคําถามการวิจัยแล้วนักวิจัยจะต้องคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ถ้าไม่ทําจะไม่สามารถกําหนด แนวทางในการค้นหาคำตอบได้
3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เช่น การเก็บ ข้อมูลด้วยการสังเกต การเก็บข้อมูลจากเอกสารขั้นต้น การสอบถามผู้รู้โดยวิธีการสนทนากลุ่ม(Focus Group)
4 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
5 การสรุปผล (Conclusion)
62 ตัวเลือกข้อใดเกี่ยวข้องกับความหมายของการวิจัยมากที่สุด
(1) การค้นหาคําตอบจากปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
(2) การค้นพบคําตอบที่ไม่มีใครเคยตอบได้มาก่อน
(3) การค้นหาสัจธรรมหรือความจริงแท้ของโลกใบนี้
(4) การพิสูจน์ความเชื่อที่ไม่มีใครเคยพิสูจน์ได้มาก่อน
(5) ไม่มีข้อใดเกี่ยวข้องกับความหมายของการวิจัยเลย
ตอบ 1 หน้า 25, 31 การวิจัย (Research) หมายถึง การพยายามค้นหาคําตอบจากปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผ่านการสังเกตอย่างรอบด้าน หรือการเก็บข้อมูลที่จะใช้นํามาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีแบบแผน ซึ่งข้อมูลที่ว่านี้อาจจะได้มาจากการค้นหาตามเอกสารต่าง ๆ หรือการลงพื้นที่ไป สัมภาษณ์หรือด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่ทําให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ และเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็นํามาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ หรือขบคิดอย่างละเอียด จนได้มาซึ่งคําตอบที่ต้องการ
63 รายงานการวิจัยประเภทใดที่มีความละเอียดมากที่สุด
(1) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย
(2) บทความวิจัยตีพิมพ์ลงวารสาร
(3) รายงานการวิจัยฉบับสั้น
(4) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 4 หน้า 182, (คําบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานที่มีความละเอียดมากที่สุดและผู้วิจัยทุกคนต้องเขียนขึ้น ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่บทนํา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีดําเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ รวมทั้งบรรณานุกรมและภาคผนวก
64 เมื่อได้คําตอบหลังจากเก็บข้อมูลเละการวิเคราะห์ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว นักวิจัยต้องทําอะไรต่อไป
(1) Data Collection
(2) Data Analysis
(3) Observation
(4) Data Synthetic
(5) Conclusion
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ
65 ใครเป็นคนแรกที่แปลคําว่า “Staatswissenschaft” เป็นภาษาไทย
(1) หลวงวิจิตรวาทการ
(2) รัชกาลที่ 6
(3) พระยาอนุมานราชธน
(4) พระยายมราช
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 5 หน้า 13 พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราทิปพงศ์ประพันธ์หรือพระองค์วรรณฯ คือคนไทยคนแรกที่สร้างคําว่า “รัฐศาสตร์” ขึ้นมา โดยแปลมาจากภาษาเยอรมันคําว่า “Staatswissenschaft”
ตั้งแต่ข้อ 66 – 72 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถาม
(1) Data Collection
(2) Assumption
(3) Data Analysis
(4) Observation and Problem Identification
(5) Conclusion
66 การเก็บข้อมูลจากเอกสาร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ
67 เป็นขั้นตอนหลังจากตั้งคําถามการวิจัยแล้วนักวิจัยจะต้องคาดเดาคําตอบล่วงหน้า
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ
68 การสอบถามผู้รู้โดยใช้วิธีการ Focus Group
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ
69 การรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและเกิดความสงสัยจนนําไปสู่การตั้งคําถามการวิจัย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ
70 หลังจากได้คําตอบแล้ว กล่าวสรุปเฉพาะใจความสําคัญ
