การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) การวิจัยในปัจจุบันได้รับอิทธิพลมาจากการหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์

(2) ความดี ความชั่ว ความสวย ความหล่อเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ

(3) การวิจัยคุณภาพคือการวิจัยที่เน้นรายละเอียดที่ถูกต้องมีคุณภาพ

(4) ความสูง 173 cm เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ

(5) Researcher คือผู้ที่ต้องการค้นหาคําตอบในเรื่องที่สงสัยด้วยการศึกษาอย่างเป็นระบบระเบียบ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อที่ถูกต้องคือ

1 การวิจัยในปัจจุบันได้รับอิทธิพลมาจากการหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์

2 ความดี ความชั่ว ความสวย ความหล่อ เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ

3 ความสูง 173 cm เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ

4 Researcher คือผู้ที่ต้องการค้นหาคําตอบในเรื่องที่สงสัยด้วยการศึกษาอย่างเป็นระบบระเบียบ

2 ตัวเลือกใดไม่ใช่ Scientific Method

(1) การสังเกต

(2) รวบรวมข้อมูล

(3) การใช้เหตุผล

(4) ทดลอง

(5) ทุกข้อคือ Scientific Method

ตอบ 4 เอกสารหมายเลข P-1100-1 หน้า 1 – 2, 18) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน ดังนี้

1 การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification/Problem Statement)

2 การตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) เป็นการใช้เหตุผลหยั่งรู้คาดเดาคําตอบก่อนที่ผู้วิจัยจะสร้างเครื่องมือและเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อพิสูจน์สมมุติฐาน

3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เช่น เก็บข้อมูลด้วยการสังเกต หรือจากสถิติ

4 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)

5 การสรุปผล (Conclusion)

3 ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการวิจัย

(1) เพื่อบรรยาย

(2) เพื่ออธิบาย

(3) เพื่อทํานาย

(4) เพื่อควบคุมปรากฏการณ์ต่าง ๆ

(5) ทุกข้อเป็นเป้าหมายการวิจัย

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 4) เป้าหมายของการวิจัย มีดังนี้

1 เพื่อบรรยาย

2 เพื่ออธิบาย

3 เพื่อทํานาย

4 เพื่อควบคุมปรากฏการณ์ต่าง ๆ

4 การศึกษาปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาระบบประชาธิปไตย ว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง เราเรียกว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษาแบบนี้ว่าอะไร

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 21) จุดมุ่งหมายในการตั้งปัญหาเพื่ออธิบาย เป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน โดยอธิบายว่าตัวแปรใด เป็นสาเหตุให้เกิดผลตามที่มุ่งหวังไว้ เช่น การศึกษาปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาระบบประชาธิปไตยว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง เป็นต้น

5 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ

(1) เน้นที่การมองปรากฏการณ์ในภาพรวม

(2) เป็นการศึกษาระยะยาวและเจาะลึก

(3) ใช้หลักการทางสถิติ

(4) ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

(5) คํานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัย

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 5, 12) การวิจัยเชิงคุณภาพ มีลักษณะสําคัญดังนี้

1 เน้นที่การมองปรากฏการณ์ในภาพรวม

2 เป็นการศึกษาระยะยาวและเจาะลึก ซึ่งเป็นการเจาะจงเลือกเฉพาะกลุ่มที่ต้องการศึกษาเป็นกรณีศึกษา โดยที่ไม่สามารถเป็นตัวแทนทั้งหมดได้

3 ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

4 คํานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัย ฯลฯ

6 ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ

(1) เน้นที่การมองปรากฎการณ์ในภาพรวม

(2) เป็นการศึกษาระยะยาวและเจาะลึก

(3) ใช้หลักการทางสถิติ

(4) ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

(5) คํานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัย

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 12) การวิจัยเชิงปริมาณ มีลักษณะสําคัญดังนี้

1 เป็นการวิจัยที่เน้นข้อมูลตัวเลขเป็นหลัก ใช้หลักการทางสถิติ

2 ต้องการทดสอบทฤษฎี

3 มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา

4 สรุปจากข้อเท็จจริงโดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์ ฯลฯ

7 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ

(1) ต้องการทดสอบทฤษฎี

(2) เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข

(3) มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา

(4) เป็นการเลือกเฉพาะกลุ่มที่ต้องการศึกษา

(5) สรุปจากข้อเท็จจริงโดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

8 ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ

(1) ต้องการทดสอบทฤษฎี

(2) เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข

(3) มีทฤษฎีเป็นกรอบในการศึกษา

(4) เป็นการเลือกเฉพาะกลุ่มที่ต้องการศึกษา

(5) สรุปจากข้อเท็จจริงโดยใช้สถิติเป็นข้อพิสูจน์

ตอบ 4 ตูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

9 การเริ่มต้นจากข้อเท็จจริงเฉพาะซึ่งได้จากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ และนําไปสู่ข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์ เรียกว่าการแสวงหาความรู้แบบใด

(1) Inductive Reasoning

(2) Deductive Reasoning

(3) Positivism

(4) Anti – Positivism

(5) Rational Approach

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข F-4100-2 หน้า 13) เหตุผลเชิงอุปมาน (Inductive Reasoning) เป็นวิธีที่เริ่มต้นจากข้อเท็จจริงเฉพาะซึ่งได้จากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่ศึกษา แลนําไปสู่ข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์ เป็นการหาจากส่วนย่อยไปสู่ส่วนใหญ่ เช่น การวิจัยเชิงคุณภาพ

10 วิธีที่เริ่มจากหลักเกณฑ์ทั่วไปและนําไปทดสอบยืนยันด้วยการรวบรวมข้อเท็จจริง เรียกว่าอะไร

(1) Inductive Reasoning

(2) Deductive Reasoning

(3) Positivism

(4) Anti – Positivism

(5) Rational Approach

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 2-4100-2 หน้า 13) เหตุผลเชิงอนุมาน (Deductive Reasoning) เป็นวิธีที่เริ่มจากหลักเกณฑ์หรือข้อเท็จจริงทั่วไป และนําไปทดสอบยืนยันด้วยการรวบรวมข้อเท็จจริงเป็นการหาจากส่วนใหญ่ไปสู่ส่วนย่อย เช่น การวิจัยเชิงปริมาณ

11 ความเชื่อที่ว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติสามารถอธิบายด้วยกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติและมนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) Inductive Reasoning

(2) Deductive Reasoning

(3) Positivism

(4) Anti – Positivism

(5) Rational Approach

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 13) ปฏิฐานนิยม (Positivism) ได้แก่แนวคิดที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือการวิจัยเชิงปริมาณเป็นเครื่องมือ โดยมีความเชื่อที่ว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติสามารถอธิบายด้วยกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และมนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5

12 แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่ด้วยตัวของเราเอง ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล อยู่ภายใต้แนวคิดใด

(1) Inductive Reasoning

(2) Deductive Reasoning

(3) Positivism

(4) Anti – Positivism

(5) Rational Approach

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 14) กลุ่มคัดค้านปฏิฐานนิยม (Anti – Positivism)แบ่งเป็นกลุ่มปรัชญาได้หลายแบบ เช่น อัตภาวะนิยม (Existentialism) คือ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่ด้วยตัวของเราเอง ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล เป็นต้น

13 การเข้าใจกฏต่าง ๆ ของธรรมชาติโดยนําหลักพื้นฐานที่มีอยู่มาประมวลให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหา เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) Inductive Reasoning

