การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3302 การวางแผนในภาครัฐ

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ปัญหาโครงสร้างของปัญหาไม่ชัดเจน หมายถึง

(1) จํานวนบุคลากรที่เข้ามาบริหารนโยบาย

(2) เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย

(3) ลักษณะในทางภูมิศาสตร์

(4) ค่านิยมของคนในสังคม

(5) วัสดุอุปกรณ์ที่จะนํามาใช้กับนโยบาย

ตอบ 4 หน้า 10, (คําบรรยาย) ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน (Ill-Structured Problem) หมายถึง ปัญหาที่เป็นค่านิยมของคนในสังคม ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับผู้คนจํานวนมาก เป็นปัญหาที่มีทางออกได้หลายหนทาง โดยแต่ละหนทางไม่สามารถมองเห็นผลประโยชน์ได้ชัดเจนจึงเป็นที่ถกเถียงกันได้และมีผลลัพธ์ที่ไม่แน่นอน

2 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเน้นหลักในด้านใดบ้าง

(1) เศรษฐกิจ การจัดการ เทคโนโลยี

(2) สังคม เศรษฐกิจ การเมือง

(3) เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การเมือง

(4) ผลตอบแทน สิ่งแวดล้อม การเมือง

(5) การเงิน การคลัง เทคโนโลยี และการจัดการ

ตอบ 1 หน้า 42 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) มักจะประเมินเพียงตัวแปรหลัก ๆ ดังนี้

1 ด้านเศรษฐกิจ ความคุ้มทุนหรือผลตอบแทนของโครงการ (นิยมประเมินในด้านนี้เป็นประจํา)

2 ด้านการบริหารหรือการจัดการ

3 ด้านเทคนิค เช่น สถานที่ตั้ง วัตถุดิบ และเทคโนโลยีของโครงการ

4 ด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการ

3 การทํา Feasibility ของโครงการมีจุดมุ่งหมายสําคัญเพื่อสิ่งใด

(1) เพื่อดูความพร้อมของโครงการ

(2) เพื่อประเมินผลที่เกิดจากโครงการ

(3) เพื่อตระเตรียมการแก้ปัญหาแต่เนิ่น ๆ

(4) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของโครงการ

(5) เพื่อประเมินโอกาสในการบรรลุผลสําเร็จของโครงการ

ตอบ 5 หน้า 40 – 42, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินโครงการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 การวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงการ (Program/Project Analysis) เป็นเทคนิคการวิเคราะห์และประเมินโครงการในระบบปิด ซึ่งจะให้ความสําคัญกับปัจจัยภายในองค์การ/โครงการเป็นหลัก โดยจะนําเอาโครงการที่มีอยู่ทั้งหมดมาทําการวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงข้อดีข้อด้อยของแต่ละโครงการ เพื่อเลือกเอาโครงการที่ดีที่สุด ซึ่งเหมาะสําหรับโครงการที่ไม่เร่งด่วน

2 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) เป็นเทคนิคการวิเคราะห์และประเมินโครงการในระบบเปิด ซึ่งจะให้ความสําคัญกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่มากระทบ โครงการโดยจะนําเอาโครงการที่ได้เลือกสรรไว้แล้วเพียงโครงการเดียวมาทําการศึกษาถึง ความเป็นไปได้ เพื่อประเมินโอกาสในการบรรลุผลสําเร็จของโครงการว่ามีโอกาสที่จะประสบผลสําเร็จมากน้อยเพียงใด ซึ่งมักจะใช้ในกรณีที่เป็นโครงการเร่งด่วน

4 ข้อใดมิใช่ภารกิจที่สําคัญในการประเมินโครงการ

(1) การวิเคราะห์ความอยู่รอดของโครงการ

(2) การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการ

(3) การคาดคะเนสิ่งแวดล้อมในอนาคตของโครงการ

(4) การทําความเข้าใจกับตัวโครงการให้ถ่องแท้

(5) การวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นว่าโครงการเหมาะสมที่สุดหรือยัง

ตอบ 1 หน้า 39 – 40, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินโครงการ มีความหมายเป็น 2 ลักษณะ คือ

1 เป็นการศึกษาถึงโอกาสความสําเร็จในการดําเนินโครงการ โดยการวิเคราะห์และประเมินหาความเชื่อมั่นว่าตัวโครงการที่ร่างเสร็จแล้วนั้นมีความสมบูรณ์เหมาะสมที่จะนําไปปฏิบัติ ได้จริงหรือไม่ เช่น การวิเคราะห์หรือการคาดคะเนสิ่งแวดล้อมในอนาคตของโครงการ,การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการ

2 เป็นการศึกษาทําความเข้าใจกับตัวโครงการให้ถ่องแท้ โดยการวิเคราะห์จําแนกแยกแยะ เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยและผลที่คาดว่าจะได้รับ หากมีการนําโครงการไปดําเนินการหรือ นําไปปฏิบัติจริง พร้อมกับศึกษาว่าผลที่คาดว่าจะได้รับหรือผลที่จะเกิดขึ้นนั้นเหมาะสมมีคุณค่า มีประโยชน์ สมควรแก่การลงทุนดําเนินโครงการต่อไปหรือไม่

5 การกําหนดโครงการ หมายถึงอะไร

(1) การศึกษาหาความสมบูรณ์ของโครงการที่ร่างเสร็จแล้ว

(2) การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(3) การตรวจสอบข้อมูลของโครงการ

(4) การตรวจสอบผลของการดําเนินโครงการที่ผ่านไปแล้ว

(5) การตรวจสอบความสามารถของผู้ร่างโครงการซ้ำอีกครั้ง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การกําหนดโครงการ หมายถึง การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ หรือการเสาะหาลู่ทางการลงทุนที่ดีและมีความเป็นไปได้ เช่น โครงการงทุนของภาคเอกชนที่มีแววว่า จะสามารถทํากําไร หรือให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่คุ้มค่า และถ้าเป็นโครงการลงทุนของภาครัฐ ก็เป็นโครงการลงทุนที่มีศักยภาพและความสําคัญสูงต่อการแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการและโอกาสในการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ของประเทศ เป็นต้น

6 สถาบันที่มีหน้าที่ริเริ่มกําหนดนโยบายและมีอํานาจอิทธิพลต่อนโยบายมาก คือ

(1) สถาบันทหาร

(2) สถาบันศาล

(3) สถาบันทางรัฐสภา

(4) สถาบันการปกครอง

(5) สถาบันการปกครองท้องถิ่น

ตอบ 4 หน้า 6, (คําบรรยาย) ตัวแบบหรือทฤษฎีสถาบัน (Institution Mode/Theory) เชื่อว่านโยบายสาธารณะนั้นเป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครอง กล่าวคือ นโยบายใด ๆ ก็ตามจะได้ชื่อว่าเป็นนโยบายสาธารณะ ก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองโดยสถาบันแล้วเท่านั้น ซึ่งนโยบายก็มักจะเป็นไปตามที่สถาบันการปกครองกําหนดเองหรือให้ประโยชน์กับสถาบัน การปกครอง ตัวอย่างสถาบันการปกครอง ได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันรัฐสภา สถาบันบริหาร (เช่น นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี) สถาบันราชการ สถาบันตุลาการ (เช่น ศาล) และสถาบันการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น

7 การส่งมอบงานตึก 12 ชั้น คณะรัฐศาสตร์

(1) Policy Formulation

(2) Policy Analysis

(3) Policy Evaluation

(4) Policy Implementation

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 17, (คําบรรยาย) การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนของการแปลงวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ในนโยบาย ซึ่งอาจเป็นกฎหมาย คําสั่ง หรือมติของ คณะรัฐมนตรีให้เป็นแผนงาน โครงการ และกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม โดยจะต้องมีการจัดหา/ การตระเตรียมวิธีการ ตลอดจนทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อดําเนินการให้สําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

8 คํากล่าวที่ว่า “การวางแผน คือ Set of Temporally Linked Actions” เป็นของใคร

(1) José Villamil

(2) ดร.อมร รักษาสัตย์

(3) Albert Waterston

(4) William Dunn

(5) Gulick and Urwick

ตอบ 1 หน้า 25 José Villamil กล่าวว่า “การวางแผนเป็นการกระทําที่เป็นกระบวนการ (Set of Temporalty Linked Actions) ที่นําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ (Desired end State) โดยการตัดสินแต่ละครั้งนั้นมุ่งให้เกิดการรวมชาติหรือการเปลี่ยนแปลง โดยมีการผิดพลาดน้อยที่สุด”

9 ข้อใดเป็นคํากล่าวที่ถูกต้องในเรื่องประเภทของแผน

(1) แผนระยะยาว 5 ปีขึ้นไป

(2) แผนระยะสั้น 3 ปี

(3) แผนระยะปานกลาง 6 ปี

(4) แผนระยะสั้น 4 ปี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 23, (คําบรรยาย การจําแนกประเภทของแผนหรือแผนงาน (Plan) โดยใช้เกณฑ์ระยะเวลา (Time Span) อาจจําแนกได้ดังนี้

1 แผนระยะสั้น เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 – 2 ปี ซึ่งสามารถวางแผนได้ง่าย เนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ

2 แผนระยะปานกลาง เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 2 – 5 ปี ซึ่งนิยมใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศ

3 แผนระยะยาว เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

10 TP. หมายถึง

(1) เวลาที่ผ่านไป

(2) Target Planning

(3) Team Planning

(4) การทํางานเป็นทีม

(5) ทฤษฎีการวางแผน

ตอบ 3 หน้า 34, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบทีมวางแผน (Team Planning : TP.) คือ การวางแผนเป็นทีมที่เน้นหลักการมีส่วนร่วมและการระดมสมอง (Brain Storm) มากที่สุด ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1 ร่วมกันกําหนดเป้าหมาย (Targets) ของหน่วยงานให้ชัดเจนตรงกัน

2 ร่วมกันมองไปในอนาคต (Vision/Scenario)

3 ร่วมกันหาสิ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวางหรือข้อจํากัด (Obstructions) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

4 ร่วมกันกําหนดทางเดินหรือแผนกลยุทธ์ (Strategies) ที่จะต้องไปสู่เป้าหมายให้ได้

5 ร่วมกันกําหนดกลวิธี (Tactics) หรือโครงการให้สอดคล้องกับแผนที่วางไว้

6 ร่วมกันจัดทําแผนปฏิบัติ (Action Plan) ของโครงการ ซึ่งเน้นให้เกิดผลภายใน 90 วัน หรือที่เรียกว่า 90 Day Implementation Plan

11 การศึกษาแนววิเคราะห์นโยบาย ได้มีจุดเริ่มต้นที่ใด

(1) เมื่อ Max Weber ได้ศึกษาระบบราชการ

(2) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

(3) เมื่อ Mayo ได้ทดลองค้นคว้าที่เรียกว่า Howthorne Study (4) เมื่อมีกลุ่มนักทฤษฎีสมัยใหม่

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 6 – 7 การศึกษาแนววิเคราะห์นโยบาย ถือเป็นแนวทางที่นักรัฐประศาสนศาสตร์นิยมใช้กันมาก โดยเป็นการศึกษาที่เน้นการวิเคราะห์โดยทั่วไป (ในภาพรวม) มิใช่เป็นการศึกษารายกรณี และ มีเทคนิควิธีการศึกษาที่ใช้หลักสหวิทยาการหรือหลักการของวิชาการหลายสาขามาศึกษาวิเคราะห์ ซึ่งการศึกษาตามแนวนี้ได้มีจุดเริ่มต้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีหรัฐอเมริกาเป็นผู้ริเริ่ม

12 ข้อมูลที่ต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก คือ

(1) ข้อมูลที่ยังไม่ได้กรอง

(2) ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts)

(3) ข้อมูลที่เป็นความเชื่อ (Value)

(4) ข้อมูลทุกประเภท

(5) ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการของดิน

ตอบ 3 หน้า 11 ข้อมูลในการวางนโยบายหรือแผน อาจจําแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1 ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts) เป็นข้อมูลที่มีลักษณะคงที่ ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ลักษณะของดินฟ้าอากาศ และภูมิศาสตร์

2 ข้อมูลที่เป็นความเชื่อหรือค่านิยม (Values) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับความยึดมั่นเชื่อถือของประชาชน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก

13 นักวิชาการที่กล่าวว่า การวิเคราะห์นโยบายมีจุดสําคัญอยู่ที่การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเป็นสําคัญ คือ

(1) Harry Harty RARE

(2) Walter

(3) Thomas R. Dye

(4) William Dunn

(5) Theodore Poister

ตอบ 5 หน้า 16 Theodore Poister กล่าวว่า “การวิเคราะห์นโยบายมีจุดสําคัญอยู่ที่การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเป็นสําคัญ ดังนั้นจําเป็นต้องมีการศึกษาอย่างจริงจังถึงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาของนโยบายกับผลกระทบทั้งปวงที่จะเกิดขึ้น”

14 แบบอะไรที่ถูกต้องในการวัดประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ของนโยบายหรือแผน

(1) แผนการรายงาน

(2) แผนตรวจงาน

(3) แผนประเมินผลงาน

(4) แบบวิธีทดลอง

(5) แบบการวัดประสิทธิภาพ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การประเมินผลโดยการวัดประสิทธิผล(Effectiveness Evaluation) ของนโยบาย คือ การประเมินผลโดยการพิจารณาว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการดําเนินการตามนโยบายนั้นตรงกับ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 แบบธรรมดาหรือแบบที่ไม่ใช่วิธีการทดลอง

2 แบบวิธีกึ่งทดลอง

3 แบบวิธีทดลอง

15 นโยบายตามตัวแบบสถาบันจะให้ประโยชน์กับใครมากที่สุด

(1) ให้ประโยชน์กับสังคม

(2) ให้คํานึงถึงรัฐสภา

(3) ประโยชน์โดยทั่วไป

(4) ผู้นําและผู้ใกล้ชิด

(5) ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

16 ความเป็นธรรมของนโยบายสามารถวัดได้อย่างไร

(1) วัดจากความพึงพอใจของประชาชนโดยส่วนรวม

(2) วัดจากการกระจายรายได้ของนโยบายสู่ประชาชน

(3) วัดจากประโยชน์ที่มีต่อประชาชนกลุ่มต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน

(4) วัดจากประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบาย

(5) วัดจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกระบวนการของนโยบายให้มากที่สุด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพิจารณาด้านความเป็นธรรมของนโยบาย แผน หรือโครงการนั้น อาจพิจารณาหรือวัดได้จากประโยชน์ของนโยบาย แผน หรือโครงการว่าประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ได้รับประโยชน์ จากนโยบาย แผน หรือโครงการอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ เพราะนโยบาย แผน หรือโครงการที่ดีนั้นจะต้องคํานึงถึงประโยชน์ของสาธารณชนส่วนใหญ่เป็นหลัก

17 เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป นโยบายของรัฐจะเป็นอย่างไร

(1) มีขนาดเล็กลง

2) คงที่เหมือนเดิม

(3) มีขนาดใหญ่โตตามกาลเวลา

(4) มีขนาดใหญ่โตล้ำหน้าเวลา

(5) มีขนาดจะเล็กลงหรือจะโตขึ้นเป็นไปตามจํานวนประชากร

ตอบ 3 หน้า 17 – 18 Randall Ripley และ Grace Franklin กล่าวว่า ในการนํานโยบายไปปฏิบัตินั้นมีประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติต้องทําความเข้าใจอยู่ 5 ประการ ได้แก่

1 มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนมากมาย

2 มีความต้องการหลากหลายต่อนโยบาย

3 ธรรมชาติของนโยบายมักจะมีขนาดที่ใหญ่โตขึ้นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป4 ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในหลายระดับ หลายสังกัด และหลายหน่วยเสมอ

5 มีปัจจัยมากมายที่นโยบายไม่สามารถควบคุมได้

18 ในเรื่องเกี่ยวกับรูปร่างและรูปแบบของนโยบาย ข้อความในข้อใดกล่าวผิด

(1) มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ

(2) มีรูปเป็นแบบแผน โครงการ

(3) มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ

(4) เป็นคําบอกกล่าวที่เสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับขั้นไป

(5) มีรูปแบบเป็นสัญญา

ตอบ 4 หน้า 2 นโยบายมีหลายรูปร่างและหลายลักษณะตามการใช้ประโยชน์ของนโยบาย ดังนี้

1 มีรูปร่างเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง

2 มีรูปเป็นแผนงาน โครงการ

3 มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ เพื่อแจ้งข่าวสารหรือเชิญชวน ซึ่งมีลักษณะบังคับน้อยที่สุด

4 มีรูปเป็นสัญญา

5 มีรูปเป็นอื่น ๆ หรืออาจไม่มีรูปร่างให้เห็นชัดเจน เช่น คําแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีหรือของรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรี เป็นต้น

19 ในแนวคิดการศึกษานโยบายศาสตร์ในแนววิเคราะห์นโยบายนิยมใช้ในนักวิชาการกลุ่มใด

(1) นักรัฐศาสตร์

(2) นักสังคมวิทยา

(3) นักรัฐประศาสนศาสตร์

(4) นักวิทยาศาสตร์

(5) นักเศรษฐศาสตร์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

20 ข้อใดเป็นความจริงเกี่ยวกับแผนระยะยาว

(1) มีระยะเวลามากกว่า 3 ปีขึ้นไป

(2) วางแผนได้ง่ายเนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ

(3) มีระยะเวลาไม่จํากัด

(4) ความเชื่อมั่นจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน

(5) ใช้แก้ปัญหาได้เพียงผิวเผิน

ตอบ 4 หน้า 23, (คําบรรยาย) แผนระยะยาว คือ แผนที่มีระยะเวลา 5 ปีขึ้นไป เป็นแผนที่มีความเชื่อมั่นได้น้อยและจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน กล่าวคือ ความเชื่อมั่นจะลดต่ำลง ตามระยะเวลาที่ยาวออกไป แต่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป (แผนนั้นเริ่มเห็นผล คือ สามารถ แก้ปัญหาได้ ความเชื่อมั่นที่มีต่อแผนก็จะเพิ่มมากขึ้น) และแผนระยะยาวนับว่าเป็นแผน ที่แก้ปัญหาได้ลึกซึ้งที่สุด แต่เห็นผลช้า

