การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา PSY1001 จิตวิทยาทั่วไป

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1. – 3. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ความจําระยะสั้น

(2) ความจําระยะยาว

(3) ความจําจากการรับสัมผัส

(4) ความจําขณะปฏิบัติงาน

(5) ความจําคู่

 

1 เก็บข้อมูลได้มากและไม่สูญหาย

ตอบ 2 หน้า 196 – 197, 199 ความจําระยะยาว (Long term, Memory) จะทําหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรซึ่งบรรจุทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับโลกเอาไว้ โดยมีความสามารถไม่จํากัด ในการเก็บข้อมูล จึงไม่มีข้อมูลสูญหายไปจากความจําระยะยาวนี้ และจะเก็บข้อมูลไว้บน พื้นฐานของความหมายและความสําคัญของข้อมูล ซึ่งความจําระยะยาวนี้มี 2 ประเภท คือ

1 การจําความหมาย เป็นการจําความรู้พื้นฐานที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโลก เช่น ชื่อวัน เดือน ชื่อสิ่งของ ภาษา และทักษะการคํานวณง่าย ๆ รวมทั้งข้อเท็จจริงอื่น ๆ ฯลฯ 2 การจําเหตุการณ์ เป็นการจําเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง เป็นการบันทึกเหตุการณ์ในชีวิต เช่น จําวันแรกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัย จําอุบัติเหตุที่ประสบเมื่อปีที่แล้ว ฯลฯ

2 เก็บภาพติดตาไว้ได้

ตอบ 3 หน้า 196 ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory) คือ ระบบการจําชั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลในลักษณะถอดแบบสิ่งที่ได้เห็นหรือสิ่งที่ได้ยินทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ เพื่อถ่ายทอด ข้อมูลต่อไปยังระบบการจําอื่น ๆ เช่น ถ้าได้เห็นข้อมูล ภาพติดตาหรือจินตภาพ (Icon) จะคง อยู่ได้ครึ่งวินาที (1/2 วินาที) แต่ถ้าเกิดจากการได้ยิน เสียงก้องในหู (Echo) ของสิ่งที่ได้ยินจะคงอยู่ประมาณ 2 วินาที ฯลฯ ทั้งนี้หากไม่มีการส่งต่อข้อมูลสิ่งที่จําไว้จะหายไปอย่างรวดเร็วที่สุด

3 เป็นคลังข้อมูลชั่วคราว

ตอบ 1 หน้า 196 ความจําระยะสั้น (Short-term Memory) ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด โดยจะเก็บข้อมูลในลักษณะจินตภาพ ทั้งนี้ความจําระยะสั้น จะถูกรบกวนหรือถูกแทรกแซงได้ง่าย เป็นความจําที่ช่วยป้องกันไม่ให้เราสับสนในการสนทนา เกี่ยวกับชื่อ วันที่ หมายเลขโทรศัพท์ และเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ นอกจากนี้ยังเป็นความจําในส่วนที่ปฏิบัติงาน (Working Memory) การคิดเลขในใจ การจํารายการสั่งของที่จะซื้อ ฯลฯ

4 การที่เราจดจําเรื่องราวที่เกิดขึ้นในวันแรกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัยได้ เป็นเพราะเราจัดเก็บข้อมูลไว้ในส่วนใด

(1) ความจําคู่

(2) ความจําขณะปฏิบัติงาน

(3) การจําเหตุการณ์ในความจําระยะยาว

(4) การจําความหมายในความจําระยะยาว

(5) ความจําจากการรับสัมผัส

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

5 การที่เราพยายามนึกชื่อดาราคนหนึ่ง ที่จําชื่อไม่ได้แต่จําหน้าได้ จนกระทั่งมีเพื่อนนํารูปถ่ายมาให้ดู จึงสามารถเรียกชื่อดาราได้อย่างถูกต้อง ลักษณะนี้จัดว่าตรงกับข้อใด

(1) การบูรณาการใหม่

(2) การระลึกได้

(3) การพิจารณาได้

(4) การเรียน

(4) การเรียนซ้ำ

(5) การจําได้

ตอบ 5 หน้า 202 การจําได้ (Recognition) เป็นการวัดความจําโดยมีสื่อกระตุ้นหรือชี้แนะให้จําได้ เช่น ข้อสอบแบบเลือกตอบ หรือการเห็นร่มก็จําได้ว่าเป็นร่มที่หายไปเมื่อสองเดือนที่แล้ว ฯลฯ การจําได้จะได้ผลดีถ้ามีรูปถ่ายหรือการได้เห็นสิ่งอื่น ๆ มาช่วย เช่น การที่ตํารวจนิยมให้พยานชี้ตัวผู้ต้องสงสัยจากภาพถ่ายหรือสเก็ตภาพให้พยานดู เป็นต้น

6 ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการลืม

(1) การไม่ได้ลงรหัส

(2) ลงรหัสข้อมูลไว้แต่ไม่ครบถ้วน

(3) ถูกรบกวนด้วยข้อมูลใหม่

(4) เกิดการเก็บกด

(5) ข้อมูลเสื่อมสลายตามกาลเวลา

ตอบ 2 หน้า 204 205 สาเหตุของการลืม มีหลายประการ ได้แก่

1 การไม่ได้ลงรหัส

2 การเสื่อมสลายตามกาลเวลาเพราะการไม่ได้ใช้

3 การลืมเพราะขึ้นอยู่กับสิ่งชี้แนะ

4 การถูกรบกวนด้วยข้อมูลใหม่

5 การเก็บกด

7 เมื่อคิดเกี่ยวกับทะเล ก็ได้กลิ่นไอเค็มและได้ยินเสียงคลื่นกระทบฝั่ง ตรงกับหน่วยพื้นฐานความคิดข้อใด

(1) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ

(2) การหยั่งเห็นคําตอบทันที

(3) จินตภาพ

(4) มโนทัศน์

(5) ภาษา

ตอบ 3 หน้า 206 จินตภาพ (Images) หมายถึง ภาพในใจ รวมถึงความรู้สึกสัมผัสอื่น ๆ ด้วย เช่น เมื่อคิดเกี่ยวกับทะเลก็จะเห็นสีฟ้าครามสดใส ได้กลิ่นไอเค็ม และได้ยินเสียงคลื่นกระทบฝั่ง ฯลฯ

8 ข้อใดไม่จําเป็นต้องเกิดขึ้นในขณะที่บุคคลกําลังคิด

(1) มีภาพตรงหน้า

(2) มีการใช้ภาษา

(3) มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ

(4) มีภาพในใจ

(5) มีมโนทัศน์

ตอบ 1 หน้า 206 207 ในขณะที่บุคคลกําลังคิดจะต้องเกิดหน่วยพื้นฐานของความคิด ประกอบด้วย จินตภาพ (มีภาพในใจ) มีการตอบสนอง การเคลื่อนไหว) ของกล้ามเนื้อ มีมโนทัศน์ และมีการใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์

9 การที่เราสามารถแก้ปัญหาโจทย์สถิติ เพราะเราจํากฎการคํานวณและสูตรสถิตินั้นได้ เป็นการแก้ปัญหาลักษณะใด

(1) แก้ปัญหาโดยทําความเข้าใจ

(2) แก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นคําตอบในทันที

(3) แก้ปัญหาโดยใช้เครื่องจักร

(4) แก้ปัญหาจากการคิดคําตอบที่เป็นไปได้หลาย ๆ คําตอบ

(5) แก้ปัญหาจากการคิดคุณสมบัติทั่วไปของคําตอบที่ถูก

ตอบ 3 หน้า 209 การแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องจักร (Mechanical Solution) อาจทําโดยการลองผิดลองถูก หรือการท่องจํา และมีการนําคอมพิวเตอร์มาใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งการแก้ปัญหาโดยการท่องจํา หมายถึง การแก้ปัญหาได้เนื่องจากกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เราได้เรียนรู้และท่องจําไว้แล้ว เช่น เราสามารถแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์หรือสถิติได้ เพราะเราจํากฏการคํานวณและสูตรต่าง ๆ ได้มาก ฯลฯ

10 ตาลสามารถเปลี่ยนวิธีคิดจากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่งได้โดยไม่ยึดติดกับความคิดเดิม ๆ จัดว่าเป็น คุณสมบัติใดของความคิดสร้างสรรค์

(1) ความริเริ่ม

(2) ความมีตรรกะ

(3) การแสวงหาใคร่รู้

(4) ความคล่อง

(5) ความยืดหยุ่น

ตอบ 5 หน้า 211 ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวข้องกับวิธีการคิดเชิงกลไก การมองเห็นคําตอบได้ทันทีหรือขึ้นอยู่กับความเข้าใจ อาจอยู่ในรูปการอุปนัยหรือการนิรนัย อาจเป็นเชิงตรรกะหรือปราศจากเหตุผล รวมทั้งความคล่อง ความยืดหยุ่น และความคิดริเริ่ม ความคิดยืดหยุ่นอาจดูได้จากจํานวนครั้งที่เปลี่ยนวิธีคิดจากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่งได้โดยไม่ยึดติดกับความคิดเดิม ๆ

11 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการเรียนรู้

(1) สัญชาตญาณ

(2) สิ่งเสริมแรง

(3) การลงโทษ

(4) ประสาทสัมผัส

(5) ประสบการณ์ในอดีต

ตอบ 1 หน้า 167 168, (คําบรรยาย) องค์ประกอบของการเรียนรู้ ได้แก่ ประสบการณ์ในอดีตสภาพจิตใจในปัจจุบัน ประสาทสัมผัส การรับรู้ สิ่งเร้า สิ่งเสริมแรง การให้รางวัล การลงโทษและความคิดความเข้าใจ ฯลฯ

12 บุคคลใดค้นพบการเรียนรู้ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

(1) อีวาน พาฟลอฟ

(2) บี.เอฟ. สกินเนอร์

(3) แบนดูรา

(4) วัตสัน

(5) โรเจอร์

ตอบ 1 หน้า 170 อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย ได้ค้นพบการเรียนรู้ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก โดยเขาได้ทําการทดลองวางผงเนื้อลงบนสิ้นสุนัข สุนัขก็จะหลั่งน้ำลายออกมา ซึ่งเป็นการตอบสนองแบบปฏิกิริยาสะท้อน (เป็นไปโดยอัตโนมัติ) ต่อมาเขาสั่นกระดิ่งและให้ผงเนื้อทันที สุนัขก็จะน้ำลายไหลออกมา สุดท้ายเขาสั่นกระดิ่งเพียงอย่างเดียวก็ทําให้สุนัขน้ำลายไหลได้

13 ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ภาวะการหยุดยั้ง (Extinction) เกิดขึ้นเมื่อไร

(1) การให้ US ก่อนการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง

(2) การไม่ให้ UR หลังการให้ US หลาย ๆ ครั้ง

(3) การไม่ให้ US หลังการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง

(4) การให้ US หลังการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง

(5) การให้ CS ก่อนการให้ US หลาย ๆ ครั้ง

ตอบ 3 หน้า 171 172 ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ภาวะการหยุดยั้ง (Extinction) จะเกิดขึ้นเมื่อไม่ให้ US หลังการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง (US : Unconditioned Stimulus คือ สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข เช่น ผงเนื้อ น้ำมะนาว ฯลฯ, CS : Conditioned Stimulus คือ สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหรือสิ่งเร้าที่เรียนรู้ เช่น เสียงกระดิ่ง ฯลฯ)

