การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา LIS 1003 การใช้ห้องสมุด
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1 ข้อใดกล่าวถึงการใช้ข้อมูลและสารสนเทศได้ถูกต้องที่สุด
(1) แดงเลิกกับแฟนเพราะเชื่อหมอดู
(2) มนัสใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามคําแนะนําของเจ้าหน้าที่เกษตรอําเภอ
(3) สมศรีชอบซื้อของตามโฆษณาผ่านไลน์
(4) รัฐบาลทําพิธีเสริมดวงตามคําแนะนําของโหรชื่อดัง
ตอบ 2 หน้า 3, 5, (คําบรรยาย) คําว่า “สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกิดจากข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ และประมวลผลแล้ว ตลอดทั้งความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ซึ่งบันทึกลงในสื่อหรือวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอด และเผยแพร่ได้ ดังนั้นสารสนเทศจึงมีความถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้มากกว่าข้อมูล เนื่องจาก สามารถนํามาช่วยแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินใจได้ ส่วนคําว่า “ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ เช่น ข่าวจากหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ ข่าวซุบซิบ ข่าวลือ การโฆษณาสินค้า ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การกล่าวหา/โจมตีคู่แข่งทางการเมือง เป็นต้น
2 อักษรคูนิฟอร์มเริ่มใช้งานในสมัยใด
(1) สุเมเรียน
(2) อียิปต์
(3) กรีก
(4) อัสสิเรียน
ตอบ 1 หน้า 6 – 7 ชาวสุเมเรียน ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ตามลุ่มน้ําไทกริสและยูเฟรติสของเมโสโปเตเมียเมื่อประมาณ 3,100 B.C. ถือเป็นชนชาติแรกที่รู้จักนําเอาเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ บันทึกลงบนแผ่นดินเหนียวด้วยอักษรรูปลิ่มหรือที่เรียกว่า “อักษรคูนิฟอร์ม” (Cuneiform) ต่อมาประมาณ 2,700 B.C. ชาวสุเมเรียนเริ่มจัดตั้งห้องสมุดอย่างเป็นระบบ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองเทลเลาะห์ (Telloh) ประเทศอิรัก
3 หอพระมณเฑียรธรรมเกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) วัดเบญจมบพิตร
(2) วัดมหาธาตุ
(3) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(4) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ตอบ 4 หน้า 10 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้สร้างหอพระมณเฑียรธรรมขึ้นกลางสระน้ำ ตรงมณฑปของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในบริเวณพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2326 เพื่อใช้เป็นที่เก็บคัมภีร์พระไตรปิฎก ดังนั้นจึงนับได้ว่าหอพระมณเฑียรธรรมทําหน้าที่เป็นหอสมุดแห่งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์
4 “แดงติดตามข่าวผ่านไลน์อย่างต่อเนื่อง” แสดงว่าแดงมีคุณสมบัติของนักปราชญ์ในข้อใด
(1) สุตตะ
(2) จินตะ
(3) ปุจฉา
(4) ลิขิต
ตอบ 1 หน้า 20, (คําบรรยาย) หลักของหัวใจนักปราชญ์ ได้แก่ “สุ จิ ปุ ลิ” มีดังนี้
1 สุ (สุต หรือสุตตะ) คือ การรับฟังหรือการรับสารทั้งปวง รวมทั้งการอ่านหนังสือ และการค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ
2 จิ (จินตนะ หรือจินตะ) คือ การคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
3 ปุ (ปุจฉา) คือ การไต่ถามหรือเสวนาหาคําตอบจากผู้รู้
4 ลิ (ลิขิต) คือ การเขียนหรือการจดบันทึกข้อมูล
5 ข้อใดคือการอ่านที่ใช้สําหรับการค้นหาคําตอบจากหนังสือพจนานุกรม
(1) การอ่านคร่าว ๆ
(2) การอ่านอย่างเจาะจง
(3) การอ่านเพื่อศึกษารายละเอียด
(4) การอ่านอย่างวิเคราะห์
ตอบ 2 หน้า 18 การอ่านอย่างเฉพาะเจาะจง (Scanning) เป็นการอ่านเพื่อค้นหาคําตอบเฉพาะเรื่องซึ่งผู้อ่านไม่จําเป็นต้องเสียเวลาอ่านตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย แต่ให้ผู้อ่านกวาดสายตา ไปตลอดหน้ากระดาษเพื่อหาสิ่งที่ต้องการ โดยการอ่านในลักษณะนี้มักจะนิยมใช้กับการค้นหา ความรู้จากหนังสืออ้างอิงประเภทต่าง ๆ เช่น การค้นหาความหมายของคําจากหนังสือพจนานุกรม การอ่านค้นหาคําตอบจากหนังสือสารานุกรม, การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับองค์การและสถาบันต่าง ๆในหนังสือนามานุกรม ฯลฯ
6 ห้องสมุดในข้อใดที่ไม่อนุญาตให้ยืมหนังสือออกนอกห้องสมุด
(1) ห้องสมุดโรงเรียน
(2) ห้องสมุดมหาวิทยาลัย
(3) หอสมุดแห่งชาติ
(4) ห้องสมุดเฉพาะ
ตอบ 3 หน้า 27 หอสมุดแห่งชาติ เป็นแหล่งค้นคว้าที่สําคัญระดับชาติ โดยให้บริการความรู้แก่ประชาชนทั่วไปไม่จํากัดเพศวัย เชื้อชาติ ศาสนา และพื้นฐานความรู้ ซึ่งจะให้บริการเช่นเดียวกับ ห้องสมุดประชาชน แต่ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ยืมหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุออกนอกห้องสมุด
7 ข้อใดกล่าวถึงหอจดหมายได้ถูกต้องที่สุด
(1) แหล่งรวบรวมเอกสารเก่าที่มีคุณค่า
(2) สถานที่รวบรวมสิ่งของโบราณ
(3) แหล่งสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นในพระราชวัง
(4) สถานที่จัดแสดงงานศิลปะชั้นเลิศ
ตอบ 1 หน้า 36 หอจดหมายเหตุ เป็นหน่วยงานสารสนเทศที่จัดเก็บรวบรวมรักษาเอกสารจดหมายเหตุที่สําคัญ ๆ ไว้มากที่สุด เช่น เอกสารทางราชการ จดหมายโต้ตอบ บันทึกส่วนตัว ฯลฯ ซึ่งเป็น เอกสารโบราณหรือเอกสารเก่าย้อนหลังที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศหรือของทาง ราชการ หน่วยงานเอาชนและบุคคล ทั้งนี้เพื่อรวบรวมเหตุการณ์ที่ผ่านมาเพื่อเป็นหลักฐาน อ้างอิงทางประวัติศาสตร์ กฎหมาย วิชาการ หรือการค้นคว้าวิจัย และเพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป เช่น หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ
8 ฝ่ายใดของสํานักหอสมุดกลาง ม.ร. ที่ให้บริการหนังสือพิมพ์ฉบับสมบูรณ์ย้อนหลังกว่า 10 ปี
(1) ฝ่ายวารสารและเอกสาร
(2) ฝ่ายบริการสารสนเทศ
(3) ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์