21 Controlled Environment หมายถึง

(1) ภาวะทางธรรมชาติ

(2) ค่านิยมของคนในภาคใต้ของประเทศไทย

(3) เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย

(4) ความเชื่อของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 12 สิ่งแวดล้อมของนโยบาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้ (Controlled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่สามารถควบคุมหรือกําหนดได้อย่างแน่นอน เช่น จํานวนคนที่จะเข้ามาบริหารนโยบาย เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น

2 สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมหรือกําหนดได้อย่างชัดเจน เช่น ความเชื่อ/ค่านิยมของคนในสังคม ภาวะทางธรรมชาติภาวะโลกร้อน แผ่นดินไหว เป็นต้น

22 แผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น จัดเป็นแผนประเภทใด

(1) แผนรายปี

(2) แผนงบประมาณ

(3) แผนการเงิน

(4) แผนโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สําหรับแผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นแผนประเภทแผนรายปี แผนงบประมาณ แผนการเงิน แผนระยะสั้น หรือแผนโครงการทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจําแนก

23 ใครกล่าวว่านโยบายคือ “สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา”

(1) Thomas R. Dye

(2) David Easton

(3) Woodrow Wilson

(4) William Dunn

(5) ดร.อมร รักษาสัตย์

ตอบ 1 หน้า 1 Thomas R. Dye กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวหรือกิจกรรมหรือสิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา และเกี่ยวข้องกับเหตุผลว่าทําไมจึงเลือกเช่นนั้น”

24 ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของนโยบายสาธารณะในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ที่แตกต่างจากแผนอื่น

(1) เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยแยกจากกันให้ชัดเจน

(2) เน้นการกระจายรายได้และการถือครองทรัพย์สิน

(3) เน้นการพัฒนาจิตใจ วัฒนธรรม และสังคม

(4) เน้นการพัฒนาการบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

(5) เป็นการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและเศรษฐกิจพอเพียง ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) เป็นการวางแผนที่ยังคงน้อมนําและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่าง มีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน โดยให้ความสําคัญกับการกําหนดทิศทางการพัฒนา ที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

25 หน่วยงานใดมีหน้าที่กําหนดนโยบายสาธารณะและวางแผนพัฒนาประเทศไทยในปัจจุบัน

(1) กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท

(2) กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม

(3) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง

(4) สํานักงาน ก.พ.

(5) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจุบันการกําหนดนโยบายสาธารณะและการวางแผนพัฒนาประเทศของไทยจะอยู่ในความรับผิดชอบของ “สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่ข้อ 26 – 30. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

หากสรุปว่ากระบวนการของแผนประกอบด้วยกระบวนการ ได้แก่

(1) กําหนดปัญหา

(2) ตั้งเป้าหมาย

(3) ศึกษาวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

(4) ลงมือวางแผน

(5) ประเมินผล

 

26 ขั้นตอนใดที่เราจะได้รับแผนที่สมบูรณ์

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (คําบรรยาย) อาจสรุปได้ว่ากระบวนการของแผน ประกอบด้วย 7 กระบวนการ ดังนี้

1 กําหนดปัญหา

2 การตั้งเป้าหมาย/วัตถุประสงค์

3 การศึกษาวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

4 ลงมือวางแผน เป็นการลงมือเขียนแผนให้ถูกต้อง โดยหน้าที่ของผู้วางแผนจะสิ้นสุดที่กระบวนการนี้

5 การประเมินแผน เป็นกระบวนการที่เราจะได้รับแผนที่สมบูรณ์ โดยการศึกษาวิเคราะห์ แผนว่ามีความสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะนําไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่ จากนั้นจึงนําเสนอแผนให้ ผู้มีอํานาจพิจารณาอนุมัติ เพื่อนําแผนไปปฏิบัติ

6 การนําแผนไปปฏิบัติ เป็นกระบวนการที่ทําให้เกิดผลงานที่ประชาชนใช้ประโยชน์ได้

7 การประเมินผล (Evaluation) เป็นกระบวนการที่ทําให้ทราบถึงผลสําเร็จและเก็บเป็นข้อมูลสะสม เพื่อการวางแผนในโอกาสต่อ ๆ ไป

27 หน้าที่ของผู้วางแผนจะสิ้นสุดที่กระบวนการใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

28 กระบวนการใดต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญหลายสาขามากที่สุด

ตอบ 4 หน้า 27 งานวางแผนเป็นงานระดับกลุ่ม ดังนั้นการลงมือวางแผนจึงต้องประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ สาขามาร่วมกันสร้างแผน โดยมีนักวางแผนเป็นผู้ประสานให้การวางแผนไปสู่จุดหมายร่วมกันขององค์การได้

29 กระบวนการใดทําให้เกิดผลงานที่ประชาชนใช้ประโยชน์ได้

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

30 กระบวนการใดทําให้ได้รับข้อมูลสะสมเพื่อการวางแผนในโอกาสต่อ ๆ ไป

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 31 – 35 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Alternative

(2) Social Analysis

(3) Feasibility Study

(4) Financial Analysis

(5) Process

 

31 การวิเคราะห์ประเมินโครงการไม่ใช่ราชการ

ตอบ 4 หน้า 40 การวิเคราะห์และประเมินโครงการด้านการเงิน (Financial Analysis) เป็นแนวทางการประเมินโครงการทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายกับ ผลประโยชน์ที่ได้รับ (Cost-Benefit) เพื่อดูว่าโครงการที่จัดทําขึ้นมานั้นมีลักษณะคุ้มทุนหรือไม่

32 สอดคล้องเหมาะสมกับขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม

ตอบ 2 หน้า 41, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินโครงการด้านสังคม (Social Analysis)จะพิจารณาในประเด็นดังต่อไปนี้

1 ความเหมาะสมสอดคล้องต้องกันระหว่างแนวทางของโครงการกับปัจจัยทางสังคม เช่น ศาสนา การศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม กฎหมาย การเมืองและการปกครอง เป็นต้น

2 โอกาสที่สังคมจะยอมรับ/สนับสนุน หรือต่อต้าน/คัดค้านโครงการ

33 ประเมินดู Cost – Benefit

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

34 กระบวนการต่าง ๆ ทางวิชาการ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) กระบวนการ (Process) หมายถึง ขั้นตอนวิธีปฏิบัติ หรือกิจกรรมการดําเนินงานที่กระทําอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนสุดท้าย

35 ทางเลือกในการวางแผน โครงการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ทางเลือก (Alternative) หมายถึง มาตรการหรือแนวทางการดําเนินงานที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ ซึ่งอาจมีหลายทางเลือกในการบรรลุวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ

 

ตั้งแต่ข้อ 36 – 40 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Looking Ahead

(2) Making Choices

(3) Actions

(4) Setting Limits

(5) Desired end State

 

36 การนําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

37 Vision ตอบ 1 หน้า 25 Albert Waterston กล่าวว่า “การวางแผนทุกชนิดจะต้องมีลักษณะร่วมกันหลายประการ เช่น ต้องประกอบด้วยการมองล่วงหน้า (Looking Ahead) ต้องมีทางเลือก (Making Choices) และหากเป็นไปได้ต้องจัดเตรียมวิธีการกระทํา (Actions) ที่แน่นอน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรืออย่างน้อยที่สุดต้องกําหนดข้อจํากัด (Setting Limits) ที่อาจจะเกิดจากการกระทําดังกล่าวไว้ด้วย”

38 จะต้องมีทางเลือก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ

39 การจัดเตรียมวิธีการกระทํา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ

40 การกําหนดข้อจํากัด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 41 – 45 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Targets

(2) Vision

(3) Obstructions

(4) Strategies

(5) Tactics

 

41 การมองไปในอนาคต

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

42 การที่หน่วยงานตกลงกําหนดเป้าหมาย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

43 ข้อจํากัดที่เกิดขึ้นในอนาคต

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

44 กําหนดทางเดินที่จะต้องไปสู่เป้าหมายให้ได้

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

45 การร่วมกันกําหนดกลวิธีให้สอดคล้องกับแผนที่วางไว้

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 46 – 50 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การระบุปัญหา

(2) การศึกษาข้อจํากัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย

(3) การออกแบบทางเลือกนโยบาย

(4) การวิเคราะห์ทางเลือก

(5) การทดสอบทางเลือก

46 การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบต่าง ๆ ที่ใช้เทคนิควิเคราะห์ และการประยุกต์ทั้งหลายเป็นระบบ

ตอบ 5 หน้า 14 การทดสอบทางเลือก คือ การทบทวนความเหมาะสมของขั้นตอนและข้อมูลที่ใช้ทั้งทางด้านหลักการ เหตุผลทางเลือกนโยบาย คุณภาพและปริมาณของข้อมูลว่ายังพอเพียง และดีอยู่ ตลอดจนตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบวิธีต่าง ๆ ที่ใช้ เทคนิควิธีวิเคราะห์และการประยุกต์ทั้งหลายว่าเป็นระบบและสอดคล้องต้องกันอย่างแท้จริง

47 กําหนดทางเลือกซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ และรวบรวมทางเลือกทุก ๆ ทางเลือกให้ครบถ้วน