14 ข้อใดเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้

(1) การหายใจของมนุษย์

(2) การว่ายน้ำของปลา

(3) การร้องไห้ของเด็กแรกเกิด

(4) การปรบมือของเด็กเมื่อดีใจ

(5) การชักใยของแมงมุม

ตอบ 4 หน้า 169, (คําบรรยาย) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรมอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต แต่พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ หากเกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติที่มีมาแต่กําเนิด เช่น การกะพริบตาเมื่อแสงจ้า การไอหรือจาม ฯลฯ และเกิดจากสัญชาตญาณอันเป็นลักษณะเฉพาะ ของเผ่าพันธุ์ เช่น การหายใจของมนุษย์ เด็กทารกดูดนมจากเต้ามารดา การก้าวเดินได้ครั้งแรกการยืนและเดินสีขาของสุนัข การว่ายน้ำของปลา การชักใยของแมงมุม ฯลฯ

15 การโฆษณายาสีฟันโดยใช้ทันตแพทย์เป็นผู้แนะนําผลิตภัณฑ์ (Presenter) เพื่อโน้มน้าวใจผู้บริโภค อาศัยการเรียนรู้แบบใด

(1) การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

(2) การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา

(3) การเรียนรู้จากความคิดความเข้าใจ

(4) สรุปความเหมือน

(5) การปรับพฤติกรรม

ตอบ 3 หน้า 183, 189 การเรียนรู้จากความคิดความเข้าใจ หมายถึง การเข้าใจ การรู้ การคาดหมาย การคาดหวัง และการใช้กระบวนการทางจิตระดับสูงอื่น ๆ นอกจากนี้ยังครอบคลุมไปถึงความจํา ความคิด การแก้ปัญหา รวมทั้งการใช้มโนทัศน์และภาษาในการเรียนรู้ โดยในสถานการณ์การ เรียนรู้ทั้งมนุษย์และสัตว์จะสร้างแผนที่เกี่ยวกับความคิดความเข้าใจซึ่งเป็นการแสดงความสัมพันธ์ แทนตัวขึ้นภายในความคิด

16 การฝึกสุนัขให้ยกขาเมื่อต้องการอาหาร แสดงถึงลักษณะการเรียนรู้แบบใด

(1) การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น

(2) การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา

(3) การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

(4) การเรียนรู้โดยบังเอิญ

(5) การเรียนรู้แบบจดจํา

ตอบ 2 หน้า 174 การวางเงื่อนไขแบบการกระทําพัฒนาขึ้นโดย บี.เอฟ. สกินเนอร์ (B.F. Skinner) ซึ่งเชื่อว่า การตอบสนองของอินทรีย์นั้น จะขึ้นอยู่กับความพร้อมที่ต้องการจะทําพฤติกรรม เป็นการตอบสนองที่ควบคุมได้ และมีหลักการเรียนรู้อยู่ว่าพฤติกรรมใดที่ทําแล้วได้รับรางวัล ก็มีแนวโน้มว่าจะกระทําพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก เช่น การฝึกสุนัขให้ดมกลิ่นหายาเสพติดหรือฝึกให้ยกขาเมื่อต้องการอาหาร หรือฝึกให้กระโดดลอดห่วง โดยมีการให้รางวัลแก่สุนัข ฯลฯ

17 มนุษย์สามารถควบคุมการทํางานของร่างกายที่เคยเชื่อว่าเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนืออํานาจจิตใจได้ ลักษณะเช่นนี้ ใช้หลักการเรียนรู้แบบใด

(1) การเรียนรู้แฝง

(2) การเรียนรู้เพื่อจะเรียน

(3) การเรียนรู้ทักษะ

(4) การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา

(5) การป้อนกลับทางชีวะ

ตอบ 5 หน้า 185 นักจิตวิทยาพบว่ามนุษย์สามารถควบคุมการทํางานของร่างกายในส่วนที่เคยเชื่อว่าเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนืออํานาจจิตใจได้ โดยใช้หลักการเรียนรู้แบบการป้อนกลับทางชีวะ ซึ่งใช้หลักคล้าย ๆ กับโยคะและพุทธศาสนา ทั้งนี้การทํางานของร่างกายเกือบทุกอย่าง สามารถอยู่ในอํานาจของจิตใจได้ถ้าให้การป้อนกลับหรือรางวัลตามหลักการเปลี่ยนแปลงการทํางานของส่วนนั้น

18 ข้อใดเป็น “สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ”

(1) คะแนนสอบ

(2) ความรัก

(3) อาหาร

(4) การยอมรับ

(5) ความสนใจ

ตอบ 3 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ (Primary Reinforcers) เป็นสิ่งเสริมแรงที่เป็นธรรมชาติไม่ต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทางชีววิทยาที่เพิ่มความพึงพอใจและลดความไม่พึงพอใจลงหรือสนองความต้องการทางกายภาพได้ เช่น น้ำ อาหาร ความต้องการทางเพศ เป็นต้น

19 การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) คือสิ่งใด

(1) ให้รางวัล

(2) ลงโทษ

(3) เพิกเฉย

(4) ยับยั้ง

(5) หยุด

ตอบ 1 หน้า 179 การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง การที่ความพอใจหรือรางวัลเกิดขึ้นเมื่อกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป เช่น การให้ขนมแก่เด็กเมื่อเด็กทําความดี ฯลฯ ส่วนการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง การทําให้ความไม่สุขสบายหมดไป เช่น การกินยาแก้ปวดเพื่อให้หายจากอาการปวดศีรษะ ฯลฯ

20 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการนําการลงโทษมาใช้ในการเรียนรู้

(1) การเสริมแรง เพื่อเพิ่มกําลังในการตอบสนอง

(2) การไม่เสริมแรง เพื่อระงับการตอบสนอง

(3) การลงโทษ เพื่อการเลิกตอบสนอง

(4) การสร้างให้เกิดความเข้าใจ

(5) การเพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ

ตอบ 4 หน้า 182 องค์ประกอบของการนำการลงโทษมาใช้ในการเรียนรู้ มี 3 ประการ คือ

1 การเสริมแรง เพื่อเพิ่มกําลังในการตอบสนอง

2 การไม่เสริมแรง เพื่อระงับการตอบสนอง (เช่น การเพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ)

3 การลงโทษ เพื่อการเลิกตอบสนอง

21 ข้อใดไม่สอดคล้องกับกฎของเมนเดล

(1) ยีนส์ถูกส่งข้ามจากคนช่วงอายุหนึ่งไปยังคนอีกช่วงอายุหนึ่ง

(2) ร่างกายของคนเรามียีนส์ 400,000 ชนิด

(3) ยีนส์ที่มีลักษณะเด่น และยีนส์ที่มีลักษณะด้อย

(4) คนเป็นโรคเบาหวาน

(5) ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน

ตอบ 2 หน้า 122 – 124, 128 “กฎของเมนเดล” สามารถอธิบายการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ดังนี้

1 ยีนส์จะถูกส่งข้ามจากคนช่วงอายุหนึ่งไปยังคนอีกช่วงอายุหนึ่ง

2 ร่างกายของคนเราจะมียีนส์อยู่ประมาณ 40,000 ชนิด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ยีนส์ที่มีลักษณะเด่น และยีนส์ที่มีลักษณะด้อย

3 ยีนส์จะถ่ายทอดคุณลักษณะจากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน เช่น รูปร่าง หน้าตา สีผม สีผิว รวมทั้งกลุ่มเลือด และโรคบางอย่าง (เบาหวาน ตาบอดสี) ฯลฯ

22 ข้อใดไม่ใช่ฝาแฝดเหมือน

(1) สเปิร์ม 1 ไข่ 1

(2) สเปิร์ม 1 ไข่ 2

(3) ฝาแฝดเพศเดียวกัน

(4) มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกัน

(5) หน้าตาเหมือนกัน

ตอบ 2 หน้า 125 ฝาแฝดเหมือนหรือแฝดแท้ (Identical Twins) เกิดจากไข่ 1 ใบ ผสมกับสเปิร์มหรืออสุจิ 1 ตัว แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน 2 ตัว (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิผิดพลาด)ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน มีหน้าตาเหมือนกัน มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกัน

23 ยีนส์มีกี่โครโมโซม

(1) 45

(2) 46

(3) 47

(4) 48

(5) 49

ตอบ 2 หน้า 125 ยีนส์อันเป็นลักษณะของบรรพบุรุษจะถูกถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานโดยผ่านทางโครโมโซมซึ่งบุคคลคนหนึ่งจะมีโครโมโซมอยู่ในตัว 46 โครโมโซม หรือ 23 คู่ โดยโครโมโซมเหล่านี้บุคคลจะได้รับมาจากพ่อ 23 โครโมโซม และจากแม่ 23 โครโมโซม

24 ข้อใดไม่สอดคล้องกับบุคคลที่มีโครโมโซมเป็น XXY

(1) เพศชายมีหน้าอก

(2) อวัยวะเพศไม่ทํางาน

(3) เป็นโรคปัญญาอ่อน

(4) เพศหญิงมีลักษณะเป็นชาย

(5) มีโครโมโซม 46 ตัว

ตอบ 4 หน้า 128 บุคคลที่มีโครโมโซมเพศเป็น XXY จะเกิดในเพศชาย ซึ่งจะทําให้กลายเป็นชายที่มีลักษณะของเพศหญิง มีหน้าอกใหญ่ และอวัยวะเพศชายไม่ทํางาน เนื่องจากต่อมฮอร์โมนผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอ และอาจกลายเป็นโรคปัญญาอ่อนชนิด Mongolism ได้

25 คนที่มีลักษณะ Endomorphy จะมีลักษณะอารมณ์เป็นอย่างไร

(1) อารมณ์ดี

(2) โมโหยาก

(3) มีน้ำใจเป็นนักกีฬา

(4) มีอารมณ์มั่นคง

(5) ดื้อดึง

ตอบ 1 หน้า 129, 295 เชลดอน (Sheldon) แบ่งรูปร่างของบุคคลออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1 รูปร่างอ้วนกลม (Endomorphy) มักจะมีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน รักความสบาย โกรธง่ายหายเร็ว ขึ้น้อยใจ พูดมาก ขี้บ่น คุยโอ่ และกินจุ ฯลฯ

2 รูปร่างผอมเกร็ง (Ectomorphy) มักจะมีนิสัยขี้อาย เฉย ๆ รักสันโดษ เก็บอารมณ์เก่ง โมโหยากแต่หายช้า ไม่กล้าแสดงออก พูดน้อย ดื้อดึง และเอาแต่ใจตัวเอง ฯลฯ

3 รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก รักกิจกรรมกลางแจ้งเป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ฯลฯ

26 สิ่งที่คุณแม่ไม่ควรรับประทานในระหว่างตั้งครรภ์

(1) ทานอาหารที่มีไขมัน

(2) ทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต

(3) ทานอาหารหมักดอง

(4) ทานอาหารที่มีโปรตีน

(5) รับประทานวิตามินซี

ตอบ 3 หน้า 132 สิ่งที่มารดาควรบริโภคในระยะตั้งครรภ์ ได้แก่ อาหารที่มีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรตวิตามินบี 6 ปี 12 ซี ดี อี และเค ส่วนสิ่งที่ต้องห้ามสําหรับผู้มีครรภ์ ได้แก่ บุหรี่ แอลกอฮอล์และเครื่องหมักดอง

27 จากการศึกษาของโลวิงเจอร์ (Loevinger) พบว่า อิทธิพลของสติปัญญากับสิ่งแวดล้อมมีกี่เปอร์เซ็นต์

(1) สติปัญญา 50% สิ่งแวดล้อม 50%

(2) สติปัญญา 25% สิ่งแวดล้อม 75%

(3) สติปัญญา 75% สิ่งแวดล้อม 25%

(4) สติปัญญา 60% สิ่งแวดล้อม 40%

(5) สติปัญญา 40% สิ่งแวดล้อม 50%

ตอบ 3 หน้า 137 จากการศึกษาของโลวิงเจอร์ (Loewinger) พบว่า พันธุกรรมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา 759% และสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพล 25% นอกจากนี้ในด้านเกี่ยวกับพัฒนาการด้านร่างกาย โดยเฉพาะรูปร่างและหน้าตามีผลมาจากพันธุกรรมมากกว่าสิ่งแวดล้อม