(4) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ 3 หน้า 41, 169 ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์ มีหน้าที่พิจารณาคัดเลือกเอกสารสิ่งพิมพ์ที่มีคุณค่าและหายากเพื่อถ่ายไมโครฟิล์ม เช่น หนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังที่จัดเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิล์ม ฯลฯ นอกจากนี้ยังให้บริการตอบคําถามและช่วยการศึกษาค้นคว้าจากไมโครฟอร์ม แนะนําวิธีใช้ ไมโครฟอร์มและโสตทัศนวัสดุต่าง ๆ บริการให้ยืมโสตทัศนวัสดุทุกประเภท เช่น แถบวีดิทัศน์บริการฉายสไลด์ ฟิล์มสตริปและภาพยนตร์ รวมทั้งจัดทําบรรณานุกรมวัสดุไม่ตีพิมพ์ต่าง ๆ
9 ข้อใดหมายถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด
(1) ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ตัวแทนจําหน่ายขายกับห้องสมุด
(2) ฐานข้อมูลออนไลน์ที่บริษัทให้ทดลองใช้ฟรีกับห้องสมุด
(3) ฐานข้อมูลออนไลน์ที่บริษัทสาธิตและอบรมกับบรรณารักษ์
(4) ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดเป็นสมาชิกและพร้อมให้บริการ
ตอบ 4 หน้า 55, 76, 133 – 134 ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด หมายถึง แหล่งสารสนเทศทุกรูปแบบที่ห้องสมุดได้คัดเลือก จัดหา วิเคราะห์ และจัดเก็บรวบรวมอย่างเป็นระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งตีพิมพ์บนแผ่นกระดาษ สิ่งบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยมือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิกและจัดประเภท พร้อมให้บริการ รวมทั้งบรรณารักษ์หรือบุคลากรบริการสารสนเทศที่ทําหน้าที่ให้บริการและช่วยผู้ใช้ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
10 หน้าโฮมเพจของเว็บไซต์ที่แสดงรายการเชื่อมโยงหน้าเว็บเพจเข้าด้วยกันเพื่อเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการคล้ายกับส่วนใดของหนังสือมากที่สุด
(1) หน้าปกหนังสือ
(2) หน้าสารบัญ
(3) หน้าลิขสิทธิ์
(4) หน้าคํานํา
ตอบ 2 หน้า 58, 62 – 63, (คําบรรยาย) โฮมเพจ (Home Page) คือ หน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์ ดังนั้นโฮมเพจจึงคล้ายกับส่วนประกอบของหนังสือ ดังนี้
1 ในแง่ของเว็บเพจแรกที่บอกว่าเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร มีเนื้อหาสําคัญอะไรบ้าง โฮมเพจ จะคล้ายกับหน้าปกหนังสือ
2 ในแง่ที่แสดงรายการเชื่อมโยงหน้าเว็บเพจเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้ Link ไปยังเว็บเพจต่าง ๆ เพื่ออ่านข้อมูล โฮมเพจจะคล้ายกับหน้าสารบัญของหนังสือ
11 ข้อใดกล่าวถึงอภิธานศัพท์ของหนังสือได้ชัดเจนที่สุด
(1) ส่วนที่ให้คําอธิบายคํายากหรือคําศัพท์เฉพาะของหนังสือเล่มนั้น
(2) ส่วนที่ช่วยอธิบายคําหรือข้อความบางตอนที่ปรากฏในเนื้อหา
(3) บัญชีรายชื่อหนังสือที่ปรากฏในท้ายเล่มของหนังสือ
(4) บัญชีคําหรือวลีที่ปรากฏในตอนท้ายของหนังสือ
ตอบ 1 หน้า 64 อภิธานศัพท์ (Glossary) เป็นส่วนที่ให้คําอธิบายคํายากหรือศัพท์เฉพาะที่ปรากฏในเนื้อเรื่องของหนังสือ มักมีในหนังสือที่ใช้ศัพท์มาก และมีลักษณะคล้ายเป็นพจนานุกรม ของหนังสือเล่มนั้น เพื่อช่วยให้เข้าใจความหมายของศัพท์เฉพาะในหนังสือเล่มนั้น โดยที่ผู้อ่านไม่ต้องเสียเวลาเปิดหาความหมายจากพจนานุกรม
12 ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบสําคัญในหน้าปกของหนังสือพิมพ์ที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน
(1) สารบัญข่าว
(2) ภาพข่าว
(3) ความนํา
(4) พาดหัวข่าว
ตอบ 1 หน้า 65 – 66 ส่วนประกอบหลักที่สําคัญของหนังสือพิมพ์มี 3 ส่วน ได้แก่
1 พาดหัวข่าว (Heacline) เป็นอักษรตัวดําหนาขนาดใหญ่เรียงอยู่ส่วนบนสุดของหน้ากระดาษซึ่งจะเป็นข้อความสั้น ๆ ที่สรุปสาระสําคัญที่มีอยู่ในเนื้อข่าว ถือเป็นส่วนที่สะดุดตาผู้อ่านและจูงใจให้อยากรู้รายละเอียดของข่าวสารมากที่สุด
2 ความนํา (Lead) หรือวรรคนําหรือโปรยข่าว เป็นย่อหน้าแรกของข่าวแต่ละข่าว ซึ่งจะเป็นประโยคสั้น ๆ ที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านให้ติดตามอ่านข่าวตลอดทั้งเรื่อง
3 ภาพข่าวหรือภาพถ่าย (Photographs) เป็นส่วนประกอบที่น่าสนใจมากที่สุด เพราะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้เป็นอย่างดี รวมทั้งยังช่วยจัดหน้าหนังสือพิมพ์ให้น่าอ่านอีกด้วย
13 ข้อใดคือทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่ให้สาระเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้คนในช่วงเวลานั้น ๆ
(1) กฤตภาค
(2) จุลสาร
(3) วารสาร
(4) ต้นฉบับตัวเขียน
ตอบ 2 หน้า 66 – 67 จุลสาร (Pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ทันสมัยและอยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไปในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นบทความทางวิชาการ ต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ หรือความรู้ที่หน่วยงานราชการ องค์การ หรือสมาคมต่าง ๆ ต้องการเผยแพร่ ให้ประชาชนทราบ อาจพิมพ์ออกเป็นเอกสารเล่มเล็กเดี่ยว ๆ หรี พิมพ์เป็นตอน ๆ โดยรูปเล่ม ทั่วไปจะไม่มีการเข้าปกเย็บเล่มถาวร มีจํานวนหน้าไม่เกิน 60 หน้า ทั้งนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผ่นพับหรืออยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า “อนุสาร” (Brochure) ก็ได้
14 นักศึกษาต้องการเรียนด้วยตัวเองตามอัธยาศัยโดยศึกษาจากวิดีโอย้อนหลัง จัดเป็นสื่อประเภทใด
(1) โสตทัศน์
(2) โสตวัสดุ
(3) ทัศนวัสดุ
(4) อิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 1 หน้า 67 – 73, 77 สื่อโสตทัศน์ (โสตทัศนวัสดุ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1 โสตวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการฟัง เช่น แผ่นเสียงหรือจานเสียง แถบบันทึกเสียง เทปซีดีออดิโอ แผ่นเอ็มพี 3 ฯลฯ
2 ทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการเห็น เช่น วัสดุกราฟิก รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก ภาพนิ่งแผ่นโปร่งใส หุ่นจําลอง ของตัวอย่าง ฯลฯ
3 สื่อโสตทัศน์ หรือโสตทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารทั้งโดยการฟังและการเห็น เช่น ภาพยนตร์แถบวีดิทัศน์หรือวิดีโอ วีซีดี ดีวีดี วิดีโอคลิป ฯลฯ
15 ห้องสมุดนิยมอนุรักษ์เนื้อหาสาระจากหนังสือพิมพ์เก่าไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบใด
(1) ไมโครฟิล์ม
(2) ไมโครฟิช
(3) Winzipdata
(4) Metadata
ตอบ 1 หน้า 169 ห้องสมุดโดยทั่วไปนิยมคัดเลือกและจัดเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังที่สําคัญ ๆด้วยการถ่ายเป็นวัสดุยอส่วนแล้วเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิล์ม เพื่อรักษาสภาพเป็นการสงวนรักษา หนังสือพิมพ์และประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ เช่น สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง จะจัดเก็บหนังสือพิมพ์ 10 ฉบับไว้ในรูปไมโครฟิล์ม ได้แก่ สยามรัฐ มติชน ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวพาณิชย์ มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ ประชาชาติ Bangkok Post และ The Nation
16 สื่อ USB Flash Drive ใช้วิธีการบันทึกข้อมูลเช่นเดียวกับสื่อในข้อใด
(1) จานแม่เหล็กชนิดอ่อน (Floppy Disk)
(2) จานแสง (Optical Disk)
(3) ซีดีรอม (CD-ROM)
(4) วีดิทัศน์ดิจิตอล (DVD)
ตอบ 1 หน้า 75 – 76, 78, (คําบรรยาย) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอักขระแบบดิจิตอล ซึ่งต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือแสงเลเซอร์ ในการบันทึกและอ่านข้อมูล แบ่งออกเป็น
1 แผ่นจานแม่เหล็กแบบอ่อน (Diskette หรือ Floppy Disk) บันทึกโปรแกรมสําเร็จรูป
2 จานแสง (Optical Disk) เช่น VCD, DVD, CD-ROM บันทึกฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่นฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ ฐานข้อมูลด้านการศึกษา ฐานข้อมูลเชิงบรรณานุกรม ฯลฯ
3 USB Flash Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ โดยมีวิธีการ – บันทึกข้อมูลเหมือน Hard Disk หรือ Floppy Disk มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวกในการพกพาติดตัว และสามารถเก็บข้อมูลได้จํานวนมากตั้งแต่ 128 MB – 8 GB
17 ส่วนใดของหนังสืออ้างอิงที่ระบุเลขหน้าของเนื้อหาที่ผู้ใช้ต้องการ
(1) ส่วนโยง
(2) ดรรชนี
(3) ดรรชนีริมหน้ากระดาษ
(4) อักษรนําเล่ม
ตอบ 2 หน้า 84 ดรรชนี (Index) คือ การลําดับคําหรือข้อความเรียงไว้ตามลําดับตัวอักษรพร้อมทั้งมีเลขหน้ากํากับไว้ เพื่อแสดงว่าคําหรือข้อความนั้นมีรายละเอียดปรากฏอยู่ในหน้าใดบ้างของ หนังสือเล่มนั้น ส่วนใหญ่ดรรชนีจะอยู่ตอนท้ายของหนังสือแต่ละเล่ม แต่ถ้าเป็นหนังสือชุด เช่น สารานุกรม ดรรชนี้จะอยู่ในเล่มสุดท้าย
18 ข้อใดให้ความหมายคําศัพท์ทางจิตวิทยาได้ชัดเจนและครอบคลุมที่สุด
(1) พจนานุกรมภาษาเดียว
(2) พจนานุกรมหลายภาษา
(3) พจนานุกรมเฉพาะวิชา
(4) พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์
ตอบ 3 หน้า 85, 89 – 90, (คําบรรยาย) พจนานุกรมเฉพาะวิชา คือ พจนานุกรมสําหรับค้นหาความหมายของคําที่ใช้ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์การแพทย์ พจนานุกรมรวมคําศัพท์ทางการศึกษา ซึ่งจะให้ศัพท์ทั้งทางด้านจิตวิทยา สังคมวิทยา และปรัชญา เป็นต้น
19 ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับจากสารานุกรมได้ชัดเจนที่สุด
(1) ความหมายและประวัติของคํา “พลังงาน”
(2) ความหมาย ประเภท ประโยชน์ และรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับ “พลังงาน”
(3) รายชื่อหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ “พลังงาน”
(4) รายชื่อและที่มาของบทความเกี่ยวกับ “พลังงาน”
ตอบ 2 หน้า 91 – 92, 95 สารานุกรม (Encyclopedia) หมายถึง หนังสือที่รวบรวมความรู้หรือข้อเท็จจริงพื้นฐานในแขนงวิชาต่าง ๆ อย่างกว้าง ๆ เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญ ในแต่ละสาขาวิชา เพื่อให้ข้อมูลหรือความรู้ในรูปของบทความ โดยมีอักษรย่อของผู้เขียนกํากับ ไว้ที่ท้ายบทความ และจัดเรียงเนื้อหาตามลําดับตัวอักษรหรือแบ่งเป็นหมวดหมู่วิชา ซึ่งอาจมี เล่มเดียวจบหรือหลายเล่มจบที่เรียกว่า “หนังสือชุด” ส่วนใหญ่สารานุกรมจะมีภาพประกอบและมีดรรชนีช่วยค้นเรื่อง (Fact Index) อยู่ตอนท้ายเล่ม หรือถ้าเป็นหนังสือชุดก็จะอยู่เล่มสุดท้าย
20 ต้องการประวัติการศึกษาและผลงานของหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ค้นได้จากหนังสืออ้างอิงประเภทใด
(1) อักขรานุกรมชีวประวัติ
(2) พจนานุกรม
(3) สารานุกรม
(4) สมพัตสร
ตอบ 1 หน้า 97 อักขรานุกรมชีวประวัติ คือ หนังสือที่รวบรวมประวัติชีวิตของบุคคลสําคัญ โดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับเชื้อชาติ สถานที่เกิด วันเดือนปีเกิดหรือตาย ที่อยู่ ระดับการศึกษา ตําแหน่งหน้าที่การงาน ประสบการณ์ในการทํางาน ผลงานดีเด่น และสถานภาพทางครอบครัว ทั้งนี้เพื่อต้องการให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาว่าผู้ที่มีชื่อเสียงในอดีตนั้นได้ทําคุณประโยชน์ให้กับบ้านเมืองอย่างไรบ้าง
21 นามานุกรมให้สารสนเทศด้านใด
(1) ให้ข่าวสาร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประจําวัน
(2) ให้ความรู้ ข่าวสารอย่างคร่าว ๆ
(3) รวบรวมรายชื่อ ที่อยู่ และข้อมูลสําหรับการติดต่อ
(4) รวบรวมผลงานของบุคคลที่มีชื่อเสียง
ตอบ 3 หน้า 102 – 103, 105 นามานุกรม (Directory) คือ หนังสือที่รวบรวมรายชื่อของบุคคล องค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมกับสถานที่อยู่หรือที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์สําหรับการติดต่อ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่
1 นามานุกรมท้องถิ่น เช่น สมุดโทรศัพท์
2 นามานุกรมของรัฐ เช่น นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย
3 นามานุกรมสถาบัน เช่น ชื่อมหาวิทยาลัย โรงเรียน ห้องสมุด ฯลฯ
4 นามานุกรมสาขาอาชีพ เช่น ทําเนียบกระทรวงยุติธรรม พุทธศักราช 2530
5 นามานุกรมการค้าและธุรกิจ เช่น รวมโรงงานอุตสาหกรรม
22 หนังสืออ้างอิงในข้อใดที่ใช้ค้นหาเหตุการณ์สําคัญที่เกิดขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
(1) พจนานุกรม
(2) สารานุกรม
(3) สมพัตสร
(4) บรรณานุกรม
