การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2303 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ปรากฏการณ์ข้อใดเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

(1) หมายจับธัมมชโยสร้างตึกไม่ได้แจ้ง

(2) กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ลุยจับขอทานตรวจสุขภาพส่งกลับภูมิลําเนา (3) วิทยาลัยอาหารโรงแรมดุสิตธานีเปิดอบรมนักท่องเที่ยวต่างชาติ

(4) หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อัดรัฐบาลใช้ ม.44 เกินตัว

(5) สองนักธรณีวิทยาเสียชีวิตเนื่องจากอุโมงค์ถล่มทับ

ตอบ 2 หน้า 194 195, (คําบรรยาย) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) ในภาครัฐ เป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องดูแลคนในด้านต่าง ๆ โดยให้ความสําคัญกับเรื่องการศึกษา สาธารณสุข ความมั่นคง และคุณภาพชีวิตมนุษย์ตั้งแต่ก่อนปฏิสนธิ (ก่อนเกิด) จนถึงหลังการตาย ตัวอย่าง ที่อธิบายปรากฏการณ์ในเรื่องนี้ เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ลุยจับขอทานตรวจสุขภาพส่งกลับภูมิลําเนา เป็นต้น

2 ปรากฏการณ์ข้อใดเป็นการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในภาคเอกชน

(1) หมายจับธัมมชโยสร้างตึกไม่ได้แจ้ง

(2) กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ลุยจับขอทานตรวจสุขภาพส่งกลับภูมิลําเนา

(3) วิทยาลัยอาหารโรงแรมดุสิตธานีเปิดอบรมนักท่องเที่ยวต่างชาติ

(4) หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อัดรัฐบาลใช้ ม.44 เกินตัว

(5) สองนักธรณีวิทยาเสียชีวิตเนื่องจากอุโมงค์ถล่มทับ

ตอบ 5 หน้า 195, (คําบรรยาย) การบริหารจัดการงานบุคคลหรือทรัพยากรมนุษย์ในภาคธุรกิจเอกชนเป็นการจัดการคนในหน่วยงานนอกภาครัฐ เริ่มตั้งแต่การวางแผนกําลังคน การจัดหาบุคคล เข้าทํางาน ซึ่งประกอบด้วยการสรรหา การคัดเลือก และการบรรจุแต่งตั้ง) การประเมินผล การปฏิบัติงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การหมุนเวียนงาน การรักษาวินัยในการทํางาน การรักษาสุขภาพและความปลอดภัยในการทํางาน จนกระทั่งการให้พ้นออกไปจากองค์กร ตัวอย่างที่อธิบายปรากฏการณ์ในเรื่องนี้ เช่น การให้ความช่วยเหลือแก่สองนักธรณีวิทยาที่เสียชีวิตเนื่องจากอุโมงค์ถล่มทับของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในฐานะนายจ้าง เป็นต้น

3 ปัจจุบันนี้อัตราการเกิดของประชากรไทยอยู่ในระดับเท่าไหร่

(1) 3.3%

(2) 2.4%

(3) 1.0%

(4) 0.96

(5) 0.4%

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจุบันนี้อัตราการเกิดของประชากรไทยอยู่ในระดับ 0.4% (ปี 2558) ส่งผลให้ไทยเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุ (ผู้มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป) โดยคาดว่าประชากรกลุ่มผู้สูงอายุมีจํานวนประมาณ 14 ล้านคน

4 ยุคผู้สูงอายุของไทยจะมีผู้สูงอายุจํานวนกี่ล้านคน

(1) 10 ล้านคน

(2) 12 ล้านคน

(3) 14 ล้านคน

(4) 15 ล้านคน

(5) 16 ล้านคน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

5 ข้อใดต่อไปนี้เป็นสิ่งที่รัฐสร้างความมั่นคงให้กับประชากร (พลเมือง)

(1) การตรวจสอบการบุกรุกทําลายป่าสงวน

(2) การทําประชามติเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ

(3) การจัดตั้งกองทุนเงินออมแห่งชาติ

(4) กรุงเทพมหานครยกเลิกหาบเร่ยึดคืนทางเท้า

(5) การออกกฎหมายให้คดีทุจริตคอร์รัปชั่นไม่มีอายุความ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสร้างความมั่นคง เป็นการให้ผลประโยชน์ด้านสวัสดิการสังคมเพื่อคุ้มครองชีวิตในรูปของกฎหมาย กองทุนการออม และประกันแบบต่าง ๆ เช่น ประกันการว่างงาน ประกันรายได้ ประกันสังคม ประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ และประกันภัยตัวอย่างที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ในเรื่องนี้ เช่น การจัดตั้งกองทุนเงินออมแห่งชาติ เป็นต้น

6 ข้อใดต่อไปนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลจึงมอบให้กับประชากร (พลเมือง) อย่างเสมอหน้าเท่าเทียมกัน

(1) กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

(2) สินค้าที่จําเป็นต่อการดํารงชีพ

(3) เส้นทางคมนาคมที่สะดวกและปลอดภัย

(4) การเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์

(5) ช่องทางการสื่อสาร คลื่นการสื่อสาร

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การบริการสินค้าและให้บริการ เป็นการให้บริการสินค้าและบริการของรัฐในด้านสาธารณูปโภคและสารารณูปการแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน เช่น การบริการด้านการศึกษา การบริการด้านสุขภาพ การบริการด้านคมนาคม การจัดหาสินค้าที่จําเป็นต่อการดํารงชีพราคาประหยัดในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ตัวอย่างเช่น การขายสินค้าธงฟ้าของกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น

7 กรณีการดําเนินคดีกับ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย เป็นการเกี่ยวข้องกับองค์กรกลางการบริหารงานบุคคล องค์กรใด

(1) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

(2) คณะกรรมการข้าราชการตํารวจ

(3) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในพระองค์

(4) คณะกรรมการข้าราชการตุลาการ

(5) คณะกรรมการข้าราชการยุติธรรม

ตอบ 3 (คําบรรยาย) กรณีการดําเนินคดีกับ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ในคดีบุกรุกป่าอุทยานแห่งชาติทับลานและคดีทุจริตต่อหน้าที่ราชการ เป็นการเกี่ยวข้องกับองค์กรกลางการบริหารงานบุคคลของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ซึ่งเป็นต้นสังกัดของบุคคลดังกล่าว

8 “ค่ายศูนย์ขวัญแผ่นดิน” เป็นค่ายที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องใด

(1) เน้นจริยธรรมให้กับเยาวชนช่วงปิดเทอม

(2) เน้นทัศนคติให้เยาวชนไทยต่อต้านการคอร์รัปชั่น

(3) เป็นศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน

(4) เป็นศูนย์บําบัดยาเสพติดอย่างถาวร

(5) เป็นศูนย์ฟื้นฟูทางกายภาพของผู้ประสบภัยทางถนน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) “ค่ายศูนย์ขวัญแผ่นดิน” ตั้งอยู่ภายในวัดถ้ําแก้ว อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นศูนย์บําบัดยาเสพติดอย่างถาวร มุ่งเน้นในการช่วยเหลือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและพัฒนาผู้ติดยาเสพติดให้กลับมาใช้งวิตอย่างปกติกายในสังคมได้

9 โครงการ “คนกล้าคืนถิ่น” เป็นโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องใด ๆ