(2) Deductive Reasoning

(3) Positivism

(4) Anti – Positivism

(5) Rational Approach

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 14 – 15) แนวทางเชิงเหตุผล (Rational Approach) คือ การเข้าใจกฏต่าง ๆ ของธรรมชาติโดยนําหลักพื้นฐานที่มีอยู่มาประมวลให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหา

14 แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่ด้วยตัวของเราเอง ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล เกี่ยวข้องกับเรื่องใด มากที่สุด

(1) Existentialism

(2) Phenomenology

(3) Ethnomethodology

(4) Symbolic Interactionism

(5) Empirical Approach

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

15 การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือแนวคิดเพื่อการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) ขอบข่ายและการตั้งปัญหาการวิจัย

(2) การสํารวจและการทบทวนวรรณกรรม

(3) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ

(4) การเลือกรูปแบบการวิจัย

(5) การกําหนดประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 17) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ เป็นการกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือแนวคิดเพื่อการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่การพิสูจน์โดยรวบรวมข้อมูลมายืนยันตามสมมุติฐานที่กําหนด โดยเฉพาะการวิจัยเชิงปริมาณจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีสมมุติฐาน

16 การกําหนดวิธีการที่สัมพันธ์กับปัญหา เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) ขอบข่ายและการตั้งปัญหาการวิจัย

(2) การสํารวจและการทบทวนวรรณกรรม

(3) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ

(4) การเลือกรูปแบบการวิจัย

(5) การกําหนดประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 17) การเลือกรูปแบบการวิจัย เป็นการกําหนดวิธีการศึกษาที่สัมพันธ์กับปัญหา กรอบความคิด และเลือกวิธีการเก็บข้อมูลที่สอดคล้องกับสมมุติฐาน โดยการเลือกรูปแบบการวิจัยต้องเลือกวิธีการศึกษาโดยกําหนดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการทํา ตั้งแต่การเลือกตัวแปร การเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีวิเคราะห์ข้อมูลที่จะตอบปัญหาการวิจัย

17 การกําหนดพื้นที่เป้าหมาย และกําหนดหน่วยในการศึกษา เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) ขอบข่ายและการตั้งปัญหาการวิจัย

(2) การสํารวจและการทบทวนวรรณกรรม

(3) การกําหนดสมมุติฐานเพื่อการทดสอบ

(4) การเลือกรูปแบบการวิจัย

(5) การกําหนดประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 17) การกําหนดประชากร เป้าหมาย และการสุ่มตัวอย่างเป็นการกําหนดหน่วยที่ต้องการศึกษาหรือหน่วยที่ต้องการใช้ข้อมูล อาจเป็นคุณสมบัติของบุคคล กลุ่ม องค์การ สังคม หรือพื้นที่แล้วแต่เป้าหมายการวิจัย ซึ่งจะมีผลต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะแตกต่างไปตามเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

18 การแปลงความหมายของแนวคิดออกมาเป็นสภาพความเป็นจริงเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวข้องกับ เรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 17) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัดคือ การแปลงความหมายของแนวคิดออกมาเป็นสภาพความเป็นจริงเพื่อช่วยให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้

19 การสังเกต การสัมภาษณ์ และการออกแบบสอบถาม เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-q100-2 หน้า 17) การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นกระบวนการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบปัญหาการวิจัย ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ และการออกแบบสอบถาม

20 การเปรียบเทียบข้อมูลหรือการใช้สถิติ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 17) การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการนําข้อมูลที่รวบรวมมาได้มาวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบพรรณนาหรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่จะตอบปัญหาการวิจัย

21 การจัดทําแผนในการวิจัย เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 17) การเขียนรายงานการวิจัย เป็นการนําความรู้ที่ได้จากการศึกษามารวบรวมหรือเป็นการจัดทําแผนในการวิจัย และเขียนเป็นรายงานเพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรมหรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการต่อไป

22 การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการวิจัย เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องมือวัด

(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(3) การวิเคราะห์ข้อมูล

(4) การเขียนรายงานการวิจัย

(5) การเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

23 ความสนใจของผู้วิจัย เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) เพื่อบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) เพื่อบรรยาย

(3) เพื่ออธิบาย

(4) เพื่อทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) เพื่อตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 21) จุดมุ่งหมายในการตั้งปัญหาเพื่อบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้ เป็นการตั้งปัญหาในลักษณะที่ยังไม่มีผู้ศึกษามาก่อน และผู้วิจัยสนใจในการศึกษาโดยทําการประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและจัดเป็นระบบ

24 เมื่อทราบความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ จากกรอบทฤษฎีผ่านการตรวจสอบความเป็นจริงจนแน่ใจว่าถูกต้องสามารถนําไปสรุปในเรื่องใดได้

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 21) จุดมุ่งหมายในการตั้งปัญหาเพื่อทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการนําผลการศึกษาเพื่อทํานายอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น โดยผลการศึกษาจะต้อง มาจากวิธีการอธิบาย เมื่อทราบความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ จากกรอบทฤษฎีและผ่านการตรวจสอบความเป็นจริงจนแน่ใจว่าถูกต้อง

25 การกล่าวถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน เรียกว่าอะไร

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การตั้งคําถามการวิจัย

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

26 การกล่าวถึงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา เพื่อให้ผู้สนใจได้เห็นภาพตามลักษณะที่ผู้วิจัยกล่าวถึง เรียกว่าอะไร

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 21) จุดมุ่งหมายในการตั้งปัญหาเพื่อบรรยาย เป็นการกล่าวถึงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งที่ผู้วิจัยศึกษา เพื่อให้ผู้สนใจได้เห็นภาพตามลักษณะที่ผู้วิจัยกล่าวถึง เช่น การบรรยายลักษณะการปกครองของจังหวัดนนทบุรี โดยกล่าวถึงสภาพพื้นที่ ประชากร รูปแบบการปกครอง ปัญหาในการปกครอง เป็นต้น

27 การตั้งปัญหาในลักษณะที่ยังไม่มีผู้ศึกษามาก่อน และผู้วิจัยสนใจศึกษา โดยทําการประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆที่เกิดขึ้นและจัดเป็นระบบ เรียกว่าอะไร

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การอธิบาย

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

28 การกล่าวถึงลักษณะการปกครองของจังหวัดนนทบุรี โดยกล่าวถึงสภาพพื้นที่ ประชากร รูปแบบการปกครองและปัญหาในการปกครอง เรียกว่าอะไร

(1) การบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

(2) การบรรยาย

(3) การวิพากษ์วิจารณ์

(4) การทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(5) การตั้งปัญหาการวิจัย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

29 การเชื่อมโยงระหว่างกรอบแนวคิตกับสิ่งที่สามารถสังเกตเห็นได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Variable

(2) Concept

(3) Hypothesis

(4) Attribute

(5) Measurement

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-C100-2 หน้า 25) มาตรวัด(Measurement) คือ กระบวนการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เป็นนามธรรมในการศึกษากับสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตได้ หรือเป็นการเชื่อมโยงระหว่างกรอบแนวคิดกับสิ่งที่สามารถสังเกตเห็นได้

30 แนวคิดที่มีมากกว่า 1 ค่า เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Variable

(2) Concept

(3) Hypothesis

(4) Attribute

(5) Measurement

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 57) ตัวแปร (Variable) หมายถึง แนวคิดที่มีมากกว่า 1 ค่า เช่น เพศ (แบ่งเป็นเพศชาย เพศหญิง), อาชีพ (แบ่งเป็นรับราชการ ธุรกิจส่วนตัว รับจ้าง) เป็นต้น

