การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา PHI 1003 ปรัชญาเบื้องต้น

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 คําตอบจากข้อ 10 สัมพันธ์กับข้อใด

(1) ปรัชญากรีกโบราณ

(2) ปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง

(3) ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่

(4) ปรัชญาตะวันตกร่วมสมัย

ตอบ 1 หน้า 12 – 13, (คําบรรยาย) ทฤษฎีทวินิยมของปรัชญากรีกโบราณ เชื่อว่า สสารและจิต มีอยู่จริง โดยทฤษฎีนี้เห็นว่าสารเบื้องต้นที่มีลักษณะเป็นสสาร (Material) และสารเบื้องต้นที่มี ลักษณะเป็นจิต (Spiritual) นั้นเป็นความเป็นจริงและซ่อนอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ทั้งหลายของโลก และยังเป็นสารเบื้องต้นที่คู่กันมาตั้งแต่เริ่มแรก

2 แนวคิดใดตอบคําถามเรื่องความเป็นจริงของโลกและมนุษย์

(1) สสารนิยม, จิตนิยม, ธรรมชาตินิยม

(2) จิตนิยม, มนุษยนิยม, ธรรมชาตินิยม

(3) จิตนิยม, สสารนิยม, มนุษยนิยม

(4) สสารนิยม, จิตนิยม, เหตุผลนิยม

ตอบ 1 หน้า 25, (คําบรรยาย) แนวคิดที่ตอบคําถามเรื่องความเป็นจริงของโลกและมนุษย์ มีอยู่ 3 ทัศนะคือ สสารนิยม จิตนิยม และธรรมชาตินิยม

3 แนวคิดที่อ้างว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธรรมชาตินั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงคล้ายการทํางานของเครื่องจักรเรียกว่าเป็นแนวคิดของ

(1) จักรกลนิยม / ธรรมชาตินิยม

(2) จักรกลนิยม / สสารนิยม

(3) นวนิยม / ธรรมชาตินิยม

(4) นวนิยม / สสารนิยม

ตอบ 2 หน้า 32, (คําบรรยาย) แนวคิดของสสารนิยม เห็นว่า จักรวาลอยู่ในระบบจักรกล โดยเชื่อว่าการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธรรมชาตินั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงคล้ายการทํางานของเครื่องจักร หรืออาจเรียกว่า “จักรกลนิยม”

4 ใครน่าจะมีแนวคิดแบบสสารนิยม

(1) แจ๋วเชื่อว่าทําดีย่อมได้ดี เพราะเป็นสัจธรรม

(2) เจ๋งอุทิศตนเพื่อความดี เพราะเป็นการสร้างบารมีให้กับตัวเอง

(3) จืดไม่เชื่อเรื่องการทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 25, (คําบรรยาย) สสารนิยม เชื่อว่า สสารหรือวัตถุเท่านั้นที่เป็นจริง โดยมนุษย์จะแสวงหาความสุขทางกายเท่านั้น และปฏิเสธชีวิตหลังการตาย หรืออาจกล่าวได้ว่าการตายก็คือการสิ้นสุดของมนุษย์นั้นเอง

5 ทฤษฎีทอนลง หมายถึง ซึ่งเป็นแนวคิดของลัทธิ

(1) วัตถุไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงสิ่งสมมติ / สสารนิยม

(2) คุณค่าไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงสิ่งสมมติ / สสารนิยม

(3) วัตถุสามารถแยกย่อยเป็นหน่วยย่อยสุดท้าย / ธรรมชาตินิยม

(4) วัตถุสามารถแยกย่อยเป็นหน่วยย่อยสุดท้าย / สสารนิยม

ตอบ 4 หน้า 32, (คําบรรยาย) “ทฤษฎีทอนลง” ของลัทธิสสารนิยม หมายถึง วัตถุหรือสิ่ง ๆ หนึ่งสามารถแยกได้เป็นหน่วยย่อยสุดท้ายที่เล็กที่สุด นั่นคือ การทอนสิ่ง ๆ หนึ่งลงเป็นเพียงที่รวมหน่วยย่อย เช่น คน ๆ หนึ่ง (หน่วยรวม) คือกลุ่มของเซลล์ (หน่วยย่อย) เซลล์หนึ่ง ๆ (หน่วยรวม) ก็คือกลุ่มของโมเลกุล หลายอัน (หน่วยย่อย) โมเลกุลหนึ่ง ๆ (หน่วยรวม) คือกลุ่มของอะตอมหลายอะตอม (หน่วยย่อย)อะตอมหนึ่ง ๆ (หน่วยรวม) ก็คือกลุ่มของอิเล็กตรอน โปรตอน และนิวตรอน เป็นต้น

6 นักสสารนิยมมีทัศนะเรื่องการดับของจิตอย่างไร

(1) จิตดับเมื่อร่างกายตาย

(2) ไม่มีจิต มีแต่ผลจากการทํางานอันซับซ้อนของสมองเท่านั้น

(3) จิตไม่ดับแม้ร่างกายตาย

(4) จิตดับเมื่อหมดกิเลส

ตอบ 2 หน้า 35, (คําบรรยาย) สสารนิยม เชื่อว่า ไม่มีจิตวิญญาณ มีแต่ผลจากการทํางานอันซับซ้อนของสมองเท่านั้น ซึ่งสมองนั้นเป็นสสาร คือ เมื่อวิเคราะห์ออกมาแล้วก็จะออกมาเป็นโมเลกุล และเมื่อแยกต่อไปก็จะเป็นอะตอม อิเล็กตรอน โปรตอน และอื่น ๆ ต่อไป ในโลกนี้ไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับจะมีก็แต่การรวมตัวและการแยกตัวของสิ่งอันเป็นหน่วยเดิมเท่านั้น

7 ข้อใดกล่าวถูกต้อง ตามทัศนะสสารนิยม

(1) การตายคือ การสิ้นสุดของมนุษย์

(2) การมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าคือ แสวงหาสัจธรรม

(3) มนุษย์อยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราว ยังมีดินแดนอันนิรันดร์รอมนุษย์อยู่

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

8 ข้อใดที่แนวคิดจิตนิยมยอมรับว่าเป็นจริงแท้อย่างที่สุด

(1) สสาร

(2) โลก

(4) อสสาร

ตอบ 4 หน้า 25, (คําบรรยาย) จิตนิยม ยอมรับว่าอสสาร (Immaterial) หรือจิตเท่านั้นที่เป็นจริงแท้ที่สุดโดยมนุษย์จะแสวงหาความสุขทางใจเท่านั้น และไม่ปฏิเสธชีวิตหลังการตาย

9 โลกมีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด การเปลี่ยนแปลงนี้จะทําให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา เรียกว่าเป็นแนวคิดของ

(1) อันตนิยม / จิตนิยม

(2) อันตนิยม / ธรรมชาตินิยม

(3) นวนิยม / ธรรมชาตินิยม

(4) นวนิยม / จิตนิยม

ตอบ 3 หน้า 33 – 34, (คําบรรยาย) ลัทธินวนิยมเป็นแนวคิดของธรรมชาตินิยม ซึ่งมีลักษณะที่สําคัญคือ มีความเชื่อในความเป็น “พหุนิยม” หรือความมากมายหลายหลาก ในจักรวาลมีสิ่งที่เป็นจริง มากมายหลายสิ่ง และในกระบวนการวิวัฒนาการของจักรวาลนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งที่ ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้น โดยสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นนี้จะมีคุณสมบัติใหม่ และคุณภาพใหม่ นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด และการเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทําให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา

10 ข้อใดสัมพันธ์อยู่กับแนวคิดแบบทวินิยม

(1) เชื่อว่าสสารและจิต มีอยู่จริง

(2) เชื่อว่าวัตถุและสสาร มีอยู่จริง

(3) เชื่อว่าอสสารและจิต มีอยู่จริง

(4) เชื่อว่าโลกและสสาร มีอยู่จริง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

11 ข้อใดกล่าวถูกต้อง

(1) “ปรัชญา” มีความหมายตามศัพท์ตรงกับคําว่า Philosophy

(2) คําตอบในเนื้อหาของวิชาปรัชญายังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนตายตัว

(3) การสงสัยและพยายามหาคําตอบไม่ใช่ลักษณะของ Philosophy

(4) ในวิชาปรัชญาเบื้องต้นเนื้อหาของวิชาเน้นในเรื่อง “ความรู้อันประเสริฐ

ตอบ 1 หน้า 1 คําว่า “ปรัชญา” เป็นศัพท์บัญญัติของพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ซึ่งมีความหมายตามศัพท์ตรงกับคําว่า Philosophy ในภาษาอังกฤษ อันหมายถึง ผู้รักความปราดเปรื่อง หรือผู้ปรารถนาจะเป็นปราชญ์ หรือผู้ปรารถนาจะฉลาด หรือผู้ที่ยังไม่รู้และปรารถนาจะรู้มากขึ้นหรือความรักในความรู้ อันเป็นความปรารถนาจะรู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้หรือมีความสงสัย

12 ข้อใดกําลังกล่าวถึง “ปรัชญา” ในความหมายตามวิชา PHI 1003

(1) ความรู้อันประเสริฐที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการดําเนินชีวิตได้

(2) คติสอนใจ คําคม และแง่คิดที่ให้ความหมายและคุณค่าของชีวิต

(3) แนวคิดโดยทั่วไปของมนุษย์ เป็นการตอกย้ำว่ามนุษย์ คือ สิ่งที่รู้คิด

(4) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่มีระเบียบวิธีในการศึกษาเป็นของตัวเอง

ตอบ 3 หน้า 1, (คําบรรยาย) “ปรัชญา” ในความหมายตามวิชา PHI 1003 นั้นเป็นเรื่องของผู้ใช้ปัญญาผู้ที่ไม่ยอมรับสิ่งใดโดยง่ายดาย และเป็นผู้ที่ใคร่รู้ตลอดเวลา ดังนั้นแนวคิดโดยทั่วไปของมนุษย์จึงเป็นการตอกย้ำว่ามนุษย์ คือ สิ่งที่รู้คิด

13 คําตอบของนักปรัชญาต่อปัญหาต่าง ๆ มีลักษณะอย่างไร

(1) ปัญหาเดียวกันมีได้หลายคําตอบ

(2) สอดคล้องกับข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์

(3) คําตอบมีความแน่นอนตายตัว

(4) ความจริงสูงสุด

ตอบ 1 หน้า 1, 9, (คําบรรยาย) ปรัชญาเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นผู้มีปัญญา ซึ่งลักษณะสําคัญประการหนึ่งของปรัชญาก็คือ แม้แต่คําตอบต่อปัญหาอันเดียวกันนั้น ก็อาจมีคําตอบที่เป็น ไปได้หลายคําตอบ โดยยังไม่มีการกําหนดหรือยอมรับกันลงไปว่าคําตอบใดเป็นคําตอบที่ถูกต้อง ที่สุด วิชาปรัชญาถือว่าคําตอบทุกคําตอบเป็นไปได้ทั้งสิ้น ดังนั้นปรัชญาจึงช่วยแก้ปัญหาให้แก่มนุษย์ด้วยการใช้ปัญญาแสวงหาคําตอบที่เป็นไปได้