ตอบ 3 หน้า 112 ปฏิทินเหตุการณ์รายปีหรือสมพัตสร (Almanac) คือ หนังสือที่รวบรวมความรู้เบ็ดเตล็ดหลายด้านและสถิติทั่วไปในรอบหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาจนถึงปีปัจจุบันของทุกประเทศในโลก โดยจะให้ข้อมูลอย่างสังเขปที่ครอบคลุมเรื่องราวต่าง ๆ เช่น ปฏิทินลําดับเหตุการณ์ สําคัญ ข้อมูลทางดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ วันสําคัญทางศาสนา สถิติเกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและทรัพยากรของโลก เป็นต้น
23 หนังสือที่ให้คําจํากัดความเกี่ยวกับสถานที่ทางภูมิศาสตร์ คือข้อใด
(1) อักขรานุกรมภูมิศาสตร์
(2) พจนานุกรม
(3) หนังสือแผนที่
(4) หนังสือนําเที่ยว
ตอบ 1 หน้า 115 อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ เป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลอย่างสังเขปเกี่ยวกับชื่อของสถานที่สําคัญทางภูมิศาสตร์ มีลักษณะคล้ายพจนานุกรมที่ให้คําจํากัดความเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ ทางภูมิศาสตร์อย่างสั้น ๆ ให้คําอ่านและรายละเอียดอื่น ๆ ได้อย่างกระชับและน่าเชื่อถือที่สุด เช่น สถานที่ตั้ง ระยะทาง เส้นรุ้ง เส้นแวง ความตื้นลึกของทะเล ความสูงของภูเขา จํานวนผลผลิตทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม จํานวนประชากร ตราประจําจังหวัด เป็นต้น
24 หนังสืออ้างอิงข้อใดที่ให้แหล่งที่มาและเนื้อหาที่สําคัญของบทความ เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนไปอ่านจากต้นฉบับจริง
(1) บรรณานุกรม
(2) ดรรชนี
(3) สาระสังเขป
(4) นามานุกรม
ตอบ 3 หน้า 84, 119 120 สาระสังเขป เป็นหนังสืออ้างอิงที่ชี้แนะแหล่งสารสนเทศ โดยมีลักษณะเป็นการสรุปหรือย่อสาระสําคัญของเนื้อเรื่องหรือเรื่องราวสําคัญ ๆ ของบทความในวารสาร หนังสือ และเอกสารประเภทอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเนื้อหาสาระสําคัญก่อนที่จะไปอ่านจากต้นฉบับจริงที่สมบูรณ์
25 ข้อใดคือหนังสือบรรณานุกรมที่จัดทําโดยหอสมุดแห่งชาติ
(1) บรรณานุกรมสากล
(2) บรรณานุกรมเฉพาะวิชา
(3) บรรณานุกรมแห่งชาติ
(4) บรรณานุกรมร้านค้า
ตอบ 3 หน้า 29, 129 บรรณานุกรมแห่งชาติ เป็นหนังสือที่จัดทําขึ้นโดยหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งได้รวบรวมรายชื่อหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ของไทยโดยเฉพาะ เพื่อใช้เป็นหลักฐานสําคัญและเป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้า
26 ข้อใดเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ
(1) เลขเรียกหนังสือ
(2) เลขผู้แต่ง
(3) เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ
(4) เลขหมู่หนังสือ
ตอบ 4 หน้า 157 เลขหมู่หนังสือ (Class Number) เป็นสัญลักษณ์ที่กําหนดขึ้นเพื่อแสดงกลุ่มเนื้อหาสาระของหนังสือและ/หรือประพันธ์วิธีของหนังสือแต่ละเล่ม ทั้งนี้อาจแตกต่างกันตามระบบการจัดหมู่หนังสือ
27 ระบบการจัดหมู่หนังสือข้อใดที่แบ่งสรรพวิทยาการในโลกออกเป็น 10 หมวดใหญ่
(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน
(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้
(3) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา
(4) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล
ตอบ 2 หน้า 151, 153 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification
: DDC หรือ DC) เป็นระบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในห้องสมุดขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ที่มีหนังสือทั่ว ๆ ไปหลายสาขาวิชาในจํานวนที่ไม่มากนัก เช่น ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุด โรงเรียน เป็นต้น ซึ่งการจัดหมู่หนังสือด้วยระบบนี้จะเป็นแบบเชิงกว้าง โดยแบ่งสรรพวิทยาการ ในโลกออกเป็น 10 หมวดใหญ่ และใช้สัญลักษณ์แสดงเนื้อหาของหนังสือเป็นเลขอารบิก 3 หลัก ตั้งแต่ 100 – 000 กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งเพื่อแบ่งเนื้อหาให้ชี้เฉพาะยิ่งขึ้น
28 ข้อใดคือระบบการจัดหมู่หนังสือของสํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน
(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้
(3) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา
(4) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบเศนียมสากล
ตอบ 1 หน้า 153 – 155 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification : LCC หรือ LC) เป็นระบบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่มีหนังสือเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือมีหนังสือทั่วไปทุกประเภทเป็นจํานวนมาก เช่น ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นต้น โดยจะแบ่งเนื้อหาหนังสือออกเป็น 20 หมวดใหญ่ และใช้สัญลักษณ์ในการจัดหมู่หรือเลขหมู่หนังสือเป็นแบบผสม คือ ใช้ตัวอักษรโรมัน A – Z (ยกเว้น I, 0, W, X, Y) แสดงเนื้อหาในหมวดใหญ่ และใช้ตัวเลขอารบิกตั้งแต่ 1 – 9999 กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งแบ่งย่อยเรื่องอีกที่หนึ่ง
29 ระบบการจัดหมู่หนังสือในข้อใดที่เหมาะสมสําหรับห้องสมุดโรงพยาบาล
(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้
(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน
(3) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา
(4) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล
ตอบ 3 หน้า 155 – 156 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา(National Library Medicine : NLAM) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่ใช้กับห้องสมุดทางการแพทย์ สาธารณสุข และพยาบาล โดยจะใช้อักษรโรมัน W และเลขอารบิกเป็นสัญลักษณ์เช่นเดียวกับ การจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน แต่จะมีความแตกต่างกันในด้านการจําแนก ซึ่งระบบนี้จะนิยมใช้กับห้องสมุดของคณะแพทยศาสตร์ในทุกสถาบัน เช่น หอสมุดศิริราช, ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่, ห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ,ห้องสมุดคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ขอนแก่น, ห้องสมุดของโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นต้น
30 ข้อใดมีส่วนประกอบของเลขเรียกหนังสือครบถ้วน
(1) 895.911 ม
(2) 895.911 ม334ส
