การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน

ข้อ 1 การบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D) และการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A) หมายถึงอะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 95, 101), (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20, 31),

(คําบรรยาย) ความหมายของการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D)

การบริหารเพื่อการพัฒนา คือ การที่รัฐบาลมีนโยบายและโครงการพัฒนาขึ้น และต้อง มีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาเพื่อให้การดําเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การบริหารเพื่อการพัฒนา หมายถึง การนําเอาสมรรถนะหรือความสามารถที่มีอยู่ในระบบ การบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริง ๆ เพื่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในการเจริญเติบโต ทั้งทางการบริหาร การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวมของประเทศ

ความหมายของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้ สามารถดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การบริหารเพื่อการพัฒนาและการพัฒนาการบริหารมีความแตกต่างกัน คือ ในการบริหารประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น สิ่งที่สําคัญคือ การมีนโยบายและโครงการพัฒนาต่างๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การมีนโยบายและโครงการ พัฒนาขึ้นมานั้น รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารจะต้องมีการจัดองค์การขึ้นมาเพื่อที่จะให้ดําเนินงานให้บรรลุผลสําเร็จ ตามเป้าหมายในการพัฒนา การจัดองค์การขึ้นเพื่อทําหน้าที่นี้จึงเป็นเรื่องของการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D)

เมื่อองค์การได้รับการจัดตั้งขึ้นมาแล้ว เรื่องที่สําคัญก็คือความสามารถในการบริหารงานให้ สําเร็จตามเป้าเหมาย ซึ่งเกี่ยวพันกับปัจจัยทางด้านคน เงิน วัสดุ และการจัดการ หรืออื่นๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องของ การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration 😀 of A)

 

ข้อ 2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จในการพัฒนาการบริหารมีอะไรบ้าง มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับการบริหารการพัฒนาในประเทศไทย

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 94 – 99), (เอกสารหมายเลข 47 หน้า 57 – 63) .

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จในการพัฒนาการบริหาร

จากการศึกษาของวรเดช จันทรศร พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จของการปฏิรูป การบริหาร หรือปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับและได้รับการนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลนั้น มีอย่างน้อย 10 ปัจจัย ดังต่อไปนี้

1 ขอบข่ายของการปฏิรูป ยิ่งขอบข่ายของการปฏิรูปมีความกว้างเพียงใด โอกาสที่แผนการ ปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็ยิ่งจะมีน้อยลง ขณะเดียวกันโอกาสที่จะได้รับการนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็มี น้อยลงด้วย เพราะขอบข่ายการปฏิรูปที่กว้างขวางจําเป็นต้องได้รับการยอมรับหรือได้รับการสนับสนุนทางการเมือง อย่างเต็มที่ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เป็นไปได้ยากในประเทศที่กําลังพัฒนา เว้นแต่ในกรณีที่ผู้นําใช้อํานาจอย่างเบ็ดเสร็จ โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติก็จะมีมากขึ้นด้วย เช่น การปฏิรูประบบราชการ เมื่อปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลในสมัยนั้นได้ประกาศนโยบายการปฏิรูประบบราชการเป็นนโยบายหนึ่งภายใต้นโยบายด้าน การบริหารราชการแผ่นดินด้วย เป็นต้น

2 เวลาที่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะบรรลุผล ยิ่งแผนการปฏิรูปมุ่งจะให้การเปลี่ยนแปลง บรรลุผลรวดเร็วเพียงใด โอกาสที่แผนหรือข้อเสนอนั้นจะได้รับการยอมรับก็จะมีน้อยลง (ยกเว้นในกรณีวิกฤติ) ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเท่าใดก็จะทําให้เกิดการต่อต้านมากขึ้น เพราะเวลาที่จะสร้างความเข้าใจให้กับ ผู้ที่เกี่ยวข้องก็จะน้อยลงด้วย ทําให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงหรือสูญเสียผลประโยชน์ จึงต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว เช่น กรณีการต่อต้าน พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เนื่องจากรัฐบาลเร่งรัดในการนํา กฎหมายฉบับนี้มาใช้จึงขาดการสร้างความเข้าใจกับประชาชน หรือกรณีการนําวิธีตัดแต้มใบขับขี่มาใช้จัดระเบียบ การจราจรของตํารวจ ต้องเร่งการประชาสัมพันธ์ และการแก้ปัญหาของอุปกรณ์ที่ใช้ในการดําเนินการ

