การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา PSY 1001 จิตวิทยาทั่วไป

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดเป็นขีดจํากัดที่ไม่สามารถนําวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางจิตวิทยาได้ทุกเรื่อง

(1) ขาดห้องทดลองทางจิตวิทยา

(2) ขาดเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

(3) เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มีราคาแพง

(4) เนื่องจากขัดต่อหลักศีลธรรมและมนุษยธรรม

(5) ถูกหมดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 5 ขีดจํากัดที่ไม่สามารถนําวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางจิตวิทยาได้ทุกเรื่อง คือ

1 เนื่องจากขัดต่อหลักศีลธรรมและมนุษยธรรม ทําให้มีขีดจํากัดในการปฏิบัติเชิงทดลอง

2 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับสัตว์ทดลองที่ว่าสัตว์มีความคิด ความรู้สึก และแรงจูงใจเช่นเดียวกับมนุษย์ ทําให้มีขีดจํากัดในการนําสัตว์มาทําการทดลอง

2 การหาคําตอบของคําถามที่ว่า “มีรถเสียอยู่กลางถนน แต่บุคคลที่ยืนอยู่บนฟุตบาทกลับเพิกเฉยไม่ได้ให้ ความช่วยเหลือ” สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายทางจิตวิทยาข้อใด

(1) ศึกษา

(2) อธิบาย

(3) ทําความเข้าใจ

(4) ทํานาย

(5) ควบคุม

ตอบ 3 หน้า 5 – 7, (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของการศึกษาทางจิตวิทยา มี 4 ประการ ได้แก่

1 หาคําอธิบาย เช่น จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีอุบัติเหตุหรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นบนถนน ฯลฯ

2 ทําความเข้าใจ เช่น การหาคําตอบของคําถามที่ว่าทําไมหรือเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น ฯลฯ

3 ทํานาย (พยากรณ์) เช่น มีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่ผู้ประสบเหตุจะได้รับความช่วยเหลือ ฯลฯ

4 ควบคุมพฤติกรรม เช่น เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นบนถนนแล้วมีบุคคลถ่ายคลิปเก็บไว้ ฯลฯ

ข้อ 3 – 5 จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) พฤติกรรมนิยม

(2) หน้าที่ของจิต

(3) จิตวิเคราะห์

(4) โครงสร้างของจิต

(5) จิตวิทยาคอกนิทิฟ

3 แนวคิดใดเน้นเรื่องการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข

ตอบ 1 หน้า 10 วัตสัน (Watson) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) กล่าวว่า จิตวิทยาที่แท้จริงคือการศึกษาพฤติกรรม ไม่ใช่ศึกษาเฉพาะจิตสํานึก ดังนั้นเขาจึงปฏิเสธ เรื่องจิตโดยสิ้นเชิง และรับแนวความคิดเรื่องการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข โดยเน้นสังเกตดูพฤติกรรมการตอบสนองแล้วบันทึกซึ่งจะทําให้ได้หลักฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง

4 แนวคิดใดกล่าวว่าจิตมนุษย์เหมือนก้อนน้ำแข็ง ส่วนที่กว้างใหญ่คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำเป็นส่วนที่อยู่ใต้สํานึกเป็นความปรารถนาที่ซ่อนเร้นแม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้

ตอบ 3 หน้า 11 ฟรอยด์ (Freud) นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของบุคคลพัฒนามาจากแรงจูงใจไร้สํานึก และความผิดปกติของบุคลิกภาพเกิดจากการเก็บกดในวัยเด็ก โดยพบว่าจิตมนุษย์เหมือนก้อนน้ำแข็งที่มีเพียงส่วนน้อยที่ลอยอยู่เหนือน้ำ แต่ส่วนที่กว้างใหญ่คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ เป็นส่วนที่อยู่ใต้สํานึก เป็นความปรารถนาที่ซ่อนเร้น แม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้ แต่ทว่ามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้น

5 แนวคิดใดที่สนใจศึกษาการคิด จิตสํานึก การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิต

ตอบ 5 หน้า 12, (คําบรรยาย) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทิฟ (Cognitive Psychology) สนใจศึกษาเกี่ยวกับความสามารถทางปัญญา ความรู้ การคิด การใช้ภาษา การแก้ปัญหา จิตสํานึก ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิต ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันนี้กลุ่มต่าง ๆ ทางจิตวิทยาได้สลายตัวไปและมีการ รวมความคิดของแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกัน ทั้งนี้พวกพฤติกรรมนิยมขนานแท้ก็ยังยอมรับแนวคิดพวกคอกนิทิฟเข้ามาแล้วเรียกว่า จิตวิทยาพฤติกรรมทางพุทธิปัญญา (Cognitive Behaviorism)

ข้อ 6 – 8 จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) การสังเกต

(2) การสํารวจ

(3) การทดลอง

(4) การทดสอบทางจิตวิทยา

(5) การศึกษาประวัติรายกรณี

 

6 วิธีใดที่ใช้ศึกษาประชามติเกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ

ตอบ 2 หน้า 14 การสํารวจ (Survey) เป็นวิธีการศึกษาลักษณะบางลักษณะจากกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่มที่ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดที่ต้องการศึกษา โดยการออกแบบสอบถามหรือ โดยการสัมภาษณ์และนําคําตอบที่ได้ไปประมวลผลด้วยวิธีการทางสถิติ ซึ่งวิธีการสํารวจนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น การสํารวจประชามติเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เป็นต้น

7 วิธีใดที่ใช้ศึกษาพฤติกรรมที่บุคคลพยายามปกปิดซ่อนเร้นไว้จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม

ตอบ 4 หน้า 14 การทดสอบทางจิตวิทยา (Psychological Testing) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดลักษณะพฤติกรรมที่แอบแฝงอยู่ภายในตัวบุคคลซึ่งเป็นสิ่งที่บุคคลพยายามปกปิดซ่อนเร้นไว้จะโดยรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ตาม เช่น การศึกษาความสามารถทางสติปัญญาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การวัดความถนัดและความสนใจ การตรวจลักษณะของบุคลิกภาพและอารมณ์ ฯลฯ

8 วิธีใดที่เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริง โดยการเฝ้ามองปรากฏการณ์ตามที่เป็นจริง แล้วบันทึกรายละเอียดไว้

ตอบ 1 หน้า 13 การสังเกต (Observation) เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยการเฝ้ามองปรากฏการณ์หรือสถานการณ์ตามที่เป็นจริง โดยที่ผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัว แล้วบันทึกรายละเอียดไว้ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นวิธีที่ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของคนในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติมากที่สุด

ข้อ 9 – 10 จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) นักจิตวิทยาอุตสาหกรรม

(2) นักจิตวิทยาผู้บริโภค

(3) นักจิตวิทยาสังคม

(4) นักจิตวิทยาวิศวกรรม

(5) นักจิตวิทยาการทดลอง

 

9 ใครทําหน้าที่วิจัยและออกแบบเครื่องจักร เครื่องควบคุม และรถยนต์

ตอบ 4 หน้า 17 นักจิตวิทยาวิศวกรรม จะทําหน้าที่วิจัยประยุกต์ในด้านการออกแบบเครื่องจักรเครื่องควบคุม เครื่องบิน เครื่องยนต์ ฯลฯ เพื่อธุรกิจในวงการอุตสาหกรรมและวงการทหาร

10 ใครทําหน้าที่วิจัยและทดสอบเรื่องบรรจุภัณฑ์และการโฆษณา

ตอบ 2 หน้า 16 นักจิตวิทยาผู้บริโภค จะทําหน้าที่วิจัยและทดสอบเรื่องบรรจุภัณฑ์และการโฆษณาการวิจัยตลาด เพื่อศึกษาอุปนิสัยของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ และการสํารวจประชามติเกี่ยวกับสินค้า

11 พฤติกรรมการเรียนรู้ การรับรู้ บุคลิกภาพเป็นผลมาจากการทํางานของระบบประสาท เป็นการศึกษา เกี่ยวกับเรื่องใด

(1) สรีรจิตวิทยา

(2) พันธุศาสตร์

(3) ประสาทวิทยา

(4) จิตวิทยา

(5) เซลล์วิทยา

ตอบ 1 หน้า 25, 27, (คําบรรยาย) สรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology) เป็นการศึกษาค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่การทํางานของระบบต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดพฤติกรรมที่สมดุล และอยู่รอดของชีวิต โดยเน้นศึกษาเกี่ยวกับการทํางานของสมอง/ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ เชื่อว่าพฤติกรรมการเรียนรู้ การรับรู้ และบุคลิกภาพเป็นผลมาจากการทํางานของระบบประสาทและเชื่อว่าการเคลื่อนไหว อารมณ์ และการคิด เกิดจากการนําส่งกระแสประสาทไปทั่วร่างกาย

12 สมองและไขสันหลังควบคุมการทํางานของกล้ามเนื้อชนิดใด

(1) กล้ามเนื้อลาย

(2) กล้ามเนื้อเรียบ

(3) กล้ามเนื้อหัวใจ

(4) กระเพาะอาหาร

(5) กะบังลม

ตอบ 1 หน้า 30, 32, 52 ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) จะทําหน้าที่ในการทําให้ร่างกายเคลื่อนไหว ประกอบด้วย

1 กล้ามเนื้อลาย โดยจะทํางานอยู่ภายใต้อํานาจจิตใจ กล่าวคือ อยู่ภายใต้การบังคับควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง อันได้แก่ สมองและไขสันหลัง

2 กล้ามเนื้อเรียบ เช่น กระเพาะอาหาร กะบังลม ฯลฯ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ

3 กล้ามเนื้อหัวใจ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ

13 ระบบประสาทส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความรู้สึกร้อน-เย็น

(1) ระบบประสาทส่วนกลาง

(2) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก

(3) ระบบประสาทซิมพาเธติก

(4) ระบบประสาทโซมาติก

(5) ระบบประสาทอัตโนมัติ

ตอบ 4 หน้า 34 ระบบประสาทโซมาติก (Somatic Nervous System) ประกอบด้วย เส้นประสาทสมองจํานวน 12 คู่ และเส้นประสาทไขสันหลังจํานวน 31 คู่ โดยเส้นประสาทเหล่านี้จะรับ การกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอกผ่านผิวหนัง กล้ามเนื้อ และข้อต่าง ๆ เข้าสู่ไขสันหลังและสมองทําให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ร้อน เย็น เจ็บ ปวด เป็นต้น

14 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเซลล์ประสาทนิวโรน

(1) ทําหน้าที่รับและส่งกระแสประสาท

(2) เป็นหน่วยการทํางานพื้นฐานของระบบประสาทที่เล็กที่สุด

(3) หากได้รับความเสียหายจะไม่สามารถสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ได้

(4) เซลล์ประสาทแต่ละชนิดจะมีตัวเซลล์เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย

(5) มีการเพิ่มจํานวนได้อย่างรวดเร็วในขณะที่ตัวอ่อนยังอยู่ในครรภ์

ตอบ 3 หน้า 37 เซลล์ประสาทนิวโรน (Neuron) เป็นเซลล์ที่ทําหน้าที่รับและส่งกระแสประสาทที่ใช้ควบคุมการทํางานซึ่งกันและกัน เป็นหน่วยพื้นฐานการทํางานที่เล็กที่สุดของระบบประสาท มีการเพิ่มจํานวนได้อย่างรวดเร็วในขณะที่ตัวอ่อนยังอยู่ในครรภ์ และจะหยุดเพิ่มจํานวนหลังคลอดแล้ว ถ้าเซลล์ประสาทชํารุดจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่ถ้าเซลล์ประสาทตายไปจะไม่เกิดเซลล์ประสาทใหม่อีก เซลล์ประสาทแต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบที่คล้ายคลึงกันทุกเซลล์

15 สารสื่อประสาทชนิดใดที่ถูกสังเคราะห์โดยปลายประสาทซิมพาเธติก

(1) อะซีทิลโคลีน

(2) ซีโรโทนิน

(3) โดปามาย

(4) กาบา

(5) นอร์อิพิเนฟฟริน

ตอบ 5 หน้า 39 นอร์อิพิเนฟฟริน (Norepinephrin) เป็นสารสื่อประสาทชนิดที่ถูกสังเคราะห์โดยปลายประสาทซิมพาเธติก มีผลต่อเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ตรงกันข้ามกับผลของอะซีทิลโคลีนที่ผลิตที่ปลายประสาทพาราซิมพาเธติก

16 สมองส่วนใดควบคุมการทํางานของกล้ามเนื้อเรียบ

(1) ก้านสมอง

(2) ไขสันหลัง

(3) ซีรีเบลลัม

(4) ซีรีบรัม

(5) สมองส่วนกลาง

ตอบ 3 หน้า 43 ซีรีเบลลัม (Cerebellum) เป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนท้าย โดยจะทําหน้าที่ควบคุมการทํางานของกล้ามเนื้อเรียบและอวัยวะภายใน ควบคุมการทํางานของเซลล์ประสาทในไขสันหลังทําให้การทรงตัวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถ้าซีรีเบลลัมถูกทําลายจะทําให้เสียการทรงตัว ฯลฯ

17 การทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติอยู่ภายใต้การทํางานของสมองส่วนใด

(1) ไฮโปธาลามัส

(2) ธาลามัส

(3) ลิมบิก

(4) ซีรีบรัม

(5) ซีรีเบลลัม

ตอบ 1 หน้า 42, 53, (คําบรรยาย) ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) เป็นส่วนของสมองที่มีขนาดเล็กแต่ทํางานมีอิทธิพลมาก โดยจะทําหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเพื่อให้เกิดความสมดุลภายในร่างกาย ควบคุมการหลับ การตื่น ความหิว ความกระหาย ความดันโลหิต การสืบพันธุ์ อุณหภูมิในร่างกายการทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติ

18 ฮอร์โมนชนิดใดที่กระตุ้นการให้ร่างกายเกิดการเจริญเติบโตและกระตุ้นต่อมน้ำนม (1) คอร์ติซอล

(2) เทสเทอสโตโรน

(3) โปรเจสเตอโรน

(4) โกรัธฮอร์โมน

(5) อินซูลิน

ตอบ 4 หน้า 45 โกรธฮอร์โมน (Growth Hormone) เป็นกลุ่มของฮอร์โมนที่ทําหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกายและกระตุ้นต่อมน้ำนม

19ฮอร์โมนคอร์ติซอล มีแหล่งกําเนิดมาจากที่ใด

(1)ต่อมแพนเครียส

(2) ต่อมใต้สมอง

(3) ต่อมหมวกไต

(4) ต่อมไทรอยด์

(5) ต่อมไทมัส

ตอบ 3 หน้า 48 ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) จะทําหน้าที่สร้างฮอร์โมนสําคัญ 4 ชนิด ได้แก่ อัลโดสเตอโรน (Aldosterone), คอร์ติซอล (Cortisol), แอดรีนาลิน (Adrenalin) และนอร์แอดรีนาลิน (Nor-drenalin)

20 การแปลความหมายจากสิ่งที่มากระทบอวัยวะร่างกายเรียกว่าอะไร

(1) การสัมผัส

(2) การจําได้

(3) การเรียนรู้

(4) การรับรู้

(5) ประสบการณ์

ตอบ 4 หน้า 57, 60 การรับรู้ คือ กระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบอวัยวะสัมผัสหรือประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งการแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้นี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีต การเรียนรู้ และสภาพจิตใจในปัจจุบัน ตลอดจนการจัดรูปแบบของสิ่งเร้านั้น ๆ

21 โคนส์เป็นเซลล์ประสาทที่มีหน้าที่ใด

(1) เป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางวัน

(2) เป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางคืน

(3) เป็นเซลล์รับแสงจ้ามาก

(4) เป็นเซลล์รับแสงสลัว ๆ

(5) เป็นเซลล์รับแสงสีเข้ม

ตอบ 1 หน้า 61 ที่ผนังของเรตินา (Retina) จะมีเซลล์ประสาทอยู่ 2 ชนิด คือ

1 รอดส์ (Rods) เป็นเซลล์ที่ไวต่อแสงขาวดํา จึงเป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางคืน

2 โคนส์ (Cones) เป็นเซลล์ที่ไวต่อแสงที่เป็นสี ช่วยทําให้รับภาพสีได้ดี จึงเป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางวัน ดังนั้นคนตาบอดสีจึงไม่มีโคนส์อยู่ที่บริเวณเรตินา

22 หน่วยวัดความแรงของคลื่นเสียงคือข้อใด

(1) กิโลเมตร

(2) เดซิเบล

(3) แอพิจูด

(4) เมกกะ

(5) เฮิรตซ์

ตอบ 2 หน้า 65 ความแรงของคลื่นเสียงมักวัดด้วยมาตราที่เรียกว่า “เดซิเบล” (Decibles : (db) ซึ่งความดังของเสียงจะสูงขึ้นตามจํานวนเดซิเบลที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเสียงมีความสูงของ db มากเท่าไร ก็ยิ่งทําอันตรายแก่ผู้ฟังได้มากเท่านั้น โดยเสียงกระซิบจะมีระดับความดังประมาณ 20 db เสียงคุยปกติประมาณ 60 db และเสียงที่ดังเกิน 80 db จะเป็นอันตรายแก่หูถ้าฟังนาน ๆ

23 ทฤษฎีคุมด่านเชื่อว่าอวัยวะใดเป็นที่รวมประสาททั้งหมดที่ส่งไปยังสมอง

(1) หัวใจ

(2) กะโหลก

(3) ไขสันหลัง

(4) ท้ายทอย

(5) กระเพาะอาหาร

ตอบ 3 หน้า 67 ทฤษฎีคุมด่าน (Gate Control Theory) เป็นทฤษฎีการเจ็บปวดที่เชื่อว่า ไขสันหลังเป็นที่รวมของประสาทใหญ่น้อยที่จะส่งไปยังสมองและที่มาจากกล้ามเนื้อและผิวหนังอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งหากบุคคลมีอาการกลัวความเจ็บปวดในสมอง จะทําให้เกิดกระแสประสาทไปเร้าด่านที่ไขสันหลังทําให้ท่านเปิดและส่งกระแสที่เจ็บปวดไปยังสมองได้

24 หากสัมผัสคีเนสเตซีสเสีย จะเกิดอะไรขึ้น

(1) ไม่รับรู้อุณหภูมิจากภายนอก

(2) การทรงตัวทําได้ลําบาก

(3) ไม่สามารถระงับความเจ็บปวดได้

(4) มีอาการเวียนหัวตลอดเวลา

(5) กล้ามเนื้อกระตุกตลอดเวลา

(5) กล้ามเนื้อกระตุกตลาด

ตอบ 2 หน้า 67 68 สัมผัสคีเนสเตซีส (Kinesthesis Sense) จะทํางานร่วมกับเครื่องรับสัมผัสเกี่ยวกับการทรงตัวที่มีอวัยวะรับสัมผัสอยู่ในหูตอนในและประสาทรับสัมผัสที่ตา เพื่อช่วยให้ร่างกายทั้งหมดทรงตัวอยู่ได้ตามปกติ หากสัมผัสคีเนสเตซีสเสีย การทรงตัวจะทําได้ลําบาก

25 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเรื่องความลึกและระยะทางคืออะไร

(1) เขาวงกต

(2) กล่องอาหาร

(3) หน้าผามายา

(4) บ่อน้ำจําลอง

(5) ภูเขาจําลอง

ตอบ 3 หน้า 72 ผู้ที่สนใจศึกษาทดลองในเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ความลึกและระยะทาง คือ กิ๊บสันและวอล์ก (Gibson and Walk) ซึ่งเขาได้ทดลองโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “หน้าผามายา” (Visual Cliff) พบว่า เมื่อเด็กทารกคลานไปถึงกึ่งกลางโต๊ะที่เป็นรอยต่อระหว่างกระจกโปร่งใส กับพื้นที่ทาสีตาหมากรุก (ทําให้แลเห็นเป็นพื้นที่ 2 ระดับที่มีความสูงต่ำต่างกัน) เด็กจะไม่กล้าคลานออกไป แสดงว่าการรับรู้ความลึกเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้

26 หากว่าเราชูหนังสือให้เพื่อนดู เพื่อนเราเห็นแค่สันหนังสือเท่านั้น แต่ก็บอกได้ว่าเป็นหนังสือ

(1) การคงที่ของสี

(2) การคงที่ของขนาด

(3) การคงที่ของรูปร่าง

(4) การคงที่ของรูปแบบ

(5) การคงที่ของน้ำหนัก

ตอบ 3 หน้า 71 – 72 ปรากฏการณ์คงที่ (Constancy) ในเรื่องการรับรู้และการเห็น มี 3 ชนิด คือ

1 การคงที่ของสี เช่น รถที่จอดอยู่ในที่มืดสลัวก็สามารถรับรู้หรือมองเห็นสีที่แท้จริงของรถได้

2 การคงที่ของขนาด เช่น ยืนอยู่บนตึกสูงแล้วมองลงมาด้านล่างก็สามารถรับรู้ขนาดของวัตถุได้

3 การคงที่ของรูปร่าง เช่น การเห็นแค่สันหนังสือเราก็ยังรับรู้ได้ว่าเป็นหนังสือไม่เปลี่ยนแปลง

27 ข้อใดคือการล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

(1) Telepathy

(2) Clairvoyance

(3) Precognition

(4) Extrasensory

(5) Perception

ตอบ 3 หน้า 79 ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น

  1. ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึ่งประสาทสัมผัส

3 การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

28 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของความเป็นภาพและพื้นตามแนวคิดของนักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์

(1) ภาพเป็นสิ่งเด่นที่ตาสัมผัส

(2) ภาพไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน

(3) ภาพสองนัย

(4) พื้นเป็นสิ่งที่อยู่ด้านหลังไม่ได้รับความสนใจ

(5) ถ้าความสนใจเปลี่ยนจุดอื่นจะกลายเป็นภาพได้

ตอบ 2 หน้า 74 – 75 คุณลักษณะของความเป็นภาพและพื้นตามแนวความคิดของนักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์ (Gestalt) คือ ภาพเป็นสิ่งเด่นที่ตาสัมผัส ลอยออกมาจากพื้น มีรูปร่างชัดเจนและมี ขอบเขตแน่นอน ส่วนพื้นเป็นสิ่งที่อยู่ด้านหลังภาพ ไม่มีขอบเขตจํากัด ถ้าความสนใจเปลี่ยนไปจุดอื่นก็จะกลายเป็นภาพได้ (ภาพสองนัยเป็นภาพที่มองเห็นสลับกันได้ทั้งภาพและพื้น)

29 ข้อใดหมายถึงอาการของ “Jet Lag”

(1) นอนไม่เพียงพอเพราะทํางานหนัก

(2) นอนไม่หลับไม่คุ้นชินกับสถานที่

(3) อาการกรนขณะหลับ

(4) แบบแผนการนอนถูกรบกวน

(5) ขณะหลับมีอาการหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ

ตอบ 4 หน้า 92 นักเดินทางที่ต้องขึ้นเครื่องบินเดินทางข้ามทวีปจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งมักจะเกิดสภาวะที่เรียกว่า Jet Lag คือ ต้องปรับตัวกับเวลาของประเทศที่เดินทางไปถึงใหม่เนื่องจากแบบแผนการนอนตามธรรมชาติถูกรบกวน

30 ระยะการนอนหลับใดที่เกิดปฏิกิริยาสะท้อนของกล้ามเนื้อ

(1) ระยะที่ 1

(2) ระยะที่ 2

(3) ระยะที่ 3

(4) ระยะที่ 4

(5) ระยะที่ 5

ตอบ 1 หน้า 93 ระยะที่ 1 ของการนอนหลับ เป็นระยะต้นของการที่บุคคลเพิ่งหลับ หัวใจจะเต้นช้าลงกล้ามเนื้อทุกส่วนเริ่มผ่อนคลาย บางครั้งอาจมีปฏิกิริยาสะท้อนของกล้ามเนื้อ เช่น มีการกระตุกเล็กน้อยคล้ายสะดุ้ง คลื่นสมองจะมีลักษณะสั้น ไม่สม่ำเสมอ คลื่นแอลฟาจะมีบ้างประปราย

31 โดยปกติมนุษย์ฝันในแต่ละคืนประมาณกี่ครั้งและมีความยาวเท่าใด

(1) 1 – 2 ครั้ง ๆ ละ 15 นาที

(2) 1 – 2 ครั้ง ๆ ละ 25 นาที

(3) 3- 4 ครั้ง ๆ ละ 5 นาที

(4) 4 – 5 ครั้ง ๆ ละ 25 นาที

(5) 6 – 7 ครั้ง ๆ ละ 10 นาที

ตอบ 4 หน้า 95 ในบางช่วงของการนอนหลับ ลูกตาของผู้นอนจะมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movements : REM) ทั้ง ๆ ที่ยังหลับอยู่ โดยช่วงที่มี REM เกิดขึ้นนี้เอง เป็นช่วงที่บุคคลกําลังฝัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่บุคคลนอนหลับในระยะที่หนึ่ง หลังผ่านช่วงที่สีไปแล้ว และวกกลับมาระยะที่หนึ่งใหม่) โดยทั่วไปคนเราจําเป็นต้องนอนหลับและฝันทุกคืน แต่ละคืนจะฝันประมาณ 4 – 5 ครั้ง ครั้งหนึ่งจะฝันยาวประมาณ 25 นาที

32 กาแฟ เป็นยาเสพติดประเภทใด

(1) กดประสาท

(2) กระตุ้นประสาท

(3) หลอนประสาท

(4) คลายประสาท

(5) ออกฤทธิ์ผสมผสาน

ตอบ 2 หน้า 106 – 110 ยาเสพติดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ และทุกกลุ่มสามารถออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ทั้งสิ้น คือ

1 ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทยานอนหลับ สารระเหย (ทินเนอร์) และเครื่องดื่มมึนเมาหรือแอลกอฮอล์ ฯลฯ

2 ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า) กระท่อม โคเคอีน บุหรี่ นิโคติน กาแฟ คาเฟอีน และยาแก้ปวด ฯลฯ

3 ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที และเห็ดขี้ควาย ฯลฯ

4 ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ได้แก่ กัญชา

33 ข้อใดไม่ใช่สภาวะของร่างกายในการฝึกสมาธิจากการทดลองของวอลเลสและเบนสัน

(1) อัตราการเผาผลาญในร่างกายมากขึ้น

(2) มีการหายใจเข้าออกช้าลง

(3) ร่างกายใช้ออกซิเจนน้อยลง

(4) การถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง

(5) ปริมาณสารแลคเทตในเลือดลดลง

ตอบ 1 หน้า 112 วอลเลสและเบนสัน (Wallace & Benson) ได้ทําการศึกษาสภาวะของร่างกายในการฝึกสมาธิ พบว่าการนั่งสมาธิมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาอย่างเห็นได้ชัด เช่น อัตราการเผาผลาญในร่างกายลดลง มีการหายใจเข้าออกช้าลง ร่างกายใช้ออกซิเจนน้อยลงการถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง และปริมาณสารแลคเทต (Lactate) ในเลือดลดลง

34 กัญชา เป็นยาเสพติดประเภทใด

(1) กดประสาท

(2) กระตุ้นประสาท

(3) หลอนประสาท

(4) คลายประสาท

(5) ออกฤทธิ์ผสมผสาน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

35 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ “ฝาแฝดคล้าย” (Fraternal Twins)

(1) มีโครโมโซมเหมือนกัน

(2) ฝาแฝดอาจคลอดออกมาแล้วมีเพศที่แตกต่างกัน

(3) เกิดจากสเปิร์ม (Sperm) 2 ตัว

(4) มีกระบวนการแบ่งตัวแบบเป็นอิสระออกจากกัน

(5) เกิดจากการตกไข่ (Egg) 2 ใบ

ตอบ 1 หน้า 125, (คําบรรยาย) ฝาแฝด Twins) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

1 ฝาแฝดเหมือน/แฝดแท้ (Identical Twins) เกิดจากไข่ (Egg) 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์ม (Sperm) 1 ตัว แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน 2 ตัว (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิผิดพลาด) ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน โดยมียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันทุกประการ

2 ฝาแฝดคล้าย/แฝดเทียม (Fraternal Twins) เกิดจากไข่มากกว่า 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์มมากกว่า 1 ตัว เซลล์แบ่งตัวเป็นอิสระจากกัน (เกิดเซลล์ปฏิสนธิพร้อมกันมากกว่า 1 เซลล์) ฝาแฝดคล้ายจึงอาจมีเพศเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ (เหมือนกับพี่น้องท้องเดียวกัน) โดยอาจมียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้

36 ข้อใดเกี่ยวข้องกับข้อความต่อไปนี้ “บุคคลที่มีโครโมโซมเป็น XXY”

(1) Endomorphy

(2) Ectomorphy

(3) Turner’s Syndrome

(4) Mesomorphy

(5) Klinefelter’s Syndrome

ตอบ 5 หน้า 128 บุคคลที่เกิดการผิดปกติในการถ่ายทอดโครโมโซมเพศ ทําให้มีเกินหรือขาดไปจากปกติ เช่น มีโครโมโซมเพศเป็น XXY จะเกิดเป็นอาการของโรคที่เรียกว่า Klinefelter’s Syndrome ซึ่งเกิดในเพศชาย จะทําให้กลายเป็นชายที่มีลักษณะของเพศหญิง กล่าวคือ มีหน้าอกใหญ่ และ อวัยวะเพศชายไม่ทํางาน เนื่องจากต่อมฮอร์โมนผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอ หรืออาจจะกลายเป็นโรคปัญญาอ่อนชนิดที่เรียกว่า Mongolism ได้

37 แนวคิดของเชลดอน (Sheldon) กล่าวว่า บุคคลที่มีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน ชอบกิน ๆ นอน ๆ คือ

(1) Endomorphy

(2) Mesomorphy

(3) Exsomorphy

(4) Suprememorphy

(5) Stablemorphy

ตอบ 1 หน้า 129, 295 เซลดอน (Sheldon) เป็นผู้เสนอว่าการที่บุคคลมีลักษณะรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันจะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลได้ โดยแบ่งรูปร่างของบุคคลออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1 รูปร่างอ้วนกลม (Endomorphy) มักจะมีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน รักความสบายโกรธง่ายหายเร็ว ขึ้น้อยใจ พูดมาก ขี้บ่น คุยโอ่ และกินจุ หรือชอบกิน ๆ นอน ๆ ฯลฯ

2 รูปร่างผอมเกร็ง (Ectomorphy) มักจะมีนิสัยขี้อาย ขี้กลัว ไม่กล้าแสดงออก เป็นคนเฉย ๆรักสันโดษ เก็บอารมณ์เก่ง โมโหยากแต่หายช้า พูดน้อย ดื้อดึง และเอาแต่ใจตัวเอง ฯลฯ

3 รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก รักกิจกรรมกลางแจ้งเป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ฯลฯ

38 ข้อใดไม่ใช่สภาพแวดล้อมก่อนเกิด

(1) จํานวนทารกภายในครรภ์

(2) การบริโภคของแม่

(3) สุขภาพจิตของแม่

(4) ระดับการศึกษาของพ่อแม่

(5) การได้รับรังสี

ตอบ 4 หน้า 131 – 133 สภาพแวดล้อมก่อนเกิด มีดังนี้

1 สุขภาพของแม่

2 สุขภาพจิตของแม่

3 การบริโภคของแม่

4 การได้รับรังสี

5 การได้รับเชื้อ AIDS

6 สภาวะของ Rh Factor (ในระบบเลือด)

7 อายุของแม่

8 จํานวนทารกภายในครรภ์

39 ข้อใดไม่ใช่สิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว

(1) กฎระเบียบและการปกครอง

(2) ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก

(3) การอบรมเลี้ยงดู

(4) การเป็นแบบอย่างของพ่อแม่

(5) จํานวนพี่น้องและลําดับการเกิด

ตอบ 1 หน้า 135 – 136 สิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว มีดังนี้

1 ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก

2 การอบรมเลี้ยงดูและบรรยากาศในครอบครัว

3 การเป็นแบบอย่างที่ดีของพ่อแม่

4 จํานวนพี่น้องและลําดับการเกิด

5 ระดับการศึกษาของพ่อแม่ ฯลฯ )

40 ข้อใดคือสิ่งแวดล้อมภายในสถาบันการศึกษา

(1) กฎระเบียบและการปกครอง

(2) ระดับการศึกษาของพ่อแม่

(3) การอบรมเลี้ยงดู

(4) การเป็นแบบอย่างของพ่อแม่

(5) ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว

ตอบ 1 หน้า 136 สิ่งแวดล้อมภายในสถาบันการศึกษา มีดังนี้

1 กฎระเบียบและการปกครอง

2 ทัศนคติและบุคลิกภาพของครู

3 กลุ่มเพื่อนในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา

41 “เด็กมีลักษณะถือตนเองเป็นศูนย์กลาง” ข้อความดังกล่าวตรงกับขั้นใดของพัฒนาการความคิดความเข้าใจ (Cognitive Development) ของ Piaget

(1) Period of Format Operation

(2) Preoperation

(3) Premoral

(4) Sensorimotor Period

(5) Period of Concrete

ตอบ 2 หน้า 143 144 พัฒนาการความคิดความเข้าใจ (Cognitive Development) ของ Piaget ในขั้น Preoperation แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ

1 Thought Period เป็นระยะที่เด็กถือตนเอง เป็นจุดศูนย์กลาง ไม่สามารถรับรู้ความคิดเห็นของคนอื่น

2 Intuitive Phase เป็นระยะที่เด็กเกิดความคิดรวบยอดมากขึ้น สามารถจัดประเภท/กลุ่มวัตถุเข้าเป็นหมวดหมู่และจัดลําดับวัตถุได้

42 พฤติกรรมในข้อใดเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้

(1) การหายใจ

(2) การกะพริบตา

(3) การเรอ

(4) การขี่จักรยาน

(5) การกระตุกมือหนีเมื่อจับของร้อน

ตอบ 4 หน้า 169, (คําบรรยาย) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรมอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต แต่พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ หากเกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติที่มีมาแต่กําเนิด เช่น การกะพริบตา การหายใจ การกระตุกมือหนีเมื่อจับของร้อน ฯลฯ และเกิดจากสัญชาตญาณอันเป็นลักษณะเฉพาะของเผ่าพันธุ์ เช่น การว่ายน้ำของปลา การชักใยของแมงมุม ฯลฯ

43 “เด็กมีความรู้สึกรักใคร่พ่อแม่เพศตรงข้าม” พฤติกรรมดังกล่าวตรงกับขั้นใดของพัฒนาการความต้องการทางเพศ (Psychosexual Stages)

(1) ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก

(2) ขั้นอวัยวะเพศ

(3) ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก

(4) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์

(5) ขึ้นแอบแฝง

ตอบ 2 หน้า 145, 299 พัฒนาการความต้องการทางเพศของ Freud ในขั้นอวัยวะเพศ (Phatic Stage)เกิดกับเด็กอายุ 3 – 5 ปี ในระยะนี้เด็กจะมีความพึงพอใจที่จะได้ลูบคลําอวัยวะเพศของตนเอง เด็กจะมีความรู้สึกรักใคร่พ่อแม่เพศตรงข้ามกับตน และจะอิจฉาพ่อแม่เพศเดียวกันกับตน ซึ่งถ้าเกิดความขัดแย้งใจก็อาจจะมีผลทําให้เด็กชายเกิดปมที่เรียกว่า ปมเอดิปุส (Oedipus Conflict หรือ Oedipus Complex) ส่วนเด็กหญิงก็จะเกิดปมอิเล็กตร้า (Electra Conflict)

44 จากขั้นพัฒนาการทางสังคม (Psychosocial Stages) ของ Erikson ข้อใดคือผลที่ได้จากขั้นพัฒนาการ“ความคิดริเริ่ม – ความรู้สึกผิด” (Initiative VS. Guilt)

(1) มีพลังควบคุมตนเองได้

(2) มีแนวทางและจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติตน

(3) ได้ความรักและความผูกพัน

(4) ได้ความฉลาดรอบรู้และการเสียสละ

(5) มีการทํางานที่เหมาะสมและมีความสามารถ

ตอบ 2 หน้า 147 มีแนวทางและจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติตน คือผลที่ได้จากขั้นพัฒนาการทางสังคมของ Erikson ขั้นพัฒนาการทางจิตใจ “ความคิดริเริ่ม – ความรู้สึกผิด” (Initiative Vs. Guilt)

45 จากกระบวนการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning) ของพาฟลอฟ (Pavlov) การตอบสนองต่อสิ่งเร้าอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus : CS) เรียกว่า เกิดกระบวนการใด

(1) การสรุปความเหมือนของสิ่งเร้า

(2) การแยกความแตกต่างของสิ่งเร้า

(3) การหยุดยั้งของพฤติกรรม

(4) สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข

(5) การฟื้นกลับของพฤติกรรม

ตอบ 1 หน้า 173, 188 การสรุปความเหมือน (Generalization) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอื่น ๆที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไขไว้แล้วหรือสิ่งเร้าที่ได้รับรางวัล ส่วนการแยก ความแตกต่าง (Discrimination) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเฉพาะที่วางเงื่อนไขไว้หรือสิ่งเร้าที่ได้รับรางวัลเท่านั้น แต่จะไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขไว้หรือสิ่งเร้าที่ไม่ได้รับรางวัล

46 คูปองที่ใช้แลกซื้ออาหารในศูนย์อาหาร เป็นสิ่งเสริมแรงประเภทใด

(1) การเสริมแรงทางบวก

(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ

(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ

(4) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม

(5) การป้อนกลับ

ตอบ 4 หน้า 180, (คําบรรยาย) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม หมายถึง สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิที่เป็นอิสระจากการเชื่อมโยงกับสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ และสามารถที่จะเชื่อมโยงกับสิ่งเสริมแรงทุติยภูมิอื่น ๆ ได้ เช่น เงินหรือสิ่งที่ใช้แทนเงิน (บัตรเครดิต บัตรเดบิต คูปองแลกซื้อที่ใช้แทนเงินสด) ไม่เพียงแต่สามารถแลกเปลี่ยนสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิได้เท่านั้น แต่ยังเป็นหนทางนําไปสู่สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิอื่น ๆ ด้วย เช่น เกียรติ ความสนใจ การยอมรับ สถานะ หรืออํานาจ เป็นต้น

47 “คุณดินมีอาการปวดศีรษะ จึงทานยาแก้ปวด ทําให้อาการปวดศีรษะหายไป หลังจากนั้นทุกครั้งที่คุณดินปวดศีรษะ คุณดินจะทานยาแก้ปวดทุกครั้ง” อาการปวดศีรษะที่หายไป คืออะไร

(1) การเสริมแรงทางบวก

(2) การเสริมแรงทางลบ

(3) การลงโทษ

(4) การตอบสนองที่วางเงื่อนไข

(5) การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข

ตอบ 2 หน้า 179, (คําบรรยาย) การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) จะทําให้การตอบสนองเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะเป็นการทําให้ความไม่สุขสบายหมดไป เช่น การกินยาแก้ปวด ทุกครั้งเพื่อระงับอาการปวด การขึ้นสะพานลอยข้ามถนนทุกครั้งเพราะกลัวอุบัติเหตุ ฯลฯ

48 “เป็นปัจจัยที่จําเป็นต่อชีวิต ไม่จําเป็นต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทางชีววิทยา” คุณสมบัติที่กล่าวถึงนั้นเป็นคุณสมบัติของข้อใด

(1) การเสริมแรงทางบวก

(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ

(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ

(4) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม

(5) การป้อนกลับ

ตอบ 2 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ เป็นรางวัลตามธรรมชาติที่ไม่ต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทางชีววิทยาที่เพิ่มความพอใจและลดความไม่พึงพอใจลง หรือสนองความต้องการทางกายภาพได้ เช่น น้ำ อาหาร อากาศ ความต้องการทางเพศ ฯลฯ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต

49 “พนักงานจะได้รับเงินเดือนในวันที่ 25 ของทุกเดือน” ลักษณะดังกล่าวเป็นไปตามตารางการเสริมแรง แบบใด

(1) แบบอัตราส่วนคงที่

(2) แบบต่อเนื่อง

(3) แบบอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน

(4) แบบช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน

(5) แบบช่วงเวลาคงที่

ตอบ 5 หน้า 177 การเสริมแรงแบบช่วงเวลาที่คงที่ (Fixed Interval : FI) เป็นการให้แรงเสริมเมื่อถึงช่วงเวลาที่กําหนดไว้อย่างตายตัว เช่น ทุก 30 วินาที ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกปี ฯลฯ

50 ข้อใดถูกต้อง

(1) การลงโทษมีผลให้การเกิดพฤติกรรมมีแนวโน้มลดลง

(2) การลงโทษไม่เกี่ยวข้องกับความกลัว

(3) การลงโทษไม่ได้กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว

(4) หากใช้การลงโทษจะต้องไม่ให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาร่วมด้วย

(5) การลงโทษสามารถกระทําได้ทั้งขณะเกิดพฤติกรรม หลังเกิดพฤติกรรมโดยทันที หรือหลังเกิดพฤติกรรมไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง

ตอบ 1 หน้า 181 182 การลงโทษจะมีผลให้การเกิดพฤติกรรมมีแนวโน้มลดลง โดยการลงโทษจะได้ผลดีที่สุด ถ้าเกิดขึ้นระหว่างที่ยังกระทําพฤติกรรมนั้นอยู่หรือทันทีที่พฤติกรรมนั้นสิ้นสุดลง (เวลาในการลงโทษ) และควรเกิดขึ้นทุกครั้งที่แสดงพฤติกรรมนั้น (ความคงที่ในการลงโทษ) หากใช้การลงโทษจะต้องให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาร่วมด้วย ทั้งนี้การลงโทษจะ ทําให้เกิดผลข้างเคียง คือ เกิดการวางเงื่อนไขเกี่ยวกับความกลัว กระตุ้นให้เกิดความก้าวร้าวและเรียนรู้ที่จะตอบสนองด้วยการหนีและหลีกเลี่ยง

51 ข้อใดคือคุณสมบัติที่ไม่ถูกต้องของการเรียนรู้เพื่อที่จะเรียน (Learning to Learn)

(1) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการเสริมแรงที่ชัดเจน

(2) ต้องผ่านการเรียนรู้จากการแก้ไขปัญหาหลายครั้ง

(3) มีการพัฒนาชุดการเรียนรู้ (Learning Set)

(4) ทําให้เกิดการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาให้ดีขึ้น

(5) ปัญหาที่สร้างให้เกิดการเรียนรู้เพื่อที่จะเรียนมักจะเป็นปัญหาที่คล้ายคลึงกัน

ตอบ 1 หน้า 184, (คําบรรยาย) การเรียนรู้เพื่อที่จะเรียน (Learning to Learn) เป็นผลของการคิดการเข้าใจที่มีการพัฒนาชุดการเรียนรู้ (Learning Set) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ต้องผ่านการ จากการแก้ไขปัญหาหลายครั้ง ทําให้เกิดการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาให้ดีขึ้น โดยปัญหาต่างให้เกิดการเรียนรู้เพื่อที่จะเรียนมักจะเป็นปัญหาที่คล้ายคลึงกัน

52 ข้อใดคือลักษณะของความจําระยะสั้น (Shot-term Memory)

(1) สามารถจําข้อมูลได้ 9+ 2 หน่วย

(2) ข้อมูลจะเก็บในลักษณะของเหตุการณ์

(3) มีพื้นที่เก็บข้อมูลได้ไม่จํากัด

(4) เป็นคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด

(5) เก็บข้อมูลได้เป็นช่วงเวลานาน

ตอบ 4 หน้า 195 196 นักจิตวิทยาได้แบ่งความจํา (Memory) ออกได้เป็น 3 ระบบ ดังนี้

1 ความจําจากการรับสัมผัส เป็นระบบการจําขั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ

2 ความจําระยะสั้น ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด เป็นระบบความจําที่ถูกรบกวนหรือถูกแทรกได้ง่าย หากไม่ทบทวนจะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ข้อมูลเก่า

3 ความจําระยะยาว ทําหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรที่สามารถเก็บข้อมูลได้นานและไม่จํากัด

53 ระยะเวลาคงอยู่ของการได้ยินเสียงก้องในหู (Echo)

(1) 0.5 วินาที

(2) 2 วินาที

(3) 18 วินาที

(4) 24 ชั่วโมง

(5) 48 ชั่วโมง

ตอบ 2 หน้า 196 ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory) คือ ระบบการจําชั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลในลักษณะถอดแบบสิ่งที่ได้เห็นหรือสิ่งที่ได้ยินทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ เพื่อถ่ายทอด ข้อมูลต่อไปยังระบบการจําอื่น ๆ เช่น ถ้าได้เห็นข้อมูล ภาพติดตาหรือจินตภาพ (Icon) จะคงอยู่ ได้ครึ่งวินาที (0.5 วินาที) แต่ถ้าเกิดจากการได้ยิน เสียงก้องในหู (Echo) ของสิ่งที่ได้ยินจะคงอยู่ประมาณ 2 วินาที ฯลฯ ทั้งนี้หากไม่มีการส่งต่อข้อมูลสิ่งที่จําไว้จะหายไปอย่างรวดเร็วที่สุด

54 ระบบความจําที่หากไม่ทบทวน จะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ข้อมูลเก่า

(1) ความจําระยะสั้น (Shot term Memory)

(2) ความจําระยะยาว (Long-term Memory)

(3) ความจําเหตุการณ์ (Episodic Memory)

(4) ความจําความหมาย (Semantic Memory)

(5) ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory)

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

55 การถอดแบบข้อมูลหรือข้อเท็จจริง โดยไม่มีสิ่งกระตุ้นหรือชี้แนะให้จําได้

(1) การระลึกได้ (Recall)

(2) การจําได้ (Recognition)

(3) การเก็บ (Retention)

(4) การเรียนซ้ำ (Relearning)

(5) การบูรณาการใหม่ (Reintegration)

ตอบ 1 หน้า 201 – 202, 213 การระลึกได้ (Recall) หมายถึง การถอดแบบข้อมูลหรือข้อเท็จจริงโดยไม่มีสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นหรือชี้แนะให้จําได้ เช่น ข้อสอบอัตนัย การท่องอาขยาน ฯลฯ ทั้งนี้บุคคลจะจําลําดับตําแหน่งในการจําแบบระลึกได้ในช่วงต้นและท้ายได้ดีที่สุด

56 บุคคลจะจําสําดับตําแหน่งในการจําแบบระลึกได้ในช่วงใดได้ดีที่สุด

(1) ช่วงต้นและท้าย

(2) ช่วงต้น

(3) ช่วงกลาง

(4) ช่วงท้าย

(5) ทุกช่วง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ

57 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับหน่วยพื้นฐานของการคิด

(1) จินตภาพ (Image)

(2) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ (Muscular Response)

(3) ความมีเหตุผล (Reasoning)

(4) มโนทัศน์ (Concept)

(5) ภาษา (Language)

ตอบ 4 หน้า 206 หน่วยพื้นฐานของการคิด (Basic Units of Thought) ประกอบด้วย จินตภาพ  (Image) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ (Muscular Response) มโนทัศน์ (Concept) และภาษาหรือสัญลักษณ์ (Language or Symbols)

58 การลืมเกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจพิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่าง

(1) การหาเหตุผล (Rationalization)

(2) การเลียนแบบ (Identification)

(3) การเก็บกด (Repression)

(4) การถดถอย (Regression)

(5) การทดแทน (Sublimation)

ตอบ 3 หน้า 205, (คําบรรยาย) การเก็บกด (Repression) เป็นการลืมที่เกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจพิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่างในอดีต เช่น ความผิดหวัง ความล้มเหลว ความเจ็บปวด ความอาย สิ่งที่ไม่ชอบไม่น่ารื่นรมย์ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บกดให้อยู่ในระดับจิตใต้สํานึก

59 ข้อใดไม่ใช่การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

(1) สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง

(2) นิยามปัญหาให้กว้าง

(3) ให้เวลาสําหรับขั้นพัก

(4) หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม

(5) นิยามปัญหาให้เฉพาะเจาะจง

ตอบ 5 หน้า 215 216 การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีดังนี้

1 สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง

2 นิยามปัญหาให้กว้าง

3 ให้เวลาสําหรับขั้นพัก

4 หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม ฯลฯ

60 ความจําที่มีอยู่กระตุ้นให้เกิดความจําอื่น ๆ ตามมา

(1) การระลึกได้ (Recall)

(2) การจําได้ (Recognition)

(3) การเก็บ (Retention)

(4) การเรียนซ้ำ (Relearning)

(5) การบูรณาการใหม่ (Reintegration)

ตอบ 5 หน้า 203 การบูรณาการใหม่ (Reintegration) หมายถึง การที่ความจําที่มีอยู่กระตุ้นให้เกิดความจําอื่น ๆ ตามมา เรียกได้ว่า ประสบการณ์ในอดีตทั้งหมดถูกสร้างขึ้นใหม่จากสิ่งที่สะสมไว้ แม้เพียงสิ่งเดียว เช่น ไปพบภาพเมื่อครั้งไปเที่ยวเชียงใหม่เข้าก็กระตุ้นให้นึกถึงภาพการเดินทางและความสนุกสนานที่เกิดขึ้นบนรถไฟ นึกถึงความเหนื่อยล้าเมื่อเดินขึ้นดอยสุเทพ ฯลฯ

61 วิธีการแก้ปัญหาของบุคคลโดยฉับพลันทันใด สามารถรู้คําตอบได้ในทันที

(1) การแก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็น

(2) การแก้ปัญหาด้วยสติปัญญา

(3) การแก้ปัญหาด้วยวิจารณญาณ

(4) การแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก

(5) การแก้ปัญหาโดยการเลียนแบบ

ตอบ 1 หน้า 210 การแก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นคําตอบในทันที เป็นวิธีการแก้ปัญหาของบุคคลโดยฉับพลันทันใด และสามารถรู้คําตอบได้ในทันที

62 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับความหมายของแรงจูงใจ (Motive)

(1) สภาวะพลังงานที่หยุดนิ่ง

(2) สภาวะที่อยู่ภายนอกร่างกายที่เป็นพลัง

(3) เป็นกระบวนการที่สิ้นสุด

(4) พลังในตัวบุคคลที่ทําให้บุคคลเสดงพฤติกรรม

(5) ทําให้ร่างกายอยู่ในสภาวะหยุดพัก

ตอบ 4 หน้า 223, 225 แรงจูงใจ (Motive) หมายถึง กระบวนการที่สร้างหรือสภาวะที่เป็นแรงกระตุ้นพลังในตัวบุคคลที่ทําให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา ทั้งที่เป็นพฤติกรรมโดยสัญชาตญาณและพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่แรงจูงใจนั้นต้องการ

63 นักจิตวิทยาที่กล่าวถึงลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์

(1) พาฟลอฟ

(2) แบนดูรา

(3) โรเจอร์ส

(4) มาสโลว์

(5) วัตสัน

ตอบ 4 หน้า 229 230, 234 235, (คําบรรยาย) มาสโลว์ (Maslow) เป็นนักจิตวิทยาที่แบ่งลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 2 ระดับ จํานวน 5 ขั้น ดังนี้คือ

1 ระดับความต้องพื้นฐาน (Basic Needs) ได้แก่ ขั้นที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกายและขั้นที่ 2 ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง

2 ระดับความต้องการขั้นสูง (Growth Needs) ได้แก่ ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ, ขั้นที่ 4 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น และขั้นที่ 5 ซึ่ง เป็นความต้องการขั้นสูงสุด คือ ความต้องการประจักษ์ตน (ความต้องการที่จะเข้าใจตนเอง อย่างถ่องแท้หรืออย่างแท้จริง)

64 แรงจูงใจมีที่มาจากองค์ประกอบใด

(1) ความต้องการ

(2) ความสมบูรณ์

(3) ความมีเหตุผล

(4) ความฉลาด

(5) สติปัญญา

ตอบ 1 หน้า 227 228 กระบวนการของการเกิดแรงจูงใจ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้

1 ความต้องการ (Needs)

2 แรงขับ (Drive)

3 การตอบสนอง (Response) หรือการแสดงพฤติกรรม

4 เป้าหมาย (Goal)

65 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความต้องการของบุคคลที่เกิดจากสิ่งเร้า

(1) สิ่งเร้านั้นต้องมีอิทธิพลต่อบุคคล

(2) สิ่งเร้าเดียวกันอาจทําให้คนต้องการต่างกัน

(3) สิ่งเร้าต่างกันอาจทําให้คนต้องการเหมือนกัน

(4) สิ่งเร้าเดียวกันมีอิทธิพลต่อบุคคลทุกคน

(5) เวลาเปลี่ยนไป สิ่งเร้าเดิมอาจไม่ส่งผลต่อบุคคลแล้ว

ตอบ 4 หน้า 229 ความต้องการของบุคคลเกิดจากสิ่งเร้า ซึ่งสิ่งเร้านั้นจะต้องมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของบุคคล การจูงใจบุคคลต้องเร้าด้วยสิ่งเร้าที่ต่างกันตามความต้องการของบุคคลนั้น สิ่งเร้า เดียวกันอาจทําให้คนต้องการต่างกัน สิ่งเร้าต่างกันอาจทําให้คนต้องการเหมือนกัน เมื่อเวลาเปลี่ยนไป สิ่งเร้าเดิมอาจไม่ส่งผลต่อบุคคล และสิ่งเร้าที่เราไม่ได้ในอดีตอาจจูงใจได้ในปัจจุบัน

66 ข้อใดคือความต้องการขั้นสูงสุดของทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์

(1) ความต้องการความปลอดภัย

(2) ความต้องการทางด้านร่างกาย

(3) ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ

(4) ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ

(5) ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

67 ข้อใดคือทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของเมอร์เรย์

(1) ความต้องการทางด้านร่างกาย

(2) ความต้องการความปลอดภัย

(3) ความต้องการที่จะยอมแพ้

(4) ความต้องการสืบเผ่าพันธุ์

(5) ความต้องการที่จะเข้าใจคนอื่น

ตอบ 3 หน้า 235 – 237 เมอร์เรย์ (Murray) ได้แบ่งประเภทของความต้องการไว้ 20 ประการ เช่น ความต้องการที่จะเอาชนะด้วยการแสดงความก้าวร้าว, ความต้องการเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ความต้องการที่จะยอมแพ้, ความต้องการที่จะป้องกันตนเอง, ความต้องการความสนุกสนาน,ความต้องการความสําเร็จ, ความต้องการแยกตนเองออกจากผู้อื่น ฯลฯ

68 ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์

(1) แรงจูงใจทางชีวภาพ

(2) แรงจูงใจทางสรีรวิทยา

(3) แรงจูงใจใฝ่อํานาจ

(4) แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์

(5) แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย

ตอบ 3 หน้า 239 – 243 แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ (แรงจูงใจเพื่อความอยู่รอดของชีวิต) แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ

1 แรงจูงใจทางชีวภาพ/ทางสรีรวิทยา (Biological Motive) เช่น ความหิว ความกระหาย ฯลฯ

2 แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ (Reproduction Motive) เช่น ความต้องการทางเพศ ฯลฯ

3 แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย (Avoidance Motive)

69 แรงจูงใจทางชีวภาพ (Biological Motive) ตรงกับข้อใด

(1) ความหิว

(2) ความกระหาย

(3) ความต้องการทางเพศ

(4) ความต้องการหนีอันตราย

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

70 บุคคลมีความอิสระที่จะกระทําพฤติกรรม รู้ว่าตนต้องการอะไร ตรงกับทฤษฎีใด

(1) ทฤษฎีหลักการมีเหตุผล

(2) ทฤษฎีสัญชาตญาณ

(3) ทฤษฎีแรงขับ

(4) ทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการ

(5) ทฤษฎีความต้องการความสุขส่วนตัว

ตอบ 1 หน้า 245 ทฤษฎีหลักการมีเหตุผล เชื่อว่า บุคคลมีอิสระที่จะกระทําพฤติกรรมใด ๆ ได้อย่างมีเหตุผล รู้ว่าตนต้องการอะไร ปรารถนาสิ่งใด และควรจะต้องตัดสินใจออกมาในลักษณะใด

71 ข้อใดคือความหมายของแรงขับ (Drive)

(1) ภาวะความตึงเครียดของร่างกาย

(2) ทําให้ร่างกายแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ

(3) ขจัดความเครียดออกจากร่างกาย

(4) พลังภายในร่างกาย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 246 แรงขับ (Drive) เป็นภาวะความตึงเครียดของร่างกาย เป็นพลังภายในร่างกายที่ทําให้ร่างกายได้มีการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อขจัดความเครียดนั้นออกไปจากร่างกาย

72 การจัดเรทผู้ชมสําหรับรายการโทรทัศน์ ตรงกับข้อใด

(1) การลองผิดลองถูก

(2) การเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากค่านิยม

(3) การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น

(4) การเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากสิ่งไม่มีชีวิต

(5) การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา

ตอบ 2 หน้า 247 – 248, (คําบรรยาย) แรงจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากค่านิยมจะเกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งที่ตั้งใจเลียนแบบหรือเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว โดยตัวแบบจะเปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยมของสังคม เช่น เปลี่ยนไปตามการจัดเรทผู้ชมสําหรับรายการโทรทัศน์ ฯลฯ

73 อารมณ์ใดมีลักษณะคล้ายอารมณ์ที่เย็นชามากที่สุด

(1) อารมณ์ทุกข์ ปวดร้าว

(2) อารมณ์โกรธ

(3) อารมณ์ดูถูก

(4) อารมณ์รู้สึกผิด

(5) อารมณ์หวาดกลัว

ตอบ 3 หน้า 257 – 258 คาร์รอล อิซาร์ด (Carroll Izard) ได้จําแนกอารมณ์ออกเป็น 10 ประเภท คือ

1 Interest-Excitement (สนใจ ตื่นเต้น) เป็นอารมณ์ที่ช่วยทําให้บุคคลเกิดแรงจูงใจในการที่จะเรียนรู้และต้องใช้ความพยายามในเชิงสร้างสรรค์มากขึ้น เช่น อยากเรียนสูง ๆ

2 Joy (รื่นเริง) เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดสภาวะของความเชื่อมั่น มองว่าโลกนี้ช่างน่าอยู่เหลือเกิน

3 Surprise (ประหลาดใจ) เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าในระบบประสาท

4 Distress-Anguish (เสียใจ-เจ็บปวด) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องประสบกับความพลัดพราก หรือเผชิญกับความล้มเหลวในชีวิต

5 Anger-Rage (โกรธ-เดือดดาล) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลพบกับการขัดขวางหรืออุปสรรค

6 Disgust (รังเกียจ) เป็นอารมณ์อันเกิดจากการกระทบกับสัมผัสที่ไม่พึงปรารถนา 7 Contempt-Scorn (ดูถูกเหยียดหยาม) เป็นอารมณ์ที่อาจเกิดผสมระหว่างอารมณ์โกรธกับอารมณ์ขยะแขยง จัดเป็นอารมณ์ที่มีลักษณะที่เย็นชา

8 Fear-Terror (กลัว-สยองขวัญ) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลกําลังเผชิญอยู่กับสิ่งที่ตนไม่สามารถจะเข้าใจได้ หรือเกิดความไม่แน่ใจในภัยอันตรายที่กําลังจะมาถึง

9 Shame Sin Shyness-Humiliation (อับอายขายหน้า) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลถูกลงโทษ เพราะไม่ประพฤติตามกฎเกณฑ์ของสังคม

10 Guilt (รู้สึกผิด) เป็นอารมณ์ที่มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับความวิตกกังวลและความอาย

74 อารมณ์ใดเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ ความพลัดพรากหรือล้มเหลว

(1) อารมณ์ทุกข์ ปวดร้าว

(2) อารมณ์โกรธ

(3) อารมณ์ดูถูก

(4) อารมณ์รู้สึกผิด

(5) อารมณ์หวาดกลัว

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

75 อารมณ์ใดไม่ใช่อารมณ์พื้นฐานตามแนวคิดของจาค แพงค์เซปป์

(1) ตื่นตระหนก

(2) คาดหวัง

(3) เดือดดาล

(4) หวาดกลัว

(5) เศร้าโศก

ตอบ 5 หน้า 259 อารมณ์พื้นฐานตามแนวคิดของจาค แพงค์เซปป์ (Jaak Panksepp) มี 4 ชนิด ไป คือ คาดหวัง เดือดดาล ตื่นตระหนก และหวาดกลัว

76 ข้อใดอธิบายไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณสมบัติของเครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph)

(1) วัดการเปลี่ยนแปลงการเต้นของหัวใจได้

(2) วัดการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตได้

(3) วัดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมองได้

(4) วัดการเปลี่ยนแปลงของการหายใจได้

(5) วัดระดับความชื้นของฝ่ามือได้

ตอบ 3 หน้า 262 263 เครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph) เป็นเครื่องมือจับเท็จที่ใช้วัดและบันทึกการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการหายใจและอุณหภูมิหรือความชื้นหรือแรงต้านทานกระแสไฟฟ้าบนฝ่ามือ (GSR)

77 การพัฒนาทางอารมณ์ของมนุษย์จะสมบูรณ์ช่วงอายุประมาณเท่าใด

(1) 12 เดือน

(2) 18 เดือน

(3) 24 เดือน

(4) 28 เดือน

(5) 32 เดือน

ตอบ 3 หน้า 271 เค.บริดเจส (K.Bridges) พบว่า พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กทารกมีลักษณะดังนี้ อารมณ์แรกเกิดของมนุษย์คืออารมณ์ตื่นเต้น แล้วจึงพัฒนาไปสู่อารมณ์ที่มีลักษณะเฉพาะมากขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ก็จะแยกออกระหว่างอารมณ์ดีใจและเดือดร้อนใจ ต่อจากนั้นอารมณ์โกรธ เกลียดและกลัวก็จะปรากฏขึ้นภายหลังตามระดับวุฒิภาวะและการรับรู้ของเด็ก และเมื่ออายุ 2 ปี (24 เดือน) อารมณ์พื้นฐานก็จะพัฒนาจนครบสมบูรณ์ทั้ง 8 ชนิด

78 หน้าที่ใดเกี่ยวข้องกับอารมณ์พื้นฐาน “กลัว” ตามแนวคิดของพลูทชิค

(1) การปฏิเสธ

(2) การปกป้อง

(3) การทําลาย

(4) การปรับตัว

(5) การรักษาการสูญเสีย

ตอบ 2 หน้า 272 หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์พื้นฐาน 8 ชนิด ตามแนวคิดของพลูทชิค (Plutchik) ได้แก่ กลัว – การปกป้อง, โกรธ – การทําลาย, รื่นเริง – ความร่วมมือ, รังเกียจ – การปฏิเสธ ยอมรับ – การแพร่พันธุ์, เศร้า – การรักษาการสูญเสีย, ประหลาดใจ – การปรับตัว, คาดหวัง (อยากรู้อยากเห็น) – การสํารวจค้นหา

79 ข้อใดเป็นอารมณ์สากลที่แสดงออกทางใบหน้าตามแนวคิดของเอ็กแมน

(1) ว้าวุ่น

(2) เบื่อหน่าย

(3) คาดหวัง

(4) ยอมรับ

(5) ประหลาดใจ

ตอบ 5 หน้า 274 อารมณ์สากลที่แสดงออกทางใบหน้าตามแนวคิดของพอล เอ็กแมน (Paul Ekman) มี 6 ชนิด ได้แก่ ประหลาดใจ รังเกียจ เศร้าเสียใจ โกรธ กลัว และเป็นสุข

ข้อ 80 – 84 จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์

(2) ทฤษฎีโครงสร้างของจิต

(3) ทฤษฎีมนุษยนิยม

(4) ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม

(5) ทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง

 

80 สัญชาตญาณแห่งความตายที่เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและการทําลายล้าง

ตอบ 1 หน้า 287 288 ฟรอยด์ (Freud) นักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis Theory) กล่าวว่า มนุษย์เรามีสัญชาตญาณ 2 ประเภทที่ติดตัวมาแต่กําเนิด คือ

1 สัญชาตญาณแห่งการดํารงชีวิต เป็นสัญชาตญาณการตอบสนองความต้องการทางร่างกาย

2 สัญชาตญาณแห่งความตาย เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและการทําลายล้าง

81 ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้นจะเกิดขึ้นอีก

ตอบ 4 หน้า 289 – 291 วัตสัน (Watson) นักทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม โดยบุคลิกภาพ ของมนุษย์เกิดจากผลแห่งการกระทําของเขา เช่น ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้นจะเกิดขึ้นอีกและจะกระทําบ่อยขึ้น ฯลฯ

82 พฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดจาการที่เราพยายามทําพฤติกรรมที่ดํารงรักษาความเชื่อเรื่องอัตมโนทัศน์ของตัวเราเอาไว้

ตอบ 3 หน้า 291 293 โรเจอร์ส (Rogers) นักทฤษฎีมนุษยนิยม (Humantistic Theory) กล่าวว่า พฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดจาการที่เราพยายามทําพฤติกรรมที่ดํารงรักษาความเชื่อเรื่องอัตมโนทัศน์ (Self Concept) ของตัวเราเอาไว้

83 พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

84 การศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคมเดียวกันจะสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกันมีคล้ายคลึงกันได้

ตอบ 5 หน้า 296 อัลพอร์ท (Allport) นักทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง (Type and Trait Theory)เชื่อว่า เราสามารถจัดแบ่งกลุ่มลักษณะอุปนิสัยของคนออกเป็นหมวดหมู่ได้ โดยนําเอาลักษณะ ที่คล้าย ๆ กันจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน และจากการศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคม เดียวกัน เราสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกันมีคล้ายคลึงกันได้ เรียกลักษณะนี้ว่าลักษณะสามัญ (Common Trait) เช่น คนเหนือสุภาพ คนใต้รักพวกพ้อง คนไทยใจดี ฯลฯ

85 ตามแนวคิดพัฒนาการทางบุคลิกภาพของฟรอยด์ “ปมเอดิปุส” ที่เชื่อว่าเด็กชายจะรักแม่และอิจฉาพ่อ เกิดขึ้นในขั้นใด

(1) ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก

(2) ขั้นอวัยวะเพศ

(3) ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก

(4) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์

(5) ขั้นแอบแฝง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

  1. โบวี่มีบุคลิกภาพที่รู้จี้ เจ้าระเบียบ รักษาความสะอาดเกินเหตุ และดันทุรัง เกิดจากการหยุดชะงักของพัฒนาการในขั้นใด

(1) ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก

(2) ขั้นอวัยวะเพศ

(3) ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก

(4) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์

(5) ขั้นแอบแฝง

ตอบ 3 หน้า 299 ขั้นพัฒนาการของฟรอยด์ในขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก (Anal Stage) เกิดในช่วงอายุ 2 – 3 ปี ซึ่งเด็กจะมีศูนย์กลางความพึงพอใจอยู่ที่ทวารหนัก เด็กจะพอใจที่ได้ปลดปล่อย หากในช่วงนี้บิดามารดาที่เคร่งครัดกับเด็กมากเกินไปในเรื่องการขับถ่าย เมื่อเด็กโตขึ้นจะเกิด ความขัดแย้งใจ เป็นบุคลิกภาพที่รู้จี้ เจ้าระเบียบ รักษาความสะอาดจนเกินเหตุ และบางครั้งอาจมีพฤติกรรมประเภทดื้อรั้นและดันทุรังได้

87 แบบทดสอบชนิดใดที่ทดสอบโดยการให้ผู้รับการทดสอบเล่าเรื่องจากภาพ

(1) Rorschach

(2) 16PF

(3) TAT

(4) MMPI

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 308 309, 315 แบบทดสอบการฉายภาพจิต เป็นการวัดบุคลิกภาพที่นักจิตวิทยามีความประสงค์จะล่วงรู้ถึงความปรารถนาหรือจิตใต้สํานึกลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในจิตของผู้ตอบ โดย ให้ผู้รับการทดสอบบรรยายความรู้สึกนึกคิดออกมาทางภาพที่ให้ดู ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1 แบบทดสอบรอร์ขาค (Rorschach) เป็นภาพหยดหมึก 10 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วถามว่าเขาเห็นอะไรในภาพนั้นบ้างหรือภาพนั้นเหมือนอะไร

2 แบบทดสอบ TAT เป็นภาพเรื่องราว 20 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วให้เขาบรรยายหรือแต่งเรื่องหรือเล่าเรื่องจากภาพ

88 การประเมินบุคลิกภาพของนักจิตวิทยาในข้อใดที่เรียกว่า การฉายภาพจิต

(1) ใช้แบบทดสอบ AMPT

(2) ให้ดูภาพหยดหมึกแล้วถามว่าภาพนั้นเหมือนอะไร

(3) แอบสังเกตการณ์ผ่านกล้องวิดีโอ

(4) พูดคุยในสภาพผ่อนคลาย และตั้งคําถามทางอ้อม

(5) จําลองสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง แล้วให้ผู้รับการทดสอบเข้าไปในเหตุการณ์นั้น

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 87 ประกอบ

89 ข้อใดเป็นสูตรของการคํานวณ I.Q.

(1) อายุสมองคุณด้วยอายุจริง

(2) อัตราส่วนระหว่างอายุสมองและอายุจริง

(3) อัตราส่วนระหว่างอายุสมองและอายุจริง คูณ 100

(4) อัตราส่วนระหว่างอายุจริงและอายุสมอง

(5) อัตราส่วนระหว่างอายุจริงและอายุสมอง คูณ 100

ตอบ 3 หน้า 326 ในการวัดความสามารถทางสติปัญญาจะถูกวัดออกมาในอัตราส่วนที่เรียกว่า I.Q.(Intelligence Quotient) ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างอายุสมอง (Mental Age = M.A. ) และ อายุจริงตามปฏิทิน (Chronological Age = C.A.) คูณด้วย 100

90 เด็กชายอ๋อยมี I.Q. เท่ากับ 100 นับว่าเขามีระดับสติปัญญาเป็นอย่างไร

(1) ปัญญาทึบ

(2) เกณฑ์ปกติ

(3) ค่อนข้างฉลาด

(4) ฉลาดมาก

(5) อัจฉริยะ

ตอบ 2 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (I.Q.) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้ ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ I.Q. ต่ำกว่า 70, คาบเส้น (Borderline) มีระดับ IQ.71 – 80, ปัญญาทึบ (Dull) มีระดับ I.Q. 81 – 90, เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ I.Q. 91 – 110 ซึ่ง เป็นอัตราเฉลี่ย (Average), ค่อนข้างฉลาด (Superior) มีระดับ IQ. 111 – 120, ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ IQ. 121 – 140 และอัจฉริยะ (Genius) มีระดับ I.O. 140 ขึ้นไป

91 ตัวประกอบทั่วไปที่เรียกว่า G-factor ของทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยเน้นความสามารถเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) การใช้เหตุผล

(2) ความเข้าใจภาษา

(3) การคํานวณ

(4) ความไวในการรับรู้

(5) ความสามารถในการจํา

ตอบ 1 หน้า 325 ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) เป็นผู้ที่คิดทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยโดยอธิบายว่า สติปัญญาของคนเรานั้นจะมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ

1ตัวประกอบทั่วไป (General factor : G-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผลทั่ว ๆ ไปของบุคคล และทุกคนมีเหมือนกันหมด

2 ตัวประกอบเฉพาะ (Specific factor : S-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถ เฉพาะตัวของบุคคล เช่น ความสามารถพิเศษด้านศิลปะและดนตรี ความสามารถในการจําความเข้าใจภาษา การคํานวณ การใช้มือ การสังเกต การออกแบบ (Design) ฯลฯ

92 ข้อใดเป็นส่วนประกอบของสติปัญญาตามทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัยของเทอร์สโตน

(1) ความสามารถในการช่างสังเกต

(2) ความสามารถในด้านศิลปะ

(3) ความสามารถใช้มือ

(4) ความสามารถใช้คําได้คล่องแคล่ว

(5) ความสามารถในการประสานกันระหว่างมือและตา

ตอบ 4 หน้า 325 – 326 เทอร์สโตนและกิลฟอร์ด (Thurstone and Guilford) เป็นผู้ที่แนะนําทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัย (Multiple Factor Theory) โดยเทอร์สโตนอธิบายว่า ความสามารถขั้นพื้นฐานที่เป็นส่วนประกอบของสติปัญญามี 7 ชนิด คือ ความเข้าใจภาษา, ความสามารถ ใช้คําได้คล่องแคล่ว, ความสามารถในการใช้ตัวเลข, ความสามารถในการมองเห็นภาพมิติ, ความสามารถในการจํา, ความไวในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ และความสามารถที่จะเข้าใจเหตุผล ส่วนกิลฟอร์ด เชื่อว่า ตัวประกอบของสติปัญญามีถึง 120 ตัวประกอบ ใน 3 มิติ คือ มิติด้านเนื้อหา วิธีการ และผล โดยเขาเชื่อว่าบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงมักจะมีสติปัญญาสูงด้วย

93 ความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบหมายถึงอะไร

(1) เป็นแบบทดสอบที่ให้ความคงที่ของคะแนน

(2) เป็นแบบทดสอบที่วัดในสิ่งที่ต้องการวัด

(3) ให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน

(4) มีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ

(5) ทดสอบภายใต้สภาพการณ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

ตอบ 1 หน้า 327 – 328 แบบทดสอบที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติที่สําคัญ 4 ประการ ดังนี้

1 ความเป็นปรนัย (Objectivity) จะต้องให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน

2 ความเชื่อถือได้ (Reliability) จะต้องให้ความคงที่ของคะแนนในการวัดแต่ละครั้ง

3 ความเที่ยงตรง (Validity) จะต้องวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด (เป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่สุด)

4 ความเป็นมาตรฐาน (Standardization) จะต้องมีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ

94 ความเป็นปรนัยของแบบทดสอบหมายถึงอะไร

(1) มีเกณฑ์ปกติหรือค่าเฉลี่ยของกลุ่มคนปกติ

(2) เป็นแบบทดสอบที่วัดในสิ่งที่ต้องการวัด

(3) เป็นแบบทดสอบที่ให้ความคงที่ของคะแนน

(4) มีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ

(5) ให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 93 ประกอบ

95 แบบทดสอบสติปัญญาของ Wechsler แบ่งออกเป็น 2 หมวด ได้แก่อะไร

(1) ความสามารถเชิงภาษาและเชิงคํานวณ

(2) ความสามารถเชิงคํานวณและเชิงเหตุผล

(3) ความสามารถเชิงเหตุผลและเชิงภาษา

(4) ความสามารถเชิงภาษาและไม่ใช้ถ้อยคําภาษา

(5) ความสามารถเชิงภาษาและแบบประกอบการ

ตอบ 5 หน้า 330 องค์ประกอบของแบบทดสอบการวัดสติปัญญาของเวคสเลอร์ (Wechsler)แบ่งข้อทดสอบออกเป็น 2 หมวด ดังนี้คือ

1 ข้อทดสอบเชิงภาษา ประกอบด้วยแบบทดสอบย่อย 6 ชุด ได้แก่ ความรู้ทั่วไป ความเข้าใจเลขคณิต (ความสามารถเชิงคํานวณ) ความคล้ายคลึงกัน การจําช่วงตัวเลข และคําศัพท์

2 ข้อทดสอบแบบประกอบการ ประกอบด้วยแบบทดสอบย่อย 5 ชุด ได้แก่ สัญลักษณ์ตัวเลขการเติมรูปภาพ การออกแบบก้อนสี่เหลี่ยม การลําดับภาพ และการประกอบชิ้นส่วน

96 ข้อใดเป็นองค์ประกอบของการทดสอบแบบประกอบการของแบบทดสอบสติปัญญาของ Wechsler

(1) ความคล้ายคลึงกัน

(2) การจําช่วงตัวเลข

(3) การลําดับภาพ

(4) ความสามารถเชิงคํานวณ

(5) การทํางานประสานกันระหว่างมือและตา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ

97 แบบทดสอบชนิดใดที่สร้างขึ้นมาเพื่อวัดความสามารถในการใช้เหตุผล

(1) WAIS

(2) TAT Test

(3) Stanford-Binet Test

(4) WPPSI

(5) Progressive Matrices Test

ตอบ 5 หน้า 331 แบบทดสอบโปรเกรสซีฟเมตริซีส (Progressive Matrices Tests) มีลักษณะเป็นแบบทดสอบที่ไม่ใช้ถ้อยคําภาษา (Nonverbal) สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดความสามารถของบุคคลในการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิต และเพื่อวัดความสามารถในการใช้เหตุผล

98 ข้อใดไม่ใช่ข้อพึงระวังในการวัดสติปัญญา

(1) ผู้ใช้แบบทดสอบต้องปฏิบัติตามคําอธิบายในคู่มือ

(2) ผู้ทดสอบต้องมีความชํานาญเกี่ยวกับแบบทดสอบที่ใช้

(3) สภาพแวดล้อมขณะทําการทดสอบต้องปราศจากสิ่งรบกวน

(4) ผู้รับการทดสอบต้องให้ความร่วมมือและมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ

(5) แบบทดสอบสติปัญญาเป็นแบบทดสอบที่ไม่จําเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการทดสอบ

ตอบ 5 หน้า 331 332, (คําบรรยาย) ข้อควรคํานึงหรือข้อพึงระวังในการวัดสติปัญญา มีดังนี้

1 ผู้ทดสอบต้องมีความรู้และความชํานาญเกี่ยวกับแบบทดสอบที่ใช้ จะต้องเตรียมตัวและฝึกใช้เครื่องมือก่อนทําการทดสอบ หรือฝึกซ้อมใช้แบบทดสอบก่อนการใช้งานจริง 2 ผู้รับการทดสอบต้องให้ความร่วมมือ และมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ

3 สภาพแวดล้อมขณะทําการทดสอบต้องทําในสถานที่เงียบสงบปราศจากสิ่งรบกวน 4 การซื้อขายและการใช้แบบทดสอบต้องอยู่ในความควบคุมและมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ซื้อหรือผู้นําแบบทดสอบไปใช้ และผู้ใช้แบบทดสอบต้องปฏิบัติตามคําอธิบายในคู่มือ

99 ผลการศึกษาวิจัยพบว่า เพศชายสามารถทําแบบทดสอบวัดระดับสติปัญญาด้านใดดีกว่าเพศหญิง

(1) ด้านภาษา

(2) ด้านเสมียน

(3) ด้านการวางแผน

(4) ด้านการบัญชี

(5) ด้านการแสดง

ตอบ 2 หน้า 333 จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า เด็กชายในระดับมัธยมศึกษาสามารถทําคะแนนแบบทดสอบวัดระดับสติปัญญาได้ดีกว่าเด็กหญิงในแบบทดสอบย่อยด้านประกอบการที่ต้องอาศัยความคล่องแคล่วในเชิงเสมียนและความสามารถเชิงจักรกล ส่วนเด็กหญิงจะทําคะแนนได้ดีกว่าในแบบทดสอบย่อยด้านภาษา

100 การให้เหตุผลว่า “ผู้ที่ปรับตัวได้คือผู้ที่ก้าวข้ามความกลัว และยืนหยัดกับการเผชิญความเป็นจริงของชีวิตได้” เป็นแนวคิดทางจิตวิทยากลุ่มใด

(1) จิตวิเคราะห์

(2) พฤติกรรมนิยม

(3) กลุ่มนักทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด

(4) มนุษยนิยม

(5) จิตวิทยาเกสตัลท์

ตอบ 3 หน้า 344 กลุ่มนักทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด (Existentialist) มองว่า มนุษย์มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องรับผิดชอบในการกระทําทุกอย่างของตนเอง โดยมนุษย์จะไม่สามารถโทษผู้อื่น หรือสิ่งแวดล้อมว่าทําให้เขาเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ได้เลย ใครก็ตามที่ก้าวพ้นออกมาจากความกลัวและยืนหยัดอยู่กับความเชื่อและเผชิญกับความเป็นจริงของชีวิตได้ จะเป็นผู้ที่ปรับตัวได้ดี

101 ข้อใดเกี่ยวข้องกับการปรับตัวที่ดีมากที่สุด

(1) ช่วยให้เชื่อมั่นในตนเองมากขึ้นได้

(2) ช่วยให้สามารถควบคุมผู้อื่นได้

(3) ช่วยให้มีความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ สูงขึ้น

(4) ช่วยให้มีสติปัญญาสูงขึ้น

(5) ช่วยให้เป็นที่ยอมรับนับหน้าถือตาจากบุคคลอื่นได้

ตอบ 1 หน้า 345 การปรับตัวที่ดีและเหมาะสม่เป็นการปรับตัวของบุคคลที่ทําให้ชีวิตของเขาดีขึ้นทําให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ช่วยให้เชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น และช่วยให้สามารถเข้าสังคมที่มีความหลากหลายดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ต้อง ไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือต้องไม่ไปปิดกั้นสิทธิเสรีภาพและอิสรภาพของผู้อื่น

102 “การที่จะต้องทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งสําเร็จภายในเวลาที่จํากัด” เป็นความหมายของ

(1) ความคับข้องใจ

(2) ความก้าวร้าว

(3) ความกดดัน

(4) ความขัดแย้งใจ

(5) ความคาดหวัง

ตอบ 3 หน้า 347 ความกดดัน หมายถึง การที่จะต้องทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สําเร็จภายในเวลาที่จํากัดโดยเฉพาะในภาวะหน้าวหน้าขวานที่จะต้องทํางานภายใต้เส้นตายที่ขีดไว้

103 ตามแนวคิดของไฟด์แมนและโรเซนแมน คนแบบใดมีความเครียดมากที่สุด

(1) คนที่ทําอะไรค่อยเป็นค่อยไป

(2) คนที่ไม่ชอบความเร่งรีบ

(3) คนที่เก็บกดไม่แสดงอารมณ์

(4) คนที่ไม่ชอบการแข่งขัน

(5) คนที่ไม่ชอบสร้างบรรทัดฐานให้กับตนเอง

ตอบ 3 หน้า 348, (คําบรรยาย) ไฟด์แมนและโรเซนแมน (Friedman & Rosenman) ได้แบ่งกลุ่มคนตามลักษณะบุคลิกภาพออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1 กลุ่ม A (Type A Personality) เป็นคนใจเร็ว ใจร้อน ชอบความก้าวหน้า การแข่งขันสูงเก็บกดไม่แสดงอารมณ์ มุ่งความสําเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ ชอบสร้างมาตรฐานให้กับตัวเองมักเป็นคนเข้มงวด และชอบความสมบูรณ์แบบ ซึ่งมีผลให้มีความเครียดมากที่สุด

2 กลุ่ม B (Type B Personality) เป็นคนที่ไม่เร่งรีบ ผ่อนคลาย ทําอะไรแบบค่อยเป็นค่อยไปชอบทํางานที่ละอย่าง ซึ่งมีผลให้มีความเครียดน้อยที่สุดและไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

104 อาการทางกายใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับความเครียดของบุคคล

(1)ท้องผูก

(2) ปัญญาอ่อน

(3) สมองเสื่อม

(4) ภาวะโรคจิต

(5) ภาวะตาบอดสี

ตอบ 1 หน้า 349 ไซโคโซมาติก (Psychosomatic Diseases) คือ อาการของความเจ็บป่วยหรือโรคทางกายที่เกิดจากภาวะความเครียดที่สะสมเอาไว้นาน ๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ท้องร่วง ท้องผูก โรคหัวใจ นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน) ฯลฯ

105 ตามแนวคิดการปรับตัวทางร่างกายเมื่อเกิดความเครียดของเซลเย (Selye) “หากปล่อยให้เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนาน ไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการดําเนินชีวิต อาจส่งผลให้สุขภาพทรุดหนักหรือพังได้” เกิดขึ้นในขั้นตอนใด

(1) ขั้นระยะตื่นตัว

(2) ขั้นปฏิกิริยาตื่นตระหนก

(3) ขั้นสร้างระบบต้านทานภัย

(4) ขั้นระยะเหนื่อยล้า

(5) ขั้นระยะถดถอย

ตอบ 4 หน้า 351 เซลเย (Selye) ได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับสภาวะของร่างกายเมื่อเกิดความเครียดพบว่า เมื่อบุคคลเกิดความเครียด ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อความเครียด 3 ขั้นตอน คือ

1 ปฏิกิริยาตื่นตระหนก เป็นช่วงที่ร่างกายมีพละกําลังมหาศาล เพื่อรับสภาพการจู่โจม 2 สร้างระบบต้านทานภัย ร่างกายจะสร้างระบบที่ปรับตัวต่อความเครียดในระยะยาวนานขึ้น

3 ระยะเหนื่อยล้า ในกรณีที่ความเครียดอยู่กับบุคคลนาน ๆ และไม่หมดสิ้นไป ก็อาจทําให้ร่างกาย เกิดโรคขึ้นหลายชนิด เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ ฯลฯ และถ้าเป็นนาน ๆร่างกายก็อาจไปถึงจุดที่เรียกว่า Burn-Out คือ ไปต่อไม่ได้ 106 ข้อใดอธิบายไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “กลไกป้องกันทางจิต” ที่ใช้ในการปรับตัว

(1) กลไกป้องกันทางจิตช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลให้ลดลงได้

(2) กลไกป้องกันทางจิตเป็นกลไกที่ใช้ในการจัดการกับความคับข้องใจของบุคคล

(3) การใช้กลไกป้องกันทางจิตไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะของโรคประสาท

(4) การใช้กลไกป้องกันทางจิตมากเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคลิกภาพได้

(5) การใช้กลไกป้องกันทางจิตเป็นกลยุทธ์ที่ใช้บิดเบือนหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทําให้เกิดความวิตกกังวล

ตอบ 3 หน้า 357 กลไกป้องกันทางจิต (Defense Mechanism) เป็นกลไกที่ใช้ในการจัดการกับความคับข้องใจของบุคคล เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อบิดเบือนหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธสถานการณ์ที่ทําให้ เกิดความวิตกกังวล จะช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลให้ลดลงได้ แม้ว่าการใช้กลไก ป้องกันทางจิตจะสามารถรักษาความสมดุลของสภาพทางจิตใจไว้ได้ระดับหนึ่งก็ตาม แต่ถ้าใช้มากเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคลิกภาพได้ ซึ่งจะนําไปสู่ภาวะของโรคประสาทได้ในที่สุด