ตอบ 5 หน้า 10, 76, (คําบรรยาย) การสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นจากการเก็บข้อมูลโดยอาจจะสรุปว่า สมมุติฐานที่ตั้งมาในข้างต้นนั้นถูกหรือผิด หรือ ผลของการทดลองหรือผลจากการเก็บข้อมูลเป็นอย่างไร หลังจากได้คําตอบแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้ ผู้อ่านเห็นภาพรวมทั้งหมด ซึ่งผู้วิจัยไม่ควรจะนําเสนออะไรใหม่ที่นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไปแล้วในส่วนของเนื้อหาอีก ควรกล่าวสรุปเฉพาะใจความสําคัญ ๆ ที่เป็นข้อค้นพบของการวิจัย
71 หลังจากเก็บข้อมูลครบเรียบร้อยจนมั่นใจแล้ว นักวิจัยต้องทําอะไรต่อไป
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ
72 จะไม่สามารถกําหนดแนวทางในการค้นหาคําตอบได้ถ้าไม่คาดการณ์คําตอบล่วงหน้าเสียก่อน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ
73 ความหมายของการวิจัยสมัยใหม่อาจจะเทียบได้กับสิ่งใดในพระธรรมปิฎก
(1) เหตุผล
(2) ความรู้
(3) ปัญญา
(4) ความจริง
(5) ทักษะ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พระธรรมปิฎก ได้กล่าวถึง “การวิจัย” ไว้ว่า เป็นคําที่ใช้ในความหมายสมัยใหม่ในวงวิชาการ เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งของสังคมสมัยใหม่ ซึ่งอาจเทียบได้กับภาษาบาลีว่า “ปัญญา” ทั้งนี้เพราะการวิจัยนั้นเป็นลักษณะหนึ่งของการใช้ปัญญา ทําให้เกิดปัญญาหรือทําให้ปัญญา พัฒนาขึ้น
74 ถ้าอยากเข้าใจการเมืองต้องทําความเข้าใจกลุ่มทางการเมือง แนวคิดดังกล่าวนี้ตรงกับ Approach ใดที่สุด
(1) Political Philosophy Approach
(2) Group Approach
(3) System Approach
(4) Developmental Approach
(5) Power Approach
ตอบ 2 หน้า 61, (คําบรรยาย แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์ (Group Approach) เกิดขึ้นมาจากนักรัฐศาสตร์ที่ชื่อ Arthur F. Bentley โดยเขาเสนอว่า พฤติกรรมทางการเมืองของแต่ละคน นั้นไม่ได้มีบทบาททางการเมืองแต่อย่างใด คนแต่ละคนจะมีบทบาทได้นั้น คนต้องรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อเรียกร้องหรือต่อต้านต่อระบบการเมือง พฤติกรรมของแต่ละคนนั้นเมื่ออยู่เพียงคนเดียวก็จะมี พฤติกรรมอย่างหนึ่ง แต่เมื่อไปอยู่รวมเป็นกลุ่ม มนุษย์แต่ละคนก็จะมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้นถ้าอยากเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองต้องทําความเข้าใจกลุ่มทางการเมือง
75 Approach ใดได้รับอิทธิพลจากสาขาความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์มากที่สุด
(1) Political Philosophy Approach
(2) Group Approach
(3) System Approach
(4) Developmental Approach
(5) Power Approach
ตอบ 3 หน้า 59, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ (System Approach/Functional Approach) เชื่อว่าในทุกสังคมนั้นมีลักษณะเป็นระบบที่ทําการรักษาตนเองให้อยู่รอดเสมอ ๆ วิธีคิดในลักษณะนี้ได้รับอิทธิพลมาจากวิธีคิดในทางชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์มากที่สุดนักวิชาการแนวนี้ เช่น David Easton, Gabriel Almond, Bingham Powell เป็นต้น
76 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับ The Post behavioral Period
(1) ยุคย้อนกลับแห่งการศึกษาการเมืองแบบยุโรป
(2) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
(3) ในยุคนี้มีการศึกษาแบบปรัชญาการเมืองด้วย
(4) เน้นการใช้เครื่องมือทางสถิติเป็นหลัก
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 4 หน้า 18 – 19, 52 ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ (The Post Behavioral Period) เป็นยุคของการศึกษารัฐศาสตร์ในปัจจุบัน คือยุคตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ในยุคนี้ถือ เป็นยุคแห่งการกลับมาของการศึกษาแบบเดิมที่ถูกละทิ้งและไม่ให้ความสนใจจากการพยายาม ครอบงําของพวกพฤติกรรมศาสตร์ การศึกษาแบบปรัชญาการเมืองและการศึกษาแบบสถาบัน จึงได้เริ่มกลับมาได้รับความสนใจและทําการศึกษากันอีกครั้งหนึ่ง นักวิชาการบางคนจะเรียกยุคดังกล่าวว่า ยุคย้อนกลับแห่งการศึกษาการเมืองแบบยุโรป (Period of Re-Europeanization)
77 เป็นวิธีการศึกษาการเมืองที่เก่าแก่ที่สุด
(1) ปรัชญาการเมือง
(2) ประวัติศาสตร์การเมือง
(3) พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์