14 ข้อใดแสดงให้เห็นว่าเมื่อมนุษย์สงสัยก็มักจะพยายามหาคําตอบ ซึ่งลักษณะนี้มีมาตั้งแต่ยุคดึกดําบรรพ์แล้ว

(1) ปรากฏการณ์ในธรรมชาติน่าจะมีผู้มีอํานาจมากบันดาลให้เป็นไป

(2) ความเป็นไปในธรรมชาติน่าจะเกิดขึ้นจากความต้องการของผู้ที่ควบคุมธรรมชาติได้

(3) การไม่ทําให้ผู้ควบคุมธรรมชาติโกรธน่าจะทําให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 2, (คําบรรยาย) ปรัชญาของมนุษย์ในยุคดึกดําบรรพ์ มีปัญหาร่วมกันอย่างหนึ่งคือ ปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติ ว่ามาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร และจะแก้ไขอย่างไร โดยมนุษย์ยุคนี้เชื่อว่าปรากฏการณ์ ธรรมชาติน่าจะเกิดจากเทพผู้มีอํานาจมากบันดาลให้เป็นไป ดังนั้นความเป็นไปในธรรมชาติน่าจะ เกิดขึ้นจากความต้องการของผู้ที่ควบคุมธรรมชาติได้ และการไม่ทําให้ผู้ควบคุมธรรมชาติโกรธน่าจะทําให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น หรือมนุษย์จะรอดพ้นจากภัยธรรมชาติได้ก็ต้องเอาใจเทพ คือทําให้เทพ พึงพอใจด้วยการถวายของบูชา

15 ความเป็นปรัชญาเริ่มขึ้นอย่างชัดเจนจากแนวคิดของทาเลส เนื่องจากเหตุผลใด

(1) ใช้เหตุผลมาอธิบายธรรมชาติ โดยไม่อ้างสิ่งเหนือธรรมชาติ

(2) ผสานแนวความคิดของตัวเองเข้ากับศาสนากรีกโบราณ

(3) สามารถอธิบายเหตุผลของเทพเจ้าในการควบคุมธรรมชาติได้

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 7, 22, (คําบรรยาย) ทาเลส (Thales) ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของชาวตะวันตกและเป็นผู้ริเริ่มปรัชญากรีกโบราณไว้ โดยเชื่อว่ามนุษย์สามารถใช้เหตุผลมาอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยไม่ต้อง อ้างสิ่งเหนือธรรมชาติหรือเทพเจ้า เพราะเอกภพมีกฎเกณฑ์ตายตัวของมันเอง ถ้ามนุษย์สามารถเรียนรู้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติแล้ว มนุษย์ก็จะสามารถควบคุมธรรมชาติได้เช่นเดียวกัน

16 การถกเถียงกันเรื่องปฐมธาตุ แสดงให้เห็นว่านักปรัชญาสนใจในปรัชญาสาขาใด

(1) อภิปรัชญา

(2) ญาณวิทยา

(3) สุนทรียศาสตร์

(4) จริยศาสตร์

ตอบ 1 หน้า 28 – 29, 47 – 43 นักปรัชญาสสารนิยม มีความสนใจในอภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ และได้มีการโต้เถียงกันเรื่องปฐมธาตุ โดยทาเลสบอกว่าน้ําคือปฐมธาตุของโลก แต่เอ็มพลิโดเคลส กลับเห็นว่า ทาเลสและกลุ่มของเขา อธิบายไว้ไม่ชัดเจน ดังนั้นเขาจึงได้เสนอทฤษฎีปฐมธาตุว่า มิใช่มีเพียงหนึ่งหากมีอยู่ถึง 4 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ

17 “เราไม่เคยมีข้อมูลทางประสบการณ์เกี่ยวกับพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าไม่มีจริง” เป็นข้อสรุปของนักปรัชญาคนใด

(1) เพลโต

(2) เดส์การ์ตส์

(3) ล็อค

(4) ฮุม

ตอบ 4 หน้า 125, (คําบรรยาย) ซูม (Hume) นักประจักษนิยม เชื่อว่า ตัวคนเราเป็นเพียงการมารวมกันของผัสสะและความคิด ไม่มีจิต ไม่มีวิญญาณ และเมื่อคนเราไม่เคยมีข้อมูลทางประสบการณ์เกี่ยวกับพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าจึงไม่มีอยู่จริง

18 นักสุขนิยมมีความคิดทางอภิปรัชญาแบบใด

(1) สสารนิยม

(2) จิตนิยม

(3) ธรรมชาตินิยม

(4) เทวนิยม

ตอบ 1 หน้า 155 นักสุขนิยม (Hedonism) มีความคิดทางอภิปรัชญาแบบสสารนิยม เช่น ลัทธิเอพิคิวรัส เป็นนักสุขนิยมที่มีทัศนะว่า ชีวิตเป็นเพียงสสาร เมื่อตายไปก็ไม่มีอะไรเหลือ ไม่มีนรก ไม่มีสวรรค์ดังนั้นถ้าเรายังมีชีวิตอยู่เราต้องแสวงหาความสุขและความพึงพอใจให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

19 ข้อใดกล่าวถึงลักษณะของปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง

(1) นักบวชในศาสนาคริสต์ศึกษาปรัชญาจนได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญา

(2) ศาสนาคริสต์ใช้วิธีการทางปรัชญาเพื่ออธิบายความเชื่อของตัวเอง

(3) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 8, 249, (คําบรรยาย) ปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง เป็นช่วงสมัยที่ศาสนาคริสต์ได้รับการยอมรับนับถือกันทั่วไป และทําให้ศาสนาคริสต์ใช้วิธีการทางปรัชญาเพื่ออธิบายความเชื่อของตนเอง ดังนั้น ปรัชญาตะวันตกยุคกลางจึงได้รับฉายาว่าสาวใช้ของศาสนา เนื่องจากปรัชญาถูกดึงไปเป็นเครื่องมือ สําหรับอธิบายและส่งเสริมคําสอนของศาสนาคริสต์ให้ดูมีเหตุมีผลยิ่งขึ้น โดยนักบวชในศาสนาคริสต์ ส่วนใหญ่ศึกษาปรัชญาดังกล่าวจนได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญา เช่น เซนต์ ออกัสติน (St. Augustine) เซนต์ โทมัส อควินัส (St. Thomas Aquinas) เป็นต้น

20 ปรัชญาตะวันตกยุคใดที่ได้ชื่อว่า ได้รับอิทธิพลของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

(1) ยุคดึกดําบรรพ์

(2) ยุคโบราณ

(3) ยุคกลาง

(4) ยุคใหม่

ตอบ 4 หน้า 8, 251 – 255, (คําบรรยาย) ปรัชญาตะวันตกยุคใหม่ หมายถึง ปรัชญาตะวันตกที่นับตั้งแต่ปรัชญาตะวันตกสมัยกลางสิ้นสุดลง (ประมาณศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา) ซึ่งปรัชญาในยุคนี้จะได้รับ อิทธิพลจากวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก โดยมีนักปรัชญาที่สําคัญ ได้แก่ เดส์การ์ตส์ (Descartes), สปิโนซา (Spin0Za), ไลบ์นิตซ์ (Leibnitz), จอห์น ล็อค (John Locke), เดวิด ฮูม(David Hume), โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เป็นต้น

21 นักจิตนิยมมีทัศนะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจิต-กาย อย่างไร

(1) จิตคือกาย

(2) จิตสําคัญคู่กาย

(3) จิตสําคัญกว่ากาย

(4) จิตมีอยู่ตราบเท่าที่มีกาย

ตอบ 3 หน้า 35, (คําบรรยาย) จิตนิยม เชื่อว่า มนุษย์มีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ จิตกับร่างกายโดยจิตหรือวิญญาณสําคัญกว่าร่างกาย เพราะเป็นตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ และมีสภาพ เป็นอมตะ เมื่อตายไปแล้วก็จะกลับมาเกิดใหม่ ดังนั้นการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้จึงต้องกระทําความดี เพื่อเป็นสะพานที่จะมุ่งไปสู่ความจริงในโลกหน้า

22 นักจิตนิยมมีทัศนะต่อโลกมนุษย์อย่างไร

(1) มนุษย์ต้องเรียนรู้ให้มากเพื่อใช้ชีวิตในโลกอย่างมีความสุขสบาย

(2) มนุษย์ต้องใช้ชีวิตในโลกอย่างสุขสบาย ก่อนไปใช้ชีวิตในโลกแห่งความจริง

(3) โลกมนุษย์มีความเป็นจริงของมันเอง

(4) การมีชีวิตในโลกเป็นเพียงสะพานไปสู่ความจริง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

23 สิ่งที่มีขึ้นและดับลง ในทัศนะของธรรมชาตินิยม

(1) สสาร

(2) อสสาร

(3) จิต

(4) สิงธรรมชาติ

ตอบ 4 หน้า 33 – 39, (คําบรรยาย) ธรรมชาตินิยม เชื่อว่า สิ่งธรรมชาติ (สสาร) คือ สิ่งที่มีขึ้นและดับลงตามปฏิบัติการของสาเหตุธรรมชาติ โดยสิ่งธรรมชาติเป็นสิ่งที่อยู่ในระบบของอวกาศ-เวลาอย่างหนึ่งและไม่สามารถใช้อธิบายความเป็นจริงของโลกนี้ได้อย่างสมบูรณ์

24 ข้อใดคือแนวคิดที่สัมพันธ์อยู่กับแนวคิดของธรรมชาตินิยม

(1) พหุนิยม, นวนิยม

(2) อวนิยม, นวนิยม

(3) ทวินิยม, อันตนิยม

(4) พหุนิยม, อันตนิยม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

25 “สสารเป็นสิ่งที่อยู่ในระบบของอวกาศ-เวลาอย่างหนึ่ง และไม่สามารถใช้อธิบายความเป็นจริงของโลกนี้ได้อย่างสมบูรณ์” เป็นแนวคิดของนักปรัชญาลัทธิใด

(1) ธรรมชาตินิยม

(2) จักรกลนิยม

(3) สสารนิยม

(4) จิตนิยม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

26 ข้อใดคือความหมายของทฤษฎีวิวัฒนาการตามหลักแนวคิดธรรมชาตินิยม

(1) การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว

(2) การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งที่ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ คุณสมบัติใหม่