(1) สามารถเลือกวิถีอาชีพที่พึ่งตนเองได้

(2) น้อมนำ ตามรอยของศาสตร์พระราชา

(3) ค้นหาตัวเอง เกิดแรงบันดาลใจ เรียนรู้พัฒนาตนเอง

(4) สมาร์ท ฟาร์มเบอร์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) โครงการ “คนกล้าคืนถิ่น” เป็นโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนี้

1 สามารถเลือกวิถีอาชีพที่พึ่งตนเองได้

2 น้อมนํา ตามรอยของศาสตร์พระราชา

3 ค้นหาตัวเอง เกิดแรงบันดาลใจ เรียนรู้ พัฒนาตนเอง

4 สมาร์ทฟาร์มเมอร์

10 ปัญหาทางการแพทย์ของไทยปัจจุบันนี้เกิดกับบัณฑิตแพทย์ที่จบการศึกษาใหม่และเข้ารับราชการ ประสบกับปัญหาใดมากที่สุด

(1) การบรรจุในถิ่นที่ไกล กันดาร

(2) ขาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย

(3) ไม่ได้รับเงินเดือนเกินกว่า 10 เดือน

(4) มีการขอโอนโยกย้ายมาก

(5) ไม่มาทํางานใช้หนี้ตามสัญญาก่อนเข้าศึกษา

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจุบันปัญหาระบบการแพทย์ของไทยที่เกิดกับบัณฑิตแพทย์ที่จบการศึกษาใหม่และเข้ารับราชการ คือ การที่รัฐไม่ได้จ่ายเงินเดือนให้แก่แพทย์ที่บรรจุใหม่เกินกว่า 10 เดือนซึ่งกําลังจะสร้างปัญหาการเกิดสมองไหลของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชนตามมา

 

ตั้งแต่ข้อ 11 – 15 เป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องใดต่อไปนี้

(1) Drive

(2) Instinct

(3) Fear

(4) Needs

(5) Wants

 

11 “จุมพล” สารภาพยอมรับบ้านพักหรู 13 ไร่ ที่รุกอุทยานฯ เป็นของตัวเองจริง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) Wants หมายถึง ความต้องการในสิ่งที่ไม่จําเป็น หรือไม่ใช่ความจําเป็นขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เพราะถึงแม้จะเป็นสิ่งที่เราต้องการ แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ตาย ซึ่งส่วนใหญ่ มักเป็นความต้องการในสิ่งที่ฟุ่มเฟือย สวยงาม และหรูหรา ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึง ธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น “จุมพล” สารภาพยอมรับบ้านพักหรู 13 ไร่ที่รุกอุทยานฯเป็นของตัวเองจริง เป็นต้น

12 เกิดการโต้แย้งระหว่างฝ่ายกู้ชีพกับสมาชิกธรรมกายเรื่องการเสียชีวิตของลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย

ตอบ 2 หน้า 192, (คําบรรยาย) สัญชาตญาณ (Instinct) เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยอัตโนมัติเมื่อมีสิ่งเร้าเข้ามากระตุ้น หรือสิ่งใดก็ตามที่ติดตัวมาแต่กําเนิดและมีแนวโน้มที่จะทําให้เกิดพฤติกรรมในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นพิเศษ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึง ธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น เกิดการโต้แย้งระหว่างฝ่ายกู้ชีพกับสมาชิกธรรมกายเรื่องการเสียชีวิตของลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย เป็นต้น

13 ศิษย์วัดพระธรรมกายยกป้าย “We Needs Food” ไว้เหนือตึกสูงในเขตวัดพระธรรมกาย

ตอบ 4 หน้า 192, (คําบรรยาย) Needs หมายถึง ความต้องการในสิ่งที่จําเป็นต้องมีสําหรับการดํารงชีวิตของมนุษย์ ได้แก่ ความต้องการปัจจัยสีหรือปัจจัยพื้นฐาน เช่น อากาศ น้ำ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค การมีรายได้ที่เพียงพอต่อการดํารงชีพ ตลอดจนความมั่นคงปลอดภัย ในชีวิต ทรัพย์สิน และหน้าที่การงาน ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงธรรมชาติของมนุษย์ ในเรื่องนี้ เช่น ศิษย์วัดพระธรรมกายยกป้าย “We Needs Food” ไว้เหนือตึกสูงในเขตวัดพระธรรมกาย เป็นต้น

14 กอ.รมน. ภาค 4 ประณามการฆ่าเด็กและสตรีของคนร้ายที่รือเสาะ ตอบ 3 หน้า 192, (คําบรรยาย) ความกลัว (Fear) เป็นอารมณ์ ความรู้สึก หรือสภาวะที่บุคคลไม่พึงปรารถนา ไม่ต้องการ ไม่อยากประสบพบเจอในสิ่งที่ไม่ดีแก่ตน เช่น กลัวตาย กลัวความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน กลัวการเปลี่ยนแปลงในชีวิต กลัวความผิด ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น กอ.รมน.ภาค 4 ประณามการฆ่าเด็กและสตรีของคนร้ายที่รือเสาะ เป็นต้น

15 ข่าวเรื่องข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งข่มขืนหลานสาววัย 11 ขวบจนตั้งครรภ์

ตอบ 1 หน้า 191, (คําบรรยาย) แรงขับ (Drive) เป็นภาวะความเครียดอันเกิดจากความต้องการของมนุษย์ซึ่งจะผลักดันให้คนเราแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่จะตอบสนอง ความต้องการของตน ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น ข่าวเรื่องข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งข่มขืนหลานสาววัย 11 ขวบจนตั้งครรภ์ เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 16 – 20 เป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงบริบทของมนุษย์ซึ่งมีอิทธิพลต่อมนุษย์ในเรื่องใด

(1) ภูมิประเทศ/ภูมิอากาศ

(2) เชื้อชาติ/พันธุกรรม

(3) นโยบายทางการเมือง

(4) นวัตกรรมทางการแพทย์

(5) เทคโนโลยีทางการสื่อสาร

 

16 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ใช้การจี้หลอดลมด้วยความร้อนรักษาโรคหืดขั้นรุนแรง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) นวัตกรรมทางการแพทย์ คือ การนําสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนมาใช้ในการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรค ตัวอย่าง ที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงบริบทของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ใช้การจี้หลอดลมด้วยความร้อนรักษาโรคหืดขั้นรุนแรง เป็นต้น

17 การค้นพบระบบดาวพระเคราะห์ใหม่ ซึ่งมีดาวบริวาร 7 ดวง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เทคโนโลยีทางการสื่อสารและนวัตกรรม เป็นการนําเอาความรู้ เครื่องมือความคิด หลักการ เทคนิค ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้ง สิ่งประดิษฐ์และวิธีการมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ เพื่อช่วย ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทํางานให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน รวมทั้งเพื่ออํานวยความสะดวกหรือตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ ตัวอย่าง ที่อธิบายถึงอิทธิพลของบริบทของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การค้นพบระบบดาวพระเคราะห์ใหม่ซึ่งมีดาวบริวาร 7 ดวง เป็นต้น

