การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2303 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1 ข้อความใดต่อไปนี้ตรงกับความหมายของคําว่า “การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์” ในภาคเอกชน
(1) การกําหนดเกณฑ์การขอตําแหน่งวิชาการอาจารย์มหาวิทยาลัย
(2) การตรวจสอบรถโบราณของวัดปากน้ฎโดย DSI
(3) การกําหนดคุณสมบัติของตัวแทนกลุ่มอาชีพในการสมัคร ส.ว.
(4) การเข้มงวดบทบาทของพระอุปัชฌาย์ให้มีมากขึ้น
(5) การจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การบริหารจัดการงานบุคคลหรือทรัพยากรมนุษย์ในภาคธุรกิจเอกชน เป็นการจัดการคนในหน่วยงานนอกภาครัฐ เริ่มตั้งแต่การวางแผนกําลังคน การจัดหาบุคคลเข้าทํางาน (ซึ่งประกอบด้วยการสรรหา การคัดเลือก และการบรรจุแต่งตั้ง) การประเมินผลการปฏิบัติงาน
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การหมุนเวียนงาน การรักษาวินัยในการทํางาน จนกระทั่งการให้พ็นออกไปจากองค์กร ตัวอย่างที่อธิบายความหมายในเรื่องนี้ เช่น การจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ เป็นต้น
2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้มีการจัดสอบคัดเลือกครูโดยใช้ข้อสอบเดียวกันทั่วประเทศ เป็นหลักการในเรื่องใด
(1) ความยุติธรรม
(2) ความมีมาตรฐานเดียวกัน
(3) ความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
(4) ความน่าเชื่อถือ
(5) ความเที่ยงตรง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้มีการจัดสอบคัดเลือกครูโดยใช้ข้อสอบเดียวกันทั่วประเทศ โดยให้สถาบันทดสอบทางการศึกษา แห่งชาติ (สทศ.) เป็นผู้ออกข้อสอบ ทั้งนี้เพื่อความเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยที่ผ่านมา การสอบคัดเลือกครูจะจ้างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ออกข้อสอบ ทําให้ข้อสอบในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาไม่เหมือนกัน และข้อสอบก็มีมาตรฐานที่ไม่เหมือนกัน
3 กรณี ดร.เซปิง ซึ่งไม่ใช่แพทย์ศัลยกรรมความงามทําผิดกฎหมายการโฆษณาเกินจริง สะท้อนถึงธรรมชาติ ของมนุษย์ในเรื่องใด
(1) ความกลัวตาย
(2) ความเห็นแก่ตัว
(3) การเป็นสัตว์สังคม
(4) ความต้องการการสื่อสาร
(5) การมีแรงขับทางเพศ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความเห็นแก่ตัว เป็นพฤติกรรมที่ยึดถือแต่ผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลักโดยไม่คํานึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม จึงทําให้เป็นคนที่ไม่มีน้ําใจ ขาดความรับผิดชอบ สนใจแต่เฉพาะเรื่องของตัวเอง ชอบเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ชอบเบียดเบียน และสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น อยากได้อยากมี และไม่คํานึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม ตัวอย่างที่อธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น กรณี ดร.เซปิง ซึ่งไม่ใช่แพทย์ศัลยกรรม ความงามทําผิดกฎหมายการโฆษณาเกินจริง เป็นต้น
4 ข้อความใดต่อไปนี้ตรงกับความหมายของคําว่า “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” ในภาครัฐ
(1) การกําหนดเกณฑ์การขอตําแหน่งวิชาการอาจารย์มหาวิทยาลัย
(2) การตรวจสอบรถโบราณของวัดปากน้ฎโดย DSI
(3) การกําหนดคุณสมบัติของตัวเเทนกลุ่มอาชีพในการสมัคร ส.ว.
(4) การเข้มงวดบทบาทของพระอุปัชฌาย์ให้มีมากขึ้น
(5) การจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) ในภาครัฐ เป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องดูแลคนในด้านต่าง ๆ โดยให้ความสําคัญกับเรื่องการศึกษา สาธารณสุข ความมั่นคง และคุณภาพชีวิตมนุษย์ตั้งแต่ก่อนปฏิสนธิ (ก่อนเกิด) จนถึงหลังการตาย ตัวอย่างที่อธิบายความหมายในเรื่องนี้ เช่น การเข้มงวดบทบาทของพระอุปัชฌาย์ให้มีมากขึ้น เป็นต้น
5 ตํารวจแถลงผลการจับกุมแก๊ง “โจ๋วัยรุ่น 5 วิ” ใช้ขวานชิงรถจักรยานยนต์ สะท้อนถึงธรรมชาติของมนุษย์ ในเรื่องใด
(1) ความกลัวตาย
(2) ความเห็นแก่ตัว
(3) การเป็นสัตว์สังคม
(4) ความต้องการการสื่อสาร
(5) การมีแรงขับทางเพศ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความต้องการการสื่อสาร เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารระหว่างปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อทําให้อีกฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายและเกิดการตอบสนอง ซึ่งอาจจะเป็นในทางบวกหรือทางลบก็ได้ ตัวอย่างที่สะท้อนถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น ตํารวจแถลงผลการจับกุมแก๊ง “โจวัยรุ่น 5วิ” ใช้ขวานชิงรถจักรยานยนต์ เป็นต้น
6 การเสนอชื่อพระราชาคณะขึ้นทูลเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระสังฆราช เป็นการปฏิบัติตามข้อกําหนดในเรื่องใด
(1) กฎหมายทั่วไป
(2) กฎหมายด้านการปกครอง
(3) พ.ร.บ. คณะสงฆ์และกฎหมายมหาเถรสมาคม
(4) ขนบธรรมเนียมประเพณี
(5) กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การเสนอชื่อพระราชาคณะขึ้นทูลเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระสังฆราช เป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 มาตรา 7 ซึ่งกําหนดให้นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดทางสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช
7 ปัญหาที่บริษัทการบิน “นกแอร์” ประสบเป็นปัญหาในเรื่องใด .
(1) การขาดแคลนบุคลากร
(2) เงื่อนไขในการปฏิบัติงานของนักบิน
(3) เงื่อนไขในเรื่องอุปกรณ์การบิน
(4) คุณภาพของบุคลากร
(5) ค่าตอบแทนต่ำ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 บริษัทการบิน “นกแอร์” ประสบปัญหาการขาดแคลนนักบิน ทําให้ต้องประกาศหยุดบินตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ – 10 มีนาคม โดยมีการคาดการณ์ กันว่าบริทนกแอร์จะต้องสูญเงินจากการหยุดบินนี้กว่า 150 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมค่าชดเชยส่วนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้โดยสาร
8 อาชีพใดที่ได้รับแรงกดดันทางวิชาชีพสูงในประเทศไทย
(1) ครู – อาจารย์
(2) ฝ่ายตุลาการ
(3) ฝ่ายการเงิน การบัญชี
(4) ตํารวจ ทหาร
(5) แพทย์ พยาบาล
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ครูและอาจารย์ เป็นอาชีพที่ได้รับแรงกดดันทางวิชาชีพสูงในประเทศไทยทั้งนี้เนื่องจากครูและอาจารย์บางคนบางกลุ่มมักมีพฤติกรรมละเมิดจรรยาบรรณวิชาชีพ เช่น ทุจริตคอร์รัปชั่น ล่วงละเมิดทางเพศเด็ก ลงโทษเด็กเกินกว่าเหตุ ใช้วาจาและแสดงกิริยาไม่เหมาะสมในโรงเรียน ใช้เวลาในการทําผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะจนไม่มีเวลาสอนหรือเตรียมการสอนอย่างเต็มที่ เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลลบต่อความเชื่อมั่นของวิชาชีพครูในปัจจุบันเป็นอย่างมาก
9 หลักสูตร “พลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย” ใช้เพื่อพัฒนาบุคคลประเภทใด
(1) นักศึกษาวิชาทหาร (รด.)