31 ชุดของตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันตามกรอบของทฤษฎี เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Variable

(2) Concept

(3) Hypothesis

(4) Attribute

(5) Measurement

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 57) แนวคิด (Concept) หมายถึง ชุดของตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันตามกรอบของทฤษฎี ภายใต้แนวคิดหนึ่ง ๆ จะประกอบไปด้วยตัวแปรต่าง ๆตามแต่ละสาขาวิชา

32 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการตั้งปัญหาในการวิจัย

(1) เพื่อบรรยาย

(2) เพื่ออธิบาย

(3) เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

(4) เพื่อการทํานาย

(5) เป็นจุดมุ่งหมายทุกข้อ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-1100-2 หน้า 21) จุดมุ่งหมายของการตั้งปัญหาในการวิจัย มีดังนี้

1 เพื่อบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

2 เพื่อบรรยาย

3 เพื่ออธิบาย

4 เพื่อทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

33 ข้อใดไม่ใช่หลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อของการวิจัย

(1) ความเป็นไปได้

(2) ความน่าสนใจและทันต่อเหตุการณ์

(3) ความสนใจของผู้วิจัย

(4) ความยากง่ายในการศึกษา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 22) หลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อของการวิจัย มีดังนี้

1 ความสําคัญของปัญหา

2 ความเป็นไปได้

3 ความน่าสนใจและทันต่อเหตุการณ์

4 ความสนใจของผู้ที่จะวิจัย

5 ความสามารถที่จะทําให้บรรลุผล

34 ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น ๆ มากําหนดความสัมพันธ์ เรียกว่า ปัญหาประเภทใด

(1) ปัญหาเชิงวิเคราะห์

(2) ปัญหาเชิงประจักษ์

(3) ปัญหาเชิงปทัสถาน

(4) ปัญหาเชิงสังเคราะห์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 22 – 23) ปัญหาเชิงประจักษ์ คือ ลักษณะของปัญหาที่จะต้องใช้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่าง ๆ มากําหนดความสัมพันธ์

35 ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ความคิด ความรู้ในเชิงวิชาการมาประมวลเป็นข้อสรุปหรือกฎ หรืออ้างอิงจากแนวคิดทฤษฎี หรือนักวิชาการ เรียกว่าปัญหาประเภทใด

(1) ปัญหาเชิงวิเคราะห์

(2) ปัญหาเชิงประจักษ์

(3) ปัญหาเชิงปทัสถาน

(4) ปัญหาเชิงสังเคราะห์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 23) ปัญหาเชิงปทัสถาน คือ ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ความคิด ความรู้เชิงวิชาการมาประมวลเป็นข้อสรุปหรือกฎ หรือใช้การอ้างอิงจากตําราวิชาการ แนวคิดทฤษฎี ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ มายืนยันและตรวจสอบความถูกต้อง เช่น การศึกษารูปแบบทางการเมืองการปกครองที่ดีที่สุดในอุดมคติตามแนวจริยธรรมของนักวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น

36 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของคําว่า Research

(1) การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้พบข้อเท็จจริง หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฏ ทฤษฎีหรือแนวทางในการปฏิบัติ

(2) การค้นหาคําตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ

(3) กระบวนการในการแสวงหาความรู้โดยอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์

(4) การค้นหาสัจธรรมความจริงแท้ของโลก

(5) ทุกข้อไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของวิจัย

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 1, 18) การวิจัย (Research) คือ การศึกษาค้นคว้าวิเคราะห์ ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้พบข้อเท็จจริง หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฏ ทฤษฎี หรือ แนวทางในการปฏิบัติ หรือการค้นหาคําตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นกระบวนการในการแสวงหาความรู้โดยอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์

37 Positivism ได้รับอิทธิพลจากองค์ความรู้ใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1) ภาษาศาสตร์

(2) เศรษฐศาสตร์

(3) ประวัติศาสตร์

(4) วิทยาศาสตร์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

38 คนใดไม่เกี่ยวข้องกับ Behavioralism

(1) David Easton

(2) Lucian Pye

(3) Charles Merriam

(4) Alexis de Tocqueville

(5) Harold Lasswell

ตอบ 3 หน้า 37 – 42, 61, (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 10 – 11)

การศึกษาแนวพฤติกรรมนิยม (Behavioralism) มีลักษณะที่สําคัญดังนี้

1 ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และหลักวัตถุวิสัย (Objectivity) ในการศึกษาวิชารัฐศาสตร์

2 ใช้วิธีเชิงปริมาณและเทคนิคที่เคร่งครัดตายตัวในการวิเคราะห์ เช่น สถิติ

3 มุ่งสร้างทฤษฎีที่เป็นระบบและเป็นเชิงประจักษ์

4 แยกความจริงออกจากค่านิยม

5 มุ่งศึกษาพฤติกรรมของตัวบุคคลหรือกลุ่มมากกว่าสถาบันการเมือง

6 เน้นทํานายปรากฏการณ์ทางการเมือง และการตัดสินใจทางการเมือง

7 การศึกษาแบบ Unity of Science

8 นักวิชาการแนวนี้ ได้แก่ David Easton, Gabriel Almond ฯลฯ

39 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับ Positivism

(1) August Comte

(2) Vienna Circle

(3) Value – Free

(4) Empiricism

(5) ทุกข้อเกี่ยวข้องกับ Positivism

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 27 – 30) แนวคิดสํานักปฏิฐานนิยม (Positivism) มีลักษณะที่สําคัญดังนี้

1 เป็นแนวคิดประจักษ์นิยม (Empiricism)

2 ปราศจากคุณค่าเข้ามาเกี่ยวข้อง (Value – Free)

3 นักวิชาการแนวนี้ ได้แก่ August Comte, นักวิชาการกลุ่ม Vienna Circle ฯลฯ

40 Behavioralism เกี่ยวข้องกับตัวเลือกใดต่อไปนี้

(1) Sophist

(3) Aristotle

(4) Rousseau

(5) Unity

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

41 Approach ใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับ Science น้อยที่สุด

(1) Behaviorism

(2) System Approach

(3) Developmental Approach

(4) Historical Approach

(5) Power Approach

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 46 – 58) แนวการวิเคราะห์หรือกรอบการวิเคราะห์(Approach) เป็นสิ่งที่สําคัญอย่างมากต่อการศึกษารัฐศาสตร์สมัยใหม่ หรือในการทําวิจัย ทางรัฐศาสตร์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากการหาความรู้แบบทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากกรอบ การวิเคราะห์เป็นตัวกําหนดมุมมองในการทําวิจัย การเก็บข้อมูล ออกแบบวิจัยแบบใด ซึ่งเปรียบได้ว่าแนวการวิเคราะห์ก็คือ เข็มทิศ หรือแผนที่ของการวิจัย เช่น

1 System Approach.

2 Developmental Approach

3 Historical Approach

4 Power Approach ฯลฯ

42 ตัวเลือกใดไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

(1) เป็นการศึกษาที่ต้องการค้นหาข้อเท็จจริง

(2) เป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทํานายปรากฏการณ์

(3) เป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปรากฏการณ์

(4) เป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อพรรณนาปรากฏการณ์

(5) ทุกข้อมีความเกี่ยวข้องกับการวิจัย

ตอบ 5 (เอกสาร์หมายเลข P-4100-1 หน้า 19 – 20, 60) จุดมุ่งหมายของการวิจัย มีดังนี้

1 เพื่อหาคําตอบเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ

2 เพื่อทํานายปรากฏการณ์

3 เพื่อศึกษาปรากฏการณ์

4 เพื่อพรรณนาปรากฏการณ์ (ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ)