ตอบ 3 หน้า 13 การออกแบบทางเลือกนโยบาย คือ การใช้ความรู้ ประสบการณ์ของผู้กําหนดนโยบายร่วมกับข้อมูลที่รวบรวมและการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ เพื่อกําหนดว่าทางเลือกซึ่งเป็นแนวทาง ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้นั้นควรเป็นทางเลือกใดบ้าง โดยพิจารณาว่ามีทางเลือกใดที่สามารถ ปฏิบัติตามแล้วให้ผลสําเร็จดังวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้บ้าง ซึ่งในขั้นนี้ต้องรวบรวมทางเลือกทุก ๆ ทางเลือกที่เป็นไปได้ให้ครบถ้วน

48 ศึกษาถึงความเหมาะสมระหว่างทางเลือกกับสภาพแวดล้อม รวมทั้งศึกษาถึงประโยชน์ ข้อดี ข้อเสีย

ตอบ 4 หน้า 14 การวิเคราะห์ทางเลือก คือ การนําเอาทางเลือกที่มีทั้งหมดมาทําการศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในเเต่ละทางเลือกทีละทางเลือก เช่น ศึกษาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ศึกษาถึงความเหมาะสมระหว่างทางเลือกกับสถานการณ์แวดล้อม ศึกษาถึงผลประโยชน์ ข้อดี ข้อเสียของแต่ละทางเลือก ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุด

49 ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพที่แท้จริง หรือข้อมูลภาคสนาม หรือข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิเพื่อจะทราบปัญหา

ตอบ 1 หน้า 12 การระบุปัญหา คือ การศึกษาว่าอะไรคือปัญหา โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถานที่จริงหรือข้อมูลภาคสนามหรือข้อมูลปฐมภูมิ หรือข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ หรือข้อมูล ทุติยภูมิ เพื่อที่จะทราบปัญหาและจําแนกว่าปัญหาใดเร่งด่วนกว่า มีสาเหตุจากอะไร และ ประชาชนรับรู้เพียงใด ดังนั้นโดยสรุป การระบุปัญหาก็คือ การศึกษาวิเคราะห์เพื่อกําหนด ปัญหาที่ถูกต้องและศึกษาค่านิยมที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับปัญหาเพื่อกําหนดแนวทางของนโยบายที่เหมาะสมกับความเป็นจริงต่อไป

50 ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์จากนโยบาย รวมทั้งการยอมรับต่อนโยบาย

ตอบ 2 หน้า 13 การศึกษาข้อจํากัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย คือการศึกษาข้อจํากัดด้านต่าง ๆ ดังนี้

1 ข้อมูล

2 ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์จากนโยบาย

3 การรับรู้และการยอมรับต่อนโยบาย

4 สิ่งแวดล้อมทั่วไป

 

ตั้งแต่ข้อ 51 – 55 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Integration

(2) Dynamic

(3) Subjectivity

(4) Artificiality

(5) ปัญหามีตัวตนและมีโครงสร้างชัดเจน

 

51 เป็นปัญหาที่ไม่มีรูปร่างหรือลักษณะใด ๆ อย่างแน่ชัดว่าคือปัญหา ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีปัญหาแล้ว

ตอบ 4 หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะไม่มีตัวตนที่แท้จริง (Artificiality) หมายถึง ปัญหาเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างหรือลักษณะใด ๆ อย่างแน่ชัดว่าคือปัญหา ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีปัญหาแล้ว ซึ่งปัญหานั้นอาจเป็นที่ยอมรับหรือตระหนักได้ของคนบางกลุ่มบางหมู่ในขณะที่บางกลุ่มอาจไม่ยอมรับก็ได้

52 ทางราชการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ไม่มีที่ทําการต้องเช่าอาคารเอกชนเป็นที่ทําการชั่วคราว

ตอบ 5 หน้า 10 ปัญหาที่มีตัวตนและมีโครงสร้างชัดเจนแน่นอน (Well-Structured Problem) หมายถึง ปัญหาที่มีผลลัพธ์แน่นอน มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนน้อย มีทางออกในการแก้ไขปัญหา เพียงไม่กี่ทางเลือก  (1 – 3 ทาง) ซึ่งแต่ละทางเลือกสามารถมองเห็นผลประโยชน์ของทางเลือก ได้ชัดเจน ไม่เป็นที่ถกเถียงกันได้แต่อย่างใด เช่น ปัญหาในการจัดสร้างที่ทําการของหน่วยงานหรือองค์การ เป็นต้น

53 การที่ปัญหาอาจแปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปได้ตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม

ตอบ 2 หน้า 9 ปัญหาที่มีความเป็นพลวัต (Dynamic) สูง หมายถึง การที่ปัญหาได้แปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจนําไปสู่การแปรเปลี่ยนให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกได้ ดังนั้นการกําหนดปัญหาของนโยบายจึงไม่มีข้อสรุปที่ถาวร

54 จะกําหนดนโยบายเศรษฐกิจจะต้องพิจารณาผลกระทบด้านเทคนิค การเมือง สังคม

ตอบ 1 หน้า 9 ปัญหาทั้งหลายมักมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน (Integration) อยู่เสมอ ดังนั้น ในการพิจารณาปัญหาของนโยบายจึงพิจารณาเพียงด้านหนึ่งด้านใดเป็นเอกเทศไม่ได้ เช่น ในการกําหนดนโยบายทางเศรษฐกิจจะพิจารณาเพียงปัจจัยทางเศรษฐกิจเท่านั้นไม่ได้ จะต้อง พิจารณาถึงปัจจัยทางด้านการเมือง สังคม หรืออื่น ๆ อีกตามแต่สถานการณ์ที่เผชิญอยู่

55 การมีความหมายในตัวของปัญหาเอง

ตอบ 3 หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะเป็นอัตนัย (Subjectivity) สูง หมายถึง ในปัญหาหนึ่ง ๆ นั้นต่างก็มีความหมายในตัวของปัญหาเอง ขึ้นอยู่กับผู้รับรู้หรือผู้กําหนดนโยบายว่าจะสามารถรับรู้ หรือตระหนักได้ถึงความเป็นปัญหาหรือไม่ ซึ่งความเป็นอัตนัยของปัญหานี้เองที่เป็นเหตุให้เกิด การรับรู้ปัญหาได้ไม่เท่าเทียมกันในหมู่ประชาชน ทั้งนี้เพราะปัญหาที่คนคนหนึ่งตระหนักได้อาจเป็นปัญหาที่คนอื่น ๆ อาจยังไม่ตระหนักถึงก็ได้

 

ตั้งแต่ข้อ 56 – 60 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การก่อรูปของนโยบาย

(2) การกำหนดนโยบาย

(3) การวิเคราะห์นโยบาย

(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) การติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย

 

56 คํานึงถึงแนวทางการปฏิบัติที่มีศักยภาพอันนําไปสู่การตอบสนองในปัญหาของนโยบายได้

ตอบ 2 หน้า 8, 16, (คําบรรยาย) การกําหนดนโยบาย (Policy Formulation) ประกอบด้วย

1 การกําหนดวัตถุประสงค์

2 การกําหนดทางเลือก ได้แก่ การวิเคราะห์ทางเลือกนโยบาย (Policy Alternative) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ถึงแนวทางปฏิบัติที่มีศักยภาพอันนําไปสู่การตอบสนองในปัญหาของนโยบายได้ โดยใช้การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ (Cost-Benefit) เพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

3 การจัดทําร่างนโยบาย เพื่อนําเสนอพิจารณาขออนุมัติ/ไม่อนุมัติและประกาศเป็นนโยบายต่อไป

57 การวิเคราะห์ข่าวสารในด้านความรู้เกี่ยวกับสภาพการณ์ หรือเงื่อนไขก่อนจะมีนโยบาย

ตอบ 1 หน้า 8, 16, (คําบรรยาย) การก่อรูปของนโยบาย (Policy Formation) เป็นขั้นตอนที่ผู้กําหนดนโยบายต้องทําความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยสําคัญในการกําหนดนโยบาย ก่อนที่จะ เริ่มกําหนดนโยบาย ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้ ได้แก่ ปัญหาของนโยบาย สิ่งแวดล้อมของนโยบาย และขั้นตอนในการกําหนดนโยบาย โดยอาจมีการใช้เทคนิควิธี เช่น การวิเคราะห์สภาพปัญหา ของนโยบาย (Policy Problem) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข่าวสารในด้านความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์หรือเงื่อนไขก่อนจะมีนโยบาย

58 เป็นการวิเคราะห์ถึงสิ่งซึ่งจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแนวทางที่เลือกแล้วของนโยบาย

ตอบ 3 หน้า 16, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) มีจุดสําคัญอยู่ที่การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเป็นสําคัญ โดยอาจมีการใช้เทคนิควิธี เช่น การวิเคราะห์ผลของนโยบาย (Policy Outcomes) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ถึงสิ่งซึ่งจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแนวทางที่เลือกแล้วของนโยบาย

59 การวิเคราะห์ในแง่มุมที่ต้องอาศัยการประเมินและการพยากรณ์เป็นเครื่องมืออย่างมาก

ตอบ 4 หน้า 16 – 17, (คําบรรยาย) การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนที่ทําให้เกิดผลลัพธ์ของนโยบายขึ้น โดยอาจมีการใช้เทคนิควิธี เช่น การวิเคราะห์แนวปฏิบัติ ของนโยบาย (Policy Action) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ถึงแนวทางหรือชุดของแนวทางที่เลือกสรร มาจากทางเลือกของนโยบายว่ามีความเหมาะสมจริงหรือไม่ ซึ่งการวิเคราะห์ในแง่มุมนี้ ต้องอาศัยการประเมินและการพยากรณ์เป็นเครื่องมืออย่างมาก

