การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LIS 1003 การใช้ห้องสมุด

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 60 ข้อ)

1 ผลการวิเคราะห์ข่าวที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์รายวัน มีความหมายตรงกับข้อใด

(1) สารสนเทศ

(2) ข้อมูล

(3) ความรู้

(4) ปัญญา

ตอบ 1 หน้า 3, 5, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 3), (คําบรรยาย) ความหมายของคําว่า“ข้อมูล” และ “สารสนเทศ” มีดังนี้

1 ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ เช่น ข่าวจาก หนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ ข่าวซุบซิบ ข่าวลือ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การโฆษณาสินค้าการหาเสียงของนักการเมือง การกล่าวหาหรือโจมตีคู่แข่งทางการเมือง เป็นต้น

2 สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกิดจากข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ และประมวลผลแล้ว ตลอดทั้งความรู้สึกนึกคิด ของมนุษย์ ซึ่งบันทึกลงในสื่อหรือวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอดและเผยแพร่ได้ ดังนั้นสารสนเทศจึงมีความถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้มากกว่าข้อมูล เพราะสามารถ นํามาช่วยแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินใจได้ เช่น ผลการวิเคราะห์ข่าวที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น

2 The Code of Hummurabi เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติใด

(1) บาบิโลเนียน

(2) อียิปต์

(3) สุเมเรียน

(4) กรีก

ตอบ 1 หน้า 7 ชาวบาบิโลเนียนเป็นชนชาติที่มีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ลงบนแผ่นดินเหนียวเช่น เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้า วรรณกรรม การปกครอง ประวัติศาสตร์ ศาสนา และกฎหมาย โดยกฎหมายที่สําคัญของยุคนี้ก็คือ “ประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราย” (The Code of Hummurabi) เป็นกฎหมายที่มีลักษณะเข้มงวดแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน และเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของโลกที่จารึกด้วยอักษรคูนิฟอร์มลงบนแผ่นหินสีดําซึ่งในปัจจุบันได้เก็บเอาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ประเทศฝรั่งเศส

3 หอพระมณเฑียรธรรม เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด

(1) หอหลวง

(2) หอไตร

(3) หอระฆัง

(4} หอจดหมายเหตุ

ตอบ 2 หน้า 10 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 11) ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอพระมณเฑียรธรรมขึ้นกลางสระน้ำ ตรงมณฑปของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว ในบริเวณพระบรมมหาราชวังเมื่อ พ.ศ. 2326 ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นที่เก็บคัมภีร์พระไตรปิฎก ดังนั้น จึงนับได้ว่าหอพระมณเฑียรธรรมเป็นหอไตรหรือหอพระไตรปิฎกหรือห้องสมุดวัด ซึ่งทําหน้าที่เป็นหอสมุดพุทธศาสนาของหลวงหลังแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

4 การติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับหัวใจนักปราชญ์ในข้อใด

(1) สุตตะ

(2) จินตะ

(3) ปุจฉา

(4) ลิขิต

ตอบ 1 หน้า 20, (คําบรรยาย) หลักของหัวใจนักปราชญ์ ได้แก่ “สุ จิ ปุ ลิ” มีดังนี้

1 สุ (สุต หรือสุตตะ) คือ การรับฟังหรือการรับสารทั้งปวง รวมทั้งการอ่านหนังสือการติดตามข่าวสาร และการค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ

2 จิ (จินตนะ หรือจินตะ) คือ การคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ หรือพิจารณากลั่นกรองข้อมูลก่อนตัดสินใจทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

3 ปุ (ปุจฉา) คือ การไต่ถามหรือเสวนาหาคําตอบจากผู้รู้

4 ลิ (ลิขิต) คือ การเขียนหรือการจดบันทึกข้อมูล

5 การตรวจสอบความถูกต้องของการสะกดคํา “กัลปาวสาน” จากหนังสือพจนานุกรม จัดเป็นการอ่านรูปแบบใด

(1) การอ่านคร่าว ๆ

(2) การอ่านอย่างวิเคราะห์

(3) การอ่านเพื่อเก็บรายละเอียด

(4) การอ่านอย่างเจาะจง

ตอบ 4 หน้า 18 การอ่านอย่างเฉพาะเจาะจง (Scanning) เป็นการอ่านเพื่อค้นหาคําตอบเฉพาะเรื่องซึ่งผู้อ่านไม่จําเป็นต้องเสียเวลาอ่านตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย แต่ให้ผู้อ่านกวาดสายตา ไปตลอดหน้ากระดาษเพื่อหาสิ่งที่ต้องการ โดยการอ่านในลักษณะนี้มักจะนิยมใช้กับการค้นหา ความรู้จากหนังสืออ้างอิงประเภทต่าง ๆ เช่น การค้นหาความหมายและการสะกดคําที่ถูกต้อง จากหนังสือพจนานุกรม, การค้นหาคําตอบจากหนังสือสารานุกรม, การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับองค์การและสถาบันต่าง ๆ ในหนังสือนามานุกรม ฯลฯ

6 สถานที่เก็บเอกสารโบราณที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม หมายถึงข้อใด

(1) พิพิธภัณฑ์

(2) หอจดหมายเหตุ

(3) ศูนย์สารสนเทศ

(4) ห้องสมุดเฉพาะ

ตอบ 2 หน้า 36 หอจดหมายเหตุ เป็นหน่วยงานสารสนเทศที่เก็บรวบรวมรักษาเอกสารจดหมายเหตุที่สําคัญ ๆ ไว้มากที่สุด เช่น เอกสารทางราชการ จดหมายโต้ตอบ บันทึกส่วนตัว ฯลฯ ซึ่งเป็น เอกสารโบราณหรือเอกสารเก่าย้อนหลังที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศหรือของทาง ราชการ หน่วยงานเอกชนและบุคคล เพื่อรวบรวมเหตุการณ์ที่ผ่านมา เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง ทางประวัติศาสตร์ กฎหมาย วิชาการ หรือการค้นคว้าวิจัย และเพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป เช่น หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ

7 หน่วยงานใดที่ทําหน้าที่ในการกําหนดเลข ISBN ให้กับหนังสือที่จัดพิมพ์ในประเทศไทย (1) หอสมุดแห่งชาติ

(2) สํานักงานสถิติแห่งชาติ

(3) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

(4) สํานักราชบัณฑิตยสภา

ตอบ 1 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 24) หอสมุดแห่งชาติจะมีหน้าที่สําคัญประการหนึ่ง คือ เป็นศูนย์ข้อมูลและกําหนดหมายเลขสากลประจําวารสารแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ISSN) และกําหนดหมายเลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ (ISBN) สําหรับหนังสือที่จัดพิมพ์ ในประเทศไทย

8หน่วยงานใดของสํานักหอสมุดกลาง ม.ร. ที่ให้บริการจุลสาร

(1) ฝ่ายบริการวารสารและเอกสาร

(2) ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์

(3) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

(4) ฝ่ายบริการผู้อ่าน

ตอบ 1 หน้า 40 – 41 ฝ่ายบริการวารสารและเอกสาร จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหา พิจารณาคัดเลือกและประเมินคุณค่าวารสาร จัดทําดรรชนีและสาระสังเขปบทความจากวารสารและเอกสาร จัดทําบรรณานุกรมวารสาร รวมทั้งให้บริการวารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสารสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง และเอกสารทั่ว ๆ ไป ตลอดจนจัดทํากฤตภาคไว้ให้บริการ

