การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา LIS 1003 การใช้ห้องสมุด
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1 ข้อใดกล่าวถึงการใช้สารสนเทศได้ถูกต้องที่สุด
(1) คุณมนต์ทะเลาะกับสามีประจําเพราะหูเบา
(2) คุณนโมตระเวนไหว้พระเพราะเชื่อหมอดูทักว่าจะมีเคราะห์
(3) คุณโมเมซื้อหวยตามอายุของคุณยายทวดที่มาเข้าฝัน
(4) ป้าดาราทําลายภาชนะที่มีน้ำขังเพื่อป้องกันยุงตามคําแนะนําของเจ้าหน้าที่ อสม.
ตอบ 4 หน้า 3, 5, (คําบรรยาย) คําว่า “สารสนเทศ(Information) หมายถึง ข่าวสารความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกิดจากข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ และประมวลผลแล้ว ตลอดทั้งความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ซึ่งบันทึกลงในสื่อหรือวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอด และเผยแพร่ได้ ดังนั้นสารสนเทศจึงมีความถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้มากกว่าข้อมูล เนื่องจาก สามารถนํามาช่วยแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินใจได้ ส่วนคําว่า “ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ เช่น ข่าวจากหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ ข่าวซุบซิบ หรือข่าวลือ การโฆษณาสินค้า ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การกล่าวหา/โจมตีคู่แข่งทางการเมืองเป็นต้น
2 ข้อใดกล่าวถึงเหตุการณ์สําคัญเกี่ยวกับห้องสมุดและการสื่อสารได้ถูกต้อง
(1) ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่บันทึกข้อมูลลงบนปาไปรัส
(2) ชาวกรีกเกี่ยวข้องกับกฎหมายตาต่อตา ฟันต่อฟัน
(3) ชาวอัสสีเรียนเป็นผู้สร้างห้องสมุดอเล็กซานเดรีย
(4) ชาวบาบิโลเนียนเป็นผู้ริเริ่มผลิตแท่นพิมพ์
ตอบ 1 หน้า 7, (คําบรรยาย) ชาวอียิปต์ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ตามลุ่มแม่น้ำไนล์ ถือเป็นชนชาติแรกที่รู้จักบันทึกเหตุการณ์และข่าวสารความรู้ต่าง ๆ ลงบนแผ่นกระดาษปาไปรัส (Papyrus) ด้วยตัวอักษรภาพที่เรียกว่า “ไฮโรกลิฟิก” (Hieroglyphic) โดยห้องสมุดปาไปรัสที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ ได้แก่ ห้องสมุดแห่งชาติเมืองกิเซห์ สร้างเมื่อราว 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช
3 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
(1) สมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการสร้างหอหลวงขึ้นในวัด
(2) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามทําหน้าที่ห้องสมุดประชาชน
(3) สมัยกรุงสุโขทัยสร้างหอไตรเพื่อเก็บพระไตรปิฎก
(4) หอพระมณเฑียรธรรมสร้างขึ้นในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ตอบ 1 หน้า 9 – 10, (คําบรรยาย) ห้องสมุดในประเทศไทยมีพัฒนาการตามลําดับยุคสมัย ดังนี้
1 สมัยสุโขทัย ได้แก่ หอไตรหรือหอพระไตรปิฎกภายในวัด เพื่อเก็บคัมภีร์พระไตรปิฎก
2 สมัยอยุธยา ได้แก่ หอหลวงภายในพระราชวัง เพื่อเก็บรักษาหนังสือ วรรณกรรมทางโลกตัวบทกฎหมาย และเอกสารทางราชการ
3 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการสร้างหอสมุดประจํารัชกาลต่าง ๆ ได้แก่ หอพระมณเฑียรธรรมภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในสมัยรัชกาลที่ 1 เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ถือว่าเป็นห้องสมุดประชาชน แห่งแรกของไทย, หอพระสมุดวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ (ตั้งอยู่ในวัดเบญจมบพิตร)และหอพระสมุดวชิรญาณสําหรับพระนคร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามลําดับ
4 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของนักปราชญ์
(1) การบันทึกข้อมูลเพื่อเตือนความจํา
(2) การอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มพูนความรู้
(3) การพูดลับหลังเพื่อไม่ให้มีการทะเลาะกับบุคคลที่กล่าวถึง
(4) การรับฟังและวิเคราะห์ก่อนตัดสินใจ
ตอบ 3 หน้า 20, (คําบรรยาย) หลักของหัวใจนักปราชญ์ ได้แก่ “สุจิ ปุ ลิ” มีดังนี้
1 สุ (สุต หรือสุตตะ คือ การรับฟังหรือการรับสารทั้งปวง รวมทั้งการอ่านหนังสือ และการค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ
2 จิ (จินตนะ หรือจินตะ) คือ การคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
3 ปุ (ปุจฉา) คือ การไต่ถามหรือเสวนาหาคําตอบจากผู้รู้
4 ลิ (ลิขิต) คือ การเขียนหรือการจดบันทึกข้อมูล
5 การตรวจสอบคุณสมบัติของคนเขียนหนังสือจากใบหุ้มปกหนังสือ เป็นการอ่านในข้อใด
(1) การอ่านคร่าว ๆ
(2) การอ่านอย่างวิเคราะห์
(3) การอ่านเพื่อเก็บรายละเอียด
(4) การอ่านอย่างเจาะจง
ตอบ 1 หน้า 17 – 18, 58, (คําบรรยาย) การอ่านอย่างคร่าว ๆ เป็นการอ่านแบบผ่านไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่ต้องการรายละเอียดแต่ต้องการความรู้ความเข้าใจตามสมควร โดยให้เปิดดูสารบัญของหนังสือว่ามีเรื่องอะไรบ้าง จากนั้นให้พลิกดูแต่ละบท ดูชื่อเรื่อง ดูหัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย แล้วกวาดสายตาเพื่อหาคําหรือข้อความสําคัญ จนตอบคําถาม ได้ว่าเรื่องที่อ่านเกี่ยวกับใคร อะไร ที่ไหน และอย่างไร ได้แก่ การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เขียนหนังสือจากใบหุ้มปกหนังสือ เช่น ชื่อผู้เขียน คําวิจารณ์ และผลงานอื่น ๆ เป็นต้น
6 ข้อใดกล่าวถึงบทบาทสําคัญของห้องสมุดได้ถูกต้องที่สุด
(1) ห้องสมุดสวนลุมพินี้จัดเป็นห้องสมุดเฉพาะของกรุงเทพมหานคร (2) ห้องสมุดมหาวิทยาลัยให้บริการวิชาการเท่านั้น
(3) ห้องสมุดโรงเรียนทําหน้าที่ปลูกฝังและส่งเสริมการอ่าน
(4) ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จัดเป็นห้องสมุดเฉพาะ
ตอบ 3 หน้า 29, 32, (คําบรรยาย) บทบาทและหน้าที่ของห้องสมุดโรงเรียนมี 3 ประการ คือ
1 เป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอนของครูและนักเรียน เพื่อปลูกฝังนิสัยการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต
2 เป็นสถานที่ปลูกตั้งและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านมากที่สุด
3 เป็นศูนย์กลางอุปกรณ์การเรียนการสอนของครูและนักเรียน
7 แหล่งสารสนเทศประเภทใดที่เน้นการรวบรวมวัตถุและสิ่งของที่บอกเล่าเรื่องราวของชุมชนและสังคม
(1) ศูนย์สารสนเทศ
(2) หอจดหมายเหตุ
(3) พิพิธภัณฑ์
(4) ห้องสมุดเฉพาะ
ตอบ 3 หน้า 37, (คําบรรยาย) พิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งสารสนเทศที่รวบรวมและจัดแสดงศิลปวัตถุโบราณวัตถุ ซึ่งเป็นสิ่งของโบราณที่มีคุณค่าหรือมีความสําคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ตลอดจนเป็นสิ่งของที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนและสังคม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าของบุคคลทั่วไป
