การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3316 การบริหารรัฐวิสาหกิจ
คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ โดยข้อที่ 1 บังคับทํา ถ้าไม่ทําถือว่าสอบไม่ผ่าน
ข้อ 1 จงอธิบายความหมาย ความสําคัญ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ลักษณะ และรูปแบบการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ
แนวคําตอบ
ความหมายของรัฐวิสาหกิจ
เกศินี หงสนันทน์ กล่าวว่า รัฐวิสาหกิจ หมายถึง องค์การซึ่งรัฐบาลกลางควบคุมและเป็นเจ้าของ ทั้งนี้เพื่อที่จะปรับปรุงภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคง และยกฐานะของประชาชนในประเทศให้มี ความเป็นอยู่ดีขึ้น
ติน ปรัชญพฤทธิ์ กล่าวว่า รัฐวิสาหกิจ คือ กิจการต่าง ๆ ของรัฐแต่บริหารงานเชิงธุรกิจ กิจการของรัฐที่บริหารงานเชิงธุรกิจดังกล่าวนี้อาจรวมถึงกิจการทางด้านการสื่อสาร สาธารณูปโภค การคมนาคม สถาบัน การเงิน การประกันภัย โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานอุตสาหกรรม ศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยว การวิจัย ฯลฯ ซึ่ง รัฐวิสาหกิจเหล่านี้อาจจะจัดตั้งภายใต้กฎหมาย และกฎเกณฑ์หลายประการ คือ
1 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ เช่น การท่าเรือแห่งประเทศไทย
2 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีลักษณะเป็นบริษัทจํากัด ซึ่งรัฐบาลถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 เช่น บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน)
3 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาที่ให้อํานาจไว้โดยพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496 เช่น องค์การตลาด
4 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยประกาศคณะปฏิวัติ เช่น การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
5 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี รัฐวิสาหกิจโดยนัยนี้ไม่ได้เป็นนิติบุคคลแต่กระทรวงการคลังเป็นเจ้าของ เช่น โรงงานยาสูบ ฃ
6 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นมาตามนัยของกฎหมายธนาคารพาณิชย์ที่รัฐบาลถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 10 เช่น ธนาคารกรุงไทย ความสําคัญของรัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งของการบริหารจัดการในภาครัฐ และเป็นเครื่องมือ ในการส่งเสริม พัฒนา และรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ การดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจส่วนมาก เป็นการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งจําเป็นในการดํารงชีวิตของประชาชน เช่น ด้านพลังงาน ด้านการสื่อสาร ด้านการคมนาคม ด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งกิจการสาธารณะเหล่านี้ต้องใช้เงินทุนในการดําเนินการสูง แต่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำและมีอัตราการคืนทุนที่ใช้ระยะเวลานาน ทําให้เอกชนขาดความสนใจที่จะ เข้ามาลงทุน ดังนั้นรัฐจึงต้องเข้ามาดําเนินการเองในรูปแบบของ “รัฐวิสาหกิจ” เพื่อให้ประชาชนได้รับการ ยกระดับคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น และสามารถใช้บริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้
1 เพื่อจัดทําบริการสาธารณะ
2 เพื่อส่งเสริมสังคมและวัฒนธรรม
3 เพื่อความมั่นคงของประเทศ
4 เพื่อควบคุมสินค้าอันตราย
5 เพื่อประโยชน์ในด้านการคลังและเสริมรายได้ให้แก่รัฐ
6 เพื่อเป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพของราคาสินค้าและบริการ
7 เพื่อเป็นเครื่องมือในการดําเนินธุรกิจแทนรัฐ
8 เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เอกชนในการดําเนินธุรกิจ