60 การวิเคราะห์ระดับความสามารถในการบรรลุถึงคุณค่าในการตอบสนองความต้องการของนโยบาย

ตอบ 5 หน้า 16, 20, (คําบรรยาย) การติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย (Policy Evaluation)เป็นการศึกษาผลของการปฏิบัติตามนโยบายว่าเป็นอย่างไร โดยอาจมีการใช้เทคนิควิธี เช่น การวิเคราะห์ผลสัมพัทธ์ของนโยบาย (Policy Performance) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ระดับ ความสามารถในการบรรลุถึงคุณค่าในการตอบสนองความต้องการของนโยบาย อันหมายถึง ผลลัพธ์ของนโยบายที่ทําให้กลุ่มบุคคลที่เป็นเป้าหมายได้รับการตอบสนองอย่างเต็มที่จึงแสดงว่านโยบายประสบความสําเร็จแล้ว

 

61 “การพิจารณาสภาพความต้องการสินค้าหรือบริการโดยรวม” เป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของ โครงการในด้านใด

(1) ด้านสิ่งแวดล้อม

(2) ด้านการเงิน

(3) ด้านเทคนิค

(4) ด้านการตลาด

(5) ด้านเศรษฐกิจ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านการตลาด มีดังนี้

1 การพิจารณาสภาพความต้องการสินค้าหรือบริการโดยรวม

2 ศึกษาสภาพความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ฯลฯ

62 “การพิจารณาแหล่งที่มาของงบประมาณ” เป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านใด

(1) ด้านสิ่งแวดล้อม

(2) ด้านการเงิน

(3) ด้านเทคนิค

(4) ด้านการตลาด

(5) ด้านเศรษฐกิจ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านการเงิน มีดังนี้

1 การพิจารณาแหล่งที่มาของงบประมาณ

2 การวิเคราะห์การใช้จ่ายทางการเงินล่วงหน้า ฯลฯ

63 “การเปรียบเทียบความเหมาะสมของโครงการกับโครงการอื่น ๆ ประเภทเดียวกัน” เป็นการประเมิน โครงการในด้านใด

(1) การประเมินโครงการในภาพรวม

(2) การประเมินด้านสิ่งแวดล้อม

(3) การประเมินด้านการตลาด

(4) การประเมินด้านการเงิน

(5) การประเมินด้านการจัดการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การประเมินโครงการในภาพรวม (Project Appraisal) คือ

1 การเปรียบเทียบความเหมาะสมของโครงการกับโครงการอื่น ๆ ประเภทเดียวกัน  โครงการนี้เหมาะสมกว่าหรือไม่

2 โครงการที่เสนอจะสามารถดําเนินการให้สําเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้หรือไม่ รวมทั้งจะบรรลุจุดมุ่งหมายของแผนงาน ตลอดจนนโยบายของหน่วยงานระดับสูงมากน้อยเพียงใด

64 EIA คืออะไร

(1) การวิเคราะห์ผลกระทบทั่วไปของโครงการ

(2) การประเมินผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ

(3) หลักการประเมินผลโครงการ

(4) หลักการบริหารงบประมาณโครงการ

(5) การจัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการดําเนินโครงการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) Environmental Impact Assessment : EIA คือ การประเมินผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมของโครงการในภาพรวม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของโครงการตามบรรทัดฐานที่กําหนด

65 ข้อใดเป็นวิธีการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาสังคม

(1) การจัดทําประชาพิจารณ์

(2) การประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน

(3) การสํารวจความต้องการของคนในชุมชน

(4) การจัดให้มีกล่องรับความคิดเห็นจากประชาชน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาสังคมอย่างกว้างขวาง อาจทําได้โดยวิธีดังนี้

1 การประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน

2 การสํารวจความต้องการของคนในชุมชน

3 การจัดให้มีกล่องรับความคิดเห็นจากประชาชน

4 การจัดทําประชาพิจารณ์

66 ความต้องการของผู้รับบริการจากองค์การภาครัฐในปัจจุบันเป็นอย่างไร

(1) ความต้องการเกินกว่าความสามารถในการตอบสนองของภาครัฐ

(2) ความต้องการมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

(3) ความต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

(4) บางครั้งความต้องการลดลงอย่างรวดเร็ว

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สถานการณ์ที่ผู้บริหารองค์การภาครัฐต้องเผชิญอยู่เสมอ ได้แก่

1 ปัญหาทางการบริหารมีความสลับซับซ้อน ซึ่งหน่วยงานเดียวไม่สามารถจัดการกับปัญหาทางการบริหารได้ การละเลยการแก้ไขปัญหาจะนําความเสียหายมาสู่องค์การ และควรมีการจัดหน่วยงานโครงการเข้ามารับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา

2 ความต้องการของลูกค้าและผู้รับบริการมีความหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วบางครั้งความต้องการเกินกว่าความสามารถในการตอบสนองของภาครัฐ

3 ทรัพยากรมีมูลค่าสูงขึ้น การใช้ทรัพยากรควรคํานึงถึงมูลค่าด้วย

4 การใช้เทคโนโลยีก้าวหน้ามีความจําเป็นและสําคัญมากขึ้น ควรคํานึงถึงเรื่องความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่จะใช้ และผลกระทบที่จะได้รับจากการใช้เทคโนโลยี

5 การเพิ่มความรวดเร็วและความถูกต้องในการให้บริการลูกค้า

6 การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

7 การพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์

8 การเผชิญกับภาวะวิกฤติและความเสี่ยงต่าง ๆ

67 การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และวิทยาการของขั้นตอนต่าง ๆ เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ ของโครงการในด้านใด

(1) ด้านการจัดการ

(2) ด้านเทคนิค

(3) ด้านการตลาด

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 – 3

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในด้านเทคนิค คือ เป็นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และวิทยาการของขั้นตอนต่าง ๆ อันจําเป็นต่อการทํางานในแต่ละกิจกรรมให้สมบูรณ์

68 กติกาใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศได้แก่เรื่องใด

(1) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(2) ทรัพย์สินทางปัญญา

(3) สิทธิมนุษยชน

(4) ธรรมาภิบาล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) กติกาใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศได้แก่เรื่อง ดังนี้ 1 ทรัพย์สินทางปัญญา

2 สิทธิมนุษยชน

3 ธรรมาภิบาล

4 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

69 ทรัพยากรในการบริหารงานภาครัฐมีลักษณะอย่างไรในปัจจุบัน

(1) ทรัพยากรมีมูลค่าสูงขึ้นมาก

(2) การใช้ทรัพยากรควรคํานึงถึงมูลค่า

(3) ทรัพยากรมีลักษณะคงที่เหมือนเช่นในอดีต

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

70 ความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงในการบริหารโครงการ ได้แก่ข้อใด

(1) การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

(2) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

(3) การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

(4) การต่อต้านและคัดค้านโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงในการบริหารโครงการ ได้แก่

1 การต่อต้านและคัดค้านโครงการ

2 การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

3 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

4 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

 

71 สิ่งที่จําเป็นที่สุดสําหรับการประเมินความไม่แน่นอนในการบริหารโครงการ คือข้อใด

(1) ข้อมูล

(2) เวลา

(3) ค่าใช้จ่าย

(4) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิ่งจําเป็นที่สุดสําหรับการประเมินความไม่แน่นอนในการบริหารโครงการก็คือเวลา เพราะแต่ละโครงการจะมีระยะเวลาเริ่มต้นและระยะเวลาเสร็จสิ้นโครงการที่แน่นอน

72 การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ ในปัจจุบันมีความเข้มข้นมากในเรื่องใด

(1) องค์การระหว่างประเทศมีบทบาทมากขึ้น

(2) มีตลาดใหม่เกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก

(3) มีการใช้เครือข่ายการสื่อสารมวลชนมากขึ้น

(4) มีกติกาหรือข้อตกลงใหม่ที่จะต้องปฏิบัติตามมากขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ ในปัจจุบันมีความเข้มข้นมากในเรื่อง ดังนี้

1 มีตลาดใหม่เกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก

2 มีการใช้เครือข่ายการสื่อสารมวลชนมากขึ้น

3 องค์การระหว่างประเทศมีบทบาทมากขึ้น

4 มีกติกาหรือข้อตกลงใหม่ที่จะต้องปฏิบัติตามมากขึ้น

73 โครงการประเภท “ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา” ได้แก่ข้อใด

(1) การใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น

(2) การแก้ไขปัญหาครอบครัว

(3) การจัดหน่วยบริการประชาชนนอกสถานที่ทํางาน

(4) การแก้ไขปัญหาส่วนตัว

(5) การสร้างอาคารสํานักงานใหม่

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประเภทของโครงการ จําแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 โครงการปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหา เช่น โครงการ One Stop Service เป็นการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว และการจัดหน่วยบริการประชาชนนอกสถานที่ทํางาน

2 โครงการริเริ่มหรือนวัตกรรม เช่น การเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ การก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่การสร้างอาคารสํานักงานใหม่ การให้บริการทางอินเตอร์เน็ต และการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักรใหม่