43 การสังเกต คืออะไร

(1) การดูอย่างรอบด้าน

(2) การใช้จมูกดมกลิ่น

(3) การใช้หูรับฟัง

(4) การลิ้มรับรสสัมผัส

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-1100-1 หน้า 69 – 70) การสังเกต (Observation) คือ การพิจารณาสิ่งต่าง ๆ รอบตัวโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งเป็นวิธีเก็บข้อมูลแบบหนึ่งที่ผู้วิจัยออกไปรับรู้ โดยตรงจากปฏิกิริยา ท่าทาง หรือเหตุการณ์/ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง

44 ข้อใดไม่ผิดจรรยาบรรณของนักวิจัย

(1) คัดบางส่วนของงานวิจัยอื่น ๆ ประมาณ 80% มาเขียนในงานวิจัยของตัวเองแต่มีการทําอ้างอิง

(2) เลือกที่จะนําเสนอข้อมูลเพื่อให้ผลออกมาตรงกับสมมุติฐาน

(3) ปรับผลงานวิจัยเพื่อจุดประสงค์ของนักวิจัยเอง

(4) นําข้อมูลส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูลไปเปิดเผย

(5) ทุกข้อผิดจรรยาบรรณของนักวิจัย

ตอบ 5 หน้า 81 ลักษณะของการกระทําที่ผิดจรรยาบรรณของนักวิจัย มีดังนี้

1 คัดบางส่วนของงานวิจัยอื่น ๆ ประมาณ 80% มาเขียนในงานวิจัยของตัวเองแต่มีการทําอ้างอิง

2 เลือกที่จะนําเสนอข้อมูลเพื่อให้ผลออกมาตรงกับสมมุติฐาน

3 ปรับผลงานวิจัยเพื่อจุดประสงค์ของนักวิจัยเอง

4 นําข้อมูลส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูลไปเปิดเผย

45 ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของการศึกษาวิจัยทางรัฐศาสตร์แบบพฤติกรรมศาสตร์

(1) ศึกษาโครงสร้างและสถาบันการเมือง

(2) ทํานายปรากฏการณ์ทางการเมือง

(3) อธิบายถึงสิ่งที่เป็นธรรมชาติหรืออุดมคติทางการเมือง

(4) ให้คําแนะนําถึงสิ่งที่ควรกระทําแก่ผู้ปกครองหรือผู้บริหาร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

46 ตัวเลือกใดถือว่าเป็นสิ่งที่สามารถนํามาใช้ได้จริงน้อยที่สุดในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

(1) ทดลอง

(2) ตั้งสมมุติฐาน

(3) กําหนดชื่อเรื่อง

(4) ทํารายงานการวิจัย

(5) สรุปผล

ตอบ 1 หน้า 78 79 ข้อจํากัดของการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ มีดังนี้

1 เปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อม

2 มีความซับซ้อนเกินกว่าจะทํานายได้

3 ไม่สามารถทดลองในห้องปฏิบัติการได้

4 การสัมภาษณ์จากมนุษย์เชื่อถือไม่ได้ ฯลฯ

47 คําว่า “รัฐศาสตร์” ในภาษาไทย ใครเป็นคนบัญญัติขึ้นมา

(1) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

(2) กรมพระยาดํารงราชานุภาพ

(3) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

(4) พระองค์เจ้าอาทิตย์ที่พลาภา

(5) พระองค์วรรณฯ ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 6) พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรรณไวทยากรกรมหมื่นนราทิปพงศ์ประพันธ์ หรือพระองค์วรรณฯ เป็นคนแรกที่บัญญัติคําว่า “รัฐศาสตร์”ขึ้นมาในภาษาไทย

48 Research Proposal คืออะไร

(1) รายงานการวิจัยก่อนที่จะเป็นฉบับสมบูรณ์

(2) ผลงานวิจัยอย่างไม่เป็นทางการ

(3) โครงร่างรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการวิจัย

(4) สัญญาระหว่างผู้วิจัยกับหน่วยงานที่ให้ทุนในการทําวิจัย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 73) โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)คือ โครงร่างคร่าว ๆ ของนักวิจัยก่อนที่จะทําการวิจัย ซึ่งจะต้องนําเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทําวิจัยไว้ล่วงหน้าในการทําวิจัยทุกครั้ง

49 อะไรต่อไปนี้ที่ไม่ควรมีในโครงร่างการวิจัย

(1) Reference

(2) Research Title

(3) Finding

(4) Problem Statement

(5) Review Literature

ตอบ 1, 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 73 – 74) โครงร่างการวิจัย ประกอบด้วย

1 ชื่อเรื่องในการวิจัย (Research Title)

2 ที่มาของปัญหาหรือสภาพปัญหา (Problem Statement)

3 คําถามในการวิจัย (Research Question)

4 วัตถุประสงค์ในการวิจัย (Objective)

5 สมมุติฐาน (Hypothesis)

6 การทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (Review Literature)

7 ขอบเขตของการวิจัย (Scope) ฯลฯ

 

ตั้งแต่ข้อ 50 – 55 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) Research Question

(2) Review Literature

(3) Hypothesis

(4) Approach

(5) Objective

 

50 “สํารวจงานวิจัยต่าง ๆ ในอดีตว่าใครเคยใช้ทฤษฎีอธิบายเรื่องที่เราทําวิจัยไว้บ้าง” ข้อความดังกล่าวนี้สัมพันธ์กับตัวเลือกใด

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 22) การทบทวนวรรณกรรม (Review Literature)เป็นขั้นตอนที่นักวิจัยจะต้องทําเพื่อให้ทราบว่างานวิจัยในอดีตที่เกี่ยวข้องมีใครทําไว้แล้วบ้างและเป็นขั้นตอนที่จําเป็นต้องทําเพื่อสํารวจว่างานวิจัยของเราจะไม่ซ้ํากับใครด้วย

51 “เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์” ข้อความดังกล่าวนี้สัมพันธ์กับตัวเลือกโด ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 47) แนวการวิเคราะห์ (Approach) หมายถึง กรอบหรือเค้าโครงทางความคิดอย่างกว้าง ๆ อันเป็นพื้นฐานในการพรรณนาความหรือการอธิบาย หรือการวิเคราะห์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ

52 “ปัญหาที่ผู้วิจัยต้องการจะหาคําตอบ” ข้อความดังกล่าวนี้สัมพันธ์กับตัวเลือกใด

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 57 – 59, 73, 83), (คําบรรยาย) คําถามหรือประเด็นปัญหาในการวิจัย (Research Question) หมายถึง คําถามที่ต้องการหาคําตอบจากปรากฏการณ์ที่ นํามาศึกษาวิจัย โดยจะต้องเป็นคําถามที่ยังไม่มีคําตอบ หรือเป็นคําถามที่ไม่สามารถหาคําตอบ ได้โดยง่าย หรือมีคําตอบแต่ยังไม่ชัดเจน ใช้คําถามปลายเปิดเป็นส่วนใหญ่ ไม่ควรใช้ปลายปิด และจะต้องเป็นคําถามที่น่าสนใจที่จะหาคําตอบด้วย ซึ่งคําถามหรือประเด็นปัญหาในการวิจัยนี้ ถือเป็นสิ่งที่นักวิจัยจะต้องเข้าใจเป็นอันดับแรกก่อนที่จะลงมือทําการวิจัยในขั้นตอนต่อ ๆ ไป ตัวอย่างเช่น การจัดสถาบันระหว่างรัฐและสังคมเปรียบเทียบก่อนและหลังนโยบายจํานําข้าว ปี พ.ศ. 2544 – 2545 มีลักษณะอย่างไร, การทํางานและปฏิบัติการของนโยบายจํานําข้าวใน ประกาศราคาที่สูงกว่าราคาตลาดภายใต้บริบทการเมืองและกระบวนการสร้างประชาธิปไตย หลังปี พ.ศ. 2544 มีลักษณะอย่างไร, รัฐบาลมีการจัดการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจอย่างไร ในช่วงวิกฤติการณ์เศรษฐกิจต้มยํากุ้ง เป็นต้น