18 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติขอบริจาคโลหิตหมู่พิเศษเร่งด่วน เนื่องจากเป็นหมู่โลหิตที่หายากในคนไทย 1,000 คน พบเพียง 3 คนเท่านั้น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เชื้อชาติ/พันธุกรรม เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามทักษะ ความชํานาญความสามารถ หรือลักษณะโครงสร้างร่างกายของมนุษย์แต่ละเชื้อชาติ แต่ละเผ่าพันธุ์ที่มี ความแตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม แนวคิด วิถีการดําเนินชีวิต กีฬา หรือยุทธวิธีในการต่อสู้ ตัวอย่างเช่น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ขอบริจาคโลหิตหมู่พิเศษเร่งด่วน เนื่องจากเป็นหมู่โลหิตที่หายากในคนไทย 1,000 คน พบเพียง 3 คนเท่านั้น เป็นต้น

19 รมว.กระทรวงยุติธรรมและผลการประชุมผู้แทนจาก 16 ประเทศวางแผนปฏิบัติการ “สามเหลี่ยมทองคํา”

ตอบ 3 (คําบรรยาย) นโยบายทางการเมือง เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับแนวทางกิจกรรม การกระทํา หรือการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้ทําการตัดสินใจและกําหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นําให้มี กิจกรรมหรือการกระทําต่าง ๆ เกิดขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กําหนดไว้ โดยมีการวางแผน การจัดทําโครงการ วิธีการบริหารหรือกระบวนการดําเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ด้วยวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและความต้องการของประชาชนผู้ใช้บริการในแต่ละเรื่อง ตัวอย่างที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่ สะท้อนถึงบริบทของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น รมว.กระทรวงยุติธรรมแถลงผลการประชุมผู้แทนจาก 16 ประเทศวางแผนปฏิบัติการ “สามเหลี่ยมทองคํา” เป็นต้น 20 การเสียชีวิตของ 2 นักธรณีวิทยาจากอุโมงค์ถล่มเพราะการวางอุโมงค์ระบายน้ำอยู่ในระดับรอยเลื่อนของเปลือกโลกแม่แตง

ตอบ 1 หน้า 196, (คําบรรยาย) ภูมิประเทศ ได้แก่ สถานที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ อาณาเขตติดต่อ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ฯลฯ) และภูมิอากาศ (ได้แก่ เขตอากาศหนาว ร้อน ร้อนชื้น ฯลฯ) เป็นปัจจัยที่สะท้อนถึง องค์ประกอบเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ สภาพทางธรณีวิทยา ตลอดจนสภาพความร้อน หนาว ของแต่ละพื้นที่ และมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต สุขภาพ อาชีพ วัฒนธรรม ความเชื่อ อุปนิสัย พฤติกรรม และประวัติศาสตร์พัฒนาการของแต่ละเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ ตัวอย่างที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่ สะท้อนถึงบริบทของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การเสียชีวิตของ 2 นักธรณีวิทยาจากอุโมงค์ถล่ม เพราะการวางอุโมงค์ระบายน้ําอยู่ในระดับรอยเลื่อนของเปลือกโลกแม่แตง เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 21 – 25 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงความเกี่ยวข้องของแนวคิดในเรื่องระบบราชการ (Bureaucracy) ในเรื่องใด

(1) Formalization

(2) Specialization

(3) Ranking System

(4) Professional

(5) Standardization

 

21 หน่วยงานบําบัดน้ำเสียกําหนดให้มีเกณฑ์วัด ISO 14000 ของทุกโรงงานอุตสาหกรรม

ตอบ 5 หน้า 202, (คําบรรยาย) การมีมาตรฐาน(Standardization) คือ การมีตัวชี้วัดมาตรฐานมีคู่มือในการทํางาน เละมีการประเมินตามตัวชี้วัด ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายแนวคิด ระบบราชการในเรื่องนี้ เช่น หน่วยงานบําบัดน้ำเสียกําหนดให้มีเกณฑ์วัด ISO 14000 ของทุกโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

22 นายกฯ รมต. เตือนให้ทุกจังหวัดต้องมียุทธศาสตร์ของตนเองเฉพาะพื้นที่

ตอบ 2 หน้า 202, (คําบรรยาย) ความชํานาญพิเศษ (Specialization) คือ การบรรจุ แต่งตั้ง และเลื่อนขั้น การจัดกลุ่มงาน Cluster ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายแนวคิดระบบราชการในเรื่องนี้ เช่น นายกฯ รมต. เตือนให้ทุกจังหวัดต้องมียุทธศาสตร์ของตนเองเฉพาะพื้นที่ เป็นต้น

23 นายกแพทยสภาเปิดตัวคณะผู้บริหารแพทยสภาชุดใหม่

ตอบ 4 หน้า 202, (คําบรรยาย) ความเป็นวิชาชีพ (Professional) คือ การมีความรู้และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ได้รับการฝึกอบรมหรือการศึกษาตรงตาม สาขาที่ประกอบวิชาชีพ โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องอุทิศเวลาให้กับวิชาชีพ ยึดมั่นในเกณฑ์ของ การประกอบวิชาชีพ ตลอดจนมีความเป็นอิสระในการประกอบวิชาชีพ ตัวอย่างปรากฏการณ์ ที่อธิบายแนวคิดระบบราชการในเรื่องนี้ เช่น นายกแพทยสภาเปิดตัวคณะผู้บริหารแพทยสภา ชุดใหม่ เป็นต้น

24 มีข้อเรียกร้องให้เรียกพระอุปัชฌาย์มาช่วยดูแลพระที่มาร่วมในวัดพระธรรมกาย

ตอบ 3 หน้า 202, (คําบรรยาย) ลําดับชั้นยศ (Ranking System) คือ ลําดับตําแหน่งและความรับผิดชอบตามสายการบังคับบัญชา โดยผู้มีลําดับชั้นยศสูงกว่าย่อมมีอํานาจในการสั่งการและควบคุมดูแล ผู้มีลําดับชั้นยศต่ำกว่าลดหลั่นกันไปตามสายการบังคับบัญชา ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบาย แนวคิดระบบราชการในเรื่องนี้ เช่น มีข้อเรียกร้องให้เรียกพระอุปัชฌาย์มาช่วยดูแลพระที่มาร่วมในวัดพระธรรมกาย เป็นต้น

25 การกําหนดให้มีเครื่องแบบของผู้ปฏิบัติงาน นักเรียนและนักศึกษา ตอบ 1 หน้า 202, (คําบรรยาย) ความเป็นทางการ (Formalization) คือ การกําหนดกฎเกณฑ์ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นทางการ มีการติดต่อสื่อสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้ง มีเครื่องแบบหรือใช้แบบฟอร์มแบบเดียวกัน ตัวอย่างที่อธิบายแนวคิดระบบราชการในเรื่องนี้ เช่น การกําหนดให้มีเครื่องแบบของผู้ปฏิบัติงาน นักเรียนและนักศึกษา เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 26 – 30 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงความเกี่ยวข้องกับแนวคิดในเรื่องวิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติในเรื่องใด

(1) เน้นความร่วมมือในแนวระนาบ

(2) พัฒนาตามทักษะของเชื้อชาติ

(3) พัฒนามนุษย์ให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ

(4) ใช้วิธีการสร้างความร่วมมือในภูมิภาค

(5) การพัฒนาคนต้องเน้นความสมัครใจ

 

26 เจ้าหน้าที่ศุลกากรและตํารวจของไทยต้องประสานกับอินเดียเพื่อจับกุมกระบวนการค้าเนื้อวัวเถื่อน ข้ามแดนในภาคเหนือของไทย

