การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายถึงความเป็นมาของกระแสแนวคิดการบริหารการพัฒนาในอดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมนําเสนอถึงความแตกต่างระหว่างแนวคิดหลักในการศึกษาการบริหารการพัฒนา ได้แก่ สํานักคิดดังเดิม สํานักคิดระบบ และสํานักคิดนิเวศวิทยา มาพอสังเขป

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 5 – 11, 27 – 40)

ความเป็นมาของการบริหารการพัฒนา

1 ความเป็นมาของการบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นกิจกรรม

ช่วงทศวรรษ 1930 ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทั่วโลก (The Great Depression) ทําให้ประธานาธิบดีโรสเวลท์ (Roosevelt) ของสหรัฐอเมริกา ต้องหันมาให้ความสําคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมในประเทศ โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงปรัชญาและการปฏิบัติงาน โดยรัฐบาลกลางได้ใช้ความริเริ่มใน การพัฒนาโครงการพัฒนาต่าง ๆ รวมทั้งมีการออกกฎหมายเพื่อปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ ทั้งในด้านการเงิน ระบบ ภาษี และสวัสดิการทางสังคม

1 การบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นกิจกรรมจึงเกิดขึ้นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา ถือได้ว่าเป็นการวางรากฐานของการบริหารการพัฒนา และนับว่าเป็นแบบอย่างในการพัฒนาแก่ประเทศอื่น ๆ ในเรื่องการ กําหนดหน้าที่ทั้งหลายขององค์การในการบริหารให้บรรลุผลสําเร็จ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือประเทศในยุโรปให้ฟื้นตัวจากสภาพของสงคราม โดยช่วยเหลือผ่านแผนการมาร์แชล (Marshall Plan) ในปี ค.ศ. 1947 จุดมุ่งหมายหลัก คือให้ยุโรปมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง เพื่อต่อต้านการรุกรานจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ซึ่งนําโดย สหภาพโซเวียต ซึ่งปรากฏว่าได้รับความสําเร็จทําให้ยุโรปฟื้นตัว และมีความเจริญก้าวหน้าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ในเวลาต่อมา

องค์การสหประชาชาติ (United Nation : UN) ได้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1945 ได้มี บทบาทอย่างสําคัญในการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ สังคม และวิชาการแก่ประเทศด้อยพัฒนาและกําลัง พัฒนา โดยมิได้คํานึงถึงอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นหลัก ดังเช่นกรณีของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ขณะเดียวกันประเทศตะวันตกที่เจริญแล้วก็ได้เข้าไปช่วยเหลือประเทศกําลังพัฒนาอื่น ๆ ในเอเชีย แอฟริกา และ อเมริกาใต้ด้วย

นอกจากนี้ องค์การเอกชนก็ได้เข้ามามีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกําลังพัฒนา เช่น มูลนิธิฟอร์ด มูลนิธิรอกกี้เฟลเลอร์ เป็นต้น ซึ่งเหตุผลก็เพราะว่าระบบภาษีของสหรัฐอเมริกาส่งเสริมทําให้เกิดมูลนิธิเอกชนเพื่อทําประโยชน์แก่สังคม

2 ความเป็นมาของการบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นศาสตร์

ในช่วงปลายทศวรรษ 1950 กลุ่มนักวิชาการชาวอเมริกันที่สนใจการบริหารเปรียบเทียบ ได้ ร่วมกันจัดตั้งสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์อเมริกัน (American Society for Public Administration : ASPA ขึ้น และภายในสมาคมนี้ก็ได้จัดตั้งกลุ่มย่อยขึ้นมาอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า กลุ่มการบริหารเปรียบเทียบ (Comparative Administration Group : CAS) ซึ่งหมายความว่าในระยะเวลานี้สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ได้ แยกตัวออกจากสาขาวิชารัฐศาสตร์แล้ว

ต่อมาในปี ค.ศ. 1952 และ 1965 กลุ่มการบริหารเปรียบเทียบ (CAG) ได้รับเงินอุดหนุน จากมูลนิธิฟอร์ดรวมกันเป็นเงิน 500,000 ดอลลาร์ มาใช้ในการวิจัย และเขียนตําราในด้านการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบ โดยในระยะแรกของกิจกรรมการวิจัยมีจุดเน้นหนักที่การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ แต่ต่อมาเงินทุน การวิจัยได้เปลี่ยนจุดเน้นมาที่สาขาย่อยคือ สาขาการบริหารการพัฒนา

ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า รากฐานความรู้ของการบริหารการพัฒนา (Development Administration : DA) ก็คือ การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (Comparative Public Administration : CPA) นั่นเอง แต่วิชา DA จะมีจุดเน้นที่แตกต่างไปจากวิชา CPA ก็คือ DA นั้นจะให้ความสําคัญเกี่ยวกับการประยุกต์ มากกว่า CPA

เพราะฉะนั้นวิชา DA ในฐานะที่เป็นสาขาย่อยของ CPA จึงได้แยกตัวออกมาจากวิชา CPA และ DA ก็ได้มีความเจริญก้าวหน้า มีผลงานการวิจัยและตําราเกิดขึ้นมากมายจนได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาหนึ่ง ของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ หรือการบริหารรัฐกิจในช่วงกลางทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา

สําหรับนักวิชาการกลุ่มการบริหารเปรียบเทียบ (CAS) นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการชาว อเมริกันที่เคยไปเป็นที่ปรึกษาแก่ประเทศกําลังพัฒนาในด้านการบริหารรัฐกิจ และได้พบว่าความรู้ส่วนหนึ่งของ วิชารัฐประศาสนศาสตร์ที่เกิดจากการศึกษาในประเทศที่พัฒนานั้น ส่วนหนึ่งสามารถนํามาใช้ได้ แต่อีกส่วนหนึ่ง ก็ไม่สามารถนํามาใช้ได้ในประเทศกําลังพัฒนา ทั้งนี้เพราะสภาพการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ กําลังพัฒนานั้นมีความแตกต่างไปจากประเทศที่พัฒนาแล้วโดยสิ้นเชิง

กล่าวโดยสรุป วิชาการบริหารการพัฒนา (DA) เป็นวิชาที่มีรากฐานมาจากวิชาการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบ (CPA) และเป็นผลมาจากการศึกษาของนักวิชาการกลุ่มการบริหารเปรียบเทียบ (CAG) นั่นเอง

แนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา

1 แนวการศึกษาแบบเก่าหรือดั่งเดิม (Traditional Administration)

การศึกษาแบบเก่า จะเน้นศึกษาด้านโครงสร้าง หลักเกณฑ์ ตลอดจนกระบวนการในการ บริหารงานขององค์การที่รับผิดชอบต่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้นการศึกษาในแนวนี้จึงเน้นถึงสมรรถนะในการบริหาร ขององค์การของรัฐบาล พยายามที่จะขจัดปัญหาและอุปสรรคในการบริหาร เพื่อที่จะแก้ไขและปรับปรุงกลไก ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อที่จะได้สนองตอบต่อความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

เพราะฉะนั้น การศึกษาการบริหารการพัฒนาในแนวความคิดนี้จึงเกี่ยวพันอยู่กับการ วางแผน การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงโครงสร้างขององค์การ การบริหารงานบุคคล ตลอดจนระบบการศึกษาอัน เป็นพื้นฐานของกระบวนการตัดสินใจ

2 แนวการศึกษาแบบระบบ (System Approach)

การศึกษาแบบระบบ จะมองการพัฒนาว่าเป็นระบบ (เปิด) ซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยต่าง ๆ มากมาย ดังนั้น เป้าหมายของการพัฒนาจึงขึ้นอยู่กับส่วนต่าง ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน

Saul M. Katz เป็นผู้ที่นําเอาแนวการศึกษาแบบระบบมาใช้ในการศึกษาการบริหารการพัฒนา โดยมองว่า การพัฒนาเป็นระบบ ซึ่งมีกระบวนการที่มีทิศทาง และมุ่งที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมให้ เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ และในสังคมระบบราชการจะเป็นตัวแทนที่สําคัญในการที่จะดําเนินการให้ กระบวนการพัฒนาประเทศบรรลุถึงเป้าหมายที่ได้วางไว้

ดังนั้น ระบบการพัฒนาจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน เงิน วัสดุอุปกรณ์ พฤติกรรม และการ จัดสรรเงิน เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการในด้านกลวิธีการและเทคนิคในการที่จะทํางานให้บรรลุผลสําเร็จ ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ หรืออาจกล่าวได้ว่าระบบการพัฒนาเป็นระบบที่สนองตอบต่อความต้องการในด้าน เทคนิคและวิธีการในการดําเนินงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่ได้วางไว้