9 เพื่อต้องการประชาสัมพันธ์ประเทศ
ลักษณะของรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้
1 เป็นกิจการที่รัฐบาลเข้ามาดําเนินงานร่วมกับเอกชนหรือกลุ่มบุคคล
2 เป็นกิจการที่รัฐบาลเข้ามาดําเนินงานแบบธุรกิจ ไม่ใช่ในฐานะผู้ปกครอง
3 เป็นกิจการที่มีอิสรภาพทางการบริหารและการจัดการทรัพยากรของตนเองภายใต้เงื่อนไขของกฎหมาย และนโยบายของรัฐบาล
4 การจัดโครงสร้างขององค์การรัฐวิสาหกิจควรมีลักษณะพิเศษที่เหมาะสมแก่การบริหารงาน
5 ผู้ใช้บริการ คือบุคคลที่จะต้องจ่ายค่าบริการของสินค้านั้น ๆ
6 ราคาของสินค้าและบริการอาจจะมีความผันแปรไปตามความต้องการของผู้บริโภคหรือกลไกของราคาตลาด
7 ประสิทธิภาพและความต่อเนื่องของการบริหารในด้านต่าง ๆ จะต้องมีความคล้ายคลึงกับบริษัทเอกชน
รูปแบบการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบ คือ
1 การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามหน่วยงานราชการที่สังกัด ตัวอย่างเช่น
1) สํานักนายกรัฐมนตรี มีรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในการกํากับดูแล 1 แห่ง คือ บริษัท อสมท จํากัด (มหาชน)
2) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในการกํากับดูแล 2 แห่ง คือ การกีฬาแห่งประเทศไทย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
3) กระทรวงสาธารณสุข มีรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในการกํากับดูแล 1 แห่ง คือ องค์การเภสัชกรรม
2 การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามกลุ่มสาขา ตัวอย่างเช่น
1) สาขาพลังงาน แบ่งออกเป็น 4 รัฐวิสาหกิจ คือ การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
2) สาขาสื่อสาร แบ่งออกเป็น 4 รัฐวิสาหกิจ คือ บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด และ บริษัท อสมท จํากัด (มหาชน)
3 การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามกฎหมาย แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มประเภทของการจัดตั้ง ดังนี้
1) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจัดตั้งโดยพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511
2) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามพระราชกําหนด เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบัน จัดตั้งโดยพระราชกําหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบัน พ.ศ. 2540
3) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามพระราชกฤษฎีกา เช่น องค์การสวนยาง จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนยาง พ.ศ. 2504
4) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด เช่น บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ บริษัทมหาชน จํากัด พ.ศ. 2535
5) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามคณะปฏิวัติ เช่น การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จัดตั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 พ.ศ. 2515
6) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามระเบียบหรือข้อบังคับ เช่น องค์การสุรา จัดตั้งขึ้นโดยระเบียบจัดตั้งองค์การสุรา กรมสรรพสามิต พ.ศ. 2506
4 การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามวัตถุประสงค์ เช่น การจัดตั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสรรค์สร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการให้บริการด้านพลังงานที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ในราคา ที่เหมาะสม เป็นธรรม และรักษาความสมดุลกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ข้อ 2 จงอธิบายความหมาย หลักการ บทบาทและขอบเขตของการบริการสาธารณะ