(3) 895.911 ม334
(4) 895.911
ตอบ 2 หน้า 157 – 159, (คําบรรยาย) ส่วนประกอบสําคัญของเลขเรียกหนังสือมี 3 ส่วน คือ
1 เลขหมู่หนังสือ ซึ่งอาจแตกต่างกันตามระบบการจัดหมู่หนังสือ
2 เลขผู้แต่ง (ประกอบด้วยตัวอักษรกับตัวเลข) และอักษรตัวแรกของชื่อเรื่องหรือชื่อหนังสือ
3 สัญลักษณ์อื่น ๆ (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) เช่น ปี พ.ศ. เล่มที่ ฉบับที่ ฯลฯ
ดังตัวอย่างเลขเรียกหนังสือดังนี้
895.911 – เลขหมู่หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้
ม334ส – เลขผู้แต่ง (ม334) และอักษรชื่อเรื่อง (ส)
30
PL
340
.K231L
ก
PN
3405
.A799T
ข
PE
255.4
.P735
2010
ค
PR
1132
.M36K
ง
ข้อใดเป็นการจัดเรียงหนังสือบนชั้นได้ถูกต้อง
(1) ง ค ก ข
(2) ข ก ง ค
(3) ง ก ค ง
(4) ค ก ข ง
ตอบ 4 หน้า 159 160 วิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้นในห้องสมุด จะพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือจากซ้ายไปขวา จากชั้นบนลงชั้นล่าง และจะพิจารณาจัดลําดับจากเลขหมู่หนังสือก่อน ทั้งนี้ ห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบทศนิยมดิวอี้จะเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก ส่วนห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันจะพิจารณาเรียงลําดับตาม ตัวอักษร A – Z ก่อน ต่อเมื่อตัวอักษรซ้ํากันจึงค่อยเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก แต่ถ้าเลขหมู่ซ้ํากันก็ให้พิจารณาจากเลขผู้แต่งหรือเลขประจําหนังสือ และอักษรชื่อเรื่องตามลําดับ (จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ ค ก ข ง)
32 ข้อใดเป็นวิธีการจัดเก็บวารสารฉบับย้อนหลังของห้องสมุด
(1) ถ่ายเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิล์ม
(2) จัดรวมไว้กับหนังสือพิมพ์ย้อนหลัง
(3) เย็บรวมเป็นเล่มเมื่อได้รับครบปี
(4) จัดเรียงไว้บนชั้นเอียงลาด
ตอบ 3 หน้า 168 วิธีจัดเก็บวารสารของห้องสมุด มีดังนี้
1 วารสารฉบับใหม่ คือ วารสารฉบับล่าสุด ห้องสมุดจะจัดเรียงไว้บนชั้นเอียงตามลําดับอักษรของชื่อวารสารจากซ้ายไปขวา และมีป้ายชื่อวารสารกํากับไว้ที่ชั้นตรงกับตําแหน่งของวารสาร
2 วารสารฉบับย้อนหลัง คือ วารสารที่ไม่ใช่ฉบับล่าสุด ซึ่งห้องสมุดจะนําไปเย็บรวมเป็นเล่ม เมื่อได้รับครบปีแล้วจัดเก็บไว้บนชั้น โดยเรียงตามลําดับอักษรของชื่อวารสาร และมีป้ายชื่อวารสารกํากับไว้ตรงตามตําแหน่งของวารสารนั้น ๆ
33 ตัวย่อภาษาอังกฤษ JUV หรือ J มักใช้เป็นตัวย่อสําหรับหนังสือประเภทใด
(1) หนังสือรวมเรื่องสั้น
(2) หนังสือสําหรับเด็กและเยาวชน
(3) หนังสือนวนิยายสําหรับวัยรุ่น
(4) หนังสือตําราเรียนขั้นพื้นฐาน
ตอบ 2 หน้า 156 157 ห้องสมุดหลายแห่งไม่นิยมกําหนดเลขหมู่ให้กับหนังสือบางประเภทเพราะพิจารณาว่าหนังสือเหล่านี้ผู้ใช้จะอ่านเพื่อความเพลิดเพลินมากกว่าเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ ดังนั้นห้องสมุดจึงมักให้สัญลักษณ์ง่าย ๆ โดยใช้อักษรย่อเพื่อบอกประเภทของหนังสือนั้น ๆ แทนการกําหนดเลขหมู่หนังสือ เช่น หนังสือนวนิยาย (น/นว หรือ FIC), หนังสือรวมเรื่องสั้น (รส หรือ SC), หนังสือสําหรับเด็กและเยาวชน (ย หรือ JUV/J) เป็นต้น
34 ห้องสมุดมีวิธีจัดเก็บแผ่นเสียงอย่างไร
(1) จัดแยกไว้ต่างหาก โดยกําหนดสัญลักษณ์ SR
(2) จัดเก็บไว้ในกล่อง โดยกําหนดสัญลักษณ์ CD
(3) จัดเก็บเป็นหมวด โดยกําหนดสัญลักษณ์ TD
(4) จัดเรียงตามเลขทะเบียน โดยกําหนดสัญลักษณ์ VR
ตอบ 1 หน้า 171 แผ่นเสียง (Phonodisc) เป็นวัสดุบันทึกเสียงประเภทหนึ่งที่มักจัดเก็บด้วยการบรรจุซอง 2 ชั้น แล้วจัดแยกเอาไว้ต่างหาก โดยมีการกําหนดสัญลักษณ์ SR (Sound Recording) ตามด้วยเลขทะเบียนหรือเลขหมู่ แล้วติดป้ายชื่อเรื่องบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง และนําไปจัดเรียงไว้ในตู้หรือชั้นเก็บแผ่นเสียง
35 ข้อใดเป็นวิธีการจัดเก็บกฤตภาค
(1) กําหนดเลขประจําเอกสาร
(2) กําหนดรหัสสื่อสิ่งพิมพ์
(3) กําหนดเลขหมู่
(4) กําหนดหัวเรื่อง
ตอบ 4 หน้า 163, 170 171 วิธีการจัดเก็บจุลสารและกฤตภาคของห้องสมุดจะใช้วิธีเดียวกันส่วนมากนิยมจัดเก็บแยกออกจากวัสดุสารสนเทศอื่น ๆ คือ จัดเก็บโดยกําหนดหัวเรื่องกํากับไว้ ที่มุมบนของปก แล้วนําจุลสารและกฤตภาคที่มีหัวเรื่องเดียวกันเก็บรวบรวมไว้ในแฟ้ม ปิดป้าย ชื่อหัวเรื่องที่แฟ้ม และนําแฟ้มไปจัดเก็บไว้ในตู้เก็บเอกสารเรียงตามลําดับอักษรของหัวเรื่องโดยที่หน้าลิ้นชักจะมีอักษรกํากับไว้ให้ทราบว่าแต่ละลิ้นชักมีแฟ้มเริ่มจากอักษรตัวใดถึงตัวใด
36 การจัดเก็บหนังสือพิมพ์รูปแบบใดเป็นการสงวนรักษาหนังสือพิมพ์
(1) บันทึกภาพลงในแถบวีดิทัศน์
(2) ถ่ายลงฟิล์มเป็นภาพนิ่ง
(3) ถ่ายเป็นวัสดุย่อส่วนในไมโครฟิล์ม
(4) ถ่ายลงแผ่นโปร่งใส
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ
37 ส่วนใดของบัตรรายการที่ช่วยให้ผู้ใช้ทราบถึงตําแหน่งของหนังสือในห้องสมุด
(1) เลขเรียกหนังสือ
(2) เลขทะเบียนหนังสือ
(3) เลขผู้แต่ง
(4) เลขหมู่หนังสือ
ตอบ 1 หน้า 157, 191 เลขเรียกหนังสือ (Cat Number) เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเฉพาะที่ห้องสมุดกําหนดให้กับหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด โดยเลขเรียกหนังสือที่ปรากฏบนบัตรรายการจะเป็นเครื่องชี้บอกตําแหน่งของหนังสือบนชั้น ซึ่งเป็นที่เก็บหนังสือของห้องสมุด
38 ส่วนใดของบัตรรายการที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนหน้าของหนังสือ
(1) รายการหลัก
(2) การพิมพ์และการจําหน่าย
(3) ลักษณะรูปร่าง
(4) หมายเหตุ
ตอบ 3 หน้า 191, 193, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 220) ลักษณะวัสดุ หรือลักษณะรูปร่าง(Physical Description) เป็นรายการที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะรูปร่าง ส่วนประกอบ และขนาดของหนังสือ ประกอบด้วย จํานวนหน้าหรือจํานวนเล่ม ภาพประกอบ และส่วนสูง ของหนังสือ เช่น V, 120 p. : it. (some cot.) ; 21 cm. หมายถึง หนังสือเล่มเดียวจบ (v = volume) มีทั้งหมด 120 หน้า (120 p.) มีภาพประกอบ (11. = illustration) สีบางส่วน (some col. = some color) และมีส่วนสูง 21 เซ็นติเมตร (21 cm.)