3 แนวการศึกษาแบบภาวะนิเวศ (Ecological Approach)

การศึกษาภาวะนิเวศ หมายถึง การบริหารงานแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่าง ระบบบริหารกับสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเศรษฐกิจและสังคม ตัวอย่างเช่น

แนวความคิดในการบริหารการพัฒนาแบบภาวะนิเวศของ Edward W. Weidner เห็นว่า การบริหารการพัฒนา จะมีลักษณะที่สําคัญ 4 ประการ คือ

1 การเจริญเติบโตที่มีทิศทาง (Directional Growth)

2 การเปลี่ยนแปลงระบบ (System Change)

3 การวางแผนหรือจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนแปลง (Planning or Intended Change)

4 การเปลี่ยนแปลงโดยมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า (Planned Change)

จากลักษณะของการบริหารการพัฒนาทั้ง 4 ประการ ได้นํามาเป็นหลักในการจัดแบ่ง ประเภทของการบริหารการพัฒนาออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 การบริหารการพัฒนาแบบอุดมการณ์ (The Ideal Planned) เป็นกระบวนการวางแผน เพื่อความเจริญเติบโตในทิศทางของการสร้างชาติ ความทันสมัยและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงระบบ และมีการกําหนดโครงการพัฒนาต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อนําไปปฏิบัติให้บังเกิดผล เช่น การบริหารการพัฒนาโครงการเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริ, การจัดทําแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติของไทย เป็นต้น

2 การบริหารการพัฒนาที่ให้ผลระยะสั้น (The Short-run Payoff : Planned Directional Growth with no System Change) เป็นกระบวนการวางแผนเพื่อความเจริญเติบโตในทิศทางที่ต้องการ แต่จะ ไม่สนใจเปลี่ยนแปลงระบบสังคม โดยการบริหารการพัฒนาในลักษณะนี้ จะเห็นผลได้รวดเร็ว และสามารถขอ ความช่วยเหลือจากต่างประเทศได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังทําให้รัฐบาลเกิดเสถียรภาพ เนื่องจากไม่มีการเปลี่ยนแปลง ระบบสังคมนั่นเอง เช่น การอนุมัติเงินกู้จากเจบิคในการลงทุนสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ เป็นต้น

3 การบริหารการพัฒนาที่ให้ผลในระยะยาว (The Long-run Payoff : Planned System Change with no Directional Growth) เป็นกระบวนการวางแผนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบ แต่จะ ไม่มีทิศทางของการเจริญเติบโต ดังนั้นผลที่เกิดขึ้นจึงเป็นไปได้ทั้งในทางบวกและทางลบ เช่น การปฏิรูปกฎหมาย ภาษีและที่ดิน, การแบ่งส่วนแบ่งรายได้จากภาษีธุรกิจสุราเพื่อช่วยเหลือผู้พิการมากขึ้น, การปรับปรุงระบบ จําแนกตําแหน่งของข้าราชการไทยจากระบบซีเป็นระบบแท่ง เป็นต้น

4 การบริหารการพัฒนาที่สนองตอบต่อสภาพแวดล้อม (Environmental Stimulus : Unplanned Directional Growth with System Change) ไม่ได้มีการวางแผนระยะยาวเอาไว้ ทั้งนี้เพราะว่า กลุ่มที่มีอํานาจคัดค้านหรือสนับสนุนเพื่อต้องการสนองตอบต่อสภาพแวดล้อมบางอย่าง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลง ระบบอาจเกิดขึ้นได้ในระบบราชการโดยมีลักษณะเป็นการชั่วคราว ถ้าระบบราชการนั้นเห็นว่ามีเงื่อนไขที่สามารถ ทําได้

5 การบริหารการพัฒนาในทางปฏิบัติของประเทศต่าง ๆ (Pragmatism : Unplanned Directional Growth with no System Change) ส่วนใหญ่แล้วประเทศที่กําลังพัฒนาจะมีความเจริญเติบโต ไปในทิศทางที่ก่อให้เกิดการพัฒนาได้ โดยที่ไม่ต้องมีการวางแผนและการเปลี่ยนแปลงระบบหรือเปลี่ยนแปลง เพียงเล็กน้อย เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป

6 การบริหารการพัฒนาแบบวิกฤตการณ์ (Crisis : Unplanned System Change with no Directional Growth) เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบและเกิดการเจริญเติบโตแบบไม่มีการวางแผนและกําหนด ทิศทางเอาไว้ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงมักเป็นการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้น ซึ่งคล้ายกับเป็น การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น สงคราม ความอดอยาก โรคระบาด ปัญหาคนอพยพเข้าประเทศ ปัญหาช้างเร่ร่อน น้ําท่วม ฝนแล้ง และภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น

7 การบริหารการพัฒนาที่ล้มเหลว (Failure : Planning with no Growth or System Change) เป็นการวางแผนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบ และไม่มีการเจริญเติบโต ดังนั้นจึงถือว่าล้มเหลว

8 การไม่มีการบริหารการพัฒนา (Static Society : No Plans, No Change) อาจพบได้ ในสังคมบางส่วนของประเทศที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ต้องการพัฒนา

กล่าวโดยสรุปแล้ว ในการบริหารการพัฒนานั้น จะขึ้นอยู่กับกลุ่มชนชั้นผู้นําและผู้ที่มีอํานาจ ในการกําหนดนโยบายที่จะเลือกวิถีทางออกของการพัฒนาประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นรูปผสมของ การบริหารการพัฒนาชนิดที่ 1 – 6 ทั้งนี้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลลัพธ์ในระยะเวลาที่สั้น และแนวโน้มที่เป็น ที่น่าสังเกตคือในการมุ่งพัฒนาประเทศนั้น หน่วยงานราชการต้องการวิธีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีแผน หรือ การเปลี่ยนแปลงที่มีแผนแต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบมากนัก

 

ข้อ 2 จงอธิบายถึงความแตกต่างของความหมายของ DA และ AD พร้อมวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันในการนําไปสู่การบริหารการพัฒนา

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20, 31 – 34)

การบริหารการพัฒนา (Development Administration : DA)

การบริหารการพัฒนา เป็นการปรับกระบวนการบริหารให้เข้ากับจุดมุ่งหมายของโครงการรัฐบาล ซึ่งหมายความว่า เราต้องทราบถึงความต้องการของรัฐบาลก่อนว่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาอย่างไร แล้วจึงนํา การบริหารเข้ามาช่วยปฏิบัติการให้สําเร็จผลตามจุดมุ่งหมายนั้น

การบริหารการพัฒนา หมายถึง การบริหารงานของรัฐเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจ และสังคม ตามนโยบายของรัฐที่ได้กําหนดไว้แล้ว โดยนักบริหารการพัฒนาจะต้องทํางานเป็นตัวนําให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง

การบริหารการพัฒนา หมายถึง การดําเนินการตามนโยบาย แผน และโครงการต่าง ๆ ที่ กําหนดขึ้นโดยรัฐบาล ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหาร โดยที่การบริหารเป็นปัจจัยที่สําคัญ ที่ทําให้การเปลี่ยนแปลงสําเร็จตามเป้าหมาย

สรุป การบริหารการพัฒนาเป็นระบบบริหารที่มีการกําหนดจุดมุ่งหมาย (Goal Oriented) และมีการปฏิบัติการ (Action Oriented) ตามที่ได้กําหนดจุดมุ่งหมายไว้แล้ว

จากการที่มีผู้เสนอทัศนะเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาที่ครอบคลุมเรื่องการพัฒนาการ บริหาร หรือการเพิ่มพูนสมรรถนะของระบบบริหารให้เพียงพอที่จะรองรับภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ เช่น Fred W. Riggs เห็นว่า การบริหารการพัฒนามีความหมายสําคัญ 2 ประการ คือ

1 การบริหารโครงการพัฒนา หรือกรรมวิธีต่าง ๆ ที่องค์การขนาดใหญ่โดยเฉพาะ องค์การของรัฐนํามาใช้ในการปฏิบัติการตามนโยบายและแผนที่กําหนดขึ้นเพื่อสนองวัตถุประสงค์ในการพัฒนา

2 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสมรรถนะทางการบริหาร

การพัฒนาการบริหารต้องอาศัยกระบวนการทางการเมือง หรือกลุ่มผลประโยชน์ทาง การเมืองที่คอยกระตุ้นให้มีการพัฒนาการบริหาร หรือการที่รัฐบาลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบต่อการนํานโยบายในการ พัฒนาการบริหารต่อข้าราชการและประชาชน จึงมีความจําเป็นที่ต้องมีการพัฒนาการบริหารให้มีความทันสมัย หรือมีการปฏิรูประบบการบริหารเสียใหม่