แนวคําตอบ
ความหมายของการบริการสาธารณะ
นันทวัฒน์ บรมานันท์ ได้อธิบายว่า การบริการสาธารณะ คือ กิจกรรมประเภทหนึ่งซึ่งรัฐ มีหน้าที่ต้องจัดทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวม เป็นการให้บริการแก่ประชาชน หรือ การดําเนินการอื่นเพื่อสนองความต้องการของประชาชน
เทพศักดิ์ บุญยรัตพันธุ์ ให้ความหมายว่า การบริการสาธารณะ หมายถึง การที่บุคคล กลุ่มบุคคล หรือหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณะ ซึ่งอาจจะเป็นของรัฐหรือเอกชน มีหน้าที่ ในการส่งต่อการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของประชาชน โดยส่วนรวม การให้บริการสาธารณะมีลักษณะที่เป็น “ระบบ” มีองค์ประกอบที่สําคัญ 6 ส่วน คือ
1 สถานที่และบุคคลที่ให้บริการ
2 ปัจจัยนําเข้าเรือทรัพยากร
3 กระบวนการและกิจกรรม
4 ผลผลิตหรือบริการ
5 ช่องทางการให้บริการ
6 ผลกระทบที่มีต่อผู้รับบริการ
หลักการให้บริการสาธารณะ ปราโมทย์ สัจจรักษ์ กล่าวถึง หลักสําคัญเกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะไว้ 5 ประการ คือ
1 บริการสาธารณะเป็นกิจการที่อยู่ในความควบคุมของฝ่ายปกครอง
2 บริการสาธารณะมีวัตถุประสงค์ในการสนองตอบความต้องการส่วนรวมของประชาชน
3 การจัดระเบียบและวิธีดําเนินการบริการสาธารณะย่อมจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เสมอเพื่อให้เหมาะสมแก่ความจําเป็นแห่งกาลสมัย
4 บริการสาธารณะจะต้องจัดดําเนินการอยู่เป็นนิจและโดยสม่ำเสมอ ไม่มีการหยุดชะงักถ้าบริการสาธารณะหยุดชะงักด้วยประการใด ๆ ประชาชนย่อมได้รับความเดือดร้อนหรือได้รับความเสียหาย
5 เอกชนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะเท่าเทียมกัน การให้บริการสาธารณะมีเป้าหมายที่สําคัญ คือ การสร้างความพึงพอใจในการให้บริการแก่ประชาชน
บทบาทและขอบเขตของการบริการสาธารณะ
1 ด้านสังคม การบริการสาธารณะด้านสังคมเป็นรูปแบบของการบริการที่เกิดขึ้นจาก ความรู้สึกที่ต้องการตอบสนองความมีน้ําใจ และความปรารถนาดีที่มุ่งหวังให้ผู้รับบริการหรือประชาชนได้รับ ความสะดวกสบาย เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดยการบริการสาธารณะ ทางด้านสังคม ได้แก่
1) การบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน คือ ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น การเก็บขยะการติดตั้งไฟแสงสว่าง น้ำประปา คลองชลประทาน
2) การบริการสาธารณะด้านสุขภาพ เช่น การป้องกันโรคระบาด การรักษาพยาบาล
3) การบริการสาธารณะด้านสื่อสารและโทรคมนาคม เช่น การไปรษณีย์ โทรศัพท์
4) การบริการสาธารณะด้านนันทนาการและการกีฬา เช่น สวนสาธารณะ ลานกีฬา
5) การบริการสาธารณะด้านการประกันภัย เช่น การประกันราคาผลผลิตทางการเกษตร การประกันการว่างงาน
2 ด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญต่อระบบ เศรษฐกิจของประเทศทั้งในระดับมหภาคและระดับจุลภาค และนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคม โดยนโยบายทางด้านเศรษฐกิจมักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง นโยบายการส่งเสริม การลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ นโยบายการประกันสังคมและสวัสดิการ นโยบายการเกษตร นโยบาย ที่อยู่อาศัย นโยบายทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ นโยบายการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และนโยบาย การกําหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
จุดมุ่งหมายของการบริการสาธารณะด้านเศรษฐกิจ มีดังนี้
1) เพื่อให้มีการผลิตสินค้าและบริการมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้รายได้ของคนสูงขึ้น