28 ถ้าทารกมีการติดเชื้อหรือขาดออกซิเจนจะเกิดอะไรขึ้น

(1) ปากแหว่ง

(2) แขนขาไม่มี

(3) เป็นมะเร็งในเม็ดเลือด

(4) มีความพิการในระบบอวัยวะสัมผัส

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 132 หากมีการติดเชื้อหรือขาดออกซิเจน อาจจะทําให้เด็กเกิดมาจมูกโหว่ ปากแหว่ง ตาบอด แขนขาไม่มี มีความพิการในระบบอวัยวะรับสัมผัส เป็นมะเร็งในเม็ดเลือด และอาจทําให้สติปัญญาต่ำ

29 สิ่งใดที่ทําให้ยืนส์ที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

(1) การใช้รังสี X-Ray

(2) การใช้ยา

(3) การเกิดอุบัติเหตุ

(4) การเกิดโรคไทรอยด์

(5) โลหิต

ตอบ 3 หน้า 124, 132 ในสภาพการณ์ที่เป็นปกติโดยทั่วไป ยีนส์ที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์เรานั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่อาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้จากการใช้รังสีเอกซเรย์ (X-Ray) หรือการใช้ยาบางชนิด รวมทั้งการเกิดโรคจากต่อมไทรอยด์และระบบเลือดของมารดา

30 ข้อใดอธิบายสภาวะของ Rh Factor ผิด

(1) ระบบเลือดของมารดาเข้าไปทําลายเม็ดเลือดแดงของตัวอ่อน

(2) มีอาการแท้ง

(3) เกิดการต่อต้านระหว่างเลือดของมารดา

(4) เลือดของมารดาจะทําลายเลือดของลูก

(5) ระบบการทํางานจากแม่สู่ลูก

ตอบ 5 สภาวะของ Rh Factor หมายถึง การที่ระบบเลือดของมารดามีสารบางอย่างที่เข้าไปทําลายเม็ดเลือดแดงของตัวอ่อนในครรภ์ ทําให้เกิดอาการแท้งหรือตายหลังคลอดได้ สภาวะนี้ จะมี 2 ประเภท คือ ประเภทบวกและประเภทลบ ซึ่งถ้าลูกมีสภาวะของเลือดตรงข้ามกับมารดา (เลือดบิดาเป็น Rh บวก ซึ่งเป็นลักษณะเด่น แต่เลือดมารดาเป็น Rh ลบ ซึ่งเป็นลักษณะด้อย ลูกจะมี Rh บวก ตามลักษณะเด่นซึ่งตรงข้ามกับมารดา) จะทําให้เกิดการต่อต้านขึ้น โดยเลือด ของมารดาจะก่อปฏิกิริยาทําลายเลือดของลูก

31 สรีรจิตวิทยา เป็นการศึกษาในเรื่องใด

(1) การศึกษาถึงแบบแผนพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงที่ของบุคคลที่แสดงออกให้เห็นในสถานการณ์ต่าง ๆ

(2) การศึกษาถึงการทํางานของสมองและระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมพฤติกรรม

(3) การศึกษาถึงกระบวนการที่ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าจากภายนอก

(4) การศึกษาถึงกระบวนการแปลความหมายสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัสต่าง ๆ (5) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรอันเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต

ตอบ 2 หน้า 25 สรีรจิตวิทยา เป็นการศึกษาถึงการทํางานของสมองและระบบประสาทที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการควบคุมพฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่มีต่อสภาวะแวดล้อม

32 กลไกของระบบประสาทใด ที่ทําหน้าที่รับสัมผัสทั้งหลาย แปลงข้อมูลเป็นพลังงานไฟฟ้าหรือสารเคมีและส่งต่อไปยังระบบประสาท

(1) กลไกแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง

(2) กลไกการรับรู้

(3) กลไกการเชื่อมโยงทางระบบประสาท

(4) กลไกการรับสิ่งเร้า

(5) วงจรปฏิกิริยาสะท้อน

ตอบ 4 หน้า 31 กลไกการรับสิ่งเร้า (Receptors) คือ อวัยวะรับสัมผัสทั้งหลาย ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง ซึ่งกลไกนี้จะทําหน้าที่รับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมแล้วแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้าหรือสารเคมี และส่งต่อไปยังระบบประสาท

33 กรณีใดไม่ได้เกิดจากวงจรปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex Action)

(1) เปิดพัดลมเมื่อร้อน

(2) ชักมือออกเมื่อโดนแก้วที่ร้อน

(3) ถอยเท้าหนีเมื่อเหยียบก้นบุหรี่

(4) กะพริบตาเมื่อลมพัด

(5) ดึงมือออกเมื่อถูกประตูหนีบ

ตอบ 1 หน้า 31 วงจรปฏิกิริยาสะท้อน (Simple Reflex Action) ถือว่าเป็นวงจรที่เล็กที่สุดของกลไกการตอบสนอง ซึ่งเป็นการแสดงออกทางร่างกายโดยอัตโนมัติโดยที่สมองไม่ต้องสั่งงาน แต่วงจรของกระแสประสาทจะผ่านเฉพาะไขสันหลังเท่านั้น คือ ทํางานภายใต้การสั่งการของ ไขสันหลัง เช่น การกะพริบตาเมื่อถูกลมพัด การถอยเท้าหนีเมื่อเหยียบก้นบุหรี่ การชักมือออกเมื่อโดนแก้วที่ร้อน การดึงมือออกเมื่อถูกประตูหนีบ ฯลฯ

34 ระบบประสาทใด ทําหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการและศูนย์ควบคุมการทํางานของร่างกาย

(1) ระบบประสาทส่วนปลาย

(2) ระบบประสาทส่วนกลาง

(3) ระบบประสาทนําคําสั่งทั่วไป

(4) ระบบประสาทซิมพาเธติก

(5) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก

ตอบ 2 หน้า 27, 34, 41 – 43, 52 – 53 ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่สําคัญที่สุดของระบบประสาท โดยทําหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการและศูนย์ควนคุมการทํางานของร่างกายและจิตใจ กล่าวคือ ทําให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ ควบคุมการหายใจและการเต้นของหัวใจ การไหลเวียนของโลหิต การทํางานของต่อมไร้ท่อ การปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม การควบคุมอารมณ์ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางของความรู้สึกนึกคิด สติปัญญา ความคิดและความรัก ตลอดจนพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์

35 ระบบประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic Nervous System) ทําหน้าที่อะไร

(1) ควบคุมสมดุลระบบพลังงานของร่างกาย

(2) ผลิตฮอร์โมน

(3) ผลิตของเหลวส่งตามท่อไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

(4) ทําให้ร่างกายกลับคืนสู่ภาวะสงบและพักผ่อนหลังอาการตกใจ

(5) สั่งการให้ร่างกายตื่นตัว เพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น

ตอบ 5 หน้า 34, 261 ระบบประสาทซิมพาเธติก เป็นระบบที่ไปกระตุ้นการทํางานของร่างกายในกรณีฉุกเฉิน ทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น เช่น เมื่อบุคคลเผชิญหน้ากับสิ่งเร้าที่ทําให้ตกใจกลัวและช็อก ทําให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย มีการทํางานมากขึ้น เกิดการตื่นตัว มีการเตรียมพร้อมของชีพจร หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ผนังของลําไส้หดตัวน้อยลง ม่านตาขยายกว้าง เหงื่อออกมาก และขนลุก ฯลฯ

36 ไฮโปธาลามัสไม่ได้ทําหน้าที่ในเรื่องใด

(1) ควบคุมการหลับการตื่น

(2) ควบคุมความหิว ความกระหาย

(3) ควบคุมกล้ามเนื้อลาย

(4) ควบคุมการทํางานของระบบประสาทอัตโนมัติ

(5) ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

ตอบ 3 หน้า 42, 53, (คําบรรยาย) ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) เป็นส่วนของสมองที่มีขนาดเล็ก แต่ทํางานมีอิทธิพลมาก โดยจะทําหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเพื่อให้เกิดความสมดุลภายในร่างกาย ควบคุมการหลับ การตื่น ความหิว ความกระหาย ความดันโลหิต การสืบพันธุ์ อุณหภูมิในร่างกาย การทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติ

37 ส่วนใดเกี่ยวข้องกับการทํางานของระบบประสาทน้อยที่สุด

(1) เซลล์ประสาท

(2) สารสื่อประสาท

(3) หัวใจ

(4) ไขสันหลัง

(5) สมอง ตอบ 3 หน้า 32, 34, 38, 52 ระบบประสาท เป็นระบบการทํางานที่สําคัญที่สุดของร่างกายประกอบด้วย สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทจํานวนมาก โดยภายในเส้นประสาท ประกอบด้วย เซลล์ประสาท กระแสประสาท และสารสื่อประสาท (หัวใจเป็นกล้ามเนื้อที่ทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจและเป็นไปโดยอัตโนมัติ)

38 เดนไดรท์ ในเซลล์ประสาทนิวโรน ทําหน้าที่ในข้อใด

(1) ทําหน้าที่รับและส่งกระแสประสาทได้ในเวลาเดียวกัน

(2) การนํากระแสประสาทเข้ามาสู่ตัวเซลล์

(3) การนํากระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ไปสู่เซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่ง

(4) ทําหน้าที่กระตุ้นการทํางานของเซลล์ประสาทตัวถัดไป

(5) ทําหน้าที่ยับยั้งการทํางานของเซลล์ประสาทตัวถัดไป

ตอบ 2 หน้า 37 เดนไดรท์ (Dendrite) ในเซลล์ประสาทนิวโรน จะทําหน้าที่เกี่ยวกับการนํากระแสประสาทเข้ามาสู่ตัวเซลล์ประสาท

39 กล้ามเนื้อส่วนใดที่ทํางานนอกอํานาจจิตใจ

(1) กล้ามเนื้อเรียบ

(2) กล้ามเนื้อลาย

(3) กล้ามเนื้อหัวใจ

(4) กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อลาย

(5) กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อหัวใจ

ตอบ 5 หน้า 30, 32, 52 ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) จะทําหน้าที่ในการทําให้ร่างกายเคลื่อนไหว ประกอบด้วย กล้ามเนื้อลาย (ทํางานภายใต้อํานาจจิตใจ), กล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจ (ทํางานนอกอํานาจจิตใจ)

40 ข้อใดไม่ใช่การทําหน้าที่ของต่อมไร้ท่อ

(1) ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย

(2) ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่

(3) ควบคุมระบบสืบพันธุ์

(4) ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

(5) ควบคุมระบบพลังงานของร่างกาย

ตอบ 4 หน้า 45 ต่อมไร้ท่อ เป็นต่อมที่ไม่มีท่อสําหรับให้สารเคมีที่ต่อมผลิตได้ผ่านไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งสารเคมีที่ผลิตโดยต่อมนี้เรียกว่า “ฮอร์โมน” ซึ่งมีความสําคัญต่อร่างกายและ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยหน้าที่สําคัญของฮอร์โมน ได้แก่ ควบคุม ระบบพลังงานของร่างกาย ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งควบคุมระบบสืบพันธุ์และต่อมน้ำนม