(4) ศึกษาถึงสิ่งที่เป็นธรรมชาติของสิ่งที่เป็นการเมือง
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูกทั้งสองข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การศึกษาแนวปรัชญาการเมือง (Political Philosophy Approach) นับว่าเป็นแนวที่เก่าแก่ที่สุดของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งการศึกษาแนวนี้มีลักษณะเป็นการพรรณนา หรืออธิบาย พร้อมทั้งมีการให้คําแนะนําหรือเสนอมาตรการเอาไว้ด้วย และยังเป็นการศึกษาแนวปทัสถาน (Normative) คือ มีลักษณะของการใช้ค่านิยมส่วนตัวของผู้ศึกษามากที่สุด
78 “คําอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับอํานาจ” สัมพันธ์กับตัวเลือกใด
(1) Methodology
(2) ระเบียบวิธีวิจัย
(3) Political Theory
(4) Normative
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูกทั้งสองข้อ
ตอบ 3 หน้า 55 Political Theory หมายถึง ชุดของภาษาหรือชุดในการอธิบายเพื่อทําความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในทางการเมืองหรือเรื่องราวของความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เกี่ยวข้องกับอํานาจ
79 “การวิจัยที่เน้นการสํารวจข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ลงลึกมากนัก”
(1) Pure Research
(2) Applied Research
(3) Survey Research
(4) Research Proposal
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ
80 วีรยาสนใจเรื่องการทํารัฐประหารในประเทศไทย แต่ก่อนที่จะศึกษานั้นวีรยาได้ไปอ่านงานเขียนของนักวิชาการที่ได้ศึกษาเรื่องดังกล่าวก่อนที่จะศึกษา สิ่งที่วีรยาทําเรียกว่าอะไร
(1) Review Observation
(2) Review Reading
(3) Review Literature
(4) Repeat Literature
(5) ข้อ 3 และ 4 ถูกทั้งสองข้อ
ตอบ 3 หน้า 29, 66, (คําบรรยาย) การทบทวนวรรณกรรม (Review Literature) เป็นการศึกษาถึงงานวิจัยอื่น ๆ ที่เคยทํามาในอดีต ว่าเคยมการศึกษาเรื่องที่เราสงสัยไว้แล้วหรือไม่ เพราะบางครั้ง ในอดีตอาจจะมีคนที่สงสัยในเรื่องหนึ่ง ๆ เช่นเดียวกับเรา ตัวอย่างเช่น วีรยาสนใจเรื่องการทํา รัฐประหารในประเทศไทย แต่ก่อนที่จะศึกษานั้นวีรยาได้ไปอ่านงานเขียนของนักวิชาการที่ได้ ศึกษาเรื่องดังกล่าวก่อนที่จะศึกษา เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 81 – 85 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถาม
(1) Documentary Research
(2) Dependent Variable
(3) Independent Variable
(4) Unit of Analysis
(5) Survey Research
81 ประยุทธต้องการศึกษาหมอกควันในเขตกรุงเทพมหานครเปรียบเทียบกับหมอกควันในจังหวัดเชียงใหม่
“หมอกควัน” ในทางการวิจัยเรียกว่าอะไร
ตอบ 4 หน้า 141, (คําบรรยาย) หน่วยในการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) หมายถึง หน่วยของสิ่งที่นักวิจัยนําลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่ง ๆ นั้นมาวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น ประยุทธต้องการศึกษาหมอกควันในเขตกรุงเทพมหานครเปรียบเทียบกับหมอกควันในจังหวัดเชียงใหม่ “หมอกควัน”ในทางการวิจัยก็คือ Unit of Analysis เป็นต้น
82 มุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย ตัวอย่างของการวิจัยเช่นนี้ก็เช่น การสํารวจผู้มีสิทธิเลือกตั้งของไทยในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2562 ว่ามีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนที่คน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ
83 การศึกษารัฐธรรมนูญผ่านตําราและเอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการวิจัยนี้เรียกว่าอะไร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ
84 ตัวแปรตาม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ
85 ตัวแปรตั้งต้น
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 86 – 91 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถาม
(1) Research Question
(2) Observation
(3) Research Objective
(4) Approach
(5) Method
86 ไม่ควรตั้งในลักษณะปลายปิด