(3) การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งที่เกิดมาในยุคดึกดําบรรพ์

(4) การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

27 ตามทัศนะของไวเศษกะ วิญญาณของมนุษย์คืออะไร

(1) ปรมาณูธรรมดา

(2) ปรมาณูพิเศษ

(3) ชีวาตมัน

(4) มนุษย์ไม่มีวิญญาณ

ตอบ 3 หน้า 58 ปรัชญากรีก ถือว่า วิญญาณของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการรวมตัวของปรมาณู แต่เป็นปรมาณูหรืออะตอมพิเศษ ส่วนปรัชญาไวเศษกะ ถือว่า วิญญาณหรืออาตมันหรือชีวาตมันนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นพิเศษต่างหากจากปรมาณู ไม่ได้เกิดจากการรวมตัวของปรมาณูของธาตุใด ๆแต่เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้นิรันดรควบคู่ไปกับปรมาณู และมีลักษณะพิเศษของตนเองโดยเฉพาะ

28 ลัทธิไวเศษกะ มีความเชื่อเกี่ยวกับความแตกต่างของปรมาณูอย่างไร

(1) ปรมาณูแตกต่างกัน เฉพาะด้านปริมาณ

(2) ปรมาณูแตกต่างกัน เฉพาะด้านคุณภาพ

(3) ปรมาณูแตกต่างกัน ทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ

(4) ปรมาณไม่แตกต่างกัน

ตอบ 3 หน้า 57 ลัทธิไวเศษกะ เชื่อว่า ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน ทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ ส่วนปรัชญากรีกนั้นเชื่อว่า ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ มีความแตกต่างกันเฉพาะด้านจํานวนหรือปริมาณเท่านั้น แต่ในด้านคุณภาพมีลักษณะเหมือนกัน

29 ลัทธิไวเศษกะ มีความเชื่อเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของปรมาณอย่างไร (1) ปรมาณูเคลื่อนไหวตลอดเวลา

(2) ปรมาณไม่เคลื่อนไหวเลย

(3) ปรมาณเคลื่อนไหวตามกฎเกณฑ์

(4) ปรมาณูเคลื่อนไหวตามการขึ้นําของพระเจ้า

ตอบ 4 หน้า 57 – 58, (คําบรรยาย) คุณสมบัติของปรมาณในทัศนะของลัทธิไวเศษกะ คือ ปรมาณูแต่ละปรมาณูเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้เช่นเดียวกัน โดยธรรมชาติของปรมาณูเป็นสิ่งไร้กัมมันตภาพและไร้จลนภาพ เคลื่อนไหวไม่ได้ด้วยตัวเอง จึงอยู่ในภาวะที่หยุดนิ่ง แต่จะเคลื่อนไหวตามการชี้นําหรือตามเจตจํานง ของพระเจ้าในการรวมตัวกันเป็นโลกและสิ่งต่าง ๆ ในโลกส่วนปรัชญากรีกหรือแนวคิดแบบสสารนิยม ของตะวันตกนั้นเชื่อว่า ปรมาณูมีทั้งกัมมันตภาพและจลนภาพอยู่ในตัวโดยธรรมชาติ แต่ละปรมาณู จะไม่มีการหยุดนิ่ง มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา และมีการรวมตัวกันหนาแน่นกลายเป็นโลกและสิ่งต่าง ๆ ในโลก

30 ถ้าลัทธิไวเศษกะเป็นแนวคิดแบบสสารนิยมของตะวันตกจริง ไวเศษกะไม่ควรมีแนวคิดเรื่องใด

(1) โลกเกิดจากปรมาณู

(2) ปรมาณสามารถเคลื่อนไหวรวมตัวกัน

(3) พระเจ้ากําหนดการเคลื่อนไหวของปรมาณู

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

31 ลัทธิไวเศษกะเชื่อว่าการรวมตัวกันของปรมาณูจํานวนเท่าใด จึงจะสามารถทําให้มนุษย์สัมผัสได้

(1) 2 ปรมาณู

(2) 3 ปรมาณู

(3) 4 ปรมาณู

(4) 5 ปรมาณู

ตอบ 2 หน้า 59 ปรัชญาไวเศษกะ เชื่อว่า สิ่งที่มนุษย์พอจะรู้ด้วยประสาทสัมผัส จะต้องเกิดจากการรวมตัวของปรมาณตั้งแต่ 3 ปรมาณูขึ้นไป ส่วนปรมาณูเพียงปรมาณูเดียว หรือ 2 ปรมาณูนั้นเล็กเกินไปที่จะรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส

32 สิ่งใดที่คนฉลาดควรกลัวมากที่สุดคือความทุกข์จากสิ่งใด

(1) ทุกข์จากการเกิด

(2) ทุกข์จากการแก่

(3) ทุกข์จากการตาย

(4) ทุกข์จากความเศร้าใจ

ตอบ 1 หน้า 83 ตามคําสอนของอริยสัจ 4 นั้น ถือว่าความเกิดเป็นประตูแห่งความทุกข์ทั้งปวง เพราะความเกิดนั้นเป็นเหตุให้ต้องตาย ถ้าไม่เกิดเสียอย่างเดียวก็ไม่ต้องตาย และไม่ต้องลําบากจนกว่า ตัวเองจะแก่ตาย ดังนั้นคนฉลาดจึงควรกลัวความเกิด ไม่ใช่กลัวความตาย

33 ข้อใดจัดเป็นสภาวทุกข์

(1) ความแก่

(2) ความไม่สบายกายเพราะความแก่

(3) ความคับแค้นใจเพราะความแก่

(4) ความพลัดพรากจากของรักเพราะความแก่

ตอบ 1 หน้า 82 “สภาวทุกข์” หมายถึง ทุกข์โดยสภาพหรือทุกข์ประจํา เช่น ความเกิด ความแก่และความตาย ส่วน “ทุกข์จร” หมายถึง ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพียงบางครั้งบางคราว เช่น ความเศร้าใจความระทมใจ ความไม่สบายใจ ความไม่สบายกาย ความคับแค้นใจ ความพลัดพราก เป็นต้น

34 “ฉันไม่อยากตัวดําอย่างนี้เลย” จัดเป็นตัณหาแบบไหน

(1) กามตัณหา

(2) ภวตัณหา

(3) วิภวตัณหา

(4) ไม่จัดว่าเป็นตัณหา

ตอบ 3 หน้า 84 85 ตัณหามีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

1 กามตัณหา คือ ความอยากเห็น อยากฟัง อยากสูดกลิ่น อยากลิ้มรส อยากสัมผัสสิ่งที่ดีงามถูกอกถูกใจ

2 ภวตัณหา คือ ความอยากเป็นเจ้าของ ความอยากมีหรืออยากเป็นสิ่งอื่น ๆ เช่น กรณีนักศึกษาติดอยู่ในภาวะของการเป็นนิสิตนักศึกษา จนไม่อยากจบการศึกษา หรือการติดอยู่ในการดํารงตําแหน่งการงานใด ๆ เป็นต้น

3 วิภวตัณหา คือ ความอยากไม่ให้สิ่งที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่เสื่อมสิ้นไป ความอยากไม่มีดังที่ตนมีอยู่หรือไม่อยากเป็นดังที่ตนเป็นอยู่ เช่น กรณีของผู้ที่กล่าวว่า “ฉันไม่อยากตัวดําอย่างนี้เลย” เป็นต้น

35 ข้อปฏิบัติที่จัดว่าเป็นการอบรมกายกับวาจา เรียกว่าอะไร

(1) ศีล

(2) สมาธิ

(3) ปัญญา

(4) ทิฐิ

ตอบ 1 หน้า 86 – 89, (คําบรรยาย) มรรค 8 คือ ทางสายกลางซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้คือ

1 ส่วนที่อบรมกายกับวาจา เรียกว่า “ศีล” ประกอบด้วย สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ

2 ส่วนที่อบรมจิต เรียกว่า “สมาธิ” ประกอบด้วย สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

3 ส่วนที่อบรมทิฐิและความเห็น เรียกว่า “ปัญญา”ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ และสัมมาสังกัปปะ

36 ญาณวิทยาศึกษาปัญหาใดของมนุษย์

(1) ธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์

(2) ชีวิตหลังการตายของมนุษย์

(3) การปฏิบัติตนของมนุษย์

(4) การมีความรู้ของมนุษย์

ตอบ 4 หน้า 11 – 18 ปรัชญาบริสุทธิ์ มีการศึกษาถึงปัญหาสําคัญ 3 ปัญหา คือ

1 ปัญหาทางอภิปรัชญา ซึ่งจะศึกษาเรื่องความเป็นจริง เช่น ความเป็นจริงคืออะไร สารเบื้องต้นของจักรวาลคืออะไร ฯลฯ

2 ปัญหาทางญาณวิทยา ซึ่งจะศึกษาเรื่องความรู้ เช่น เรารู้จักความจริงได้โดยทางใด การมีความรู้ของมนุษย์เกิดขึ้นได้อย่างไร ฯลฯ

3 ปัญหาทางจริยศาสตร์ ซึ่งจะศึกษาเรื่องความดี เช่น เราควรปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับความเป็นจริง ฯลฯ

37 จริยศาสตร์ศึกษาปัญหาใดของมนุษย์

(1) ธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์

(2) ชีวิตหลังการตายของมนุษย์

(3) การปฏิบัติตนของมนุษย์

(4) การมีความรู้ของมนุษย์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

38 เหตุผลนิยมให้ความสําคัญกับความรู้สาขาใด

(1) วิทยาศาสตร์

(2) เทคโนโลยี

(3) จิตวิทยา

(4) คณิตศาสตร์

ตอบ 4 หน้า 105 – 106 เหตุผลนิยมจะยอมรับวิธีการคิดหาเหตุผลแบบนิรนัย (Deduction) คือ การพิสูจน์ความเชื่อถือใด ๆ โดยอาศัยความจริงพื้นฐานที่มีอยู่ก่อนหรือที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เป็นหลัก แล้วก็ใช้ความคิดสืบสาวจากความรู้นั้นไปเพื่อที่จะรู้ในสิ่งอื่น โดยที่ข้อสรุปต้องได้มาจาก ข้ออ้าง ถ้าหากข้ออ้างเป็นจริง ข้อสรุปก็ต้องเป็นจริงด้วย ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และพีชคณิต ก็ใช้วิธีการคิดหาเหตุผลแบบนิรนัยนี้ในการแสวงหาความจริงโดยไม่อาศัยการพิสูจน์หรือยืนยันจาก ประสบการณ์ แต่อาศัยการใช้ความคิดหรือปัญญา ตัวอย่างการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีนิรนัย เช่น คนมีความฝันคือคนมีเป้าหมายของชีวิต แดงเป็นคนช่างฝัน ดังนั้นแดงเป็นคนมีเป้าหมายของชีวิต เป็นต้น