53 “วัตถุประสงค์ของการวิจัย” ข้อความดังกล่าวนี้สัมพันธ์กับตัวเลือกใด

ตอบ 5 หน้า 97, 124 – 125, (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 60, 73, 82) จุดมุ่งหมายของการวิจัยหรือวัตถุประสงค์ (Objective) ของงานวิจัย หมายถึง เจตจํานงของนักวิจัยว่าต้องการ จะศึกษาเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งมักจะเขียนขึ้นต้นประโยคด้วยคําว่า “เพื่อ” แล้วตามด้วยข้อความที่ แสดงการกระทําในการวิจัยนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น เพื่อศึกษาการจัดสถาบันระหว่างรัฐและสังคม เปรียบเทียบก่อนและหลังนโยบายจํานําข้าวปี พ.ศ. 2544 – 2545, เพื่อสํารวจความพึงพอใจของประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่นที่มีต่อนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นต้น

54 “เปรียบเสมือนเครื่องมือที่ช่วยกําหนดความคิดและมุมมองของนักวิจัยในการวิจัย” ข้อความดังกล่าวนี้สัมพันธ์กับตัวเลือกใด

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 57) สมมุติฐาน(Hypothesis) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามกรอบของทฤษฎีที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้น และรอการพิสูจน์ต่อไปซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องมือที่ช่วยกําหนดความคิดและมุมมองของนักวิจัยในการวิจัย

55 “เป็นการป้องกันการทํางานวิจัยซ้ํา” ข้อความดังกล่าวนี้สัมพันธ์กับตัวเลือกใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 50 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 56 – 60 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) Classical Period

(2) Institutional Period

(3) Transitional Period

(4) Behavioral Period

(5) Post – Behavioral Period

 

56 เป็นยุคที่ไม่มีการผูกขาดแนวการศึกษาไว้แบบใดแบบหนึ่งอีกต่อไป

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 11 – 12) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ (Post – Behavioral Period) เป็นยุคที่ไม่มีการผูกขาดแนวการศึกษาไว้แบบใดแบบหนึ่งอีกต่อไป

57 ในยุคหนึ่งที่นําแนวคิดเกี่ยวกับจิตวิทยาตลอดจนสาขาความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบอื่น ๆ มาใช้ศึกษาการเมืองอย่างจริงจัง

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 2-4100-1 หน้า 10 – 11) ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Period) เป็นยุคที่นําแนวคิดเกี่ยวกับจิตวิทยาตลอดจนสาขาความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบอื่น ๆ มาใช้ ศึกษาการเมืองอย่างจริงจัง เน้นทํานายปรากฏการณ์ทางการเมือง และการตัดสินใจทางการเมือง ในยุคนี้รัฐศาสตร์ถูกเรียกว่า วิทยาศาสตร์การเมือง (Political Science)

58 ถ้าอยากจะเข้าใจการเมืองก็จําเป็นที่จะต้องพิจารณาที่ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมนั้น ๆ

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 8 – 9) ยุคสถาบันนิยม (Institutional Period) เป็นยุคที่เน้นหนักเรื่องรัฐธรรมนูญ (Constitution) กฎหมายมหาชน (Public Law) รัฐสภา (Parliament) อย่างไรก็ดีแนวทางการศึกษาการเมืองในยุคนี้ก็ยังไม่ได้รับอิทธิพลมาจากวิทยาศาสตร์ ถ้าอยากจะเข้าใจการเมืองก็จําเป็นที่จะต้องพิจารณาที่ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมนั้น ๆ

59 เป็นยุคที่เริ่มกรุยทางไปสู่ศักราชใหม่ของรัฐศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์การเมือง (Political Science)

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 9) ยุคเปลี่ยนผ่านสู่รัฐศาสตร์สมัยใหม่ (Transitional Period) เป็นยุคที่เริ่มกรุยทางไปสู่ศักราชใหม่ของรัฐศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์การเมือง (Political Science)

60 เป็นยุคที่เน้นหนักเรื่องรัฐธรรมนูญ (Constitution) กฎหมายมหาชน (Public Law) รัฐสภา (Parliament)

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) Secondary Source

(2) Observatory Research

(3) Primary Source

(4) Pure Research

(5) Applied Research

 

61 บันทึกข้อความของนายกรัฐมนตรี คือหลักฐานประเภทอะไร

ตอบ 3 หน้า 191 หลักฐานชั้นต้น (Primary Source) ได้แก่ หลักฐานที่บันทึกโดยผู้เกี่ยวข้องโดยตรงหรือเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง เช่น บันทึกข้อความของนายกรัฐมนตรี บันทึกประจําวันจดหมายโต้ตอบ หนังสือราชการ เป็นต้น

62 การวิจัยที่ต้องการทราบเพียงแค่ว่านโยบายนั้นมีกระบวนการก่อตัวอย่างไร งานวิจัยประเภทนี้คือวิจัยประเภทอะไร

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข E-4100-1 หน้า 19) การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ เช่น การวิจัยที่ต้องการทราบเพียงแค่ว่านโยบายนั้นมีกระบวนการก่อตัวอย่างไร การวิจัยเรื่องความชอบธรรมของผู้ปกครอง เป็นต้น

63 การวิจัยที่ลงไปสังเกตการณ์เกี่ยวกับจํานวนผู้ประท้วง คือวิจัยประเภทอะไร

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 20) การวิจัยเชิงการสังเกต (Observatory Research)เป็นการวิจัยที่เน้นผู้วิจัยเข้าไปเฝ้าสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษา เช่นการวิจัยที่ลงไปสังเกตการณ์เกี่ยวกับจํานวนผู้ประท้วงของกลุ่มการเมืองต่าง ๆ เป็นต้น

64 วิจัยเพื่อแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยประเภทอะไร ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 19) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนําไปใช้ ได้แก่ วิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ หรือการวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน เช่น ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งต้องการให้มีนักวิจัยศึกษาถึงกระบวนการแก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินทํากิน เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับคนในพื้นที่ และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่น และ การวิจัยเชิงนโยบาย เช่น ต้องการทราบว่าระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยประสบความสําเร็จหรือล้มเหลวเพื่อนําเสนอต่อรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

65 หนังสือที่มีความหรือวิเคราะห์เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมืองไทย หนังสือดังกล่าวถือว่าเป็นหลักฐานประเภทอะไร

ตอบ 1 หน้า 191 หลักฐานชั้นรอง (Secondary Source) คือ หลักฐานที่มีผู้บันทึกจากปากคําของผู้ที่ผ่านเหตุการณ์จริงหรือมีผู้บอกเล่าอีกต่อหนึ่ง เช่น หนังสือที่มีความหรือวิเคราะห์เกี่ยวกับ เหตุการณ์ทางการเมืองไทย บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในสายตาของนักเขียนที่ได้รวบรวมจากหนังสือพิมพ์ เป็นต้น