(2) นักศึกษาอาชีวะ
(3) เยาวชนผู้เข้าค่ายรักษาการติดยา
(4) เยาวชนผู้เข้าศูนย์คุมประพฤติ
(5) นักเรียนนักศึกษาทั่ว ๆ ไป
ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักสูตร “พลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย” จัดขึ้นเพื่อใช้พัฒนาประชาชนและนักเรียนนักศึกษาทั่ว ๆ ไปให้มีความรู้ความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
10 รัฐบาลไทยกําหนดนโยบายการจัดสวัสดิการสังคมทั่วประเทศผ่านเรื่องใดดังต่อไปนี้
(1) กฎหมายประกันสังคม
(2) พ.ร.บ. การออมแห่งชาติ
(3) แผนยุทธศาสตร์สวัสดิการฯ
(4) แผนปฏิบัติการความมั่นคงทรัพยากรมนุษย์
(5) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐบาลไทยกําหนดนโยบายการจัดสวัสดิการสังคมทั่วประเทศผ่าน พ.ร.บ.การออมแห่งชาติ เพื่อให้ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระหรืออยู่นอกระบบบําเหน็จบํานาญของรัฐ หรือกองทุนเอกชนที่มีนายจ้างจ่ายสมทบแล้วซึ่งคาดว่ามีอยู่กว่า 30 ล้านคน ได้ออมเงินเพื่อใช้ ในยามเกษียณ โดยรัฐจะช่วยจ่ายสมทบให้ส่วนหนึ่ง และเมื่อผู้ออมมีอายุครบ 60 ปี ก็จะได้รับ เงินบํานาญเป็นรายเดือนตลอดชีพ ซึ่งถือเป็นการสร้างหลักประกันให้กับชีวิตในยามที่ไม่มีรายได้ประจํา และเป็นส่วนหนึ่งของการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
ตั้งแต่ข้อ 11 – 15 ปรากฏการณ์ต่อไปนี้อธิบายถึงหลักการตามแนวคิดประชาธิปไตยในเรื่องใด
(1) Equity
(2) Majority Rule
(3) Balance of Power
(4) Liberty
(5) Accountability
11 การนําร่างรัฐธรรมนูญมาทําประชาพิจารณ์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปกครองโดยเสียงข้างมาก (Majority Rule) คือ การปกครองโดยใช้จํานวนเป็นเกณฑ์ตัดสินการออกกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหา หรือการตัดสินใจในนโยบายต่าง ๆ ซึ่งต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของเสียงข้างมาก ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการตามแนวคิดประชาธิปไตยในเรื่องนี้ เช่น การนําร่างรัฐธรรมนูญมาทําประชาพิจารณ์ เป็นต้น
12 การฟ้องอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ในคดีจํานําข้าว
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Accountability) คือ บุคคล ตลอดจนผู้ประกอบอาชีพการงานต่าง ๆ จะต้องรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่และผลการกระทําของตนเอง รวมทั้ง องค์การหรือหน่วยงานที่ตนเองสังกัด ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการตามแนวคิดประชาธิปไตยในเรื่องนี้ เช่น การฟ้องอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ในคดีจํานําข้าว เป็นต้น
13 การเปิดรับนักเรียนหญิงให้สมัครเข้าเรียนหลักสูตรอาสารักษาดินแดน (รด.) ได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความเสมอภาค (Equity) คือ การมีพันธะเท่ากันต้องได้รับสิทธิเท่าเทียมกันโดยห้ามมิให้มีการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางเพศ ศาสนา กลุ่มหรือสถาบัน ภาคนิยม การสมรส และชาติวุฒิ ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการตามแนวคิด ประชาธิปไตยในเรื่องนี้ เช่น การเปิดรับนักเรียนหญิงให้สมัครเข้าเรียนหลักสูตรอาสารักษาดินแดน (รด.) ได้ เป็นต้น
14 การออก พ.ร.บ. คู่ชีวิตให้เพศเดียวกันทําการสมรสกันได้
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เสรีภาพ (Liberty) คือ ความมีอิสระในการกระทําการใด ๆ สามารถดําเนินชีวิตได้ตามความปรารถนา แต่มีขอบเขตจํากัดว่าการกระทํานั้น ๆ จะต้องไม่ละเมิดกฎหมายหรือ ไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการตามแนวคิดประชาธิปไตยในเรื่องนี้ เช่น การออก พ.ร.บ. คู่ชีวิตให้เพศเดียวกันทําการสมรสกันได้ เป็นต้น 15 ข้อเสนอให้มีสภาสื่อสารมวลชน เพื่อตรวจสอบสื่อและเพื่อให้สื่อตรวจสอบฝ่ายการเมืองอย่างบริสุทธิ์ใจ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ดุลยภาพของอํานาจ (Balance of Power) คือ การตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อํานาจซึ่งกันและกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ รวมถึงการมี องค์กรอิสระหรือองค์กรกลางในการทําหน้าที่ตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ หรือทําหน้าที่อย่างอื่น ตามที่กฎหมายกําหนด ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการตามแนวคิดประชาธิปไตยในเรื่องนี้ เช่น ข้อเสนอให้มีสภาสื่อสารมวลชน เพื่อตรวจสอบสื่อและเพื่อให้สื่อตรวจสอบฝ่ายการเมืองอย่างบริสุทธิ์ใจ เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 16 – 20 ปรากฏการณ์ต่อไปนี้อธิบายถึงอิทธิพลของบริบทของมนุษย์ในเรื่องใดดังต่อไปนี้
(1) ภูมิอากาศ / ภูมิประเทศ
(2) ประวัติศาสตร์
(3) นโยบายของรัฐ
(4) วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์
(5) เทคโนโลยี / นวัตกรรม
16 ทันตแพทย์หญิงหนีการใช้ทุนการศึกษารัฐบาลไทย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรค ซึ่งในปัจจุบันการวิจัยและพัฒนาทาง วิทยาศาสตร์การแพทย์ในประเทศไทยยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ส่วนใหญ่ยังคงต้องพึ่งพาองค์ความรู้ จากต่างประเทศ เนื่องจากประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ที่จะสร้างองค์ความรู้ ทางด้านนี้ รวมทั้งการนําองค์ความรู้ที่พัฒนาแล้วมาใช้ รัฐบาลจึงต้องเพิ่มบุคลากรด้านนี้โดยให้ทุน ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ซึ่งกรณีของทันตแพทย์หญิงดลฤดี จําลองราษฎร์ ก็เป็นหนึ่งในบุคคลที่ได้รับทุนให้ไปศึกษาด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ตามโครงการพัฒนาของรัฐบาล
17 ข้อเสนอให้มีการขุดคอคอดกระขององคมนตรีท่านหนึ่ง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) นโยบายรัฐบาล เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับแนวทางกิจกรรม การกระทํา หรือการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้ทําการตัดสินใจและกําหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นําให้มีกิจกรรม หรือการกระทําต่าง ๆ เกิดขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กําหนดไว้ โดยมีการวางแผน การจัดทํา โครงการ วิธีการบริหารหรือกระบวนการดําเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและความต้องการของ ประชาชนผู้ใช้บริการในแต่ละเรื่อง ตัวอย่างที่อธิบายถึงอิทธิพลของบริบทของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น ข้อเสนอให้มีการยุดคอคอดกระขององคมนตรีท่านหนึ่ง เป็นต้น
18 องค์การอนามัยโลกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีไวรัสซิการะบาด ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภูมิอากาศ ได้แก่ เขตอากาศหนาว ร้อน ร้อนชื้น ฯลฯ) และภูมิประเทศ ได้แก่ สถานที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ อาณาเขตติดต่อ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ฯลฯ) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต อาชีพ การแต่งกาย อุปนิสัย และสุขภาพของมนุษย์ ตัวอย่างที่อธิบายถึงอิทธิพลของบริบทของ มนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น องค์การอนามัยโลกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีไวรัสซิการะบาด เป็นต้น
19 มาเลเซียยอมรับคนไทยใน 3 จังหวัดชายแดนใต้เข้าทํางานในมาเลย์ได้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประวัติศาสตร์ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับภูมิหลัง ความเป็นมา หรือพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะมีอิทธิพลทําให้เกิดความเชื่อ ความศรัทธา การยอมรับนับถือ ความสัมพันธ์ ความร่วมมือ ความขัดแย้ง หรือทักษะความชํานาญของแต่ละกลุ่มบุคคล เชื้อชาติ/เผ่าพันธุ์ หรือแต่ละประเทศสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างที่อธิบายถึงอิทธิพลของบริบทของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น มาเลเซียยอมรับคนไทยใน 3 จังหวัดชายแดนใต้เข้าทํางานในมาเลย์ได้ เป็นต้น
20 พลังงานจากแสงแดดช่วยให้ชนเผ่าตามชายแดนมีโอกาสได้เรียนรู้มากขึ้น