ตอบ 4 หน้า 203, (คําบรรยาย) การพัฒนาที่เน้นการสร้างความร่วมมือ/การสร้างเครือข่ายในภูมิภาคเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีการระดมความร่วมมือในระดับภูมิภาคเดียวกัน โดยอาศัย ความร่วมมือในระดับประเทศหรือในระดับกลุ่ม/องค์การระหว่างประเทศที่อยู่ในภูมิภาคของ ทวีปหรือของโลกเดียวกัน จึงทําให้เกิดการสร้างเครือข่ายความช่วยเหลือและความร่วมมือที่จะ นําไปสู่การสร้างกฎกติกา ข้อตกลง และสนธิสัญญาในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการลดความขัดแย้งและ การเผชิญหน้ากันระหว่างบรรดาประเทศต่าง ๆ ตลอดจนทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล เทคโนโลยี นวัตกรรม และแรงงานระหว่างกัน ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ เช่น เจ้าหน้าที่ศุลกากรและ ตํารวจของไทยต้องประสานกับอินเดียเพื่อจับกุมกระบวนการค้าเนื้อวัวเถื่อนข้ามแดนในภาคเหนือของไทย เป็นต้น

27 โครงการประชารัฐได้ผู้นําทั้งในภาครัฐ เอกชน ให้ความร่วมมือดําเนินการ

ตอบ 1 หน้า 203 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่เน้นความร่วมมือในแนวระนาบ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เน้นการประสานความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายในสถานะ ที่เท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคชุมชน ภาคประชาชน และภาค NGOs โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันกําหนดแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่าง บูรณาการและเป็นองค์รวม ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ เช่น โครงการประชารัฐได้ผู้นําทั้งในภาครัฐ เอกชน ให้ความร่วมมือดําเนินการ เป็นต้น

28 รัฐส่งเสริมให้คนที่นราธิวาสถ่ายทอดความรู้ด้านการสร้างเรือกอและให้กับเยาวชน

ตอบ 2 หน้า 203, (คําบรรยาย) การพัฒนาตามทักษะ ความชํานาญ/เชี่ยวชาญของเชื้อชาติเผ่าพันธุ์เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามทักษะ ความชํานาญ ความสามารถ หรือลักษณะโครงสร้าง ร่างกายของมนุษย์แต่ละเชื้อชาติ แต่ละเผ่าพันธุ์ที่มีความแตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม แนวคิด วิถีการดําเนินชีวิต กีฬา หรือยุทธวิธี ในการต่อสู้ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางของ องค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ เช่น รัฐส่งเสริมให้คนที่นราธิวาสถ่ายทอดความรู้ด้านการสร้างเรือกอและให้กับเยาวชน เป็นต้น

29 ศาลจังหวัดภูเก็ตตัดสินให้ชาวเลได้สิทธิในที่ดินชายหาดราไวย์คืน ตอบ 3 หน้า 203, (คําบรรยาย) การพัฒนามนุษย์ให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ เป็นการพัฒนาเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างถาวร โดยไม่แยกมนุษย์ออกจากธรรมชาติอันเป็นแหล่งสร้างอาชีพ และอุปนิสัยของคนในแต่ละพื้นที่ หรือเป็นการพัฒนาให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติตามลักษณะ ๆ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวิถีชีวิตของเขาอย่างสันติและเกื้อกูลกัน โดยเสริมสร้างจิตสํานึกและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบและตระหนักถึงความสําคัญของธรรมชาติ ตัวอย่าง ปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ เช่น ศาลจังหวัดภูเก็ตตัดสินให้ชาวเลได้สิทธิในที่ดินชายหาดราไวย์คืน เป็นต้น

30 การรับทุนอานันทมหิดลทุกสาขา ไม่มีเงื่อนไขผูกมัดให้ผู้รับทุนต้องกลับมารับราชการ

ตอบ 5 หน้า 203, (คําบรรยาย) การพัฒนาคนต้องเน้นความสมัครใจ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สนับสนุน ส่งเสริม หรือจูงใจให้คนร่วมมือด้วยความสมัครใจ มิใช่การบังคับขู่เข็น โดยมุ่งชี้แนะ ให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ตัวอย่าง ปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติ ในเรื่องนี้ เช่น การรับทุนอานันทมหิดลทุกสาขา ไม่มีเงื่อนไขผูกมัดให้ผู้รับทุนต้องกลับมารับราชการ เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 31 – 40 เป็นโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องใดดังต่อไปนี้

(1) การศึกษาพื้นฐาน

(2) การศึกษาวิชาชีพ

(3) การศึกษาอุดมศึกษา

(4) กลุ่มผู้ด้อยโอกาสเสริมอาชีพ

(5) ด้านสิ่งแวดล้อม (น้ำเสีย, ป่าไม้, ดิน)

 

31 โครงการพระดาบส

ตอบ 2 หน้า 200, (คําบรรยาย) การศึกษาวิชาชีพ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ และเป็นหลักประกันสังคม โดยส่วนใหญ่มักจัดขึ้นโดยกระทรวงแรงงานเพื่อพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถประกอบอาชีพได้ ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น โครงการพระดาบส โครงการฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ก เป็นต้น

32 โครงการพัฒนาพิกุลทอง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) โครงการพระราชดําริที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านสิ่งแวดล้อม (น้ำเสีย ป่าไม้ ดิน) ได้แก่ โครงการพัฒนาพิกุลทอง จ.นราธิวาส โครงการแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี โครงการอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี โครงการห้วยองคต จ.กาญจนบุรี เป็นต้น

33 โครงการแหลมผักเบี้ย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

34 โครงการดอยคํา

ตอบ 4 (คําบรรยาย) โครงการพระราชดําริที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องกลุ่มผู้ด้อยโอกาสเสริมอาชีพ ได้แก่ โครงการดอยคํา และโครงการชั่งหัวมัน เป็นต้น

35.โครงการโรงเรียน ตชด.

ตอบ 1 (คําบรรยาย) โครงการพระราชดําริที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องการศึกษาพื้นฐาน ได้แก่ โครงการโรงเรียน ตชด. เป็นต้น

36 โครงการฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

37 โครงการชั่งหัวมัน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

38 โครงการอ่าวคุ้งกระเบน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

39 โครงการห้วยองคต

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

40 ทุนอานันทมหิดล

ตอบ 3 หน้า 200, (คําบรรยาย) การศึกษาอุดมศึกษา เป็นการศึกษาที่เรียนภายหลังจากจบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาหรือการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา และการศึกษาระดับปริญญา ตรี โท เอก) การศึกษาอุดมศึกษานี้ รัฐบาลไม่ได้ให้เงินอุดหนุนและไม่ได้มีการบังคับให้เรียน แต่เป็นความสนใจของผู้เรียนที่ต้องการ เรียนในระดับที่สูงขึ้นเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในสาขาวิชาการเฉพาะทางให้มีความชํานาญ ยิ่งขึ้น ผู้ศึกษาจึงต้องใช้ทุนตัวเองในการเรียน ดังนั้นจึงมีการจัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมและการจัดสรรทุน ในลักษณะต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลนได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับสูง ๆ มากขึ้น ตัวอย่างเช่น ทุนอานันทมหิดล เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 41 – 45 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงผลลัพธ์ของการให้ประโยชน์คืนกลับต่อประชาชนในเรื่องใด

(1) เน้นการกระจาย

(2) เน้นการมีส่วนร่วม

(3) ให้ความสําคัญกับทางเลือกของปัจเจกชน

(4) การประกันความมั่นคง

(5) ให้การอนุเคราะห์ช่วยเหลือ

 