66 ผู้ที่นําไปสู่ผู้ที่ให้ข้อมูลหลัก เราเรียกบุคคลดังกล่าวว่าอะไร

(1) Key People

(3) Key Informants

(4) Gate Keeper

(5) Key Men

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกหรือเชิงลึก (In-depth Interview) จัดเป็นการสัมภาษณ์ แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) ชนิดหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้กันมากในการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยนักวิจัยจะต้องเข้าไปทําความรู้จักคุ้นเคยกับ “ผู้ให้ข้อมูลหลัก” (Key Informants) ซึ่งจะเน้นการพูดคุยซักถามในประเด็นที่ลึกซึ้งของปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลละเอียดลึกซึ้งหรือข้อมูลเชิงลึกจากผู้ให้สัมภาษณ์ในสนามวิจัย ทั้งนี้จะไม่มีการใช้ แบบสัมภาษณ์ แต่จะใช้วิธีการถามคําถามที่ได้จากคําตอบของผู้ถูกสัมภาษณ์เจาะลึกลงไปเรื่อย ๆหรือที่เรียกว่า “Snowball Technique”

 

ตั้งแต่ข้อ 67 – 70 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) Unit of Analysis

(2) Independent Variable

(3) Dependent Variable

(4) Intervening Variable

(5) Control Variable

 

67 “หน่วยในการศึกษาหรือสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการจะศึกษา” สิ่งที่กล่าวถึงนี้ในทางการวิจัยเรียกว่าอะไร

ตอบ 1 หน้า 173, (คําบรรยาย) หน่วยในการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) หรือหน่วยที่จะศึกษา(Unit of the Study) หมายถึง หน่วยของสิ่งที่นักวิจัยนําลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่ง ๆ นั้น มาวิเคราะห์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ระดับ คือ

1 ระดับบุคคล เช่น เพศ ระดับการศึกษา เป็นต้น

2 ระดับกลุ่ม

3 ระดับองค์การ เช่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัย เป็นต้น

4 ระดับพื้นที่ เช่น จังหวัด อําเภอ ตําบล หมู่บ้าน เป็นต้น

5 ระดับภูมิภาค เช่น ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น

6 ระดับประเทศ เช่น ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น

 

68 เป็นสิ่งแวดล้อมที่ผู้วิจัยต้องควบคุมให้เหมือนกันในกรณีที่ทําการศึกษาแบบเปรียบเทียบ สิ่งที่ควบคุมดังกล่าวในการวิจัยเรียกว่าอะไร

ตอบ 5 หน้า 130 ตัวแปรควบคุม (Control Variable) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ผู้วิจัยต้องควบคุมให้เหมือนกันในกรณีที่ทําการศึกษาแบบเปรียบเทียบ

69 เด็กชาย A ต้องการศึกษาว่า จํานวนของชั่วโมงในการเล่น Facebook มีผลต่อการสอบได้หรือสอบตกของนักศึกษาหรือไม่ จํานวนของชั่วโมงในการเล่น Facebook คือตัวแปรอะไร

ตอบ 2 หน้า 130, 154 – 155, (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 59)ตัวแปรที่ศึกษาวิจัยหรือตัวแปรที่ต้องการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) หรือตัวแปรต้นหรือตัวแปรเหตุ เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลหรือเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดตัวแปรตาม มักจะใช้สัญลักษณ์แทนเป็น X เช่น ระดับการศึกษาที่สงผลต่อการตัดสินใจลงคะแนน, ระดับความร้อนของเตารีดทําให้ผ้าสีดําซีด, สาเหตุที่ทําให้เกิดการคอร์รัปชั่นทางนโยบาย, จํานวนของชั่วโมงในการเล่น Facebookมีผลต่อการสอบได้หรือสอบตกของนักศึกษา เป็นต้น

2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) หรือตัวแปรผล เป็นตัวแปรที่มีการเปลี่ยนแปลงอันได้รับอิทธิพลหรือผลกระทบมาจากตัวแปรอิสระ มักจะใช้สัญลักษณ์แทนเป็น Y เช่น ผลกระทบของโครงการรับจํานําข้าว, ผลกระทบของความขัดแย้งทางการเมือง, ผลกระทบ ของการคอร์รัปชั่นทางนโยบาย, การซื้อสิทธิ์ขายเสียงมีผลทําให้เกิดการคอร์รัปชั่นของ นักการเมือง, ความซีดของผ้าสีดําที่เกิดจากระดับความร้อนของเตารีด เป็นต้น

70 สิ่งที่อยู่เหนือการควบคุมของผู้วิจัย และส่งผลต่อการวิจัยที่ทําให้ผลลัพธ์มีความแตกต่างกันออกไป

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตัวแปรที่ไม่ได้ศึกษาวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ตัวแปรแทรกหรือตัวแปรคั่นกลาง (Intervening Variable) เป็นตัวแปรที่นักวิจัยไม่ได้ตั้งใจศึกษา แต่มีผลต่อตัวแปรตามโดยนักวิจัยไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อุณหภูมินอกห้องทํางาน, การใช้นโยบายแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท หรือการใช้นโยบายเพิ่มเงินเดือนปริญญาตรีขั้นต้น เป็น 15,000 บาท มีผลให้เกิดสินค้าราคาแพง เป็นต้น

2 ตัวแปรภายนอก (Extraneous Variable) เป็นตัวแปรที่นักวิจัยไม่ได้ตั้งใจศึกษา แต่มีผลต่อตัวแปรตามโดยนักวิจัยสามารถควบคุมได้ เช่น อุณหภูมิในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

71 ตัวเลือกใดไม่ใช่ Scientific Method

(1) การใช้ประสาทสัมผัสที่ 6

(2) การตั้งสมมุติฐาน

(3) การใช้เครื่องมือทางสถิติ

(4) การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต

(5) ทุกข้อคือ Scientific Method

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

72 ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติที่ดีของเครื่องมือการวิจัย

(1) Validity

(2) Reliability

(3) Discriminative

(4) Equality

(5) ทุกข้อคือคุณสมบัติที่ดีของเครื่องมือการวิจัย

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-4100-2 หน้า 77 – 80), (คําบรรยาย) คุณสมบัติที่ดีของเครื่องมือการวิจัยมีดังนี้

1 Validity (ความเที่ยงตรงหรือความแม่นตรง)

2 Reliability (ความเชื่อถือได้)

3 Discriminative (การแยกแยะจําแนก)

4 Equality (ความเท่าเทียมสม่ำเสมอคงเส้นคงวา)

73 ข้อใดคือประโยชน์ของการทราบขอบข่ายและแนวทางของการศึกษารัฐศาสตร์ก่อนที่จะศึกษาถึงการวิจัย ทางรัฐศาสตร์

(1) เพื่อให้ทราบว่ารัฐศาสตร์คืออะไร

(2) เพื่อช่วยในการกําหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย

(3) เพื่อช่วยให้เลือกวิธีการที่เหมาะสมได้

(4) เพื่อช่วยให้ประเมินจุดดีจุดด้อยของงานวิจัย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 3 – 4 ประโยชน์ของการทราบขอบข่ายและแนวทางของการศึกษารัฐศาสตร์ก่อนที่จะศึกษาถึงการวิจัยทางรัฐศาสตร์ มีดังนี้