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นการนําเอาความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ เพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการทํางานให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน รวมทั้งเพื่อ อํานวยความสะดวกหรือตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ ตัวอย่างที่อธิบายถึงอิทธิพล ของบริบทของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น พลังงานจากแสงแดดช่วยให้ชนเผ่าตามชายแดนมีโอกาสได้เรียนรู้มากขึ้น เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 21 – 25 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงองค์ประกอบของมนุษย์ในเรื่องใดดังต่อไปนี้
(1) กล้ามเนื้อ
(2) โครงกระดูก
(3) ระบบในร่างกาย
(4) จิตภาพ
(5) บุคลิกภาพ
21 การเสียชีวิตของพระเอกปอ ทฤษฎี เกิดจากเรื่องใดล้มเหลว
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปอ ทฤษฎี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559 เนื่องจากการติดเชื้อไข้เลือดออกชนิดรุนแรงจนทําให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายล้มเหลว เช่น เกิดภาวะไตวาย ตับวายปอดติดเชื้อและมีลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด เป็นต้น
22 การกินฮอร์โมนของเด็กวัยรุ่นเพื่อลดการเกิดสิวบนใบหน้า มีผลให้ส่วนใดของร่างกายไม่เพิ่มขึ้นตามวัย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สิวบนใบหน้าของเด็กวัยรุ่นเกิดจากฮอร์โมนแอนโดรเจนหรือฮอร์โมนเพศชายที่มีปริมาณมากจนทําให้เกิดอาการ Androgenization คือ ทําให้หน้ามันและเป็นสิว จึงทําให้ เด็กวัยรุ่นนิยมกินฮอร์โมนที่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนแอนโดรเจนเพื่อลดการเกิดสิวบนใบหน้าแต่การกินฮอร์โมนดังกล่าวกลับมีผลทําให้กล้ามเนื้อของเด็กวัยรุ่นไม่เพิ่มขึ้นตามวัย
23 การฆ่าตัวตายของตํารวจส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้เกิดจากสภาวะเรื่องใดเสียไป
ตอบ 4 (คําบรรยาย) จิตภาพ (Psychology) คือ สภาวะจิตใจ กระบวนการความคิด และพฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง ต้องอาศัยวิธีการทางอ้อมโดยการสอบถามหรือสร้างเครื่องมือวัด และการพิสูจน์ทดลองจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่สังเกตได้ ได้แก่ การรับรู้ ทัศนคติ ค่านิยม อารมณ์ รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ฯลฯ ตัวอย่างที่อธิบายถึงองค์ประกอบของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การฆ่าตัวตายของตํารวจส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้เกิดจากปัญหาด้านจิตภาพหรือสภาวะด้านจิตใจที่เสียไป เป็นต้น
24 การติดโรคไวรัสซิกาของหญิงตั้งครรภ์จะมีผลโดยตรงต่อส่วนใดของทารกในครรภ์มารดา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) โรคไวรัสซิกา เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสตระกูลฟลาวิไวรัส (Flavivirus) ผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดงซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อนี้จะไม่มีอาการรุนแรงจนถึงแก่
ความตาย แต่มีอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากทําให้ทารกในครรภ์มีกะโหลกศีรษะเล็กกว่าปกติ
25 การนิยมใช้บริการของคลินิกเสริมความงามกลางห้าง เพราะช่วยเสริมเรื่องใดให้กับบุคคล
ตอบ 5 (คําบรรยาย) บุคลิกภาพ (Personality) คือ กระบวนการสร้างหรือการจัดส่วนประกอบของแต่ละคนทั้งภายในและภายนอก (จิตและร่างกาย) หรือเป็นภาพรวมของกายภาพและจิตภาพ ของมนุษย์ ซึ่งมีอิทธิพลในการกําหนดหรือตัดสินพิจารณาลักษณะพฤติกรรมและความนึกคิดของ บุคคลนั้นในแต่ละสาขาอาชีพ ตัวอย่างที่อธิบายถึงองค์ประกอบของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การนิยมใช้บริการของคลินิกเสริมความงามกลางห้าง เพราะช่วยเสริมบุคลิกภาพให้กับบุคคล เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 26 – 30 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามลักษณะใดดังต่อไปนี้
(1) กลุ่มผู้ด้อยโอกาส
(2) เน้นปัญหาเร่งด่วนของมนุษยชาติ
(3) เน้นความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(4) เน้นการไม่แยกคนออกจากธรรมชาติ
(5) เน้นการพัฒนาคนตามทักษะของเชื้อชาติ
26 ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมานักเรียนไทยรับทุนไปศึกษาต่อระดับโทและเอกไม่ต่ํากว่า 5 พันคน แต่ไม่กลับมาใช้ทุนประมาณ 1,500 คน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่เน้นความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นการพัฒนาที่ระดมการมีส่วนร่วมในแนวระนาบ ไม่ว่าจะเป็นรัฐ เอกชน ชุมชน ประชาชน และ NGOs โดยทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันกําหนดแนวทางในการพัฒนาและแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างบูรณาการ และเป็นองค์รวม ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดของ UN ในเรื่องนี้ เช่น ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมานักเรียนไทยรับทุนไปศึกษาต่อระดับโทและเอก ไม่ต่ำกว่า 5 พันคน แต่กลับมาใช้ทุนประมาณ 1,500 คน เป็นต้น
27 ข้อเสนอให้สร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง คนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชนบท
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่ให้ความสําคัญกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กลุ่มที่มีอํานาจการตัดสินใจทางการเมืองน้อย หรือถูกชักจูงให้คล้อยตามอํานาจเงินหรืออํานาจ ของกลุ่มผู้นําได้ง่าย ซึ่งได้แก่ กลุ่มผู้หญิงหรือสตรี กลุ่มผู้ยากไร้ในชนบท กลุ่มผู้พิการ ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมโอกาสในการดูแลคุณภาพชีวิต การจ้างงานที่มีรายได้ บทบาทการเป็นผู้นํา การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และการพัฒนาทักษะเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นมืออาชีพ ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดของ UN ในเรื่องนี้ เช่น ข้อเสนอให้ สร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง คนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชนบท เป็นต้น
28 ข้อเรียกร้องขอพื้นที่ริมทะเลคืนจากนายทุนของชาวเลที่หาดราไวย์ ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่เน้นการไม่แยกคนออกจากธรรมชาติ เป็นการพัฒนาเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างถาวร โดยไม่แยกมนุษย์ออกจากธรรมชาติอันเป็นแหล่งสร้างอาชีพ และอุปนิสัยของคนในแต่ละพื้นที่ หรือเป็นการพัฒนาให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติตามลักษณะ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวิถีชีวิตของเขาอย่างสันติและเกื้อกูลกัน โดยเสริมสร้างจิตสํานึกและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบและตระหนักถึงความสําคัญของธรรมชาติ ตัวอย่างที่อธิบายถึง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดของ UN ในเรื่องนี้ เช่น ข้อเรียกร้องขอพื้นที่ริมทะเลคืนจากนายทุนของชาวเลที่หาดราไวย์ เป็นต้น
29 โรงพยาบาลรามาธิบดีเปิดรับสตรีเข้าเรียนหลักสูตรดูแลคนแก่
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่เน้นการแก้ปัญหาเร่งด่วนของมนุษยชาติ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาหลักหรือปัญหาเร่งด่วนของประชาคมโลก ซึ่งได้แก่ ปัญหาความยากจน ปัญหาภาวะโลกร้อน ปัญหาการขาดแคลนอาหาร ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในกลุ่มเด็ก และเยาวชน ปัญหาเด็กเกิดใหม่มีอัตราลดลง ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ปัญหาการขาดทักษะความรู้ ปัญหาการทํางานแบบ ชนชั้น ฯลฯ ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดของ UN ในเรื่องนี้ เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดีเปิดรับสตรีเข้าเรียนหลักสูตรดูแลคนแก่ เป็นต้น