41 ครม. มีมติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตไปทํา EIA ของโรงไฟฟ้ากระบี่

ตอบ 2 หน้า 24, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วม (Participation) เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนจากทุกกลุ่มอาชีพและทุกภาคส่วนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวนการนโยบาย และการบริหาร เพื่อที่จะร่วมกันกําหนดทิศทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนหรือของประเทศ ตลอดจนมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การเข้าร่วมฟังและการทําประชาพิจารณ์ การทําประชามติ การถอดถอนผู้ใช้อํานาจรัฐ การเสนอร่างกฎหมาย หรืออื่น ๆ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงผลลัพธ์ของการให้ประโยชน์ คืนกลับต่อประชาชนในเรื่องนี้ เช่น ครม. มีมติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตไปทํา EIA ของโรงไฟฟ้ากระบี่เป็นต้น

42 องค์กรปกครองท้องถิ่นมีสิทธิที่จะขอดูแลโรงพยาบาลชุมชนในท้องถิ่นของตนเองได้

ตอบ 3 หน้า 204, (คําบรรยาย) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มุ่งผลลัพธ์ของการให้ประโยชน์ (Provision) คืนกลับต่อประชาชน ในเรื่องการให้ความสําคัญกับทางเลือกของปัจเจกชน (Individual Choice) ตัวอย่างเช่น องค์กรปกครองท้องถิ่นมีสิทธิที่จะขอดูแลโรงพยาบาลชุมชนในท้องถิ่นของตนเองได้ เป็นต้น

43 ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้องคมนตรีแต่ละท่านไปดูแลช่วยเหลือจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมในภาคใต้จังหวัดละ 1 ท่าน

ตอบ 1 หน้า 204, (คําบรรยาย) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มุ่งผลลัพธ์ของการให้ประโยชน์ (Provision) คืนกลับต่อประชาชน ในเรื่องการเน้นการกระจายมากกว่าแจกจ่าย ซึ่งประชาชนต้องได้รับ ความช่วยเหลือ ตัวอย่างเช่น ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้องคมนตรีแต่ละท่านไปดูแลช่วยเหลือจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมในภาคใต้จังหวัดละ 1 ท่าน เป็นต้น

44 กรุงเทพมหานครดําเนินการให้แม่ค้าที่ถูกยึดพื้นที่ทางเท้าคืนจากการวางจําหน่ายสินค้า ไปรวมตัวกันจําหน่ายในพื้นที่อื่นแทน

ตอบ 5 หน้า 204, (คําบรรยาย) การอนุเคราะห์ช่วยเหลือ เป็นการสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนในยามจําเป็นเพื่อให้มีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น กรณีประสบภัยทางธรรมชาติ ไม่มีที่ทํากิน ไม่มีที่อยู่อาศัย ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงผลลัพธ์ของการให้ประโยชน์ คืนกลับต่อประชาชนในเรื่องนี้ เช่น กรุงเทพมหานครดําเนินการให้แม่ค้าที่ถูกยึดพื้นที่ทางเท้า คืนจากการวางจําหน่ายสินค้า ไปรวมตัวกันจําหน่ายในพื้นที่อื่นแทน เป็นต้น

45 รัฐบาลเปิดให้มีการจดทะเบียนคนจนใหม่แทนที่ข้อมูลเก่าที่จดทะเบียนไว้เดิมเพื่อการให้ความช่วยเหลือได้อย่างถาวร

ตอบ 4 หน้า 204, (คําบรรยาย) การประกันความมั่นคง เป็นการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตของประชาชนซึ่งจะทําให้ประชาชนไม่ต้องวิตกกังวลในเรื่องรายได้ หน้าที่การงาน รวมถึงความปลอดภัยในชีวิต ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงผลลัพธ์ของการให้ประโยชน์คืนกลับต่อประชาชนในเรื่องนี้ เช่น รัฐบาลเปิดให้มีการจดทะเบียนคนจนใหม่แทนที่ข้อมูลเก่าที่จดทะเบียนไว้เดิมเพื่อการให้ความช่วยเหลือได้อย่างถาวร เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 46 – 50 เป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงความมีคุณธรรม (Merit System) ในเรื่องใดต่อไปนี้

(1) ความรู้ความสามารถ (Capacity)

(2) ความเชื่อถือศรัทธา (Creditial)

(3) ความอาวุโส (Seniority)

(4) ความเป็นตัวแทน (Representation)

(5) ความมีจริยธรรม (Ethic)

 

46 การทุจริตในการสอบเข้าในตําแหน่งนายสิบตํารวจ

ตอบ 1 หน้า 201 (คําบรรยาย) ความรู้ความสามารถ (Capacity) คือ การมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคคล โดยเน้นการบรรจุแต่งตั้งตามวุฒิการศึกษาและความชํานาญเฉพาะด้าน และมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงความมีคุณธรรมในเรื่องนี้ เช่น การทุจริตในการสอบเข้าในตําแหน่งนายสิบตํารวจ เป็นต้น

47 บรรดาศิษย์วัดพระธรรมกายจากต่างจังหวัดต่างเดินทางเข้ามาร่วมในบริเวณรอบวัดพระธรรมกาย

ตอบ 2 หน้า 201, (คําบรรยาย) ความเชื่อถือศรัทธา (Creditial) คือ การที่บุคคล กลุ่มบุคคล องค์การหรือสถาบันได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากการรักษาคําพูด การยึดถือกฎระเบียบและวินัยใน การปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม รวมทั้ง การมีความรู้ความสามารถอย่างดีเลิศในสาขาอาชีพต่าง ๆ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึง ความมีคุณธรรมในเรื่องนี้ เช่น บรรดาศิษย์วัดพระธรรมกายจากต่างจังหวัดต่างเดินทางเข้ามาร่วมในบริเวณรอบวัดพระธรรมกาย เป็นต้น

48 สื่อมวลชนทุกแขนงเข้าร่วมพิสูจน์การเสียชีวิตของพยาบาลหญิงพร้อมกับ DSI และศิษย์วัดพระธรรมกาย

ตอบ 5 หน้า 201, (คําบรรยาย) จริยธรรม (Ethic) คือ มาตรฐานของวิชาชีพ หรือหลักความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละสาขาวิชาชีพกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก ซึ่งอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างปรากฏการณ์ ที่สะท้อนถึงความมีคุณธรรมในเรื่องนี้ เช่น สื่อมวลชนทุกแขนงเข้าร่วมพิสูจน์การเสียชีวิตของพยาบาลหญิงพร้อมกับ DSI และศิษย์วัดพระธรรมกาย เป็นต้น

49 มหาดไทยมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดําเนินการนําประชาชนมากราบพระบรมศพตามโควต้าของสัดส่วนประชากรของจังหวัด

ตอบ 4 หน้า 201, (คําบรรยาย) ความเป็นตัวแทน(Representation) คือ การมีบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ หรือสถาบัน ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่ดําเนินการในเรื่องต่าง ๆ แทนกลุ่มคนในสังคม ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงความมีคุณธรรมในเรื่องนี้ เช่น มหาดไทยมอบให้ผู้ว่า ราชการจังหวัดดําเนินการนําประชาชนมากราบพระบรมศพตามโควต้าของสัดส่วนประชากรของจังหวัด เป็นต้น