39 ส่วนใดของบัตรรายการที่ช่วยให้ผู้อ่านทราบว่าหนังสือมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
(1) หัวเรื่องในส่วนของแนวสืบค้น
(2) ชื่อผู้แปลจากการแจ้งความรับผิดชอบ
(3) ชื่อเรื่องจากแนวสืบค้น
(4) ชื่อผู้แต่งที่ปรากฏบนรายการหลัก
ตอบ 1 หน้า 193, 195, 214 แนวสืบค้น (Tracing) เป็นรายการที่บอกให้ทราบว่านอกจากบัตรยืนพื้นหรือบัตรหลักแล้ว ห้องสมุดได้ทําบัตรชนิดใดเพิ่มอีกบ้าง แนวสืบค้นมี 2 ส่วน ได้แก่
1 ส่วนที่เป็นหัวเรื่อง (Subject Headings) ได้แก่ บัตรหัวเรื่องหรือบัตรเรื่อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านทราบว่าหนังสือเล่มนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
2 รายการเพิ่มต่าง ๆ เช่น บัตรผู้แต่งร่วม บัตรผู้แปล บัตรผู้วาดภาพประกอบ เป็นต้น
40 รายละเอียดของหนังสือในข้อใดที่ไม่ปรากฏในบัตรรายการ
(1) บรรณานุกรม
(2) ผู้ทําบัตรรายการ
(3) ดรรชนี
(4) เลขเรียกหนังสือ
ตอบ 2 หน้า 190 – 193 รายละเอียดของหนังสือที่บันทึกในบัตรรายการ ได้แก่
1 เลขเรียกหนังสือ
2 ชื่อผู้แต่งหรือรายการหลัก
3 ชื่อเรื่องและการแจ้งความรับผิดชอบ
4 ครั้งที่พิมพ์หรือฉบับพิมพ์
5 การพิมพ์และการจัดจําหน่าย ประกอบด้วย สถานที่พิมพ์ สํานักพิมพ์ และปีที่พิมพ์
6 ลักษณะวัสดุหรือลักษณะรูปร่าง
7 ชื่อชุด
8 หมายเหตุ ประกอบด้วย บรรณานุกรม ดรรชนี อภิธานศัพท์ ภาคผนวก เป็นต้น
9 เลขมาตรฐานสากล
10 แนวสืบค้น
41 ข้อใดคือรายการโยงที่ใช้โยงไปยังหัวเรื่องที่เกี่ยวข้อง
(1) “ดูเพิ่มที่”
(2) “ไปที่”
(3) “ดูเพิ่มเติมที่”
(4) “ดูที่”
ตอบ 3 หน้า 199, 225 รายการโยง (Cross Reference) คือ การกําหนดสัญลักษณ์เพื่อแสดงให้ทราบว่าคําหรือวลีที่ตามมาใช้เป็นหัวเรื่องได้หรือไม่ และมีความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับ เนื้อหามากน้อยเพียงใด โดยมีตัวอย่างสัญลักษณ์ดังนี้
1 sa (see also) หรือ “ดูเพิ่มเติมที่” ใช้โยงไปสู่หัวเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กัน แต่มีเนื้อหาแคบกว่า
2 x ใช้หน้าคําหรือวลีที่เลิกใช้เป็นหัวเรื่องแล้ว
3 see หรือ “ดูที่” ใช้โยงหน้าคําหรือวลีที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่องไปยังทาหรือวลีที่ใช้เป็นหัวเรื่อง
4 ใช้หน้าคําหรือวลีที่มีความหมายสัมพันธ์กับหัวเรื่องใหญ่ แต่มีเนื้อหากว้างกว่ามาก
42 ก. สิทธิมนุษยชน ข. สถิติพื้นฐาน ค. สนุกกับภาษา ง. สํามะโนการเกษตร จ. สกุลกา
จากข้อมูลข้างต้น ข้อใดเรียงบัตรรายการตามแบบพจนานุกรมได้ถูกต้อง
(1) จ ง ค ก ข
(2) ง ค น ข ก
(3) จ ข ค ง ก
(4) ก จ ค ง ข
ตอบ 3 หน้า 207 – 210 การเรียงบัตรรายการหนังสือภาษาไทย มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1 ให้เรียงตามลําดับอักษร ก-ฮ โดยไม่คํานึงถึงเสียงอ่าน
2 คําที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตัวเดียวกัน ให้เรียงคําที่มีตัวสะกดไว้ก่อนคําที่มีรูปสระ และเรียงลําดับรูปสระตามแบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
3 ผู้แต่งคนเดียวกันแต่งหนังสือหลายเล่ม ให้เรียงตามลําดับอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง
(จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ จ ข ค ง ก)
43 ก Language death
ข Laws
ค Language in Society
ง Las Vegas
จ Language for daily use
จากข้อมูลข้างต้น ข้อใดเรียงบัตรรายการตามแบบพจนานุกรมได้ถูกต้อง
(1) ง ค น ข ก
(2) จ ข ก ง ค
(3) จ ข ค ง ก
(4) ก จ ค ง ข
ตอบ 4 หน้า 210 – 213 การเรียงบัตรรายการหนังสือภาษาอังกฤษ มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1 ให้เรียงตามลําดับอักษร A – Z โดยเรียงแบบคําต่อคํา ไม่ต้องคํานึงถึงเครื่องหมายใด ๆ
2 ถ้ามีคํานําหน้านาม เช่น a, an, the, de, dela, les ฯลฯ ขึ้นต้นประโยค เวลาเรียงบัตรไม่ต้องคํานึงถึงคําเหล่านี้ แต่ให้เรียงลําดับอักษรของคําที่อยู่ถัดไป ยกเว้นถ้าคํานําหน้านามเป็นส่วนหนึ่งของประโยค จะต้องเรียงลําดับอักษรของคํานําหน้านามนั้นด้วย
3 คําย่อที่เป็นคํานําหน้าชื่อบุคคลและยศให้เรียงลําดับเหมือนเป็นคําที่สะกดเต็ม เช่น Mr. เรียงตามคําสะกดเต็มคือ Mister เป็นต้น (จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ กจ คงข)
44 “LCSH” หมายถึงอะไร
(1) บัญชีหัวเรื่องภาษาอังกฤษ
(2) บัญชีคําศัพท์สําคัญ
(3) บัญชีหัวเรื่องศัพท์แพทย์
(4) บัญชีหัวเรื่องศัพท์อิสระ
ตอบ 1 หน้า 221, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 250 – 251) หัวเรื่อง หมายถึง คําหรือวลีหรือชื่อเฉพาะต่าง ๆ ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือและสื่ออื่น ๆ โดยบรรณารักษ์ไม่ได้เป็นผู้เลือกขึ้นเอง แต่จะเลือกจากคําหรือวลีที่เป็นศัพท์ควบคุม เพื่อค้นหาหนังสือในห้องสมุดจากบัญชีหัวเรื่อง มาตรฐานที่นิยมใช้ในการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด ได้แก่
1 Library of Congress Subject Headings (LCSH) จัดทําขึ้นโดยห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันเพื่อใช้เป็นบัญชีหัวเรื่องหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษสําหรับห้องสมุดขนาดใหญ่
2 Sear’s List of Subject Headings (Sear’s List) เป็นบัญชีหัวเรื่องสําหรับหนังสือทั่วไปที่เป็นภาษาอังกฤษสําหรับห้องสมุดขนาดเล็ก โดยจะใช้คู่กับการจัดหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้
45 “Libraries and readers” เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) หัวเรื่องคํานามคําโดด
(2) หัวเรื่องคําผสมที่สัมพันธ์กัน
(3) หัวเรื่องคําผสมที่ค้านกัน
(4) หัวเรื่องกลุ่มคํา
ตอบ 2 หน้า 223 – 224, 223 การกําหนดคําที่ใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่ มีลักษณะดังนี้
- คํานามคําเดียวโดด ๆ เช่น กบ ไกด์ นก ฯลฯ
2 คําผสมที่เป็นคํานาม 2 คํา เชื่อมด้วย “and”, “กับ”, “และ” ทั้งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ไปในทางเดียวกัน เช่น ชุมชนกับโรงเรียน บิดาและมารดา Libraries and readers ฯลฯและที่มีเนื้อหาค้านกัน เช่น ศาสนากับวิทยาศาสตร์ Good and evil ฯลฯ
3 คํานามที่ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) คันกลางและมีคําคุณศัพท์ที่ขยายคําแรกให้สื่อความหมายชัดขึ้น เช่น Art, abstract ฯลฯ
4 กลุ่มคําหรือวลี เช่น บริการแปล ชีวิตชนบท ฯลฯ
5 ชื่อเฉพาะที่เป็นคําวิสามานยนาม เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสัตว์ ชื่อสถานที่ ชื่อพระหรือเทพเจ้า ฯลฯ
46 สัญลักษณ์ในข้อใดที่ใช้คั่นกลางคําคุณศัพท์เพื่อขยายคําแรกให้มีความหมายชัดขึ้น
(1) ขีดสองขีด (-)
(2) จุลภาค (,)
(3) อัฒภาค ( 😉
(4) ทวิภาค ( 🙂
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ
47 สัญลักษณ์ “NT” ที่ปรากฏหน้าคําในบัญชีหัวเรื่องมีความหมายอย่างไร
(1) คําไม่ได้ใช้เป็นหัวเรื่องแล้ว
(2) คําที่มีความหมายกว้างกว่า
(3) คําที่มีความหมายแคบกว่า
(4) คําที่มีความสัมพันธ์กัน
ตอบ 3 หน้า 225 – 227, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 256) บัญชีหัวเรื่องมาตรฐาน LCSH ฉบับปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงการใช้สัญลักษณ์บางตัวเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ของคําที่ใช้เป็น หัวเรื่อง ดังนี้
1 BT (Broader Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่มีความหมายกว้างกว่า
2 NT (Narrower Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่มีความหมายแคบกว่า
3 RT (Related Term) คือ หัวเรื่องที่สัมพันธ์กับคําหลักหรือใช้แทนกันได้
4 UF (Use For) คือ หัวเรื่องที่ไม่กําหนดให้ใช้แล้ว
5 USE คือ หัวเรื่องที่กําหนดให้ใช้
6 — คือ หัวเรื่องย่อย
48 “Dissertation” เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) ผลงานวิชาการของผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก
(2) ผลงานวิชาการของผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
(3) ผลงานวิชาการของผู้สําเร็จการศึกษาระดับหลังปริญญาเอก
(4) ผลงานของอาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัย
ตอบ 1 หน้า 237 วิทยานิพนธ์ (Thesis) เป็นรายงานการวิจัย ผลงานวิชาการ หรือการค้นคว้าอย่างลึกซึ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ใช้เพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะทางวิชาการให้สูงขึ้น โดยวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (บัณฑิตศึกษา) จะเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า“ปริญญานิพนธ์” (Thesis) ระดับปริญญาเอกเรียกว่า “ดุษฎีนิพนธ์” (Dissertation)
49 ในการทํารายงาน ขั้นตอนใดที่ทําต่อจากการเลือกหัวข้อการทํารายงาน
(1) การรวบรวมบรรณานุกรม
(2) การบันทึกข้อมูล
(3) การสํารวจข้อมูล
(4) การเรียบเรียงรายงาน
ตอบ 3 หน้า 238 – 263 ขั้นตอนของการทํารายงานหรือภาคนิพนธ์มี 6 ขั้นตอน ดังนี้
1 การกําหนดชื่อเรื่องหรือเลือกหัวข้อที่จะทํารายงาน
2 การสํารวจข้อมูล
3 การรวบรวมบรรณานุกรม ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเขียนรายงานฉบับร่าง
4 การบันทึกข้อมูล หรือทําบัตรบันทึกข้อมูล
5 การวางโครงเรื่อง
6 การเรียบเรียงเนื้อหารายงานฉบับร่าง
50 “ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ” จัดเป็นแหล่งข้อมูลประเภทใด
(1) ปฐมภูมิ
(2) ทุติยภูมิ
(3) ตติยภูมิ
(4) เบญจภูมิ
ตอบ 1 หน้า 67, 240 แหล่งข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) เป็นหลักฐานเบื้องต้นหรือข้อมูลอันดับแรกที่ได้รับจากบุคคลโดยตรง เช่น ประสบการณ์ของตนเอง บันทึกส่วนตัว จดหมายโต้ตอบ พระบรมราโชวาท ต้นฉบับตัวเขียน (Manuscript) อัตชีวประวัติ บทสัมภาษณ์แบบสอบถาม สุนทรพจน์ ฯลฯ
2 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources) หรือข้อมูลอันดับรอง ได้แก่ หนังสือหรือตําราและวัสดุที่เป็นผลผลิตของการค้นคว้าจากหลักฐานเบื้องต้น เช่น บทความจากวารสาร ข่าวในหนังสือพิมพ์ ครรชนี สารานุกรม กฤตภาค ฯลฯ
51 “พ.ร.บ. การจดแจ้งการพิมพ์” เพื่อเรียบเรียงรายงาน ควรบันทึกข้อมูลแบบใด
(1) แบบลอกความ
(2) แบบสรุปความ
(3) แบบย่อความ
(4) แบบย่อคํา
ตอบ 1 หน้า 257, 260 261 การบันทึกข้อมูลแบบลอกความ (Quotation) จะเหมาะกับข้อความหรือข้อเท็จจริงที่ชัดแจ้ง เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์ ความหมายหรือคํานิยามในเชิงวิชาการ พระบรมราโชวาท พระราชบัญญัติ ข้อบังคับหรือคําสั่งของทางราชการ กวีนิพนธ์ และบทละคร ซึ่งมีข้อควรระวัง คือ ต้องคัดลอกทุกอย่างให้เหมือนต้นฉบับ ตอนใดที่คัดลอกมาทั้งหมดให้ คร่อมไว้ด้วยเครื่องหมายอัญประกาศ (4 ) แต่ถ้าคัดลอกมาเพียงบางส่วนให้ใช้เครื่องหมาย จุด 3 จุด (….) ใส่ไว้ก่อนหรือหลังข้อความนั้น โดยบัตรบันทึกชนิดนี้จะกระทําเมื่อ
1 ผู้ทํารายงานไม่สามารถหาคําพูดได้ดีกว่าเนื้อหาเดิม
2 เนื้อหาเดิมได้วางระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีการไว้อย่างดีแล้วจึงไม่ควรดัดแปลง
3 เนื้อหาเดิมบรรยายถึงแนวคิดของผู้แต่งจึงไม่ควรดัดแปลง
52 ข้อใดกล่าวถึงการเรียบเรียงรายงานได้อย่างถูกต้องที่สุด
(1) ควรใช้คําย่อเพื่อประหยัดเวลาผู้อ่าน
(2) การคิดรูปแบบอ้างอิงขึ้นใหม่เพื่อแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
(3) การเขียนรายงานควรใช้ภาษาสั้นกระชับถูกต้องตามหลักวิชาการ
(4) การคัดลอกงานคนอื่นให้แตกต่างจากเดิมเพื่อไม่ให้เจ้าของเดิมฟ้องร้อง
ตอบ 3 หน้า 263 264, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 337) ข้อควรพิจารณาในการเรียบเรียงรายงานฉบับร่าง มีดังนี้
1 เรียบเรียงเนื้อหาของรายงานตามลําดับของโครงเรื่องและบัตรบันทึก โดยเนื้อหาไม่ควรสั้นหรือยาวเกินไป
2 เตรียมบัตรบรรณานุกรม บัตรบันทึกข้อมูล และพจนานุกรมเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของคํา
3 ใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ สั้นกระชับ สุภาพ และอธิบายทุกสิ่งให้ชัดเจน
4 ไม่ใช้อักษรย่อและคําย่อ
5 เมื่อคัดลอกงานคนอื่นมาให้เขียนอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้องตามรูปแบบของสถาบันที่ส่งรายงาน โดยแสดงไว้หลังข้อความที่อ้าง และเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งตลอดรายงาน
6 การใส่ตาราง ภาพประกอบ แผนภูมิ แผนที่ กราฟ ต้องระบุแหล่งที่มา โดยใช้แบบแผนเช่นเดียวกับเชิงอรรถ ฯลฯ
53 แหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการทํารายงานควรใส่ไว้ที่ส่วนใดของรายงาน
(1) ภาคผนวก
(2) บรรณานุกรม
(3) บทนํา
(4) อภิธานศัพท์
ตอบ 2 หน้า 64, 129, 254, 275 บรรณานุกรม (Bibliography) เป็นบัญชีรายชื่อหนังสือ เอกสารสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่ผู้แต่งใช้เป็นหลักฐานประกอบการเขียนหนังสือหรือ ทํารายงาน โดยอาจอยู่ท้ายบทหรือท้ายเล่มก็ได้ หรืออาจจัดทําเป็นตัวเล่มหนังสือที่รวบรวม รายชื่อและรายละเอียดของทรัพยากรสารสนเทศ เช่น รายชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ครั้งที่พิมพ์ สํานักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ และปีที่พิมพ์ เพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติมและให้ความมั่นใจแก่ผู้อ่านว่า เนื้อหาของหนังสือหรือรายงานเล่มนั้นมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เพราะผู้เขียนได้ค้นคว้า อย่างมีหลักฐาน
54 ข้อใดเขียนบรรณานุกรมได้ถูกต้อง
(1) ศาสตราจารย์ ดร.สุภางค์ จันทวานิช. ทฤษฎีสังคมวิทยา, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.