แต่ถ้าแผนการปฏิรูปมุ่งจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบช้า เนิ่นนานมากขึ้น โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะมีมากขึ้นด้วย แต่ขณะเดียวกันโอกาสที่จะนําแผนการปฏิรูปไป ปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะมีน้อยลง เพราะเวลาที่เนินนานออกไปจะทําให้ได้รับการมองจากฝ่ายปฏิบัติว่ามี ความสําคัญน้อยไม่เร่งด่วน เว้นเสียแต่ว่ามีผู้นําที่ตั้งใจจริง และสนับสนุนแผนการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องก็จะทําให้ โอกาสที่แผนจะบรรลุผลมีมากขึ้นด้วย

3 ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของการปฏิรูป การขาดความชัดเจนในวัตถุประสงค์ ของแผน ทําให้เกิดความยากลําบากในการปฏิบัติ ยากต่อการควบคุมตรวจสอบและประเมินความก้าวหน้าของแผน เช่น กรณีของแผนการบริหารเกี่ยวกับนโยบายความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้เริ่มแผนการปฏิรูป ระบบบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ได้ระบุเป้าหมายไว้กว้าง ๆ ไม่ชัดเจน และที่มาของนโยบายแผนงาน และโครงการที่ติดตามอีกหลายเรื่อง เช่น นโยบายการจัดตั้งองค์กรการบริหารเหนือระดับจังหวัด คือ ศูนย์อํานวยการบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพราะเหตุที่เป้าหมายในการปฏิรูปไม่ชัดเจนจึง ทําให้ไม่ได้รับการต่อต้าน แต่มีผลทําให้การปฏิบัติยากต่อการบรรลุเป้าหมาย เนื่องจากขาดการกําหนดตัวชี้วัด ความมีสัมฤทธิผลของแผนที่มีความชัดเจนด้วย

4 ความสอดคล้องของเป้าหมายย่อยในแผนการปฏิรูป ถ้าหากเป้าหมายย่อยในแผนการปฏิรูปมีความสอดคล้องหรือมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักแล้ว โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะมีมากขึ้น ขณะเดียวกันโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็มีสูงขึ้นด้วย แต่ถ้าหากวัตถุประสงค์ย่อยใน แผนการปฏิรูปไม่มีความสอดคล้องหรือมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักแล้ว โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับ และนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะลดลงด้วย เช่น แผนการปฏิรูประบบบริหารของจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีกิจกรรมย่อยมากมาย แต่ละกิจกรรมนั้นต่างก็มีวัตถุประสงค์ของตนเอง ซึ่งมีทั้งสอดคล้องกับเป้าหมายหลัก และมีทั้งที่ห่างไกลจากเป้าหมายหลัก ฉะนั้นจึงยากต่อการนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายตามแผน

5 เครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน หมายถึง การนําเครื่องใช้ หรือวิธีการใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในองค์การ เช่น การนําคอมพิวเตอร์มาใช้ หรือการพัฒนาองค์การให้เข้าใจในระบบ สารสนเทศ แต่เครื่องมือที่ซับซ้อนยากแก่ความเข้าใจทําให้การยอมรับน้อยลง และโอกาสที่จะได้รับการนํานโยบาย ไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายยิ่งน้อยลงด้วย และยิ่งเป็นวิธีการที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยมและพฤติกรรมดั้งเดิมของ ผู้ปฏิบัติงานก็ยิ่งไม่ได้รับการยอมรับมากขึ้น เช่น แผนการปฏิรูประบบการบริหารงานภายในมหาวิทยาลัย ด้วย การเสนอให้มีการประเมินความรู้ความสามารถของอาจารย์เป็นช่วงเวลา 3 ปี หรือ 5 ปี วิธีการเช่นนี้ขัดแย้งกับ พฤติกรรมของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน จึงไม่ได้รับการยอมรับและความพยายามของผู้บริหารระดับสูง ที่จะผลักดันนโยบายนี้ก็ยากที่จะสําเร็จลงได้