ตอบ 1 หน้า 63 – 64, (คําบรรยาย) คําถามการวิจัย (Research Question) หมายถึง คําถามที่ต้องการหาคําตอบจากปรากฏการณ์ที่นํามาศึกษาวิจัย โดยจะต้องเป็นคําถามที่ยังไม่มีคําตอบ หรือเป็น คําถามที่ไม่สามารถหาคําตอบได้โดยง่าย หรือมีคําตอบแต่ยังไม่ชัดเจน ใช้คําถามปลายเปิดเป็น ส่วนใหญ่ ไม่ควรตั้งในลักษณะปลายปิด และจะต้องเป็นคําถามที่น่าสนใจที่จะหาคําตอบด้วย ซึ่งคําถามในการวิจัยนั้นมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
1 คําถามประเภท “อะไร” เช่น ทฤษฎีในการพัฒนาเศรษฐกิจมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ฯลฯ
2 คําถามประเภท “ทําไม” เช่น ทําไมน้ําจึงท่วมในเขตกรุงเทพมหานครง่ายมาก ฯลฯ
3 คําถามประเภท “อย่างไร” เช่น ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475ได้อย่างไร ฯลฯ
87 เป็นขั้นตอนแรกที่สุดของการเริ่มต้นวิจัย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ
88 วิธีการตั้งประโยคต้องใช้คําขึ้นต้นคําว่า “เพื่อ”
ตอบ 3 หน้า 66, (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ในการวิจัย (Research Objective) คือ การบอกจุดมุ่งหมายในการทําวิจัยว่าจะทําไปเพื่ออะไร ซึ่งจะมีวิธีการตั้งประโยคด้วยการใช้คําขึ้นต้นคําว่า “เพื่อ” เช่น เพื่อสํารวจ เพื่อพรรณนา เพื่ออธิบาย เพื่อสร้างความเข้าใจ เป็นต้น
89 ต้องตั้งด้วยประโยคประเภท “อะไร ทําไม อย่างไร”
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ
90 วิธีการเก็บข้อมูล
ตอบ 5 หน้า 26 คําว่า Method หมายถึง วิธีการของคน ๆ หนึ่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อนํามาทําความเข้าใจหรือใช้อธิบายบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งอาจจะแปลเป็นภาษาไทยว่า “วิธีการ”
91 การวิเคราะห์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ
ตอบ 4 หน้า 53, 55, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์ (Approach) หมายถึง กรอบหรือเค้าโครงทางความคิดอย่างกว้าง ๆ อันเป็นพื้นฐานในการพรรณนาความหรือการอธิบายหรือการวิเคราะห์ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ โดยใน Approach หนึ่ง ๆ จะประกอบไปด้วยสมมุติฐาน เบื้องต้นเกี่ยวกับการเมืองในเรื่องนั้น ๆ เช่น ทฤษฎีเกม (Game Theory), ทฤษฎีการตัดสินใจ เลือกอย่างมีเหตุมีผล (Rational Choice Theory), ทฤษฎีระบบ (System Theory), แนวการ วิเคราะห์เชิงโครงสร้าง (Structural Approach) เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 92 – 95 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถาม
(1) Institutional Approach
(2) Rational Choice Approach
(3) Historical Approach
(4) System Approach
(5) Psychological Approach
92 ถ้าอยากเข้าใจการเมืองไทยต้องไปศึกษารัฐธรรมนูญ
ตอบ 1 หน้า 60, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์แบบสถาบันนิยม (Institutionalism/Institutional Approach) เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ที่เน้นหนักในเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอิทธิพลของ โครงสร้างทางการเมืองที่มีต่อการเมือง โดยเชื่อว่าโครงสร้างทางการเมืองหรือสถาบันทางการเมือง ต่าง ๆ เป็นตัวกําหนดพฤติกรรมของมนุษย์ นักรัฐศาสตร์สมัยใหม่แนวสถาบันนิยม ได้แก่
1 เฮอร์มัน ไฟเนอร์ (Herman Finer) ผู้เขียนงานเรื่อง The Theory and Practice of Modern Government
2 วูดโรว์ วิลสัน (VWcodrow Wilson) ผู้เขียนงานเรื่อง Congressional Government A Study in American Politics เป็นต้น
93 เชื่อว่าในทุกสังคมนั้นมีลักษณะเป็นระบบที่ทําการรักษาตนเองให้อยู่รอดเสมอ ๆ นักคิดคนสําคัญได้แก่ Gabriel Almond
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ
94 Maximize Utility และ Maximin