8 ฝ่ายใดของสํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหงที่ให้บริการหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลัง
(1) ฝ่ายเทคนิค
(2) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
(3) ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์
(4) ฝ่ายวารสารและเอกสาร
ตอบ 3 หน้า 41, 169 ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์ มีหน้าที่พิจารณาคัดเลือกเอกสารสิ่งพิมพ์ที่มีคุณค่าและหายากเพื่อถ่ายไมโครฟิล์ม เช่น หนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังที่จัดเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิล์ม ฯลฯ นอกจากนี้ยังให้บริการตอบคําถามและช่วยการศึกษาค้นคว้าจากไมโครฟอร์ม แนะนําวิธีใช้ ไมโครฟอร์มและโสตทัศนวัสดุต่าง ๆ บริการให้ยืมโสตทัศนวัสดุทุกประเภท เช่น แถบวีดิทัศน์บริการฉายสไลด์ ฟิล์มสตริปและภาพยนตร์ รวมทั้งจัดทําบรรณานุกรมวัสดุไม่ตีพิมพ์ต่าง ๆ
9 ข้อใดหมายถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด
(1) หนังสือทุกเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด
(2) หนังสือทุกเล่มที่มีเลขเรียกหนังสือ
(3) หนังสือทุกเล่มที่มีศิษย์เก่าจัดซื้อให้ห้องสมุด
(4) หนังสือทุกเล่มที่ศิษย์เก่าบริจาคให้ห้องสมุด
ตอบ 2 หน้า 55, 76, 133 134, (คําบรรยาย) ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด มีความหมายรวมถึงแหล่งสารสนเทศทุกรูปแบบที่ห้องสมุดได้คัดเลือก จัดหา วิเคราะห์ และจัดเก็บรวบรวมอย่าง เป็นระเบียบตามระบบการจัดหมู่ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือทุกเล่มที่มีเลขเรียกหนังสือ สิ่งตีพิมพ์บน แผ่นกระดาษ สิ่งบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยมือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุย่อส่วน สืออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิกและจัดประเภทพร้อมให้บริการ รวมทั้งบรรณารักษ์หรือบุคลากรบริการสารสนเทศที่ทําหน้าที่ให้บริการและช่วยผู้ใช้ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
10 การเชื่อมโยงหรือลิงค์ของเว็บไซต์ มีความคล้ายคลึงกับส่วนใดของหนังสือมากที่สุด
(1) หน้าปกหนังสือ
(2) หน้าสารบัญ
(3) หน้าลิขสิทธิ์
(4) หน้าคํานํา
ตอบ 2 หน้า 58, 62 – 63, (คําบรรยาย) โฮมเพจ (Home Page) คือ หน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์ ดังนั้นโฮมเพจจึงคล้ายกับส่วนประกอบ ของหนังสือ ดังนี้
1 ในแง่ของเว็บเพจแรกที่บอกว่าเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร มีเนื้อหาสําคัญอะไรบ้าง โฮมเพจจะคล้ายกับหน้าปกหนังสือ
2 ในแง่ที่แสดงรายการเชื่อมโยงหน้าเว็บเพจเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้ Link ไปยังเว็บเพจต่าง ๆเพื่ออ่านข้อมูล โฮมเพจจะคล้ายกับหน้าสารบัญของหนังสือ
11 ข้อใดกล่าวถึงบรรณานุกรมของหนังสือได้ชัดเจนที่สุด
(1) ส่วนที่ช่วยอธิบายคําหรือข้อความบางตอนที่ปรากฏในเนื้อหา
(2) บัญชีรายชื่อหนังสือหรือเอกสารอื่นที่ปรากฏในท้ายเล่มของหนังสือ
(3) ส่วนที่ให้คําอธิบายคํายากหรือคําศัพท์เฉพาะของหนังสือเล่มนั้น (4) บัญชีคําหรือวลีที่ปรากฏในตอนท้ายของหนังสือเล่มนั้น
ตอบ 2 หน้า 64, 129, 254, 275 บรรณานุกรม (Bibliography) เป็นบัญชีรายชื่อหนังสือ เอกสาร
และสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องต่าง ๆ ที่ผู้แต่งใช้เป็นหลักฐานประกอบการเขียนหนังสือเล่มนั้น โดยอาจอยู่ท้ายบทหรือท้ายเล่มก็ได้ หรืออาจจัดทําเป็นตัวเล่มหนังสือที่รวบรวมรายชื่อและรายละเอียด ของทรัพยากรสารสนเทศ เช่น รายชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ครั้งที่พิมพ์ สํานักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ และ ปีที่พิมพ์ เพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติมและให้ความมั่นใจแก่ผู้อ่านว่าเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้นมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เพราะผู้เขียนได้ค้นคว้าอย่างมีหลักฐาน
12 ข้อใดเป็นส่วนประกอบสําคัญของวารสารที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน
(1) รูปภาพและอักษรบนปก
(2) ภาพข่าวและรูปภาพ
(3) ความนําและอักษรบนปก
(4) พาดหัวข่าวและรูปภาพ
ตอบ 1 หน้า 65 ส่วนประกอบของวารสารมี 3 ส่วน คือ
1 ปกวารสาร (Cover) เป็นส่วนประกอบที่สําคัญ ซึ่งประกอบด้วย ชื่อวารสาร ฉบับที่ ปีที่ เดือน ปีและราคา แต่องค์ประกอบที่สําคัญที่สุดก็คือ รูปภาพ (เป็นภาพเขียนหรือภาพถ่ายก็ได้)และอักษรบนปก ซึ่งสามารถดึงดูดให้ผู้อ่านสนใจวารสารแต่ละฉบับเพิ่มมากขึ้น
2 สารบาญหรือสารบัญ (Contents) บอกให้ทราบถึงลําดับของเนื้อเรื่องในฉบับ โดยมีชื่อเรื่องชื่อผู้เขียน เลขหน้า และรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับวารสาร
3 คอลัมน์ต่าง ๆ (Columns) ซึ่งขึ้นอยู่กับวารสารแต่ละประเภท
13 ต้นฉบับตัวเขียนเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่บันทึกด้วยมือ จัดเป็นสารสนเทศประเภทใด
(1) ปฐมภูมิ
(2) ทุติยภูมิ
(3) ตติยภูมิ
(4) กฤตภาค
ตอบ 1 หน้า 67, 240 แหล่งข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) เป็นหลักฐานเบื้องต้นหรือข้อมูลอันดับแรกที่ได้รับจากบุคคลโดยตรง เช่น ประสบการณ์ของตนเอง บันทึกส่วนตัว จดหมายโต้ตอบ พระบรมราโชวาทต้นฉบับตัวเขียน (Manuscript) อัตชีวประวัติ บทสัมภาษณ์ แบบสอบถาม สุนทรพจน์ ฯลฯ
2 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources) หรือข้อมูลอันดับรอง ได้แก่ หนังสือหรือตําราและวัสดุที่เป็นผลผลิตของการค้นคว้าจากหลักฐานเบื้องต้น เช่น บทความจากวารสารข่าวในหนังสือพิมพ์ ตรรชนี สารานุกรม กฤตภาค ฯลฯ
14 วิดีโอคลิปคําบรรยายย้อนหลังวิชา LIS 1003 จัดเป็นสื่อประเภทใด
(1) โสตทัศน์
(2) โสตวัสดุ
(3) ทัศนวัสดุ
(4) อิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 1 หน้า 67 – 73, 77 สื่อโสตทัศน์ (โสตทัศนวัสดุ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1 โสตวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการฟัง เช่น แผ่นเสียงหรือจานเสียง เทป แถบบันทึกเสียงซีดีออดิโอ แผ่นเอ็มพี 3 ฯลฯ
2 ทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการเห็น เช่น วัสดุกราฟิก รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก ภาพนิ่งแผ่นโปร่งใส หุ่นจําลอง ของตัวอย่าง ฯลฯ
3 สื่อโสตทัศน์ หรือโสตทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารทั้งโดยการฟังและการเห็น เช่น ภาพยนตร์แถบวีดิทัศน์หรือวิดีโอ วีซีดี ดีวีดี วิดีโอคลิป ฯลฯ
15 ไมโครฟิล์มเหมือนกับไมโครฟิชในลักษณะใด
(1) เป็นวัสดุย่อส่วนที่ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์