6 ทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิรูป หากต้องใช้ทรัพยากรมากเท่าใด โอกาสที่แผนการปฏิรูป จะได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติก็จะน้อยลงด้วย เพราะการที่ต้องแย่งชิงทรัพยากรระหว่างหน่วยงานอื่น ๆ จึง อาจเกิดการต่อต้านได้ แต่ถ้าหากรัฐบาลมีทรัพยากรมากเพียงพอไม่ต้องแย่งชิงกัน โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับ การยอมรับและนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย เช่น กรณีในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทําการ ปฏิรูปการคลังเป็นจุดเริ่มต้น ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับแผ่นดินจึงมีทรัพยากรที่มากเพียงพอที่จะนําไปใช้ในการวางแผน ปฏิรูประบบบริหารในส่วนอื่น ๆ ได้ เป็นต้น

7 กิจกรรมนําเข้าที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามและประเมินผลการปฏิรูป แผนการปฏิรูปที่มีกิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามประเมินผลมากเพียงใด โอกาสที่แผนนั้นจะได้รับ การยอมรับและถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็จะมีมากขึ้น กิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุม เช่น จํานวน หลักสูตรฝึกอบรมที่จัดให้ข้าราชการ จํานวนบุคคลที่ถูกสับเปลี่ยนตําแหน่ง จํานวนบุคคลที่ถูกคัดเลือกเข้ามา ทํางานใหม่ จํานวนเงินที่ใช้ จํานวนวัสดุอุปกรณ์ที่จัดซื้อใหม่ จํานวนกฎระเบียบที่ถูกยกเลิก

กิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติตามแผนการปฏิรูปสามารถควบคุม และตรวจสอบความก้าวหน้าของแผนการปฏิรูปได้ และยิ่งมีกิจกรรมนําเข้าที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงมากเท่าใด โอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงก็มีมากเท่านั้น เช่น ในองค์กรทหาร บุคคลที่เข้ารับราชการทหารจะต้องผ่าน การฝึกอบรมตั้งแต่ปีแรก และเป็นช่วง ๆ ตามหลักสูตรต่าง ๆ จนใกล้เกษียณอายุ หรือหลักสูตรของวิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร เป็นต้น

8 ผลผลิตของกิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามและประเมินผลการ ปฏิรูป การพิจารณาแต่กิจกรรมการนําเข้าเพื่อวัดความสําเร็จของแผนนั้นอาจทําให้ผู้ปฏิบัติละเลยความสําเร็จ ตามวัตถุประสงค์หลักของการปฏิรูป ฉะนั้นจําเป็นจะต้องกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของผลลัพธ์การดําเนินการ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ และควรเป็นตัวชี้วัดที่หลากหลาย เช่น จํานวนคนมารับบริการ เวลาเฉลี่ยที่ประชาชน ต้องใช้ในการติดต่อราชการแต่ละเรื่อง ความพอใจของประชาชนผู้รับบริการ

ตัวชี้วัดผลผลิต Output ของแผนการปฏิรูปนี้เป็นเรื่องที่กําหนดยาก อาจถูกโต้แย้งได้ง่าย ฉะนั้นโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะน้อยลง เพราะวัดสัมฤทธิผลยาก แต่หากได้รับการยอมรับ แล้วโอกาสที่แผนจะถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็จะสูงขึ้น การกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของแผนการปฏิรูปใน เชิงปริมาณเช่นนี้ เป็นปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความเข้าใจในการนํานโยบายไปปฏิบัติ เช่น แผนการปฏิรูป การทํางานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.)