41 สิ่งใดไม่ใช่องค์ประกอบของการรับรู้โดยตา

(1) Lens

(2) Cornea

(3) Eye Lid

(4) Papillae

(5) Fovea

ตอบ 4 หน้า 61, (คําบรรยาย) องค์ประกอบของการรับรู้โดยตา การมองเห็น) ได้แก่ เปลือกตาหรือหนังตา (Eye Lid), กระจกตาหรือคอร์เนีย (Cornea), แก้วตาหรือเลนส์ (Lens) ม่านตา (Iris), รูม่านตาหรือรูแสงหรือช่องตาดํา (Pupil), จอตาหรือเรตินา (Retina), โฟเวีย (Fovea), รอดส์ (Rods) และโคนส์ (Cones) ฯลฯ

42 ข้อใดคือความแตกต่างระหว่างการสัมผัสและการรับรู้

(1) การรับรู้ไม่จําเป็นต้องอาศัยการรับสัมผัส

(2) การสัมผัสเป็นกระบวนการแปลความหมายของการรับรู้

(3) การรับรู้เป็นกระบวนการแปลความหมายของการสัมผัส

(4) การรับรู้ต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ แต่การรับสัมผัสไม่ต้อง

(5) การรับสัมผัสต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ แต่การรับรู้ไม่ต้อง

ตอบ 3 หน้า 57, 60 ความแตกต่างระหว่างการสัมผัสและการรับรู้ คือ การสัมผัสเป็นกระบวนการที่ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าจากภายนอกมาสู่ระบบประสาทและเปลี่ยนเป็นการรับรู้ ส่วนการรับรู้ เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากการสัมผัส เป็นกระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัสต่าง ๆ

43 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับรอดส์และโคนส์

(1) รอดส์ทําหน้าที่รับแสงขาวดํา ส่วนโคนส์ทําหน้าที่รับแสงที่เป็นสี

(2) รอดส์ทําหน้าที่รับแสงที่เป็นสี ส่วนโคนส์ทําหน้าที่รับแสงขาวดํา

(3) รอดส์เป็นส่วนประกอบของหูชั้นนอก ส่วนโคนส์เป็นส่วนประกอบของหูชั้นใน

(4) รอดส์และโคนส์ สามารถทําให้การรับรู้รสชาติและกลิ่นเปลี่ยนไปได้

(5) รอดส์และโคนส์ ทําหน้าที่รักษาความสมดุลภายในร่างกาย

ตอบ 1 หน้า 61 ที่ผนังของเรตินา (Retina) จะมีเซลล์ประสาทอยู่ 2 ชนิด คือ

1 รอดส์ (Rods) มีลักษณะเป็นแท่งยาว และไวต่อแสงขาวดํา จึงเป็นเซลล์ที่รับแสงสลัวในเวลากลางคืน

2 โคนส์ (Cones) มีลักษณะสั้น เป็นรูปกรวย และไวต่อแสงที่เป็นสี ช่วยทําให้รับภาพสีได้ดีจึงเป็นเซลล์ที่รับแสงจ้าในเวลากลางวัน ดังนั้นคนตาบอดสีจึงไม่มีโคนส์อยู่ที่บริเวณเรตินา

44 ข้อใดไม่ใช่ปรากฎการณ์คงที่

(1) ความคงที่ของสี

(2) ความคงที่ของขนาด

(3) ความคงที่ของรูปร่าง

(4) ความคงที่ของแสง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 71 – 72 ปรากฏการณ์คงที่ เป็นการรับรู้เกี่ยวกับการเห็น กล่าวคือ การที่ตาเราเห็นเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของวัตถุ แต่ความเข้าใจในการรับรู้ยังอยู่ในสภาพเดิม ซึ่งมี 3 ชนิด ได้แก่ การคงที่ของสี ความคงที่ของขนาด และความคงที่ของรูปร่าง

45 แนวโน้มที่จะรับรู้วัตถุที่มีความคล้ายคลึงกันเป็นกลุ่มเดียวกัน

(1) Closure

(2) Commonfate

(3) Similarity

(4) Continuity

(5) Proximity

ตอบ 3 หน้า 75 ความคล้ายคลึงกัน (Similarity) คือ แนวโน้มที่คนเรามักจะรับรู้วัตถุหรือสิ่งต่าง ๆที่มีความคล้ายคลึงกันเป็นกลุ่มเป็นพวกหรือเป็นหมวดหมู่เดียวกันตามลักษณะที่ปรากฏ เช่น รูปร่าง สัณฐาน หรือสี ฯลฯ

46 การรับรู้แบบอภิธรรมดาที่เรียกว่า โทรจิต (Telepathy) เป็นการรับรู้อย่างไร

(1) การเห็นโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทางตา

(2) การเดินทางไปปรากฏกายในที่อื่นโดยไม่ต้องใช้พาหนะใด ๆ

(3) การล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

(4) การทําให้วัตถุหักงอโดยไม่ต้องใช้กายสัมผัส

(5) การล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นโดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น

ตอบ 5 หน้า 79 ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น

2 ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึ่งประสาทสัมผัส

3 การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

47 ระดับอุณหภูมิเท่าไรที่จะทําให้มนุษย์รับรู้ถึงความรู้สึกร้อนหรือความรู้สึกเย็น

(1) สูงหรือต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส

(2) สูงหรือต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส

(3) สูงหรือต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส

(4) สูงหรือต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส

(5) สูงหรือต่ำกว่า 45 องศาเซลเซียส

ตอบ 2 หน้า 67 ความรู้สึกร้อนหรือความรู้สึกเย็นเกิดจากการที่ประสาทผิวหนังอบอุ่นและเย็นได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา ซึ่งถ้าสิ่งที่มากระตุ้นมีอุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส จะทําให้เรารู้สึกร้อน แต่ถ้ามีอุณหภูมิต่ำกว่านี้จะทําให้เรารู้สึกเย็น

48 มนุษย์มีความไวต่อคลื่นเสียงในช่วงความถี่ระดับใด

(1) 1 – 200 Hz

(2) 2 – 500 Hz

(3) 10 – 1,000 Hz

(4) 16 – 20,000 Hz

(5) 1,000 – 1,000,000 Hz

ตอบ 4 หน้า 65 ปกติหูของมนุษย์จะมีความไวต่อเสียงที่มีความถี่ระหว่าง 16 – 20,000 Hz แต่สัตว์บางชนิด เช่น ค้างคาว หรือปลาโลมา จะรับเสียงที่มีความถี่สูงกว่านี้ได้

49 ตามที่เฮนนิ่ง (Henning) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการรับกลิ่นของมนุษย์ ได้แบ่งกลิ่นเป็นกี่ชนิด

(1) 2 ชนิด คือ กลิ่นหอมและกลิ่นเหม็น

(2) 3 ชนิด คือ กลิ่นที่พึงพอใจ กลิ่นที่ไม่พึงพอใจ และกลิ่นที่ผ่อนคลาย

(3) 4 ชนิด คือ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นไหม้ กลิ่นเครื่องเทศ และกลิ่นผลไม้

(4) 5 ชนิด คือ กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น กลิ่นที่พึงพอใจ กลิ่นที่ไม่พึงพอใจ และกลิ่นที่ผ่อนคลาย

(5) 6 ชนิด คือ กลิ่นเครื่องเทศ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นยาง กลิ่นเหม็น กลิ่นไหม้ ตอบ 5 หน้า 68 เฮนนิ่ง (Hanning) นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ได้ทําการศึกษาและแบ่งกลิ่นออกเป็น 6 ชนิด คือ กลิ่นเครื่องเทศ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นยาง กลิ่นเหม็น และกลิ่นไหม้

50 ข้อใดคือความหมายของสัมปชัญญะ

(1) การมีสติแน่วแน่

(2) การมีสมาธิแน่วแน่

(3) การที่จิตสํานึกไม่ทํางาน

(4) การรู้ตัวทั่วพร้อมว่ากําลังทํา พูด คิด หรือมีพฤติกรรมใดอยู่

(5) การรู้ตัวทั่วพร้อมว่าตนเองและผู้อื่นกําลังทํา พูด คิด หรือมีพฤติกรรมใดอยู่

ตอบ 4 หน้า 89 สัมปชัญญะ หมายถึง การรู้ตัวทั่วพร้อมว่าตนเองกําลังทํา พูด คิด หรือมีพฤติกรรมใดอยู่ โดยสภาวะที่ร่างกายของบุคคล (อินทรีย์) ออกจากสัมปชัญญะหรือขาดสัมปชัญญะ ได้แก่ การนอนหลับ การหมดสติ การสะกดจิต การใช้สารเสพติด การดื่มสุรา ฯลฯ

51 คลื่นใดที่เครื่อง EEG ไม่สามารถตรวจพบในขณะที่เราหลับได้

(1) บีตา

(2) แอลฟา

(3) แกมมา

(4) เดลตา

(5) ธีตา

ตอบ 1 หน้า 93 เครื่องมือตรวจวัดคลื่นสมอง (Electroencephalograph : EEG) จะสามารถตรวจวัดคลื่นสมองได้ 3 ชนิด ซึ่งเกิดขึ้นใน 2 ช่วง ดังนี้

1 ในขณะที่เราหลับจะสามารถตรวจพบ คลื่นแอลฟา (Alpha) และคลื่นเดลตา (Delta)

2 ในช่วงตื่นจะตรวจพบคลื่นบีตา (Beta)

52 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการสะกดจิต

(1) ช่วยให้ความจําของบุคคลดีขึ้น

(2) ช่วยให้เกิดการผ่อนคลายทางจิตใจ

(3) ทําให้คนธรรมดามีพลังพิเศษได้

(4) ช่วยลดความเจ็บปวดทางจิตใจ

(5) ช่วยให้เกิดความมุ่งมั่น

ตอบ 1, 3 หน้า 105, 116 ประโยชน์ของการสะกดจิต มีดังนี้

1 ช่วยให้บุคคลเกิดความมุ่งมั่นและชักจูงให้มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น แต่ไม่สามารถเปลี่ยนคนธรรมดาให้มีพลังพิเศษได้

2 ช่วยโน้มน้าวจิตใจของบุคคลให้สนใจที่จะจดจํา แต่ไม่สามารถช่วยให้ความจําของบุคคลดีขึ้น

3 ในทางการแพทย์ สามารถช่วยลดความเจ็บปวดของคนไข้ได้

4 ช่วยให้บุคคลเกิดการผ่อนคลายทางจิตใจ

53 ข้อใดเป็นสภาพร่างกายในช่วงเวลาที่เกิด REM

(1) ความดันโลหิตเปลี่ยน

(2) หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ

(3) อารมณ์ไม่ปกติ

(4) กระแสไฟฟ้าบริเวณผิวหนังเพิ่ม

(5) กระแสไฟฟ้าบริเวณผิวหนังลด

ตอบ 2.3 หน้า 96 สภาพร่างกายในช่วงเวลาที่เกิด REM (ช่วงของการนอนหลับฝัน) คือ อารมณ์จะไม่ปกติ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ความดันโลหิตและการหายใจจะยังไม่เข้าที่ดีนัก และร่างกายจะมีการเคลื่อนไหวน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย

54 อาการ Jet Lag คือภาวะใดของร่างกาย

(1) ร่างกายนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ

(2) สภาวะร่างกายขาดน้ำอย่างเพียงพอ

(3) สภาวะที่แบบแผนการนอนถูกรบกวน

(4) สภาวะที่บุคคลนอนดึกมากเกินไป

(5) สภาวะที่บุคคลนอนเร็วจนเกินไป

ตอบ 3 หน้า 92 นักเดินทางที่ต้องขึ้นเครื่องบินเดินทางข้ามทวีปจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งมักจะเกิดสภาวะที่เรียกว่า Jet Lag คือ ต้องปรับตัวกับเวลาของประเทศที่เดินทางไปถึงใหม่เนื่องจากแบบแผนการนอนตามธรรมชาติถูกรบกวน