39 ข้อใดเป็นทัศนะของนักเหตุผลนิยม

(1) ความรู้เกิดจากประสบการณ์

(2) ความรู้เกิดจากการท่องเที่ยว

(3) ความรู้เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน

(4) ความรู้เกิดจากการคิด

ตอบ 4 หน้า 106 107 พวกเหตุผลนิยม เห็นว่า ความรู้ที่แท้จริงแน่นอนจะไม่ได้มาจากการใช้ประสาทสัมผัส แต่จะต้องได้มาจากความคิดหรือการใช้เหตุผลไตร่ตรอง โดยยอมรับว่าประสบการณ์ทางผัสสะเป็นจุดเริ่มต้นของความรู้หรือเป็นสิ่งที่มาจุดประกายให้สติปัญญาเริ่มทํางานเท่านั้น

40 ข้อใดเป็นการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีนิรนัย

(1) คนคือสิ่งมีชีวิต

(2) ฉันเป็นคน

(3) คนเราต้องอยู่กับสิ่งที่ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน

(4) คนมีความฝันคือคนมีเป้าหมายของชีวิต แดงเป็นคนช่างฝัน ดังนั้นแดงเป็นคนมีเป้าหมายของชีวิต

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

41 นักปรัชญาคนใดเชื่อความรู้จําต้องเป็น (Necessary Truth)

(1) เดส์การ์ตส์

(2) ซูม

(3) เบอร์คเลย์

(4) ล็อค

ตอบ 1 หน้า 104 – 105, 11.5 – 116 นักปรัชญาเหตุผลนิยมที่สําคัญ เช่น เดส์การ์ตส์ (Descartes) สปิโนชา (Spinoza) และไลบ์นิตซ์ (Leibnitz) เชื่อว่า ความรู้ก่อนประสบการณ์เป็นความจริงที่ จําต้องเป็น (Necessary Truth) คือ ต้องจริงในทุกที่และทุกเวลา โดยไม่ต้องมีสิ่งใดมายืนยัน และจิตของมนุษย์ก็สามารถรู้ความจริงชนิดนี้ได้โดยอัชญัตติกญาณ คือการหยั่งรู้ด้วยจิตใจหรือ แสงสว่างด้วยปัญญาทันทีทันใด ความรู้ที่ได้จากอัชญัตติกญาณแบบเหตุผลนิยม เช่น ข้อความที่ว่า“เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ต้องมีสาเหตุ” หรือ “อืม..ฉันรู้แล้ว ! เส้นขนานไม่มีวันพบกัน” ฯลฯ

42 วิธีสงสัยสากลของเดส์การ์ตส์ มีลักษณะอย่างไร

(1) สงสัยทุกเรื่องจนหาข้อสรุปไม่ได้

(2) สงสัยเพราะความอยากรู้อยากเห็น

(3) สงสัยเพราะขาดความเข้าใจ

(4) สงสัยเพื่อให้ได้รับความรู้ที่ชัดเจน

ตอบ 4 หน้า 108 เดส์การ์ตส์ (Descartes) เป็นนักปรัชญาแนวเหตุผลนิยมที่เริ่มต้นด้วยการสงสัยในทุก ๆ สิ่ง กล่าวคือ ไม่เชื่อในสิ่งใด เพราะบางสิ่งที่เราเชื่อว่าจริงก็อาจจะไม่จริงก็ได้ บ่อยครั้ง ที่ประสบการณ์หลอกเราทําให้เราเข้าใจผิด ดังนั้นเราจึงควรสงสัยในทุกสิ่งก่อนว่ามันไม่จริง จนกว่าจะพบจุดที่เราไม่อาจสงสัยได้อีก หรือได้รับความรู้ที่ชัดเจน ดังข้อความที่ว่า “ฉันคิด ดังนั้นฉันจึงมีอยู่” ซึ่งเป็นการยืนยันว่ามีจิตหรือสิ่งแท้จริงที่รู้คิดได้ (Thinking Substance)

43 ในทัศนะของล็อค ส่วนใดของวัตถุที่มนุษย์รับรู้โดยผ่านประสาทสัมผัส และตรงกับที่วัตถุเป็น

(1) สาร

(2) คุณสมบัติปฐมภูมิ

(3) คุณสมบัติทุติยภูมิ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 118 119, (คําบรรยาย) ล็อค แบ่งผัสสะทั้งหลายของมนุษย์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1 คุณสมบัติปฐมภูมิมีอยู่จริงในตัววัตถุ และสามารถรับรู้ได้โดยผ่านประสาทสัมผัส และตรงกับที่วัตถุเป็น เช่น รูปร่าง (มะนาวผลนี้กลม และเบี้ยวเล็กน้อย) ขนาด น้ำหนัก การเคลื่อนที่ ฯลฯ

2 คุณสมบัติทุติยภูมิไม่ได้มีอยู่จริง แต่มนุษย์รับรู้ได้ด้วยจิต และไม่ตรงกับวัตถุที่เป็น ซึ่งคุณสมบัติประเภทนี้จะถูกสร้างขึ้นจากคุณสมบัติปฐมภูมิของวัตถุ เช่น กลิ่น รส สี เสียง อุณหภูมิ ฯลฯ

44 ในทัศนะของล็อค ส่วนใดของวัตถุที่มนุษย์รับรู้ได้ด้วยจิต และไม่ตรงกับวัตถุที่เป็น

(1) สาร

(2) คุณสมบัติปฐมภูมิ

(3) คุณสมบัติทุติยภูมิ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

45 นักปรัชญาคนใดได้ชื่อว่า เป็นนักประสบการณ์นิยม

(1) ล็อค

(2) เบอร์คเลย์

(3) อูม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 8, 112 – 113, 130 ลัทธิประสบการณ์นิยมหรือประจักษนิยม เป็นลัทธิที่จัดอยู่ในกลุ่มปรัชญาตะวันตกยุคใหม่ ซึ่งเชื่อว่า วิธีคิดที่ถูกต้องที่สุดคือการยึดมั่นในประสบการณ์ และการใช้ความรู้ที่ผ่านประสาทสัมผัส โดยแนวคิดนี้จะมีลักษณะคล้ายกับการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ตัวอย่างของนักปรัชญากลุ่มนี้ ได้แก่ ล็อค (Locke) ฮูม (Hume) และ เบอร์คเลย์ (Berkeley)

46 ในทัศนะของล็อค จิตของมนุษย์ตอนแรกเกิดมีลักษณะอย่างไร

(1) ว่างเปล่าจากความรู้ใด ๆ ทั้งสิ้น

(2) มีความรู้เกี่ยวกับหลักการทั่วไปติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด

(3) มีความรู้เกี่ยวกับจริยธรรมติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด

(4) มนุษย์ไม่มีจิตวิญญาณแต่อย่างใด

ตอบ 1 หน้า 117 ล็อค เห็นว่า สภาพจิตของมนุษย์ในตอนเริ่มแรกนั้นจะมีแต่ความว่างเปล่าเหมือนกระดาษขาวบริสุทธิ์ ปราศจากความคิดและความรู้ใด ๆ ทั้งสิ้น ต่อมาเมื่อจิตของมนุษย์ได้รับประสบการณ์ก็จะกลายเป็นที่บรรจุวัตถุของความรู้และการคิดหาเหตุผลอย่างมากมาย

47 ลัทธิประสบการณ์นิยมเกิดขึ้นในปรัชญาตะวันตกยุคใด

(1) ยุคโบราณ

(2) ยุคกลาง

(3) ยุคใหม่

(4) ยุคปัจจุบัน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

48 ประสบการณ์นิยมให้ความสําคัญกับความรู้ประเภทใด

(1) ความรู้ก่อนมีประสบการณ์

(2) ความรู้หลังมีประสบการณ์

(3) ความรู้ที่เป็นจริงตลอดกาล

(4) ความรู้ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด

ตอบ 2 หน้า 105, 111 – 112, 115 ลัทธิประสบการณ์นิยมหรือประจักษนิยม ยึดถือการแสวงหาความรู้แบบอุปนัย โดยจะอาศัยข้อมูลที่ได้มาจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสอันเป็นเรื่อง ของกรณีเฉพาะแล้วจึงสรุปจากข้อเท็จจริงย่อย ๆ ขึ้นเป็นความจริงทั่วไป นอกจากนี้ยังเน้นถึง ความสําคัญของประสบการณ์ว่าเป็นบ่อเกิดหรือที่มาของความรู้ (A Posteriori Knowledge) จนอาจกล่าวได้ว่า “ประสบการณ์คือครูที่ดีที่สุด”

  1. “อุ้ย ! นั่นรางรถไฟ มันไม่บรรจบกันด้วยละ” จัดว่าเป็นความรู้ที่เกิดจากบ่อเกิดความรู้ใด

(1) ความสว่างด้วยปัญญาทันทีทันใด

(2) การเข้าถึงความรู้ทันที ซึ่งเกิดขึ้นขณะกําลังมีประสบการณ์

(3) การสรุปจากความจริงพื้นฐานด้วยการเชื่อมโยงความคิด

(4) การสรุปความรู้โดยอาศัยประสบการณ์เป็นข้อมูล

ตอบ 2 หน้า 116 ความรู้ที่ได้จากอัชฌัตติกญาณในแบบประสบการณ์นิยม (ประจักษนิยม) หมายถึง การมีความรู้และความเข้าใจโดยตรงในความจริงที่ง่าย ๆ ธรรมดา ๆ ที่สุดของประสบการณ์ ทางประสาทสัมผัส หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นทันทีขณะกําลังมีประสบการณ์อยู่ เช่น ข้อความที่ว่า “อ๊ย ! นันรางรถไฟ มันไม่บรรจบกันด้วยละ” หรือ “สิ่งที่ฉันมองเห็นในขณะนี้มีสีแดง” เป็นต้น

50 จากข้อ 49 บ่อเกิดความรู้ดังกล่าวเรียกว่าบ่อเกิดความรู้ใด

(1) อัชญัตติกญาณแบบเหตุผลนียม

(2) อัชฌัตติกญาณแบบประสบการณ์นิยม

(3) วิธีนิรนัย

(4) วิธีอุปนัย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

51 “อืมฉันรู้แล้ว ! เส้นขนานไม่มีวันพบกัน” จัดว่าเป็นความรู้ที่เกิดจากบ่อเกิดความรู้ใด