3 โครงการวิจัยและพัฒนา มีลักษณะเป็นโครงการใหม่หรือโครงการบุกเบิก อาจใช้ชื่อเรียกว่าโครงการนําร่อง (Plot Project) หรือเป็นโครงการค้นคว้าทดลอง

74 โครงการประเภท “ริเริ่มหรือนวัตกรรม” ได้แก่ข้อใด

(1) การให้บริการทางอินเตอร์เน็ต

(2) การเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่

(3) การก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่

(4) การใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรใหม่

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

75 โครงการประเภท “วิจัยและพัฒนา” มีลักษณะอย่างไร

(1) เป็นโครงการบุกเบิก

(2) เป็นโครงการนําร่อง

(3) เป็นโครงการค้นคว้าทดลอง

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

76 ขั้นตอนแรกของการวางแผนโครงการ คือ

(1) การจัดทําข้อเสนอโครงการ

(2) การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ

(3) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

(4) การคิดค้นทางเลือก

(5) การรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขั้นตอนของการวางแผนโครงการ มีดังนี้

1 การรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ทําให้รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการต่าง ๆ และสามารถประเมิน สถานการณ์ที่แท้จริงได้อย่างถูกต้อง

2 การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ

3 การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย คือ การระบุสภาพของผลลัพธ์ที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น

4 การเสนอเพื่อพิจารณา จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

5 การคิดค้นทางเลือก เป็นขั้นตอนที่ต้องทํารายละเอียด 6W 2H

6 การวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือก โดยการใช้ข้อมูลจากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการมาพิจารณา

7การเสนอเพื่อพิจารณาอีกรอบหนึ่ง จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

8 การจัดทําข้อเสนอโครงการ

77 เหตุผลที่จําเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ คือ

(1) เพื่อประเมินว่าควรลงทุนในโครงการหรือไม่

(2) เพื่อกําหนดรายละเอียดในการวางแผนดําเนินงาน

(3) เพื่อกําหนดจุดเริ่มต้นโครงการ

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลที่จําเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ คือ

1 เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งต่าง ๆ ที่กําหนดไว้ในโครงการมีความเป็นไปได้ที่จะประสบผลสําเร็จ ตามวัตถุประสงค์หรือไม่

2 เพื่อประเมินว่าควรลงทุนในโครงการหรือไม่

3 เพื่อกําหนดรายละเอียดในการวางแผนดําเนินงาน

78 ประเด็นที่ควรศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ได้แก่

(1) ด้านเทคนิค การจัดการ

(2) ด้านการตลาด การเงิน

(3) ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง

(4) ด้านสิ่งแวดล้อม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประเด็นที่ควรศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ได้แก่ 1 การศึกษาด้านเทคนิคหรือด้านวิชาการ

2 การศึกษาด้านการจัดการ

3 การศึกษาด้านการตลาด

4 การศึกษาด้านการเงิน

5 การศึกษาด้านเศรษฐกิจ

6 การศึกษาด้านสังคมและการเมือง

7 การศึกษาด้านสภาพแวดล้อมและสภาวะนิเวศ

79 ข้อใดคือเครื่องชี้วัดความสําเร็จในการจัดการโครงการในระดับจุลภาค (1) บรรทัดฐานด้านเวลา

(2) บรรทัดฐานด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

(3) บรรทัดฐานด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เครื่องชี้วัดความสําเร็จในการจัดการโครงการในระดับจุลภาค มีดังนี้

1 บรรทัดฐานด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ

2 บรรทัดฐานด้านเวลา

3 บรรทัดฐานด้านการเงิน

4 บรรทัดฐานด้านประสิทธิผล

80 สถานการณ์ที่ผู้บริหารองค์การภาครัฐต้องเผชิญอยู่เสมอ ได้แก่

(1) หน่วยงานเดียวไม่สามารถจัดการกับปัญหาทางการบริหารได้

(2) ปัญหาทางการบริหารมีความสลับซับซ้อน

(3) การละเลยการแก้ไขปัญหาจะนําความเสียหายมาสู่องค์การ

(4) ควรจัดหน่วยงานโครงการเข้ามารับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

81 สภาพแวดล้อมของการบริหารงานประจํา คือ

(1) สภาพแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากนัก

(2) สภาพแวดล้อมไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป

(3) สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงมาก

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สภาพแวดล้อมของการบริหารงานประจํา คือ สภาพแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากนัก และไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป ซึ่งลักษณะของผู้ปฏิบัติงานในงานประจํามักจะมีทักษะเก่งงานด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว

82 ลักษณะของผู้ปฏิบัติงานในงานประจํา คือ

(1) ไม่จําเป็นต้องมีทักษะใด ๆ

(2) มีทักษะเก่งงานด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว

(3) มีทักษะรอบด้านในการทํางานให้สําเร็จ

(4) มีทักษะในการตัดสินใจ

(5) มีทักษะในด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

83 การใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานควรคํานึงถึงเรื่องอะไร

(1) ควรประเมินความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่จะใช้

(2) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงช้า จึงควรลงทุนในด้านเทคโนโลยี

(3) ควรคํานึงถึงผลกระทบที่จะได้รับจากการใช้เทคโนโลยี

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

84 ลักษณะเฉพาะที่สําคัญของโครงการ คือ

(1) ผลลัพธ์ของโครงการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

(2) ขอบข่ายของงานมีลักษณะเป็นเอกเทศ แตกต่างจากงานประจํา

(3) มีองค์การรับผิดชอบโดยเฉพาะ

(4) องค์การที่รับผิดชอบทําหน้าที่เป็นการชั่วคราว

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะของโครงการ มีดังนี้

1 ขอบข่ายของงานมีลักษณะเป็นเอกเทศหรือมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากงานประจํา

2 มีองค์การรับผิดชอบในการจัดการ โดยเฉพาะ และทําหน้าที่เป็นการชั่วคราว

3 ในการจัดการโครงการ ผู้บริหาร และทีมงานโครงการต้องพร้อมที่จะเผชิญกับความไม่แน่นอนและความเสี่ยงต่าง ๆ เสมอ

4 ในการจัดการโครงการ ผู้บริหารโครงการต้องคํานึงถึงข้อจํากัดด้านเวลา ค่าใช้จ่าย และคุณภาพตามที่กําหนดไว้ในเงื่อนไขของโครงการ

5 ในการจัดการโครงการ จําเป็นต้องเน้นความสําคัญของการบูรณาการกับองค์การหลักหรือหน่วยงานหลักของเจ้าของโครงการ

85 เงื่อนไขของโครงการ (Terms of Reference : TOR) ประกอบด้วยอะไรบ้าง

(1) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร

(2) วัตถุประสงค์ ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร

(3) วัตถุประสงค์ บุคลากรที่รับผิดชอบ ประมาณการทรัพยากร อายุโครงการ

(4) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ประมาณการทรัพยากร อายุโครงการ

(5) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร แหล่งที่มาของทรัพยากรอายุโครงการ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เงื่อนไขของโครงการ (Terms of Reference : TOR) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร แหล่งที่มาของทรัพยากร และอายุโครงการ

86 ขั้นตอนสุดท้ายของวงจรโครงการของภาครัฐ คือ

(1) การอนุมัติโครงการ

(2) การลงทุนในโครงการ

(3) การส่งมอบงานโครงการ

(4) การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

(5) การจัดทําข้อเสนอโครงการ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วงจรโครงการขององค์การภาครัฐ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

1 การวางแผน การประเมิน และการจัดทําข้อเสนอโครงการ ประกอบด้วย 1.1 การกําหนดแนวคิดโครงการ เช่น การกําหนดเงื่อนไขของโครงการ (Terms of Reference : TOR)

1.2 การศึกษาความเป็นไปได้และประเมินโครงการ ซึ่งมีประโยชน์เพื่ออนุมัติโครงการให้มีการดําเนินการต่อไปได้หรือไม่

1.3 การจัดทําข้อเสนออันเป็นรายละเอียด หรือการออกแบบโครงการ

2 การคัดเลือก การอนุมัติ และการเตรียมความพร้อม

3 การปฏิบัติการ การควบคุม การยุติและส่งมอบ เช่น การนําโครงการขององค์การภาครัฐไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นการทํางานของผู้จัดโครงการและผู้ร่วมงาน

4 การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข เช่น การวัดความสําเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการ

87 ข้อกําหนดเงื่อนไขโครงการ (TOR) พัฒนามาจากข้อใด

(1) แนวคิดโครงการ

(2) การดําเนินโครงการ

(3) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) การส่งมอบโครงการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การกําหนดแนวคิดโครงการของภาคเอกชน จะถูกกําหนดโดยเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูง ซึ่งการกําหนดแนวคิดโครงการจะเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการ ของภาคเอกชน รวมถึงข้อกําหนดเงื่อนไขโครงการ (Terms of Reference : TOR) ก็พัฒนามาจากแนวคิดโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของเจ้าของกิจการ

88 ขั้นตอนแรกของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(2) การเตรียมความพร้อมของโครงการ

(3) การกําหนด TOR

(4) การจัดทําข้อเสนอโครงการ

(5) การออกแบบโครงการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

89 สิ่งที่จําเป็นสําหรับข้อเสนอโครงการด้านการก่อสร้างที่แตกต่างจากโครงการชนิดอื่น คือ