(2) เป็นวัสดุย่อส่วนที่มีขนาดเท่ากับบัตรรายการ
(3) เป็นวัสดุย่อส่วนในรูปของบัตรทึบแสง
(4) เป็นวัสดุย่อส่วนในรูปของฟิล์มโปร่งแสง
ตอบ 4 หน้า 54, 73 – 74, 77 – 78 วัสดุย่อส่วน(Micrographic or Microforms) หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศจากสิ่งพิมพ์ที่เป็นหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ จดหมายโต้ตอบ หนังสือหายาก ต้นฉบับตัวเขียน หรือเอกสารที่มีคุณค่าต่าง ๆ โดยวิธีการ ถ่ายย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มขนาดเล็กเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและป้องกันการฉีกขาด ทําลาย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1 ฟิล์มโปร่งแสง ได้แก่ ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช และบัตรอเพอเจอร์
2 บัตรทึบแสง ได้แก่ ไมโครการ์ด และไมโครพริ้นท์
16 สื่อประเภทใดที่บริษัทผลิตฐานข้อมูลนิยมใช้สําหรับการบันทึกฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
(1) จานแม่เหล็กชนิดอ่อน (Floppy Disk)
(2) จานแสง (Optical Disk)
(3) ซีดีรอม (CD-ROM)
(4) วีดิทัศน์ดิจิตอล (DVD)
ตอบ 3 หน้า 75 – 76, 78, (คําบรรยาย) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอักขระแบบดิจิตอล ซึ่งต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือแสงเลเซอร์ ในการบันทึกและอ่านข้อมูล แบ่งออกเป็น
1 แผ่นจานแม่เหล็กแบบอ่อน (Diskette หรือ Floppy Disk) บันทึกโปรแกรมสําเร็จรูป
2 จานแสง (Optical Disk) ได้แก่ VCD, DVD และ CD-ROM ที่นิยมใช้บันทึกฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ ฐานข้อมูลด้านการศึกษา ฐานข้อมูลเชิงบรรณานุกรม ฯลฯ
3 USB Flash Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ โดยมีวิธีการบันทึกข้อมูลเหมือน Hard Disk หรือ Floppy Disk มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวกในการพกพาติดตัว และสามารถเก็บข้อมูลได้จํานวนมากตั้งแต่ 128 MB – 8 GB
17 อักษรนําเล่ม คืออะไร
(1) ตัวอักษรที่มุมบนขวาในเนื้อหา
(2) ตัวอักษรที่มุมบนซ้ายในเนื้อหา
(3) ตัวอักษรหรือตัวเลขที่หน้าปกหนังสือ
(4) ตัวอักษรหรือตัวเลขที่สันหนังสือ
ตอบ 4 หน้า 84 อักษรนําเล่ม (Volume Guide) หมายถึง ตัวอักษรหรือตัวเลขที่สันหนังสือส่วนมากจะปรากฏอยู่ในหนังสืออ้างอิงที่มีหลายเล่มจบหรือที่เรียกว่าหนังสือชุด เช่น สารานุกรมจะมีตัวอักษรหรือตัวเลขพิมพ์ไว้ที่สันหนังสือ เพื่อบอกให้ทราบว่าหนังสือเล่มนั้นมีเนื้อหาเริ่มต้นตั้งแต่ตัวอักษรใด
18 พจนานุกรมประเภทใดเหมาะกับการให้ความหมายคําศัพท์ทางด้านการทหาร
(1) พจนานุกรมภาษาเดียว
(2) พจนานุกรมหลายภาษา
(3) พจนานุกรมเฉพาะวิชา
(4) พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์
ตอบ 3 หน้า 85, 89 – 90, (คําบรรยาย) พจนานุกรมเฉพาะวิชา คือ พจนานุกรมสําหรับค้นหาความหมายของคําที่ใช้ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์การแพทย์ พจนานุกรมรวมคําศัพท์ทางการศึกษา พจนานุกรมคําศัพท์ทางด้านการทหาร พจนานุกรมรวมคําศัพท์กฎหมายไทย พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
19 สารานุกรมให้เนื้อหาทางด้านใด
(1) ข้อเท็จจริงพื้นฐาน
(2) บทสรุปของเนื้อหาวิชา
(3) สาระสําคัญ
(4) เรื่องเล่าในตํานาน
ตอบ 1 หน้า 91 – 92, 95 สารานุกรม (Encyclopedia) หมายถึง หนังสือที่รวบรวมความรู้หรือข้อเท็จจริงพื้นฐานในแขนงวิชาต่าง ๆ อย่างกว้าง ๆ เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญใน แต่ละสาขาวิชา เพื่อให้ข้อมูลหรือความรู้ในรูปของบทความ โดยมีอักษรย่อของผู้เขียนกํากับ ไว้ที่ท้ายบทความ และจัดเรียงเนื้อหาตามลําดับตัวอักษรหรือแบ่งเป็นหมวดหมู่วิชา ซึ่งอาจมีเล่มเดียวจบหรือหลายเล่มจบที่เรียกว่าหนังสือชุด ส่วนใหญ่สารานุกรมจะมีภาพประกอบ และมีดรรชนีช่วยค้นเรื่อง (Fact Index) อยู่ตอนท้ายเล่ม หรือถ้าเป็นหนังสือชุดก็จะอยู่เล่มสุดท้าย
20 ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับอักขรานุกรมชีวประวัติ
(1) ให้ลําดับเหตุการณ์ชีวิตของบุคคล
(2) ให้ผลงานของบุคคลที่มีชื่อเสียง
(3) ให้รายชื่อบุคคลที่สิ้นชีวิตแล้วเท่านั้น
(4) ให้วันเดือนปีเกิดของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
ตอบ 1 หน้า 97 – 100 อักขรานุกรมชีวประวัติ คือ หนังสือที่รวบรวมประวัติชีวิตของบุคคลสําคัญและมีชื่อเสียง โดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับเชื้อชาติ สถานที่เกิด วันเดือนปีเกิด หรือตาย (ถ้าบุคคลเจ้าของชีวประวัติสิ้นชีวิตแล้ว) ที่อยู่ ระดับการศึกษา ตําแหน่งหน้าที่การงาน ประสบการณ์ในการทํางาน ผลงานดีเด่น และสถานภาพทางครอบครัว ได้แก่ อักขรานุกรม ชีวประวัติของบุคคลทั่วไป จะมีขอบเขตครอบคลุมเฉพาะประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ เท่านั้น หรือรายชื่อบุคคลที่สิ้นชีวิตไปแล้วเท่านั้น หรือที่ให้อักขรานุกรมชีวประวัติรวมทั้งผู้ที่สิ้นชีวิต และที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น Current Biography เป็นต้น
21 หนังสือรวมรายชื่อโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศ จัดเป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
(1) พจนานุกรม
(2) สารานุกรม
(3) นามานุกรม
(4) อักขรานุกรม
ตอบ 3 หน้า 102 – 103, 105 นามานุกรม (Directory) คือ หนังสือที่รวบรวมรายชื่อของบุคคลองค์การ หรือหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมกับสถานที่อยู่หรือที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์สําหรับ การติดต่อ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1 นามานุกรมท้องถิ่น เช่น สมุดโทรศัพท์
2 นามานุกรมของรัฐ เช่น นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย
3 นามานุกรมสถาบัน เช่น ชื่อมหาวิทยาลัย โรงเรียน ห้องสมุด ฯลฯ
4 นามานุกรมสาขาอาชีพ เช่น ทําเนียบกระทรวงยุติธรรม พุทธศักราช 2530
5 นามานุกรมการค้าและธุรกิจ เช่น รวมโรงงานอุตสาหกรรม
22 สยามออลมาแนค จัดเป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
(1) หนังสือคู่มือ
(2) หนังสือรายปี
(3) ปฏิทินเหตุการณ์รายปี
(4) สิ่งพิมพ์รัฐบาล
ตอบ 3 หน้า 112 สยามออลมาแนค เป็นหนังสือปฏิทินเหตุการณ์รายปีเล่มแรกของประเทศไทยที่รวบรวมเหตุการณ์สําคัญที่เกิดขึ้นในรอบปีของไทยทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การทหาร การศึกษา การแรงงาน เศรษฐกิจ ศาสนา ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ธุรกิจการพาณิชย์ เกษตรกรรม กีฬา การท่องเที่ยว รวมทั้งสถิติในรูปของตาราง เช่น อัตราการเกิดและการตายของประชากร จํานวนประชากร เป็นต้น
23 หนังสือที่ให้คําจํากัดความเกี่ยวกับสถานที่ทางภูมิศาสตร์ คือข้อใด (1) อักขรานุกรมภูมิศาสตร์
(2) พจนานุกรม