9 การสร้างการมีส่วนร่วม ในแผนการปฏิรูปจําเป็นจะต้องสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในขั้นตอนการยอมรับแผนและในขั้นตอนของการนําไปปฏิบัติ การเปิดโอกาสให้ช่วยกันคิดกันทํา จะทําให้โอกาสที่แผนจะได้รับการยอมรับสูงขึ้น และการสร้างความเข้าใจที่ตรงกันจะทําให้การนําแผนการปฏิรูป ไปปฏิบัติมีโอกาสบังเกิดผลสําเร็จสูงขึ้นด้วย เช่น กรณีตํารวจตระเวนชายแดนระดมสรรพกําลังหยุดยั้งยาเสพติด เป็นต้น

10 การทดลองหรือสาธิตข้อเสนอในแผนการปฏิรูป ยิ่งแผนการปฏิรูปได้มีโอกาสถูก ทดลองหรือสาธิตมากเพียงใด โอกาสที่แผนจะได้รับการยอมรับก็จะมีสูงขึ้น และโอกาสที่จะได้มีการนําไปปฏิบัติ ให้บังเกิดผลก็จะมีสูงขึ้นด้วย เพราะการทดลองจะช่วยให้ทราบถึงผลกระทบของแผน ลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ทั้งในกระบวนการยอมรับและในกระบวนการของการนําไปปฏิบัติให้น้อยลงได้ เช่น กรณีการทดลองใช้รถไฟฟ้าใต้ดิน กรณีการทดลองจัดตั้งสถานีตํารวจนครบาลจนขยายผลและนํามาใช้เต็มรูปแบบในปัจจุบัน

 

ข้อ 3 ให้นักศึกษาอธิบายถึงแนวคิดของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ แล้วอธิบายว่าแนวคิดเหล่านี้ สามารถนํามาใช้ในการบริหารพัฒนาประเทศไทยได้อย่างไร

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 246 หน้า 4 – 9)

แนวคิดของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ

เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ จะเน้นในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการดําเนินงานขององค์กร เป็นสําคัญ โดยแนวคิดนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยในการปรับปรุงวิธีการดําเนินงาน ความสามารถและผลลัพธ์ขององค์การ รวมทั้งช่วยกระตุ้นให้มีการสื่อสารและแบ่งปันสารสนเทศ ตลอดจนวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างองค์กรต่าง ๆ อีกทั้ง ยังเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถนํามาใช้ในการจัดการดําเนินการขององค์กร รวมถึงใช้เป็นแนวทางในการวางแผน และเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ ซึ่งแนวคิดของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ พอสรุปได้ดังนี้

1 การนําองค์กร เป็นวิธีการบริหารที่ผู้นําระดับสูงนํามาใช้อย่างเป็นทางการ และอย่าง ไม่เป็นทางการทั่วทั้งองค์กร ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานและวิธีการใช้ในการตัดสินใจเรื่องที่สําคัญ การสื่อสารและการนําไปปฏิบัติ รวมถึงโครงสร้างและกลไกในการตัดสินใจ การเลือกสรรและการพัฒนาผู้นํา รวมทั้งกระแส โครงสร้างค่านิยม พฤติกรรมที่มีจริยธรรม ทิศทางและความคาดหวังด้านผลการดําเนินการ

2 การเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากร เป็นการปรับปรุงแนวทางให้ดีขึ้น โดยใช้วงจร การประเมินผลและการปรับปรุง มีการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของแนวทางโดยใช้ นวัตกรรม การแบ่งปันความรู้จากการปรับปรุงที่ดีขึ้น และนวัตกรรมกับหน่วยงาน และกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้อง ภายในองค์กร

การเรียนรู้เน้นความรู้หรือทักษะใหม่ที่ได้รับจากการประเมิน การศึกษาประสบการณ์ และนวัตกรรม ซึ่งประกอบกับการเรียนรู้ขององค์กรที่ได้มาจากการวิจัยและการพัฒนาวงจรการประเมิน และ การปรับปรุง ความคิดและปัจจัยนําเข้าอื่น ๆ จากบุคลากรและลูกค้าขององค์กร การแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ และการจัดระดับเทียบเคียง ส่วนการเรียนรู้ของบุคลากรจะได้มาจากการศึกษา การฝึกอบรม และโอกาสในการ พัฒนาเพื่อความเจริญก้าวหน้าของแต่ละบุคคล

การที่องค์กรจะบรรลุผลการดําเนินการที่เป็นเลิศได้ องค์กรจะต้องมีแนวทางที่ปฏิบัติ ได้เป็นอย่างดี ในเรื่องการเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากร ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของแนวทางที่มีอยู่ และการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญที่นําไปสู่เป้าหมายและแนวทางใหม่ ๆ โดยการเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากรใน องค์กรจะต้องถูกปลูกฝังลงไปในทุกแนวทางที่องค์กรปฏิบัติการจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดี

3 การมุ่งเน้นผลลัพธ์ หมายถึง การใช้ผลลัพธ์ขององค์กร เพื่อสนองคุณค่าและรักษา ความสมดุลของคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย การสร้างคุณค่าให้สมดุลนี้จึงเกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้น ลูกค้า/ประชาชน การให้ความสําคัญกับบุคลากร การมุ่งเน้นอนาคตและความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนี้

การมุ่งเน้นลูกค้าประชาชน เนื่องจากประชาชนเป็นผู้ตัดสินคุณภาพและผลดําเนินการ ขององค์กร เพราะฉะนั้นองค์กรจึงต้องคํานึงถึงรูปแบบ และคุณลักษณะทั้งหมดของผลิตภัณฑ์และบริการ

การให้ความสําคัญกับบุคลากร/พนักงานภายในองค์กร เป็นแนวทางการดําเนินการ ที่มุ่งสร้าง สนับสนุนและส่งเสริมให้พนักงานหรือบุคลากรมีความพึงพอใจในการทํางาน ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพ ของงานและความสําเร็จขององค์กร

การมุ่งเน้นอนาคต เป็นแนวทางการดําเนินการที่มีผลต่อความยั่งยืนขององค์กร โดย องค์กรจะต้องมีการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ การตลาด การเป็นผู้นําในตลาด และการมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

ความรับผิดชอบต่อสังคม การบําเพ็ญตนเป็นพลเมืองดี เกี่ยวข้องกับการนําองค์กร และการสนับสนุนจุดประสงค์ที่สําคัญด้านสาธารณะ รวมถึงการปรับปรุงด้านการศึกษาและสุขอนามัยของชุมชน การทําให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี การอนุรักษ์ทรัพยากร การให้บริการชุมชน การปรับปรุงวิธีปฏิบัติขององค์กรและ อุตสาหกรรม และการแบ่งปันสารสนเทศที่ไม่เป็นความลับทางองค์กร

4 การจัดการองค์กร การจัดองค์กร เป็นการจัดการกระบวนการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ซึ่งมีนัยยะสําคัญต่อองค์การในด้านการสร้างคุณค่าต่อลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนี้ การจัดการองค์กรยังเป็นกระบวนการสนับสนุนที่สําคัญในการวางแผนดําเนินงาน โดยจะคํานึงถึงการจัดการด้าน การเงินและการวางแผนให้สามารถดําเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตามหลักการแล้ว การจัดการองค์กรจะเน้น การวิเคราะห์ไปที่ส่วนสําคัญ 3 ประการ คือ ความคล่องตัว นวัตกรรม และการใช้ข้อมูลจริง

5 การจัดการเชิงระบบ แนวคิดนี้แสดงให้เห็นในกรอบการบริหารจัดการตามแนวทาง รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นมุมมองเชิงระบบที่ครอบคลุมถึงการที่ผู้นําระดับสูงมุ่งเน้นทิศทางเชิงกลยุทธ์และ มุ่งเน้นลูกค้า โดยผู้นําระดับสูงจะทําการตรวจ ติดตาม ปรับปรุงแก้ไข และจัดการผลการดําเนินการโดยระดับผลลัพธ์ ทางธุรกิจหรืองานบริการ นอกจากนี้การจัดการระบบยังรวมถึงการใช้ตัวชี้วัด ดัชนีชี้วัด และความรู้ขององค์การ เพื่อสร้างกลยุทธ์ที่สําคัญและเชื่อมโยงกลยุทธ์ต่าง ๆ เข้ากับกระบวนการที่สําคัญและการจัดสรรทรัพยากรให้มี ความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อปรับปรุงผลการดําเนินการโดยรวมและทําให้ลูกค้าพึงพอใจ

 

ข้อ 4 ให้นักศึกษาอธิบายมินิพาราไดม์เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาว่าสามารถนํามาช่วยปรับปรุงสมรรถนะของการบริหารองค์การให้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 244 หน้า 10 – 11)