50 ศาลอุทธรณ์แก้-ให้คุกธาริต-ชา เชาวน์ คนละ 2 ปี ในคดีโยกย้ายอดีตผู้บัญชาการสํานักคดีทรัพย์สินทางปัญญา เพราะเป็นอํานาจของปลัดกระทรวง

ตอบ 3 หน้า 201, (คําบรรยาย) ความอาวุโส (Seniority) คือ การบรรจุแต่งตั้ง ตลอดจนการเลื่อนขั้นเลื่อนตําแหน่งจะเป็นไปตามอายุและเวลางาน ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงความมีคุณธรรม ในเรื่องนี้ เช่น ศาลอุทธรณ์แก้-ให้คุกธาริต-ชาญเชาวน์ คนละ 2 ปี ในคดีโยกย้ายอดีตผู้บัญชาการสํานักคดีทรัพย์สินทางปัญญา เพราะเป็นอํานาจของปลัดกระทรวง เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 51 – 55 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การฝึกอบรมแบบฝึกปฏิบัติงานจริง (On-the-Job Training) (2) การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training)

(3) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training) (4) การฝึกอบรมแบบจําลอง (Simulation Training)

(5) การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training)

 

51 แจ้งถึงเงื่อนไขการจ้างงาน

ตอบ 2 หน้า 127 – 128 การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training) เป็นวิธีการที่มีความเหมาะสมและนิยมใช้กับพนักงานที่เข้าทํางานใหม่ โดยเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแนะนํา ให้พนักงานใหม่ได้รับความรู้ ข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์การหรือสถานที่ทํางาน เช่น ประวัติขององค์การ ผู้บริหารและระบบการบริหารงาน ความก้าวหน้าในงาน เงื่อนไข การจ้างงาน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขจัดข้อสงสัยและความกังวลใจของพนักงานใหม่ให้หมดไป ตลอดจนช่วยให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์การได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่และเป็นประโยชน์ต่อองค์การในท้ายที่สุด

52 ใช้ฝึกอบรมนักบิน

ตอบ 4 หน้า 140 141, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบจําลอง (Simulation Training) เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้มีโอกาสใช้อุปกรณ์เครื่องมือและกระบวนการที่เป็นแบบจําลอง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกับสิ่งต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในการทํางานจริง เช่น การฝึกอบรมนักบินหรือการฝึกอบรมผู้ใช้เครื่องจักรกลขนาดหนัก เป็นต้น

53 ต้องมีการแนะนําประวัติขององค์การ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

54 บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวะช่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้า

ตอบ 3 หน้า 139 140, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training) nเป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้รับความรู้และทักษะทางด้านช่างฝีมือในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ จนกระทั่งมีฝีมือสามารถออกไปประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ

1 สมัครเป็นลูกมือช่างที่ตนสนใจ

2 สมัครเป็นช่างฝึกหัดโครงการช่างฝึกหัดทวิภาคีระหว่าง สถาบันการศึกษากับสถานประกอบการ เช่น บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวะช่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้า เป็นต้น

55 เป็นเทคนิคที่นิยมใช้อบรมผู้บริหาร

ตอบ 5 หน้า 142 การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training) เป็นวิธีการที่มีการกําหนดรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในองค์การ และให้ผู้เข้าฝึกอบรมทําการศึกษารายละเอียด ของข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมดในกรณีศึกษา พร้อมกับกําหนดปัญหาและนําเสนอแนวทางการ แก้ไขปัญหา แล้วเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนํามาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งถือเป็นเทคนิคที่นิยมใช้ในการฝึกอบรมผู้บริหาร

ตั้งแต่ข้อ 56 – 60 สะท้อนถึงหลักการในการประเมินผลการปฏิบัติงานในเรื่องใด

(1) กําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน

(2) กําหนดแบบและลักษณะคนที่ประเมิน

(3) กําหนดตัวผู้ประเมิน

(4) กําหนดวิธีการประเมิน

(5) การนําผลที่ได้จากการประเมินไปใช้

 

56 คณบดีคณะรัฐศาสตร์ทําหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงให้นักศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์

ตอบ 1 หน้า 163 – 164, (คําบรรยาย) การกําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน เป็นการบอกถึงเหตุผลและความจําเป็นของการประเมินผลว่ามีการประเมินไปเพื่ออะไร โดยจะต้องชี้แจงหรือแจ้งให้ ผู้ถูกประเมินและผู้ทําการประเมินทราบถึงหลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์ของการประเมิน ก่อนทําการประเมิน เช่น คณบดีคณะรัฐศาสตร์ทําหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์ เป็นต้น

57 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการคณะต่าง ๆ

ตอบ 3 หน้า 166, (คําบรรยาย) การกําหนดตัวผู้ประเมิน เป็นการกําหนดตัวผู้ที่จะทําการประเมิน ให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ถูกประเมิน ซึ่งปกติตัวผู้ประเมินมักจะได้แก่ ผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้างาน ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกน้อง ลูกค้า ตนเอง และเพื่อนร่วมงาน เช่น สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการคณะต่าง ๆ หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน โดยลงคะแนนลับ เป็นต้น

58 การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนกระทําปีละ 2 ครั้ง

ตอบ 5 หน้า 167, (คําบรรยาย) การนําผลที่ได้จากการประเมินไปใช้ เป็นการนําผลการวิเคราะห์รายงานจากแบบประเมินผลที่ผู้ประเมินได้ประเมินไว้ ไปใช้ประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับ ผู้ที่ถูกประเมินผู้นั้นตลอดเวลาที่ยังปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงาน เช่น การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนกระทําปีละ 2 ครั้ง เป็นต้น

59 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 57 ประกอบ

60 รักษาการผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติให้นโยบายแก่ข้าราชการตํารวจให้นายตํารวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทํางาน ถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน ตอบ 4 หน้า 166 167, (คําบรรยาย) การกําหนดวิธีการประเมินมีหลายวิธีแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ดังนี้

1 การประเมินคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ความสามารถในการตัดสินใจ ความคิดริเริ่ม การปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่น ฯลฯ

2 การประเมินพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ตั้งใจทํางานหรือปฏิบัติหน้าที่ รอบคอบ รวดเร็ว ว่องไว เฉื่อยชา อดทน สุภาพ หรือเจ้าโทสะ ฯลฯ เช่น รักษาการผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ ให้นโยบายแก่ข้าราชการตํารวจให้นายตํารวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทํางาน ถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ตําแหน่งประเภทบริหาร

(2) ตําแหน่งประเภทอํานวยการ

(3) ตําแหน่งประเภทวิชาการ

(4) ตําแหน่งประเภททั่วไป

(5) ตําแหน่งประเภทผสม

 

61 ระดับปฏิบัติการ

ตอบ 3 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 46) ระดับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้

1 ตําแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง

2 ตําแหน่งประเภทอํานวยการ มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง

3 ตําแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ

4 ตําแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโสและระดับทักษะพิเศษ

62 ระดับชํานาญงาน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

63 ระดับปฏิบัติงาน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

64 ระดับชํานาญการ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

  1. อธิบดี

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ได้แก่ ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และปลัดกระทรวง

2 รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ได้แก่ รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และรองปลัดกระทรวง

3 หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ได้แก่ อธิบดี

4 หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เป็นต้น

5 ผู้ว่าราชการจังหวัด

6 เอกอัครราชทูต ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ)

 

ตั้งแต่ข้อ 66 – 70 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ผู้บังคับบัญชา