(1) ความสว่างด้วยปัญญาทันทีทันใด

(2) การเข้าถึงความรู้ทันที ซึ่งเกิดขึ้นขณะกําลังมีประสบการณ์

(3) การสรุปจากความจริงพื้นฐานด้วยการเชื่อมโยงความคิด

(4) การสรุปความรู้โดยอาศัยประสบการณ์เป็นข้อมูล

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

52 จากข้อ 51 บ่อเกิดความรู้ดังกล่าวเรียกว่าบ่อเกิดความรู้ใด

(1) อัชญัตติกญาณแบบเหตุผลนิยม

(2) อัชญัตติกญาณแบบประสบการณ์นิยม

(3) วิธีนิรนัย

(4) วิธีอุปนัย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

53 ในทัศนะของล็อค ความรู้ข้อใดที่เขาเห็นว่าตรงกับความเป็นจริงของวัตถุ

(1) มะนาวผลนี้กลม และเบี้ยวเล็กน้อย

(2) มะนาวผลนี้มีสีเขียวอมเหลือง

(3) มะนาวผลนี้มีรสเปรี้ยวมาก

(4) มะนาวผลนี้มีกลิ่นหอม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

54 ข้อใดไม่เคยเป็นประสบการณ์ของมนุษย์ในทัศนะของล็อค

(1) คุณสมบัติของวัตถุ

(2) สาร

(3) คุณสมบัติปฐมภูมิ

(4) สสาร

ตอบ 2 หน้า 119 ในทัศนะของล็อค ถือว่า “สาร” ที่รองรับคุณสมบัติของวัตถุเป็นสิ่งแท้จริงที่อยู่ภายในตัววัตถุ ซึ่งคนเราไม่อาจจะรับรู้หรือรู้จักสารนั้นได้โดยผ่านทางประสบการณ์เลย แต่ก็ต้องยอมรับว่าทุกสิ่งต้องมีสารเป็นพื้นฐานที่รองรับคุณสมบัติปฐมภูมิของวัตถุซึ่งก่อให้เกิดความคิดเชิงเดี่ยว

55 การมีอยู่ คือ การถูกรับรู้เป็นแนวคิดของ….. เรียกแนวคิดของเขาว่า …..

(1) เบอร์คเลย์ / สัจนิยมโดยอ้อม

(2) ซูม / สัจนิยมแบบตัวแทน

(3) ล็อค / สัจนิยมโดยตรง

(4) เบอร์คเลย์ / จิตนิยมแบบอัตนัย

ตอบ 4 หน้า 131, 133, (คําบรรยาย) จิตนิยมแบบอัตนัยของเบอร์คเลย์ (Berkeley) ถือว่า “การมีอยู่”ของวัตถุก็คือ “การถูกรับรู้” อันได้แก่วัตถุและสิ่งทั้งหลายภายในโลก ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีแก่นแท้คือการถูกรับรู้ด้วยจิตมนุษย์ ดังนั้นการมีอยู่ของมันจึงเป็นอิสระจากจิตไม่ได้

56 มนุษย์รู้จักสิ่งต่าง ๆ ด้วยการรับรู้ผ่านคุณสมบัติของสิ่งนั้น ๆ เป็นแนวคิดของ

(1) ล็อค

(2) เบอร์คเลย์

(3) เดส์การ์ตส์

(4) ซูม

ตอบ 1 หน้า 138 139 ล็อค ยืนยันว่าการรู้จักสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์เป็นการรับรู้โดยผ่านความคิดที่เป็นผัสสะ ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนของคุณสมบัติแท้จริงที่มีแต่คุณสมบัติปฐมภูมิเท่านั้น โดยจะเรียกแนวคิดนี้ว่า “สัจนิยมแบบตัวแทน”

57 จากข้อ 56 เรียกแนวคิดของเขาว่า

(1) สัจนิยมใหม่

(2) สัจนิยมแบบผิวเผิน

(3) สัจนิยมแบบวิจารณ์

(4) สัจนิยมแบบตัวแทน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

58 เหตุใดฮมจึงกล่าวว่า ความรู้เป็นจินตนาการ

(1) มนุษย์สรุปความรู้เกินจากกรอบประสบการณ์ของตนเอง

(2) มนุษย์สรุปความรู้โดยการคิดแบบไม่ต้องอาศัยประสบการณ์

(3) มนุษย์ไม่เคยสรุปความรู้ได้อย่างถูกต้องเลย

(4) มนุษย์ชอบสรุปความรู้จากประสบการณ์ ทั้ง ๆ ที่ประสบการณ์ให้ความรู้ที่ไม่แน่นอนตายตัว

ตอบ 4 หน้า 122 – 123, (คําบรรยาย) ซูม เห็นว่า ความรู้ทั้งหลายของมนุษย์แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ “ความประทับใจ” ซึ่งเป็นการรับรู้ในผัสสะ กับ “ความคิด” ซึ่งเป็นการรับรู้ในสิ่งที่เกิดจาก จินตนาการ (Imagination) หรือความจํา โดยความรู้ที่เป็นจินตนาการนั้น เรามักนําความคิดที่ได้ จากสิ่งสองสิ่งมาเชื่อมโยงกันเองว่ามันเหมือนกัน ทั้ง ๆ ที่จินตนาการถูกสร้างขึ้นมาเอง ไม่ได้มีจริงดังนั้นมนุษย์จึงขอบสรุปความรู้จากประสบการณ์ ทั้ง ๆ ที่ประสบการณ์ให้ความรู้ที่ไม่แน่นอนตายตัว

59 ข้อใดสัมพันธ์กับแนวคิดของฮูม

(1) วิมัตินิยม

(2) อันตนิยม

(3) เหตุผลนิยม

(4) นวนิยม

ตอบ 1 หน้า 123 124 1 เป็นนักปรัชญาแบบวิมัตินิยมอย่างแท้จริง โดยเขาเชื่อว่าความรู้ทุกอย่างของมนุษย์ถ้าไม่ผ่านประสาทสัมผัสแล้วย่อมไม่จริง ดังนั้นความสัมพันธ์ในเรื่องความเป็นเหตุ เป็นผลกันของแต่ละเหตุการณ์จึงไม่มีอยู่จริง แต่เป็นเพียงสิ่งที่จิตมนุษย์นํามาเชื่อมโยงเข้าหากันเท่านั้น

60 เบอร์คเลย์ ยอมรับความคิดใด

(1) ความรู้ของมนุษย์ เป็นการรู้จักตัววัตถุโดยตรง

(2) ความรู้ของมนุษย์ เป็นเพียงตัวแทนของวัตถุ

(3) ความรู้ของมนุษย์ เป็นความคิดของจิตมนุษย์

(4) ความรู้ของมนุษย์ เป็นความรู้ที่ผ่านตัวกลาง

ตอบ 3 หน้า 128, 131 เบอร์คเลย์ ยอมรับว่าความรู้ของมนุษย์เป็นเพียงความคิดของจิตมนุษย์เท่านั้นเนื่องจากวัตถุทั้งหลายพร้อมทั้งคุณสมบัติทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นปฐมภูมิและทุติยภูมิล้วนขึ้นอยู่กับการรับรู้ของจิตทั้งสิ้น ดังนั้นวัตถุจึงไม่ได้มีความเป็นจริงในตัวเอง

  1. “Summum Bonum” มีความหมายอย่างไร

(1) จุดหมายสูงสุดที่มนุษย์ควรแสวงหา

(2) วิธีดีที่สุดที่นําไปสู่จุดหมายสูงสุด

(3) ความจริงสูงสุดที่มนุษย์ควรแสวงหา

(4) วิธีถูกต้องที่สุดที่นําไปสู่ความจริงสูงสุด

ตอบ 1 หน้า 147, 155, (คําบรรยาย) Summum Bonum หมายถึง ความดีสูงสุดหรือความมีคุณธรรมอันเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิตที่มนุษย์ควรแสวงหา ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับอุดมการณ์หรืออุดมคติของชีวิต หรือสิ่งที่ดีสูงสุดของชีวิตมนุษย์

62 “มนุษย์คือนักบุญ” ควรจะเป็นความเห็นของลัทธิทางอภิปรัชญาใด

(1) สสารนิยม

(2) จิตนิยม

(3) ธรรมชาตินิยม

(4) สัจนิยม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) คําว่า “มนุษย์คือนักบุญ” สอดคล้องกับความเห็นของอภิปรัชญาแบบลัทธิสัจนิยมหรือทฤษฎีนิยมสายกลาง ซึ่งเชื่อว่า การรู้จักตัวเองเป็นความดีสูงสุด โดยการรู้จักตัวเองนี้ก็คือ การแสวงหาความสุขทั้งทางกายและทางใจให้แก่ตัวเองอย่างพอเหมาะ รวมทั้งจะต้องเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อผู้อื่นด้วย

63 “มนุษย์คือนักบุญ” มีความหมายอย่างไร

(1) มนุษย์ควรแสวงหาความสุขทางกาย

(2) มนุษย์ควรแสวงหาความสุขทางใจ

(3) มนุษย์ควรแสวงหาทั้งความสุขทางกายและทางใจ

(4) มนุษย์ควรแสวงหาความจริงเกี่ยวกับวัตถุ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 62 ประกอบ

64 “มนุษย์คือมนุษย์” ควรจะเป็นความเห็นของลัทธิใด

(1) สสารนิยม

(2) จิตนิยม

(3) ธรรมชาตินิยม

(4) สัจนิยม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ลัทธิสสารนิยม เห็นว่า มนุษย์คือมนุษย์ มนุษย์ไม่มีตัวตนของจิต สิ่งที่เรียกว่าพฤติกรรมของจิตคือ อารมณ์หรือความคิดต่าง ๆ ที่มีพื้นฐานมาจากสสารส่วนที่เป็นก้อนสมอง เท่านั้น ถ้าก้อนสมองตายสภาพทางจิตก็จะหายไปด้วย ความคิดดังกล่าวทําให้พวกสสารนิยมต้องการแสวงหาความสุขทางกาย

65 “มนุษย์คือมนุษย์” มีความหมายอย่างไร

(1) มนุษย์ควรแสวงหาความสุขทางกาย

(2) มนุษย์ควรแสวงหาความสุขทางใจ

(3) มนุษย์ควรแสวงหาทั้งความสุขทางกายและทางใจ

(4) มนุษย์ควรแสวงหาความจริงเกี่ยวกับวัตถุ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

66 “การทําแท้งเป็นสิ่งที่สังคมไทยรับไม่ได้ ถือว่าเป็นการกระทําที่ผิด” คําพูดนี้แสดงให้เห็นความคิดเกี่ยวกับความดีอย่างไร