(3) หนังสือแผนที่
(4) หนังสือนําเที่ยว
ตอบ 1 หน้า 115 อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ เป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลอย่างสังเขปเกี่ยวกับชื่อของสถานที่สําคัญทางภูมิศาสตร์ มีลักษณะคล้ายพจนานุกรมที่ให้คําจํากัดความเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ ทางภูมิศาสตร์อย่างสั้น ๆ ให้คําอ่านและรายละเอียดอื่น ๆ ได้อย่างกระชับและน่าเชื่อถือที่สุด เช่น สถานที่ตั้ง ระยะทาง เส้นรุ้ง เส้นแวง ความตื้นลึกของทะเล ความสูงของภูเขา จํานวนผลผลิตทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม จํานวนประชากร ตราประจําจังหวัด เป็นต้น
24 ข้อใดเป็นดรรชนีที่ใช้ค้นเนื้อเรื่องในหนังสือ
(1) ดรรชนีท้ายเล่ม
(2) ดรรชนีวารสาร
(3) ดรรชนีหนังสือพิมพ์
(4) ดรรชนีที่ห้องสมุดจัดทําขึ้นเอง
ตอบ 1 หน้า 120 ดรรชนีท้ายเล่ม เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้อ่านได้ค้นเรื่อง หัวข้อ ชื่อต่าง ๆ คํากลุ่มคําหรือวลีที่สําคัญ ซึ่งเก็บมาจากเนื้อเรื่องในหนังสือว่ามีรายละเอียดอธิบายไว้ในหน้าใด
ของหนังสือ โดยดรรชนีท้ายเล่มของหนังสือหรือสิ่งพิมพ์จะอยู่ท้ายเล่มของหนังสือ
25 หนังสือบรรณานุกรม หมายถึงข้อใด
(1) หนังสือที่รวบรวมรายชื่อหนังสือ
(2) หนังสือที่รวบรวมรายชื่อบุคคล
(3) หนังสือที่รวบรวมรายชื่อหน่วยงาน
(4) หนังสือที่รวบรวมรายชื่อสถานที่
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ
26 ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ของการจัดหมู่หนังสือถูกต้องที่สุด
(1) ทําให้หนังสือที่มีเนื้อหาเหมือนกันจัดไว้ในที่เดียวกัน
(2) ทําให้หนังสือที่มีวิธีการจัดพิมพ์เหมือนกันจัดอยู่ในที่เดียวกัน
(3) ทําให้สามารถกําหนดตําแหน่งการจัดวางหนังสือที่มีขนาดเดียวกัน (4) ทําให้หนังสือทุกเล่มมีสัญลักษณ์ เกิดความรวดเร็วต่อการค้นหา
ตอบ 4 หน้า 150 ประโยชน์ของการจัดหมู่หนังสือของห้องสมุด มีดังนี้
1 ทําให้หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดมีสัญลักษณ์และมีตําแหน่งการจัดวางที่แน่นอนซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่ต้องการได้โดยง่าย หรือสามารถเข้าถึงหนังสือ ได้อย่างสะดวกรวดเร็วขึ้น ถือเป็นประโยชน์ที่มีความสําคัญที่สุด)
2 ทําให้หนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกันและ/หรือประพันธ์วิธีเดียวกันรวมอยู่ในที่เดียวกัน
3 ทําให้หนังสือที่มีเนื้อเรื่องสัมพันธ์กันอยู่ใกล้กัน
4 ช่วยให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดจัดเก็บหนังสือคืนที่ได้ง่ายขึ้น
5 ช่วยให้ทราบว่าห้องสมุดมีหนังสือในแต่ละสาขาวิชามากน้อยเพียงใด
27 ข้อใดคือระบบการจัดหมู่หนังสือที่เหมาะสมสําหรับห้องสมุดที่มีจํานวนหนังสือน้อย
(1) ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน
(2) ระบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน
(3) ระบบทศนิยมสากล
(4) ระบบทศนิยมดิวอี้
ตอบ 4 หน้า 151, 153 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification: DDC หรือ DC) เป็นระบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในห้องสมุดขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ที่มีหนังสือทั่ว ๆ ไปหลายสาขาวิชาในจํานวนที่ไม่มากนัก เช่น ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุด โรงเรียน เป็นต้น ซึ่งการจัดหมู่หนังสือด้วยระบบนี้จะเป็นแบบเชิงกว้าง โดยแบ่งสรรพวิทยาการ ในโลกออกเป็น 10 หมวดใหญ่ และใช้สัญลักษณ์แสดงเนื้อหาของหนังสือเป็นเลขอารบิก 3 หลัก ตั้งแต่ 100 – 000 กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งเพื่อแบ่งเนื้อหาให้ชี้เฉพาะยิ่งขึ้น
28 ข้อใดคือระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือที่สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหงใช้
(1) ระบบทศนิยมสากล
(2) ระบบทศนิยมดิวอี้
(3) ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน
(4) ระบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน
ตอบ 3 หน้า 153 – 155 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification : LCC หรือ LC) เป็นระบบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่มีหนังสือเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือมีหนังสือทั่วไปทุกประเภทเป็นจํานวนมาก เช่น ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นต้น โดยจะแบ่งเนื้อหาหนังสือออกเป็น 20 หมวดใหญ่ และใช้สัญลักษณ์ในการจัดหมู่หรือเลขหมู่หนังสือเป็นแบบผสม คือ ใช้ตัวอักษรโรมัน A – Z (ยกเว้น I, O, W, X, Y) แสดงเนื้อหาในหมวดใหญ่ และใช้ตัวเลขอารบิกตั้งแต่ 1 – 9999กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งแบ่งย่อยเรื่องอีกที่หนึ่ง
29 ข้อใดคือระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือที่นิยมใช้สําหรับหนังสือทางการแพทย์
(1) ระบบทศนิยมสากล
(2) ระบบทศนิยมดิวอี้
(3) ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน
(4) ระบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน
ตอบ 4 หน้า 155 – 156 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา(National Library Medicine : NLM) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่ใช้กับห้องสมุดทางการแพทย์ สาธารณสุข และพยาบาล โดยจะใช้อักษรโรมัน W และเลขอารบิกเป็นสัญลักษณ์เช่นเดียวกับ การจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน แต่จะมีความแตกต่างกันในด้านการจําแนก ซึ่งระบบนี้จะนิยมใช้กับห้องสมุดของคณะแพทยศาสตร์ในทุกสถาบัน เช่น หอสมุดศิริราช, ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่, ห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯห้องสมุดคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ขอนแก่น, ห้องสมุดของโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นต้น
30 ข้อใดคือสัญลักษณ์ของหนังสือที่จะช่วยให้ค้นหาหนังสือในห้องสมุดได้รวดเร็ว
(1) เลขประจําหนังสือ
(2) รหัสของเอกสาร
(3) เลขหมู่หนังสือ
(4) เลขเรียกหนังสือ
ตอบ 4 หน้า 157, 191, (คําบรรยาย) เลขเรียกหนังสือ (Cat Number) เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเฉพาะที่ห้องสมุดกําหนดให้กับหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด โดยเลขเรียก หนังสือที่ปรากฏบนบัตรรายการจะเป็นเครื่องชี้บอกตําแหน่งของหนังสือบนชั้น ซึ่งเป็นที่เก็บ หนังสือของห้องสมุด เพื่อช่วยให้ค้นหาหนังสือในห้องสมุดได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เลขเรียก หนังสือประกอบด้วยส่วนสําคัญ 3 ส่วน คือ
1 เลขหมู่หนังสือ
2 เลขผู้แต่งและอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง
3 สัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น ปี พ.ศ. เล่มที่ ฉบับที่ ฯลฯ
31 การเรียงหนังสือบนชั้นหนังสือมีหลักการอย่างไร
(1) จัดเรียงตามลําดับความสนใจของผู้ใช้
(2) จัดเรียงตามกระแสความสนใจของผู้ใช้ส่วนใหญ่
(3) จัดเรียงตามเลขเรียกหนังสือจากซ้ายไปขวา
(4) เลขหมู่แบบทศนิยมดิวอี้มากอนแบบรัฐสภาอเมริกัน
ตอบ 3 หน้า 159 – 160 วิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้นในห้องสมุด จะพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือจากซ้ายไปขวา จากชั้นบนลงชั้นล่าง และจะพิจารณาจัดลําดับจากเลขหมู่หนังสือก่อน ทั้งนี้ ห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบทศนิยมดิวอีจะเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก ส่วนห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันจะพิจารณาเรียงลําดับตาม ตัวอักษร A – Z ก่อน ต่อเมื่อตัวอักษรซ้ํากันจึงค่อยเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก แต่ถ้าเลขหมู่ซ้ำกันก็ให้พิจารณาจากเลขผู้แต่งหรือเลขประจําหนังสือ และอักษรชื่อเรื่องตามลําดับ
32 รายงานประจําปี กระทรวงมหาดไทย ควรใช้สัญลักษณ์สําหรับการจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศอย่างไร
(1) GP
(2) VID
(3) TR
(4) GB
ตอบ 1 หน้า 131 132, 141, 166 167 สิ่งพิมพ์รัฐบาล หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่หน่วยงานราชการเป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์ขึ้น ซึ่งสาระในเล่มอาจเป็นรายงานการปฏิบัติงาน รายงานประจําปี ร่างกฎหมายและมติต่าง ๆ ฯลฯ โดยสํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง ได้จัดเก็บ สิ่งพิมพ์รัฐบาลด้วยการแยกเป็นทรัพยากรลักษณะพิเศษ (Special Collection) และกําหนด ระบบการจัดหมู่ขึ้นโดยเฉพาะ คือ กําหนดอักษร GP (Government Publication) เพื่อเป็น สัญลักษณ์พิเศษของสิ่งพิมพ์รัฐบาลกํากับเหนือเลขเรียกหนังสือ หลังจากนั้นจึงจัดแยกสิ่งพิมพ์ตามหน่วยงานรัฐบาลในระดับกระทรวง กรม กอง ฯลฯ
33 ข้อใดเป็นวิธีการจัดเก็บวารสารฉบับย้อนหลังที่นิยมใช้กันมากที่สุด
(1) จัดเก็บเข้าแฟ้มแยกตามชื่อของชื่อเรื่อง
(2) จัดเก็บใส่กล่องแล้วจัดเรียงบนชั้นหนังสือ
(3) เย็บรวมเล่มเมื่อครบปี และจัดเรียงตามลําดับอักษร
(4) จัดเก็บในตู้เก็บเอกสารตามลําดับอักษรชื่อเรื่อง
ตอบ 3 หน้า 168 วิธีจัดเก็บวารสารของห้องสมุด มีดังนี้
1 วารสารฉบับใหม่ คือ วารสารฉบับล่าสุด ห้องสมุดจะจัดเรียงไว้บนชั้นเอียงตามลําดับอักษรของชื่อวารสารจากซ้ายไปขวา และมีป้ายชื่อวารสารกํากับไว้ที่ชั้นตรงกับตําแหน่งของวารสาร
2 วารสารฉบับย้อนหลัง คือ วารสารที่ไม่ใช่ฉบับล่าสุด ซึ่งห้องสมุดจะนําไปเย็บรวมเป็นเล่ม เมื่อได้รับครบปีแล้วจัดเก็บไว้บนชั้น โดยเรียงตามลําดับอักษรของชื่อวารสาร และมีป้ายชื่อวารสารกํากับไว้ตรงตามตําแหน่งของวารสารนั้น ๆ
34 ข้อใดคือวิธีการจัดเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังที่เหมาะสมที่สุด (1) รวบรวมข้อมูลลงในฐานข้อมูล
(2) เย็บรวมกันแยกเป็นแต่ละเดือน
(3) จัดวางบนชั้นปิดแยกตามชื่อ
(4) ถ่ายเป็นวัสดุย่อย คนเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิล์ม
ตอบ 4 หน้า 169 ห้องสมุดโดยทั่วไปนิยมคัดเลือกและจัดเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังที่สําคัญ ๆด้วยการถ่ายเป็นวัสดุย่อส่วนแล้วเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิล์ม เพื่อรักษาสภาพและประหยัดเนื้อที่ ในการจัดเก็บ เช่น สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง จะจัดเก็บหนังสือพิมพ์ 10 ฉบับ ไว้ในรูปไมโครฟิล์ม ได้แก่ สยามรัฐ มติชน ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวพาณิชย์ มติชนรายสัปดาห์สยามรัฐรายสัปดาห์ ประชาชาติ Bangkok Post และ The Nation
35 ข้อใดคือวิธีการจัดเก็บจุลสารที่เหมาะสมที่สุด
(1) กําหนดหัวเรื่องและเก็บใส่แฟ้ม
(2) จัดหมวดหมู่และเรียงรวมกับหนังสือ
(3) เย็บเล่มเมื่อครบปีและเรียงตามปี พ.ศ.
(4) เก็บตามชื่อหน่วยงาน
ตอบ 1 หน้า 163, 170 171 วิธีการจัดเก็บจุลสารและกฤตภาคของห้องสมุดจะใช้วิธีเดียวกันส่วนมากนิยมจัดเก็บแยกออกจากวัสดุสารสนเทศอื่น ๆ คือ จัดเก็บโดยกําหนดหัวเรื่องกํากับไว้ที่มุมบนของปก แล้วนําจุลสารและกฤตภาคที่มีหัวเรื่องเดียวกันเก็บรวบรวมไว้ในแฟ้ม ปิดป้าย ชื่อหัวเรื่องที่แฟ้ม และนําแฟ้มไปจัดเก็บไว้ในตู้เก็บเอกสารเรียงตามลําดับอักษรของหัวเรื่องโดยที่หน้าลิ้นชักจะมีอักษรกํากับไว้ให้ทราบว่าแต่ละลิ้นชักมีแฟ้มเริ่มจากอักษรตัวใดถึงตัวใด
36 ข้อใดเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้สําหรับการจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศประเภทวีดิทัศน์
(1) DVD
(2) CVD
(3) RV
(4) VR
ตอบ 4 หน้า 175 วีดิทัศน์ (Videorecording) มีวิธีจัดเก็บ 2 แบบ คือ
1 จัดเลขหมู่ให้ โดยมีป้ายติดเลขหมู่ที่ตลับเทป แล้วจัดเรียงรวมกับหนังสือ
2 จัดแยกจากหนังสือ โดยกําหนดสัญลักษณ์ คือ VR (Videorecording) ตามด้วยเลขทะเบียนหรือเลขหมู่ ติดป้ายชื่อเรื่อง ความยาว แล้วนําไปจัดเรียงไว้บนชั้นหรือใส่ในลิ้นชักตู้เหล็ก
37 ข้อใดคือเครื่องมือที่ใช้ค้นหาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดในยุคปัจจุบัน
(1) รายการแบบบัตร
(2) รายการบนซีดีรอม
(3) รายการออนไลน์
(4) รายการบนวัสดุย่อส่วน
ตอบ 3 หน้า 190, 313, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 219) ในยุคปัจจุบันผู้ใช้ห้องสมุดสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยใช้บัตรรายการแบบ ออนไลน์ (Online Catalog) คือ การบันทึกข้อมูลของหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศของ ห้องสมุดไว้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบค้นคืนแบบออนไลน์ที่ใช้ค้นหารายการหนังสือในห้องสมุดนี้ เรียกว่า OPAC (Online Public Access Catalog) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลได้จากจอภาพ โดยเลือกใช้คําสั่งจากเมนูหลักที่กําหนดไว้
38 ส่วนใดของบัตรรายการที่แสดงขนาดของหนังสือ
(1) ชื่อชุด
(2) การพิมพ์และการเผยแพร่
(3) แนวสืบค้น
(4) ลักษณะรูปร่าง
ตอบ 4 หน้า 191, 193, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 220) ลักษณะวัสดุ หรือลักษณะรูปร่าง(Physical Description) เป็นรายการที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะรูปร่าง ส่วนประกอบ และขนาดของหนังสือ ประกอบด้วยจํานวนหน้าหรือจํานวนเล่ม ภาพประกอบ และส่วนสูง ของหนังสือ เช่น V, 120 p. : it. (Some cot.) ; 21 cm. หมายถึง หนังสือเล่มเดียวจบ (v = Volume) มีทั้งหมด 120 หน้า (120 p.) มีภาพประกอบ (it. = illustration)สีบางส่วน (some cot. = some color) และมีส่วนสูง 21 เซนติเมตร (21 cm.)