(2) เพื่อนร่วมงาน

(3) ประเมินตนเอง

(4) ให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน

(5) ผู้ใต้บังคับบัญชา

 

66 ผู้ประเมินบางคนมักไม่กล้าประเมินหรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินเกินความเป็นจริง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่มีข้อดี คือ สามารถให้ภาพพจน์เกี่ยวกับตัวผู้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดีว่าผู้บังคับบัญชามีความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับ ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างไร เคยมอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือไม่ แต่มีข้อเสีย คือ ผู้ใต้บังคับบัญชาบางคนมักไม่กล้าประเมินผู้บังคับบัญชา หรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินผู้บังคับบัญชาออกมาดีเกินความเป็นจริง

67 มหาวิทยาลัยให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละภาค

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ให้บุคคลภายนอกองค์การเป็นผู้ประเมิน เช่น มหาวิทยาลัยให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละ ภาคการศึกษา, การประเมินผลการทํางานของรัฐบาลโดยประชาชน, บริษัทโตโยต้าให้ผู้มาติดต่อ ซ่อมรถเป็นผู้ประเมินผลการให้บริการของพนักงาน เป็นต้น

68 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกรรมาธิการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การให้เพื่อนร่วมงานเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ให้เพื่อนร่วมงานที่อยู่ในระดับเดียวกันต่างประเมินซึ่งกันและกัน โดยมักจะใช้กับกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่มีความคุ้นเคยกัน ทํางานร่วมกันมานานพอสมควร และงานที่ทําจะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกรรมาธิการ, สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน โดยลงคะแนนลับ เป็นต้น

69 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

70 การประเมินผลการทํางานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ต้องทําในสายการบังคับบัญชาทั้งนี้เพราะผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา จึงเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและรู้เรื่องเกี่ยวกับบุคลากรที่อยู่ในบังคับบัญชาได้ดีที่สุด ซึ่งวิธีการนี้นิยมใช้กันมาก ในระบบราชการไทย เช่น การประเมินผลการทํางานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 71 – 75 เป็นปรากฏการณ์ที่สอดคล้องกับการรักษาวินัยให้กับข้าราชการในเรื่องใด

(1) การดูแล

(2) การป้องกัน

(3) การเยียวยา

(4) การส่งเสริมให้มีวินัย

(5) การดําเนินการทางวินัย

 

71 การให้ผู้ที่กระทําผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทําความสะอาดตู้โทรศัพท์

ตอบ 3 หน้า 175 176, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การเยียวยา” หมายถึงการแก้ไขและบํารุงหรือส่งเสริมให้มีวินัยดีขึ้น โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้อง เยียวยาแก้ไขให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีวินัยดีขึ้น เช่น การให้ผู้ที่กระทําผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทําความสะอาดตู้โทรศัพท์ เป็นต้น

72 อธิบดีกรมสรรพากรถูกปลดออกจากราชการฐานละเลยต่อหน้าที่

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การดําเนินการทางวินัยในขั้นตอนการสั่งลงโทษ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

1 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ – ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด

2 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก

73 การเข้าตรวจเยี่ยมกําลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้าจะช่วยให้ทหารอยู่ในระเบียบการแต่งกายและรักษาสถานที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อยู่เสมอ ตอบ 1 หน้า 174 175, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การดูแล” หมายถึงการสอดส่องกํากับตรวจตรา โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ให้อยู่ในระเบียบวินัย เช่น ผู้กํากับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทํางานถูกต้อง ตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน หรือการเข้าตรวจเยี่ยมกําลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้า เป็นต้น

74 ผู้กํากับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่

ตอบ 2 หน้า 175, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การป้องกัน” หมายถึง การกระทําในทางที่จะขจัดเหตุที่ทําให้ข้าราชการกระทําผิดวินัย ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องคอยระมัดระวังมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทําผิดวินัย โดยอาจใช้วิธีการขู่ผู้ที่จะกระทําผิดวินัยให้เกิดความกลัว เช่น ผู้กํากับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่ เป็นต้น

75 ผู้กํากับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทํางานถูกต้องตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 76 – 85 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)

(2) คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)

(3) การกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification)

(4) การประเมินค่างาน (Job Evaluation)

(5) การออกแบบงาน (Job Design)

 

76 ได้ข้อมูลมาจากความรู้ ทักษะ และความสามารถ

ตอบ 3 หน้า 12 – 13, (คําบรรยาย) การกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification) เป็นรายละเอียดของคุณสมบัติเฉพาะของพนักงานซึ่งใช้ในการทํางานเฉพาะอย่างเพื่อให้งาน ประสบความสําเร็จ เช่น การกําหนดให้ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตํารวจต้องจบปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่นํามาใช้ในการกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงานได้มาจากความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และความสามารถ (Abilities)

77 ข้อมูลที่ต้องใช้ทําคือ กิจกรรมของงาน พฤติกรรมของบุคคล เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และเนื้อหาของงาน

ตอบ 1 หน้า 13 – 14 ข้อมูลที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) มีดังนี้

1 กิจกรรมของงาน (Work Activities)

2 พฤติกรรมของบุคคล (Human Behavior)

3 เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องช่วยสนับสนุนการทํางาน (Machine, Tool, – Equipment and Work Aids Used)

4 มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Performance Standards)

5 เนื้อหาของงาน (Jcb Context)

6 ความต้องการบุคลากร (Personnel Requirements)

78 เป็นกระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงาน

ตอบ 1 หน้า 11 ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ กล่าวว่า การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) หมายถึง กระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกระบวนการนี้จะทําให้ฝ่ายจัดการทราบว่าจะต้องใช้ความรู้ความสามารถ ความชํานาญ และความรับผิดชอบอย่างไร ผู้ปฏิบัติงานจึงจะทํางานนั้นให้สําเร็จลงได้

79 เอาไปใช้ออกแบบงาน (Job Design)

ตอบ 1 หน้า 14 – 17 ประโยชน์ของการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ด้านทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้

1 ใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบงาน (Job Design)

2 ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์

3 ใช้เป็นข้อมูลในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

4 ใช้เป็นข้อมูลในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร

5 ใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลการทํางาน

6 ใช้เป็นข้อมูลในการกําหนดค่าตอบแทน ฯลฯ

80 สามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางาน ตอบ 5 หน้า 16 การออกแบบงาน (Job Design) ที่ดี นอกจากจะทําให้บุคคลทํางานได้อย่างเต็มความสามารถแล้ว ยังสามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางานให้น้อยลงได้อีกด้วย

 

81 ได้ข้อมูลมาจากงาน ความรับผิดชอบ และหน้าที่

ตอบ 2 หน้า 12 – 13 คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description) เป็นการอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง โดยระบุชื่อตําแหน่งงาน คําสรุปเกี่ยวกับงาน หน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง และความสัมพันธ์กับงานอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลในคําบรรยายลักษณะงานได้มาจากงาน (Task) ความรับผิดชอบ (Responsibilities) และหน้าที่ (Duties)

82 การอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง ระบุหน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

83 จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน (Equal Work for Equal Pay)