30 กรมอุทยานจ้างชนเผ่าเป็นพนักงานดูแลรักษาป่ามากกว่าคนไทยในพื้นราบ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพัฒนาคนตามทักษะของเชื้อชาติ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามทักษะความชํานาญ ความสามารถ หรือลักษณะโครงสร้างร่างกายของมนุษย์แต่ละเชื้อชาติ แต่ละเผ่าพันธุ์ ที่มีความแตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม แนวคิด วิถีการดําเนินชีวิต กีฬา หรือยุทธวิธีในการต่อสู้ ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดของ UN ในเรื่องนี้ เช่น กรมอุทยานจ้างชนเผ่าเป็นพนักงานดูแลรักษาป่ามากกว่าคนไทยในพื้นราบ เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 31 – 35 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในมิติใดดังต่อไปนี้
(1) การลงทุนในบริบท
(2) การลงทุนในตัวมนุษย์
(3) การใช้ประโยชน์อย่างเป็นธรรม
(4) การใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
(5) การให้ประโยชน์คืนกลับ
31 รัฐบาลมีนโยบายให้ผู้จบการศึกษาได้ทํางานตรงกับความรู้ที่เรียนมา – ตอบ 4 (คําบรรยาย) การใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า เป็นการใช้ประโยชน์ทรัพยากรมนุษย์ให้ตรงกับความรู้ความสามารถ ทักษะ ความชํานาญ หรือคุณสมบัติเฉพาะของแต่ละบุคคล ตัวอย่างที่อธิบาย ถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในมิตินี้ เช่น รัฐบาลมีนโยบายให้ผู้จบการศึกษาได้ทํางานตรงกับความรู้ที่เรียนมา เป็นต้น
32 ศาลเล็งตรวจสุขภาพจิตของผู้พิพากษาประจําปี
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การใช้ประโยชน์อย่างเป็นธรรม เป็นการใช้ประโยชน์ทรัพยากรมนุษย์โดยเน้นการบํารุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ให้อยู่กับองค์การยาวนาน มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัย ในการทํางาน ซึ่งจะส่งผลทําให้เกิดขวัญกําลังใจในการทํางาน และทําให้ประสิทธิภาพในการ ทํางานเพิ่มสูงขึ้น ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในมิตินี้ เช่น ศาลเล็งตรวจสุขภาพจิตของผู้พิพากษาประจําปี เป็นต้น
33 กฎหมายให้มีการประเมินสิ่งแวดล้อมเพื่ออนุญาตให้สร้างคอนโดมิเนียมในชุมชนได้ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การลงทุนในบริบท เป็นการลงทุนที่ให้ความสําคัญกับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของมนุษย์เป็น อย่างมากจึงเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้มีการดูแลรักษา ฟื้นฟู และใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ในมิตินี้ เช่น กฎหมายให้มีการประเมินสิ่งแวดล้อมเพื่ออนุญาตให้สร้างคอนโดมิเนียมในชุมชนได้ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล เป็นต้น
34 องค์การปกครองท้องถิ่นจัดงบประมาณให้แจกนมแก่สตรีที่ฝากครรภ์ ณ สถานีอนามัยของตําบลได้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การลงทุนในตัวมนุษย์ (Investment) เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ให้ความสําคัญกับเรื่องต่อไปนี้
1 สุขภาพ (Health) เป็นการลงทุนเกี่ยวกับการป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ เช่น องค์การปกครองท้องถิ่นจัดงบประมาณให้แจกนมแก่สตรีที่ฝากครรภ์ ณ สถานีอนามัยของ ตําบล เป็นต้น
2 การศึกษา (Education) เป็นการลงทุนเกี่ยวกับการส่งเสริมความรู้ภาคบังคับหรือความรู้พื้นฐานในการดํารงชีวิต ความรู้ด้านอาชีพ และความรู้ด้านจิตภาพหรือศาสนา เช่น การจัดหลักสูตรวิชาชีพให้คนว่างงาน เป็นต้น
3 สุขอนามัย (Hygiene) เป็นการลงทุนเกี่ยวกับสุขาภิบาลหรือความสะอาดของสิ่งแวดล้อมและการจัดหาน้ำดื่มที่สะอาดให้แก่ประชาชน เช่น การขุดบ่อน้ำบาดาลให้กับชุมชนในหมู่บ้าน เป็นต้น
35 รัฐบาลแจกหนังสือเช่าที่ทํากินให้ชาวบ้านอุทัยธานีฟรี 30 ปี
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การให้ประโยชน์คืนกลับ (Provision) เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ให้ความสําคัญกับเรื่องต่อไปนี้
1 การเข้าถึงสินค้าและบริการของรัฐในด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการได้อย่างเท่าเทียมกัน
2 การจ่ายค่าจ้างที่เป็นธรรมและเหมาะสมกับค่าครองชีพตามสภาวะเศรษฐกิจ
3 การสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนในยามจําเป็นเพื่อให้มีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น กรณีประสบภัยทางธรรมชาติ ไม่มีที่ทํากิน ไม่มีที่อยู่อาศัย เป็นต้น
4 การให้สวัสดิการสังคมเพื่อคุ้มครองและสร้างความมั่นคงในชีวิตในรูปของกฎหมายและการประกันแบบต่าง ๆ เช่น พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข, พ.ร.บ. คู่ชีวิตฉบับร่างของประชาชน, ประกันการว่างงาน, ประกันรายได้, ประกันสังคม,ประกันชีวิต, ประกันอุบัติเหตุ, ประกันสุขภาพ และประกันภัย
ตั้งแต่ข้อ 36 – 40 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิตระบบคุณธรรม (Merit System) เรื่องใดดังต่อไปนี้
(1) หลักความรู้ความสามารถ
(2) หลักความเชื่อถือศรัทธา
(3) หลักจริยธรรม
(4) หลักคุณธรรม
(5) หลักความเป็นตัวแทน
36 “ประยุทธ์” โดดอุ้ม “มีชัย” ยืนยันร่าง รธน. ได้คณะทํางานที่มีความสามารถและสกัดคนโกงเข้าสู่อํานาจได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักความรู้ความสามารถ (Capacity) คือ การมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคคล โดยเน้นการบรรจุแต่งตั้งตามวุฒิการศึกษาและความชํานาญเฉพาะด้าน และมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิด ระบบคุณธรรมในเรื่องนี้ เช่น “ประยุทธ์” โดดอุ้ม “มีชัย” ยืนยันร่าง รธน. ได้คณะทํางานที่มี ความสามารถและสกัดคนโกงเข้าสู่อํานาจได้ เป็นต้น
37 นายทหารชั้นผู้ใหญ่บางคนยืนยันว่าที่ต้องปฏิรูปวงการตํารวจเพราะมีการซื้อขายตําแหน่งกันจริง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักความเชื่อถือศรัทธา (Creditial) คือ การที่บุคคล กลุ่มบุคคล องค์การหรือสถาบันได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากการรักษาคําพูด การยึดถือกฎระเบียบและวินัยในการ ปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม รวมทั้งการมีความรู้ ความสามารถอย่างดีเลิศในสาขาอาชีพต่าง ๆ ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามแนวคิดระบบคุณธรรมในเรื่องนี้ เช่น นายทหารชั้นผู้ใหญ่บางคนยืนยันว่าที่ต้องปฏิรูปวงการตํารวจเพราะมีการซื้อขายตําแหน่งกันจริง เป็นต้น
38 พฤติกรรมของผู้พิพากษาสตรีท่านหนึ่งที่ปรากฏในสื่อสังคมทําให้ประชาชนมีข้อกังวลเกี่ยวกับความเที่ยงของคําตัดสินคดีในอดีต
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักจริยธรรม (Ethic) คือ มาตรฐานของวิชาชีพ หรือหลักความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละสาขาวิชาชีพกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก ซึ่งอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดระบบคุณธรรมในเรื่องนี้ เช่น พฤติกรรมของผู้พิพากษาสตรีท่านหนึ่งที่ปรากฏในสื่อสังคมทําให้ประชาชนมีข้อกังวลเกี่ยวกับความเที่ยงของคําตัดสินคดีในอดีต เป็นต้น
39 กฎหมายที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนควรได้รับความเห็นชอบหรือผ่านการพิจารณาของสภาเยาวชนระดับจังหวัด
ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักความเป็นตัวแทน (Representative) คือ การมีบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การหรือสถาบัน ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่ดําเนินการในเรื่องต่าง ๆ แทนกลุ่มคนในสังคม ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดระบบคุณธรรมในเรื่องนี้ เช่น กฎหมาย ที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนควรได้รับความเห็นชอบหรือผ่านการพิจารณาของสภาเยาวชนระดับจังหวัด เป็นต้น
40 กฎหมายที่ระบุโทษแก่ผู้ที่พบเห็นผู้ประสบอุบัติเหตุแล้วไม่เข้าช่วยเหลือมีเป้าหมายเพื่อรักษาหลักการใด
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักคุณธรรม (Merit) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่กระทําแล้วเป็นคุณประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดระบบคุณธรรมในเรื่องนี้ เช่น กฎหมายที่ระบุโทษแก่ผู้ที่พบเห็นผู้ประสบอุบัติเหตุแล้วไม่เข้าช่วยเหลือ เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 41 – 45 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักแนวคิดเรื่องใดตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