มินิพาราไดม์เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา

นับตั้งแต่รัฐบาลอเมริกันได้จัดทําโครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี โดยมีการบริหารงานแบบ ภายนอกที่มุ่งเน้นการติดต่อกับหน่วยงานภายนอก ให้มาสนับสนุนโครงการพัฒนาของหน่วยงานนั้น ได้รับความสําเร็จ เป็นอย่างมาก การบริหารงานแบบภายนอกนี้ได้รับการศึกษาเรื่อยมา

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1962 Weidner ได้เรียกการศึกษานี้ว่า “การบริหารการพัฒนา” หลังจากนั้น ศัพท์ใหม่นี้ก็ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นมินิพาราไดม์ที่ได้รับความสนใจอย่างมาก

ในทศวรรษ 1980 การบริหารการพัฒนาได้เน้นการสร้างสมรรถนะทางการบริหาร เพื่อให้ องค์การบริหารสามารถส่งมอบสินค้าและบริการให้แก่ประชาชนได้ เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัด ไม่สิ้นเปลือง และมีประสิทธิภาพ โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษและความเสื่อมโทรม เน้นการพัฒนาประเทศร่วมกันระหว่าง ภาครัฐและภาคเอกชน โดยส่งเสริมการประกอบการแบบเสรีและสนับสนุนการบริหารแบบประชาธิปไตย และเน้น การเมืองของการปฏิบัติตามนโยบายพัฒนาโดยใช้ระเบียบกฎเกณฑ์ทางการบริหารร่วมกับการต่อรองทางการเมือง

การบริหารการพัฒนามีจุดเน้นที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ในทศวรรษที่ 1960 การบริหาร การพัฒนาเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยและต่อต้านภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์

ในทศวรรษที่ 1970 การบริหารการพัฒนาจะมุ่งเน้นความสนใจไปที่ความเสมอภาคทางสังคม การกระจายอํานาจ การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของชาวชนบท

ในทศวรรษที่ 1980 การบริหารการพัฒนาได้เน้นการสร้างสมรรถนะทางการบริหารหรือ เรพัฒนาการบริหาร โดยการจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงหรือปฏิรูปโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรม การบริหารให้มีสมรรถนะหรือความสามารถที่จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมสําหรับ การพัฒนาประเทศ

ในทศวรรษที่ 1990 การบริหารการพัฒนาได้เน้นการบริหารเพื่อการพัฒนา โดยการนําสมรรถนะ หรือความสามารถที่มีอยู่ในระบบการบริหารมาปฏิรูปตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมการพัฒนา เพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า

และในปัจจุบันนี้ต่างก็ทราบกันดีว่าการพัฒนาประเทศจะต้องอาศัยการบริหารการพัฒนา (Development Administration) ในเบื้องต้นจะต้องมีการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration) โดยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมการบริหารงานภายในองค์การราชการ ให้มี สมรรถนะสูงจนสามารถตอบสนองภารกิจของการบริหารเพื่อพัฒนา (Administration of Development) และ เมื่อองค์การราชการมีสมรรถนะในการบริหาร รัฐบาลย่อมสามารถบริหารโครงการพัฒนาต่าง ๆ ได้ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมทั้งโครงการพัฒนาชุมชนเมือง ชนบท รัฐวิสาหกิจ ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การศึกษา ประชากร สาธารณสุขและอื่น ๆ

โดยหลักการสําคัญทางบริหารการพัฒนาอยู่ตรงที่ว่า ระบบราชการสามารถแปลงนโยบาย การพัฒนาออกมาเป็นแผนกลยุทธ์ แผนงาน โครงการและกิจกรรมการพัฒนาที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้หรือไม่ กล่าวโดยสรุป ในปัจจุบันนิยมใช้หลายมินิพาราไดม์มาศึกษา ระบบราชการเป็นส่วน ๆ แล้วเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงระบบราชการอย่างเป็นส่วน ซึ่งก่อให้เกิดผลดีคือ ไม่ต้องรอให้มีการปฏิรูประบบราชการพร้อมกัน หน่วยราชการใดก็สามารถปฏิรูปก่อนได้ ทําให้ระบบราชการ มีความทันสมัยขึ้นเป็นอันมาก

Advertisement