(1) ความดี เป็นคุณค่าที่แน่นอนตายตัว

(2) ความดี ขึ้นกับความเห็นของสังคม

(3) ความดี เป็นคุณค่าที่เปลี่ยนแปลงได้

(4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การตัดสินคุณค่าตามจารีตประเพณี ถือว่าการตัดสินคุณค่าของการกระทําใด ๆของแต่ละสังคมจะขึ้นอยู่กับจารีตประเพณี วัฒนธรรม และค่านิยมที่สั่งสมมาตั้งแต่ในอดีต ซึ่งคุณค่าความดีของสังคมหนึ่งอาจไม่ใช่คุณค่าความดีของอีกสังคมหนึ่งก็ได้ ดังนั้นคุณค่าตาม ความเห็นของสังคมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสังคมและกาลเวลา เช่น คําพูดที่ว่า “การทํา แท้งเป็นสิ่งที่สังคมไทยรับไม่ได้ ถือว่าเป็นการกระทําที่ผิด” เป็นต้น

6 “การทําแท้งคือการฆ่า จึงเป็นการกระทําที่ผิดเสมอไม่ว่าจะเป็นคนในสังคมใด” คําพูดนี้แสดงให้เห็นความคิดเกี่ยวกับความดีอย่างไร

(1) ความดี เป็นคุณค่าที่แน่นอนตายตัว

(2) ความดี ขึ้นกับความเห็นของสังคม

(3) ความดี เป็นคุณค่าที่เปลี่ยนแปลงได้

(4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การตัดสินคุณค่าตามแนวคิดของพวกจิตนิยม ถือว่าถ้าการกระทําใด ๆ ถูกตัดสินว่ามีคุณค่าที่ดีแล้ว การกระทํานั้นไม่ว่าจะส่งผลอย่างไรก็ถือว่าเป็นการกระทําที่ดี แต่ถ้าการกระทํา ใด ๆ ถูกตัดสินว่ามีคุณค่าที่ไม่ดีแล้ว การกระทํานั้นไม่ว่าจะส่งผลอย่างไรก็ถือว่าเป็นการกระทําที่ผิด เช่น คําพูดที่ว่า “การทําแท้งคือการฆ่า จึงเป็นการกระทําที่ผิดเสมอไม่ว่าจะเป็นคนในสังคมใด”เป็นต้น

68 ข้อใดหมายถึงแนวคิดของพวก อสุขนิยม

(1) ธรรมชาติของจิต คือ การใช้ปัญญาแสวงหาสัจธรรม

(2) ธรรมชาติของจิต คือ ความสงบ

(3) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(4) ปฏิเสธการมีอยู่ของจิต

ตอบ 3 หน้า 157 – 160 อสุขนิยม มีทัศนะว่า สิ่งที่มนุษย์ควรแสวงหามากที่สุดคือการทําใจให้สงบพึงพอใจกับสิ่งจําเป็นในชีวิต สิ่งใดที่ไม่จําเป็นกับชีวิตก็ให้ละเว้นเสีย โดยแนวความคิดนี้เห็นว่าธรรมชาติของจิต คือ การใช้ปัญญาแสวงหาสัจธรรม (ปัญญานิยม) และความสงบสุข (วิมุตินิยม)

69 ความรู้สูงสุด คือ การเข้าใจความดี เป็นแนวคิดของ ซึ่งการมีความรู้แบบนี้ต้องใช้วิธี

(1) โซเครติส / เรียนรู้จากอาจารย์

(2) โซฟิสต์ / ถกเถียงด้วยเหตุผล

(3) โซฟิสต์ / เรียนรู้จากอาจารย์

(4) โซเครติส / ถกเถียงด้วยเหตุผล

ตอบ 4 หน้า 150, (คําบรรยาย) โซเครติส (Socrates) เห็นว่า “ความรู้สูงสุด” คือ “การเข้าใจความดี”เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์นั้นแสวงหาความดี แต่มักจะไม่รู้ว่าความดีคืออะไร ดังนั้นมนุษย์ จึงมีหน้าที่ที่สําคัญอย่างหนึ่งคือพยายามค้นหาให้รู้ว่าอะไรคือความดี ซึ่งการมีความรู้แบบนี้ต้องใช้วิธีการสนทนาถกเถียงด้วยเหตุผลเท่านั้น

70 ขับรถผ่าไฟแดงจนเกิดอุบัติเหตุเฉียวชนกับรถคันอื่นแต่ไม่ร้ายแรงมากนัก สาเหตุที่รีบเพราะลืมปิดสวิตช์เครื่องจักรที่โรงงาน หากไปถึงโรงงานช้าเกินไปอาจทําให้เกิดความเสียหายที่มีมูลค่าสูง และกิจการของครอบครัว อาจต้องปิดตัวลง การกระทําของที่เป็นเช่นใด

(1) ถูกต้องในทัศนะของมิลล์ เพราะเป็นการป้องกันความเสียหายที่มูลค่าสูง (2) ผิดในทัศนะของคานท์ เพราะขับรถฝ่าฝืนกฎจราจร

(3) ถูกต้องในทัศนะของคานท์ เพราะเป็นการป้องกันความเสียหายที่มูลค่าสูง

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 165, 169, (คําบรรยาย) มิลล์ (Mill) เป็นนักปรัชญาประโยชน์นิยมที่มีทัศนะว่า สิ่งที่มนุษย์ควรแสวงหาคือความสุขสูงสุด เพราะความสุขเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของมนุษย์ การกระทําใดก็ตามที่ก่อให้ เกิดประโยชน์สุขแก่คนจํานวนมากที่สุดเป็นการกระทําที่ดี นั่นคือ การคํานึงถึงผลที่จะได้รับเท่านั้น ส่วนคานท์ (Kant) เป็นนักปรัชญาหน้าที่นิยมที่มีทัศนะว่า ศีลธรรมต้องเป็นเรื่องแน่นอนตายตัว โดยปราศจากข้อแม้ สิ่งใดดีย่อมเป็นลักษณะประจําของสิ่งนั้นเสมอ จากข้อความที่โจทย์ให้มา จะเห็นว่าการกระทําของคู่นั้น ถูกต้องในทัศนะของมิลล์ เพราะเป็นการป้องกันความเสียหายที่ มูลค่าสูง แต่ผิดในทัศนะของคานท์ เพราะขับรถฝ่าฝืนกฎจราจร

71 “สภาวะธรรมชาติ” (State of Nature) หมายถึงสิ่งใด

(1) สภาพการดําเนินชีวิตตามธรรมชาติไม่อยู่ภายใต้อํานาจรัฐของมนุษย์ (2) สภาพที่มนุษย์ต้องมีชีวิตในรัฐโดยธรรมชาติ

(3) รัฐที่มีอํานาจโดยธรรมชาติ

(4) สภาวะของรัฐท่ามกลางธรรมชาติ

ตอบ 1 หน้า 254 – 255, (คําบรรยาย) “สภาวะธรรมชาติ” (State of Nature) ของล็อค หมายถึง สภาพการดําเนินชีวิตตามธรรมชาติไม่อยู่ภายใต้อํานาจรัฐของมนุษย์ ทั้งนี้เนื่องจากโดยธรรมชาติ มนุษย์มีสิทธิกําหนดการกระทําของตนเองโดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับคํายินยอมของใครทั้งสิ้น และรัฐก็ ไม่ใช่สิ่งที่เป็นธรรมชาติสําหรับมนุษย์ แต่รัฐเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดตั้งขึ้นด้วยความจําเป็นเพื่อทําหน้าที่ป้องกันสิทธิและเสรีภาพที่มีตามธรรมชาติแทนมนุษย์ทุกคน

72 “รัฐเป็นสิ่งธรรมชาติ” มีความหมายอย่างไร

(1) สภาพการดําเนินชีวิตตามธรรมชาติไม่อยู่ภายใต้อํานาจรัฐของมนุษย์ (2) สภาพที่มนุษย์ต้องมีชีวิตในรัฐโดยธรรมชาติ

(3) รัฐที่มีอํานาจโดยธรรมชาติ

(4) สภาวะของรัฐท่ามกลางธรรมชาติ

ตอบ 2 หน้า 247, (คําบรรยาย) รัฐเป็นสิ่งธรรมชาติ หมายถึง สภาพที่มนุษย์ต้องมีชีวิตอยู่ในรัฐโดยธรรมชาติ ทั้งนี้เพลโตและอริสโตเติล เห็นว่ารัฐและสังคมเป็นธรรมชาติของมนุษย์ กล่าวคือ มนุษย์จําเป็นต้องอยู่ในสังคมและอยู่ภายใต้รัฐ เนื่องจากสังคมและรัฐจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์มีชีวิตที่ดีที่สุด

73 นักปรัชญาคนใดเชื่อว่า “สภาวะธรรมชาติ” มีจริง

(1) โธมัส ฮอบส์ และ จอห์น ล็อค

(2) โธมัส ฮอบส์ และ เพลโต

(3) เพลโต และ อริสโตเติล

(4) จอห์น ล็อค และ อริสโตเติล

ตอบ 1 หน้า 252 – 255 ฮอบส์ ล็อค และรุสโซ เป็นนักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยใหม่ที่เชื่อว่าสภาวะธรรมชาติของมนุษย์มีจริง กล่าวคือ มนุษย์โดยธรรมชาติแล้วไม่ใช่สัตว์สังคม แต่ที่ต้องรวมตัวกันเป็นรัฐก็เพราะผลประโยชน์หรือความจําเป็นบีบบังคับ

74 นักปรัชญาคนใดเชื่อว่า “รัฐเป็นสิ่งธรรมชาติ”

(1) โธมัส ฮอบส์ และ จอห์น ล็อค

(2) โธมัส ฮอบส์ และ เพลโต

(3) เพลโต และ อริสโตเติล

(4) จอห์น ล็อค และ อริสโตเติล

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ

75 ข้อใดเป็นทัศนะของรุสโซ เรื่องบ่อเกิดของรัฐ

(1) รัฐโดยทั่วไปไม่ดี รัฐที่ดีเกิดจากคนที่นับถือพระเจ้า

(2) รัฐเกิดจากการตกลงยินยอมของบุคคล

(3) รัฐเกิดจากการแบ่งแยกชนชั้น

(4) รัฐเกิดจากตัณหาของชนชั้นผู้มีน้ำใจ

ตอบ 2 หน้า 255 – 257, (คําบรรยาย) รุสโซ (Rousseau) เห็นว่า รัฐที่ถูกต้องเป็นผลจากการรวมตัวอย่างอิสระของมนุษย์ หรือเป็นสังคมที่ปัจเจกบุคคลได้ตกลงยินยอมจัดตั้งด้วยความปรารถนาและการเลือกที่เป็นอิสระ เมื่อสังคมและรัฐเกิดจากเสรีภาพ สังคมและรัฐที่ดีก็ต้องเคารพในเสรีภาพด้วย ดังนั้นรัฐที่ดีจึงควรปกครองโดยคนที่มีเจตจํานงร่วม (General Will) หรือคนที่มีแรงปรารถนา เพื่อส่วนรวม ซึ่งเป็นเจตจํานงที่มุ่งสู่ความดีเพื่อทุกคนทั้งสังคมหรือเพื่อคนทั้งชาติ