(1) การวางหลักการจัดระเบียบความสามารถ
(2) การกระจายอํานาจ
(3) วางมาตรการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
(4) ปรับปรุงระบบค่าตอบแทนและการเกษียณอายุ
(5) ปรับปรุงระบบจรรยาและวินัย
41 อดีตอธิบดีกรมการปกครองร้องต่อคณะกรรมการคุณธรรมกรณีถูกสั่งย้าย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การวางมาตรการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2551 มีดังนี้
1 กําหนดให้คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ซึ่งเป็นองค์กร ถึงตุลาการและเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร ทําหน้าที่พิจารณาเรื่องการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ของข้าราชการในกรณีที่ข้าราชการถูกสั่งลงโทษทางวินัยหรือได้รับการปฏิบัติจากผู้บังคับบัญชา (เช่น การแต่งตั้งโยกย้าย) อย่างไม่เป็นธรรม
2 การจัดให้มีศาลปกครองรับเรื่องด้านการ บริหารงานบุคคล ฯลฯ
42 การบรรจุผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ระดับอธิบดีมีอํานาจบรรจุได้ ตอบ 2 (คําบรรยาย) การกระจายอํานาจตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้
1 กําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หรือกรม เป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุแต่งตั้งข้าราชการ เช่น อธิบดีมีอํานาจสั่งบรรจุแต่งตั้งผู้ชํานาญการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นต้น
2 กําหนดให้หน่วยงานระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับจังหวัด ดําเนินการจัดสอบแข่งขันเพื่อเลือกสรรบุคคลบรรจุเข้ารับราชการได้เอง
3 การให้อํานาจโอนย้ายบุคลากรทั้งจากภายในและภายนอกกระทรวงได้ ฯลฯ
43 เน้นการตรวจสอบทั้งความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะในวิชาชีพ ตอบ 1 (คําบรรยาย) การวางหลักการจัดระเบียบความสามารถตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้
1 กําหนดให้การสรรหาข้าราชการเน้นการตรวจสอบทั้งความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะในวิชาชีพ
2 การให้ทางราชการได้ประโยชน์จากการมีข้าราชการที่มีความรู้และความสามารถ ฯลฯ
44 กําหนดจําแนกกลุ่มอาชีพออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การปรับปรุงระบบค่าตอบแทนและการเกษียณอายุตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้
1 การจําแนกกลุ่มอาชีพเป็น 4 กลุ่มใหญ่ (Cluster) และกําหนดบัญชีเงินเดือนเป็น 4 บัญชี ซึ่งแต่ละบัญชีใช้เฉพาะสําหรับตําแหน่งแต่ละประเภท
2 กําหนดให้มีเงินเพิ่มใหม่อีก 2 ประเภท คือ ตามพื้นที่และตามสายงาน
3 กําหนดให้สามารถขยายเวลารับราชการหรือเวลาทํางานไปจนถึง 65 ปี หรือ 70 ปี ได้ตามความเหมาะสมกับลักษณะงาน ฯลฯ
45 กําหนดสิ่งที่ข้าราชการต้องปฏิบัติและข้อห้ามการปฏิบัติ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การปรับปรุงระบบจรรยาและวินัยตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้
1 กําหนดสิ่งที่ข้าราชการต้องปฏิบัติและข้อห้ามการปฏิบัติออกจากกันเป็นคนละส่วนอย่างชัดเจน
2 กําหนดให้ส่วนราชการแต่ละแห่งเป็นผู้กําหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการเพื่อใช้ :บังคับเฉพาะข้าราชการในสังกัดส่วนราชการนั้นเท่านั้น ฯลฯ
ตั้งแต่ข้อ 46 – 50 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงหลักการในการจัดระบบการศึกษาของประเทศไทยในเรื่องใดดังต่อไปนี้
(1) การศึกษาพื้นฐาน
(2) การศึกษาวิชาชีพ
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย
(4) การศึกษาอุดมศึกษา
(5) การศึกษาของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
46 การตั้งกองทุนให้กู้ยืมและการจัดสรรทุนให้ศึกษาต่อในระดับสูง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การศึกษาอุดมศึกษา เป็นการศึกษาที่เรียนภายหลังจากจบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้วซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาหรือการศึกษาระดับประกาศนียบัตร หรืออนุปริญญา และการศึกษาระดับปริญญา (ตรี โท เอก) การศึกษาอุดมศึกษานี้รัฐบาลไม่ได้ ให้เงินอุดหนุนและไม่ได้มีการบังคับให้เรียน แต่เป็นความสนใจของผู้เรียนที่ต้องการเรียนในระดับ ที่สูงขึ้นเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในสาขาวิชาการเฉพาะทางให้มีความชํานาญยิ่งขึ้น ผู้ศึกษาจึงต้องใช้ทุนตัวเองในการเรียน ดังนั้นจึงมีการจัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมและการจัดสรรทุนในลักษณะต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลนได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับสูง ๆ มากขึ้น
47 การจัดเงินอุดหนุนให้กับโรงเรียนเอกชนตามจํานวนการจ้างครูผู้สอน ตอบ 1 (คําบรรยาย) การจัดเงินอุดหนุนให้กับโรงเรียนเอกชนเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่กําหนดให้รัฐต้องจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่โรงเรียนเอกชนเป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลแก่ผู้เรียนการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยเท่าเทียมกันกับโรงเรียนรัฐ
48 การจัดให้มีการศึกษาตามความสนใจของผู้ต้องขังของกรมราชทัณฑ์ ตอบ 5 (คําบรรยาย) การศึกษาของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เป็นการศึกษาที่จัดให้แก่กลุ่มคนที่ด้อยโอกาสทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย วัฒนธรรม รวมถึงผู้ที่ขาดโอกาสที่จะเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ ได้แก่ คนพิการ ชาวเขา ผู้เร่ร่อน ผู้ต้องขัง ฯลฯ เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้รับความเสมอภาคทางการศึกษา
49 โครงการจัดเตรียมความพร้อมให้กับข้าราชการก่อนการเกษียณ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การศึกษาวิชาชีพ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพโดยส่วนใหญ่มักจัดขึ้นโดยกระทรวงแรงงานเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถประกอบอาชีพได้ ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการในการจัดระบบการศึกษาของประเทศไทยในเรื่องนี้ เช่น โครงการจัดเตรียมความพร้อมให้กับข้าราชการก่อนการเกษียณ เป็นต้น
50 รัฐจัดให้มีการรับรองเทียบโอนได้กรณี Home School
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการในการจัดระบบการศึกษาของประเทศไทยในเรื่องนี้ เช่น รัฐจัดให้มีการรับรองเทียบโอนได้กรณี Home School เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 51 – 55 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ตําแหน่งประเภทวิชาการ
(2) ตําแหน่งประเภทบริหาร
(3) ตําแหน่งประเภททั่วไป
(4) ตําแหน่งประเภทอํานวยการ
(5) ตําแหน่งประเภทผสม
51 ระดับปฏิบัติการ
ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 46) ระดับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้
1 ตําแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
2 ตําแหน่งประเภทอํานวยการ มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
3 ตําแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ
4 ตําแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโสและระดับทักษะพิเศษ
52 ระดับปฏิบัติงาน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ
53 ระดับชํานาญงาน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ
54 ระดับชํานาญการ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ
55 อธิบดี ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้
1 หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ได้แก่ ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และปลัดกระทรวง
2 รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ได้แก่ รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และรองปลัดกระทรวง
3 หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ได้แก่ อธิบดี
4 หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เป็นต้น
5 ผู้ว่าราชการจังหวัด
6 เอกอัครราชทูต ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ)
ตั้งแต่ข้อ 56 – 60 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay) (2) สภาพตลาดแรงงาน (Condit on of Labor Market)