39 ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับรายการหลัก
(1) หมายถึง เลขเรียกหนังสือ
(2) สามารถใช้สืบค้นได้
(3) คือ รายการชื่อผู้แต่ง
(4) มักอยู่บรรทัดแรกของรายการ
ตอบ 1 หน้า 191 192, 194 รายการชื่อผู้แต่ง (Author) หรือรายการหลัก (Main Entry)มักปรากฏอยู่บนบรรทัดแรกของบัตรหลัก (Main Card) หรือบัตรยืนพื้น หรือบัตรผู้แต่ง ซึ่งบรรณารักษ์จะจัดทําขึ้นเป็นครั้งแรก และใช้เป็นบัตรหลักในการจัดทําบัตรเพิ่มเติมอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สืบค้นหนังสือจากจุดค้นได้หลาย ๆ จุด แต่ในกรณีที่ไม่สามารถลงชื่อผู้แต่ง เป็นรายการหลักได้ ให้ลงชื่อเรื่องเป็นรายการหลักแทน นอกจากนี้ในบัตรหลักยังมีแนวสืบค้นอยู่ด้านล่างเพื่อให้ทราบว่าห้องสมุดทําบัตรเพิ่มชนิดใดบ้าง
40 ข้อใดมักจะแสดงไว้ที่รายการส่วนหมายเหตุ
(1) มีบรรณานุกรมอยู่ท้ายเล่ม
(2) คําคม/พ.บางพลี
(3) สํานักพิมพ์ดอกหญ้า, 2556
(4) แสงโสม, บรรณาธิการ
ตอบ 1 หน้า 193, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 221) หมายเหตุ (Notes) เป็นส่วนประกอบของบัตรรายการที่ให้ข้อมูลอื่นเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือนอกเหนือจากที่บอกไว้ในส่วนอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบเพิ่มเติมว่าหนังสือเล่มนั้นมีบรรณานุกรมอยู่ท้ายเล่ม หรือมีดรรชนี อภิธานศัพท์ ภาคผนวก ฯลฯ เช่น บรรณานุกรม : หน้า 300 – 320
41 แนวสืบค้น หมายถึงข้อใด
(1) หัวเรื่อง
(2) คําสําคัญ
(3) ISBN
(4) เลขหมู่
ตอบ 1 หน้า 193 แนวสืบค้น (Tracing) เป็นส่วนประกอบของบัตรรายการที่บอกให้ทราบว่านอกจากบัตรยืนพื้นหรือบัตรหลักแล้ว ห้องสมุดทําบัตรชนิดใดเพิ่มอีกบ้าง ซึ่งรายการของแนวสืบค้น จะมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นหัวเรื่อง และรายการเพิ่มต่าง ๆ เช่น รายการชื่อผู้แต่งร่วม ชื่อผู้แปลชื่อผู้วาดภาพประกอบ เป็นต้น
42 รายการใดไม่ปรากฏบนรายการแบบบัตร
(1) สถานภาพของหนังสือ
(2) สถานที่พิมพ์
(3) ชื่อผู้แปล
(4) ฉบับพิมพ์
ตอบ 1 หน้า 190 – 193 ส่วนประกอบที่สําคัญของรายการแบบบัตร (Catalog Card) หรือบัตรรายการ ได้แก่
1 เลขเรียกหนังสือ
2 ชื่อผู้แต่งหรือรายการหลัก
3 ชื่อเรื่องและการแจ้งความรับผิดชอบ
4 ครั้งที่พิมพ์หรือฉบับพิมพ์
5 การพิมพ์และการจัดจําหน่าย ประกอบด้วย รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่พิมพ์ สํานักพิมพ์ และปีที่พิมพ์
6 ลักษณะวัสดุหรือลักษณะรูปร่าง
7 ชื่อชุด
8 หมายเหตุ
9 เลขมาตรฐานสากล
10 แนวสืบค้น (ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ)
43 ส่วนใดของบัตรรายการแสดงถึงความทันสมัยของเนื้อหา
(1) สถานภาพของหนังสือ
(2) สถานที่พิมพ์
(3) ชื่อผู้แปล
(4) ปีที่พิมพ์
ตอบ 4 หน้า 60, 193 ปีที่พิมพ์ (Date of Publication) คือ ปีที่ผลิตสิ่งพิมพ์นั้น หรือปีที่หนังสือแต่ละเล่มได้รับการจัดพิมพ์ เพื่อแสดงความเก่าหรือความทันสมัยของเนื้อหาในหนังสือ ดังนั้น ปีที่พิมพ์จึงมีความสําคัญเพราะจะช่วยให้ผู้ใช้ทราบว่าเป็นหนังสือเก่าหรือใหม่ สําหรับหนังสือ ที่เป็นภาษาต่างประเทศจะนิยมลงรายการด้วยปีลิขสิทธิ์ (Copyright Date) โดยมีตัวอักษร C นําหน้าปี เช่น C1990
44 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุด
(1) คําสําคัญใช้ในระบบสืบค้นออนไลน์ของห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต (2) หัวเรื่อง คือ ศัพท์ควบคุมในระบบสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
(3) Search Engine ใช้ศัพท์ควบคุมในการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
(4) LCSH เป็นบัญชีศัพท์อิสระที่ใช้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ตอบ 1 หน้า 221, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 250 251, 262) ความแตกต่างระหว่างหัวเรื่องกับคําสําคัญ มีดังนี้
1 หัวเรื่อง คือ คําหรือวลีหรือชื่อเฉพาะต่าง ๆ ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ซึ่งถือเป็นศัพท์ควบคุมที่ใช้ในระบบการสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด เพราะบรรณารักษ์จะเลือกคําหรือวลีจาก บัญชีหัวเรื่องมาตรฐานชื่อใดชื่อหนึ่ง เช่น บัญชีหัวเรื่อง LCSH สําหรับหนังสือภาษาอังกฤษ ในห้องสมุดขนาดใหญ่, บัญชีหัวเรื่อง Sear’s List สําหรับหนังสือภาษาอังกฤษในห้องสมุดขนาดเล็ก ฯลฯ
2 คําสําคัญ คือ คําศัพท์อิสระที่ผู้ใช้คิดขึ้นเอง เพื่อใช้ในระบบการสืบค้นสารสนเทศออนไลน์ของห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต
45 ข้อใดเลือกใช้คําค้นได้ถูกต้อง
(1) Abstract art
(2) Art–abstract
(3) Art, abstract
(4) Art: abstract
ตอบ 3 หน้า 223 224, 228 การกําหนดคําที่ใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่ มีลักษณะดังนี้
1 คํานามคําเดียวโดด ๆ เช่น กบ ไกด์ นก ฯลฯ
2 คําผสมที่เป็นคํานาม 2 คํา เชื่อมด้วย “and” “กับ” “และ” ทั้งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ไปในทางเดียวกัน เช่น ชุมชนกับโรงเรียน บิดาและมารดา ฯลฯ และที่มีเนื้อหาค้านกัน เช่น ศาสนากับวิทยาศาสตร์ Good and Evil ฯลฯ
3 คํานามที่ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาคและมีคําคุณศัพท์ที่ขยายคําแรกให้สื่อความหมายดีขึ้น เช่น เคมี, วัตถุ ดอกไม้, การจัด Education, higher Art, abstract ฯลฯ
4 กลุ่มคําหรือวลี เช่น บริการแปล ชีวิตชนบท ฯลฯ
5 ชื่อเฉพาะที่เป็นคําวิสามานยนาม เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสัตว์ ชื่อสถานที่ ชื่อพระหรือเทพเจ้า ฯลฯ
46 ข้อใดใช้หัวเรื่องย่อยเพื่อให้การสืบค้นข้อมูลได้เนื้อหาเฉพาะเจาะจง
(1) ไทย, ประวัติศาสตร์
(2) ประวัติศาสตร์ ไทย
(3) ไทย : ประวัติศาสตร์
(4) ไทย- -ประวัติศาสตร์
ตอบ 4 หน้า 224 225 หัวเรื่องย่อย เป็นคําหรือวลีที่ใช้เป็นหัวเรื่องย่อยเพื่อขยายหัวเรื่องใหญ่ให้เห็นชัดเจนหรือจําเพาะเจาะจงขึ้น โดยหัวเรื่องย่อยจะมีขีดสั้น 2 ขีด (-) อยู่ข้างหน้าคํา เพื่อคั่นระหว่างหัวเรื่องใหญ่และหัวเรื่องย่อย แบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้
1 แบ่งตามวิธีเขียน เช่น ภาษาไทย- แบบฝึกหัด, หนังสือหายาก– บรรณานุกรม ฯลฯ
2 บอกลําดับเหตุการณ์ ซึ่งจะแบ่งตามปีคริสต์ศักราช ยุคสมัย หรือชื่อพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ไทย– ประวัติศาสตร์–กรุงสุโขทัย, 1800 – 1900 ฯลฯ
3 แบ่งตามขอบเขตเฉพาะของเนื้อหา เช่น English Language–Grammar,เกษตรกรรม- แสังคม ฯลฯ
4 แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ เช่น พุทธศาสนา–ไทย–เชียงใหม่, เรือ- ไทย ฯลฯ