9 ข้อใดหมายถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด

(1) วิดีโอคลิปละครบุพเพสันนิวาสออกอากาศแต่ละตอน

(2) วิดีโอคลิปละครบุพเพสันนิวาสจัดเป็นระบบหมวดหมู่

(3) วิดีโอคลิปละครบุพเพสันนิวาสที่เตรียมกําลังออกอากาศ

(4) วิดีโอคลิปละครบุพเพสันนิวาสที่กําลังดําเนินการแสดง

ตอบ 2 หน้า 55, 76, 153 – 134 ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด หมายถึง แหล่งสารสนเทศทุก ๆรูปแบบที่ห้องสมุดได้จัดเลือก จัดหา วิเคราะห์ และจัดระบบหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งตีพิมพ์บนแผ่นกระดาษ สิ่งบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยมือ สื่อโสตทัศน์ (เช่น แถบวีดิทัศน์ วิดีโอคลิปต่าง ๆ ฯลฯ) วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนฐานข้อมูล ออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิกและจัดประเภทพร้อมให้บริการ รวมทั้งบรรณารักษ์ หรือบุคลากรบริการสารสนเทศที่ทําหน้าที่ให้บริการและช่วยผู้ใช้ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

10 บุพเพสันนิวาส จัดเป็นสื่อตีพิมพ์ประเภทใด

(1) บันเทิงคดี

(2) สารคดี

(3) ตํารา

(4) วารสาร

ตอบ 1 หน้า 56 หนังสือบันเทิงคดี (Fiction) หมายถึง หนังสือที่เขียนขึ้นจากจินตนาการหรือประสบการณ์ของผู้แต่ง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินและข้อคิดคติชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น และกวีนิพนธ์

11 ข้อใดกล่าวถึงบรรณานุกรม

(1) ส่วนที่ช่วยอธิบายข้อความบางตอนที่ปรากฏในเนื้อหา

(2) บัญชีรายชื่อหนังสือที่ปรากฏในท้ายเล่มของหนังสือ

(3) บัญชีคําหรือวลีที่ปรากฏในตอนท้ายของหนังสือ

(4) ส่วนที่ให้คําอธิบายคํายากหรือคําศัพท์เฉพาะ

ตอบ 2 หน้า 64, 129, 254, 275 บรรณานุกรม (Bibliography) เป็นบัญชีรายชื่อหนังสือ เอกสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องต่าง ๆ ที่ผู้แต่งใช้เป็นหลักฐานประกอบการเขียนหนังสือเล่มนั้น โดยอาจ อยู่ท้ายบทหรือท้ายเล่มก็ได้ หรืออาจจัดทําเป็นตัวเล่มหนังสือที่รวบรวมรายชื่อและรายละเอียด ของทรัพยากรสารสนเทศ เช่น รายชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ครั้งที่พิมพ์ สํานักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ และ ปีที่พิมพ์ เพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติมและให้ความมั่นใจแก่ผู้อ่านว่าเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้นมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เพราะผู้เขียนได้ค้นคว้าอย่างมีหลักฐาน

12 ข้อใดเป็นส่วนประกอบสําคัญของวารสารที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

(1) รูปภาพและอักษรบนปก

(2) ภาพข่าวและรูปภาพ

(3) ความนําและอักษรบนปก

(4) พาดหัวข่าวและรูปภาพ

ตอบ 1 หน้า 65 ส่วนประกอบของวารสารมี 3 ส่วน คือ

1 ปกวารสาร (Cover) เป็นส่วนประกอบที่สําคัญ ประกอบด้วย ชื่อวารสาร ฉบับที่ ปีที่ เดือนปี และราคา แต่องค์ประกอบที่สําคัญที่สุดก็คือ รูปภาพ (เป็นภาพเขียนหรือภาพถ่ายก็ได้)และอักษรบนปก ซึ่งสามารถดึงดูดให้ผู้อ่านสนใจวารสารแต่ละฉบับเพิ่มมากขึ้น

2 สารบาญหรือสารบัญ (Contents) จะบอกให้ทราบถึงลําดับของเนื้อเรื่องในฉบับโดยมีชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน เลขหน้า และรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับวารสาร

3 คอลัมน์ต่าง ๆ (Columns) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับวารสารแต่ละประเภท

12 พลังอนาคตใหม่ได้จัดพิมพ์แผ่นพับเพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนที่สนใจการเมือง จัดเป็นทรัพยากร สารสนเทศประเภทใด

(1) กฤตภาค

(2) จุลสาร

(3) วารสาร

(4) ต้นฉบับตัวเขียน

ตอบ 2 หน้า 66 67 จุลสาร (Pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ทันสมัยและอยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไปในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นบทความทาง วิชาการต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ หรือความรู้ที่หน่วยงานราชการ องค์การ วัดหรือสมาคมต่าง ๆ ต้องการเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ อาจพิมพ์ออกเป็นเอกสารเล่มเล็กเดี่ยว ๆ หรือพิมพ์เป็น ตอน ๆ โดยรูปเล่มทั่วไปจะไม่มีการเข้าปกเย็บเล่มถาวร มีจํานวนหน้าไม่เกิน 60 หน้า ทั้งนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผ่นพับหรืออยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า “อนุสาร” (Brochure) ก็ได้

14 วิดีโอคลิปแถลงการณ์การปรองดองของเกาหลีเหนือ ใต้ จัดเป็นสื่อประเภทใด

(1) โสตทัศน์

(2) โสตวัสดุ

(3) ทัศนวัสดุ

(4) อิเล็กทรอนิกส์

ตอบ 1 หน้า 67 – 73, 77 สื่อโสตทัศน์ (โสตทัศนวัสดุ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 โสตวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการฟัง เช่น แผ่นเสียงหรือจานเสียง เทป แถบบันทึกเสียงซีดีออดิโอ แผ่นเอ็มพี 3 ฯลฯ

2 ทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการเห็น เช่น วัสดุกราฟิก รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก ภาพนิ่งแผ่นโปร่งใส หุ่นจําลอง ของตัวอย่าง ฯลฯ

3 สื่อโสตทัศน์ หรือโสตทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารทั้งโดยการฟังและการเห็น เช่น ภาพยนตร์แถบวีดิทัศน์หรือวิดีโอ วีซีดี ดีวีดี วิดีโอคลิป ฯลฯ

15 ไมโครฟิล์มเหมือนกับไมโครฟิชในลักษณะใด

(1) เป็นวัสดุย่อส่วนที่ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์

(2) เป็นวัสดุย่อส่วนที่มีขนาดเท่ากับบัตรรายการ

(3) เป็นวัสดุย่อส่วนในรูปของบัตรทึบแสง

(4) เป็นวัสดุย่อส่วนในรูปของฟิล์มโปร่งแสง

ตอบ 4 หน้า 54, 73 – 74, 77 – 78 วัสดุย่อส่วน (Micrographic or Microforms) หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศจากสิ่งพิมพ์ที่เป็นหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ จดหมายโต้ตอบ หนังสือหายาก ต้นฉบับตัวเขียน เอกสารที่มีคุณค่าต่าง ๆ โดยวิธีการถ่ายย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์ม ขนาดเล็กเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและป้องกันการฉีกขาดทําลาย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1 ฟิล์มโปร่งแสง ได้แก่ ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิซ และบัตรอเพอเจอร์

2 บัตรทึบแสง ได้แก่ ไมโครการ์ด และไมโครพริ้นท์

16 Floppy Disk มีความหมายตรงกับข้อใด

(1) จานแม่เหล็ก นิดอ่อน

(2) จานแสง

(3) ซีดีรอม

(4) วีดิทัศน์ดิจิตอล

ตอบ 1 หน้า 75 – 76, 78, (คําบรรยาย) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอักขระแบบดิจิตอล ซึ่งต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือ แสงเลเซอร์ในการบันทึกและอ่านข้อมูล แบ่งออกเป็น

1 แผ่นจานแม่เหล็กแบบอ่อน (Diskette หรือ Floppy Disk) บันทึกโปรแกรมสําเร็จรูป 2 จานแสง (Optical Disk) เช่น VCD, DVD, CD-ROM บันทึกฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ ฐานข้อมูลด้านการศึกษา ฐานข้อมูลเชิงบรรณานุกรม ฯลฯ