55 ยาเสพติดประเภทใดออกฤทธิ์ผสมผสาน

(1) ฝิ่น

(2) เฮโรอีน

(3) กัญชา

(4) ยาบ้า

(5) กระท่อม

ตอบ 3 หน้า 110 กัญชาจัดเป็นยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจจะกดหรือกระตุ้นหรือหลอนประสาทร่วมกัน

56 ผู้ใดเชื่อว่าความฝันเกิดจากการแสดงออกของความต้องการในระดับจิตใต้สํานึก (1) Freud

(2) Adler

(3) Jung

(4) Hopson & McCarley

(5) Roger

ตอบ 1 หน้า 97 ฟรอยด์ (Freud) เป็นนักทฤษฎีความฝันในยุคแรก โดยเขาได้อธิบายความหมายของความฝันไว้ว่า ความฝันก็คือการแสดงออกของความต้องการของบุคคลในระดับจิตใต้สํานึก

57 ระยะใดของการนอนหลับที่คลื่นสมองเริ่มปรากฏคลื่นเดลตา

(1) ระยะที่ 1

(2) ระยะที่ 2

(3) ระยะที่ 3

(4) ระยะที่ 4

(5) ระยะที่ 5

ตอบ 3 หน้า 93 จากการศึกษาพบว่าการนอนหลับในระยะที่ 3 และ 4 คลื่นสมองที่พบเรียกว่า เดลตา โดยในระยะที่ 3 จะเริ่มปรากฏคลื่นเดลตา ส่วนในระยะที่ 4 จะมีลักษณะเป็นคลื่นเดลตาล้วน ๆ

58 ข้อความใดถูกต้องที่สุดในเรื่องการนอนหลับ

(1) ระยะที่หลับลึกที่สุดมีคลื่นสมองเรียกว่า แอสฟา (Alpha)

(2) ศูนย์ของการนอนหลับจะอยู่ที่ไขสันหลัง

(3) การเคลื่อนไหวของลูกตาเกิดขึ้นในช่วงมีคลื่นสมองเรียกว่า เดลตา (Delta)

(4) การนอนไม่หลับมาเป็นเวลาหลายวันอาจทําให้เป็นโรคจิตได้

(5) ความฝันจะเกิดในช่วงของการนอนหลับที่มี REM

ตอบ 5 หน้า 91, 93, 95 ศูนย์ของการนอนหลับจะอยู่ที่ก้านสมอง โดยการนอนหลับในระยะที่ 1 จะมีคลื่นสมองที่เรียกว่า แอลฟา (Alpha) เกิดขึ้นประปราย จะเป็นช่วงที่ลูกตาของผู้นอน มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movements : REM) และความฝันจะเกิดขึ้น ในช่วงนี้ด้วย ระยะที่หลับลึกที่สุดจะมีคลื่นสมองที่เรียกว่า เดลตา (Delta) การนอนไม่หลับหรืออดนอนติดต่อกันเป็นเวลานานหลายวันอาจทําให้มีอาการทางประสาทหลอนได้

59 ข้อพิสูจน์อย่างหนึ่งที่พบว่า การฝึกสมาธิทําให้บุคคลมีการผ่อนคลายทางจิตใจ คือ

(1) ผู้ที่ฝึกสมาธินาน ๆ จะมีคลื่นสมองบีตา

(2) ผู้ที่ฝึกสมาธินาน ๆ จะมีคลื่นสมองแอลฟา

(3) ผู้ที่ฝึกสมาธินาน ๆ จะมีคลื่นสมองเดลตา

(4) ผู้ที่ฝึกสมาธิ ผิวหนังจะมีความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าสูง

(5) ผู้ที่ฝึกสมาธิ ผิวหนังจะมีความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าต่ำ

ตอบ 2. 4 หน้า 111 – 113 สมาธิ คือ ความแน่วแน่ของจิตใจ ซึ่งจะช่วยรักษาโรคที่เกิดจากจิตใจไม่สงบกังวล และเร่าร้อนได้ โดยผู้ที่ฝึกสมาธินาน ๆ มักจะมีคลื่นสมองที่เรียกว่า คลื่นแอลฟา ทั้งนี้ วอลเลสและเบนสันได้ศึกษาแล้วพบว่า การนั่งสมาธิมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาทําให้การหมุนเวียนโลหิตดีขึ้น ผิวหนังจะมีความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าสูงกว่าปกติถึง 4 เท่า

60 อารมณ์มีความสําคัญต่อเราในด้านใด

(1) ร่างกาย

(2) จิตใจ

(3) การแสดงออกทางสีหน้า

(4) การเคลื่อนไหวทางร่างกาย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 255 อารมณ์มีความสําคัญต่อชีวิตของเราทั้งในด้านร่างกายและจิตใจเช่นเดียวกับอาหารที่มีความสําคัญต่อร่างกาย สุขภาพจิตของคนเราจะดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการปรุงแต่งของอารมณ์ ชนิดต่าง ๆ แม้ว่าอารมณ์จะเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถสัมผัสและสังเกตให้เห็นได้อย่างชัดเจน แต่ก็อาจสังเกตได้จากพฤติกรรมที่มิได้แสดงออกเป็นคําพูด เช่น การแสดงออกทางสีหน้าท่าทาง และการเคลื่อนไหวทางร่างกาย ฯลฯ

61 เมื่อเกิดอารมณ์เครียด ทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในด้านใด

(1) การไหลเวียนโลหิต

(2) ระบบการย่อยอาหาร

(3) ระบบหายใจ

(4) ระบบการทํางานประสาทอัตโนมัติ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 260 261, (คําบรรยาย) เมื่อเกิดอารมณ์เครียดจะทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เช่น การทํางานของระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต ระบบการย่อยอาหาร และระดับฮอร์โมนในสมองลดต่ำลง ซึ่งจะเป็นผลทําให้การเคลื่อนไหวของร่างกายเชื่องช้าลง ฯลฯ

62 สมองส่วนใดของร่างกายที่ควบคุมอารมณ์

(1) ซิมพาเธติก

(2) พาราซิมพาเธติก

(3) ธาลามัส

(4) ระบบประสาทลิมบิก

(5) ระบบประสาทอัตโนมัติ

ตอบ 3 หน้า 41 ธาลามัส (Thalamus) เป็นสมองส่วนหน้าของร่างกายที่ทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางการส่งกระแสประสาทมอเตอร์จากซีรีบรัมไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นศูนย์กลางรับ กระแสประสาทสัมผัส (ยกเว้นสัมผัสกลิ่น) จากส่วนต่าง ๆ ไปยังซีรีบรัม และเป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการตื่นและหลับ

63 หลังจากเกิดการเร้าทางกายและพฤติกรรม จะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ หายใจหอบ หน้าแดง และเหงื่อออกนําไปสู่ประสบการณ์ทางอารมณ์ ตรงกับทฤษฎีของใคร (1) ทฤษฎีเจมส์-แสง

(2) ทฤษฎีแคนนอน-บาร์ด

(3) ทฤษฎีแทคเตอร์-ซิงเกอร์

(4) แนวคิดร่วมสมัย

(5) ทฤษฎีวิวัฒนาการ

ตอบ 1 หน้า 269 ข้อสรุปของทฤษฎีอารมณ์ต่าง ๆ มีดังนี้ คือ

1 ทฤษฎีเจมส์-แลง สรุปว่า หลังจากที่เกิดการเร้าทางกายและพฤติกรรม จะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ หายใจหอบ หน้าแดง และเหงื่อออก นําไปสู่ประสบการณ์ทางอารมณ์

2 ทฤษฎีแคนนอน-บาร์ด สรุปว่า การเร้าทางอารมณ์ พฤติกรรม และประสบการณ์จะส่งผ่านทางธาลามัสพร้อม ๆ กัน

3 ทฤษฎีแชคเตอร์-ซิงเกอร์ สรุปว่า การเร้าอย่างเดียวไม่ทําให้เกิดอารมณ์ จะต้องมีการแปลความควบคู่ไปด้วย ฯลฯ

64 การเร้าทางอารมณ์ พฤติกรรม และประสบการณ์ จะส่งผ่านทางธาลามัสพร้อม ๆ กัน ตรงกับทฤษฎีของใคร

(1) ทฤษฎีเจมส์-แสง

(2) ทฤษฎีแคนนอน-บาร์ด

(3) ทฤษฎีแชคเตอร์-ซิงเกอร์

(4) แนวคิดร่วมสมัย

(5) ทฤษฎีวิวัฒนาการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

65 การเร้าอย่างเดียวไม่ทําให้เกิดอารมณ์ จะต้องมีการแปลความควบคู่ไปด้วย ตรงกับทฤษฎีของใคร

(1) ทฤษฎีเจมส์-แสง

(2) ทฤษฎีแคนนอน-บาร์ด

(3) ทฤษฎีแทคเตอร์ ซิงเกอร์

(4) แนวคิดร่วมสมัย

(5) ทฤษฎีวิวัฒนาการ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

66 อารมณ์ใดเป็นอารมณ์แรกของมนุษย์

(1) อารมณ์โกรธ

(2) อารมณ์ตื่นเต้น

(3) อารมณ์เศร้า

(4) อารมณ์ตกใจ

(5) อารมณ์รื่นเริง

ตอบ 2 หน้า 271 เค. บริดเจส (K. Bridges) พบว่า พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กทารกมีลักษณะดังนี้คือ อารมณ์แรกเกิดของมนุษย์คืออารมณ์ตื่นเต้น แล้วจึงพัฒนาไปสู่อารมณ์ที่มีลักษณะเฉพาะ มากขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ก็จะแยกออกระหว่างอารมณ์ดีใจและเดือดร้อนใจ ต่อจากนั้น อารมณ์โกรธ เกลียด และกลัวก็จะปรากฏขึ้นภายหลังตามระดับวุฒิภาวะและการรับรู้ของเด็ก และเมื่ออายุ 2 ปี (24 เดือน) อารมณ์พื้นฐานก็จะพัฒนาจนครบสมบูรณ์ทั้ง 8 ชนิด

67 อารมณ์พื้นฐานใดเกิดขึ้นเมื่อมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับเหตุการณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้ยเคย (1) อารมณ์ประหลาดใจ

(2) อารมณ์ยอมรับ

(3) อารมณ์โกรธ

(4) อารมณ์กลัว

(5) อารมณ์รื่นเริง

ตอบ 1 หน้า 272 อารมณ์ประหลาดใจเป็นอารมณ์พื้นฐานที่เกิดขึ้นเมื่อมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับเหตุการณ์หรือสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคย จึงมีหน้าที่ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่

68 ข้อใดไม่ได้กล่าวถึงลักษณะของอารมณ์

(1) อารมณ์เป็นประสบการณ์ความรู้สึกส่วนบุคคล

(2) อารมณ์เป็นความรู้สึกที่สงบนิ่ง

(3) อารมณ์เป็นความรู้สึกรุนแรงและมีการแสดงออกที่แตกต่างกัน

(4) อารมณ์สามารถประเมินและแปลความหมายของสถานการณ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 255 256 อารมณ์ มีลักษณะสําคัญ 4 ประการ คือ

1 อารมณ์เป็นประสบการณ์ความรู้สึกส่วนบุคคล

2 อารมณ์เป็นความรู้สึกที่รุนแรงและมีการแสดงออกที่แตกต่างกันไป

3 อารมณ์มีความซับซ้อนกว่าความรู้สึกทางร่างกายอื่น ๆ โดยบุคคลจะมีการประเมินหรือแปล ความหมายของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องแล้วจึงเกิดอารมณ์นั้น ๆ

4 อารมณ์จะเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ

69 ข้อใดบอกวิธีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในภาวะปกติ

(1) ให้เข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ หาความรู้และความจริงที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์