การพัฒนาการบริหาร (Administrative Development : AD or Development of Administration 😀 of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้ สามารถดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การ การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูปโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมการบริหารให้มีสมรรถนะ (Capabilities) หรือความสามารถที่จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม สําหรับการพัฒนาประเทศ

จากทัศนะของนักวิชาการต่าง ๆ ได้ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาการบริหารไม่ใช่การปรับปรุง องค์การหรือการปรับปรุงนวัตกรรมขององค์การ แต่จะมีขอบข่ายที่กว้างขวางมากกว่า คือเน้นการเปลี่ยนแปลง ทางด้านโครงสร้าง เปลี่ยนแปลงกระบวนการในการทํางานและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงระดับปฏิบัติการ ดังนั้นการปรับปรุงองค์การและนวัตกรรมองค์การจึงเป็นเพียงส่วน หนึ่งของการพัฒนาการบริหาร

 

ข้อ 3 จงวิเคราะห์ถึงพัฒนาการของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย จากอดีตจนถึงปัจจุบันว่ามีประเด็นความแตกต่างอย่างไรบ้าง และสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนทัศน์ของการบริหารการพัฒนาของไทยอย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบมาพอสังเขป

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 162 – 300), (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 72 – 89)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย

ประเทศไทยขอให้ธนาคารโลกส่งคณะผู้แทนเข้ามาสํารวจสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อ ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สรุปว่า คณะสํารวจสภาวะเศรษฐกิจของธนาคารโลกเดิน ทางเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2500 จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2501 และได้ จัดทํารายงานขึ้นมาฉบับหนึ่งเรียกว่า A Public Development Program for Thailand แม้จะไม่ได้เป็น แผนพัฒนาเศรษฐกิจที่แท้จริงที่รัฐบาลไทยรับรองเป็นทางการก็ตาม แต่เป็นการศึกษาปัญหาและแนวทางการ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างละเอียด

คณะสํารวจสภาวะเศรษฐกิจของธนาคารโลก ได้คํานวณปริมาณเงินที่รัฐบาลอาจจัดหามาได้ ในระหว่างปี พ.ศ. 2501 – 2506 และแนะวิธีการจัดสรรเงิน ตลอดจนกําหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้รายจ่ายนั้นได้ประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมากที่สุด รายงานฉบับนี้จึงอาจใช้เป็นหลักใน การดําเนินงานวางแผนพัฒนาการเศรษฐกิจของชาติได้เป็นอย่างดี

ข้อเสนอของคณะสํารวจสภาวะเศรษฐกิจของธนาคารโลกที่นับว่ามีความสําคัญเป็นอย่าง มากต่อการจัดเตรียมงานวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย คือ ข้อเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งหน่วยงาน วางแผนพัฒนาการเศรษฐกิจระดับชาติขึ้นเป็นการถาวร โดยมอบหมายให้ทําหน้าที่ศึกษา ติดตาม วิจัยสภาวะ เศรษฐกิจ และให้มีหน้าที่จัดทําแผนพัฒนาการเศรษฐกิจของประเทศ การดําเนินงานของหน่วยงานวางแผน พัฒนาเศรษฐกิจระดับชาตินี้ให้อยู่ในความรับผิดชอบของเลขาธิการ และให้จัดตั้งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ แห่งชาติ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 – 2509) เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2504 โดยเป็นแผนพัฒนาฯ ฉบับเดียวที่มีระยะเวลาใช้งาน 6 ปี ซึ่งจะมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยเฉพาะการลงทุนสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Facilities) เช่น ถนน รถไฟ เขื่อน ไฟฟ้า ประปา ระบบชลประทาน ระบบโทรคมนาคม และสาธารณูปการอื่น ๆ เป็นต้น แต่มิได้กล่าวถึงแผนงาน ด้านการพัฒนาสังคมเลย (ด้วยเหตุนี้ จึงยังไม่มีคําว่า “และสังคม” ต่อท้ายชื่อแผน เหมือนแผนพัฒนาฯ ฉบับ อื่น ๆ) อย่างไรก็ตาม การพัฒนาตามแนวทางดังกล่าวได้ทําให้เกิดปัญหาช่องว่างของการกระจายรายได้ และ ปัญหาคุณภาพชีวิตของคนในชนบท