ตอบ 2 หน้า 57, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์แบบการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล (Rational Approach) หรือบางทีก็เรียกว่า Rational Choice Approach จะมีสมมุติฐานที่สําคัญคือ มนุษย์ทุกคนเป็น มนุษย์ที่มีเหตุมีผล เวลาจะทําอะไรแล้วจะคํานวณอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองได้ประโยชน์อย่างไร และเสียประโยชน์อย่างไร และเมื่อคํานวณดูผลลัพธ์ในทางต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นแล้ว คน ๆ นั้นก็ จะทําตามในทางที่ตนเองได้ประโยชน์มากที่สุด (Maximize Utility) หรือในกรณีที่ตนเองไม่มีทางจะได้ประโยชน์ คน ๆ นั้นก็จะเลือกวิธีการที่ตนเองจะเสียเปรียบน้อยที่สุด (Maximin)
95 ถ้าอยากเข้าใจปรากฏการณ์ปัจจุบัน จําเป็นจะต้องไปศึกษาเหตุการณ์ก่อนหน้า
ตอบ 3 หน้า 53 แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical Approach) มีสมมุติฐานว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มาจากพัฒนาการที่คลี่คลายตามลําดับเหตุการณ์อันเชื่อมโยง มาจากเหตุการณ์ที่สําคัญ ๆ ก่อนหน้านั้น ด้วยเหตุนี้เองนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาปรากฏการณ์ทาง การเมืองต่าง ๆ ตามขวงเวลาในอดีตหรือปัจจุบัน นักรัฐศาสตร์ก็จําเป็นที่จะต้องย้อนกลับไปดู วิวัฒนาการของเหตุการณ์ก่อนหน้าในช่วงยาว แล้วพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ไหนเป็นเหตุการณ์ตั้งต้นที่เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน
96 คําถามที่ใช้มาตรวัดแบบ Likert Scale จัดเป็นคําถามในลักษณะใด (1) Check-List Question
(2) Multiple Choice Question
(3) Multi-Response Question
(4) Rank Primary Question
(5) Rating Scale Question
ตอบ 5 หน้า 130 133, (คําบรรยาย) คําถามในลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale Question) จัดเป็นแบบสอบถามปลายปิดชนิดหนึ่ง โดยแบบที่นิยมใช้และรู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ มาตรวัดแบบ Likert Scale, มาตรวัดแบบ Guttman Scale, มาตรวัดแบบ Osgood Scale มาตรวัดแบบ Thurstone Scale เป็นต้น
97 ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาคุณภาพของเครื่องมือวัด
(1) ความแม่นตรง
(2) ความเชื่อถือได้
(3) การมีประสิทธิภาพ
(4) การมีความหมาย
(5) ความเป็นปรนัย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ
98 ในการทดสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) ต้องพิจารณาในเรื่องใด (1) ความมีเสถียรภาพ –
(2) การทดแทนซึ่งกันและกันได้
(3) การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 35, (คําบรรยาย) การทดสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) มีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
1 ความมีเสถียรภาพ (Stability)
2 การทดแทนซึ่งกันและกันได้ (Equivalence)
3 การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Homogeneity)
99 ข้อใดเป็นข้อจํากัดของการใช้แบบสอบถาม
(1) สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
(2) เกิดความลําเอียงหรืออคติได้ง่าย
(3) ต้องอาศัยผู้มีความรู้ความชํานาญเป็นพิเศษ
(4) ไม่สามารถที่จะเก็บข้อมูลกับผู้ที่อ่านเขียนหนังสือไม่ได้
(5) สามารถกลับไปซักถามต่อได้
ตอบ 4 หน้า 155 – 156, (คําบรรยาย) ข้อจํากัดของการส่งแบบสอบถาม มีดังนี้
1 ไม่แน่ใจว่าได้ข้อมูลตรงกับความจริงหรือไม่ ถ้าเครื่องมือวัดไม่ดีพอ
2 มีลักษณะยืดหยุ่นน้อย
3 มักได้แบบสอบถามกลับคืนมาจํานวนน้อย
4 ไม่สามารถใช้กับประชากรที่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้
5 ไม่สามารถกลับไปซักถามต่อได้ เป็นต้น
100 ข้อใดคือลักษณะทั่วไปของการวิจัยเชิงปริมาณ
(1) ตีความจากเอกสาร
(2) ใช้การสอบถามเป็นหลัก
(3) มีลักษณะเป็น Normative
(4) ทดสอบทฤษฎีด้วยเครื่องมือทางสถิติ
(5) ให้ความสําคัญกับความหมายของสิ่งที่ศึกษา
ตอบ 4 หน้า 90 – 91, (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ คือ
1 ต้องการทดสอบทฤษฎีด้วยเครื่องมือทางสถิติ
2 เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข
3 มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา
4 เป็นการเลือกประชากรทั้งหมด
5 มีวิธีการเก็บข้อมูล โดยใช้การสอบถามและการสัมภาษณ์ตามแนวเป็นหลัก 6 สรุปจากข้อเท็จจริงที่รวบรวมมาได้โดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์ เป็นต้น