2) เพื่อให้เกิดความสมดุลและความมีเสถียรภาพของตลาดในประเทศ
3) เพื่อให้มีการกระจายรายได้ และการกําหนดราคาที่ทําให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ใกล้เคียงกัน
4) เพื่อให้มีเสรีภาพ และมีอิสระในการเลือกอาชีพและเลือกวิถีการดํารงชีวิตของแต่ละคน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน
5) เพื่อให้ฐานะทางการเงินของประเทศมีความมั่นคง
6) เพื่อให้มีความสงบทั้งภายในและภายนอกประเทศ
7) เพื่อให้ประชาชนได้รับสวัสดิการจากภาครัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
3 ด้านการปกครอง การบริการสาธารณะทางด้านการปกครองเป็นกิจกรรมสาธารณะที่ รัฐทําหน้าที่ในงานด้านการปกครองจะต้องจัดกระทํา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ประกอบกับบริบทของงานสาธารณะด้านการปกครองเป็นหน้าที่เฉพาะของฝ่ายปกครองที่ต้องอาศัยเทคนิคพิเศษ ในการดําเนินงาน รวมทั้งการมอบอํานาจให้ฝ่ายปกครองในการจัดทําบริการสาธารณะที่มีลักษณะทางการปกครอง และมีการกําหนดวิธีปฏิบัติงานที่รัฐกําหนดขึ้นมาเพื่อเป็นแบบแผนเดียวกัน มาตรฐานเดียวกัน และเป็นระบบเดียวกัน ในการบังคับบัญชา ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ไม่สามารถให้เอกชนเข้ามาดําเนินการแทนได้ และโดยมากบริการสาธารณะ ด้านการปกครองเป็นกิจกรรมที่รัฐจัดทําขึ้นโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม เช่น ตํารวจทําหน้าที่ในการ รักษาความสงบสุขภายในประเทศ ทหารทําหน้าที่ในการป้องกันประเทศ ข้าราชการฝ่ายปกครองทําหน้าที่ในการ เอื้ออํานวยสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชน เช่น ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน เป็นต้น
ข้อ 3. จงอธิบายคุณลักษณะของระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ และเศรษฐกิจ และทั้งสามมีความสัมพันธ์กัน
แนวคําตอบ
คุณลักษณะของระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ และเศรษฐกิจ
ระบบราชการ ตามคํานิยามของวิเชียร วิทยาอุดม หมายถึง ระบบขนาดใหญ่ของโครงสร้าง ทางสังคมที่ถูกออกแบบมาเพื่อรับใช้รัฐ อาจเป็นชนชั้นปกครองหรือเป็นประชาชนก็ได้ เป็นสถาบันทางสังคม และการเมืองที่สําคัญและเป็นกลุ่มผลประโยชน์อย่างหนึ่งในโครงสร้างทางสังคมและการเมือง โดยถือว่าเป็น การจัดองค์การรูปแบบหนึ่งที่มีโครงสร้างระดับชั้นการทํางานที่ชัดเจน มีรูปแบบการจัดการที่เป็นเอกลักษณ์ มีการสร้างกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับขึ้นเป็นแนวทางการทํางานอย่างเคร่งครัด เน้นการทํางานที่เป็นทางการ มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ความสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงานขึ้นอยู่กับตําแหน่งงานของบุคคลนั้นเป็นสําคัญ มีการทํางาน ที่เชื่องช้า ปรับตัวเชื่องช้าไม่คล่องตัว การคัดเลือก การพัฒนาบุคลากร การพ้นจากตําแหน่งมีระเบียบและ แนวทางปฏิบัติที่มีความชัดเจน รวมถึงมีการทํางานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่คํานึงถึงความสัมพันธ์ส่วนตัว ของปัจเจกบุคคล
รัฐวิสาหกิจ ตามนิยามของดิน ปรัชญพฤทธิ์ หมายถึง กิจการต่าง ๆ ของรัฐแต่บริหารงาน เชิงธุรกิจ กิจการของรัฐที่บริหารงานเชิงธุรกิจดังกล่าวนี้อาจรวมถึงกิจการทางด้านการสื่อสาร สาธารณูปโภค การคมนาคม สถาบันการเงิน การประกันภัย โรงกลั่นน้ํามัน โรงงานอุตสาหกรรม ศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยว การวิจัย ฯลฯ ซึ่งรัฐวิสาหกิจเหล่านี้อาจจะจัดตั้งภายใต้กฎหมายและกฎเกณฑ์หลายประการ เช่น จัดตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติ ประกาศคณะปฏิวัติ ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เป็นต้น