(3) ขึ้นอยู่กับอิทธิพลอํานาจการต่อรอง (Collective Bargaining)
(4) อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate)
(5) ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพ (Cost of Living)
56 ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ
ตอบ 5 หน้า 85 (คําบรรยาย) ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพหรือค่าครองชีพ (Cost of Living) หมายถึง การจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างพอที่จะใช้จ่ายให้สามารถ ดํารงชีวิตอยู่ได้ด้วยความราบรื่นหรือพอกินพอใช้ โดยมีการปรับอัตราค่าจ้างให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าครองชีพ เช่น ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำรัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้ เป็นต้น
57 รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ
58 สหภาพแรงงานรวมตัวกันเหนียวแน่นก็มีพลังอํานาจกําหนดค่าจ้าง ตอบ 3 หน้า 86, (คําบรรยาย) อํานาจการต่อรอง (Collective Bargaining) หมายถึง อํานาจในการเจรจาต่อรองของแต่ละฝ่ายระหว่างสหภาพแรงงานกับนายจ้างเกี่ยวกับการกําหนดค่าจ้างและ เงื่อนไขการจ้างหรือการทํางาน ซึ่งหากสหภาพแรงงานรวมตัวกันได้เหนียวแน่นมากเท่าไร พลังอํานาจการเจรจาต่อรองในการกําหนดค่าจ้างก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น
59 ปีนี้ธนาคารบางแห่งจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 16 เดือน
ตอบ 1 หน้า 85 – 86, (คําบรรยาย) ปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay) หมายถึง ความสามารถของนายจ้างที่จะจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งความสามารถในการจ่ายของแต่ละบริษัท มักจะได้รับผลกระทบ โดยตรงจากสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ ความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน ทางอุตสาหกรรม ตลอดจนความมั่นคงที่ปรากฏตามลักษณะภูมิประเทศที่หน่วยงานนั้นตั้งอยู่ เช่น ปีนี้ธนาคารบางแห่งจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 16 เดือน เป็นต้น
60 บริษัทหลายแห่งได้กําหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับปฏิบัติการ วุฒิปริญญาตรี
ตอบ 4 หน้า 84 85, (คําบรรยาย) อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate) หมายถึง อัตราค่าจ้างในสังคมที่เขาจ้างกันทั่ว ๆ ไป หรืออัตราค่าจ้างขององค์การเราที่จ่ายตามอัตราค่าจ้างขององค์การ อื่น ๆ ที่จ่ายให้แก่พนักงานที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน หรือทํางานประเภทเดียวกัน เช่น บริษัท หลายแห่งได้กําหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับปฏิบัติการ วุฒิปริญญาตรี เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ใบสมัครงาน (Application Blank)
(2) การสัมภาษณ์ (Interview)
(3) การตรวจร่างกาย (Physical Check)
(4) การทดสอบ (Employment Test)
(5) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview)
61 เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้มากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 64, 66, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกที่นิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่ในอดีต เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์หรือ ผู้สมัครได้พูดคุยและช้าถามข้อมูลของกันและกัน จึงทําให้สามารถที่จะวัดพฤติกรรม บุคลิกภาพประสบการณ์ วิสัยทัศน์ อารมณ์และจิตใจของผู้สมัครได้เป็นอย่างดี
62 เป็นเครื่องมือที่วัดพฤติกรรม วัดบุคลิกภาพ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ
63 การสอบถามคุณสมบัติเฉพาะและคุณสมบัติทั่วไป
ตอบ 5 หน้า 64 65, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview) เป็นขั้นตอนการกลั่นกรองบุคคลที่เห็นได้ชัดว่ามีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่ต้องการอย่างแน่นอน ซึ่งอาจจะกระทําโดยการสอบถามคุณสมบัติเฉพาะและคุณสมบัติทั่วไป หรือให้กรอกข้อมูลเบื้องต้น ณ ห้องรับใบสมัคร ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการที่จะรับคนที่ขาดคุณสมบัติหรือมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมเข้ามาตั้งแต่ต้น
64 เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน
ตอบ 3 หน้า 64, 68 การตรวจร่างกาย (Physical Check/Examination) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดเจนว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพื่อ ปฏิเสธคนที่มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน และเพื่อป้องกันการรับบุคคลที่มีโรคติดต่อต้องห้าม เข้ามาทํางานด้วย
65 เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความรู้
ตอบ 4 หน้า 64 – 66, (คําบรรยาย) การทดสอบ (Employment Test) เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกที่ใช้วัดความรู้ความสามารถของผู้สมัครที่เกี่ยวข้องและจําเป็นสําหรับการทํางาน เช่น ความถนัดทักษะ สติปัญญา (I.Q.) การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น (E.Q.) เป็นต้น ”
ตั้งแต่ข้อ 66 – 70 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน
(2) ผู้ใต้บังคับบัญชา
(3) ประเมินตนเอง
(4) ผู้บังคับบัญชา
(5) เพื่อนร่วมงาน
66 มหาวิทยาลัยให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละภาค
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ให้บุคคลภายนอกองค์การเป็นผู้ประเมินท เช่น มหาวิทยาลัยให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละ ภาคการศึกษา, การประเมินผลการทํางานของรัฐบาลโดยประชาชน, บริษัทโตโยต้าให้ผู้มาติดต่อซ่อมรถเป็นผู้ประเมินผลการให้บริการของพนักงาน เป็นต้น
67 การประเมินผลการทํางานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ต้องทําในสายการบังคับบัญชาทั้งนี้เพราะผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา จึงเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและรู้เรื่องเกี่ยวกับบุคลากรที่อยู่ในบังคับบัญชาได้ดีที่สุด ซึ่งวิธีการนี้นิยมใช้กันมาก ในระบบราชการไทย เช่น การประเมินผลการทํางานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน เป็นต้น
68 ผู้ประเมินบางคนมักไม่กล้าประเมินหรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินเกินความเป็นจริง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่มีข้อดี คือ สามารถให้ภาพพจน์เกี่ยวกับตัวผู้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดีว่าผู้บังคับบัญชามีความสามารถในการ ติดต่อสื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างไร เคยมอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือไม่ แต่มีข้อเสีย คือ ผู้ใต้บังคับบัญชาบางคนมักไม่กล้าประเมินผู้บังคับบัญชา หรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินผู้บังคับบัญชาออกมาดีเกินความเป็นจริง
69 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การให้เพื่อนร่วมงานเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ให้เพื่อนร่วมงานที่อยู่ในระดับเดียวกันต่างประเมินซึ่งกันและกัน โดยมักจะใช้กับกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่มีความคุ้นเคยกัน ทํางานร่วมกันมานานพอสมควร และงานที่ทําจะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกรรมาธิการ, สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน โดยลงคะแนนลับ เป็นต้น
70 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกรรมาธิการ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 71 – 75 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training) (2) การฝึกอบรมแบบฝึกปฏิบัติงานจริง (On-the-Job Training) (3) การฝึกอบรมแบบจําลอง (Simulation Training)
(4) การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training)
(5) การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training)
71 ใช้ฝึกอบรมนักบิน