47 อักษรย่อ “NT” ในบัญชีหัวเรื่อง มีความหมายอย่างไร
(1) คําที่เลิกใช้แล้ว
(2) คําที่เพิ่มเข้ามาใหม่
(3) คําสัมพันธ์ที่กว้างกว่า
(4) คําสัมพันธ์ที่แคบกว่า
ตอบ 4 หน้า 225 – 227, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 256) บัญชีหัวเรื่องมาตรฐาน LCSH ฉบับปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงการใช้สัญลักษณ์บางตัวเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ของคํา ที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ดังนี้
1 BT (Broader Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่กว้างกว่า
2 NT (Narrower Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่แคบกว่า
3 RT (Related Term) คือ หัวเรื่องที่สัมพันธ์กับคําหลักหรือใช้แทนกันได้
4 UF (Use For) คือ หัวเรื่องที่ไม่กําหนดให้ใช้แล้ว
5 USE คือ หัวเรื่องที่กําหนดให้ใช้
6 — คือ หัวเรื่องย่อย
48 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
(1) วิทยานิพนธ์เป็นงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีและโท (2) ปริญญานิพนธ์ คือ งานค้นคว้าของนักศึกษาระดับปริญญาตรีและโท
(3) ดุษฎีนิพนธ์ คือ งานค้นคว้าของอาจารย์มหาวิทยาลัย
(4) ภาคนิพนธ์ คือ งานค้นคว้าของรายวิชาใดวิชาหนึ่ง
ตอบ 3 หน้า 237 วิทยานิพนธ์ (Thesis) เป็นรายงานการวิจัยหรือการค้นคว้าอย่างลึกซึ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ใช้เพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะทางวิชาการให้สูงขึ้น โดยวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (บัณฑิตศึกษา) จะเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า “ปริญญานิพนธ์” (Thesis) ระดับปริญญาเอกเรียกว่า “ดุษฎีนิพนธ์” (Dissertation)ส่วนรายงานประจําวิชาหรือภาคนิพนธ์ เป็นงานค้นคว้าของรายวิชาใดวิชาหนึ่ง
49 ข้อใดกล่าวถึงการเลือกหัวข้อการทํารายงานได้ถูกต้องที่สุด
(1) การเลือกหัวข้อรายงานต่อจากการรวบรวมข้อมูล
(2) หัวข้อที่รุ่นพี่เคยทําไว้แล้ว
(3) หัวข้อที่น่าสนใจและน่าศึกษาเพิ่มเติม
(4) หัวข้อที่ทําได้ง่ายและไม่ต้องลงทุนมาก
ตอบ 3 หน้า 238 239 การกําหนดเรื่องหรือหัวข้อของรายงานมีข้อที่ควรพิจารณา ดังนี้
1 เลือกเรื่องที่น่าสนใจหรือชอบมากที่สุด และควรสอดคล้องกับวิชาที่กําลังศึกษาอยู่
2 เลือกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสนใจและที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม
3 เลือกเรื่องที่ใกล้ตัวเราหรือที่เราเกี่ยวข้องด้วย
4 เลือกเรื่องที่มีข้อมูลให้ค้นคว้าอย่างเพียงพอหรืออยู่ในวิสัยที่สามารถทําได้
5 เลือกเรื่องที่มีขอบเขตไม่กว้างหรือไม่ยาวจนเกินไป เพื่อให้ทันกับกําหนดเวลาและขนาดของรายงาน
50 ข้อใดไม่ใช่แหล่งข้อมูลปฐมภูมิที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
(1) การจดบันทึกผลการทดลองในแต่ละวัน
(2) การเก็บข้อมูลภาคสนามของนักวิจัย
(3) การอ่านอักษรโบราณจากสมุดไทยของโบราณคดี
(4) การอ่านตําราวิชากฎหมายมหาชนของอาจารย์ผู้สอน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ
51 ข้อมูลในข้อใดไม่ควรบันทึกข้อมูลแบบสรุปความ
(1) การฟังรายการ “เล่าข่าวยามเช้า” ทางโทรทัศน์
(2) บทคัดย่อวิทยานิพนธ์สาขากฎหมาย
(3) คําสั่งลงโทษข้าราชการทําผิดวินัย
(4) ข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์
ตอบ 3 หน้า 257, 260 261, (คําบรรยาย) การบันทึกข้อมูลแบบสรุปความหรือย่อความ เป็นการสรุปใจความสําคัญหรือบันทึกเฉพาะสิ่งที่สําคัญจริง ๆ ลงบนบัตร โดยใช้คําพูดของตนเอง และงดเว้นการอธิบาย การยกตัวอย่าง ซึ่งจํานวนคําในบัตรควรเหลือประมาณครึ่งหนึ่งของข้อมูลเดิม เช่น บทสารคดีท่องเที่ยว บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ หรือการย่อข่าวจากสื่อมวลชนต่าง ๆ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้อ 3 เป็นการบันทึกข้อมูลแบบลอกความ ซึ่งจะเหมาะกับข้อความหรือข้อเท็จจริง ที่ชัดแจ้ง เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์ ความหมายหรือคํานิยามในเชิงวิชาการ พระราชกฤษฎีกา พระบรมราโชวาท ข้อบังคับหรือคําสั่งของทางราชการ พระราชบัญญัติ สุนทรพจน์ ฯลฯ)
52 ข้อใดกล่าวถึงการเรียบเรียงรายงานไม่ถูกต้อง
(1) การใช้คํากระชับและถูกต้องตามหลักวิชาการ
(2) การใช้ภาษาอังกฤษให้มากเพื่อเพิ่มคุณค่าของเนื้อหา
(3) การตรวจสอบความถูกต้องของคําโดยใช้พจนานุกรม
(4) การเรียบเรียงเนื้อหาตามโครงเรื่องและบัตรบันทึก
ตอบ 2 หน้า 263, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 337) ข้อควรพิจารณาในการเรียบเรียงรายงานฉบับร่าง มีดังนี้
1 เรียบเรียงเนื้อหาของรายงานตามลําดับของโครงเรื่องและบัตรบันทึก โดยเนื้อหาไม่ควรสั้นหรือยาวเกินไป
2 เตรียมบัตรบรรณานุกรม บัตรบันทึกข้อมูล และพจนานุกรมเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของคํา
3 ใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ กระชับ สุภาพ และอธิบายทุกสิ่งให้ชัดเจน
4 ไม่ใช้อักษรย่อและคําย่อ
5 เขียนอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้องตามรูปแบบของสถาบันที่ส่งรายงาน โดยแสดุงไว้หลังข้อความที่อ้าง และเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งตลอดรายงาน
6 การใส่ตาราง ภาพประกอบ แผนภูมิ แผนที่ กราฟ ต้องระบุแหล่งที่มา โดยใช้แบบแผนเช่นเดียวกับเชิงอรรถ ฯลฯ
53 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับรายการภาคผนวกของรายงาน
(1) ตารางเปรียบเทียบสถิติประชากร
(2) แบบสอบถาม
(3) ตารางลําดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์
(4) อภิธานศัพท์
ตอบ 4 หน้า 64, 275 ภาคผนวก (Appendix) เป็นส่วนท้ายของรายงานที่นําเสนอข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง เนื่องจากรายการนั้นไม่เหมาะที่จะเสนอแทรกไว้ในส่วน ของเนื้อหา แต่มีความสัมพันธ์และช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดียิ่งขึ้น เช่น แบบสอบถาม ตัวเลขสถิติ ตารางเปรียบเทียบสถิติประชากร ตารางลําดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ภาพประกอบเนื้อเรื่อง เป็นต้น
54 การลงรายการอ้างอิงในข้อใดถูกต้อง
(1) วัญญา ภัทรสุข. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