76 ข้อใดเป็นทัศนะของมาร์กซ์ เรื่องบ่อเกิดของรัฐ

(1) รัฐเกิดจากพระเจ้า

(2) รัฐเกิดจากการตกลงยินยอมของบุคคล

(3) รัฐเกิดจากการแบ่งแยกชนชั้นจากการผลิต

(4) รัฐเกิดจากตัณหาของชนชั้นผู้มีน้ำใจ

ตอบ 3 หน้า 259, 262 มาร์กซ์ (Max) เห็นว่า รัฐเป็นสิ่งไม่จําเป็นสําหรับสังคมมนุษย์ เนื่องจากรัฐกําเนิดขึ้นจากการแบ่งแยกชนชั้นจากการผลิต อันเป็นผลมาจากโครงสร้างการผลิตที่เปิดโอกาสให้ผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตสร้างอํานาจขึ้นมากดขี่ขูดรีด และรักษาสถานภาพของตนไว้ ดังนั้นถ้าเป็นสังคมที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตแล้วความแตกต่างทางชนชั้นและรัฐก็จะหายไป

77 ข้อใดเป็นทัศนะของเพลโต

(1) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ การศึกษา

(2) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ วิธีผลิต

(3) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ การกลับใจ

(4) มาตรการกําหนดชนชันของคน คือ การใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล

ตอบ 1 หน้า 269 – 271 เพลโต (Plato) เห็นว่า รัฐต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาเล่าเรียนและพัฒนาตามจิตของตน โดยใช้ระบบการศึกษาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนได้แสดงออกหรือตระหนักได้ว่าเขาเป็น บุคคลที่มีจิตภาคใดเด่นที่สุด เพื่อที่จะสามารถบรรจุเขาเข้าสู่ชนชั้นทางสังคมได้ถูกต้องเหมาะสม กับความสามารถ และทําให้เขามีโอกาสที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้เหมาะสมกับเขาที่สุด ซึ่งเมื่อนั้นความยุติธรรมก็จะปรากฏขึ้นแก่สังคม

78 ข้อใดเป็นทัศนะของมาร์กซ์

(1) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ การศึกษา

(2) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ วิธีผลิต

(3) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ การกลับใจ

(4) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ การใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

79 ข้อใดเป็นทัศนะของอริสโตเติส

(1) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ การศึกษา

(2) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ วิธีผลิต

(3) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ การกลับใจ

(4) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ การใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล

ตอบ 4 หน้า 248 249, (คําบรรยาย) อริสโตเติล (Aristotle) เห็นว่า รัฐและสังคมที่ดีคือ รัฐและสังคมที่สามารถทําให้มนุษย์มีชีวิตที่ดี ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ

1 ช่วยพัฒนาชีวิตให้มีเหตุผล คือชีวิตที่สามารถประพฤติประพฤติปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมมีคุณธรรมทางศีลธรรม

2 ช่วยพัฒนาให้ใช้ชีวิตที่ตรองถึงสัจจะได้ คือการใช้ชีวิตเพื่อแสวงหาสัจจะหรือที่เรียกว่าคุณธรรมทางปัญญา

80 สิ่งที่มนุษย์ควรได้รับจากรัฐคืออะไร ในทัศนะของล็อค

(1) ความสุข

(2) การปกป้องสิทธิ

(3) การพัฒนาตน

(4) การรักษาเสถียรภาพ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

81 สิ่งที่มนุษย์ควรได้รับจากรัฐคืออะไร ในทัศนะของมิลล์

(1) ความสุข

(2) การปกป้องสิทธิ

(3) การพัฒนาตน

(4) การรักษาเสถียรภาพ

ตอบ 1 หน้า 258 259 มิลล์ (Mill) เห็นว่า รัฐสามารถเข้าไปควบคุมการกระทําที่มีผลต่อบุคคลอื่น ๆ ได้เพื่อเป็นไปตามหลักประโยชน์นิยม คือ หยุดยั้งการกระทําที่อาจนําไปสู่ความทุกข์แก่คนส่วนใหญ่ และส่งเสริมการกระทําที่สามารถนําไปสู่ความสุขของคนส่วนใหญ่ได้

82 สิ่งที่มนุษย์ควรได้รับจากรัฐคืออะไร ในทัศนะของอริสโตเติล

(1) ความสุข

(2) การปกป้องสิทธิ

(3) การพัฒนาตน

(4) การรักษาเสถียรภาพ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ

83 สิ่งที่มนุษย์ควรได้รับจากรัฐคืออะไร ในทัศนะของฮอบส์

(1) ความปลอดภัย

(2) การปกป้องสิทธิ

(3) การพัฒนาตน

(4) การรักษาความยุติธรรม

ตอบ 1 หน้า 252 – 254 ฮอบส์ (Hobbes) เห็นว่า โดยสภาพธรรมชาติมนุษย์ไม่มีสังคม ไม่มีรัฐ แต่เมื่อเผชิญกับการต่อสู้และความกลัวกับสภาพที่เลวร้าย จึงต้องตกลงกันระหว่างมนุษย์เพื่อจัดตั้งรัฐ และสังคมขึ้นเพื่อผลประโยชน์ คือ เสถียรภาพและขจัดความหวาดกลัวของมนุษย์อย่างได้ผล ดังนั้นรัฐที่ดีต้องสามารถให้ความปลอดภัยและเสถียรภาพแก่คนในรัฐ

84 รัฐที่ดีควรปกครองโดยใครในทัศนะของรุสโซ

(1) คนมีความรู้ดี

(2) คนมีศรัทธาในพระเจ้า

(3) คนมีแรงปรารถนาเพื่อส่วนรวม

(4) คนไม่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ

85 รัฐที่ดีควรปกครองโดยใครในทัศนะของเซนต์ ออกัสติน

(1) คนมีความรู้ดี

(2) คนมีศรัทธาในพระเจ้า

(3) คนมีแรงปรารถนาเพื่อส่วนรวม

(4) คนไม่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต

ตอบ 2 หน้า 250 เซนต์ ออกัสติน เห็นว่า รัฐมีความสําคัญน้อยกว่าศาสนจักร ทั้งนี้เพราะศาสนจักรเป็นนครแห่งพระเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกรัฐนอกศาสนาหรือรัฐที่ไม่นับถือศาสนาคริสต์เป็นรัฐที่ ไม่สามารถทําให้เกิดความยุติธรรมในสังคมได้เลย เพราะรัฐที่ดีและมีความยุติธรรมจะเกิดเฉพาะในรัฐและสังคมที่คนศรัทธาและเคารพบูชาในพระเจ้าเท่านั้น

86 ข้อใดคือปัญหาที่ปรัชญาการศึกษาสนใจ

(1) เป้าหมายของการศึกษา

(2) การบริหารการศึกษา

(3) การสร้างหลักสูตร

(4) สิ่งแวดล้อมของแหล่งศึกษา

ตอบ 1 หน้า 266 ปรัชญาการศึกษา คือ ปรัชญาในส่วนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาเป้าหมายของการศึกษาของสังคม โดยพยายามตอบปัญหาที่ว่า เป้าหมายหรือผลที่พึงประสงค์ที่จะก่อให้เกิดกับผู้เรียนนั้นควรจะเป็นอย่างไร และเป้าหมายดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่

87 วิธีการศึกษาในระดับเริ่มแรกของเซนต์ ออกัสติน คือวิธีการใด

(1) อ่านเรื่องการผจญภัยของโรบินสัน ครูโซ

(2) อ่านคัมภีร์ไบเบิล

(3) เรียนพลศึกษา

(4) เรียนอภิปรัชญา

ตอบ 2 หน้า 273 เซนต์ ออกัสติน ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 ระดับเริ่มแรก เป็นการศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาแบบเข้มงวดและบังคับให้เชื่อโดยยังไม่ใช้เหตุผล เช่น การอ่านคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก

2 ระดับก้าวหน้า เป็นการศึกษา 2 วิชาสําคัญ คือ เทววิทยาและปรัชญา ซึ่งเป็นการศึกษาแบบใช้ เหตุผลและการพิสูจน์ให้เห็นจริงด้วยตนเองว่าทําไมความเชื่อและศรัทธาในขั้นเริ่มแรกจึงถูกต้อง ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการศึกษาในขั้นสุดท้ายก็คือ ความสามารถในการใช้เหตุผล/พิสูจน์ ความศรัทธา

88 วิธีการศึกษาในระดับเริ่มแรกของรุสโซ คือวิธีการใด

(1) เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ไม่จําเป็นต้องอ่านหนังสือ

(2) อ่านคัมภีร์ไบเบิล

(3) เรียนพลศึกษา

(4) เรียนอภิปรัชญา

ตอบ 1 หน้า 275 276 รุสโซ เห็นว่า การศึกษาที่ถูกต้องควรเน้นให้เด็กเติบโตอย่างเป็นอิสระ ดังนั้นการศึกษาในขั้นเริ่มแรกสําหรับเด็กก็คือ การเปิดโอกาสให้เด็กมีประสบการณ์หรือได้เรียนรู้จาก ประสบการณ์ตรงของตนเอง มิใช่การเรียนรู้โดยการอ่านหนังสือ ทั้งนี้เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการศึกษาขั้นสูงสุด คือ การมุ่งสู่ความดีของคนทั้งสังคม หรือความปรารถนาดีต่อคนอื่น ๆ นั่นเอง 89 วิธีการศึกษาในระดับเริ่มแรกของเพลโต คือวิธีการใด

(1) อ่านเรื่องการผจญภัยของโรบินสัน ครูโซ

(2) อ่านคัมภีร์ไบเบิล

(3) เรียนพลศึกษา

(4) เรียนอภิปรัชญา

ตอบ 3 หน้า 270, (คําบรรยาย) เพลโต เห็นว่า รูปแบบการศึกษาจะต้องเริ่มต้นด้วยการเรียนพลศึกษาโดยคัดเลือกเด็กที่มีร่างกายสมบูรณ์มาฝึกกีฬา ต่อมาจึงเรียนการอ่านเขียนและเรียนคณิตศาสตร์ พออายุประมาณ 20 ปี ผู้ที่เหมาะสมจะได้เรียนคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ และจวบจนอายุ 30 ปี ผู้ที่เหมาะสมจะได้เรียนอภิปรัชญา ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่จะเป็นราชาปราชญ์