1 เพื่อให้ทราบว่ารัฐศาสตร์คืออะไร

2 เพื่อช่วยในการกําหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย

3 เพื่อช่วยให้เลือกวิธีการที่เหมาะสมได้

4 เพื่อช่วยให้ประเมินจุดดีจุดด้อยของงานวิจัย

74 ข้อใดกล่าวถูกต้อง

(1) Empirical Political Theory ได้มาจากการใช้เหตุผล

(2) Law คือทฤษฎีที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์

(3) Hypothesis ไม่จําเป็นต้องถูกเสมอ

(4) Normative Theory อิงอยู่กับวิธีการแบบวิทยาศาสตร์

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูกทั้งสองข้อ

ตอบ 5 หน้า 139 – 140, (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 2,7 – 12, 23) ข้อที่ถูกต้อง คือ

1 Empirical Political Theory ได้มาจากการใช้เหตุผลในการศึกษาเกี่ยวกับการเมือง

2 Law คือ ทฤษฎีที่ได้รับการพิสูจน์ยืนยันหรือทดสอบจนเชื่อถือได้แล้ว

3 Hypothesis คือ ทฤษฎีที่ยังไม่ได้รับการยืนยันจากการทดสอบนั้น ซึ่งเป็นการคาดเดาล่วงหน้าไม่จําเป็นต้องถูกเสมอ

4 Normative Theory ไม่ได้อิงอยู่กับวิธีการแบบวิทยาศาสตร์ แต่อิงอยู่กับคุณค่าหลักปฏิบัติการเสนอแนะ เช่น การเมืองที่ดีควรจะเป็นอย่างไร

 

75 ข้อใดไม่ใช่การแบ่งประเภทการวิจัยตามวิธีการเก็บข้อมูล

(1) Documentary Research

(2) Survey Research

(3) Experimental Research

(4) Case Study

(5) ทุกข้อคือการแบ่งประเภทการวิจัยตามวิธีการ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 20) การแบ่งประเภทการวิจัยตามวิธีเก็บข้อมูลมี 4 ประเภท ดังนี้

1 การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research)

2 การวิจัยเชิงสังเกต (Observatory Research)

3 การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)

4 การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research)

76 ข้อใดต่อไปนี้เป็นวัตถุประสงค์ของการเขียนรายงานการวิจัย

(1) การแสดงความสามารถอันโดดเด่นของนักวิจัย

(2) การแสดงอาณาเขตของงานวิจัยเพื่อมิให้ผู้อื่นทําหัวข้อคล้ายกัน

(3) การจับจองพื้นที่ของประเด็นที่ทําการศึกษา

(4) การป้องกันผู้อื่นนําไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ

(5) การเผยแพร่นวัตกรรมหรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 77- 82 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น

(3) บทความการวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร

(4) บทความพิเศษตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์

(5) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย

 

77 รายงานการวิจัยฉบับใดเป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุดในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 319 – 320, (คําบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานโดยละเอียดมีรูปแบบเคร่งครัด ส่วนใหญ่ใช้ศัพท์ทางวิชาการ เป็นการนําเสนอที่ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ จนพิมพ์ออกมา เป็นรูปเล่มสมบูรณ์แบบ ซึ่งมีบรรณานุกรมหรือรายการอ้างอิงที่ต้องปรากฏเสมอในรายงานวิจัย รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์นี้ประกอบไปด้วย ส่วนต้น ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนท้าย มักมีความ ยาวประมาณ 50 หน้ากระดาษ A4 ซึ่งเป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุดในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด

78 รายงานการวิจัยประเภทใดที่มักมีความยาวอยู่ระหว่าง 15 – 25 หน้ากระดาษ A4

ตอบ 3 หน้า 80, 325, (คําบรรยาย) บทความการวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร เป็นรายงานการวิจัยที่มักมีความยาวอยู่ระหว่าง 15 – 25 หน้ากระดาษ A4

79 รายงานการวิจัยประเภทใดที่ผู้วิจัยมักมีเป้าหมายเพื่อรายงานผลการวิจัยแก่ผู้ให้ทุน หรือหน่วยงานต้นสังกัดเป็นระยะ ๆ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย เป็นรายงานการวิจัยที่ผู้วิจัยมักมีเป้าหมายเพื่อรายงานผลการวิจัยแก่ผู้ที่ให้ทุน หรือหน่วยงานต้นสังกัดเป็นระยะ ๆ มักจะเขียนขึ้นใน ขณะที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งอาจมีเฉพาะส่วนที่ว่าด้วยหลักการ เหตุผลและวิธีการ และอาจจะยังไม่มีผลการวิจัยก็ได้ หรือมีผลการวิจัยแล้วแต่เป็นผลการวิจัยเบื้องต้น

80 รายงานการวิจัยประเภทใดประกอบไปด้วย ส่วนต้น ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนท้าย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ

81 รายงานการวิจัยประเภทใดที่มักมีความยาวประมาณ 50 หน้ากระดาษ A4

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ

82 รายงานการวิจัยประเภทใดที่มักจะเขียนขึ้นในขณะที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ

83 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับส่วนประกอบตอนต้นของรายงานการวิจัย

(1) ปกหลักจะมีหรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของโครงการวิจัย

(2) รายละเอียดที่ปรากฏบนปกในต้องมีความแตกต่างจากปกหลักเพื่อมิให้ซ้ำซ้อน

(3) ในกรณีของงานวิทยานิพนธ์ หน้าอนุมัติอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้

(4) บทคัดย่อควรทําเป็นสองภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

(5) สารบัญเนื้อหาและสารบัญรูปภาพไม่จําเป็นต้องแยกออกมาจากกัน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) บทคัดย่อ (Abstract) มีลักษณะดังนี้

1 บทคัดย่อช่วยให้ผู้อ่านทราบสาระสังเขปของงานวิจัยทั้งหมดโดยไม่ต้องอ่านทั้งหมด

2 บทคัดย่อที่ดีควรแสดงวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้มีความครบถ้วนชัดเจน 3 บทคัดย่อควรทําเป็นสองภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

4 ควรมีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4

ตั้งแต่ข้อ 84 – 90 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) บทที่ 1

(2) บทที่ 2

(3) บทที่ 3

(4) บทที่ 4

(5) บทที่ 5

 

84 ผลการวิจัยที่ผู้วิจัยได้ดําเนินการศึกษาและรวบรวมมา ควรปรากฏอยู่ในบทใด

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-4100-1 หน้า 110 – 111)การเขียนรายงานการวิจัยในส่วนเนื้อเรื่อง โดยทั่วไปประกอบด้วยเนื้อหา 5 บท ดังนี้

1 บทที่ 1 บทนํา ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา วัตถุประสงค์สมมุติฐานในการวิจัย ขอบเขต ข้อจํากัด ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับและนิยามศัพท์ที่ใช้ ในการวิจัย

2 บทที่ 2 กรอบแนวคิด ทฤษฎี วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

3 บทที่ 3 วิธีการ/ระเบียบวิธี (Methodology) ที่ใช้ในการวิจัยหรือระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วย ประเภทการวิจัย ประชากร (Population) กลุ่มตัวอย่าง ขนาดกลุ่มตัวอย่าง วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและวิธีการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล

4 บทที่ 4 ผลการวิจัยหรือผลการวิเคราะห์ข้อมูล

5 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ

85 การทบทวนเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ควรปรากฏอยู่ในบทใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

86 วัตถุประสงค์ สมมุติฐาน ขอบเขต และข้อจํากัดของงานวิจัย ควรปรากฏอยู่ในบทใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

87 หากนักศึกษาต้องการอธิบายถึงขั้นตอนในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาควรรายงานไว้ในบทใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