(2) รศ.ดร.วัญญา ภัทรสุข. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. (3) ดร.วัญญา ภัทรสุข. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ 2552. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(4) รศ.ดร.วัญญา ภัทรสุข. 2552. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอบ 1 หน้า 254 – 255, 276 277 จากตัวเลือกข้างต้น ใช้รูปแบบการเขียนรายการบรรณานุกรมสําหรับหนังสือตามคู่มือ Turabian ซึ่งมีแบบแผนการเขียนรายการอ้างอิงที่ถูกต้อง ดังนี้
ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์, สถานที่พิมพ์ : สํานักพิมพ์, ปีที่พิมพ์
ในกรณีที่ผู้แต่งเป็นคนไทย ไม่ต้องใส่คํานําหน้าชื่อ ตําแหน่งทางวิชาการหรือวิชาชีพ เช่น วัญญา ภัทรสุข. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
55 ข้อใดเขียนรายการอ้างอิงได้ถูกต้อง
(1) (Thomas D. Wilson, 1989, 40)
(2) (T.D. Wilson, 1989, p. 40)
(3) (Wilson 1989, 40)
(4) (Wilson, Thomas D., 1989, pp. 40)
ตอบ 3 หน้า 264, 276 277, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 298) การแสดงที่มาของข้อมูลเฉพาะที่แบบนาม – ปี (Author-date) คือ รายการอ้างอิงแบบในวงเล็บที่แทรกลงไปในเนื้อหา (Cite-in-Text) โดยใส่ชื่อผู้เขียนและปีที่พิมพ์พร้อมด้วยเลขหน้าไว้ในวงเล็บหลังข้อความ ที่คัดลอกมาหรือที่ต้องการอ้างอิง ซึ่งมี 2 รูปแบบ ได้แก่
1 รูปแบบตามคู่มือ urabian คือ ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง / ปีที่พิมพ์, / หน้าที่อ้างอิง) เช่น (อุดมพร มานะ 2556, หน้า 5) หากผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติให้ลงเฉพาะชื่อสกุล (Last Name) ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า เช่น (Wilson 1989, 40) มม.1999 40)
2 รูปแบบตามคู่มือ APA คือ (ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง, / ปีที่พิมพ์, / หน้าที่อ้างอิง) เช่น (อุดมพร มานะ, 2556, หน้า 5) หากผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติให้ลงเฉพาะชื่อสกุล (Last Name) ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า เช่น (Wilson, 1989, 40)
56 การพัฒนาอินเทอร์เน็ตในยุคเริ่มต้นมีวัตถุประสงค์ตรงกับข้อใด (1) การค้า
(2) การสื่อสาร
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) อาร์พาเน็ต
ตอบ 2 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 47 48), (คําบรรยาย) การพัฒนาอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เมื่อกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการพัฒนา เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเริ่มแรกนั้นได้มีการจัดตั้งเครือข่ายอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ขึ้น เพื่อเน้นใช้งานด้านการทหารและการสื่อสารในช่วงสงครามเย็นมากที่สุด และเพื่อเชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ซึ่งเป็นประโยชน์สําหรับงานวิจัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2526 จึงพัฒนามาเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มีการนําอินเทอร์เน็ตมาใช้งานในเชิงพาณิชย์มากขึ้น
57 บริการรับ-ส่งข่าวสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เฉพาะที่เรียกว่าอะไร
(1) เว็บบราวเซอร์
(2) เว็บมาสเตอร์
(3) เว็บบอร์ด
(4) กูเกิล
ตอบ 1 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 46, 55), (คําบรรยาย) Web browser คือ ซอฟต์แวร์และโปรแกรมเฉพาะที่ใช้แสดงผลข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตสําหรับการเข้าสู่บริการเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเว็บไซต์ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น โดยเว็บบราวเซอร์สามารถ ใช้เปิดเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ หรือเปิดดูสื่อต่าง ๆ ที่ประกอบด้วยภาพและเสียง รวมทั้ง สามารถเชื่อมโยงการรับ-ส่งข่าวสารบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตได้ ตัวอย่างของ เว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer, Netscape Navigator, Mozila Firefox และ Google Chrome เป็นต้น
58 www.ru.ac.th หมายถึงอะไร
(1) URL
(2) DNS
(3) FTP
(4) TCP
ตอบ 1 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 45, 56) การเข้าถึงสารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผู้ใช้สามารถเข้าถึงเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเซิร์ฟเวอร์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยระบุที่อยู่ของเว็บไซต์หรือตําแหน่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า “URL Address (Uniform Resource Location) เช่น http://www.ru.ac.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ทั้งนี้สารสนเทศที่ปรากฏบนหน้าจอแรกของเว็บจะเรียกว่า“โฮมเพจ” (Home Page) ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกรายการที่ต้องการค้นคว้าข้อมูลต่อไปได้
59 Search Engine หมายถึงอะไร
(1) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศออนไลน์ google.com
(2) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศจากฐานข้อมูล OPAC
(3) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศจากฐานข้อมูล Web OPAC (4) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศจากฐานข้อมูล E-book
ตอบ 1 หน้า 313, (คําบรรยาย) Search Engine คือ เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศออนไลน์จากฐานข้อมูลเว็บไซต์ (Websites) ที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ Search Engine จะแสดงรายการสารบาญและช่องว่างให้เติมคําที่ต้องการสืบค้น จากนั้นให้ผู้ใช้ป้อนคํา ข้อความ หรือชื่อเรื่องที่ต้องการค้นหา ก็สามารถหาเว็บไซต์ที่ต้องการหรือรายชื่อเว็บไซต์ที่มีเนื้อหา ใกล้เคียงกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่ง Search Engine ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ www.google.com, www.altavista.com, www.metacrawler.com เป็นต้น
60 ข้อใดเกี่ยวข้องกับการแสดงความคิดเห็นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
(1) เว็บบราวเซอร์
(2) เว็บมาสเตอร์
(3) ไลน์
(4) กูเกิล
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) คือ เว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีจุดเด่นหลักคือ ช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ สามารถสื่อสารหรือ แสดงความคิดเห็นได้ในวงกว้างและหลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ ฯลฯ โดยเว็บไซต์ที่ใช้สําหรับ Social Network เช่น Facebook, Twitter, Linkedin, YouTube Line, MySpace, Hi5 ฯลฯ