90 ข้อใดคือแนวคิดของมิลล์ ในเรื่องเสรีภาพ

(1) เสรีภาพไม่ควรมีขอบเขต

(2) ไม่ควรมีเสรีภาพแต่อย่างใด

(3) ไม่ควรจํากัดเสรีภาพกิจกรรมส่วนตน ที่ไม่มีผลกระทบคนอื่น ๆ

(4) ควรจํากัดเสรีภาพกิจกรรมส่วนตน เช่น ความประพฤติทางเพศด้วย

ตอบ 3 หน้า 319 – 321 มิลล์ สนับสนุนการใช้เสรีภาพของบุคคลอย่างเต็มที่ และไม่ควรจํากัดเสรีภาพส่วนตนที่กระทําในสิ่งที่ไม่มีผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทั้งนี้เนื่องจากเสรีภาพมีบทบาทสําคัญสําหรับการพัฒนาปัญญาและบุคลิกภาพของบุคคล

91 ข้อใดคือแนวคิดของอนาธิปไตย ในเรื่องเสรีภาพ

(1) เสรีภาพไม่ควรมีขอบเขต

(2) ไม่ควรมีเสรีภาพแต่อย่างใด

(3) ไม่ควรจํากัดเสรีภาพกิจกรรมส่วนตน ที่ไม่มีผลกระทบคนอื่น ๆ

(4) ควรจํากัดเสรีภาพกิจกรรมส่วนตน เช่น ความประพฤติทางเพศด้วย

ตอบ 1 หน้า 320 ลัทธิอนาธิปไตย (Anarchism) สนับสนุนการใช้เสรีภาพอย่างไม่ถูกจํากัดของบุคคลในสังคม โดยลัทธินี้เห็นว่า รัฐควรมอบเสรีภาพที่สมบูรณ์แก่พลเมืองของตน และไม่ควรเข้าไปยุ่งหรือบังคับให้พลเมืองกระทําสิ่งใด ๆ ที่ขัดต่อเสรีภาพที่มีอยู่

92 กฎหมายจํากัดความเร็วของรถ เป็นไปตามหลักการใดมากที่สุด

(1) หลักการป้องกันทางศีลธรรม

(2) หลักการป้องกันเหตุร้าย

(3) หลักการป้องกันผลกระทบต่อบุคคลอื่น ๆ

(4) หลักการบังคับให้คนสนับสนุนโครงการสาธารณประโยชน์

ตอบ 2 หน้า 325 326 หลักการควบคุมการใช้เสรีภาพของบุคคลเพื่อป้องกันเหตุร้ายต่อตัวเอง เห็นว่ารัฐมีหน้าที่ต้องเข้าไปควบคุมเสรีภาพของบุคคล เพื่อป้องกันมิให้บุคคลกระทําในสิ่งที่อาจเกิดผลร้าย ต่อตนเอง เช่น การออกฎหมายกําจัดความเร็วของรถยนต์ การออกกฎหมายควบคุมการซื้อและจําหน่ายยา การออกกฎหมายปราบปรามยาเสพติด เป็นต้น

93 “ห้ามรถยนต์ใช้ความเร็วเกิน 30 กม./ชม. ในเขตมหาวิทยาลัยรามคําแหง ยกเว้นรถอธิการบดี”เป็นกฎที่บังคับใช้อย่างเข้มงวดกันทุกคน มีความยุติธรรมอย่างไร

(1) เนื้อหาของกฎหมายไม่ยุติธรรม แต่บังคับใช้อย่างยุติธรรม

(2) เนื้อหาของกฎหมายไม่ยุติธรรม และบังคับใช้อย่างไม่ยุติธรรม

(3) เนื้อหาของกฎหมายยุติธรรม และบังคับใช้อย่างยุติธรรม

(4) เนื้อหาของกฎหมายยุติธรรม แต่บังคับใช้อย่างไม่ยุติธรรม

ตอบ 2 หน้า 330 331 ความไม่ยุติธรรมในเนื้อหาหรือจุดประสงค์ของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่ยุติธรรมนั้น เกิดจากการกําหนดข้อยกเว้นที่ไม่ถูกต้องและมีการบังคับใช้อย่าง ไม่เป็นธรรม เช่น “ห้ามรถยนต์ใช้ความเร็วเกิน 30 กม./ชม. ในเขตมหาวิทยาลัยรามคําแหง ยกเว้นรถอธิการบดี” ซึ่งการยกเว้นในการใช้ความเร็วแก่รถของอธิการบดี ถือว่าเป็นข้อยกเว้น ที่ไม่ยุติธรรมและมีการบังคับใช้ที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้นการบังคับใช้กฏดังกล่าวนี้จึงพบว่า เนื้อหาของกฎหมายไม่ยุติธรรม และบังคับใช้อย่างไม่ยุติธรรมด้วย

94 “ห้ามรถยนต์ใช้ความเร็วเกิน 30 กม./ชม. ในเขตมหาวิทยาลัยรามคําแหง ยกเว้นรถพยาบาล”เป็นกฎที่บังคับใช้อย่างเข้มงวดกันทุกคน มีความยุติธรรมอย่างไร

(1) เนื้อหาของกฎหมายไม่ยุติธรรม แต่บังคับใช้อย่างยุติธรรม

(2) เนื้อหาของกฎหมายไม่ยุติธรรม และบังคับใช้อย่างไม่ยุติธรรม

(3) เนื้อหาของกฎหมายยุติธรรม และบังคับใช้อย่างยุติธรรม

(4) เนื้อหาของกฎหมายยุติธรรม แต่บังคับใช้อย่างไม่ยุติธรรม

ตอบ 3 หน้า 330 331 โดยทั่วไปกฎหมายต้องมีข้อความที่ระบุถึงกลุ่มคนที่กฎหมายนั้นต้องใช้บังคับและระบุถึงกลุ่มคนที่ได้รับข้อยกเว้นจากกฎหมายนั้น เช่น “กฎหมายห้ามรถยนต์ใช้ความเร็ว เกิน 30 กม./ชม. ในเขตมหาวิทยาลัย ยกเว้นรถพยาบาล” ซึ่งการยกเว้นดังกล่าวถือว่ามีความ ยุติธรรม ทั้งนี้เพราะรถพยาบาลขณะปฏิบัติหน้าที่ จะมีความแตกต่างจากรถธรรมดาโดยทั่วไป เนื่องจากจําเป็นต้องเร่งรีบนําคนป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล ดังนั้นการบังคับใช้กฎดังกล่าวนี้จึงพบว่า เนื้อหาของกฎหมายยุติธรรม และบังคับใช้อย่างยุติธรรมแล้ว

95 ผลประโยชน์ใดควรถูกนํามาแบ่งปันให้เท่า ๆ กันสําหรับสมาชิก ตามหลักการแบ่งปันเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์

(1) เฉพาะปัจจัยพื้นฐานของการดํารงชีวิต

(2) เฉพาะความร่ำรวยที่คนขยันผลิตขึ้น

(3) เฉพาะสิ่งที่ขาดแคลน

(4) ผลประโยชน์ทุกชนิด

ตอบ 1 หน้า 333 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ เห็นว่า มนุษย์ทุกคนควรมีสิทธิที่จะได้รับการแบ่งปันปัจจัยการดํารงชีพขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน คือ อาหารยารักษาโรค เสื้อผ้า และที่อยู่อาศัย

96 คนอ่อนแอและคนพิการจะไม่ได้รับความยุติธรรม ถ้าใช้หลักการแบ่งปันผลประโยชน์หลักการใด

(1) หลักการแบ่งปันเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์

(2) หลักการแบ่งปันตามความเหมาะสม

(3) หลักการแบ่งปันตามส่วนของแรงงาน

(4) หลักการแบ่งปันตามความมานะพยายาม

ตอบ 4 หน้า 337 338 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์ตามความมานะพยายาม เห็นว่า การแบ่งปันผลประโยชน์จะมากหรือน้อยต้องขึ้นอยู่กับความมานะพยายาม โดยผู้ที่มีความขยันขันแข็งในการทํางานจะต้องได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์มากกว่าคนขี้เกียจ ซึ่งข้อบกพร่องของหลักการนี้ ก็คือ ไม่ยุติธรรมกับคนที่อ่อนแอและพิการ

97 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์หลักการใด มีความเห็นแตกต่างจากหลักการอื่น ๆ ในเรื่องมนุษย์

(1) หลักการแบ่งปันเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์

(2) หลักการแบ่งปันตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากความสามารถ (3) หลักการแบ่งปันตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากคุณธรรม

(4) หลักการแบ่งปันตามความมานะพยายาม

ตอบ 1 หน้า 332, (คําบรรยาย) หลักการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ แตกต่างจากหลักการอื่น ๆ คือ การแบ่งปันผลประโยชน์ประเภทนี้จะแบ่งให้กับมนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถ อายุ เพศ ความมานะพยายาม หรือความเหมาะสมใด ๆ ทั้งสิ้น

98 โอกาสที่แตกต่างกันของการพัฒนาคน คือ ปัญหาของหลักการแบ่งปันผลประโยชน์หลักการใด

(1) หลักการแบ่งปันเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์

(2) หลักการแบ่งปันตามความเหมาะสม

(3) หลักการแบ่งปันตามส่วนของแรงงาน

(4) หลักการแบ่งปันตามความมานะพยายาม

ตอบ 2 หน้า 334 – 335 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์ตามความเหมาะสม เห็นว่า บุคคลมีความสามารถที่แตกต่างกัน ดังนั้นบุคคลจึงควรได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์ตามความสามารถของแต่ละคนซึ่งปัญหาสําคัญที่เป็นจุดอ่อนของหลักการนี้ก็คือ โอกาสที่แตกต่างกันของการพัฒนาคนนั่นเอง

99 นักปรัชญาคนใดพยายามใช้การศึกษาเพื่อดึงคนห่างจากรัฐ

(1) เพลโต

(2) เซนต์ ออกัสติน

(3) จอห์น ล็อค

(4) อัตถิภาวนิยม

ตอบ 2 หน้า 273 จุดมุ่งหมายของการศึกษาในทัศนะของเซนต์ ออกัสติน คือ การห่างออกจากสังคมและรัฐ โดยมีจุดมุ่งหมายสู่สวรรค์หรืออาณาจักรของพระเจ้า แต่นักปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ เชื่อว่า จุดหมายของการศึกษาต้องเป็นจุดหมายเพื่อสังคมและรัฐ มิใช่ดึงคนให้ห่างออกจากสังคมและรัฐ

100 แนวคิดใดมีเป้าหมายอยากให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเอง รู้จักตัวเอง

(1) เพลโต

(2) เซนต์ ออกัสติน

(3) จอห์น ล็อค

(4) อัตถิภาวนิยม

ตอบ 4 หน้า 279, 284, (คําบรรยาย) อัตถิภาวนิยม เป็นแนวคิดที่เชื่อในความสําคัญของปัจเจกบุคคล(Individual) โดยมีเป้าหมายของการศึกษา คือ อยากให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเอง รู้จักตัวเอง มีความ เป็นอิสระ และประสบการณ์ที่แท้จริง

Advertisement