(2) ศาสตราจารย์ สุภางค์ จันทวานิช. ทฤษฎีสังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.
(3) ดร.สุภางค์ จันทวานิช. ทฤษฎีสังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2558.
(4) สุภางค์ จันทวานิช. ทฤษฎีสังคมวิทยา, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
ตอบ 4 หน้า 254 – 255, 276 277 จากตัวเลือกข้างต้น ใช้รูปแบบการเขียนรายการบรรณานุกรมสําหรับหนังสือตามคู่มือ Turabian ซึ่งมีแบบแผนการเขียนรายการอ้างอิงที่ถูกต้อง ดังนี้
ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์, สถานที่พิมพ์ : สํานักพิมพ์, ปีที่พิมพ์
ในกรณีที่ผู้แต่งเป็นคนไทย ไม่ต้องใส่คํานําหน้าชื่อ ตําแหน่งทางวิชาการหรือวิชาชีพ เช่น สุภางค์ จันทวานิช. ทฤษฎีสังคมวิทยา, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.
55 ข้อใดเขียนอ้างอิงในเนื้อหาได้ถูกต้อง
(1) (John Tonner Williams, 1992, 5)
(2) (Williams, John Tonner, 1992, 5)
(3) (Williams, J.T., 1992, 5)
(4) (Williams, 1992, 5)
ตอบ 4 หน้า 264, 276 277, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 298) การแสดงที่มาของข้อมูลเฉพาะที่แบบนาม-ปี (Author-date) คือ รายการอ้างอิงแบบในวงเล็บที่แทรกลงไปในเนื้อหา (Cite-in-Text) โดยใส่ชื่อผู้เขียนและปีที่พิมพ์พร้อมด้วยเลขหน้าไว้ในวงเล็บหลังข้อความ ที่คัดลอกมาหรือที่ต้องการอ้างอิง ซึ่งมี 2 รูปแบบ ได้แก่
1 รูปแบบตามคู่มือ Turabian คือ ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง / ปีที่พิมพ์, / หน้าที่อ้างอิง) เช่น (อุดมพร มานะ 2556, หน้า 5) หากผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติให้ลงเฉพาะชื่อสกุล (Last Name)ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า เช่น (Williams 1992, 5)
2 รูปแบบตามคู่มือ APA คือ ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง, / ปีที่พิมพ์, / หน้าที่อ้างอิง) เช่น (อุดมพร มานะ, 2556, หน้า 5) หากผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติให้ลงเฉพาะชื่อสกุล (Last Name) ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า เช่น (Williams, 1992, 5)
56 ข้อใดไม่มีความสัมพันธ์กันเกี่ยวกับการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในยุคเริ่มต้น
(1) การค้า
(2) การทหาร
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) อาร์พาเน็ต
ตอบ 1 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 47 – 48), (คําบรรยาย) การพัฒนาอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เมื่อกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการพัฒนา เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเริ่มแรกนั้นได้มีการจัดตั้งเครือข่ายอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ขึ้น เพื่อเน้นใช้งานด้านการทหารและการสื่อสารในช่วงสงครามเย็นมากที่สุด และเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ซึ่งเป็นประโยชน์สําหรับงานวิจัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2526 จึงพัฒนามาเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มีการนํา อินเทอร์เน็ตมาใช้งานในเชิงพาณิชย์มากขึ้น
57 ข้อใดเป็นการระบุตําแหน่งเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
(1) DNS
(2) FTP
(3) IP
(4) TCP
ตอบ 3 (คําบรรยาย) โปรโตคอล IP (Internet Protocol) เป็นมาตรฐานที่ใช้สําหรับระบุตําแหน่งหรือที่อยู่ที่ไม่ซ้ำกันของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยตรวจสอบ หรืออ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ระบบตัวเลข IP ประกอบด้วยตัวเลข 4 กลุ่มถูกคั่นด้วยจุด เช่น 128.56.48.12 เป็นต้น
58 ส่วนใดของอีเมล์แอดเดรส ([email protected]) คือผู้ให้บริการอีเมล์
(1) peemasak
(2) yahoo.com
(3) @yahoo
(4) @yahoo.com
ตอบ 2 หน้า 311, (คําบรรยาย) จากโจทย์เป็นกลุ่มของ E-mail Address ซึ่งเป็นที่อยู่ประจําตัวของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ โดย E-mail Address ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้บริการ, เครื่องหมาย @ และชื่อโดเมน (Domain Name) ของเครื่องแม่ข่ายที่เราใช้บริการอยู่ เช่น Ramkhamhaeng คือ ชื่อผู้ใช้ ส่วน yahoo.com คือ ชื่อโดเมนของเครื่องแม่ข่ายของผู้ให้บริการอีเมล์ เป็นต้น
59 ข้อใดไม่ใช่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Web browser) บนอินเทอร์เน็ต
(1) Google Chrome
(2) Internet Explorer
(3) Mozila Firefox
(4) Adobe Acrobat
ตอบ 4 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 55) Web browser คือ โปรแกรมเฉพาะที่ใช้แสดงผลข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตสําหรับการเข้าสู่บริการเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเว็บไซต์ได้ ง่ายและสะดวกมากขึ้น โดยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่ออกมาใหม่ ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลด จากอินเทอร์เน็ตโดยตรงและไม่เสียค่าใช้จ่าย ตัวอย่างเว็บบราวเซอร์ที่ใช้กันแพร่หลาย เช่น Internet Explorer, Netscape Navigator, Mozila Firefox, Google Chrome ฯลฯ (ส่วนโปรแกรม Adobe Acrobat เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการไฟล์ประเภท PDF)
60 ข้อใดไม่ใช่เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์
(1) Wikipedia
(2) Facebook
(3) Twitter
(4) Line
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) คือ เว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีจุดเด่นหลักคือ ช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ สามารถ สื่อสารได้ในวงกว้างและหลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ ฯลฯ ในปัจจุบันมี โปรแกรมหรือเว็บไซต์ที่ใช้สําหรับ Social Network เช่น Facebook, Twitter, Linkedin, Line, MySpace, Hi5 ฯลฯ (ส่วนเว็บไซต์ Wikipedia เป็นสารานุกรมออนไลน์ขนาดใหญ่)