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 – 2514) แนวทางการพัฒนา ยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลักเหมือนกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 แต่ได้เริ่มพูดถึงความสําคัญของการ กระจายความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเขตทุรกันดารและห่างไกลความเจริญ – และเริ่มพูดถึงเรื่องการพัฒนาสังคมบ้างเล็กน้อย

ข้อสังเกต แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 จะมุ่งเน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้านการลงทุนและกระจายการพัฒนา โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน รถไฟ เขื่อน ไฟฟ้า ประปา ระบบชลประทาน ระบบโทรคมนาคม และ สาธารณูปการอื่น ๆ เป็นต้น แต่การพัฒนาตามแนวทางดังกล่าว ทําให้เกิดปัญหาซ่องว่างของการกระจายรายได้ และปัญหาคุณภาพชีวิตของคนในชนบท

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 – 2519) ยังคงมุ่งเน้นการ พัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่ให้ความสําคัญกับการรักษาเสถียรภาพทางการเงินมากขึ้น และให้ความสําคัญกับการ พัฒนาสังคม การลดอัตราการเพิ่มประชากร และการกระจายรายได้ควบคู่กันไปด้วย

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 – 2524) เกิดวิกฤตการณ์ ทางการเงินระหว่างประเทศ วิกฤตการณ์น้ํามัน ภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งปัญหาฝนแล้งและน้ําท่วม ทําให้รัฐบาลต้อง หันมาให้ความสําคัญต่อการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าระยะสั้น แผนพัฒนาฯ ฉบับนี้จึงเป็นเพียงการเร่งบูรณะและ ปรับปรุงการบริหารทรัพยากรหลักของชาติ อย่างไรก็ตามพบว่า การพัฒนามักตกอยู่กับคนรวยมากกว่าคนจน โดยมีคนจนมาก ๆ อยู่ในชนบทห่างไกลเป็นจํานวนถึง 11.5 ล้านคน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529) ได้ปรับเปลี่ยน ปรัชญาและทิศทางการพัฒนาใหม่ โดยมุ่งพัฒนาในพื้นที่ยากจนหรือด้อยพัฒนาเป็นอันดับแรก นอกจากนั้นยัง เริ่มเปลี่ยนวิธีการวางแผนจากรายโครงการมาเป็นการจัดทําแผนงาน (Programming) โดยเฉพาะในส่วนที่ เกี่ยวกับการพัฒนาชนบทและการพัฒนาชายฝั่งทะเล

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 – 2534) เศรษฐกิจไทยมี การขยายตัวในระดับสูง เน้นวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เริ่มให้ความสําคัญมาก ขึ้นต่อการสนับสนุนการวางแผนจากระดับล่างขึ้นมาข้างบน และให้ความสําคัญต่อการปรับปรุงการบริหารและ ทบทวนบทบาทของรัฐในการบริหารประเทศ สังคมไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทไปสู่ความเป็นสังคมเมือง มากขึ้น ทําให้วิถีชีวิตและความเป็นอยู่แบบไทยดั้งเดิมต้องปรับเปลี่ยน เน้นการดําเนินชีวิตในรูปแบบสมัยใหม่ เน้นการบริการพื้นฐานที่มีอยู่แล้วมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 – 2539) เนื่องจากการ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจของไทยขยายตัวมากขึ้น รัฐบาลจึงปรับแนวคิดไปสู่การพัฒนา ที่ยั่งยืน โดยมุ่งรักษาระดับความเจริญเติบโตในระดับที่เหมาะสมควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การ กระจายรายได้ที่เป็นธรรม ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม ทําให้ประเทศไทย พ้นจากการถูกจัดให้เป็นประเทศยากจน เข้าสู่ประเทศที่กําลังพัฒนา แต่การเติบโตดังกล่าวยังอยู่บนพื้น ฐานความไม่สมดุลของการพัฒนา เพราะมีปัญหาความเหลื่อมล้ําของการกระจายรายได้ และผลประโยชน์ ระหว่างภาคระหว่างชนบทกับเมืองและระหว่างกลุ่มคนในสังคม ดังนั้นแม้เศรษฐกิจจะขยายตัวแต่สังคมยังมีปัญหา การพัฒนาจึงไม่ยั่งยืน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544) เป็นจุดเปลี่ยน สําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศและเป็นแผนปฏิรูปความคิดและคุณค่าใหม่ของสังคมไทยที่ให้ความสําคัญ กับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม และมุ่งเน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” และกําหนดให้เศรษฐกิจ เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนา แบบแยกส่วนมาเป็นบูรณาการแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม ในปีแรกของแผนพัฒนาฯ ประเทศไทยต้องประสบวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ทําให้ต้องมีการปรับแผน โดยเน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การลดผลกระทบต่อการพัฒนาคนและ สังคม และการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549) ได้อันเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ตามพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาเป็นปรัชญา นําทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ ควบคู่ไปกับกระบวนทัศน์การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็น ศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยยึดหลักทางสายกลางเพื่อให้ประเทศรอดพ้นจาก วิกฤต สามารถดํารงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนําไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยังยืน ภายใต้กระแส โลกาภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยให้ความสําคัญกับการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554) ประเทศไทย ยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญในหลายบริบท ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจํากัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้มีภูมิคุ้มกัน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้น โดยยังคงอันเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบบูรณาการ เป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และฉบับที่ 9 และให้ ความสําคัญต่อการรวมพลังสังคมจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมดําเนินการในทุกขั้นตอนของแผนฯ พร้อมทั้ง สร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามตรวจสอบผลการ ดําเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่อง