3 USB Flash Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ โดยมีวิธีการบันทึกข้อมูลเหมือน Hard Disk หรือ Floppy Disk มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวก

ในการพกพาติดตัว และสามารถเก็บข้อมูลได้จํานวนมากตั้งแต่ 128 MB – 8 GB

17 ข้อใดกล่าวถึงหนังสืออ้างอิงไม่ถูกต้อง

(1) หนังสืออ้างอิงมีการเรียบเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ โดยจําแนกตามหมวดหมู่หรือจัดเรียงตามลําดับอักษร

(2) เนื้อหาสาระเหมาะสําหรับบุคคลเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะสาขาวิชาเท่านั้น

(3) หนังสืออ้างอิงใช้สําหรับการค้นหาคําตอบของปัญหาที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว (4) หนังสืออ้างอิงนําเสนอข้อเท็จจริงอย่างสั้น ๆ กะทัดรัด จบภายในเล่ม

ตอบ 2 หน้า 83 หนังสืออ้างอิงมีลักษณะดังนี้

1 เรียบเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เช่น จัดเรียงตามลําดับอักษร จัดเรียงตามหมวดหมู่ของสาขาวิชา ฯลฯ เพื่อช่วยค้นหาคําตอบของปัญหาที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

2 มุ่งให้ผู้อ่านทั่วไปได้รับความรู้และข้อเท็จจริงที่ต้องการอย่างรวดเร็ว จึงมีวิธีการนําเสนอข้อเท็จจริงอย่างสั้น ๆ กะทัดรัด และจบภายในเล่ม

3 เป็นหนังสือที่มีขอบเขตความรู้กว้างขวางในทุกแขนงวิชา ฯลฯ

18 ต้องการค้นหาประวัติของคําว่า “ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data” ควรใช้หนังสืออ้างอิงข้อใด

(1) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

(2) สารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

(3) พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์

(4) พจนานุกรมรวมกฎหมายไทย

ตอบ 3 หน้า 89 – 90 พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ฉบับปรับปรุงใหม่ จะให้ทั้งคําศัพท์เก่าและคําศัพท์ที่เกิดขึ้นใหม่ทางคอมพิวเตอร์เป็นจํานวนมาก พร้อมกับคําแปลเป็นภาษาไทยและ คําอธิบายความหมาย ประกอบ มีการให้คําเต็ม คําย่อ คําเหมือน คําตรงข้าม ประวัติของคําและภาพประกอบมากมาย โดยจัดเรียงคําศัพท์ตามลําดับอักษร

19 ต้องการข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ “กุมารทอง” ควรใช้หนังสืออ้างอิงข้อใด

(1) สมพัตสร

(2) คู่มือชาวพุทธ

(3) ดรรชนีและสาระสังเขป

(4) สารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ตอบ 4 หน้า 92 สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน ถือเป็นสารานุกรมฉบับแรกของประเทศไทยเขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ และมีเนื้อหาครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ 18 เรื่อง ได้แก่ บุคคลสําคัญ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ความเคลื่อนไหวของโลก ประเทศ และภูมิภาค ปรัชญา ศาสนา ลัทธินิกายต่าง ๆ ฯลฯ โดยมีการจัดเรียบเรียงบทความตามลําดับตัวอักษร ซึ่งตอนท้ายของแต่ละบทความจะมีอักษรย่อของผู้เขียนกํากับไว้ และมีดรรชนีค้นเรื่องอยู่ใน ตอนท้ายเล่ม

20 ต้องการรวบรวมชีวประวัติและผลงานของวลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีของประเทศรัสเซียควรใช้หนังสืออ้างอิงข้อใด

(1) Who’s Who in the World

(2) A Biographical Dictionary of Railway Engineers

(3) A Biographical Dictionary of Scientists

(4) The Biographical Encyclopedia of American Women

ตอบ 1 หน้า 97 – 99 อักขรานุกรมชีวประวัติ คือ หนังสือที่รวบรวมประวัติชีวิตของบุคคลสําคัญโดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับเชื้อชาติ สถานที่เกิด วันเดือนปีเกิด หรือตาย (ในกรณีที่บุคคล เจ้าของชีวประวัติสิ้นชีวิตไปแล้ว) ที่อยู่ ระดับการศึกษา ตําแหน่งหน้าที่การงาน ประสบการณ์ ในการทํางาน ผลงานดีเด่น และสถานภาพทางครอบครัว เพื่อต้องการให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาว่า ผู้ที่มีชื่อเสียงในอดีตนั้นได้ทําคุณประโยชน์ให้กับบ้านเมืองอย่างไรบ้าง เช่น Who’s Who in the World จะให้ชีวประวัติบุคคลสําคัญที่ยังมีชีวิตอยู่ในทุกวงการอาชีพประมาณ 25,000 รายชื่อ จาก 150 ประเทศ เป็นต้น

21 ต้องการค้นหา “รายชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นหน่วยงานในการฝึกอบรมหลักสูตรหน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟในกรุงเทพมหานคร” ควรใช้หนังสืออ้างอิงประเภทใด

(1) สมพัตสร

(2) สารานุกรม

(3) นามานุกรม

(4) สิ่งพิมพ์รัฐบาล

ตอบ 3 หน้า 102 – 103, 105 นามานุกรม (Directory) คือ หนังสือที่รวบรวมรายชื่อของบุคคลองค์การ หรือหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมกับสถานที่อยู่หรือที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์สําหรับการติดต่อ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่

1 นามานุกรมท้องถิ่น เช่น สมุดโทรศัพท์

2 นามานุกรมของรัฐ เช่น นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย

3 นามานุกรมสถาบัน เช่น ชื่อมหาวิทยาลัย โรงเรียน ห้องสมุด ฯลฯ

4 นามานุกรมสาขาอาชีพ เช่น ทําเนียบกระทรวงยุติธรรม พุทธศักราช 2530

5 นามานุกรมการค้าและธุรกิจ เช่น รวมโรงงานอุตสาหกรรม

22 ต้องการค้นหาสถิติการส่งออกทุเรียนของไทยระหว่างปี พ.ศ. 2558 – 2560 ควรใช้หนังสืออ้างอิง ประเภทใด

(1) สมพัตสร

(2) ดรรชนีและสาระสังเขป

(3) คู่มือ

(4) หนังสือรายปี

ตอบ 4 หน้า 109 110 หนังสือรายปี (Yearbooks) เป็นหนังสือที่พิมพ์ออกเป็นรายปี โดยจะให้ข่าวสาร ข้อมูล เหตุการณ์ กิจกรรมความเคลื่อนไหว แนวโน้ม และความก้าวหน้าทางด้าน การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ภายในรอบปีหนึ่ง ๆ ที่ผ่านมา ซึ่งจะเสนอในรูปของการพรรณนาความอย่างสัน ๆ โดยมีตัวเลข สถิติประกอบด้วย เช่น สมุดสถิติรายปีประเทศไทย จะรวบรวมสถิติตัวเลขทางด้านต่าง ๆ อาทิการศึกษา ประชากร เศรษฐกิจ การค้าขาย การส่งออก เป็นต้น

23 ต้องการทราบประวัติและที่ตั้งของ “เมืองมัลลิกา ร.ศ. 124” ควรใช้หนังสืออ้างอิงประเภทใด

(1) สารานุกรมวัฒนธรรมไทย

(2) อักขรานุกรมชีวประวัติ

(3) ราชกิจจานุเบกษา

(4) อักขรานุกรมภูมิศาสตร์

ตอบ 4 หน้า 115 อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ เป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลอย่างสังเขปเกี่ยวกับชื่อของสถานที่สําคัญทางภูมิศาสตร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายพจนานุกรมที่ให้คําจํากัดความเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ทางภูมิศาสตร์อย่างสั้น ๆ ให้คําอ่านและรายละเอียดอื่น ๆ ได้อย่างกระชับและน่าเชื่อถือที่สุด เช่น สถานที่ตั้ง ระยะทาง เส้นรุ้ง เส้นแวง ความตื้นลึกของทะเล ความสูงของภูเขา จํานวนผลผลิตทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม จํานวนประชากร ตราประจําจังหวัด เป็นต้น