(1) การจัดทําพิมพ์เขียวการก่อสร้าง

(2) การประมวลสถานการณ์แวดล้อม

(3) การกําหนดคุณลักษณะเฉพาะของงาน มาตรฐานของอุปกรณ์

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งจําเป็นสําหรับข้อเสนอโครงการด้านการก่อสร้างที่แตกต่างจากโครงการชนิดอื่นคือ การจัดทําพิมพ์เขียวการก่อสร้าง และการกําหนดคุณลักษณะเฉพาะของงาน มาตรฐานของอุปกรณ์ไว้อย่างชัดเจน

90 การเตรียมความพร้อมที่สําคัญของโครงการขององค์การภาครัฐ คือ

(1) การจัดทําแผนการดําเนินงานล่วงหน้า

(2) การจัดทําแนวทางการประเมินผล

(3) การจัดทําแผนกําลังคน

(4) การจัดทําแผนการเงิน

(5) การจัดทําแผนดําเนินงาน แผนเงิน และแผนกําลังคน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเตรียมความพร้อมที่สําคัญของโครงการขององค์การภาครัฐคือ การจัดทําแผนดําเนินงาน แผนเงิน และแผนกําลังคน

91 การกลั่นกรองข้อเสนอโครงการภาครัฐ ต้องตรวจสอบประเด็นอะไรบ้าง (1) เหตุผลความจําเป็นของโครงการ

(2) วัตถุประสงค์ของโครงการ

(3) ความสอดคล้องของโครงการกับแผนพัฒนาประเทศ

(4) ความเหมาะสมของการศึกษาความเป็นไปได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การกลั่นกรองข้อเสนอโครงการภาครัฐ ต้องตรวจสอบประเด็น ดังนี้

1 เหตุผลความจําเป็นของโครงการ

2 วัตถุประสงค์ของโครงการ

3 ความสอดคล้องของโครงการกับแผนพัฒนาประเทศ

4 ความเหมาะสมของการศึกษาความเป็นไปได้

92 การนําโครงการขององค์การภาครัฐไปปฏิบัติเป็นการทํางานของผู้ใด

(1) ปลัดกระทรวง

(2) อธิบดี

(3) ผู้จัดการโครงการ

(4) ข้าราชการระดับล่าง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

93 การวัดความสําเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(2) การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

(3) การบริหารโครงการ

(4) การปรับปรุงนโยบายและแผนงาน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

94 ปัญหา “การจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน” เป็นปัญหาประเภทใด

(1) ปัญหาทั่วไป

(2) ปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

(3) ปัญหาในเชิงป้องกัน

(4) ปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัญหาแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 ปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เช่น ปัญหาการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน ปัญหาน้ำท่วม

2 ปัญหาในเชิงป้องกัน

3 ปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

95 การกําหนดปัญหาและสาเหตุของปัญหา จะทําได้โดยวิธีใด

(1) วิเคราะห์ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้

(2) คาดการณ์ถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น

(3) ใช้วิธีการหยั่งรู้

(4) สอบถามผู้บริหารระดับสูง

(5) สอบถามผู้ปฏิบัติงาน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การกําหนดปัญหาและสาเหตุของปัญหา จะทําได้โดยการวิเคราะห์ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้ เพื่อยืนยันความชัดเจนของปัญหาในอดีตจนถึงปัจจุบัน และศึกษาดูว่า เป็นปัญหาอะไร เป็นปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข หรือเป็นปัญหาในเชิงป้องกัน หรือเป็นปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

96 6W 2H คืออะไร

(1) เทคนิคการวางแผนโครงการ

(2) เทคนิคการประเมินผลโครงการ

(3) เทคนิคการริเริ่มโครงการ

(4) การจัดวางรายละเอียดของวิธีการวางแผนโครงการ

(5) เทคนิคการตรวจรับโครงการ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) 6W 2H คือ การจัดวางรายละเอียดของวิธีการวางแผนโครงการ ซึ่งเป็นการตอบคําถามต่าง ๆ ดังนี้

1 Why (จะทําทําไม) คือ การอธิบายถึงหลักการและเหตุผล ของโครงการ การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ (ได้แก่ SMART Principle) การระบุตัวชี้วัดด้านเวลา ด้านปริมาณงานและคุณภาพของงาน

2 What (จะทําอะไร) คือ การระบุกิจกรรมหลักที่ต้องทํา

3 When (จะทําเมื่อไหร่) คือ การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ 4 Where (จะทําที่ไหน) คือ การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

5 Who (จะทําโดยใคร) คือ การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

6 Whom (จะทําเพื่อใคร) คือ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผล

7 How (จะทําอย่างไร) คือ กฎระเบียบ เทคโนโลยีและมาตรการปฏิบัติงาน

8 How Much (จะจ่ายเท่าไหร่) คือ งบประมาณ ค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม

97 การตอบคําถาม “ทําไม” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การอธิบายถึงหลักการและเหตุผลของโครงการ

(2) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

(3) การระบุตัวชี้วัดด้านเวลา

(4) การระบุตัวชี้วัดด้านปริมาณงานและคุณภาพของงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

98 SMART Principle เป็นหลักการในเรื่องใด

(1) การกําหนดคุณสมบัติผู้รับผิดชอบโครงการ

(2) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

(3) การกําหนดรายละเอียดของโครงการ

(4) การกําหนดหลักการการประเมินผลโครงการ

(5) การกําหนดคุณภาพของโครงการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

99 การตอบคําถาม “อะไร” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

(2) การอธิบายหลักการและเหตุผลของโครงการ

(3) การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ

(4) การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

(5) การระบุกิจกรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้าย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

100 การตอบคําถาม “ใคร” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

(2) การอธิบายหลักการและเหตุผลของโครงการ

(3) การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ

(4) การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

(5) การระบุกิจกรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้าย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

101 ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงในการวางแผนโครงการจะให้ผลลัพธ์อะไร

(1) รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการต่าง ๆ

(2) สามารถประเมินสถานการณ์ที่แท้จริงได้อย่างถูกต้อง

(3) สามารถทราบถึงความสําเร็จของการดําเนินงาน

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 – 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

102 การกําหนดวัตถุประสงค์ในการวางแผนโครงการ คือข้อใด

(1) การกําหนดบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน

(2) การระบุสภาพของผลลัพธ์ที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น

(3) การกําหนดตัวชี้วัดของผลการปฏิบัติงาน

(4) การกําหนดระยะเวลาการดําเนินงานโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

103 การวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือกในการแก้ไขปัญหา จะใช้ข้อมูลอะไรมาพิจารณา

(1) ข้อมูลภายในองค์การที่รับผิดชอบดําเนินงานโครงการ

(2) ข้อมูลจากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(3) ข้อมูลจากการสํารวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(4) ข้อมูลจากความคิดเห็นของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

104 “ความคิดสร้างสรรค์” จําเป็นสําหรับขั้นตอนใด

(1) การวิเคราะห์โครงการ

(2) การคิดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา

(3) การริเริ่มโครงการ

(4) การดําเนินโครงการ

(5) การประเมินผลโครงการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การใช้ความคิดสร้างสรรค์ จําเป็นสําหรับขั้นตอนการคิดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ดังนี้

1 ความรู้ที่ประมวลจากประสบการณ์ หรือเป็นความรู้ตามสัญชาตญาณของเรา ซึ่งเรียกกันสั้น ๆ ว่าเป็น “ชั่วโมงบิน”

2 ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในองค์การ เช่น การเรียนรู้จากการสอนงาน การให้คําแนะนําการสาธิต การฝึกอบรม การวิจัยและการพัฒนาในองค์การ

3 การเรียนรู้จากผู้อื่น เช่น เรียนรู้ความสําเร็จของกิจการชั้นนํา การศึกษาดูงาน

4 การเรียนรู้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ เช่น การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทั้งภายในภายนอกองค์การ

105 ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในองค์การ ได้แก่อะไร

(1) การฝึกอบรม

(2) การสอนงาน

(3) การให้คําแนะนํา

(4) การสาธิต

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 104 ประกอบ

106 การเรียนรู้จากผู้อื่น จะเรียนรู้ในเรื่องใด

(1) เรียนรู้ความล้มเหลมขององค์การประเภทเดียวกัน

(2) เรียนรู้ความสําเร็จของกิจการชั้นนํา

(3) การศึกษาดูงาน

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5)  ข้อ 2 และ ข้อ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 104 ประกอบ

107 ปัญหา “การบริการประชาชนด้านการจดทะเบียนและการขออนุญาตล่าช้ากว่ากําหนดและมีความผิดพลาด”อาจมีสาเหตุมาจากข้อใด

(1) พนักงานใหม่ขาดการอบรมให้มีทักษะในการปฏิบัติงาน

(2) อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ชํารุด ซอฟต์แวร์ไม่ทันสมัย

(3) ขั้นตอนการทํางานเยิ่นเย้อ ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ใหม่

(4) ขาดคู่มือและคําแนะนําประชาชนในการมาขอรับบริการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัญหาการบริการประชาชนด้านการจดทะเบียนและการขออนุญาตล่าช้ากว่ากําหนดและมีความผิดพลาด มีสาเหตุดังนี้

1 พนักงานใหม่ขาดการอบรมให้มีทักษะ ในการปฏิบัติงาน

2 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ชํารุด ซอฟต์แวร์ไม่ทันสมัย