88 การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรปรากฏอยู่ในบทใด

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

89 หากอาจารย์ถามนักศึกษาว่า “งานวิจัยฉบับนี้มีความสําคัญอย่างไร เพราะเหตุใดนักศึกษาต้องศึกษาและใช้เวลาในการทํางานวิจัยฉบับนี้ขึ้นมา…” นักศึกษาจะให้อาจารย์ท่านนั้นไปอ่านงานวิจัยบทใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

90 หากนายภพธรอยากทราบว่า เพราะเหตุใดผลงานวิจัยที่คุณไปรยาได้ทํานั้น จึงได้ผลการศึกษาที่แตกต่างจากงานวิจัยของผู้ที่ทําไว้ก่อนหน้านี้แล้ว นายภพธรควรศึกษาที่งานวิจัยบทใดของคุณไปรยา

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

91 การเรียงงานวิจัยตามรายชื่อบุคคลหรือปีที่มีการเผยแพร่ต่อ ๆ กันไปเรื่อย ๆ เรียกว่าอะไร

(1) ขนมเปียกปูน

(3) ขนมสาลี

(4) ขนมปัง

(5) ขนมปั้นสิบ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเรียงงานวิจัยตามรายชื่อบุคคลหรือปีที่มีการเผยแพร่ต่อ ๆ กันไปเรื่อย ๆเรียกว่า ขนมชั้น หรือคอนโดงานวิจัย

92 หากนายเอกมัยต้องการทราบว่า นายหมอชิดไปทําการคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาหรือไม่ นายเอกมัยต้องใช้โปรแกรมใดในการตรวจสอบผลงานของนายหมอชิด

(1) Turn it down

(2) Turn it up

(3) อักขราวิสุทธิ์

(4) อักขราบริสุทธิ์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ใช้ในการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการตรวจสอบงานเขียนเพื่อค้นหาข้อความที่อาจจะเป็นการลอกเลียนแบบผลงานของผู้อื่น

93 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย”

(1) ชื่อภาษาอังกฤษคือ Thai – Journal Citation Index หรือ TCI (2) ทําหน้าที่คํานวณและรายงานคํา Journal Impact Factors ของวารสารวิชาการไทย

(3) ดําเนินการจัดวารสารวิชาการออกเป็น 4 กลุ่ม

(4) วารสารในกลุ่มที่ 1 จะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index ต่อไป

(5) ทําการวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อนําไปสู่การยกระดับผลงานวิจัยไทยในเวทีนานาชาติ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อที่ถูกต้อง คือ

1 ชื่อภาษาอังกฤษคือ Thai – Journal Citation Index หรือ TCI 2 ทําหน้าที่คํานวณและรายงานคํา journal Impact Factors ของวารสารวิชาการไทย

3 ดําเนินการจัดวารสารวิชาการออกเป็น 3 กลุ่ม

4 วารสารในกลุ่มที่ 1 จะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index ต่อไป

5 ทําการวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อนําไปสู่การยกระดับผลงานวิจัยไทยในเวทีนานาชาติ

94 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการเขียนบทคัดย่อ (Abstract)

(1) บทคัดย่อที่ดีควรทําเป็นภาษาเดียวเท่านั้น

(2) เป้าหมายหลักของการเขียนบทคัดย่อคือการนําไปใช้ในการบริหารงาน (3) บทคัดย่อที่ดีควรมีความยาวมากกว่า 5 หน้าขึ้นไป

(4) บทคัดย่อที่ดีควรแสดงวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้มีความครบถ้วนชัดเจน (5) บทคัดย่อที่ดีไม่ควรแสดงผลการศึกษาเนื่องจากผู้อ่านจะไม่อยากติดตามอ่านต่อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 83 ประกอบ

95 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเขียนบทสรุปสําหรับผู้บริหาร (Executive Summary)

(1) เป้าหมายหลักของการเขียนบทคัดย่อคือการนําไปใช้ในการบริหารงาน (2) ไม่ควรระบุสิ่งที่ไม่ปรากฏในเนื้อเรื่องและนําเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำ

(3) ควรรักษาบทสรุปสําหรับผู้บริหารให้มีความยาวไม่เกิน 3 – 5 หน้ากระดาษ A4

(4) ต้องไม่ปรากฏรูปภาพและตารางใด ๆ ในบทสรุปสําหรับผู้บริหาร

(5) ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อและเอกสารอ้างอิงในบทสรุปสําหรับผู้บริหาร

ตอบ 4 (คําบรรยาย) บทสรุปสําหรับผู้บริหาร (Executive Summary) มีลักษณะดังนี้

1 เป็นข้อความโดยสรุปจากรายงานการวิจัยที่กะทัดรัด ชัดเจน และครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด

2 ช่วยประหยัดเวลาของผู้บริหารในการทราบถึงสาระสังเขปของงานวิจัยทั้งหมด

3 ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อและเอกสารอ้างอิง

4 ควรรักษาความยาวให้อยู่ระหว่าง 3 – 5 หน้ากระดาษ A4

5 เป้าหมายหลักของการเขียนบทคัดย่อคือการนําไปใช้ในการบริหารงาน

96 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย

(1) ความถูกต้อง

(2) ความกํากวมระมัดระวัง

(3) การอ้างอิง

(4) ถ้อยคําสุภาพ

(5) ความตรงประเด็น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เทคนิคในการเขียนรายงานการวิจัย มีดังนี้

1 ความเป็นเอกภาพและกลมกลืน

2 ความตรงประเด็น กะทัดรัด

3 ความสํารวมระมัดระวังถ้อยคําสุภาพ และภาษาที่ใช้

4 ความชัดเจน และความต่อเนื่อง

5 ความถูกต้อง

6 การอ้างอิง ฯลฯ

97 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ควรปรากฏอยู่ในการนําเสนอผลงานวิจัยด้วยโปสเตอร์

(1) ชื่อเรื่อง

(2) ภาคผนวก

(3) บทนําและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

(4) วิธีดําเนินการวิจัย

(5) ผลการวิจัย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่จําเป็นของการนําเสนองานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ มีดังนี้

1 ชื่อเรื่อง

2 บทคัดย่อ

3 บทนําและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

4 ผลการวิจัย

98 คําใดต่อไปนี้หมายถึง “การนําเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา”

(1) Oral Presentation

(2) Mouth Presentation

(3) Speaking Presentation

(4) Talking Presentation

(5) Poster Presentation

ตอบ 1 หน้า 320, (คําบรรยาย) การนําเสนองานวิจัยด้วยวาจา (Oral Presentation) เป็นการรายงานข้อค้นพบจากการวิจัยและข้อเสนอแนะด้วยวาจาต่อที่ประชุม และนําเสนอ ไม่มีรูปแบบที่เคร่งครัด ความยาวไม่มากเกินไป ซึ่งผู้วิจัยควรเตรียมตัวนําเสนอเฉพาะช่วงที่นําเสนอเท่านั้นเพื่อความสมจริง อาจนําเสนอด้วยแบบสไลด์หรือ Power Point ก็ได้ ตั้งแต่ข้อ

99 – 100 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้โดยให้มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับโจทย์คําถาม

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(3) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(4) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

(5) งานวิจัยเชิงวัฒนธรรม

99 อาจารย์แจ๊สต้องการทราบว่า ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยประสบความสําเร็จหรือล้มเหลวเพื่อนําเสนอต่อรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ งานวิจัยของอาจารย์แจ๊สจัดเป็นงานวิจัยประเภทใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

100 ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษต้องการให้มีนักวิจัยศึกษาถึงกระบวนการแก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินทํากินเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับคนในพื้นที่ และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่น งานวิจัยดังกล่าว จัดเป็นงานวิจัยประเภทใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

Advertisement