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2558) มีแนวคิดที่ ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 – 10 โดยยังคงยึดหลักการปฏิบัติตาม “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ ขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกภาคส่วนทุกระดับ ยึดแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการ เป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” มีการเชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งมิติตัวคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมือง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งใน ระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ขณะเดียวกันให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุก ภาคส่วนในสังคมในกระบวนการพัฒนาประเทศ เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์ “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความ เสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง”

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ได้จัดทําขึ้นใน ช่วงเวลาของการปฏิรูปประเทศท่ามกลางสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเชื่อมโยงกันใกล้ชิดกัน มากขึ้น โดยได้น้อมนําหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานําทางในการพัฒนาประเทศ ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 – 11 เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยสามารถยืนหยัดอยู่ได้ อย่างมั่นคงเกิดภูมิคุ้มกัน และมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ส่งผลให้การพัฒนาประเทศสู่ความ สมดุลและยั่งยืน

ในการจัดทําแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ครั้งนี้ได้จัดทําบนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ซึ่งเป็นแผนแม่บทหลักของการพัฒนาประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 ตลอดจนประเด็น การปฏิรูปประเทศ นอกจากนั้นได้ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนทั้งในระดับกลุ่มอาชีพ ระดับภาค และระดับประเทศในทุกขั้นตอนของแผนฯ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องเพื่อร่วมกัน กําหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งร่วมจัดทํารายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

หลักการสําคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จะมุ่งบรรลุเป้าหมายในระยะ 5 ปี ที่จะสามารถต่อยอดในระยะต่อไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนา ระยะยาวตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีหลักการสําคัญของแผนพัฒนาฯ ดังนี้

1 ยึด “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ต่อเนื่องมาตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อให้เกิดบูรณาการการพัฒนาในทุกมิติอย่างสมเหตุสมผล มีความพอประมาณ และมีระบบภูมิคุ้มกันและการ บริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี

2 ยึด “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสําหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดี รับผิดชอบ ต่อสังคม มีจริยธรรมและคุณธรรม

3 ยึด “วิสัยทัศน์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” มาเป็นกรอบของวิสัยทัศน์ประเทศไทยใน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติพจน์ประจําชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

4 ยึด “เป้าหมายอนาคตประเทศไทยปี 2579” ที่เป็นเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มาเป็นกรอบในการกําหนดเป้าหมายที่จะบรรลุใน 5 ปีแรก และเป้าหมายในระดับย่อยลงมา โดยที่เป้าหมายและ ตัวชี้วัดในด้านต่าง ๆ มีความสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายที่ยั่งยืน

5 ยึด “หลักการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้ําและขับเคลื่อนการเจริญเติบโต จากการเพิ่มผลิตภาพการผลิตบนพื้นฐานของการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม”

6 ยึด “หลักการนําไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจังใน 5 ปี ที่ต่อยอดไปสู่ ผลสัมฤทธิ์ที่เป็นเป้าหมายระยะยาว” จากการที่แผนพัฒนาฯ เป็นกลไกเชื่อมต่อในลําดับแรกที่จะกํากับและส่งต่อ แนวทางการพัฒนาและเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้เกิดการปฏิบัติในทุกระดับและในแต่ละด้านอย่าง สอดคล้องกัน

Advertisement