ตอบ 3 หน้า 140 – 141, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบจําลอง (Simulation Training) เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้มีโอกาสใช้อุปกรณ์เครื่องมือและกระบวนการที่เป็นแบบจําลองซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกับสิ่งต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในการทํางานจริง เช่น การฝึกอบรมนักบินหรือการฝึกอบรมผู้ใช้เครื่องจักรกลขนาดหนัก เป็นต้น
72 แจ้งถึงเงื่อนไขการจ้างงาน
ตอบ 4 หน้า 127 – 128 การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training) เป็นวิธีการที่มีความเหมาะสมและนิยมใช้กับพนักงานที่เข้าทํางานใหม่ โดยเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแนะนํา ให้พนักงานใหม่ได้รับความรู้ข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์การหรือสถานที่ทํางาน เช่น ประวัติขององค์การ ผู้บริหารและระบบการบริหารงาน ความก้าวหน้าในงาน เงื่อนไข การจ้างงาน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขจัดข้อสงสัยและความกังวลใจของพนักงานใหม่ให้หมดไป ตลอดจนช่วยให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์การได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่และเป็นประโยชน์ต่อองค์การในท้ายที่สุด
73 บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวะช่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้า
ตอบ 1 หน้า 139 – 140, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training) เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้รับความรู้และทักษะทางด้านช่างฝีมือในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ จนกระทั่งมีฝีมือสามารถออกไปประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ
1 สมัครเป็นลูกมือช่างที่ตนสนใจ
2 สมัครเป็นช่างฝึกหัดโครงการช่างฝึกหัดทวิภาคีระหว่างสถาบันการศึกษากับสถานประกอบการ เช่น บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวะซ่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้า เป็นต้น
74 ต้องมีการแนะนําประวัติขององค์การ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ
75 เป็นเทคนิคที่นิยมใช้อบรมผู้บริหาร
ตอบ 5 หน้า 142 การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training) เป็นวิธีการที่มีการกําหนดรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในองค์การ และให้ผู้เข้าฝึกอบรมทําการศึกษารายละเอียด ของข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมดในกรณีศึกษา พร้อมกับกําหนดปัญหาและนําเสนอแนวทางการ แก้ไขปัญหา แล้วเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนํามาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งถือเป็นเทคนิคที่นิยมใช้ ในการฝึกอบรมผู้บริหาร
ตั้งแต่ข้อ 76 – 85 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)
(2) การออกแบบงาน (Job Design)
(3) การประเมินค่างาน (Job Evaluation)
(4) การกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification)
(5) การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)
76 จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน (Equal Work for Equal Pay)
ตอบ 3 หน้า 16, 75, 81 การประเมินค่างาน (Job Evaluation) คือ กระบวนการที่ทําขึ้นเพื่อเปรียบเทียบค่าของงานต่าง ๆ ในองค์การ เพื่อนํามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกําหนดค่าตอบแทนที่ยุติธรรมกับงานตามหลักการที่ว่า “จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน” (Equal Work for Equal Pay) ซึ่งวิธีนี้จะทําให้เกิดความยุติธรรมภายใน (Internal Equity)ในการกําหนดค่าจ้างและผลตอบแทนให้แก่บุคลากรทุกคนที่อยู่ภายในองค์การเดียวกัน
77 สามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางานตอบ 2 หน้า 16 การออกแบบงาน (Job Design) ที่ดี นอกจากจะทําให้บุคคลทํางานได้อย่างเต็มความสามารถแล้ว ยังสามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางานให้น้อยลงได้อีกด้วย
78 เอาไปใช้ออกแบบงาน (Job Design)
ตอบ 5 หน้า 14 – 17 ประโยชน์ของการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ด้านทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้
1 ใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบงาน (Job Design)
2 ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
3 ใช้เป็นข้อมูลในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร
4 ใช้เป็นข้อมูลในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร
5 ใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลการทํางาน
6 ใช้เป็นข้อมูลในการกําหนดค่าตอบแทน ฯลฯ
79 ข้อมูลที่ต้องใช้ทําคือ กิจกรรมของงาน พฤติกรรมของบุคคล เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และเนื้อหาของงาน
ตอบ 5 หน้า 13 – 14 ข้อมูลที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) มีดังนี้
1 กิจกรรมของงาน (Work Activities)
2 พฤติกรรมของบุคคล (Human Behavior)
3 เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องช่วยสนับสนุนการทํางาน (Machine, Tool, Equipment and Work Aids Used)
4 มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Performance Standards)
5 เนื้อหาของงาน (Job Context)
6 ความต้องการบุคลากร (Personnel Requirements)
80 ความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) เกิดจาก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ
81 ได้ข้อมูลมาจากความรู้ ทักษะ และความสามารถ
ตอบ 4 หน้า 12 – 13, (คําบรรยาย) การกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification) เป็นรายละเอียดของคุณสมบัติเฉพาะของพนักงานซึ่งใช้ในการทํางานเฉพาะอย่างเพื่อให้งาน ประสบความสําเร็จ เช่น การกําหนดให้ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตํารวจต้องจบ ปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่นํามาใช้ในการกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงานมาจากความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และความสามารถ (Abilities)
82 การอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง ระบุหน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง
ตอบ 1 หน้า 12 – 13 คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description) เป็นการอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง โดยระบุชื่อตําแหน่งงาน คําสรุปเกี่ยวกับงาน หน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง และความสัมพันธ์กับงานอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลในคําบรรยายลักษณะงานได้มาจากงาน (Task) ความรับผิดชอบ (Responsibilities) และหน้าที่ (Duties)
83 เป็นกระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงาน
ตอบ 5 หน้า 11 ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ กล่าวว่า การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) หมายถึง กระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกระบวนการนี้จะทําให้ฝ่ายจัดการทราบว่าจะต้องใช้ความรู้ความสามารถ ความชํานาญและความรับผิดชอบอย่างไร ผู้ปฏิบัติงานจึงจะทํางานนั้นให้สําเร็จลงได้
84 ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตํารวจต้องจบปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ
85 ได้ข้อมูลมาจากงาน ความรับผิดชอบ และหน้าที่
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 86 – 90 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์
(2) พ.ร.บ. เงินทดแทน
(3) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน
(4) พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
(5) พ.ร.บ. ประกันสังคม
86 ค่าชดเชยกรณีออกจากงาน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายที่กําหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้างงานที่ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติต่อลูกจ้าง และรัฐให้ความคุ้มครองตามกฎหมาย โดยสาระสําคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ได้แก่ การกําหนดวันและเวลาทํางาน วันหยุด วันลา การพักงาน อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การทํางานล่วงเวลา ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานและค่าล่วงเวลา ในวันหยุด การใช้แรงงานหญิงและแรงงานเด็ก การจ่ายค่าชดเชยกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานหรือเลิกจ้าง เป็นต้น
87 การเบิกเงินกรณีเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทํางาน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ได้บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้น เพื่อทําหน้าที่จ่ายเงินทดแทนแทนนายจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพหรือ ตายอันเนื่องมาจากการทํางาน โดยกําหนดให้นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน แต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่ลูกจ้างและรัฐบาลไม่ต้องจ่าย
88 ผู้ประกันตนเบิกเงินค่าคลอดบุตร
ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 กําหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมในกรณีดังต่อไปนี้
1 กรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายอันมิใช่เนื่องมาจากการทํางาน
2 กรณีคลอดบุตร
3 กรณีสงเคราะห์บุตร
4 กรณีชราภาพ
5 กรณีว่างงาน
89 สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง และสภาองค์การนายจ้าง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นกฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับกับวิสาหกิจเอกชนในปัจจุบัน โดยจะกําหนดสาระสําคัญเกี่ยวกับสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การลูกจ้าง สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง สภาองค์การนายจ้าง สภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การเรียกร้องให้มีการกําหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สภาพการจ้าง ข้อพิพาทแรงงาน การเจรจาต่อรอง การปิดงานและการนัดหยุดงาน ตลอดจนการกระทําอันไม่เป็นธรรม
90 ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในกรุงเทพฯ วันละ 300 บาท
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 91 – 95 สะท้อนถึงหลักการในการประเมินผลการปฏิบัติงานในเรื่องใด
(1) กําหนดแบบและลักษณะคนที่ประเมิน
(2) กําหนดตัวผู้ประเมิน
(3) การนําผลที่ได้จากการประเมินไปใช้
(4) กําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน
(5) กําหนดวิธีการประเมิน
91 ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติให้นโยบายแก่ข้าราชการตํารวจให้นายตํารวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทํางานถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน
ตอบ 5 หน้า 166 – 167, (คําบรรยาย) การกําหนดวิธีการประเมินมีหลายวิธีแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ดังนี้
1 การประเมินคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ความสามารถในการตัดสินใจ ความคิดริเริ่มการปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่น ฯลฯ
2 การประเมินพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ตั้งใจทํางานหรือปฏิบัติหน้าที่ รอบคอบ รวดเร็ว ว่องไว เฉื่อยชา อดทน สุภาพ หรือเจ้าโทสะ ฯลฯ เช่น รักษาการผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ ให้นโยบายแก่ข้าราชการตํารวจให้นายตํารวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทํางาน ถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน เป็นต้น
92 การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนกระทําปีละ 2 ครั้ง
ตอบ 3 หน้า 167, (คําบรรยาย) การนําผลที่ได้จากการประเมินไปใช้ เป็นการนําผลการวิเคราะห์รายงานจากแบบประเมินผลที่ผู้ประเมินได้ประเมินไว้ไปใช้ประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับ ผู้ที่ถูกประเมินผู้นั้นตลอดเวลาที่ยังปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงาน เช่น การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเต็ม ของข้าราชการพลเรือนกระทําปีละ 2 ครั้ง เป็นต้น
93 คณบดีคณะรัฐศาสตร์ทําหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงให้นักศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์
ตอบ 4 หน้า 163 164, (คําบรรยาย) การกําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน เป็นการบอกถึงเหตุผลและความจําเป็นของการประเมินผลว่ามีการประเมินไปเพื่ออะไร โดยจะต้องชี้แจงหรือแจ้งให้ ผู้ถูกประเมินและผู้ทําการประเมินทราบถึงหลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์ของการประเมิน ก่อนทําการประเมิน เช่น คณบดีคณะรัฐศาสตร์ทําหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์ เป็นต้น
94 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน
ตอบ 2 หน้า 166, (คําบรรยาย) การกําหนดตัวผู้ประเมิน เป็นการกําหนดตัวผู้ที่จะทําการประเมินให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ถูกประเมิน ซึ่งปกติตัวผู้ประเมินมักจะได้แก่ ผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้างานผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกน้อง ลูกค้า ตนเอง และเพื่อนร่วมงาน เช่น สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการคณะต่าง ๆ หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน โดยลงคะแนนลับ เป็นต้น
95 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการคณะต่าง ๆ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 94 ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 96 – 100 เป็นปรากฏการณ์ที่สอดคล้องกับการรักษาวินัยให้กับข้าราชการในเรื่องใด
(1) การดําเนินการทางวินัย
(2) การเยียวยา
(3) การส่งเสริมให้มีวินัย
(4) การดูแล
(5) การป้องกัน
96 การให้ผู้ที่กระทําผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทําความสะอาดตู้โทรศัพท์
ตอบ 2 หน้า 175 176, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การเยียวยา” หมายถึง การแก้ไขและบํารุงหรือส่งเสริมให้มีวินัยดีขึ้น โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้อง เยียวยาแก้ไขให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีวินัยดีขึ้น เช่น การให้ผู้ที่กระทําผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทําความสะอาดตู้โทรศัพท์ เป็นต้น
97 ผู้กํากับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่
ตอบ 5 หน้า 175, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การป้องกัน” หมายถึง การกระทําในทางที่จะขจัดเหตุที่ทําให้ข้าราชการกระทําผิดวินัย ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้อง คอยระมัดระวังมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทําผิดวินัย โดยอาจใช้วิธีการขู่ผู้ที่จะกระทําผิดวินัยให้เกิดความกลัว เช่น ผู้กํากับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่ เป็นต้น
98 การเข้าตรวจเยี่ยมกําลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้าจะช่วยให้ทหารอยู่ในระเบียบการแต่งกายและรักษาสถานที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อยู่เสมอ
ตอบ 4 หน้า 174 – 175, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การดูแล” หมายถึง การสอดส่องกํากับตรวจตรา โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ให้อยู่ในระเบียบวินัย เช่น ผู้กํากับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทํางานถูกต้อง ตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน หรือการเข้าตรวจเยี่ยมกําลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้า เป็นต้น
99 ผู้กํากับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทํางานถูกต้องตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 98 ประกอบ
100 อธิบดีกรมสรรพากรถูกปลดออกจากราชการฐานละเลยต่อหน้าที่กรณีขายหุ้นชิน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การดําเนินการทางวินัยในขั้นตอนการสั่งลงโทษ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
2 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบ การพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก