การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา PSY 1001 จิตวิทยาทั่วไป
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1 ในเซลล์ประสาทนิวโรน “เดนไดรท์” ทําหน้าที่อะไร
(1) นํากระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์
(2) เป็นผนังห่อหุ้มเซลล์
(3) กระตุ้นการทํางานของเซลล์
(4) นํากระแสประสาทออกนอกตัวเซลล์
(5) ทําหน้าที่รับและส่งกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์
ตอบ 1 หน้า 37 เดนไดรท์ (Dendrite) ในเซลล์ประสาทนิวโรน (Neuron) จะทําหน้าที่เกี่ยวกับการนํากระแสประสาทเข้ามาสู่ตัวเซลล์ประสาท
2 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษาด้านสรีรจิตวิทยา
(1) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทํางานของระบบต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดพฤติกรรม
(2) เน้นการศึกษาเกี่ยวกับการทํางานของระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ
(3) เชื่อว่าพฤติกรรมการเรียนรู้ การรับรู้ บุคลิกภาพเป็นผลมาจากการทํางานของระบบประสาท
(4) เชื่อว่าการเคลื่อนไหว อารมณ์ การคิด เกิดจากการนําส่งกระแสประสาทไปทั่วร่างกาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 25, 27, (คําบรรยาย) สรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology) เป็นการศึกษาค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่การทํางานของระบบต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดพฤติกรรมที่สมดุล และอยู่รอดของชีวิต โดยเน้นศึกษาเกี่ยวกับการทํางานของสมอง/ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ เชื่อว่าพฤติกรรมการเรียนรู้ การรับรู้ และบุคลิกภาพเป็นผลมาจากการทํางานของระบบประสาทและเชื่อว่าการเคลื่อนไหว อารมณ์ และการคิด เกิดจากการนําส่งกระแสประสาทไปทั่วร่างกาย
3 กล้ามเนื้อชนิดใดทํางานอยู่ภายใต้อํานาจจิตใจ
(1) กระเพาะอาหาร
(2) กล้ามเนื้อลาย
(3) กล้ามเนื้อเรียบ
(4) กล้ามเนื้อหัวใจ
(5) กะบังลม
ตอบ 2 หน้า 30, 32, 52 ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) จะทําหน้าที่ในการทําให้ร่างกายเคลื่อนไหว ประกอบด้วย
1 กล้ามเนื้อลาย โดยจะทํางานอยู่ภายใต้อํานาจจิตใจ
2 กล้ามเนื้อเรียบ เช่น กระเพาะอาหาร กะบังลม ฯลฯ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ
3 กล้ามเนื้อหัวใจ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ
4 การเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่กําลังจะเกิดขึ้นเป็นการทํางานของ ระบบประสาทส่วนใด
(1) ระบบประสาทส่วนกลาง
(2) ระบบประสาทซิมพาเธติก
(3) ระบบโซมาติก
(4) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก
(5) ระบบประสาทอัตโนมัติ
ตอบ 2 หน้า 34, 261 ระบบประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic) เป็นระบบที่ไปกระตุ้นการทํางานของร่างกายในกรณีฉาเฉิน ทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่กําลังจะเกิดขึ้น เช่น เมื่อบุคคลเผชิญหน้ากับสิ่งเร้าที่ทําให้ตกใจกลัวและช็อก ทําให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายมีการทํางานมากขึ้น เกิดการตื่นตัว มีการเตรียมพร้อมของชีพจร หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ผนั่งของลําไส้หดตัวน้อยลง ม่านตาขยายกว้าง เหงื่อออกมาก และขนลุก ฯลฯ
5 สารสื่อประสาทชนิดใดที่ทําหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
(1) อะซีทิลโคลีน
(2) ซีโรโทนิน
(3) โดปามาย
(4) กาบา
(5) นอร์อิพิเนฟฟริน
ตอบ 3 หน้า 40 โดปามาย (Dopamine) เป็นสารสื่อประสาทที่ทําหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ถ้าเสื่อมหรือบกพร่องหรือผิดปกติจะเป็นสาเหตุของโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) คือ มีอาการสั่นของกล้ามเนื้อ และยากลําบากในการเคลื่อนไหว ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ
6 อารมณ์เกิดจากการทํางานของสมองส่วนใด
(1) ไฮโปธาลามัส
(2) ธาลามัส
(3) ลิมปิก
(4) ซีรีบรัม
(5) ซีรีเบลลัม
ตอบ 2 หน้า 41 ธาลามัส (Thalamus) เป็นส่วนของสมองที่ทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางการส่งกระแสประสาทมอเตอร์จากซีรีบรัมไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นศูนย์กลางการรับ กระแสประสาทสัมผัส (ยกเว้นสัมผัสกลิ่น) จากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไปยังซีรีบรัม และเป็นศูนย์กลางควบคุมการเกิดอารมณ์ต่าง ๆ ของบุคคล รวมทั้งการตื่นและการหลับ
7 การเต้นของหัวใจ การหายใจอยู่ภายใต้การทํางานของสมองส่วนใด
(1) ซีรีบรัม
(2) ซีรีเบลลัม
(3) ก้านสมอง
(4) ไขสันหลัง
(5) สมองส่วนกลาง
ตอบ 3 หน้า 43 ก้านสมอง (Brain Stem) เป็นแกนกลางของสมอง ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ อยู่นอกเหนืออํานาจจิตใจ เช่น การเต้นของหัวใจ และการหายใจ ดังนั้น คนที่คอหักจึงตายเพราะหายใจไม่ออก เนื่องจากเส้นประสาทที่เชื่อมต่อระหว่างก้านสมองและกล้ามเนื้อซึ่งควบคุมการขยายตัวของช่องอกขาดออกจากกัน
8 ต่อมพิทูอิทารีหรือต่อมใต้สมองทําหน้าที่ผลิตฮอร์โมนชนิดใด
(1) เทสเทอสโตโรน
(2) โกรธฮอร์โมน
(3) คอร์ติซอล
(4) อินซูลิน
(5) โปรเจสเตอโรน
ตอบ 2 หน้า 45 ต่อมพิทูอิทารีหรือต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่มีความสําคัญที่สุดของร่างกาย เพราะสร้างฮอร์โมนหลายชนิดเพื่อไปควบคุมการทํางานของต่อมไร้ท่ออื่น ๆ โดยจะทําหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่สําคัญ คือ โกร๊ธฮอร์โมน (Growth Hormone) ซึ่งเป็นกลุ่มของฮอร์โมนที่ทําหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย
9 ฮอร์โมนอินซูลิน มีแหล่งกําเนิดมาจากที่ใด
(1) ต่อมแพนเครียส
(2) ต่อมใต้สมอง
(3) ต่อมหมวกไต
(4) ต่อมไทรอยด์
(5) ต่อมไทมัส
ตอบ 1 หน้า 49 ตับอ่อนหรือต่อมแพนเครียส (Pancreas) จะทําหน้าที่เป็นทั้งต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อโดยจะผลิตฮอร์โมนที่สําคัญคือ อินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดให้เข้มข้นพอดี ถ้าตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินในระดับต่ํา จะทําให้เกิดอาการของโรคเบาหวาน
10 การหาคําตอบของคําถามที่ว่า “ทําไมคนที่เห็นเหตุการณ์รถเสียอยู่กลางถนนจึงกลับเพิกเฉยไม่ให้ความช่วยเหลือ” สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายทางจิตวิทยาข้อใด
(1) ศึกษา
(2) อธิบาย
(3) ทําความเข้าใจ
(4) ทํานาย
(5) ควบคุม
ตอบ 3 หน้า 5 – 7, (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของการศึกษาทางจิตวิทยา มี 4 ประการ ได้แก่
1 หาคําอธิบาย เช่น จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีอุบัติเหตุหรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นบนถนน ฯลฯ
2 ทําความเข้าใจ เช่น การหาคําตอบของคําถามที่ว่าทําไมหรือเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น ฯลฯ
3 ทํานาย (พยากรณ์) เช่น มีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่ผู้ประสบเหตุจะได้รับความช่วยเหลือ ฯลฯ
4 ควบคุมพฤติกรรม เช่น เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นบนถนนแล้วมีบุคคลถ่ายคลิปเก็บไว้ ฯลฯ
ข้อ 11 – 14 จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) โครงสร้างของจิต
(2) หน้าที่ของจิต
(3) พฤติกรรมนิยม
(4) มนุษยนิยม
(5) จิตวิทยาคอกนิทิฟ
11 แนวคิดใดที่ให้ความสนใจศึกษา จิตสํานึก การใช้ภาษา การคิด และการแก้ปัญหา
ตอบ 5 หน้า 12, (คําบรรยาย) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทิฟ (Cognitive Psychology) สนใจศึกษาเกี่ยวกับความสามารถทางปัญญา ความรู้ การคิด การใช้ภาษา การแก้ปัญหา จิตสํานึก ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิต ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันนี้กลุ่มต่าง ๆ ทางจิตวิทยาได้สลายตัวไปและมีการ รวมความคิดของแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกัน ทั้งนี้พวกพฤติกรรมนิยมขนานแท้ก็ยังยอมรับแนวคิดพวกคอกนิทิฟเข้ามาแล้วเรียกว่า จิตวิทยาพฤติกรรมทางพุทธิปัญญา (Cognitive Behaviorism)
12 แนวคิดใดที่สนใจศึกษาองค์ประกอบของจิตสํานึก คือ การรับสัมผัส ความรู้สึก และมโนภาพ
ตอบ 1 หน้า 9 กลุ่มโครงสร้างของจิต (Structuralism) สนใจศึกษาองค์ประกอบของจิตสํานึก 3 ลักษณะ คือ การรับสัมผัส ความรู้สึก และมโนภาพ ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยศึกษาที่ใช้กันอยู่ ในกลุ่มนี้ ก็คือ วิธีการสังเกต ทดลอง และการรายงานประสบการณ์ทางจิตด้วยตนเองหรือเรียกว่า Introspection คือ การมองภายในนั้นเอง
13 แนวคิดใดที่มีความสนใจในการทํางานของจิตสํานึกและการปรับตัวของอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อม
ตอบ 2 หน้า 9 – 10 กลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism) สนใจศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการทํางานของจิตสํานึกและการปรับตัวของอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องศึกษาให้รู้ว่าการคิด การรับรู้ นิสัย และอารมณ์ ช่วยในการปรับตัวของมนุษย์อย่างไร โดยเห็นว่าจิตของบุคคลจะต้องทําหน้าที่ปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไป
14 แนวคิดใดที่เน้นในเสรีภาพและความสามารถในการตัดสินใจเลือกวิธีการดําเนินชีวิต
ตอบ 4 หน้า 11 – 12 กลุ่มมนุษยนิยม (Humanistic Psychology) เป็นพลังที่ 3 ทางจิตวิทยา (พลังที่ 1 และ 2 คือ จิตวิเคราะห์และพฤติกรรมนิยม) โดยกลุ่มนี้จะเน้นในเรื่องเสรีภาพ และความสามารถในการตัดสินใจเลือกวิธีการดําเนินชีวิต และสิ่งสําคัญที่สุดคือ มนุษย์ต้องการเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ซึ่งเป็นความต้องการที่จะพัฒนาตนเองให้ถึงขีดสูงสุด
ข้อ 15 – 16 จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) การสังเกต
(2) การสํารวจ
(3) การทดลอง
(4) การทดสอบทางจิตวิทยา
(5) การศึกษาประวัติรายกรณี
15 เป็นวิธีที่ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของคนในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ
ตอบ 1 หน้า 13 การสังเกต (Observation) เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยการเฝ้ามองปรากฏการณ์หรือสถานการณ์ตามที่เป็นจริง โดยที่ผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัว แล้วจึงบันทึกรายละเอียดไว้ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นวิธีที่ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของคนในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติมากที่สุด
16 เป็นวิธีที่ใช้วัดลักษณะพฤติกรรมที่แอบแฝงอยู่ภายในตัวบุคคล
ตอบ 4 หน้า 14 การทดสอบทางจิตวิทยา (Psychological Testing) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดลักษณะพฤติกรรมที่แอบแฝงอยู่ภายในตัวบุคคลซึ่งเป็นสิ่งที่บุคคลพยายามปกปิดซ่อนเร้นไว้จะโดยรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ตาม เช่น การศึกษาความสามารถทางสติปัญญาของเด็กที่มีความบกพร่องทาง การเรียนรู้ การวัดความถนัดและความสนใจ การตรวจลักษณะของบุคลิกภาพและอารมณ์ ฯลฯ
ข้อ 17 – 19 จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) นักจิตวิทยาการศึกษา
(2) นักจิตวิทยาคลินิก
(3) นักจิตวิทยาสังคม
(4) นักจิตวิทยาพัฒนาการ
(5) นักจิตวิทยาสิ่งแวดล้อม
17 ใครทําหน้าที่วิเคราะห์และบําบัดทางจิต สําหรับผู้ประสบปัญหาสุขภาพจิต และดูแลสุขภาพจิตของชุมชน
ตอบ 2 หน้า 16 นักจิตวิทยาคลินิกและบริการปรึกษา จะทําหน้าที่วิเคราะห์และบําบัดทางจิต ให้บริการปรึกษาปัญหาส่วนบุคคล ช่วยในเรื่องปัญหาทางอารมณ์ พฤติกรรม ทําวิจัยค้นคว้า สําหรับผู้ประสบปัญหาสุขภาพจิตหรือปัญหาทางใจ และดูแลเกี่ยวกับสุขภาพจิตของชุมชน
18 ใครทําหน้าที่ปรึกษาสถานดูแลเด็กก่อนวัยเรียน จัดโครงการผู้สูงอายุ
ตอบ 4 หน้า 17 นักจิตวิทยาพัฒนาการ จะทําหน้าที่ในเรื่องพัฒนาการของเด็ก ผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุทํางานด้านคลินิกในกรณีเด็กมีปัญหายุ่งยาก ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาสถานดูแลเด็กก่อนวัยเรียนจัดโครงการผู้สูงอายุ เละอื่น ๆ
19 ใครทําหน้าที่ศึกษามลภาวะของเสียง ฝูงชนแออัด ทัศนคติของคนเมืองที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์
ตอบ 5 หน้า 17 นักจิตวิทยาสิ่งแวดล้อม จะทําหน้าที่ศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์ศึกษามลภาวะของเสียง ฝูงชนแออัด ทัศนคติของคนเมืองต่อสิ่งแวดล้อม การใช้พื้นที่ของคนเป็นที่ปรึกษาในการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางอุตสาหกรรม โรงเรียน บ้าน และสถาปัตยกรรม
20 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการรับรู้
(1) การรับรู้มีความซับซ้อนมากกว่ากระบวนการรับสัมผัส
(2) การรับรู้ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ แรงจูงใจ บุคลิกภาพของมนุษย์
(3) กระบวนการรับรู้กับการรับสัมผัสสามารถแยกจากกันได้อย่างชัดเจน
(4) การรับรู้เป็นกระบวนการที่เกิดต่อเนื่องจากการรับสัมผัส
(5) กระบวนการรับรู้มุ่งความสนใจเรื่องวัตถุนั้นคืออะไร
ตอบ 3 หน้า 57, 60, (คําบรรยาย) การรับรู้ คือ กระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัสต่าง ๆ ดังนั้นการรับรู้จึงเป็นกระบวนการที่เกิดต่อเนื่องมาจากการรับสัมผัส กระบวนการรับรู้จะมุ่งไปที่ความเข้าใจและมุ่งความสนใจเรื่องวัตถุนั้นคืออะไร โดยทั่วไป การศึกษาเรื่องการรับรู้มักมีความยุ่งยากและสลับซับซ้อนมากกว่าการศึกษากระบวนการ รับสัมผัส นอกจากนี้การรับรู้ยังขึ้นอยู่กับข้อมูลด้านการเรียนรู้ แรงจูงใจ สิ่งแวดล้อม และ บุคลิกภาพของมนุษย์มากกว่ากระบวนการรับสัมผัส อย่างไรก็ตาม การศึกษาทั้งกระบวนการรับรู้และการรับสัมผัสนั้นยากที่จะแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาดชัดเจนได้
21 บริเวณเรตินามีเซลล์ประสาทชนิดใด
(1) โฟเวียกับโคนส์
(2) บูลกับแบ็ค
(3) แบ็คกับรอดส์
(4) รอดส์กับโคนส์
(5) โฟเวียกับรอดส์
ตอบ 4 หน้า 61 ที่ผนังของเรตินา (Retina) จะมีเซลล์ประสาทอยู่ 2 ชนิด คือ
1 รอดส์ (Rods) มีลักษณะเป็นแท่งยาว และไวต่อแสงขาวดํา จึงเป็นเซลล์ที่รับแสงสลัวในเวลากลางคืน
2 โคนส์ (Cones) มีลักษณะสั้น เป็นรูปกรวย และไวต่อแสงที่เป็นสี ช่วยทําให้รับภาพสีได้ดีจึงเป็นเซลล์ที่รับแสงจ้าในเวลากลางวัน ดังนั้นคนตาบอดสีจึงไม่มีโคนส์อยู่ที่บริเวณเรตินา
22 ตาบอดสีของมนุษย์แบ่งได้เป็นกี่ประเภท
(1) แบ่งเป็น 3 ประเภท
(2) แบ่งเป็น 4 ประเภท
(3) แบ่งเป็น 5 ประเภท
(4) แบ่งเป็น 6 ประเภท
(5) ไม่มีการแบ่งเป็นประเภท
ตอบ 1 หน้า 63 – 64 ตาบอดสีเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งของการเห็นสี แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1 Monochromatism เป็นอาการตาบอดสีหมดทุกสี โดยจะเห็นสีทุกสีเป็นสีเทา
2 Dichromatism เป็นอาการตาบอดสีชนิดที่สามารถมองเห็นสีได้เพียง 2 สีเท่านั้น คือพวกที่เห็นสีแดงเป็นสีดํา และพวกที่ไม่สามารถแยกสีเขียวและสีแดงออกจากกันได้
3 Trichromatism เป็นการเห็นสีครบทุกสีแต่เห็นสีนั้นอ่อนกว่าปกติ (ผิดปกติเพียงเล็กน้อย)
23 ปกติหูของมนุษย์สามารถรับฟังความดังของเสียงได้ไม่เกินเท่าใดที่ไม่เป็นอันตราย
(1) ไม่เกิน 30 db
(2) ไม่เกิน 60 db
(3) ไม่เกิน 80 db
(4) ไม่เกิน 90 db
(5) ไม่เกิน 110 db
ตอบ 3 หน้า 65 ความแรงของคลื่นเสียงมักวัดด้วยมาตราที่เรียกว่า “เดซิเบล” (Decibles : db) ซึ่งความดังของเสียงจะสูงขึ้นตามจํานวนเดซิเบลที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเสียงมีความสูงของ db มากเท่าไร ก็ยิ่งทําอันตรายแก่ผู้ฟังได้มากเท่านั้น โดยเสียงกระซิบจะมีระดับความดังประมาณ 20 db เสียงคุยปกติประมาณ 60 db และเสียงที่ดังเกิน 80 db จะเป็นอันตรายแก่หูถ้าฟังนาน ๆ
24 ประสาทรับสัมผัสทางผิวกายของมนุษย์มีกี่ชนิด
(1) มี 6 ชนิด
(2) มี 5 ชนิด
(3) มี 4 ชนิด
(4) มี 3 ชนิด
(5) มี 2 ชนิด
ตอบ 3 หน้า 67 ใต้ผิวหนังของมนุษย์เราจะมีจุดรับสัมผัสมากมาย โดยจุดรับสัมผัสแต่ละชนิดจะมีความไวต่อความรู้สึกที่มาสัมผัสแตกต่างกัน ซึ่งความรู้สึกที่มาสัมผัสผิวกายของมนุษย์นั้นมีจุดรับสัมผัสพื้นฐาน 4 ชนิด คือ ความกด ความอุ่น ความเย็น และความเจ็บปวด
25 การสัมผัสคีเนสเตซีสทํางานร่วมกับเครื่องรับสัมผัสใด
(1) หูตอนในและประสาทตา
(2) หูตอนกลางและประสาทตา
(3) ผิวกายและหูตอนใน
(4) ผิวกายและหูตอนกลาง
(5) หูตอนกลางและประสาทรับกลิ่น
ตอบ 1 หน้า 67 – 68 คีเนสเตซีส (Kinesthesis Sense) คือ ประสาทเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้อรับสัมผัสต่าง ๆ ซึ่งการรับสัมผัสนี้จะช่วยบอกเราให้ทราบถึงการเคลื่อนไหว ของร่างกายว่าอยู่ในสภาพหรือตําแหน่งเช่นไร นอกจากนี้สัมผัสคีเนสเตซีสยังทํางานร่วมกับเครื่องรับสัมผัสเกี่ยวกับการทรงตัวที่มีอวัยวะรับสัมผัสอยู่ในหูตอนในและประสาทรับสัมผัสที่ตา เพื่อช่วยให้ร่างกายทั้งหมดทรงตัวอยู่ได้ตามปกติ
26 ตัวอย่างใดอธิบายเกี่ยวกับการคงที่ของรูปร่าง
(1) สีของเสื้อผ้าที่อยู่ในร้านค้า
(2) รถที่จอดอยู่ในที่มืดสลัว
(3) องศาของการเปิดประตู
(4) ยืนอยู่บนตึกสูงแล้วมองลงมาด้านล่าง
(5) ถูกต้องทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ 3 หน้า 71 – 72 ปรากฏการณ์คงที่ (Constancy) เป็นธรรมชาติของเรื่องการรับรู้และการเห็นนั่นคือ การที่ตาเห็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่ความเข้าใจในการรับรู้อยู่ในสภาพเดิม ซึ่งมี 3 ชนิด ได้แก่
1 การคงที่ของสี เช่น รถที่จอดอยู่ในที่มืดสลัวก็สามารถรับรู้หรือมองเห็นสีที่แท้จริงของรถได้
2 การคงที่ของขนาด เช่น ยืนอยู่บนตึกสูงแล้วมองลงมาด้านล่างก็สามารถรับรู้ขนาดของวัตถุได้
3 การคงที่ของรูปร่าง เช่น องศาของการเปิดประตูเห็นเพียงแค่ด้านเดียวก็สามารถรับรู้รูปร่างของวัตถุได้
27 ผู้ที่สนใจศึกษาทดลองเกี่ยวกับความลึกและระยะทาง
(1) ฟรอยด์กับแอดเลอร์
(2) สกินเนอร์กับวัตสัน
(3) เลอวินกับอดัม
(4) กิบสันกับวอล์ก
(5) แบนดูรา
ตอบ 4 หน้า 72 ผู้ที่สนใจศึกษาทดลองในเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ความลึกและระยะทาง คือ ก็บสันและวอล์ก (Gibson and Walk) ซึ่งเขาได้ทดลองโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “หน้าผามายา” (Visual Cliff) พบว่า เมื่อเด็กทารกคลานไปถึงกึ่งกลางโต๊ะที่เป็นรอยต่อระหว่างกระจกโปร่งใส กับพื้นที่ทาสีตาหมากรุก (ทําให้แลเห็นเป็นพื้นที่ 2 ระดับที่มีความสูงต่ำต่างกัน) เด็กจะไม่กล้าคลานออกไป แสดงว่าการรับรู้ความลึกเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้
28 นักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์มีความเชื่อเช่นใดในเรื่องของการรับรู้
(1) มนุษย์รับรู้ส่วนรวมมีความสําคัญมากกว่าส่วนย่อย
(2) มนุษย์รับรู้โลกไม่ตรงกับความเป็นจริง
(3) มนุษย์รับรู้สิ่งแวดล้อมภายนอกแบบผิวเผิน
(4) มนุษย์เลือกรับรู้ในสิ่งที่อยากจะรู้เท่านั้น
(5) ถูกต้องทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ 1 หน้า 74 นักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์ (Gestalt) ได้ให้ความสนใจมากเป็นพิเศษในเรื่องของการจัดหมวดหมู่ของการรับรู้ โดยพวกเขาเชื่อว่า มนุษย์มีการรับรู้ในลักษณะของส่วนรวมและเชื่อว่าการรับรู้ส่วนรวมมีความสําคัญมากกว่าผลรวมของส่วนย่อย
29 ข้อใดคือการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกัน
(1) Telepathy
(2) Clairvoyance
(3) Precognition
(4) Extrasensory
(5) Perception
ตอบ 1 หน้า 79 ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1 โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น
2 ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึงประสาทสัมผัส
3 การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
30 ข้อใดไม่ใช่สภาวะของร่างกายเมื่อออกจากสัมปชัญญะ
(1) การรู้ตัวและความจําแทบไม่มีเลย
(2) ขอบเขตหรือสภาวะแห่งตัวตนของเราชัดเจน
(3) การหักห้ามใจอยู่ในระดับต่ำ
(4) การรับรู้ความจริงถูกตัดขาดจากกัน
(5) การรับรู้ดูเข้มข้นและรุนแรงมาก
ตอบ 2 หน้า 90 สภาวะของร่างกายเมื่อออกจากสัมปชัญญะจะมีลักษณะดังนี้
1 การรู้ตัวและกระบวนการทางความนึกคิดมีอยู่ในระดับต่ำ ความจําก็แทบจะไม่มีเลย
2 ขอบเขตหรือสภาวะแห่งตัวตนของเราแทบจะไม่มีเลย (เส้นแบ่งเขตแดนไม่ชัดเจน) 3 การบังคับและการหักห้ามใจตนเองอยู่ในระดับต่ำ พฤติกรรมกับวิจารณญาณขาดช่วงจากกัน
4 การรับรู้ที่เกิดขึ้นกับสภาพความเป็นจริงมักจะตัดขาดออกจากกันหรือไม่เกี่ยวข้องกัน
5 การสัมผัสและการรับรู้มักจะมีลักษณะเข้มข้น จริงจัง และรุนแรงมาก
31 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของบุคคลที่ขาดการนอนหลับหลายวัน
(1) อ่อนล้าทางร่างกาย
(2) ปวดศีรษะอย่างหนัก
(3) รู้สึกมึนงง
(4) อาการประสาทหลอน
(5) การรับรู้ทางจิตใจผิดพลาด
ตอบ 2 หน้า 91 – 92 ลักษณะของบุคคลที่ขาดการนอนหลับหลายวัน คือ มีความอ่อนล้าทางร่างกายรู้สึกมึนงง มีสภาพการรับรู้ทางจิตใจที่ผิดพลาด และอาจจะมีอาการทางประสาทหลอนได้ ทั้งนี้ ถ้าการนอนหลับถูกขัดขวางไม่ให้เกิดขึ้นก็จะทําให้มีอาการสัปหงกเป็นพัก ๆ
32 การนอนหลับในระยะที่สี่ มีคลื่นสมองเป็นแบบใด
(1) บีตา
(2) แอลฟา
(3) เดลตา
(4) แกมมา
(5) ซิกมา
ตอบ 3 หน้า 93 การนอนหลับในระยะที่สี่ เป็นช่วงแห่งการหลับที่ลึกมาก (Deep Sleep) มักจะเกิดเมื่อการนอนผ่านเปเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โดยในช่วงนี้คลื่นสมอง (EEG) จะมีลักษณะเป็นคลื่นเดลตา (Delta) ล้วน ๆ ซึ่งผู้หลับจะไม่รู้ตัวและ “หลับไหล” จริง ๆ
33 โดยปกติมนุษย์จะฝันในระยะใดของการนอนหลับ
(1) ระยะที่ 1
(2) ระยะที่ 2
(3) ระยะที่ 3
(4) ระยะที่ 4
(5) ระยะที่ 5
ตอบ 1 หน้า 95 ในบางช่วงของการนอนหลับ ลูกตาของผู้นอนจะมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movements : REM) ทั้ง ๆ ที่ยังหลับอยู่ โดยช่วงที่มี REM เกิดขึ้นนี้เอง เป็นช่วงที่บุคคลกําลังฝัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่บุคคลนอนหลับในระยะที่ 1 หลังจากการนอนหลับผ่านระยะที่ 4 ไปแล้วและวกกลับมาระยะที่ 1 ใหม่
34 นักทฤษฎีคนใดที่กล่าวว่าความฝันเป็นการแสดงในลักษณะการทดแทนความสมดุลทางจิตใจ
(1) ฟรอยด์
(2) แอดเลอร์
(3) จุง
(4) อดัม
(5) ฮอบสันและแมคคาเลย์
ตอบ 3 หน้า 98 – 99 คาร์ล จุง (Carl Jung) นักจิตวิทยาชาวสวิส เชื่อว่า ความฝันจะทําหน้าที่ในลักษณะของการทดแทนหรือการชดเชยความ “ขาด” บางอย่างของผู้ฝัน เพื่อจุดมุ่งหมาย คือ ความสมดุลทางจิตใจของผู้ฝัน
35 สารระเหย ทินเนอร์ เป็นยาเสพติดประเภทใด
(1) กดประสาท
(2) กระตุ้นประสาท
(3) หลอนประสาท
(4) ผสมผสาน
(5) คลายประสาท
ตอบ 1 หน้า 106 – 110 ยาเสพติดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ และทุกกลุ่มสามารถออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ทั้งสิ้น คือ
1 ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทยานอนหลับ สารระเหย (ทินเนอร์) และเครื่องดื่มมึนเมาหรือแอลกอฮอล์ ฯลฯ
2 ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า) กระท่อม โคเคอีน บุหรี่ นิโคติน กาแฟ คาเฟอีน และยาแก้ปวด ฯลฯ
3 ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที และเห็ดขี้ควาย ฯลฯ
4 ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ได้แก่ กัญชา
36 จากการศึกษาพบว่าการฝึกสมาธิช่วยในด้านจิตใจได้อย่างไร
(1) ลดอาการหงุดหงิด
(2) มีความจําดีขึ้น
(3) การรับรู้ดีขึ้น
(4) เบิกบานใจ
(5) มองโลกในแง่บวก
ตอบ 1 หน้า 112 จากการศึกษาพบว่าการฝึกสมาธิช่วยในด้านจิตใจได้ คือ ช่วยลดอาการหงุดหงิดฉุนเฉียวลงได้มาก โดยสมาธิภาวนาจะช่วยทั้งด้านการเรียน อุปนิสัย และสํานึกทางคุณธรรม
37 ยาเสพติดประเภทแอมเฟตามีน เป็นสารเสพติดประเภทใด
(1) กดประสาท
(2) กระตุ้นประสาท
(3) หลอนประสาท
(4) ผสมผสาน
(5) คลายประสาท
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ
38 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
(1) รูปร่างหน้าตา
(2) โรคเบาหวาน
(3) ตาบอดสี
(4) สีของผิว
(5) ปวดศีรษะข้างเดียว
ตอบ 5 หน้า 122, 128 ลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ได้แก่ รูปร่างหน้าตา (ลักษณะโครงสร้างของร่างกายและลักษณะใบหน้า) สีผิว สีผม สีตา ฯลฯ รวมทั้งกลุ่มเลือดและโรคภัยบางอย่างที่ถ่ายทอดกันทางสายเลือด เช่น เบาหวาน ตาบอดสี ลมบ้าหมู และโรคแพ้สารบางอย่าง ฯลฯ
39 ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) ฝาแฝดเหมือนอาจมีเพศแตกต่างกัน
(2) ฝาแฝดคล้ายอาจมีเพศแตกต่างกัน
(3) ฝาแฝดเหมือนเกิดจากสเปิร์ม 1 ตัว กับไข่ 1 ใบ
(4) ฝาแฝดคล้ายเกิดจากสเปิร์มมากกว่า 1 ตัว กับไข่มากกว่า 1 ใบ
(5) ฝาแฝดคล้ายอาจมีโครโมโซมเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้
ตอบ 1 หน้า 125, (คําบรรยาย) ฝาแฝด Twins) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1 ฝาแฝดเหมือนหรือแฝดแท้ (Identical Twins) เกิดจากไข่ 1 ใบ ผสมกับสเปิร์มหรืออสุจิ 1 ตัว แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน 2 ตัว (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิผิดพลาด) ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน โดยมียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันทุกประการ
2 ฝาแฝดคล้ายหรือแฝดเทียม (Fraternal Twins) เกิดจากไข่มากกว่า 1 ใบ ผสมกับสเปิร์มหรืออสุจิมากกว่า 1 ตัว เซลล์แบ่งตัวเป็นอิสระจากกัน (เกิดเซลล์ปฏิสนธิพร้อมกันมากกว่า 1 เซลล์) ฝาแฝดคล้ายจึงอาจมีเพศเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ (เหมือนกับพี่น้องท้องเดียวกัน) โดยมียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้
40 ข้อใดเกี่ยวข้องกับข้อความต่อไปนี้ “บุคคลที่มีโครโมโซมเป็น XXY”
(1) Endomorphy
(2) Ectomorphy
(3) Turner’s Syndrome
(4) Mesomorphy
(5) Klinefelter’s Syndrome
ตอบ 5 หน้า 128 บุคคลที่เกิดการผิดปกติในการถ่ายทอดโครโมโซมเพศ ทําให้มีเกินหรือขาดไปจากปกติ เช่น มีโครโมโซมเพศเป็น XXY จะเกิดเป็นอาการของโรคที่เรียกว่า Klinefelter’s Syndrome ซึ่งเกิดในเพศชาย จะทําให้กลายเป็นชายที่มีลักษณะของเพศหญิง กล่าวคือ มีหน้าอกใหญ่ และอวัยวะเพศชายไม่ทํางาน เนื่องจากต่อมฮอร์โมนผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอ หรืออาจจะกลายเป็นโรคปัญญาอ่อนชนิดที่เรียกว่า Mongolism ได้
41 ข้อใดไม่ใช่สภาพแวดล้อมก่อนเกิด
(1) การได้รับรังสี
(2) การบริโภคของแม่
(3) สุขภาพจิตของแม่
(4) สภาวะของ Rh Factor
(5) การบาดเจ็บทางระบบประสาท
ตอบ 5 หน้า 131 – 133 สภาพแวดล้อมก่อนเกิด มีดังนี้
1 สุขภาพของแม่
2 สุขภาพจิตของแม่
3 การบริโภคของแม่
4 การได้รับรังสี
5 การได้รับเชื้อ AIDS
6 สภาวะของ Rh Factor
7 อายุของแม่
8 จํานวนทารกภายในครรภ์
42 ข้อใดคือสิ่งแวดล้อมภายในสถาบันการศึกษา
(1) ระดับการศึกษาของพ่อแม่
(2) กฎระเบียบและการปกครอง
(3) การอบรมเลี้ยงดู
(4) การเป็นแบบอย่างของพ่อแม่
(5) ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว
ตอบ 2 หน้า 136 สิ่งแวดล้อมภายในสถาบันการศึกษา มีดังนี้
1 กฎระเบียบและการปกครอง
2 ทัศนคติและบุคลิกภาพของครู
3 กลุ่มเพื่อนในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา
43 “เด็กสามารถจัดประเภทวัตถุและจัดลําดับวัตถุได้” ข้อความดังกล่าวตรงกับขั้นใดของพัฒนาการความคิดความเข้าใจ (Cognitive Development) ของ Piaget
(1) Period of Concrete
(2) Preoperation
(3) Premoral
(4) Sensorimotor Period
(5) Period of Formal Operation
ตอบ 2 หน้า 143 – 144 พัฒนาการความคิดความเข้าใจ (Cognitive Development) ของ Piaget ในขั้น Preoperation แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
1 Thought Period เป็นระยะที่เด็กถือตนเอง เป็นจุดศูนย์กลาง ไม่สามารถรับรู้ความคิดเห็นของคนอื่น
2 Intuitive Phase เป็นระยะที่เด็กเกิดความคิดรวบยอดมากขึ้น สามารถจัดประเภท/กลุ่มวัตถุเข้าเป็นหมวดหมู่และจัดลําดับวัตถุได้
44 “เด็กพุ่งความสนใจไปที่สิ่งแวดล้อมรอบตัว” พฤติกรรมดังกล่าวตรงกับขั้นใดของพัฒนาการความต้องการทางเพศ
(1) ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก
(2) ขั้นแอบแฝง
(3) ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก
(4) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์
(5) ขั้นอวัยวะเพศ
ตอบ 2 หน้า 145 พัฒนาการความต้องการทางเพศของ Freud ในขั้นแอบแฝง (Latency Stage) เป็นระยะที่เด็กจะพุ่งความสนใจไปสู่สิ่งแวดล้อมรอบตัว เพราะเป็นระยะที่เด็กเข้าโรงเรียน(อายุประมาณ 6 – 12 ขวบ) ดังนั้นจึงเป็นช่วงของการเรียนรู้เกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้อื่น
45 ข้อใดคือผลที่ได้จากขั้นพัฒนาการทางสังคมของ Erikson “ความเชื่อถือไว้วางใจ – ความระแวงไม่ไว้วางใจ”
(1) มีพลังควบคุมตนเองได้
(2) มีแรงผลักดันให้แสดงออกและมีความหวัง
(3) มีความเสียสละและความซื่อสัตย์
(4) มีความฉลาดรอบรู้และการเสียสละ
(5) มีแนวทางและจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติตน
ตอบ 2 หน้า 147 มีแรงผลักดันให้แสดงออกและมีความหวัง คือผลที่ได้จากขั้นพัฒนาการทางสังคมของ Erikson “ความเชื่อถือไว้วางใจ – ความระแวงไม่ไว้วางใจ” (Trust VS Mistrust)
46 พฤติกรรมในข้อใดไม่ใช่พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
(1) การทํากับข้าว
(2) การกะพริบตา
(3) การรําไทย
(4) การขี่จักรยาน
(5) การกระตุกมือหนีเมื่อจับของร้อน
ตอบ 5 หน้า 169, (คําบรรยาย) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรมอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต แต่พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ หากเกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติที่มีมาแต่กําเนิด เช่น การกระตุกมือหนเมื่อจับของร้อน ฯลฯ และเกิดจากสัญชาตญาณอันเป็นลักษณะเฉพาะของเผ่าพันธุ์ เช่น การหายใจของมนุษย์ การว่ายน้ำของปลา การชักใยของแมงมุม ฯลฯ
47 จากกระบวนการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ (Pavlov) หลังจากที่เกิดการหยุดยั้งของพฤติกรรมแล้ว หากสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไขกลับมาเกิดตามหลังสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขจะเกิดสิ่งใด
(1) การสรุปความเหมือนของสิ่งเร้า
(2) การแยกความแตกต่างของสิ่งเร้า
(3) สิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข
(4) สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข
(5) การฟื้นกลับของพฤติกรรม
ตอบ 5 หน้า 172 173 ในกระบวนการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ (Pavlov) หลังจากที่เกิดการหยุดยั้งของพฤติกรรมแล้ว หากสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไขกลับมาเกิดตามหลังสิ่งเร้า ที่ไม่ได้วางเงื่อนไขจะเกิดการฟื้นกลับของพฤติกรรม (Spontaneous Recovery) ซึ่งก็คือ การฟื้นกลับคืนของการตอบสนองที่เคยเรียนรู้แล้ว
48 “เมื่อครบเวลา 30 วินาทีตามที่กําหนดแล้วเกิดพฤติกรรมจึงจะให้การเสริมแรง” ลักษณะดังกล่าวเป็นไปตามตารางการเสริมแรงแบบใด
(1) แบบอัตราส่วนคงที่
(2) แบบต่อเนื่อง
(3) แบบอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน
(4) แบบช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
(5) แบบช่วงเวลาคงที่
ตอบ 5 หน้า 177 การเสริมแรงแบบช่วงเวลาที่คงที่ (Fixed Interval : FI) เป็นการให้แรงเสริมเมื่อถึงช่วงเวลาที่กําหนดไว้อย่างตายตัว เช่น ทุก 30 วินาที ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกปี ฯลฯ
49 “หากประกอบของครบ 50 ชิ้นจึงจะได้รับเงินค่าจ้าง” ลักษณะดังกล่าวเป็นไปตามตารางการเสริมแรงแบบใด
(1) แบบอัตราส่วนคงที่
(2) แบบช่วงเวลาคงที่
(3) แบบต่อเนื่อง
(4) แบบอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน
(5) แบบช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
ตอบ 1 หน้า 176 การเสริมแรงแบบอัตราส่วนคงที่ (Fixed Ratio : FR) คือ การให้การเสริมแรงตามอัตราส่วนของการตอบสนองที่คงที่ โดยจะดูจํานวนครั้งของการตอบสนอง ซึ่งจะทําให้เกิดอัตราการตอบสนองสูงที่สุด เช่น คนงานได้รับค่าจ้างตามจํานวนชิ้นงานที่กําหนด ฯลฯ
50 “คุณครูชมที่น้องแสนดียกมือก่อนที่จะพูด หลังจากนั้นเมื่อน้องแสนดีต้องการจะตอบคําถามใด ๆ ในห้องเรียนน้องแสนดีจะยกมือก่อนตอบทุกครั้ง” การชมของคุณครูคืออะไร
(1) การเสริมแรงทางบวก
(2) การเสริมแรงทางลบ
(3) การลงโทษ
(4) การตอบสนองที่วางเงื่อนไข
(5) การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข
ตอบ 1 หน้า 179, (คําบรรยาย) การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง การที่ความพอใจหรือรางวัลเกิดขึ้นเมื่อกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป เช่น การกล่าวชมเมื่อทําความดี ฯลฯ
51 “สามารถเชื่อมโยงได้ทั้งกับผลกรรมที่จําเป็นต่อชีวิต และผลกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ นําไปแลกเปลี่ยนเป็นผลกรรมที่หลากหลายได้” คุณสมบัติที่กล่าวถึงนั้น เป็นคุณสมบัติของข้อใด
(1) การเสริมแรงทางบวก
(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ
(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ
(4) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม
(5) การป้อนกลับ
ตอบ 4 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงครอบคลุม หมายถึง สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิที่เป็นอิสระจากการเชื่อมโยงกับสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ และสามารถที่จะเชื่อมโยงกับสิ่งเสริมแรงทุติยภูมิอื่น ๆ ได้ เช่น เงินไม่เพียงแต่สามารถแลกเปลี่ยนสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิได้เท่านั้น แต่ยังเป็นหนทางนําไปสู่สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิอื่น ๆ ด้วย เช่น เกียรติ ความสนใจ การยอมรับ สถานะ หรืออํานาจ เป็นต้น
52 อาหารซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต เป็นสิ่งเสริมแรงประเภทใด
(1) การเสริมแรงทางบวก
(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ
(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ
(4) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม
(5) การป้อนกลับ
ตอบ 2 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ เป็นรางวัลตามธรรมชาติที่ไม่ต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทางชีววิทยาที่เพิ่มความพอใจและลดความไม่พึงพอใจลง หรือสนองความต้องการทางกายภาพได้ เช่น น้ำ อาหาร อากาศ ความต้องการทางเพศ ฯลฯ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต
53 ข้อใดถูกต้อง
(1) การลงโทษไม่เกี่ยวข้องกับความกลัว
(2) การลงโทษสามารถกระทําได้ทั้งขณะเกิดพฤติกรรม หลังเกิดพฤติกรรมโดยทันที (3) หากใช้การลงโทษจะต้องให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาร่วมด้วย
(4) การลงโทษมีผลให้การเกิดพฤติกรรมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
(5) การลงโทษกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว
ตอบ 2 หน้า 181 การลงโทษ หมายถึง การปรากฏของสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาหรือการนําสิ่งที่พึงปรารถนาออกไป จึงมีผลให้การตอบสนองลดลง โดยการลงโทษสามารถกระทําได้ ทั้งขณะเกิดพฤติกรรมและหลังเกิดพฤติกรรมโดยทันที
54 ข้อใดคือคุณสมบัติที่ไม่ถูกต้องของการเรียนรู้แฝง (Latent Learning)
(1) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการเสริมแรงที่ชัดเจน
(2) การเรียนรู้แฝงเกี่ยวข้องกับการคาดหวังผลที่จะได้รับ
(3) มีการพัฒนาชุดการเรียนรู้ (Learning Set)
(4) จะสังเกตเห็นการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจนเมื่อมีการให้ตัวเสริมแรง
(5) มีความอยากรู้อยากเห็นเป็นสาเหตุสําคัญ
ตอบ 3 หน้า 183 184 การเรียนรู้แฝง (Latent Learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการเสริมแรงที่ชัดเจน มีความอยากรู้อยากเห็นเป็นสาเหตุหรือเป็นแรงขับที่สําคัญ จะสังเกตหรือปรากฏให้เห็นการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจนก็ต่อเมื่อมีการให้ตัวเสริมแรงหรือมีการให้แรงเสริม และการเรียนรู้แฝงเกี่ยวข้องกับการคาดหวังผลหรือคาดหมายรางวัลที่จะได้รับในอนาคต(ส่วนการพัฒนาชุดการเรียนรู้ (Learning Set) เป็นการเรียนรู้เพื่อจะเรียน)
55 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระบบความจําของมนุษย์
(1) มี 2 ระบบ คือ ความจําระยะสั้น ความจําระยะยาว
(2) มี 2 ระบบ คือ ความจําเหตุการณ์ ความจําความหมาย
(3) มี 3 ระบบ คือ ความจําเหตุการณ์ ความจําความหมาย ความจําระยะยาว
(4) มี 3 ระบบ คือ ความจําจากการรับสัมผัส ความจําระยะสั้น ความจําระยะยาว (5) มี 3 ระบบ คือ ความจําที่ติดตัว ความจําที่เกิดจากการเรียนรู้ ความจําแบบง่าย ตอบ 4 หน้า 195 – 196 นักจิตวิทยาได้แบ่งความจํา (Memory) ออกได้เป็น 3 ระบบ ดังนี้
1 ความจําจากการรับสัมผัส เป็นระบบการจําขั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ
2 ความจําระยะสั้น ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวที่จะเก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด
3 ความจําระยะยาว ทําหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรที่สามารถเก็บข้อมูลได้นานและไม่จํากัด
56 ระบบการจําขั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ
(1) ความจําเหตุการณ์
(2) ความจําปฏิบัติการ
(3) ความจําระยะสั้น
(4) ความจําระยะยาว
(5) ความจําจากการรับสัมผัส
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ
57 ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของหน่วยพื้นฐานของความคิด
(1) ความจํา
(2) จินตภาพ
(3) มโนทัศน์
(4) สัญลักษณ์
(5) ภาษา
ตอบ 1 หน้า 206 หน่วยพื้นฐานของความคิด ประกอบด้วย จินตภาพ การตอบสนองทางกล้ามเนื้อมโนทัศน์ และภาษาหรือสัญลักษณ์
58 ความจําระยะสั้น (Shot-term memory) สามารถจําข้อมูลได้ที่หน่วย (1) 7+ 2 หน่วย
(2) 9 +2 หน่วย
(3) 18 หน่วย
(4) 0 – 5 หน่วย
(5) 0 – 28 หน่วย
ตอบ 1 หน้า 193, 198 มิลเลอร์ (Miller) ได้ศึกษาแบบทดสอบช่วงการจําตัวเลข (Digit-span Test)โดยเขาเห็นว่า ความจําระยะสั้นของคนปกติสามารถจําข้อมูลได้ประมาณ 7+2 หน่วย
59 ระบบความจําใดที่สามารถเก็บข้อมูลความจําได้นานและไม่จํากัด
(1) ความจําระยะสั้น
(2) ความจําปฏิบัติการ
(3) ความจําระยะยาว
(4) ความจําเชิงกระบวนวิธี
(5) ความจําจากการรับสัมผัส
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ
60 ผู้ที่ทดลองเกี่ยวกับการจําคําที่ไม่มีความหมายและการลืม
(1) เอบบิงเฮาส์
(2) แบนดูรา
(3) วัตสัน
(4) ฟรอยด์
(5) พาฟลอฟ
ตอบ 1 หน้า 203 ผู้ที่ทดลองเกี่ยวกับการจําคําที่ไม่มีความหมายและการลืมในช่วงเวลาต่าง ๆ กัน คือ เฮอร์แมน เอบบิงเฮาส์ (Herman Ebbinghaus)
61 องค์ประกอบที่สําคัญของความคิดสร้างสรรค์
(1) ความคิดกว้างขวาง
(2) ความคิดยืดหยุ่น
(3) ความคิดตื่นเต้น
(4) ความรอบคอบ
(5) ความคิดเฉพาะอย่าง
ตอบ 2 หน้า 211 องค์ประกอบที่สําคัญของความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคล่อง ความคิดยืดหยุ่นและความคิดริเริ่ม ทั้งนี้ความคิดสร้างสรรค์นอกจากจะคิดได้หลากหลาย ใหม่ ๆ แปลก ๆ แล้วยังต้องเป็นความคิดที่มีความหมายหรือมีประโยชน์ และสามารถแก้ปัญหานั้น ๆ ได้ด้วย
62 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความหมายของการลืม
(1) การลืมส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทันทีภายหลังการจํา
(2) ไม่สามารถเรียกข้อมูลที่เก็บไว้ออกมาใช้ได้
(3) ความล้มเหลวในการจําหรือการไม่สามารถจําได้
(4) การลืมคือการที่ไม่สามารถจําข้อมูลได้
(5) การลืมเกิดขึ้นโดยไม่มีกระบวนการรบกวน
ตอบ 5 หน้า 203 204 การลืมส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทันทีภายหลังการจํา การลืมคือการที่ไม่สามารถจําข้อมูลได้หรือไม่สามารถเรียกข้อมูลที่เก็บไว้ออกมาใช้ได้ การลืมเป็นความล้มเหลวในการจําหรือการไม่สามารถจําได้ และการรบกวนมักเป็นสาเหตุสําคัญของการลืม
63 ข้อใดไม่ใช่วิธีการที่ใช้วัดความจํา
(1) การระลึกได้
(2) การจําได้
(3) การเรียนซ้ำ
(4) การทบทวน
(5) การบูรณาการใหม่
ตอบ 4 หน้า 201 วิธีการที่ใช้วัดความจํา มี 4 แบบ คือ การระลึกได้ (Recall), การจําได้ (Recognition),การเรียนซ้ำ (Relearning) และการบูรณาการใหม่ (Reintegration)
64 วิธีการแก้ปัญหาของบุคคลโดยฉับพลันทันใด สามารถรู้คําตอบได้ในทันที
(1) การแก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็น
(2) การแก้ปัญหาด้วยสติปัญญา
(3) การแก้ปัญหาด้วยวิจารณญาณ
(4) การแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก
(5) การแก้ปัญหาโดยใช้ประสาทสัมผัส
ตอบ 1 หน้า 210 การแก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นคําตอบในทันที เป็นวิธีการแก้ปัญหาของบุคคลโดยฉับพลันทันใด และสามารถรู้คําตอบได้ในทันที
65 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับความหมายของแรงจูงใจ (Motive)
(1) สภาวะที่อยู่ภายนอกร่างกายที่เป็นพลัง
(2) สภาวะพลังงานที่หยุดนิ่ง
(3) ทําให้ร่างกายอยู่ในสภาวะที่ยุดพัก
(4) เป็นกระบวนการที่สิ้นสุด
(5) พลังในตัวบุคคลที่ทําให้บุคคลแสดงพฤติกรรม
ตอบ 5 หน้า 225 แรงจูงใจ (Motive) หมายถึง สภาวะที่เป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่แรงจูงใจนั้นต้องการ
66 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการเกิดแรงจูงใจ
(1) ร่างกายเกิดความต้องการ
(2) ร่างกายเกิดแรงขับ
(3) ร่างกายลดแรงขับ
(4) ร่างกายแสดงพฤติกรรม
(5) ร่างกายอยู่ในสภาวะสมดุล
ตอบ 5 หน้า 227 228 กระบวนการของการเกิดแรงจูงใจ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้
1 ความต้องการ (Needs)
2 แรงขับ (Drive)
3 การตอบสนอง (Response) หรือการแสดงพฤติกรรม
4 เป้าหมาย (Goal)
67 นักจิตวิทยาที่กล่าวถึงลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์
(1) พาฟลอฟ
(2) แบนดูรา
(3) โรเจอร์ส
(4) มาสโลว์
(5) วัตสัน
ตอบ 4 หน้า 229 230, 234 235 มาสโลว์ (Maslow) เป็นนักจิตวิทยาที่แบ่งลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้น 2 ระดับ ดังนี้คือ
1 ระดับความต้องพื้นฐาน (Basic Needs) ได้แก่ ความต้องการทางด้านร่างกาย และความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง
2 ระดับความต้องการขั้นสูง (Growth Needs) ได้แก่ ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น และความต้องการประจักษ์ตน
68 แรงจูงใจพื้นฐานเพื่อความอยู่รอดของชีวิตตรงกับข้อใด
(1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
(2) แรงจูงใจใฝ่อํานาจ
(3) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์
(4) แรงจูงใจเพื่อการเรียนรู้
(5) แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีความเจ็บปวด
ตอบ 5 หน้า 239 – 243 แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ (แรงจูงใจเพื่อความอยู่รอดของชีวิต) แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1 แรงจูงใจทางชีวภาพ (Biological Motive) เช่น ความหิว ความกระหาย ฯลฯ
2 แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ (Reproduction Motive) เช่น ความต้องการทางเพศ ฯลฯ
3 แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตรายหรือเพื่อหลีกหนีความเจ็บปวด (Avoidance Motive)
69 แรงจูงใจทางชีวภาพ (Biological Motive) ตรงกับข้อใด
(1) ความหิว
(2) ความกระหาย
(3) ความต้องการทางเพศ
(4) ความต้องการหนีอันตราย
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ
70 บุคคลมีความอิสระที่จะกระทําพฤติกรรม รู้ว่าตนต้องการอะไร ตรงกับทฤษฎีใด (1) ทฤษฎีหลักการมีเหตุผล
(2) ทฤษฎีสัญชาตญาณ
(3) ทฤษฎีแรงขับ
(4) ทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการ
(5) ทฤษฎีความต้องการความสุขส่วนตัว
ตอบ 1 หน้า 245 ทฤษฎีหลักการมีเหตุผล เชื่อว่า บุคคลมีอิสระที่จะกระทําพฤติกรรมใด ๆ ได้อย่างมีเหตุผล รู้ว่าตนต้องการอะไร ปรารถนาสิ่งใด และควรจะต้องตัดสินใจออกมาในลักษณะใด
71 ข้อใดคือความหมายของแรงขับ (Drive)
(1) ภาวะความตึงเครียดของร่างกาย
(2) ทําให้ร่างกายแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ
(3) ขจัดความเครียดออกจากร่างกาย
(4) พลังภายในร่างกาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 246 แรงขับ (Drive) เป็นภาวะความตึงเครียดของร่างกาย เป็นพลังภายในร่างกายที่ทําให้ร่างกายได้มีการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อขจัดความเครียดนั้นออกไปจากร่างกาย
72 พิมาลาถูกคนรักนอกใจจึงทําให้รู้สึกเจ็บปวดมากที่ตนถูกทอดทิ้ง ตรงกับข้อใด (1) ความต้องการทางร่างกาย
(2) ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ
(3) ความต้องการความปลอดภัย
(4) ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง
(5) ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ
73 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข
(1) ส่วนใหญ่จะเป็นทฤษฎีการเรียนรู้แบบการกระทํา
(2) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นและสิ่งเสริมแรงในกระบวนการเรียนรู้
(3) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นแปรเปลี่ยนไปตามค่านิยมของสังคม
(4) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นแตกต่างกันในแต่ละบุคคล
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 247, (คําบรรยาย) แรงจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนรู้แบบการกระทํา โดยที่บุคคลได้เรียนรู้จากสังคมและคนรอบข้างว่าปัจจัยใดบ้างควรเป็นสิ่งเร้าที่เป็นตัวกระตุ้นและสิ่งเสริมแรงในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งจะแปรเปลี่ยนไปตามค่านิยมของแต่ละสังคม นอกจากนี้สิ่งเร้าที่เป็นตัวกระตุ้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลด้วย
74 การจัดเรทผู้ชมสําหรับรายการโทรทัศน์ ตรงกับข้อใด
(1) การลองผิดลองถูก
(2) การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา
(3) การเรียนรู้แบบหยังเห็น
(4) การเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากค่านิยม
(5) การเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากสิ่งไม่มีชีวิต
ตอบ 4 หน้า 247 248 (คําบรรยาย) แรงจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากค่านิยมจะเกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งที่ตั้งใจเลียนแบบหรือเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว โดยตัวแบบจะเปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยมของสังคม เช่น เปลี่ยนไปตามการจัดเรทผู้ชมสําหรับรายการโทรทัศน์ ฯลฯ
75 อารมณ์ใดเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ เมื่อบุคคลต้องเผชิญความพลัดพรากหรือล้มเหลว
(1) อารมณ์ทุกข์-ปวดร้าว
(2) อารมณ์โกรธ
(3) อารมณ์ดูถูก
(4) อารมณ์หวาดกลัว
(5) อารมณ์รู้สึกผิด
ตอบ 1 หน้า 257 อารมณ์ทุกข์ – ปวดร้าว (Distress-Anguish) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องเผชิญหรือประสบกับความพลัดพรากหรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในชีวิต
76 ข้อใดอธิบายถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีการเกิดอารมณ์ของแบคเตอร์-ซิงเกอร์
(1) เชื่อว่าเมื่อถูกกระตุ้นอารมณ์จะเกิดขึ้นก่อน จากนั้นจึงเกิดการตอบสนองทางร่างกายตามมา
(2) เชื่อว่าอารมณ์เกิดขึ้นได้จากการคิดหาสาเหตุการตอบสนองต่อสถานการณ์นั้น (3) เชื่อว่าร่างกายต้องมีการแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสิ่งเร้าก่อนจึงเกิดอารมณ์ขึ้นตามมา
(4) อธิบายว่าการเกิดอารมณ์เกี่ยวข้องกับสมองส่วนซีรีบรัลคอร์เท็กซ์ ทําให้บุคคลเกิดอารมณ์
(5) อธิบายว่าเมื่อถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า อารมณ์และการตอบสนองทางร่างกายจะเกิดขึ้นพร้อมกัน
ตอบ 2 หน้า 267 – 269 ทฤษฎีของแชคเตอร์ ซึ่งเกอร์ (Schachter-Singer Theory) อธิบายว่าอารมณ์เกิดจากการแปลความปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติทางกายและการคิดหาสาเหตุของ การตอบสนองนั้น ๆ โดยอาการตอบสนองทางกายแบบเดียวกันนั้น อารมณ์อาจแตกต่างกัน จะขึ้นอยู่กับการตีความสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งมาเร้าให้เกิดการตอบสนอง ดังนั้นการเร้าเพียงอย่างเดียวไม่ทําให้เกิดอารมณ์ จะต้องมีการแปลความควบคู่ไปด้วย
77 หน้าที่ใดเกี่ยวข้องกับอารมณ์พื้นฐาน “โกรธ” ตามแนวคิดของพลูทชิค
(1) ความร่วมมือ
(2) การปกป้อง
(3) การทําลาย
(4) การปรับตัว
(5) การรักษาการสูญเสีย
ตอบ 3 หน้า 272 หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์พื้นฐาน 8 ชนิด ตามแนวคิดของพลูทชิค (Plutchik) ได้แก่ กลัว – การปกป้อง, โกรธ – การทําลาย, รื่นเริง – ความร่วมมือ, รังเกียจ – การปฏิเสธ, ยอมรับ – การแพร่พันธุ์, เศร้า – การรักษาการสูญเสีย, ประหลาดใจ – การปรับตัว, คาดหวัง(อยากรู้อยากเห็น) – การสํารวจค้นหา
78 การพัฒนาทางอารมณ์ของมนุษย์จะสมบูรณ์ช่วงอายุประมาณเท่าใด
(1) 12 เดือน
(2) 18 เดือน
(3) 24 เดือน
(4) 28 เดือน
(5) 32 เดือน
ตอบ 3 หน้า 271 เค.บริดเจส (K.Bridges) พบว่า พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กทารกมีลักษณะดังนี้ อารมณ์แรกเกิดของมนุษย์คืออารมณ์ตื่นเต้น แล้วจึงพัฒนาไปสู่อารมณ์ที่มีลักษณะเฉพาะมากขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ก็จะแยกออกระหว่างอารมณ์ดีใจและเดือดร้อนใจ ต่อจากนั้นอารมณ์โกรธ เกลียดและกลัวก็จะปรากฏขึ้นภายหลังตามระดับวุฒิภาวะและการรับรู้ของเด็ก และเมื่ออายุ 2 ปี (24 เดือน) อารมณ์พื้นฐานก็จะพัฒนาจนครบสมบูรณ์ทั้ง 8 ชนิด
79 อารมณ์ใดถือเป็นอารมณ์พื้นฐานตามแนวคิดของจาค แพงค์เซปป์
(1) คาดหวัง
(2) รัก
(3) รื่นเริง
(4) เสียใจ
(5) เศร้าโศก
ตอบ 1 หน้า 259 อารมณ์พื้นฐานตามแนวคิดของจาค แพงค์เซปป์ (Jaak Panksepp) มี 4 ชนิด คือ คาดหวัง เดือดดาล ตื่นตระหนก และหวาดกลัว
80 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับปัจจัยทางสรีรวิทยาที่ทําให้เกิดอารมณ์
(1) ระบบพาราซิมพาเธติกในร่างกายจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่กระตุ้นให้ต่อสู้หรือถอยหนี
(2) สมองส่วนไฮโปธาลามัส เมื่อถูกกระตุ้นจะทําให้เกิดอารมณ์เศร้า ซึม เฉื่อยชา (3) อารมณ์ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและพฤติกรรมมากที่สุด คือ อารมณ์ตื่นเต้น
(4) อารมณ์กลัวจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลินจากต่อมหมวกไต
(5) การเกิดอารมณ์ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสรีรวิทยา
ตอบ 4 หน้า 262 263 อารมณ์ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและพฤติกรรมได้มากที่สุดคือ อารมณ์กลัวกับอารมณ์โกรธ โดยอารมณ์กลัวจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลินจากต่อมหมวกไต ส่วนอารมณ์โกรธจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนนอร์แอดรีนาลิน
81 ข้อใดไม่ใช่อารมณ์สากลที่แสดงออกทางใบหน้าตามแนวคิดของเอ็กแมน
(1) เป็นสุข
(2) โกรธ
(3) เศร้า
(4) คาดหวัง
(5) ประหลาดใจ
ตอบ 4 หน้า 274 อารมณ์สากลที่แสดงออกทางใบหน้าตามแนวคิดของเอ็กแมน (Ekman) มี 6 ชนิด ได้แก่ ประหลาดใจ รังเกียจ เศร้าเสียใจ โกรธ กลัว และเป็นสุข
82 ข้อใดอธิบายได้ถูกต้องมากที่สุดเกี่ยวกับเครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph) (1) วัดการเต้นของหัวใจได้
(2) วัดปริมาณเหงื่อตามร่างกายได้
(3) วัดคลื่นสมองได้
(4) วัดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบนใบหน้าได้
(5) วัดระดับการทํางานของสมองส่วนต่าง ๆ เมื่อแสดงอารมณ์ได้
ตอบ 1 หน้า 263 เครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph) เป็นเครื่องมือจับเท็จที่ใช้วัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการหายใจ และแรงต้านทานกระแสไฟฟ้าบนฝ่ามือ (GSR)
83 “โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระของเอกัตบุคคลที่ทําให้เขามีเอกลักษณ์ในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม เป็นคํานิยามของใคร
(1) ฟรอยด์
(2) อัลพอร์ท
(3) แอดเลอร์
(4) ซุลลิแวน
(5) จุง
ตอบ 2 หน้า 284 อัลพอร์ท (Allport) กล่าวว่า บุคลิกภาพ คือ โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระของเอกัตบุคคลที่ทําให้เขามีเอกลักษณ์ในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบบจิตสรีระของมนุษย์นี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นสาเหตุที่ทําให้บุคคลต้องปรับตัว และการปรับตัวที่ต่างกันของบุคคลแต่ละคนจะทําให้บุคลิกภาพต่างกันด้วย
84 ข้อใดเป็นแบบทดสอบการฉายภาพจิต
(1) Rorschach
(2) 16PE
(3) SCL-90
(4) MMPI
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 308 309, 315 แบบทดสอบการฉายภาพจิต เป็นการวัดบุคลิกภาพที่นักจิตวิทยามีความประสงค์จะล่วงรู้ถึงความปรารถนาหรือจิตใต้สํานึกลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในจิตของผู้ตอบ โดยให้ผู้รับการทดสอบบรรยายความรู้สึกนึกคิดออกมาทางภาพที่ให้ดู ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1 แบบทดสอบรอร์ชาค (Rorschach) เป็นภาพหยดหมึก 10 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วถามว่าเขาเห็นอะไรในรูปนั้นบ้าง
2 แบบทดสอบ TAT เป็นภาพเรื่องราว 20 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วให้เขาบรรยายหรือแต่งเรื่องหรือเล่าเรื่องจากภาพ
85 แบบทดสอบชนิดใดที่ทดสอบโดยการให้ผู้รับการทดสอบเล่าเรื่องจากภาพ
(1) Rorschach
(2) 16PF
(3) TAT
(4) MMPI
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ
86 มนุษย์มีอิสระที่จะตัดสินใจและกําหนดชะตาชีวิตของตนเองได้ เป็นแนวคิดของนักทฤษฎีกลุ่มใด
(1) กลุ่มมนุษยนิยม
(2) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(3) กลุ่มพุทธิปัญญา
(4) กลุ่มจิตวิเคราะห์
(5) กลุ่มที่แบ่งบุคลิกภาพตามประเภทและโครงสร้าง
ตอบ 1 หน้า 292 ทฤษฎีมนุษยนิยม เชื่อว่า มนุษย์ไม่ได้เป็นเหยื่อของสัญชาตญาณ มนุษย์มีอิสรภาพที่จะตัดสินใจและกําหนดชะตาชีวิตของตนเองได้ มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นตัวของตัวเองและสามารถรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองได้กระทําลงไป (ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ)
87 ปลามีรูปร่างผอมสูง จึงมีนิสัยขี้อาย กลัว ไม่กล้าแสดงออก และรักความสันโดษ เป็นการศึกษาบุคลิกภาพ ตามแนวคิดของใคร
(1) อัลพอร์ท
(2) เชลดอน
(3) คาร์เทล
(4) ฟรอยด์
(5) จุง
ตอบ 2 หน้า 129, 295 เซลดอน (Sheldon) เป็นผู้เสนอว่าการที่บุคคลมีลักษณะรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันจะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลได้ โดยแบ่งรูปร่างของบุคคลออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1 รูปร่างอ้วนกลม (Endomorphy) มักจะมีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน รักความสบายโกรธง่ายหายเร็ว ขึ้น้อยใจ พูดมาก ขี้บ่น คุยโอ และกินจุ ฯลฯ )
2 รูปร่างผอมสูง (Ectomorphy) มักจะมีนิสัยขี้อาย กลัว ไม่กล้าแสดงออก เป็นคนเฉย ๆรักสันโดษ เก็บอารมณ์เก่ง โมโหยากแต่หายช้า พูดน้อย ดื้อดึง และเอาแต่ใจตัวเอง ฯลฯ
3 รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก รักกิจกรรมกลางแจ้ง เป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ฯลฯ
ข้อ 88 – 92 จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) Id
(2) Ego
(3) Superego
(4) Unconscious
(5) Self-actualization
88 กระบวนการคิดที่ไม่สมเหตุสมผล ทํางานโดยยึดหลักความพึงพอใจ
ตอบ 1 หน้า 287 288, (คําบรรยาย) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ของฟรอยด์ (Freud) ได้แบ่งโครงสร้างของบุคลิกภาพออกเป็น 3 ส่วน คือ
1 อิด (Id) เป็นสัญชาตญาณของจิตใต้สํานึกที่มีมาตั้งแต่แรกเกิด โดยเป็นพลังจิตที่ขาดการขัดเกลา ไม่รับรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม มีกระบวนการคิดที่ไม่สมเหตุสมผล ทํางานโดยยึดหลัก ความพึงพอใจหรือทําตามความพึงพอใจของตัวเองโดยไม่สนใจกับความเป็นจริงภายนอก ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับสัญชาตญาณในเรื่องเพศ ความก้าวร้าว และการทําลายล้าง
2 อีโก้ (Ego) เป็นส่วนของจิตใจที่ทํางานโดยยึดหลักแห่งความเป็นจริง โดยร่วมกันไปกับกระบวนคิดอย่างมีเหตุผล จะแสดงออกอย่างไรจึงเป็นที่ยอมรับและเหมาะสมกับสังคม
3 ซูเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของจิตใจที่ทําหน้าที่คล้ายกับมโนธรรมที่คอยตักเตือนให้บุคคลมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
89 เป็นความต้องการประจักษ์แจ้งในตน
ตอบ 5 หน้า 12, 292 293 (ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ) มาสโลว์ (Maslow) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยมที่มีความเชื่อในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ที่จะพัฒนาตัวเองให้ไปถึงจุดสูงสุดแห่งศักยภาพของเขา อันเป็นความต้องการที่จะประจักษ์แจ้งในตน (Self-actualization)หรือเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ซึ่งจะให้ความสมบูรณ์และมีความหมายแก่ชีวิต
90 ส่วนของจิตใจที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับการตัดสินผิดชอบชั่วดี
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ
91 ประสบการณ์ในอดีตที่เราลืมแล้วและไม่สามารถจําได้เลย
ตอบ 4 หน้า 289, (คําบรรยาย) จิตใต้สํานึก จิตไร้สํานึก (Unconscious) เป็นประสบการณ์บางอย่างในอดีตที่เราลืมไปแล้วและไม่สามารถจดจําได้เลย เกิดเมื่อบุคคลมีความขัดแย้งใจและเก็บกดความรู้สึกที่ไม่พึงปรารถนาไว้ไม่ให้แสดงออกมาในระดับของจิตสํานึก
92 ส่วนของจิตใจที่ทํางานโดยยึดหลักความเป็นจริง ร่วมไปกับการคิดโดยใช้เหตุผล
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ
93 สติปัญญาหมายถึงข้อใด
(1) ความสามารถในการแข่งขัน
(2) ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค
(3) ความสามารถในการปรับตัว
(4) ความสามารถในการเข้าใจตนเองและผู้อื่น
(5) ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
ตอบ 5 หน้า 321 สติปัญญา (Intelligence) หมายถึง ความสามารถของแต่ละบุคคลในการที่จะคิดกระทํา หรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมได้อย่างมีเหตุผลและมีประสิทธิภาพ
94 ข้อใดไม่ใช่ตัวประกอบเฉพาะ S-factor ของสติปัญญา
(1) การใช้เหตุผล
(2) ศิลปะ
(3) ภาษา
(4) การใช้มือ
(5) การคํานวณ
ตอบ 1 หน้า 325 ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) เป็นผู้ที่คิดทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยโดยอธิบายว่า สติปัญญาของคนเรานั้นจะมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ
1 ตัวประกอบทั่วไป (General factor : G-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผลทั่ว ๆ ไปของบุคคล และทุกคนมีเหมือนกันหมด
2 ตัวประกอบเฉพาะ (Specific factor : S-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถเฉพาะตัวของบุคคล เช่น ความสามารถพิเศษด้านศิลปะและดนตรี ความสามารถในการจําความเข้าใจภาษา การคํานวณ การใช้มือ การสังเกต การออกแบบ (Design) ฯลฯ
95 ผู้ที่แนะนําทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัย คือใคร
(1) ชาร์ล สเปียร์แมน
(2) ธีโอฟิล ไซมอน
(3) เทอร์สโตน
(4) เทอร์แมน
(5) ฟรานซิส กัลตัน
ตอบ 3 หน้า 325 – 326 เทอร์สโตนและกิลฟอร์ด (Thurstone and Guilford) เป็นผู้ที่แนะนําทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัย (Multiple Factor Theory) โดยเทอร์สโตนอธิบายว่า ความสามารถ ขั้นพื้นฐานที่เป็นส่วนประกอบของสติปัญญามี 7 ชนิด คือ ความเข้าใจภาษา, ความสามารถ ใช้คําได้คล่องแคล่ว, ความสามารถในการใช้ตัวเลข, ความสามารถในการมองเห็นภาพมิติ, ความสามารถในการจํา, ความไวในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ และความสามารถที่จะเข้าใจเหตุผล ส่วนกิลฟอร์ด เชื่อว่า ตัวประกอบของสติปัญญามีถึง 120 ตัวประกอบ ใน 3 มิติ คือ มิติด้านเนื้อหา วิธีการ และผล โดยเขาเชื่อว่าบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงมักจะมีสติปัญญาสูงด้วย
96 ข้อใดเป็นตัวประกอบหลายปัจจัยของกิลฟอร์ด
(1) ภาษา เนื้อหา วิธีการ
(2) ความจํา วิธีการ ผล
(3) เนื้อหา วิธีการ ผล
(4) การรับรู้ เนื้อหา วิธีการ
(5) เนื้อหา ความจํา การรับรู้
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ
97 สติปัญญาระดับอัจฉริยะ (Genius) คือระดับใด
(1) 90 – 110
(2) 111 – 120
(3) 121 – 140
(4) 140 ขึ้นไป
(5) 150 ขึ้นไป
ตอบ 4 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (I.Q.) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้ ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ I.Q. ต่ำกว่า 70, คาบเส้น (Borderline) มีระดับ I.Q. 71 – 20, ปัญญาทึบ (Dull) มีระดับ I.Q. 81 – 90, เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ I.Q. 91 – 110 ซึ่ง เป็นอัตราเฉลี่ย (Average), ค่อนข้างฉลาด (Superior) มีระดับ I.Q. 111 – 120, ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ I.Q. 121 – 140 และอัจฉริยะ (Genius) มีระดับ 1.Q. 140 ขึ้นไป
98 ข้อใดเป็นองค์ประกอบการวัดสติปัญญาของเวคสเลอร์
(1) ความช่างสังเกต
(2) การใช้มโนภาพ
(3) ความรู้ทั่วไป
(4) ความสามารถใช้คํา
(5) การทํางานประสานกันระหว่างมือกับตา
ตอบ 3 หน้า 330 องค์ประกอบการวัดสติปัญญาของเวคสเลอร์ (Wechsler) แบ่งข้อทดสอบออกเป็น 2 หมวด ดังนี้คือ
1 ข้อทดสอบเชิงภาษา ประกอบด้วยแบบทดสอบย่อย 6 ชุด ได้แก่ ความรู้ทั่วไป ความเข้าใจเลขคณิต ความคล้ายกัน การจําช่วงตัวเลข และคําศัพท์
2 ข้อทดสอบแบบประกอบการ ประกอบด้วยแบบทดสอบย่อย 5 ชุด ได้แก่ สัญลักษณ์ตัวเลขการเพิ่มรูปภาพ การออกแบบก้อนสี่เหลี่ยม การลําดับภาพ และการประกอบชิ้นส่วน
99 การวัดความสามารถทางสติปัญญาจะคํานวณตามข้อใด
(1) อายุสมองคูณด้วยอายุจริงตามปฏิทิน
(2) อัตราส่วนระหว่างอายุสมองเละอายุจริงตามปฏิทิน
(3) อัตราส่วนระหว่างอายุสมองเละอายุจริงตามปฏิทิน คูณด้วย 100
(4) อัตราส่วนระหว่างอายุจริงตามปฏิทินและอายุสมอง
(5) อัตราส่วนระหว่างอายุจริงตามปฏิทินและอายุสมอง คูณด้วย 100
ตอบ 3 หน้า 326 ในการวัดความสามารถทางสติปัญญาจะถูกวัดออกมาในอัตราส่วนที่เรียกว่า I.Q.(Intelligence Quotient) ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างอายุสมอง (Mental Age = M.A. ) และ อายุจริงตามปฏิทิน (Chronological Age = C.A.) คูณด้วย 100
100 แบบวัดสติปัญญาใดที่มีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิต
(1) Stanford-Binet
(2) WAIS
(3) WPPS1
(4) MMPI
(5) Progressive Matrices
ตอบ 5 หน้า 331 แบบทดสอบโปรเกรสซีฟเมตริซีส (Progressive Matrices Tests) มีลักษณะเป็นแบบทดสอบที่ไม่ใช้ถ้อยคําภาษา (Nonverbal) สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดความสามารถของบุคคลในการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิต
101 ข้อใดคือคุณสมบัติของความเป็นมาตรฐาน
(1) มีความยากง่ายที่เหมาะสม
(2) การให้ผลคะแนนเหมือนเดิมไม่ว่าจะวัดกี่ครั้ง
(3) การวัดได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการวัด
(4) ความมีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ
(5) การให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน
ตอบ 4 หน้า 328 ความเป็นมาตรฐาน (Standardization) หมายถึง ความมีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ การตรวจให้คะแนนและการแปลความหมายของคะแนน ซึ่งนับเป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่จะต้องคํานึงถึงในการสร้างแบบทดสอบ
102 ข้อใดเป็นระยะห่างระหว่างบุคคลที่ใช้เมื่อเป็นการประชุมในบริษัท
(1) ระยะสนิทสนม
(2) ระยะส่วนตัว
(3) ระยะสังคม
(4) ระยะห่างไกล
(5) ระยะสาธารณะ
ตอบ 3 หน้า 378 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
1 ระยะสนิทสนม (Intimate Distance) 0 – 18 นิ้ว เป็นระยะใกล้ชิดที่มักใช้สื่อสารเฉพาะกับคนพิเศษ เช่น ใช้ระหว่างคู่รัก คนในครอบครัว ฯลฯ
2 ระยะส่วนตัว (Personal Distance) 1 – 4 ฟุต เป็นระยะที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน อาจารย์ที่ปรึกษาให้คําปรึกษากับนักศึกษา ครูนั่งสอนนักเรียนอยู่ที่โต๊ะหน้าห้อง ฯลฯ มักเอื้อมมือ ” ถึงกันได้ และใช้ระดับเสียงพูดปกติ
3 ระยะสังคม (Social Distance) 4 – 12 ฟุต เป็นระยะที่ใช้พูดคุยกันทางสังคมและธุรกิจ
4 ระยะสาธารณะ (Public Distance) 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ
103 “ครูนั่งสอนนักเรียนอยู่ที่โต๊ะหน้าห้อง” เป็นระยะห่างระหว่างบุคคลระยะใด (1) ระยะสนิทสนม
(2) ระยะส่วนตัว
(3) ระยะสังคม
(4) ระยะห่างไกล
(5) ระยะสาธารณะ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 102 ประกอบ
104 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ดึงดูดใจให้คนเป็นมิตรกัน
(1) ความใกล้ชิดทางกาย
(2) ความคล้ายคลึงกัน
(3) ความใจดี
(4) ความสามารถ
(5) ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย
ตอบ 3 หน้า 380 381 ปัจจัยที่ดึงดูดใจให้คนเป็นมิตรกัน มีดังนี้
1 ความใกล้ชิดทางกาย
2 ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย
3 ความสามารถ
4 ความคล้ายคลึงกัน
105 “เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารแตกต่างกันระหว่างบุคคลและพฤติกรรมของกลุ่ม” จากข้อความดังกล่าวเป็นการบรรยายถึงสถานการณ์ใดที่ทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคม
(1) สถานการณ์การเสนอแนะ
(2) สถานการณ์การคล้อยตาม
(3) สารชักจูง
(4) การอภิปรายกลุ่ม
(5) การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น
ตอบ 2 หน้า 383 สถานการณ์ที่อาจทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคมขึ้น มี 5 สถานการณ์ คือ
1 สถานการณ์การเสนอแนะ เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ำๆ โดยปราศจากการอธิบาย
2 สถานการณ์การคล้อยตาม เป็นสถานการณ์ซึ่งมีการสื่อสารที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลกับพฤติกรรมของกลุ่ม ปทัสถานของกลุ่ม หรือค่านิยมของกลุ่ม
3 การอภิปรายกลุ่ม เป็นสถานการณ์ที่มีการโต้แย้งเกิดขึ้น
- สารชักจูง เป็นข้อความที่มีการขัดเกลาคําพูดเป็นอย่างดีแล้ว และใช้การสื่อสารทางเดียว
5 การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่นเป็นสถานการณ์ที่ใช้ทั้ง 4 ลักษณะข้างต้นพร้อมกัน
106 “คุณแพรวเสนอร้านอาหารที่ตนเองอยากทานโดยการพูดซ้ำ ๆ เพื่อให้แฟนเลือกร้านดังกล่าวสําหรับการทานอาหารเย็น” แสดงถึงสถานการณ์ใดที่ทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคม
(1) สถานการณ์การเสนอแนะ
(2) สถานการณ์การคล้อยตาม
(3) สารชักจูง
(4) การอภิปรายกลุ่ม
(5) การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 105 ประกอบ
107 “อํานาจมาจากการที่บุคคลนั้นได้รับการเคารพนับถือ” จากข้อความดังกล่าวหมายถึงอํานาจประเภทใด
(1) อํานาจในการให้รางวัล
(2) อํานาจในการบังคับ
(3) อํานาจตามกฎหมาย
(4) อํานาจตามการอ้างอิง
(5) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ
ตอบ 4 หน้า 385 386 อํานาจ (Power) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสังคม โดยอํานาจทางสังคมมี 5 ประเภท คือ
1 อํานาจในการให้รางวัล คือ การให้รางวัลแก่บุคคลที่แสดงพฤติกรรมตามที่ปรารถนาได้
2 อํานาจในการบังคับ โดยใช้การจําคุกและการปรับสินไหมเป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรม
3 อํานาจตามกฎหมาย เกิดจากการยอมรับให้บุคคลเป็นตัวแทนของระเบียบทางสังคม
4 อํานาจตามการอ้างอิง เป็นอํานาจที่มาจากการที่บุคคลนั้นได้รับการเคารพนับถือ
5 อํานาจตามความเชี่ยวชาญ เป็นการยอมรับผู้ที่มีความสามารถและความเชี่ยวชาญ
108 “ตํารวจออกใบสั่งให้กับคนที่ขับรถฝ่าไฟแดง” พฤติกรรมดังกล่าวแสดงถึงอํานาจประเภทใด
(1) อํานาจในการให้รางวัล
(2) อํานาจในการบังคับ
3) อํานาจตามกฎหมาย
(4) อํานาจตามการอ้างอิง
(5) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 107 ประกอบ
109 ข้อใดตรงกับลักษณะ “การตัดสินใจล่วงหน้า สงสัย กลัว เกลียดอย่างไม่มีเหตุผล
(1) ความไม่ใส่ใจ
(2) อคติ
(3) เจตคติ
(4) พฤติกรรมก้าวร้าว
(5) พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม
ตอบ 2 หน้า 392 อคติ เป็นเจตคติทางลบหรือการตัดสินล่วงหน้า เกิดจากความสงสัย ความกลัว และความเกลียดอย่างไม่สมเหตุสมผล บ่อยครั้งที่เจตคติเกิดจากโครงสร้างของอํานาจทางสังคมซึ่งมักเป็นอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ เพศ หรืออายุ และนํามาสู่การแบ่งแยก
110 “คุณหยกมีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นของตนเอง โดยไม่ใช้คําพูดทําร้ายผู้อื่น” พฤติกรรมดังกล่าวแสดงถึงพฤติกรรมอะไร
(1) พฤติกรรมการช่วยเหลือ
(2) พฤติกรรมไม่กล้าแสดงออก
(3) พฤติกรรมก้าวร้าว
(4) พฤติกรรมเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
(5) พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม
ตอบ 5 หน้า 396 397 พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม เป็นพฤติกรรมของบุคคลที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น/ความรู้สึก/ความปรารถนาและความเชื่อของ ตนเองอย่างตรงไปตรงมา และเหมาะสมกับกาลเทศะ ทั้งนี้ต้องคํานึงถึงสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น โดยไม่ใช้คําพูดหรือกิริยาท่าทางทําร้ายผู้อื่น (ตรงข้ามกับพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออก ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงการคุกคามสิทธิของตนเอง โดยไม่กล้าแสดงความคิด/ความรู้สึกและความเชื่อของตนออกมา ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จึงยอมให้ผู้อื่นคุกคามตนเอง)
111 การให้เหตุผลว่า “คนที่ปรับตัวดีคือมีสมดุลของอิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้” มาจากแนวคิดทางจิตวิทยากลุ่มใด
(1) จิตวิเคราะห์
(2) พฤติกรรมนิยม
(3) มนุษยนิยม
(4) จิตวิทยาเกสตัลท์
(5) กลุ่มทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด
ตอบ 1 หน้า 343 นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ เห็นว่า คนที่ปรับตัวไม่ได้มีสาเหตุมาจากพลังอิโก้มีการพัฒนาที่อ่อนแอเกินไป ทําให้ไม่แกร่งพอที่จะสร้างความสมดุลระหว่างพลังอิดและซูเปอร์อิโก้ได้ ดังนั้นผู้ที่ปรับตัวดี คือ ผู้ที่มีการพัฒนาการที่สมดุลของอิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้
112 ข้อใดเกี่ยวข้องกับการปรับตัวที่ดีน้อยที่สุด
(1) ทําให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น
(2) ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
(3) มีความภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น
(4) ต้องไม่ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
(5) ช่วยให้สามารถเข้าสังคมที่มีความหลากหลายดีขึ้น
ตอบ 3 หน้า 345 การปรับตัวที่ดีและเหมาะสมเป็นการปรับตัวของบุคคลที่เป็นไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตของเขาเอง ทําให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น และช่วยให้สามารถเข้าสังคมที่มีความหลากหลายดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ต้องไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือต้องไม่ไปปิดกั้นสิทธิเสรีภาพและอิสรภาพของผู้อื่น
113 ตามแนวคิดของไฟด์แมนและโรเซนแมน (Friedman & Rosenman) คนแบบใดมีความเครียดน้อยที่สุด
(1) คนที่มุ่งความสําเร็จ
(2) คนที่ไม่ชอบความเร่งรีบ
(3) คนที่เก็บกดอารมณ์ไม่แสดงออก
(4) คนที่ชอบความสมบูรณ์แบบ
(5) คนที่ชอบสร้างมาตรฐานให้กับตัวเอง
ตอบ 2 หน้า 348, (คําบรรยาย) ไฟด์แมนและโรเซนแมน (Friedman & Rosenman) ได้แบ่งกลุ่มคนตามลักษณะบุคลิกภาพออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1 กลุ่ม A (Type A Personality) เป็นคนใจเร็ว ใจร้อน ชอบความก้าวหน้า การแข่งขันสูง มุ่งความสําเร็จ/ผลสัมฤทธิ์ ชอบสร้างมาตรฐานให้กับตัวเอง และชอบความสมบูรณ์แบบ
2 กลุ่ม B (Type B Personality) เป็นคนที่ไม่เร่งรีบ ผ่อนคลาย ทําอะไรแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือชอบทํางานที่ละอย่าง ซึ่งมีผลให้มีความเครียดน้อยที่สุด/ไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
114 เมื่อเกิดความผิดพลาดในชีวิต บุคคลพูดกับตนเองว่า “ไม่เป็นไร พลาดครั้งนี้ยังมีครั้งหน้า” วิธีนี้ถือเป็น กลยุทธ์ในการลดความเครียดวิธีใด
(1) มีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น
(2) เรียนรู้การพูดให้ตนเองสบายใจ
(3) แสวงหาสิ่งแวดล้อมที่พึงพอใจ
(4) การใส่ใจดูแลตนเอง
(5) การหากิจกรรมเพื่อการผ่อนคลายความเครียด
ตอบ 2 หน้า 353 354 กลยุทธ์ในการลดความเครียด มีหลายวิธี ได้แก่
1 แสวงหาสิ่งแวดล้อมที่พึงใจ ทั้งบุคคลแวดล้อมและสถานที่แวดล้อมที่ถูกใจ
2 ใส่ใจดูแลตนเองให้ดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต อย่าจริงจังกับชีวิตมากเกินไป 3 รู้จักทํากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เช่น ออกกําลังกาย ทําสวน เล่นดนตรี ฯลฯ 4 เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น อาหารพวกปลา ผัก ผลไม้ ฯลฯ
5 มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน ฯลฯ
6 เรียนรู้วิธีพูดให้ตนเองสบายใจ โดยพูดให้กําลังใจตนเอง เช่น ไม่เป็นไร ทําดีที่สุดแล้ว ฯลฯ
115 อาการทางกายใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวข้องกับความเครียดของบุคคล
(1) ท้องผูก
(2) ปัญญาอ่อน
(3) นอนไม่หลับ
(4) ไมเกรน
(5) ความดันโลหิตสูง
ตอบ 2 หน้า 349 ไซโคโซมาติก (Psychosomatic Diseases) คือ อาการของความเจ็บป่วยหรือโรคทางกายที่เกิดจากภาวะความเครียดที่สะสมเอาไว้นาน ๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ท้องร่วง ท้องผูก โรคหัวใจ นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน) ฯลฯ
116 ข้อใดอธิบายถูกต้องเกี่ยวกับ “กลไกป้องกันทางจิต” ที่ใช้ในการปรับตัว
(1) กลไกป้องกันทางจิตมักเกิดขึ้นในระดับจิตรู้สํานึก
(2) กลไกป้องกันทางจิตไม่สามารถใช้เพื่อหลีกเลี่ยงความกลัวต่าง ๆ ที่รบกวนจิตใจได้
(3) เป็นกลยุทธ์ที่มนุษย์ใช้ในการแก้ไขปัญหาที่คับข้องใจอย่างเหมาะสม
(4) การใช้กลไกทางจิตบ่อยเกินไปอาจนําไปสู่ภาวะโรคประสาทได้
(5) การใช้กลไกทางจิตช่วยปกปิด “จุดบอด” ของบุคลิกภาพได้
ตอบ 4 หน้า 357 กลไกป้องกันทางจิตมักเกิดขึ้นในระดับจิตใต้สํานึก เป็นกลยุทธ์ที่มนุษย์ใช้เพื่อหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธความวิตกกังวลหรือความกลัวต่าง ๆ ที่มารบกวนจิตใจได้ การใช้กลไกป้องกันทางจิตมากหรือบ่อยเกินไปอาจนําไปสู่ภาวะของโรคประสาทได้ และการใช้กลไกป้องกันทางจิตโดยไม่ตระหนักว่าเรากําลังปกป้องตัวเองอยู่จะก่อให้เกิด “จุดบอด” ของบุคลิกภาพได้
117 “รําไม่ดีโทษปี่โทษกลอง” น่าจะเกี่ยวข้องกับการใช้กลไกป้องกันทางจิตประเภทใด
(1) การโยนความผิด
(2) การหาสิ่งทดแทน
(3) การเก็บกด
(4) การไม่รับรู้ความจริง
(5) การไม่นําความรู้สึกมาเกี่ยวข้อง
ตอบ 1 หน้า 359 การโยนความผิด (Projection) เป็นการกล่าวโทษผู้อื่นในความผิดที่ตนเองกระทําเพื่อให้ความรู้สึกผิดของตนเองมีน้อยลง หรือเป็นการผลักความคิด/ความรู้สึกที่ไม่ดีที่ตนเองมี แต่เจ้าตัวไม่ยอมรับออกไปให้พ้นตัว โดยพูดว่าเป็นความคิดหรือความรู้สึกของคนอื่น ๆ แทนเข้าทํานอง “รําไม่ดีโทษปี่โทษกลอง”
118 ตามแนวคิดการปรับตัวทางร่างกายเมื่อเกิดความเครียดของเซลเย (Selye) ช่วงที่ร่างกายมีพละกําลังมหาศาล เพื่อรับสภาพการจู่โจม เกิดขึ้นในขั้นตอนใด
(1) ขั้นระยะตื่นตัว
(2) ขั้นปฏิกิริยาตื่นตระหนก
(3) ขั้นสร้างระบบต้านทานภัย
(4) ขั้นระยะเหนื่อยล้า
(5) ขั้นระยะถดถอย
ตอบ 2 หน้า 351 เซลเย (Selye) ได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับสภาวะของร่างกายเมื่อเกิดความเครียดพบว่า เมื่อบุคคลเกิดความเครียด ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อความเครียด 3 ขั้นตอน คือ
1 ปฏิกิริยาตื่นตระหนก เป็นช่วงที่ร่างกายมีพละกําลังมหาศาล เพื่อรับสภาพการจู่โจม
2 สร้างระบบต้านทานภัย ร่างกายจะสร้างระบบที่ปรับตัวต่อความเครียดในระยะยาวนานขึ้น
3 ระยะเหนื่อยล้า ในกรณีที่ความเครียดอยู่กับบุคคลนาน ๆ และไม่หมดสิ้นไป ก็อาจทําให้ร่างกายเกิดโรคขึ้นหลายชนิด เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ ฯลฯ และถ้าเป็นนาน ๆร่างกายก็อาจไปถึงจุดที่เรียกว่า Burn-Out คือ ไปต่อไม่ได้
119 “หนีเสือปะจระเข้” เป็นความขัดแย้งใจชนิดใด
(1) Approach-Approach Conflicts
(2) Avoidance-Avoidance Conflicts
(3) Approach-Avoidance Conflicts
(4) Double Approach-Avoidance Conflicts
(5) Double Approach-Approach Conflicts
ตอบ 2 หน้า 361 – 364 ความขัดแย้งใจ (Conflict) มี 4 ประเภท คือ
1 อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ“รักพี่เสียดายน้อง” คือ ตัวเลือกทั้งสองเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาทั้งคู่
2 อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ“หนีเสือปะจระเข้” คือ เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกตัวเลือกที่ไม่พึงปรารถนาทั้งคู่ก่อให้เกิดพฤติกรรม “นิ่งเฉย ไม่ตัดสินใจ” เนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจและทําอะไรไม่ถูก
3 ทั้งรักและชัง (Approach-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ“กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” คือ ตัวเลือกนั้นเป็นทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบในขณะเดียวกันจึงทําให้เกิดความลังเลใจ เช่น อยากทานขนมหวานแต่กลัวฟันผุและกลัวอ้วน ฯลฯ
4 ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach-Avoidance Conflicts) คือ ตัวเลือกทั้ง 2 มีทั้งดีและไม่ดีในเวลาเดียวกัน เช่น ต้องเลือกระหว่างงานใหม่ 2 แห่ง แห่งแรกนั้นถูกใจหมดทุกอย่างแต่เงินเดือนต่ำ แต่อีกแห่งไม่ถูกใจเลยแต่เงินเดือนสูง เราจะเลือกแห่งใด ฯลฯ
120 ความขัดแย้งประเภทใดที่ก่อให้เกิดพฤติกรรม “นิ่งเฉย ไม่ตัดสินใจ” เนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจและ ทําอะไรไม่ถูก
(1) อยากได้ทั้งคู่
(2) อยากหนีทั้งคู่
(3) ทั้งรักและซัง
(4) ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 119 ประกอบ