(2) ยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้น

(3) ปล่อยอารมณ์สลายออกไปกับสถานการณ์ต่าง ๆ

(4) อย่ากังวลกับสิ่งที่ทําผิดพลาดมาแล้ว

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 276 มุกดา สุขสมาน ได้ให้แนวทางในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในภาวะปกติ ดังนี้

1 พยายามเข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ หาความรู้และความจริงที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และหาสาเหตุของอารมณ์นั้น ๆ เพื่อจะได้หาทางขจัดอารมณ์เหล่านั้นออกไป

2 ต้องยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้นและพยายามควบคุมอารมณ์ไม่ให้มีอิทธิพลเหนือตัวเรา

3 ทําให้อารมณ์นั้นสลายออกไปกับสถานการณ์ต่าง ๆ อย่าปล่อยให้เป็นปัญหาใหญ่

4 อย่ากังวลกับสิ่งที่ทําผิดพลาดมาแล้ว พยายามปรับอารมณ์โดยอยู่กับปัจจุบัน ฯลฯ

70 อะไรไม่ใช่องค์ประกอบของกระบวนการเกิดแรงจูงใจ

(1) ความต้องการ

(2) เป้าหมาย

(3) แรงขับ

(4) การตอบสนอง

(5) ความหิว

ตอบ 5 หน้า 227 กระบวนการเกิดแรงจูงใจ มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ

1 ความต้องการ (Needs)

2 แรงขับ (Drive)

3 การตอบสนอง (Response)

4 เป้าหมาย (Goal)

71 สภาวะใดที่เป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา

(1) ความต้องการ

(2) แรงขับ

(3) แรงจูงใจ

(4) สิ่งเร้า

(5) การตอบสนอง

ตอบ 3 หน้า 225 แรงจูงใจ (Motive) หมายถึง สภาวะที่เป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่แรงจูงใจนั้นต้องการ

72 ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์

(1) ความกระหาย

(2) ความหิว

(3) ความต้องการสืบพันธุ์

(4) ความผาผลาญในร่างกาย

(5) ความต้องการหลีกหนีอันตราย

ตอบ 4 หน้า 233, 239 แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นเพื่อความอยู่รอดของชีวิตแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ

1 แรงจูงใจทางชีวภาพ ได้แก่ ความหิว ความกระหาย

2 แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์

3 แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย

73 ข้อใดที่ทําให้คนเราแสดงพฤติกรรมการทํางานให้ดีสมบูรณ์และประสบความสําเร็จ

(1) แรงจูงใจพื้นฐาน

(2) แรงจูงใจภายใน

(3) แรงจูงใจภายนอก

(4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

(5) แรงขับ

ตอบ 4 หน้า 233 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motive) เป็นความปรารถนาของบุคคลที่จะทําให้คนเราแสดงพฤติกรรมการทํางานให้ดีสมบูรณ์และประสบความสําเร็จ เมื่อบุคคลได้รับความสําเร็จและได้รางวัลจากสังคม บุคคลก็จะมีแรงจูงใจนี้ติดตัวไปตลอดได้

74 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของแรงจูงใจ

(1) ทําให้เข้าใจพฤติกรรมและควบคุมให้สามารถเลือกพฤติกรรมที่เหมาะสม

(2) เข้าใจพฤติกรรมและควบคุมพฤติกรรมของบุคคลอื่นได้

(3) เข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มสังคมให้มีพฤติกรรมไปในแนวทางที่ต้องการได้

(4) ทําให้บังคับมิให้แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้

(5) เป็นแรงผลักดันทําให้มนุษย์แสวงหาอาหาร น้ำ อากาศ

ตอบ 5 หน้า 226 แรงจูงใจจะช่วยให้บุคคลได้รับประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1 ทําให้เข้าใจพฤติกรรมตนเองและควบคุมตนเองให้สามารถเลือกแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมและบังคับมิให้ตนเองแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้

2 เข้าใจพฤติกรรมของผู้อื่นและช่วยให้ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลอื่นได้

3 เข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มสังคมและจูงใจให้มีพฤติกรรมไปในแนวทางที่ต้องการได้

75 ข้อใดไม่ใช่ความต้องการทางด้านร่างกาย

(1) อาหาร

(2) เครื่องนุ่งห่ม

(3) บ้าน

(4) ยา

(5) การแต่งกาย

ตอบ 4 หน้า 231 ความต้องการทางด้านร่างกาย ได้แก่ อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม บ้าน/ที่อยู่อาศัย การตกแต่งสถานที่ เพศตรงข้าม (การแต่งกายและพฤติกรรมการแสดงออกต่าง ๆ)

76 ข้อใดไม่ใช่ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย

(1) อุบัติเหตุ

(2) อุปกรณ์บริหารร่างกาย

(3) โรคภัยไข้เจ็บ

(4) อาหารเสริม

(5) ความหิว

ตอบ 5 หน้า 231 ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย ได้แก่ ยา อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ เครื่องป้องกันอันตราย อาหารเสริม ยาบํารุงร่างกาย ยาชูกําลัง อุปกรณ์บริหารร่างกาย อุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ การเกิดภัยธรรมชาติ

77 แรงจูงใจประเภทใดที่ทําให้มนุษย์ต้องหาวิธีอยู่รอดของชีวิต

(1) แรงจูงใจพื้นฐาน

(2) แรงจูงใจภายใน

(3) แรงจูงใจภายนอก

(4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

(5) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ

78 แรงจูงใจประเภทใดที่ทําให้บุคคลปฏิบัติตนและแสดงพฤติกรรมให้เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น

(1) แรงจูงใจภายใน

(2) แรงจูงใจภายนอก

(3) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์

(4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

(5) แรงจูงใจพื้นฐาน

ตอบ 3 หน้า 234 แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Affiliative Motive) เป็นแรงจูงใจที่ทําให้บุคคลปฏิบัติตนและแสดงพฤติกรรมให้ตนเป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น อันเป็นแรงจูงใจที่สังคมสร้างเงื่อนไข กระตุ้นให้บุคคลเกิดความต้องการที่จะติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทั้งนี้เพราะคนเราต้องการ ที่จะได้รับความรัก การยอมรับ และเอาใจใส่จากบุคคลที่ตนเกี่ยวข้องด้วย

79 ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับลักษณะสําคัญของกลุ่ม

(1) มีการคล้อยตามกลุ่ม

(2) มีโครงสร้างและความสามัคคี

(3) นั่งรอรถประจําทาง

(4) มีค่านิยมเหมือนกัน

(5) มีบทบาทเหมือนกัน

ตอบ 2 หน้า 377 – 378 กลุ่มประกอบด้วยคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มาปฏิสัมพันธ์กัน โดยกลุ่มทุกกลุ่มจะมีลักษณะสําคัญ 2 ประการ คือ โครงสร้างของกลุ่มและความสามัคคีในกลุ่ม

80 ข้อใดตรงกับการแบ่งระยะห่างระหว่างบุคคลในระยะสาธารณะ

(1) การฟังสุนทรพจน์

(2) การพูดระหว่างกลุ่มเพื่อน

(3) การพูดคุยของคู่รัก

(4) การสอนในชั้นเรียน

(5) การตกลงกันเพื่อทําการค้าร่วมกัน

ตอบ 1 หน้า 379, (คําบรรยาย) ระยะห่างระหว่างบุคคลในระยะสาธารณะ คือ ระยะห่างตั้งแต่ 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น ต้องใช้เสียงพูดดังขึ้นอีก (หรือใช้เครื่องขยายเสียง) เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ

81 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ดึงดูดให้คนเป็นมิตรกัน

(1) ความใกล้ชิดทางกาย

(2) ความคล้ายคลึงกัน

(3) ความอาย

(4) ความมีเสน่ห์

(5) ความสามารถ

ตอบ 3 หน้า 380 381 ปัจจัยที่ดึงดูดให้คนเป็นมิตรกัน ได้แก่ ความใกล้ชิดทางกาย ความมีเสน่ห์ ดึงดูดทางกาย ความสามารถ ความคล้ายคลึงกัน และการเปิดเผยตนเอง

82 ข้อใดไม่ใช่วิธีการล้างสมองหรือการยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น

(1) การอภิปรายกลุ่ม

(2) สถานการณ์การเสนอแนะ

(3) เสริมให้การคล้อยตาม

(4) การใช้สารจูงใจ

(5) บังคับโดยการใช้กฎหมาย

ตอบ 5 หน้า 383 วิธีการล้างสมองหรือการยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น เป็นสถานการณ์ที่ใช้องค์ประกอบ 4 ลักษณะพร้อม ๆ กัน คือ สถานการณ์การเสนอแนะ สถานการณ์การคล้อยตาม การอภิปรายกลุ่มและการใช้สารชักจูงใจ

83 “เมื่อทําผิดต้องถูกลงโทษโดยการติดคุกตามความผิดของตน” ตรงกับอํานาจทางสังคมแบบใด

(1) อํานาจการให้รางวัล

(2) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ

(3) อํานาจตามกฎหมาย

(4) อํานาจการบังคับ

(5) อํานาจตามการอ้างอิง

ตอบ 4 หน้า 386 อํานาจในการบังคับเป็นอํานาจที่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการลงโทษผู้ที่ไม่ยอมทําตามได้ ซึ่งอํานาจนี้มักเป็นพื้นฐานของกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ โดยใช้การจําคุกและการปรับสินไหมเป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรม

84 ข้อใดตรงกับลักษณะพฤติกรรมที่เกิดจาก “ความเชื่อ อารมณ์ และการกระทํา”

(1) เจตคติ

(2) การคล้อยตามกลุ่ม

(3) ความก้าวร้าว

(4) อิทธิพลทางสังคม

(5) พฤติกรรมการแสดงออกเหมาะสม

ตอบ 1 หน้า 374, 388 389 เจตคติเป็นความพร้อมที่จะตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ทั้งทางบวกและทางลบ เป็นลักษณะของพฤติกรรมที่เกิดจากความเชื่อ อารมณ์ และการกระทํา

85 ข้อใดตรงกับลักษณะ “การตัดสินใจล่วงหน้า สงสัย กลัว เกลียดอย่างไม่มีเหตุผล” (1) ความไม่ใส่ใจ

(2) อคติ

(3) เจตคติ

(4) พฤติกรรมก้าวร้าว

(5) การแสดงออกที่เหมาะสม

ตอบ 2 หน้า 392 อคติ เป็นเจตคติทางลบหรือการตัดสินล่วงหน้า เกิดจากความสงสัย ความกลัว และความเกลียดอย่างไม่สมเหตุสมผล บ่อยครั้งที่เจตคติเกิดจากโครงสร้างของอํานาจทางสังคมซึ่งมักเป็นอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ เพศ หรืออายุ และนํามาสู่การแบ่งแยก

86 เด็กแสดงความก้าวร้าวตามการแสดงออกของผู้ใหญ่ ตรงกับลักษณะใด

(1) สัญชาตญาณ

(2) ลักษณะทางชีววิทยา

(3) ต้องการได้รับการยอมรับ

(4) การเรียนรู้ทางสังคม

(5) ความคับข้องใจ

ตอบ 4 หน้า 395 แนวคิดที่อธิบายสาเหตุของความก้าวร้าวซึ่งได้รับการยอมรับมากที่สุด คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม โดยทฤษฎีนี้อธิบายว่าคนเราเรียนรู้ความก้าวร้าวจากผู้อื่น นั่นคือ ความก้าวร้าวเป็นการเรียนรู้ไม่ใช่สัญชาตญาณ

87 เพราะเหตุใด “เห็นคนถูกรถชน และนอนเลือดไหลอยู่กลางถนน แต่ไม่เข้าไปช่วย” (1) ไร้น้ำใจ