ตอบ 4 หน้า 16, 75, 81 การประเมินค่างาน (Job Evaluation) คือ กระบวนการที่ทําขึ้นเพื่อเปรียบเทียบค่าของงานต่าง ๆ ในองค์การ เพื่อนํามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกําหนด ค่าตอบแทนที่ยุติธรรมกับงานตามหลักการที่ว่า “จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน” (Equal Work for Equal Pay) ซึ่งวิธีนี้จะทําให้เกิดความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) ในการกําหนดค่าจ้างเละผลตอบแทนให้แก่บุคลากรทุกคนที่อยู่ภายในองค์การเดียวกัน

84 ความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) เกิดจาก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 83 ประกอบ

85 ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตํารวจต้องจบปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 86 – 90 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ใบสมัครงาน (Application Blank)

(2) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview)

(3) การทดสอบ (Employment Test)

(4) การสัมภาษณ์ (Interview)

(5) การตรวจร่างกาย (Physical Check)

 

86 เป็นเครื่องมือที่วัดพฤติกรรม วัดบุคลิกภาพ

ตอบ 4 หน้า 64, 66, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกที่นิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่ในอดีต เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์หรือ ผู้สมัครได้พูดคุยและซักถามข้อมูลของกันและกัน จึงทําให้สามารถที่จะวัดพฤติกรรม บุคลิกภาพประสบการณ์ วิสัยทัศน์ อารมณ์และจิตใจของผู้สมัครได้เป็นอย่างดี

87 การสอบถามคุณสมบัติเฉพาะและคุณสมบัติทั่วไป

ตอบ 2 หน้า 64 – 65, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview) เป็นขั้นตอนการกลั่นกรองบุคคลที่เห็นได้ชัดว่ามีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่ต้องการอย่างแน่นอน ซึ่งอาจจะกระทําโดยการสอบถามคุณสมบัติเฉพาะและคุณสมบัติทั่วไป หรือให้กรอกข้อมูลเบื้องต้น ณ ห้องรับใบสมัคร ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการที่จะรับคนที่ขาดคุณสมบัติหรือมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมเข้ามาตั้งแต่ต้น

88 เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน

ตอบ 5 หน้า 64, 68 การตรวจร่างกาย (Physical Check/Examination) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดเจนว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพื่อ ปฏิเสธคนที่มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน และเพื่อป้องกันการรับบุคคลที่มีโรคติดต่อต้องห้ามเข้ามาทํางานด้วย

89 เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้มากที่สุด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

90 เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความรู้

ตอบ 3 หน้า 64 – 66, (คําบรรยาย) การทดสอบ (Employment Test) เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกที่ใช้วัดความรู้ความสามารถของผู้สมัครที่เกี่ยวข้องและจําเป็นสําหรับการทํางาน เช่น ความถนัด ทักษะ สติปัญญา (I.Q.) การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น (E.Q.) เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 91 – 95 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) พ.ร.บ. เงินทดแทน

(2) พ.ร.บ. ประกันสังคม

(3) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์

(4) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน

(5) พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน

 

91 ค่าชดเชยกรณีออกจากงาน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายที่กําหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้างงานที่ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติต่อลูกจ้าง และรัฐให้ความคุ้มครองตามกฎหมาย โดยสาระสําคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ได้แก่ การกําหนดวันและเวลาทํางาน วันหยุด วันลา การพักงาน อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การทํางานล่วงเวลา ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานและค่าล่วงเวลา ในวันหยุด การใช้แรงงานหญิงและแรงงานเด็ก การจ่ายค่าชดเชยกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานหรือเลิกจ้าง เป็นต้น

92 ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นวันละ 300 บาท

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง และสภาองค์การนายจ้าง

ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นกฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับกับวิสาหกิจเอกชนในปัจจุบัน โดยจะกําหนดสาระสําคัญเกี่ยวกับสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การลูกจ้าง สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง สภาองค์การนายจ้าง สภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การเรียกร้องให้มีการกําหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สภาพการจ้าง ข้อพิพาทแรงงาน การเจรจาต่อรอง การปิดงานและการนัดหยุดงาน ตลอดจนการกระทําอันไม่เป็นธรรม

94 ผู้ประกันตนเบิกเงินค่าคลอดบุตร

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 กําหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมในกรณีดังต่อไปนี้

1 กรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายอันมิใช่เนื่องมาจากการทํางาน

2 กรณีคลอดบุตร

3 กรณีสงเคราะห์บุตร

4 กรณีชราภาพ

5 กรณีว่างงาน

95 การเบิกเงินกรณีเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทํางาน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ได้บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้น เพื่อทําหน้าที่จ่ายเงินทดแทนแทนนายจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพหรือ ตายอันเนื่องมาจากการทํางาน โดยกําหนดให้นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่ลูกจ้างและรัฐบาลไม่ต้องจ่าย

ตั้งแต่ข้อ 96 – 100 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) สภาพตลาดแรงงาน (Condition of Labor Market)

(2) อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate)

(3) ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพ (Cost of Living)

(4) ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay)

(5) ขึ้นอยู่กับอิทธิพลอํานาจการต่อรอง (Collective Bargaining)

96 สหภาพแรงงานรวมตัวกันเหนียวแน่นก็มีพลังอํานาจกําหนดค่าจ้าง ตอบ 5 หน้า 86, (คําบรรยาย) อํานาจการต่อรอง (Collective Bargaining) หมายถึง อํานาจในการเจรจาต่อรองของแต่ละฝ่ายระหว่างสหภาพแรงงานกับนายจ้างเกี่ยวกับการกําหนดค่าจ้างและ เงื่อนไขการจ้างหรือการทํางาน ซึ่งหากสหภาพแรงงานรวมตัวกันได้เหนียวแน่นมากเท่าไรพลังอํานาจการเจรจาต่อรองในการกําหนดค่าจ้างก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น

97 ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ

ตอบ 3 หน้า 85, (คําบรรยาย) ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพหรือค่าครองชีพ (Cost of Living) หมายถึง การจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างพอที่จะใช้จ่ายให้สามารถ ดํารงชีวิตอยู่ได้ด้วยความราบรื่นหรือพอกินพอใช้ โดยมีการปรับอัตราค่าจ้างให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าครองชีพ เช่น ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ, รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้ เป็นต้น

98 ปีนี้ธนาคารบางแห่งจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 16 เดือน

ตอบ 4 หน้า 85 – 86, (คําบรรยาย) ปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay) หมายถึง ความสามารถของนายอ้างที่จะจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งความสามารถในการจ่ายของแต่ละบริษัท มักจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ ความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน ทางอุตสาหกรรม ตลอดจนความมั่นคงที่ปรากฏตามลักษณะภูมิประเทศที่หน่วยงานนั้นตั้งอยู่ เช่น ปีนี้ธนาคารบางแห่งจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 16 เดือน เป็นต้น

99 บริษัทหลายแห่งได้กําหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ 3 วุฒิปริญญาตรี

ตอบ 2 หน้า 84 – 85, (คําบรรยาย) อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate) หมายถึง อัตราค่าจ้างในสังคมที่เขาจ้างกันทั่ว ๆ ไป หรืออัตราค่าจ้างขององค์การเราที่จ่ายตามอัตราค่าจ้างขององค์การ อื่น ๆ ที่จ่ายให้แก่พนักงานที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน หรือทํางานประเภทเดียวกัน เช่น บริษัท หลายแห่งได้กําหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ 3 หรือระดับปฏิบัติการ วุฒิปริญญาตรี เป็นต้น

100 รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 97 ประกอบ

 

 

Advertisement