ระบบเศรษฐกิจ คือ ระบบที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนที่ดําเนินการในด้านต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการผลิตสินค้าและบริการที่มุ่งเน้นที่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชน และนําไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ และเศรษฐกิจ
ภาครัฐมีหน้าที่ให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน แต่เนื่องจากการจัดทําบริการสาธารณะใน ระบบราชการมีข้อจํากัดหลายประการ เช่น ระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ของทางราชการที่ไม่ก่อให้เกิดความคล่องตัว ในการดําเนินงานและเกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ดังนั้นหากจะนําเอาระบบราชการไปจัดทําบริการสาธารณะบางประเภทที่มีลักษณะกึ่งการดําเนินธุรกิจเช่นเดียวกับการดําเนินธุรกิจของภาคเอกชนอาจทําให้เกิดความไม่เหมาะสม และไม่เกิดผลดี ด้วยเหตุดังกล่าวจึงมีการสร้างองค์การขึ้นมาใหม่ที่มีการดําเนินงานที่ผ่อนคลายจากกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของทางราชการ เรียกว่า รัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจเป็นหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลมีวัตถุประสงค์ หลายประการด้วยกันทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยวัตถุประสงค์ทางด้านเศรษฐกิจก็คือการรักษา เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโต ดังนั้นรัฐบาลจึงจัดตั้ง รัฐวิสาหกิจเพื่อเป็นเครื่องมือทางด้านเศรษฐกิจ ดังนี้
1 เป็นเครื่องมือในการดําเนินธุรกิจแทนรัฐ ในกรณีที่สังคมใดต้องการสิ่งอํานวยความสะดวก หรือบริการใหม่ ๆ ซึ่งเอกชนยังไม่มีความพร้อมในการดําเนินการหรือเอกชนดําเนินการอยู่แล้วแต่ไม่ประสบผลดี เท่าที่ควร รัฐอาจจัดตั้งรัฐวิสาหกิจเข้ามาดําเนินกิจการนั้น โดยอาจเข้ามาดําเนินการเอง หรือเข้าควบคุมหรือ ถือหุ้นข้างมากหากเอกชนดําเนินกิจการนั้น ๆ อยู่แล้วโดยมิได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเดิมของกิจการแต่อย่างใด เช่น กิจการโทรศัพท์และวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น
2 เป็นตัวอย่างแก่เอกชนในการดําเนินธุรกิจ ในการดําเนินกิจการบางประเภทที่มีความสําคัญ ทางเศรษฐกิจที่เป็นบริการรากฐานที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐอาจเป็นผู้ริเริ่ม ดําเนินการก่อนด้วยเหตุผลที่ว่าเอกชนไม่มีความรู้หรือประสบการณ์เชิงอุตสาหกรรมหรือพาณิชย์ในเรื่องนั้นมาก่อน จึงเกิดความไม่มั่นใจในการ “คุ้มทุน” และ “ผลกําไร” ที่จะบังเกิดขึ้นจากธุรกิจนั้น หรือไม่สนใจในการดําเนินการ เมื่อรัฐได้ดําเนินการมาระยะหนึ่งจนประสบความสําเร็จและเป็นตัวอย่างที่ดี เอกชนก็อาจจะตัดสินใจเข้ามา ดําเนินการบ้าง เช่น กิจการขนส่งมวลชน การจัดสร้างที่พักอาศัย การสร้างเส้นทางคมนาคม เป็นต้น
3 เป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพของราคาสินค้าและบริการ รัฐบาลจะใช้รัฐวิสาหกิจ บางประเภทเป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพของราคาสินค้าและบริการบางอย่างในกรณีที่ราคาสินค้าต่าง ๆ มีราคาสูงขึ้น ซึ่งจะทําให้ผู้บริโภคเดือดร้อน
4 เพื่อประโยชน์ในด้านการคลังและเสริมรายได้ให้แก่รัฐ รัฐวิสาหกิจเป็นกลไกที่สําคัญ ในการรักษาเสถียรภาพด้านการเงินการคลังของประเทศ โดยรัฐบาลใช้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการกํากับ ฐานะดุลการคลังโดยรวมของภาครัฐด้วยการกํากับการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสากิจให้สอดคล้องกับรายได้ที่สามารถ จัดหาได้เพื่อให้มีฐานะดุลงบประมาณที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการรักษาเสถียรภาพด้านการคลังของประเทศ