(2) ถูกห้ามไม่ให้เข้าไปช่วยเหลือ

(3) มีความรู้สึกแปลกแยก

(4) ไม่มีเวลาพอเพียง

(5) ไม่ไว้ใจในสถานการณ์

ตอบ 3 หน้า 395 เหตุผลที่ทําให้คนหลายคนไม่ให้ความช่วยเหลือคนที่ถูกรถชน ได้แก่ ความรู้สึกแปลกแยกของคนในเมือง มีคนอยู่ในเหตุการณ์หลายคนจึงเกิดการกระจายความรับผิดชอบ

88 ข้อใดเป็นพฤติกรรม “สามารถปฏิเสธการซื้อสินค้าจากผู้ขายได้อย่างมีเหตุผล”

(1) ความก้าวร้าว

(2) การกระจายความรับผิดชอบ

(3) การเรียนรู้ทางสังคม

(4) พฤติกรรมไม่เหมาะสม

(5) พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม

ตอบ 5 หน้า 396, 401 พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม เป็นพฤติกรรมที่แสดงความคิดเห็น ความรู้สึก ความปรารถนาและความเชื่อของตนอย่างตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ต่อกัน เหมาะสมกับ กาลเทศะ ก่อประโยชน์แก่ตนเองและคู่สนทนาโดยคํานึงถึงสิทธิของทั้ง 2 ฝ่าย เน้นความเชื่อมั่น การเก็บอารมณ์ และการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อ 89 – 93 จากแนวคิดเรื่องการปรับตัว จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) กลุ่มจิตวิเคราะห์

(2) กลุ่มลูกศิษย์ฟรอยด์

(3) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(4) กลุ่มมนุษยนิยม

(5) กลุ่มเพื่อการอยู่รอด

 

89 คนที่จะปรับตัวได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของเขา ถ้าเขามีการเรียนรู้ที่ดี เขาก็จะมีพฤติกรรมโต้ตอบออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่ออยู่ในสถานการณ์คับขัน ตอบ 3 หน้า 344 กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist) เชื่อในเรื่องของพฤติกรรมว่าเป็นสิ่งเรียนรู้ ดังนั้นคนที่จะปรับตัวได้ดีหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของเขา ถ้าเขามีการเรียนรู้ที่ดี เขาก็จะสามารถมีพฤติกรรมที่โต้ตอบออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่ออยู่ในสถานการณ์คับขัน

90 มนุษย์ควรมีการพัฒนาไปถึงที่สุดเท่าที่ศักยภาพจะอํานวย เรียกกระบวนการพัฒนานี้ว่าการประจักษ์ในตน

ตอบ 4 หน้า 344 กลุ่มมนุษยนิยม (Humanist) เชื่อว่า มนุษย์ควรมีการพัฒนาไปถึงที่สุดเท่าที่ศักยภาพจะอํานวย เรียกกระบวนการพัฒนาเข้าไปถึงที่สุดของศักยภาพนี้ว่า “การประจักษ์ในตน” ซึ่งควรจะเป็นเป้าหมายของการงอกงามเติบโตที่แท้จริงของมนุษย์

91 มนุษย์มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ จึงต้องรับผิดชอบในการกระทําทุกอย่างของตนเอง ตอบ 5 หน้า 344 กลุ่มของนักทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด (Existentialist) มองว่า มนุษย์มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องรับผิดชอบในการกระทําทุกอย่างของตนเอง โดยมนุษย์จะไม่สามารถ โทษผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อมว่าทําให้เขาเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ได้เลย ใครก็ตามที่ก้าวพ้นออกมาจากความกลัว สามารถเอาชนะความรู้สึกของตัวเอง และเชื่อในเรื่องของเสรีภาพ จะเป็นผู้ที่ปรับตัวได้ดี

92 ผู้ที่ปรับตัวดีคือผู้ที่มีพัฒนาการที่สมดุลของ อิด อีโก้ ซูเปอร์อีโก้

ตอบ 1 หน้า 343 กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) เห็นว่า คนที่ปรับตัวไม่ได้ มีสาเหตุมาจากพลังอีโก้ (Ego) มีการพัฒนาที่อ่อนแอเกินไป ทําให้ไม่แกร่งพอที่จะสร้างความสมดุลระหว่าง พลังอิด (Id) และซูเปอร์อีโก้ (Superego) ได้ โดยเชื่อว่า ผู้ที่ปรับตัวดีคือผู้ที่มีการพัฒนาการที่สมดุลของอิด อีโก้ เเละซูเปอร์อีโก้

93 การปรับตัวจะดีได้นั้น บุคคลจะต้องสามารถพัฒนาตนเอง เสริมสร้างเอกลักษณ์ที่มั่นคง และสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับบุคคลรอบข้างได้

ตอบ 2 หน้า 344 กลุ่มลูกศิษย์ของฟรอยด์ (Neo-freudian) มีความเห็นว่า การปรับตัวจะดีได้นั้นบุคคลจะต้องสามารถพัฒนาตนเอง สร้างเสริมเอกลักษณ์ที่มั่นคง ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับบุคคลรอบข้างหรือคนอื่น ๆ ได้

94 ตามทฤษฎีปฏิกิริยาต่อความเครียดของเซลเย พฤติกรรมในตัวเลือกใดต่อไปนี้ อยู่ในขั้นตอนปฏิกิริยาตื่นตระหนก

(1) นายธรรมะอยู่ทํางานจนดึกเป็นเวลาติดต่อกันหลายสัปดาห์ทําให้เป็นลมขณะทํางานตอนเช้า

(2) หลังจากถูกคู่รักบอกเลิก นายมนัสก็เสียใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับ

(3) นายรุ่งโรจน์เป็นโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากตรากตรํากับการทํางานหนักมา 10 ปี

(4) นายกิตติดื่มสุราจนติด ภายหลังจากถูกไล่ออกจากงาน

(5) หลังทนายความอ่านพินัยกรรม นายรัตนพลทราบว่าตนเองไม่ได้สมบัติเลย จึงมีอาการคลื่นไส้ วิงเวียนและปวดศีรษะ

ตอบ 5 หน้า 351 ตามทฤษฎีปฏิกิริยาต่อความเครียดของเซลเย (Selye) ปฏิกิริยาตื่นตระหนก คือ เมื่อร่างกายเผชิญกับสิ่งรุกเร้าที่ทําให้เกิดความเครียด ต่อมไร้ท่อก็จะหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสโลหิต เพื่อรับสภาพการจู่โจม และทําให้ร่างกายมีความพร้อมเต็มที่ นอกจากนี้สภาวะทางกายอื่น ๆที่เกิดขึ้น คือ อาจทําให้บุคคลปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน และท้องปันป่วน ฯลฯ

95 ความรู้สึกที่บุคคลประสบเมื่อพยายามไปสู่จุดมุ่งหมายแต่ถูกขัดขวาง คือ

(1) ความเครียด

(2) ความกดดัน

(3) ความคับข้องใจ

(4) ความโกรธ

(5) ความเสียใจ

ตอบ 3 หน้า 355 ความคับข้องใจ (Frustration) คือ ความรู้สึกที่บุคคลประสบเมื่อพยายามจะไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง แต่ถูกขัดขวางด้วยอุปสรรคบางประการ

96 การปรับตัวโดยหันหายาเสพติดเป็นการปรับตัวแบบใด

(1) ความก้าวร้าว

(2) การฝันกลางวัน

(3) ความคับข้องใจ

(4) การถดถอย

(5) ความกดดัน

ตอบ 4 หน้า 356 การถดถอย สําหรับบุคคลบางคนนั้นเมื่อมีความคับข้องใจเกิดขึ้น เขาจะกลัวและไม่กล้าแสดงความก้าวร้าวออกมา แต่เขาจะใช้วิธีการถดถอยหรือหนีออกไปให้พ้น โดยอาจหมายถึงการหนีออกจากบ้าน หรือเป็นการหนีทางด้านจิตวิทยาซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ การแสดงความเฉยเมย การปรับโดยหันไปพึ่งสิ่งมึนเมาและการใช้สารเสพติดชนิดต่าง ๆ

97 นักศึกษาสอบตก แต่กล่าวหาว่าข้อสอบยากเกินไป เป็นการใช้กลไกป้องกันทางจิตแบบใด

(1) การหาสิ่งทดแทน

(2) การเข้าข้างตนเอง

(3) การชดเชยสิ่งที่ขาด

(4) การไม่นําอารมณ์เข้ามามีส่วนร่วม

(5) ปฏิกิริยากลบเกลื่อน

ตอบ 2 หน้า 357 358 การเข้าข้างตัวเอง (Rationalization) เป็นกลไกป้องกันทางจิต (Defense Mechanism) ที่บุคคลพยายามหาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเอง ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาหน้าหรือภาพพจน์ ของตัวเองเอาไว้ ซึ่งมีลักษณะที่เรียกว่า “องุ่นเปรี้ยว มะนาวหวาน” เช่น บ้านเล็กและคับแคบแต่ใกล้ที่ทํางาน นักศึกษาสอบตกแต่กล่าวหาว่าข้อสอบยากเกินไป ฯลฯ

98 ไม่อยากเป็นทหาร แต่ไม่อยากหนีการเกณฑ์ทหาร ถือเป็นความขัดแย้งแบบใด

(1) Approach-Approach Conflict

(2) Approach-Avoidance Conflict

(3) Avoidance-Avoidance Conflict

(4) Double Approach Avoidance Conflict

(5) Double Avoidance Conflict

ตอบ 3 หน้า 361 ความขัดแย้งใจแบบอยากหนีทั้งคู่หรือแบบชั่ง-ชัง (Avoidance-Avoidance Conflict) เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกสิ่งที่ไม่พึงพอใจทั้งคู่ เปรียบได้กับการหนีเสือปะจระเข้ เช่น ไม่อยากเป็นทหารแต่ก็ไม่อยากหนีการเกณฑ์ทหาร ต้องเลือกเรียนระหว่างฟิสิกส์หรือเคมีซึ่งไม่ถนัดทั้ง 2 วิชา ฯลฯ

99 ทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยของสเปียร์แมน อธิบายว่าสติปัญญาแบ่งเป็นสององค์ประกอบได้แก่อะไรบ้าง

(1) G-factor และ L-factor

(2) G-factor และ S-factor

(3) S-factor และ L-factor

(4) G-factor และ C-factor

(5) C-factor และ L-factor

ตอบ 2 หน้า 325 ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) เป็นผู้ที่คิดทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยโดยอธิบายว่า สติปัญญาของคนเรานั้นจะมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ

1 ตัวประกอบทั่วไป (General factor : G-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผลทั่ว ๆ ไปของบุคคล และทุกคนมีเหมือนกันหมด

2 ตัวประกอบเฉพาะ (Specific factor : S-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถ เฉพาะตัวของบุคคล เช่น ความสามารถพิเศษด้านศิลปะและดนตรี ความสามารถในการจําความเข้าใจภาษา การคํานวณ การใช้มือ การสังเกต การออกแบบ (Design) ฯลฯ

100 ข้อใดคือสมการที่ใช้ในการคํานวณคะแนนสติปัญญา (IQ)

(1) MA/CA X 100

(2) CANA x 100

(3) CAN100 x MA

(4) MAN100 x CA

(5) 100/MA XCA

ตอบ 1 หน้า 326 สมการที่ใช้ในการคํานวณคะแนนสติปัญญา (I.O.) คือ 1.Q. = 1.4 x 100 C.A. โดย M.A. = อายุสมองที่ได้จากการทําแบบทดสอบ