3 ขั้นตอนการทํางานเยิ่นเย้อ ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ใหม่

4 ขาดคู่มือและคําแนะนําประชาชนในการมาขอรับบริการ

108 การพิจารณาความเหมาะสมในการประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ ควรครอบคลุมเรื่องใด

(1) อัตราเงินเฟ้อ

(2) ค่าดอกเบี้ยระหว่างการดําเนินโครงการ

(3) ค่าภาษีนําเข้าอุปกรณ์ต่าง ๆ

(4) เงินทุนหมุนเวียนในการดําเนินโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพิจารณาความเหมาะสมในการประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ ควรครอบคลุมถึงเรื่องค่าดอกเบี้ยระหว่างการดําเนินโครงการ ค่าภาษีนําเข้าอุปกรณ์ต่าง ๆ อัตราเงินเฟ้อ และเงินทุนหมุนเวียนในการดําเนินโครงการ เพราะงบประมาณโครงการมีจํากัดตามวงเงินที่กําหนดไว้

109 ผู้มีบทบาทใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ข้อใด

(1) องค์การการค้าโลก

(2) บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดําเนินธุรกิจข้ามชาติ

(3) องค์การพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้มีบทบาทใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 ได้แก่

1 องค์การการค้าโลก

2 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดําเนินธุรกิจข้ามชาติ

3 องค์การพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ

110 ผลประโยชน์ของโครงการจะพิจารณาอย่างไร

(1) พิจารณาว่าผลประโยชน์เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายใด

(2) พิจารณาเฉพาะสิ่งที่เป็นตัวเงิน

(3) พิจารณาเฉพาะสิ่งที่จับต้องได้

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลประโยชน์ของโครงการ จะพิจารณาในเรื่องดังนี้

1 พิจารณาว่าผลประโยชน์เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายใด

2 พิจารณาเฉพาะสิ่งที่จับต้องได้

111 ขั้นตอนสําคัญในการดําเนินโครงการของภาคเอกชน คือ

(1) การจัดการโครงการของสํานักงานโครงการ

(2) การจัดทําแผนดําเนินงาน

(3) การจัดตั้งองค์กรโครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขั้นตอนสําคัญในการดําเนินโครงการของภาคเอกชน คือ การจัดทําแผนดําเนินงาน (Operation Plan) มีการจัดตั้งองค์กรโครงการ มีการจัดการโครงการของ สํานักงานโครงการ และมีผู้จัดการโครงการ (Project Manager) เป็นผู้รับผิดชอบหลัก รวมถึงการควบคุมงาน เป็นต้น

112 ข้อใดเป็นขั้นตอนการยุติและส่งมอบโครงการที่เรียงลําดับถูกต้อง

(1) การส่งผลงาน การตรวจการจ้าง การตรวจรับงาน การปิดโครงการ

(2) การตรวจการจ้าง การส่งผลงาน การตรวจรับงาน การปิดโครงการ

(3) การปิดโครงการ การตรวจการจ้าง การตรวจรับงาน การส่งผลงาน

(4) การตรวจรับงาน การปิดโครงการ การตรวจการจ้าง การส่งผลงาน

(5) การปิดโครงการ การส่งผลงาน การตรวจรับงาน การตรวจการจ้าง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ขั้นตอนการยุติและส่งมอบโครงการ เรียงลําดับได้ดังนี้

1 การตรวจรับงาน

2 การปิดโครงการ

3 การตรวจการจ้าง

4 การส่งผลงาน

113 บันไดขั้นแรกที่มีผลต่อความสําเร็จของโครงการของภาคเอกชน คือข้อใด

(1) การกําหนด TOR

(2) การวางแผนโครงการ

(3) การวิเคราะห์โครงการ

(4) การตัดสินใจลงทุนในโครงการ

(5) การดําเนินงานโครงการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) วงจรโครงการของภาคเอกชน มี 4 ขั้นตอน คือ

1 การกําหนดแนวคิดโครงการ

2 การวางแผนโครงการ ซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกที่มีผลต่อความสําเร็จของโครงการ

3 การดําเนินงานโครงการ

4 การยุติและส่งมอบโครงการ

114 ข้อความในข้อใดที่ไม่ถูกต้อง

(1) โครงการขององค์การภาครัฐมีขั้นตอนเหมือนกับภาคเอกชน

(2) วงจรโครงการขององค์การภาครัฐสลับซับซ้อนกว่าของภาคเอกชน

(3) แนวคิดของโครงการขององค์การภาครัฐมีที่มาที่หลากหลายกว่าของภาคเอกชน

(4) โครงการขององค์การภาครัฐทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการของสาธารณชน

(5) นโยบายของภาครัฐเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างโครงการขององค์การภาครัฐกับภาคเอกชน มีดังนี้

1 วงจรโครงการขององค์การภาครัฐสลับซับซ้อนกว่าของภาคเอกชน

2 แนวคิดของโครงการขององค์การภาครัฐมีที่มาที่หลากหลายกว่าของภาคเอกชน

3 โครงการขององค์การภาครัฐทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการของสาธารณชน 4 นโยบายของภาครัฐเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ

5 โครงการขององค์การภาครัฐมีขั้นตอนไม่เหมือนกับภาคเอกชน

115 ในการบริหารโครงการ ผู้บริหารควรคํานึงถึงเรื่องอะไร

(1) ข้อจํากัดด้านเวลา

(2) ค่าใช้จ่าย

(3) คุณภาพของงาน

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

116 ข้อความใดที่ไม่ถูกต้อง

(1) ผลผลิตของโครงการแตกต่างจากผลผลิตที่มีอยู่เดิมขององค์การ

(2) การบริหารโครงการต้องบูรณาการกับองค์การหลักที่เป็นเจ้าของโครงการ (3) ผู้บริหารโครงการต้องบริหารงานภายใต้วงเงินงบประมาณที่ได้รับ

(4) การบริหารโครงการต้องมีความยืดหยุ่นด้านเวลา

(5) การบริหารโครงการต้องกําหนดตัวบุคคล องค์การ หรือระบบงานล่วงหน้าอย่างชัดเจน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ในการบริหารหรือการจัดการโครงการต้องมีการกําหนดตัวบุคคล องค์การ หรือระบบงานล่วงหน้าอย่างชัดเจน และผลผลิตของโครงการต้องแตกต่างจากผลผลิตที่มีอยู่เดิมขององค์การ (ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ)

117 ข้อความใดที่ถูกต้อง

(1) งานโครงการมีบริบทคงที่ งานประจํามีบริบทยืดหยุ่น

(2) งานโครงการมีลักษณะทําซ้ำแล้วซ้ำอีก งานประจํามีลักษณะเฉพาะ

(3) งานโครงการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว งานประจําค่อยเป็นค่อยไป

(4) งานโครงการเน้นประสิทธิภาพ งานประจําเน้นประสิทธิผล

(5) งานโครงการต่อเนื่องไม่สิ้นสุด งานประจํามีจุดเริ่มต้นและแล้วเสร็จ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความเตกต่างระหว่างงานโครงการกับงานประจํา มีดังนี้

1 ขอบข่ายงาน งานโครงการจะมีลักษณะเฉพาะ ส่วนงานประจํามีลักษณะทําซ้ำแล้วซ้ำอีก

2 เวลา งานโครงการมีจุดเริ่มต้นและจุดเสร็จสิ้นโครงการแน่นอน ส่วนงานประจําต่อเนื่องไม่สิ้นสุด

3 การเปลี่ยนแปลง งานโครงการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ส่วนงานประจําค่อยเป็นค่อยไป

4 แนวโน้ม งานโครงการไม่คํานึงถึงความสมดุล ส่วนงานประจําคํานึงถึงความสมดุล

5 วัตถุประสงค์ งานโครงการเน้นที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรง ส่วนงานประจําเน้นที่ความเท่าเทียมกัน

6 ทรัพยากร งานโครงการจํากัดตามวงเงินที่กําหนด ส่วนงานประจําเพิ่มเติมได้ถ้าจําเป็น

7 บริบท งานโครงการมีบริบทยืดหยุ่น ส่วนงานประจํามีบริบทคงที่

8 ผลลัพธ์ งานโครงการเน้นที่ประสิทธิผล ส่วนงานประจําเน้นประสิทธิภาพ

9 ทีมงาน งานโครงการประสานกันด้วยจุดมุ่งหมาย ส่วนงานประจําประสานกันด้วยบทบาท

118 วงจรโครงการของภาคเอกชน แบ่งออกเป็นงานสําคัญกขั้นตอน

(1) 3 ขั้นตอน

(2) 4 ขั้นตอน

(3) 5 ขั้นตอน

(4) 6 ขั้นตอน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 113 ประกอบ

119 การกําหนดแนวคิดโครงการของภาคเอกชน กําหนดโดยผู้ใด

(1) เจ้าของกิจการ

(2) ผู้บริหารสูงสุด

(3) ผู้บริหารระดับกลาง

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 87 ประกอบ

120 จุดศูนย์กลางของวงจรโครงการของภาคเอกชน คือข้อใด

(1) การกําหนดแนวคิดโครงการ

(2) การดําเนินโครงการ

(3) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) การส่งมอบโครงการ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 87 ประกอบ

Advertisement