24 ต้องการรวบรวม “เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้” ควรใช้หนังสืออ้างอิงประเภทใด

(1) ดรรชนีท้ายเล่ม

(2) ดรรชนีวารสาร

(3) ดรรชนีหนังสือพิมพ์

(4) ดรรชนีที่ห้องสมุดจัดทําขึ้นเอง

ตอบ 3 หน้า 120 ดรรชนีหนังสือพิมพ์ เป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้อ่านค้นหารายชื่อบทความ ข่าวหรือเหตุการณ์สําคัญ ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ประกอบด้วย ชื่อผู้เขียนบทความ ชื่อบทความ หรือข่าว ชื่อหนังสือพิมพ์ วันเดือนปี และเลขหน้าที่มีบทความหรือข่าวนั้น ๆ โดยจัดเรียงแต่ละรายการตามลําดับอักษรภายใต้ชื่อผู้เขียนบทความและภายใต้หัวเรื่อง

25 ต้องการค้นรายชื่อวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ “การบริการสารสนเทศสําหรับผู้สูงวัย”ควรใช้หนังสืออ้างอิงประเภทใด

(1) หนังสือคู่มือ

(2) บรรณานุกรม

(3) ดรรชนีวารสาร

(4) สาระสังเขป

ตอบ 4 หน้า 84, 119 – 120, 127 สาระสังเขป เป็นหนังสืออ้างอิงที่ชี้แนะแหล่งสารสนเทศ โดยมีลักษณะเป็นการสรุปหรือย่อสาระสําคัญของเนื้อเรื่องหรือเรื่องราวสําคัญ ๆ ของบทความใน วารสาร หนังสือ และเอกสารประเภทอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเนื้อหาสาระสําคัญ ก่อนที่จะไปอ่านจากต้นฉบับจริงที่สมบูรณ์ เช่น รวมบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, Dissertation Abstracts International จะรวบรวมรายชื่อวิทยานิพนธ์และบทคัดย่อในระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐฯ และแคนาดา ฯลฯ

26 การจัดหมวดหมู่หนังสือ มีวิธีการดําเนินการอย่างไร

(1) กําหนดรหัสประจําหนังสือ โดยพิจารณาจากชื่อเรื่องของหนังสือ

(2) กําหนดเลขประจําหนังสือ โดยพิจารณาจากชื่อผู้แต่ง

(3) กําหนดสัญลักษณ์ให้กับหนังสือ โดยพิจารณาจากเนื้อหาของหนังสือ

(4) กําหนดสัญลักษณ์ให้กับหนังสือ โดยพิจารณาจากสํานักพิมพ์

ตอบ 3 หน้า 150, 157, 191 การจัดหมู่หนังสือ หมายถึง การจัดหนังสือให้เป็นระบบโดยพิจารณาจากเนื้อหาสาระของหนังสือเป็นสําคัญ และมีการกําหนดสัญลักษณ์ให้กับหนังสือ ซึ่งเรียกว่า “เลขเรียกหนังสือ” (Call Number) เพื่อแสดงกลุ่มเนื้อหาของหนังสือในแต่ละประเภท และ ใช้เป็นเครื่องหมายระบุตําแหน่งของหนังสือทุกเล่มในห้องสมุด ซึ่งหนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกัน และ/หรือประพันธ์วิธีเดียวกันจะมีสัญลักษณ์เหมือนกันและวางอยู่ในที่เดียวกัน ส่วนหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันจะมีสัญลักษณ์ใกล้เคียงกันและวางอยู่ในตําแหน่งที่ไม่ไกลกัน

27 ห้องสมุดในข้อใดที่นิยมใช้ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(1) หอสมุดโรงพยาบาลศิริราช

(2) สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง

(3) ห้องสมุด “เฉลิมราชกุมารี”

(4) ศูนย์ข้อมูลพลังงานปรมาณูเพื่อสันติภาพ

ตอบ 3 หน้า 151, 153, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 23) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification : DDC หรือ DC) ถือเป็นระบบที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ในห้องสมุดขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่มีหนังสือทั่ว ๆ ไปหลายสาขาวิชาในจํานวนที่ไม่มากนัก ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน (เช่น ห้องสมุด “เฉลิมราชกุมารี” ฯลฯ) ห้องสมุดโรงเรียน เป็นต้น ซึ่งการจัดหมู่หนังสือด้วยระบบนี้จะเป็นแบบเชิงกว้าง โดยแบ่งสรรพวิทยาการในโลกออกเป็น 10 หมวดใหญ่ และจะใช้สัญลักษณ์แสดงเนื้อหาของหนังสือเป็นตัวเลขอารบิก 3 หลัก ตั้งแต่ 100 – 000 กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งเพื่อแบ่งเนื้อหาให้ชี้เฉพาะยิ่งขึ้น

28 ข้อใดคือระบบการจัดหมู่หนังสือที่เหมาะสําหรับห้องสมุดที่มีจํานวนหนังสือปริมาณมาก

(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(3) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา

(4) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล

ตอบ 1 หน้า 153 – 155, (คําบรรยาย) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification : LCC หรือ LC) เป็นระบบในเชิงปฏิบัติที่ยึดแนววิวัฒนาการ ของมนุษย์เป็นหลัก ท่าให้มีความยืดหยุ่นมากที่สุด สามารถรองรับสรรพวิทยาการใหม่ ๆ และ ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างดี ดังนั้นจึงเป็นระบบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย ในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสือเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือมีหนังสือทั่วไปทุกประเภท เป็นจํานวนมาก เช่น ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ฯลฯ โดยแบ่งเนื้อหาของหนังสือ ออกเป็น 20 หมวดใหญ่ และใช้สัญลักษณ์ในการจัดหมู่หรือเลขหมู่หนังสือเป็นแบบผสม คือ ใช้ตัวอักษรโรมันตั้งแต่ A – Z (ยกเว้น 1, 0, W, X, Y) เพื่อแสดงเนื้อหาในหมวดใหญ่ และใช้ตัวเลขอารบิกตั้งแต่ 1 – 9999 กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งแบ่งย่อยเรื่องอีกที่หนึ่ง

29 ห้องสมุดโรงพยาบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้ระบบใดในการจัดหมวดหมู่หนังสือในข้อใด

(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา

(3) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(4) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล

ตอบ 2 หน้า 155 – 156, (คําบรรยาย) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Library Medicine : NLAM) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่มักใช้กับ ห้องสมุดทางการแพทย์ สาธารณสุข และพยาบาล โดยใช้อักษรโรมัน Q กับ W และเลขอารบิก เป็นสัญลักษณ์เช่นเดียวกับการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน แต่แตกต่างในด้าน การจําแนกสรรพวิทยาการออกเป็น 2 หมวดใหญ่ คือ หมวด Q วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน และหมวด W วิชาการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นระบบนี้จึงนิยมใช้กับห้องสมุด ของคณะแพทยศาสตร์ในทุกสถาบัน เช่น ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่, ห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ, ห้องสมุดของโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นต้น

30 สัญลักษณ์ที่แสดงเนื้อหาของหนังสือแต่ละประเภทและระบุตําแหน่งของหนังสือ หมายถึงข้อใด

(1) เลขทะเบียนหนังสือ

(2) เลขเรียกหนังสือ

(3) เลขหมู่หนังสือ

(4) เลขประจําหนังสือสากล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

31 ข้อใดกล่าวถึงการจัดเรียงหนังสือบนชั้นได้ถูกต้องที่สุด

(1) จัดเรียงตามเลขประจําหนังสือ จากเลขจํานวนน้อยไปหาเลขจํานวนมาก

(2) จัดเรียงตามลําดับอักษรของชื่อเรื่องของหนังสือแบบพจนานุกรม

(3) จัดเรียงตามเลขเรียกหนังสือ จากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก (

4) จัดเรียงตามลําดับหมวดหมู่ของหมวดหมู่ย่อยและหมวดหมูใหญ่

ตอบ 3 หน้า 159 – 160 การจัดเรียงหนังสือบนชั้นในห้องสมุด จะพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือจากซ้ายไปขวา จากชั้นบนลงชั้นล่าง และจะพิจารณาจัดลําดับจากเลขหมู่หนังสือก่อน ทั้งนี้ ห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบทศนิยมดิวอี้จะเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก ส่วนห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันจะพิจารณาเรียงลําดับไปตาม ตัวอักษร A – Z ก่อน ต่อเมื่อตัวอักษรซ้ํากันจึงค่อยเรียงลําดับจากเลขหม่น้อยไปหาเลขหมู่มากแต่ถ้าเลขหมู่ซ้ำกันก็ให้พิจารณาเลขผู้แต่งหรือเลขประจําหนังสือ และอักษรชื่อเรื่องตามลําดับ

32 ทรัพยากรสารสนเทศข้อใดที่ห้องสมุดนิยมจัดเก็บไว้ในรูปของวัสดุย่อส่วน

(1) วารสารฉบับย้อนหลัง

(2) หนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลัง

(3) สิ่งพิมพ์รัฐบาล

(4) วารสารเย็บเล่ม

ตอบ 2 หน้า 169 ห้องสมุดโดยทั่วไปจะเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังไว้ระยะเวลาหนึ่งประมาณ 1 – 2 ปี แล้วคัดทิ้งไป แต่ห้องสมุดบางแห่งนิยมคัดเลือกและจัดเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลัง ที่สําคัญ ๆ ด้วยการถ่ายเป็นวัสดุย่อส่วนแล้วเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิล์ม เพื่อรักษาสภาพและ ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ เช่น สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง ทําการจัดเก็บ หนังสือพิมพ์ 10 ฉบับ ไว้ในรูปไมโครฟิล์ม ได้แก่ สยามรัฐ มติชน ไทยรัฐ ประชาชาติ เดลินิวส์ ข่าวพาณิชย์ มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ Bangkok Post และ The Nation

33 ทรัพยากรสารสนเทศประเภทใดมีวิธีการจัดเก็บโดยการกําหนดหัวเรื่อง

(1) จุลสาร

(2) หนังสือพิมพ์

(3) วารสาร

(4) ของตัวอย่าง

ตอบ 1 หน้า 163, 170 171 วิธีการจัดเก็บจุลสารและกฤตภาคของห้องสมุดจะใช้วิธีเดียวกันซึ่งนิยมจัดเก็บแยกออกจากวัสดุสารสนเทศอื่น ๆ คือ จัดเก็บโดยกําหนดหัวเรื่องกํากับไว้ที่ มุมบนของปก แล้วนําจุลสารและกฤตภาคที่มีหัวเรื่องเดียวกันเก็บรวบรวมไว้ในแฟ้ม ปิดป้าย ชื่อหัวเรื่องที่แฟ้ม และนําแฟ้มไปจัดเก็บไว้ในตู้เก็บเอกสารเรียงตามลําดับอักษรของหัวเรื่องโดยที่หน้าลิ้นชักจะมีอักษรกํากับไว้ให้ทราบว่าแต่ละลิ้นชักมีแฟ้มเริ่มจากอักษรตัวใดถึงตัวใด

34 สัญลักษณ์ MD ใช้สําหรับการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด

(1) หุ่นจําลอง

(2) ภาพโปร่งใส

(3) เทปบันทึกเสียง

(4) ของจริง

ตอบ 1 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 204) หุ่นจําลอง (Model) จัดเป็นวัสดุ 3 มิติที่ใช้แทนของจริง ซึ่งห้องสมุดจะใช้วิธีการจัดเก็บโดยการกําหนดสัญลักษณ์ให้ คือ MD (Model) ตามด้วยเลขทะเบียนหรือเลขหมู่ ติดป้ายชื่อเรื่อง ชนิดของวัสดุ ขนาด แนวตั้ง แนวนอน ส่วนลึก แล้วจัดเก็บตามลําดับเลขทะเบียน

35 ข้อใดคือวิธีการจัดเก็บไมโครฟิล์มของห้องสมุดที่เอื้อต่อการใช้

(1) มีป้ายติดกล่องม้วน จัดเก็บในลิ้นชักตู้เหล็กตามลําดับเลขทะเบียน

(2) มีป้ายติดกล่องม้วน จัดเก็บในลิ้นชักใกล้เครื่องอ่าน

(3) จัดเรียงใส่ตะแกรงพลาสติกตามลําดับหัวเรื่อง

(4) จัดเก็บไว้ในกล่องหรือตลับตามลําดับขนาด

ตอบ 1 หน้า 177, 180, 351 วิธีจัดเก็บไมโครฟิล์มของห้องสมุดมีอยู่ 2 วิธี ดังนี้

1 จัดเรียงขึ้นชั้นรวมไว้กับสิ่งพิมพ์ โดยห้องสมุดจะจัดเก็บไมโครฟิล์มทั้งที่เป็นชนิดม้วนและตลับด้วยการจัดทําป้าย ซึ่งประกอบด้วย เลขทะเบียน ชื่อเรื่อง ความยาว ความกว้าง ประเภท ของฟิล์ม และสัญลักษณ์ที่กําหนดเป็นเลขหมู่ติดไว้บนกล่องม้วนและตลับ แล้วจึงจัดเรียงขึ้นชั้นรวมไว้กับสิ่งพิมพ์อื่น ๆ

2 จัดแยกไว้ในตู้ โดยห้องสมุดบางแห่งอาจนํากล่องหรือตลับไมโครฟิล์มที่ปิดป้ายมาแยกเป็นหมวดหมู่ แล้วเรียงตามลําดับเลขทะเบียนไว้ในลิ้นชักตู้เหล็ก หรือเรียงใส่ตะแกรงพลาสติกไว้บนชั้นแบบชั้นเก็บหนังสือ

36 ห้องสมุดนิยมจัดเก็บวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีใด จึงจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาได้อย่างรวดเร็ว

(1) จัดเก็บด้วยวิธีกําหนดเลขหมู่ และหัวเรื่อง

(2) จัดเก็บขึ้นชั้นตามเลขหมู่รวมไปกับหนังสือ

(3) จัดเก็บในระบบชั้นปิด

(4) จัดเก็บด้วยการใช้ระบบจัดหมู่ และการกําหนดสัญลักษณ์

ตอบ 3 หน้า 163, 178 ห้องสมุดส่วนใหญ่นิยมจัดเก็บวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน ซีดีรอมหรือซีดี วีซีดีและดีวีดี ในระบบชั้นปิด โดยแยกไว้ต่างหากจากทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ และจะมีเจ้าหน้าที่คอยหยิบให้เมื่อมีผู้ใช้มาขอรับบริการ

37 ข้อใดกล่าวถึงบัตรรายการได้ถูกต้อง

(1) การรวบรวมรายการผู้จําหน่ายหนังสือ

(2) การรวบรวมรายการทะเบียนวารสารในห้องสมุด

(3) เครื่องมือที่บอกตําแหน่งของหนังสือในห้องสมุด

(4) เครื่องมือรวบรวมรายการทะเบียนทรัพยากรสารสนเทศ

ตอบ 3 หน้า 187, 189 บัตรรายการ หมายถึง เครื่องมือที่บอกให้ทราบถึงตําแหน่งของหนังสือในห้องสมุด ซึ่งประโยชน์ของบัตรรายการมีดังนี้

1 ช่วยให้ผู้ใช้ตรวจสอบรายชื่อหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดว่ามีอะไรบ้างใครเป็นผู้แต่ง และอยู่ที่ใดในห้องสมุด

2 ให้รายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสือแต่ละเล่มได้

3 ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาหนังสือที่ต้องการได้แม้ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง หรือชื่อเรื่อง

4 ให้ความสะดวกต่อผู้ใช้ที่เตรียมเขียนรายงาน หรือรวบรวมรายชื่อหนังสือในหัวข้อที่ต้องการ

5 บอกให้ทราบว่าห้องสมุดมีหนังสือในหมวดวิชาใดมากน้อยเพียงใด

38 ข้อใดคือประโยชน์ของบัตรรายการ

(1) เพื่อให้ผู้ใช้ทราบชื่อร้านขายหนังสือ

(2) เพื่อให้บรรณารักษ์ทราบงบประมาณที่จัดซื้อหนังสือ

(3) เพื่อให้ผู้ใช้ทราบรายละเอียดบรรณานุกรมของหนังสือ

(4) เพื่อให้ผู้ใช้ทราบสถิติการยืมหนังสือแต่ละเล่ม

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ

39 ข้อมูล “xiv, 146 p. ; 23 cm.” ปรากฏในส่วนใดของบัตรรายการ

(1) ลักษณะวัสดุ

(2) หมายเหตุ

(3) การพิมพ์และการจัดจําหน่าย

(4) เลขเรียกหนังสือ

ตอบ 1 หน้า 191, 193, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 220) ลักษณะวัสดุ หรือลักษณะรูปร่าง(Physical Description) เป็นรายการหนังสือของห้องสมุดที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะ รูปร่าง ส่วนประกอบ และขนาดของหนังสือ ได้แก่ จํานวนหน้า (ความหนาของหนังสือ) หรือ จํานวนเล่ม ภาพประกอบ (สีของภาพประกอบ) และส่วนสูงของหนังสือ ซึ่งตัวอย่างลักษณะ วัสดุของหนังสือภาษาไทย เช่น 315 หน้า : ภาพประกอบ ; 19 ซม. ส่วนหนังสือภาษาอังกฤษ เช่น xiv, 146 p. ; 23 cm.

40 ส่วนใดของบัตรรายการที่แจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่าหนังสือเล่มนั้นมีภาคผนวก

(1) ชื่อชุด

(2) สํานักพิมพ์

(3) หมายเหตุ

(4) การแจ้งความรับผิดชอบ

ตอบ 3 หน้า 193, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 221) หมายเหตุ (Notes) เป็นส่วนประกอบของบัตรรายการที่ให้ข้อมูลอื่นเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือนอกเหนือจากที่บอกไว้ในส่วนอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบเพิ่มเติมว่าหนังสือเล่มนั้นมีบรรณานุกรม มีดรรชนี มีอภิธานศัพท์ หรือมีภาคผนวกอยู่ท้ายเล่ม ฯลฯ เช่น บรรณานุกรม : หน้า 300 – 320

41 ข้อความในบัตรโยง “หนังสือเรียน ดูที่ ตํารา” มีความหมายอย่างใด

(1) สามารถใช้คําว่า “หนังสือเรียน” เป็นหัวเรื่องได้

(2) สามารถใช้คําว่า “หนังสือเรียน” และ “ตํารา” เป็นหัวเรื่องได้

(3) ไม่สามารถใช้ “หนังสือเรียน” เป็นหัวเรื่อง

(4) ไม่สามารถใช้ทั้งคําว่า “หนังสือเรียน” และ “ตํารา” เป็นหัวเรื่องได้

ตอบ 3 หน้า 199 200 บัตรโยง (Cross References Card) คือ บัตรที่จัดทําขึ้นเพื่อใช้โยงชื่อหรือข้อความ มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่

1 บัตรโยง “ดูที่” (see) คือ บัตรโยงหัวเรื่องที่ไม่ได้ใช้ไปยังหัวเรื่องที่ใช้ เช่น “หนังสือเรียนดูที่ ตํารา หมายถึง หนังสือเรียน (ไม่ใช้เป็นหัวเรื่อง) แต่ให้ไปดที่หัวเรื่อง “ตํารา” แทน

2 บัตรโยง “ดูเพิ่มเติมที่” (see also) คือ บัตรโยงที่ใช้โยงหัวเรื่องกว้างกว่าให้ไปดูหัวเรื่องที่แคบกว่าหรือหัวเรื่องเฉพาะวิชาการที่เกี่ยวข้องกัน

42 ข้อใดเรียงชื่อผู้แต่งได้ถูกต้อง

(1) สมบัติ/สมพร/สมัคร/สุพัฒน์

(2) สุพัฒน์/สมพร/สมบัติ/สมัคร

(3) สมพร/สมบัติ/สุพัฒน์ สมัคร

(4) สมบัติ/สุพัฒน์/สมพร/สมัคร

ตอบ 1 หน้า 207 – 210 การเรียงบัตรรายการหนังสือภาษาไทย มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1 ให้เรียงตามลําดับอักษร ก – ฮ โดยไม่คํานึงถึงเสียงอ่าน

2 คําที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตัวเดียวกัน ให้เรียงคําที่มีตัวสะกดไว้ก่อนคําที่มีรูปสระ และเรียงลําดับรูปสระตามแบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

3 ตัว ฤ เรียงไว้หลังตัว ร ส่วนตัว ฦ เรียงไว้หลังตัว ล

4 ผู้แต่งคนเดียวกันแต่งหนังสือหลายเล่ม ให้เรียงตามลําดับอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง ฯลฯ(จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ สมบัติ/สมพร/สมัคร/สุพัฒน์)

43 รายการในข้อใดเป็นผู้แต่งที่เป็นนิติบุคคล

(1) รอมแพง

(2) แก้วเก้า

(3) น.ณ ปากน้ำ

(4) กรมวิชาการ

ตอบ 4 หน้า 191 192 ชื่อผู้แต่ง (Author) หรือรายการหลัก (Main Entry) เป็นชื่อผู้ที่เขียนหนังสือเล่มนั้น ถ้าหากเป็นคนไทยให้ลงชื่อตัวก่อนแล้วตามด้วยชื่อสกุล เช่น ประเวศ วะสี แต่ถ้าเป็นชาวต่างประเทศให้ลงชื่อสกุลก่อน และใส่เครื่องหมายจุลภาค ( , ) แล้วตามด้วย ชื่อตัวและขอกลาง (ถ้ามี) เช่น Hunter, David E. นอกจากนี้ผู้แต่งอาจเป็นนิติบุคคล ได้แก่ สถาบัน หน่วยงาน สมาคม เช่น กรมวิชาการ กรมสามัญศึกษา ฯลฯ

44 ข้อใดคือความหมายของหัวเรื่อง

(1) บทคัดย่อของหนังสือ

(2) การสรุปเนื้อหาสําคัญของหนังสือ

(3) คําหรือวลีที่กําหนดใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ

(4) คําต่าง ๆ ที่ปรากฏในหน้าสารบัญของหนังสือ

ตอบ 3 หน้า 221, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 250 251) หัวเรื่อง หมายถึง คําหรือวลีหรือชื่อเฉพาะต่าง ๆ ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือและสื่ออื่น ๆ โดยบรรณารักษ์ไม่ได้เป็นผู้เลือกขึ้นเอง แต่จะเลือกจากคําหรือวลีที่เป็นศัพท์ควบคุม เพื่อค้นหาหนังสือในห้องสมุดจากบัญชีหัวเรื่อง มาตรฐานที่นิยมใช้ในการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด ได้แก่

1 Library of Congress Subject Headings (LCSH) จัดทําขึ้นโดยห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันเพื่อใช้เป็นบัญชีหัวเรื่องหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษสําหรับห้องสมุดขนาดใหญ่ 2 Sear’s List of Subject Headings (Sear’s List) เป็นบัญชีหัวเรื่องสําหรับหนังสือทั่วไปที่เป็นภาษาอังกฤษสําหรับห้องสมุดขนาดเล็ก โดยจะใช้คู่กับการจัดหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้

45 ต้องการหาสารสนเทศเกี่ยวกับการจัดการปกครองของไทยสมัยอยุธยา ควรใช้หัวเรื่องในข้อใด

(1) ไทย–ชีวประวัติ

(2) ไทย–ความเป็นอยู่ประเพณี–กรุงศรีอยุธยา

(3) ไทย–ประวัติศาสตร์–กรุงศรีอยุธยา

(4) ไทย–การเมืองและการปกครอง–กรุงศรีอยุธยา

ตอบ 4 หน้า 224 225 หัวเรื่องย่อย เป็นคําหรือวลีที่ใช้เป็นหัวเรื่องย่อยเพื่อขยายหัวเรื่องใหญ่ให้เห็นชัดเจนหรือจําเพาะเจาะจงขึ้น โดยหัวเรื่องย่อยจะมีขีดสั้น 2 ขีด (–) อยู่ข้างหน้าคํา เพื่อคั่นระหว่างหัวเรื่องใหญ่และหัวเรื่องย่อย แบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้

1 แบ่งตามวิธีเขียน เช่น ภาษาไทย — แบบฝึกหัด, หนังสือหายาก–บรรณานุกรม ฯลฯ

2 บอกลําดับเหตุการณ์ ซึ่งจะแบ่งตามปีคริสต์ศักราช ยุคสมัย หรือชื่อพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ไทย–การเมืองและการปกครอง–กรุงศรีอยุธยา ฯลฯ

3 แบ่งตามขอบเขตเฉพาะของเนื้อหา เช่น English Language- Grammar ฯลฯ

4 แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ เช่น พุทธศาสนา–ไทย– เชียงใหม่, เรือ–ไทย ฯลฯ

46 “ห้องสมุดกับการศึกษา” จัดเป็นหัวเรื่องประเภทใด

(1) คํานามคําเดียวโดด ๆ

(2) กลุ่มคํา

(3) คําผสม

(4) คําคู่

ตอบ 3 หน้า 223 – 224, 228 การกําหนดคําที่ใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่ มีลักษณะดังนี้

1 คํานามคําเดียวโดด ๆ เช่น กบ ไกด์ นก ฯลฯ

  1. คําผสมที่เป็นคํานาม 2 คํา เชื่อมด้วย “and”, “กับ”, “และ” ทั้งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ไปในทางเดียวกัน เช่น ห้องสมุดกับการศึกษา Libraries and readers ฯลฯ และที่มีเนื้อหาค้านกัน เช่น ศาสนากับวิทยาศาสตร์ Good and evil ฯลฯ

3 คํานามที่ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) คันกลางและมีคําคุณศัพท์ที่ขยายคําแรกให้สื่อความหมายชัดขึ้น เช่น Art, abstract ฯลฯ

4 กลุ่มคําหรือวลี เช่น บริการแปล ชีวิตชนบท ฯลฯ

5 ชื่อเฉพาะที่เป็นคําวิสามานยนาม เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ ชื่อพระหรือเทพเจ้า ฯลฯ

47 อักษรย่อ “NT” ในบัญชีหัวเรื่อง มีความหมายอย่างไร

(1) คําสัมพันธ์ที่กว้างกว่า

(2) คําสัมพันธ์ที่แคบกว่า

(3) คําที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่อง

(4) คําที่เพิ่มเข้ามาใหม่

ตอบ 2 หน้า 225 – 227, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 256) บัญชีหัวเรื่องมาตรฐาน LCSH ฉบับปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงการใช้สัญลักษณ์บางตัวเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ของคําที่ใช้เป็น หัวเรื่อง ดังนี้

1 BT (Broader Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่มีความหมายกว้างกว่า

2 NT (Narrower Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่มีความหมายแคบกว่า

3 RT (Related Term) คือ หัวเรื่องที่สัมพันธ์กับคําหลักหรือใช้แทนกันได้

4 UF (Use For) คือ หัวเรื่องที่ไม่กําหนดให้ใช้แล้ว

5 USE คือ หัวเรื่องที่กําหนดให้ใช้

6 — คือ หัวเรื่องย่อย

48 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของรายงาน

(1) วิเคราะห์แยกแยะความรู้

(2) รวบรวมความรู้และเรียบเรียงใหม่อย่างมีแบบแผน

(3) ทําให้เกิดแนวคิดใหม่ ความรู้ใหม่

(4) ปะติดปะต่อข้อมูลอย่างรวดเร็ว

ตอบ 4 หน้า 236 การทํารายงาน หมายถึง การศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ อาจมีการวิเคราะห์แยกแยะความรู้ข้อมูลที่รวบรวมมา หรือเป็นเพียงการนําความรู้ที่ได้มารวบรวม และเรียบเรียงใหม่อยางมีแบบแผน จนเกิดเป็นแนวคิดใหม่ ความรู้ใหม่ และผลงานใหม่ ซึ่งมี วัตถุประสงค์เพื่อสรุปและรายงานการค้นคว้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ทั้งนี้จะต้องระบุแหล่งที่มาของความรู้และข้อมูลด้วย

49 ข้อใดคือขั้นตอนแรกของการทํารายงาน

(1) การวางโครงเรื่อง

(2) การสํารวจข้อมูล

(3) การกําหนดเรื่อง

(4) การบันทึกข้อมูล

ตอบ 3 หน้า 238 – 263 ขั้นตอนของการทํารายงานหรือภาคนิพนธ์มี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1 การกําหนดชื่อเรื่องหรือเลือกหัวข้อที่จะทํารายงาน

2 การสํารวจข้อมูล

3 การรวบรวมบรรณานุกรม ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเขียนรายงานฉบับร่าง

4 การบันทึกข้อมูล หรือทําบัตรบันทึกข้อมูล

5 การวางโครงเรื่อง

6 การเรียบเรียงเนื้อหารายงานฉบับร่าง

50 ข้อใดคือข้อมูลปฐมภูมิที่ใช้ในการทํารายงาน

(1) ตําราวิชา LIS 1001

(2) หนังสือกฎหมาย

(3) นิยายของรอมแพง

(4) การสัมภาษณ์บุคคล

ตอบ 4 หน้า 67, 240 แหล่งข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) เป็นหลักฐานเบื้องต้นหรือข้อมูลอันดับแรกที่ ได้รับจากบุคคลโดยตรง เช่น ประสบการณ์ของตนเอง บันทึกส่วนตัว จดหมายโต้ตอบ พระบรมราโชวาท ต้นฉบับตัวเขียน (Manuscript) อัตชีวประวัติ บทสัมภาษณ์แบบสอบถาม สุนทรพจน์ ฯลฯ

2 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources) หรือข้อมูลอันดับรอง ได้แก่ หนังสือหรือตําราและวัสดุที่เป็นผลผลิตของการค้นคว้าจากหลักฐานเบื้องต้น เช่น บทความจากวารสารข่าวในหนังสือพิมพ์ ดรรชนี สารานุกรม กฤตภาค ฯลฯ

51 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการรวบรวมบรรณานุกรมในการทํารายงาน

(1) รวบรวมรายการหนังสือจากห้องสมุด

(2) เพื่อแสดงความสามารถของผู้ทํารายงาน

(3) รวบรวมรายชื่อวัสดุสารสนเทศที่ใช้ทํารายงาน

(4) เพื่อจัดเรียงหนังสือในห้องสมุดได้ถูกต้อง

ตอบ 3 หน้า 247 การรวบรวมบรรณานุกรม คือ การรวบรวมรายชื่อของวัสดุสารสนเทศที่มีประโยชน์และเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทํารายงาน ซึ่งรายชื่อวัสดุสารสนเทศเหล่านี้ เมื่อจัดเรียบเรียงไปตามลําดับอักษรจะเรียกว่า บรรณานุกรม

52 การบันทึกข้อมูลเฉพาะสิ่งสําคัญ ๆ คือการบันทึกแบบใด

(1) แบบลอกความ

(2) แบบถอดความ

(3) แบบสรุปความ

(4) แบบรวมความ

ตอบ 3 หน้า 257, 261, (คําบรรยาย) การบันทึกข้อมูลแบบสรุปความหรือย่อความ เป็นการสรุปใจความสําคัญหรือบันทึกข้อมูลเฉพาะสิ่งที่สําคัญจริง ๆ ลงบนบัตร โดยใช้คําพูดของตนเอง และงดเว้นการอธิบาย การยกตัวอย่าง ซึ่งจํานวนคําในบัตรควรเหลือประมาณครึ่งหนึ่งของข้อมูลเดิม เช่น บทสารคดีท่องเที่ยว บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ การย่อข่าวจากสื่อมวลชนต่าง ๆ

53 รายการหรือหัวข้อสําคัญ ๆ ของรายงาน อยู่ส่วนใดของรายงาน

(1) ปกนอก

(2) คํานํา

(3) สารบัญ

(4) หน้าปกใน

ตอบ 3 หน้า 274 หน้าสารบัญหรือสารบาญ คือ บัญชีรายการหรือหัวข้อสําคัญ ๆ ที่ปรากฏในรายงาน เช่น คํานํา สารบาญ เนื้อเรื่องที่แบ่งเป็นหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย รายการโน้ตบรรณานุกรม ฯลฯ พร้อมระบุเลขหน้าที่รายการนั้น ๆ ปรากฏในรายงาน

54 ข้อใดไม่จัดอยู่ในส่วนเกี่ยวกับภาคผนวก

(1) ส่วนสรุป

(2) อภิธานศัพท์

(3) บรรณานุกรม

(4) ดรรชนี

ตอบ 1 หน้า 64, 274 275 306 ส่วนประกอบของรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้

1 ส่วนประกอบตอนต้น ได้แก่ ปกนอก หน้าปกใน (หน้าชื่อเรื่อง) หน้าคํานํา หน้าสารบาญหรือสารบัญ และหน้าสารบัญภาพ

2 ส่วนที่เป็นเนื้อหา ได้แก่ บทนํา รายละเอียดของเนื้อหา และส่วนสรุป

3 ส่วนประกอบตอนท้าย ได้แก่ บรรณานุกรม ภาคผนวก อภิธานศัพท์ ดรรชนี และปกหลัง

55 ข้อใดอ้างอิงในวงเล็บได้ถูกต้อง

(1) (Gardner, 2007, p. 78)

(2) (Chili Gardner, 2007, p. 78)

(3) (2007. P. 78)

(4) (Gardner, p. 78)

ตอบ 1 หน้า 264, 276 277, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 298) การแสดงที่มาของข้อมูลเฉพาะที่แบบนาม-ปี (Author-date) คือ รายการอ้างอิงแบบในวงเล็บที่แทรกลงไปในเนื้อหา (Cite-in-Text) โดยใส่ชื่อผู้เขียนและปีที่พิมพ์พร้อมด้วยเลขหน้าไว้ในวงเล็บหลังข้อความที่ คัดลอกมาหรือที่ต้องการอ้างอิง ซึ่งมี 2 รูปแบบ ได้แก่

1 รูปแบบตามคู่มือ Turabian คือ (ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง / ปีที่พิมพ์, / หน้าที่อ้างอิง) เช่น (อุดมพร มานะ 2556, หน้า 5) หากผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติให้ลงเฉพาะชื่อสกุล (Last Name) ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า เช่น (Gardner 2007, p. 78)

2 รูปแบบตามคู่มือ APA คือ ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง, / ปีที่พิมพ์, / หน้าที่อ้างอิง) เช่น (อุดมพร มานะ, 2556, หน้า 5) หากผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติให้ลงเฉพาะชื่อสกุล (Last Name)ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า เช่น (Gardner, 2007, p. 78)

56 การกําเนิดอินเทอร์เน็ตในยุคเริ่มต้นมีความสัมพันธ์ตรงกับข้อใด

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) จีน

ตอบ 3 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 47 – 43), (คําบรรยาย) การพัฒนาอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เมื่อกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการพัฒนาเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ซึ่งเริ่มแรกนั้นได้มีการจัดตั้งเครือข่ายอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ขึ้น เพื่อเน้นใช้งาน ด้านการทหารและการสื่อสารในช่วงสงครามเย็นมากที่สุด และเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของ หน่วยงานในมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ซึ่งเป็นประโยชน์สําหรับงานวิจัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2526 จึงพัฒนามาเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มีการนําอินเทอร์เน็ตมาใช้งานในเชิงพาณิชย์มากขึ้น

57 ผู้ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เฉพาะที่เรียกว่า

(1) เว็บบราวเซอร์

(2) เว็บมาสเตอร์

(3) เว็บบอร์ด

(4) กูเกิล

ตอบ 1 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 46, 55), (คําบรรยาย) web browser คือ ซอฟต์แวร์และโปรแกรมเฉพาะที่ใช้แสดงผลข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตสําหรับการเข้าสู่บริการเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้ สามารถใช้บริการเว็บไซต์ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น โดยเว็บบราวเซอร์สามารถใช้เปิดเอกสาร ไฮเปอร์เท็กซ์ หรือเปิดดูสื่อต่าง ๆ ที่ประกอบด้วยภาพและเสียง รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงการ รับและส่งข่าวสารบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตได้ ตัวอย่างของเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer, Netscape Navigator, Mozila Firefox, Google Chrome เป็นต้น

58 ข้อใดหมายถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

(1) ISP

(2) DNS

(3) URL

(4) @yahoo.com

ตอบ 1 หน้า 310, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 49) ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยใช้บริการผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตภาคเอกชน หรือเชิงพาณิชย์ เช่น บริษัท True Corporation

(Asia InfoNet), Samart, TT&T เป็นต้น

2 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตภาครัฐ เช่น หน่วยงานราชการ หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่อนุญาตให้เชื่อมต่อโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย คุณภาพของบริการอาจไม่เท่ากับของภาคเอกชน

59 Search Engine หมายถึง

(1) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศฐานข้อมูล YouTube

(2) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศฐานข้อมูล OPAC

(3) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศฐานข้อมูล WebOPAC

(4) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศฐานข้อมูล E-book

ตอบ 1 หน้า 313, (คําบรรยาย) Search Engine คือ เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศออนไลน์จากฐานข้อมูลเว็บไซต์ (Websites) ที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ Search Engine จะแสดงรายการสารบาญและช่องว่างให้เติมคําที่ต้องการสืบค้น หลังจากนั้นให้ผู้ใช้ป้อนคํา ข้อความ หรือชื่อเรื่องที่ต้องการค้นหา ก็สามารถหาเว็บไซต์ที่ต้องการหรือรายชื่อเว็บไซต์ที่มี เนื้อหาใกล้เคียงกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เช่น Search Engine ในฐานข้อมูลเว็บไซต์ YouTube เป็นเครื่องมือช่วยค้นหาเพลง มิวสิกวิดีโอ วิดีโอคลิปต่าง ๆ เป็นต้น

60 ข้อใดหมายถึงซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ

(1) Android

(2) Application

(3) Facebook

(4) Line

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) ถือเป็นโปรแกรมที่ทําหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป โดยมีหน้าที่หลัก คือการจัดสรรทรัพยากรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ในเรื่องของ การรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจําตามที่ซอฟต์แวร์ ประยุกต์ร้องขอ ซึ่งระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เช่น Windows NT, Unix, Microsoft Windows XP, Linux ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการในโทรศัพท์มือถือ เช่น IOS, Android ฯลฯ

Advertisement