107 การหาแพะรับบาป น่าจะเกี่ยวข้องกับการใช้กลไกทางจิตชนิดใด

(1) ปฏิกิริยากลบเกลื่อน

(2) การเก็บกด

(3) การเลียนแบบ

(4) การหาสิ่งทดแทน

(5) การไม่รับรู้ความจริง

ตอบ 4 หน้า 358 การหาสิ่งทดแทน (Displacement) เป็นกลไกป้องกันทางจิตเมื่อเกิดความคับข้องใจกับบุคคลที่เป็นสาเหตุ แต่ถ้าไม่สามารถแสดงออกกับผู้นั้นได้โดยตรง ก็จะหาผู้อื่นหรือสิ่งอื่นมาเป็นแพะรับบาป เช่น โกรธเจ้านาย กลับบ้านก็มาด่าว่าภรรยาหรือเตะหมาแทน ฯลฯ

108 “หนีเสือปะจระเข้” เป็นความขัดแย้งใจชนิดใด

(1) Approach-Approach Conflicts

(2) Avoidance-Avoidance Conflicts de

(3) Approach-Avoidance Conflicts

(4) Double Approach-Avoidance Conflicts

(5) Double Approach-Approach Conflicts

ตอบ 2 หน้า 361 364 ความขัดแย้งใจ (Conflict) มี 4 ประเภท คือ

1 อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ“รักพี่เสียดายน้อง” คือ ตัวเลือกทั้งสองเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาทั้งคู่ แต่หากเข้าใกล้เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งแล้วจะทําให้อีกเป้าหมายหนึ่งลดความดึงดูดลงไปได้มาก

2 อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ“หนีเสือปะจระเข้” คือ เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกตัวเลือกที่ไม่พึงปรารถนาทั้งคู่ก่อให้เกิดพฤติกรรม “นิ่งเฉย ไม่ตัดสินใจ” เนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจและทําอะไรไม่ถูก

3 ทั้งรักและชัง (Approach-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ“กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” คือ ตัวเลือกนั้นเป็นทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบในขณะเดียวกันจึงทําให้เกิดความลังเลใจ เช่น อยากทานขนมหวานแต่กลัวฟันผุและกลัวอ้วน ฯลฯ

4 ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach-Avoidance Conflicts) คือ ตัวเลือกทั้ง 2 มีทั้งดีและไม่ดีในเวลาเดียวกัน เช่น ต้องเลือกระหว่างงานใหม่ 2 แห่ง แห่งแรกนั้นถูกใจหมดทุกอย่างแต่เงินเดือนต่ำ แต่อีกแห่งไม่ถูกใจเลยแต่เงินเดือนสูง เราจะเลือกแห่งใด ฯลฯ

109 ความขัดแย้งใดที่ก่อให้เกิดภาวะ “เป้าหมายหนึ่งอาจลดความดึงดูดลงไปได้ หากเข้าใกล้อีกเป้าหมายหนึ่ง”

(1) อยากได้ทั้งคู่

(2) อยากหนีทั้งคู่

(3) ทั้งรักและชัง

(4) ทั้งขอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 108 ประกอบ

110 วิธีการใดเกี่ยวข้องกับการจัดการความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิภาพ

(1) ควรรีบจัดการแก้ปัญหาที่เกิดความคับข้องใจให้เร็วที่สุด

(2) เมื่อแก้ไขความขัดแย้งแล้วต้องรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นด้วย

(3) ต้องตระหนักว่ามีทางที่ถูกต้องเพียงทางเดียวเท่านั้นในการแก้ปัญหา

(4) การตัดสินใจอาศัยการวิเคราะห์ ไม่จําเป็นต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้นก่อน

(5) ปัญหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเราเองเท่านั้น ไม่ควรให้ผู้อื่นรู้ หรือไม่จําเป็นต้องสอบถามจากผู้อื่น

ตอบ 2 หน้า 364 365 วิธีการแก้ไขความขัดแย้งใจอย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1 อย่ารีบร้อนในการตัดสินใจ เมื่อมีความคับข้องใจเกิดขึ้น

2 ก่อนการตัดสินใจสิ่งใดควรลองไป “สัมผัส” กับสถานการณ์นั้นเสียก่อน

3 พยายามหาทางเลือกอื่นเท่าที่จะหาได้เพื่อการตัดสินใจที่ดีที่สุด อาจถามจากผู้รู้แหล่งต่าง ๆ

4 ถ้าการเลือกของเรายังผิดพลาดก็ต้องทําใจยอมรับ และรับผิดชอบในสิ่งที่เราได้ทําลงไป

111 ข้อใดเป็นระยะห่างระหว่างบุคคลที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน

(1) ระยะสนิทสนม

(2) ระยะส่วนตัว

(3) ระยะสังคม

(4) ระยะห่างไกล

(5) ระยะสาธารณะ

ตอบ 2 หน้า 378 – 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

1 ระยะสนิทสนม (Intimate Distance) 0 – 18 นิ้ว เป็นระยะใกล้ชิดที่มักใช้สื่อสารเฉพาะกับคนพิเศษ เช่น ใช้ระหว่างคู่รัก คนในครอบครัว ฯลฯ

2 ระยะส่วนตัว (Personal Distance) 1 – 4 ฟุต เป็นระยะที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน อาจารย์ที่ปรึกษา ครูนั่งสอนนักเรียน ฯลฯ มักเอื้อมมือถึงกันได้ และใช้ระดับเสียงพูดปกติ

3 ระยะสังคม (Social Distance) 4 – 12 ฟุต เป็นระยะที่ใช้พูดคุยกันทางสังคมและธุรกิจ

4 ระยะสาธารณะ (Public Distance) 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ

112 “หนิงปรึกษาคุณแม่เรื่องการเรียน” เป็นระยะห่างระหว่างบุคคลระยะใด

(1) ระยะสนิทสนม

(2) ระยะส่วนตัว

(3) ระยะสังคม

(4) ระยะห่างไกล

(5) ระยะสาธารณะ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 111 ประกอบ

113 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ดึงดูดใจให้คนเป็นมิตรกัน

(1) ความสามารถ

(2) ความใกล้ชิดทางกาย

(3) ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย

(4) ความมีน้ำใจ

(5) ความคล้ายคลึงกัน

ตอบ 4 หน้า 380 381 ปัจจัยที่ดึงดูดใจให้คนเป็นมิตรกัน มีดังนี้

1 ความใกล้ชิดทางกาย

2 ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย

3 ความสามารถ

4 ความคล้ายคลึงกัน

114 “เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ำ ๆ โดยไม่มีการอธิบาย” จากข้อความดังกล่าวแสดงถึงสถานการณ์ใดที่ทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคม

(1) สถานการณ์การเสนอแนะ

(2) การอภิปรายกลุ่ม

(3) สถานการณ์การคล้อยตาม

(4) การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น

(5) สารชักจูง

ตอบ 1 หน้า 383 สถานการณ์ที่อาจทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคมขึ้น มี 5 สถานการณ์ คือ

1 สถานการณ์การเสนอแนะ เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ำ ๆ โดยปราศจากการอธิบาย

2 สถานการณ์การคล้อยตาม เป็นสถานการณ์ซึ่งมีการสื่อสารที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลกับพฤติกรรมของกลุ่ม ปทัสถานของกลุ่ม หรือค่านิยมของกลุ่ม

3 การอภิปรายกลุ่ม เป็นสถานการณ์ที่มีการโต้แย้งเกิดขึ้น

4 สารชักจูง เป็นสารหรือข้อความที่ได้มีการพิจารณาและขัดเกลาคําพูดมาเป็นอย่างดีแล้ว

5 การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น (การล้างสมอง) เป็นสถานการณ์ที่ใช้ทั้ง 4 ลักษณะข้างต้นพร้อมกัน

115 “คุณปั้นนําเสนอนโยบายซึ่งได้ผ่านการขัดเกลาภาษามาเป็นอย่างดีเพื่อให้เพื่อน ๆ ประทับใจและเลือกเขาเป็นประธานนักเรียน” จากข้อความดังกล่าวแสดงถึงสถานการณ์ใดที่ทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคม

(1) สถานการณ์การเสนอแนะ

(2) สถานการณ์การคล้อยตาม

(3) การอภิปรายกลุ่ม

(4) สารชักจูง

(5) การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 114 ประกอบ

116 “เมื่อทําผิดต้องถูกลงโทษโดยการติดคุกตามความผิดของตน” ตรงกับอํานาจทางสังคมแบบใด

(1) อํานาจในการให้รางวัล

(2) อํานาจในการบังคับ

(3) อํานาจตามกฎหมาย

(4) อํานาจตามการอ้างอิง

(5) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ

ตอบ 2 หน้า 385 386 อํานาจ (Power) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสังคม อํานาจทางสังคมมี 5 ประเภท คือ

1 อํานาจในการให้รางวัล คือ การให้รางวัลแก่บุคคลที่แสดงพฤติกรรมตามที่ปรารถนาได้

2 อํานาจในการบังคับ โดยใช้การจําคุกและการปรับสินไหมเป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรม

3 อํานาจตามกฎหมาย เกิดจากการยอมรับให้บุคคลเป็นตัวแทนของระเบียบทางสังคม

4 อํานาจตามการอ้างอิง เป็นอํานาจที่มาจากการที่บุคคลนั้นได้รับการเคารพนับถือ

5 อํานาจตามความเชี่ยวชาญ เป็นการยอมรับนับถือผู้ที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญ

117 “คุณหมอได้รับการยอมรับนับถือจากคนไข้” ตรงกับอํานาจทางสังคมแบบใด

(1) อํานาจในการให้รางวัล

(2) อํานาจในการบังคับ

(3) อํานาจตามกฎหมาย

(4) อํานาจตามการอ้างอิง

(5) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 115 ประกอบ

118 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเจตคติและอคติ

(1) ประกอบด้วย ความเชื่อ การกระทํา และอารมณ์

(2) อคติเป็นเจตคติทางลบ

(3) สื่อมวลชนไม่มีส่วนในการสร้างเจตคติ

(4) การเกลี้ยกล่อมชักจูงเป็นการเปลี่ยนเจตคติโดยการให้ข้อมูล

(5) สถานภาพที่ไม่เท่าเทียมกันเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดอคติระหว่างกลุ่ม

ตอบ 3 หน้า 389 393 เจตคติ มีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ ความเชื่อ อารมณ์ และการกระทําสื่อมวลชนทุกแขนงโดยเฉพาะโทรทัศน์มีผลหรือมีส่วนในการเกิดหรือสร้างเจตคติอย่างมาก, การเกลี้ยกล่อมชักจูงเป็นการพยายามเปลี่ยนเจตคติโดยการให้ข้อมูล, อคติเป็นเจตคติทางลบ,สถานภาพที่ไม่เท่าเทียมกันก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดอคติระหว่างกลุ่มขึ้น

119 “คุณป้อมรู้สึกเสียหน้าและรู้สึกโกรธจากคําพูดของคุณตู่ คุณป้อมมีความคิดว่าถ้ามีโอกาสจะหาทางเอาคืนคุณตู่ให้ได้” ลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะของผู้ที่ถูกกระทําจากพฤติกรรมในข้อใด

(1) พฤติกรรมเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

(2) พฤติกรรมไม่กล้าแสดงออก

(3) พฤติกรรมก้าวร้าว

(4) พฤติกรรมการช่วยเหลือ

(5) พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม

ตอบ 3 หน้า 397 ผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวมักจะมีความรู้สึกชอบความตรงไปตรงมาค่อนข้างมากมีความรู้สึกเหยียดหยามเป็นบางครั้ง อาจรู้สึกผิดในเวลาต่อมา รู้สึกเจ็บปวด รู้สึกถูกทําร้ายจิตใจ รู้สึกเสียหน้า รู้สึกเสียศักดิ์ศรี รู้สึกโกรธ และจะหาทางแก้แค้นหรือเอาคืนถ้ามีโอกาส

120 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออก

(1) ผู้ถูกกระทํามีความรู้สึกถูกทําร้าย

(2) ผู้แสดงพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกมีพฤติกรรมปฏิเสธตนเอง

(3) ผู้แสดงพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกมีความรู้สึกเหยียดหยามผู้ถูกกระทํา

(4) ผู้แสดงพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกมีความรู้สึกชอบความตรงไปตรงมา

(5) บุคคลที่สามรู้สึกว่าผู้แสดงพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกเป็นผู้น่าศรัทธา

ตอบ 2 หน้า 397 (ดูคําอธิบายข้อ 117 ประกอบ) ผู้ที่มีพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกมักจะมีอารมณ์ไม่เหมาะสม ซ่อนเร้นปิดบัง ปฏิเสธตนเอง มีการไตร่ตรอง และมีความรู้สึกเด่นกว่าเหนือกว่า

Advertisement