C.A. = อายุจริงตามปฏิทิน

101 คะแนน IQ ในข้อใดถือว่าเป็นบุคคลปัญญาอ่อน

(1) ต่ำกว่า 110

(2) ต่ำกว่า 100

(3) ต่ำกว่า 90

(4) ต่ำกว่า 80

(5) ต่ำกว่า 70

ตอบ 5 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (I.O.) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้

1 ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ I.Q. ต่ำกว่า 70

2 คาบเส้น (Borderline) มีระดับ IQ. 71 – 80

3 ปัญญาทึบ (Dull) มีระดับ IQ. 81 – 90

4 เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ I.O. 91 – 110 ซึ่งถือเป็นระดับปานกลาง

5 ค่อนข้างฉลาด (Suoerior) มีระดับ I.Q. 111 – 120

6 ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ I.Q. 121 – 140

7 อัจฉริยะ (Genius) มีระดับ I.O. 140 ขึ้นไป

102 แบบทดสอบที่มีความเที่ยงตรง (Validity) มีลักษณะเช่นใด

(1) ให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นผู้วัด

(2) มีความคงที่ของคะแนน

(3) วัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด

(4) มีแบบแผนในการทดสอบ

(5) มีกําหนดเวลาในการทดสอบ

ตอบ 3 หน้า 327 – 328 แบบทดสอบที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติที่สําคัญ 4 ประการ ดังนี้

1 ความเป็นปรนัย (Objectivity) จะต้องให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครจะเป็นผู้วัด

2 ความเชื่อถือได้ (Reliability) มีความคงที่ของคะแนนในการวัดแต่ละครั้ง

3 ความเที่ยงตรง (Validity) วัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด (เป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่สุด)

4 ความเป็นมาตรฐาน (Standardization) มีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ

103 หากวัดความสามารถทางสติปัญญาในครั้งนี้ IQ = 90 และวัดซ้ำในอีก 6 เดือนต่อมาปรากฏว่าได้ IQ = 90 เช่นเดิม ถือว่าการทดสอบทางสติปัญญานี้

(1) มีความเป็นปรนัย

(2) มีความเชื่อถือได้

(3) มีความเที่ยงตรง

(4) มีความเป็นมาตรฐาน

(5) มีการให้คะแนนที่แน่นอน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 102. ประกอบ

104 แบบทดสอบวัดความสามารถทางสติปัญญาฉบับใดที่สามารถใช้กับเด็กที่มีอายุ 2 ปีได้

(1) SPM

(2) WAIS

(3) WISC

(4) WPPSI

(5) Stanford-Binet

ตอบ 5 หน้า 329 ลักษณะของแบบทดสอบ Stanford-Binet คือ เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดระดับสติปัญญาของเด็กตั้งแต่อายุ 2 ขวบ จนถึงผู้ใหญ่ที่ฉลาด

105 ข้อใดกล่าวผิด

(1) การใช้แบบทดสอบ IQ จะกระทําได้แต่เฉพาะผู้ที่มีคุณสมบัติเพียงพอเท่านั้น

(2) ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเพศหญิงและชายมีความแตกต่างทางสติปัญญา

(3) ฐานะทางสังคมไม่ใช่ปัจจัยที่ทําให้สติปัญญามีความแตกต่างกัน

(4) ความแตกต่างทางเชื้อชาติไม่ทําให้ความสามารถทางสติปัญญาแตกต่างกัน

(5) ระดับสติปัญญาอาจเพิ่มหรือลดได้เมื่ออายุล่วงวัย 60 ปีไปแล้ว

ตอบ 3 หน้า 332 – 334 การใช้แบบทดสอบ IQ จะกระทําได้แต่เฉพาะบุคคลที่มีคุณสมบัติเพียงพอเท่านั้น โดยตัวแปรเกี่ยวกับระดับความสามารถทางสติปัญญา ได้แก่ ยากที่จะชี้ชัดลงไปว่าเพศหญิง และชายใครมีสติปัญญาดีกว่ากัน ระดับสติปัญญาอาจเพิ่มหรือลดได้เมื่ออายุล่วงวัย 60 ปีไปแล้ว ฐานะทางสังคมเป็นปัจจัยที่ทําให้สติปัญญามีความแตกต่างกัน และความแตกต่างทางเชื้อชาติไม่ทําให้ความสามารถทางสติปัญญาแตกต่างกัน

106 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของบุคลิกภาพตามแนวคิดของอัลพอร์ท (Alport)

(1) เน้นความเป็นเอกลักษณ์ของบุคคล

(2) เน้นการมองบุคลิกภาพในลักษณะของการเป็นหมวดหมู่

(3) ให้ความสําคัญของบุคลิกภาพในแง่ของสรีรชีวภาพ

(4) มองบุคลิกภาพในแง่ของการปรับตัว

(5) มองบุคลิกภาพว่าเกิดจากการวางเงื่อนไข

ตอบ 5 หน้า 283 ความหมายของบุคลิกภาพตามแนวคิดของอัดพอร์ท (Allport) แบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ

1 เน้นความเป็นเอกลักษณ์ของบุคคล

2 เน้นการมองบุคลิกภาพในลักษณะของการเป็นหมวดหมู่

3 มองบุคลิกภาพในแง่ของการปรับตัว

4 เน้นการจัดบุคลิกภาพออกตามพัฒนาการเป็นลําดับขั้น

5 ให้ความสําคัญของบุคลิกภาพในแง่สรีรชีวภาพ

6 ประเภทจิปาถะ

107 นักทฤษฎีท่านใดที่เน้นบุคลิกภาพในด้านการพัฒนาตนไปสู่บุคลิกภาพที่สมบูรณ์

(1) ฟรอยด์

(2) แอดเลอร์

(3) อัลพอร์ท

(4) มาสโลว์

(5) เอริกสัน

ตอบ 2. 4 หน้า 285 นักทฤษฎีบุคลิกภาพกลุ่มที่เน้นทางด้านการพัฒนาตนไปสู่บุคลิกภาพที่สมบูรณ์ได้แก่ แอดเลอร์ โรเจอร์ และมาสโลว์ โดยพวกเขามีความเห็นใกล้เคียงกันว่า มนุษย์มีธรรมชาติ ที่จะแสวงหาความงอกงามเติบโตและพัฒนาตนไปสู่สภาวะที่สมบูรณ์ และความปรารถนานี้คือ สิ่งจูงใจให้เขามีพฤติกรรมและบุคลิกภาพต่าง ๆ

108 ข้อใดเป็นกระบวนการทํางานของ Superego

(1) สมถวิลหิวจึงเดินไปหาข้าวรับประทาน

(2) กฤษดาไม่พอใจที่สมชายเอาคลิปลับของเขาไปอัพลง Youtube จึงต่อยสมชาย

(3) พจมานรู้สึกผิดที่ไม่ได้ดูแลแม่ให้ดี

(4) สุพินรู้สึกร้อนจึงเปิดแอร์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 288 ซูเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นกระบวนการทํางานของจิตใจที่ทําหน้าที่คล้ายมโนธรรมคอยตักเตือนให้บุคคลรู้จักละอายต่อบาป เกิดจากการอบรมสั่งสอน/ตักเตือนจากผู้เลี้ยงดูทําให้เรารู้จักบาปบุญคุณโทษ/ผิดชอบชั่วดี

109 วัตสัน (watson) มีความเชื่อว่า

(1) บุคลิกภาพเกิดจากการทํางานของ Id, Ego และ Superego

(2) พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

(3) โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระทําให้บุคคลมีเอกลักษณ์ในการปรับตัว

(4) มนุษย์มีธรรมชาติที่จะแสวงหาความงอกงามเติบโต และพัฒนาไปสู่สภาวะที่สมบูรณ์

(5) ระบบจิตสรีระของมนุษย์จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ตอบ 2 หน้า 289 290 ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม มีนักทฤษฏิหลายคน เช่น

1 ธอร์นไดค์ (Thorndike) เชื่อในเรื่อง “กฎแห่งผล” กล่าวคือ ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดีพฤติกรรมนั้นจะเกิดขึ้นอีก แต่ถ้าพฤติกรรมใดถูกลงโทษ พฤติกรรมนั้นจะหมดไป

2 วัตสัน (Watson) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

110 ใครเป็นผู้กล่าวถึง การประจักษ์ในตนเอง (Self Actualization)

(1) มาสโลว์ (Maslow)

(2) ฟรอยด์ (Freud)

(3) สกินเนอร์ (Skinner)

(4) อัลพอร์ท (Allport)

(5) จุง (Jung)

ตอบ 1 หน้า 293 มาสโลว์ (Maslow) เป็นนักจิตวิทยาที่มีความเชื่อในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ที่จะพัฒนาตัวเองให้ไปถึงจุดสูงสุดแห่งศักยภาพของเขา ซึ่งก็คือ “การประจักษ์ในตน”(Self Actualization)

111 พัฒนาการทางบุคลิกภาพในช่วง Oral Stage มีลักษณะเช่นใด

(1) เป็นช่วงวัย 2 – 3 ปี

(2) เป็นช่วงวัยที่จะได้รับความพึงพอใจจากการดูดดื่มหรือกิน

(3) เป็นช่วงวัยที่ชอบโต้เถียงผู้อื่น

(4) เป็นช่วงวัยที่เลียนแบบบทบาททางเพศจากพ่อหรือแม่

(5) เป็นช่วงวัยที่ชอบพูดเลียนเสียงผู้ใหญ่

ตอบ 2 หน้า 299 ขั้นพัฒนาการตามความเชื่อของฟรอยด์นั้น ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก (Oral Stage) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 18 เดือน เป็นช่วงที่เด็กได้รับความสุขจากการดูดกลืน หรือได้รับความพึงพอใจจากการกระตุ้นทางปาก 112 ข้อใดกล่าวถึงลักษณะสามัญ (Common Trait)

(1) คนไทยเป็นคนยิ้มง่าย

(2) สุพินเป็นคนขี้โมโห

(3) อัษฎาเป็นคนที่มีเสน่ห์

(4) มุจิราเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต

(5) อนิรุตเป็นคนเจ้าชู้

ตอบ 1 หน้า 294 – 296 อัลพอร์ท (Alport) นักทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง เชื่อว่า การศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคมเดียวกัน จะสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกัน มีความคล้ายคลึงกันได้ เรียกว่า ลักษณะสามัญ (Common Trait) เช่น คนเหนือสุภาพ คนใต้รักพวกพ้อง คนไทยยิ้มง่าย/ใจดี คนญี่ปุ่นมีระเบียบวินัย ฯลฯ

113 ข้อใดเป็นพฤติกรรมภายใน

(1) เอื้อมมือไปหยิบสิ่งของ

(2) ยกแก้วน้ำขึ้นดื่ม

(3) คิดถึงแฟนด้วยความรัก

(4) วิ่งไล่ตีแมว

(5) กอดลูกด้วยความนุ่มนวล

ตอบ 3 หน้า 3, (คําบรรยาย) นักจิตวิทยามักจะสนใจศึกษาพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์โดยพฤติกรรมของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1 พฤติกรรมภายนอก เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การกิน การนอน การนั่ง การเดิน การวิ่ง การพูด การเล่นกีฬา การดูหนัง การฟังเพลง ฯลฯ

2 พฤติกรรมภายใน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดหรือสังเกตได้โดยตรง ต้องอาศัยวิธีการทางอ้อม โดยการสอบถามหรือสร้างเครื่องมือวัดและการพิสูจน์ทดลองจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่สังเกตได้ เช่น การคิด การจํา การฝัน ทัศนคติ เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก ความพอใจ ฯลฯ

114 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการศึกษาทางจิตวิทยา

(1) บรรยายพฤติกรรม

(2) ทําความเข้าใจ

(3) ควบคุมพฤติกรรม

(4) นําความรู้ไปประยุกต์ใช้

(5) กําหนดตัวแปรอิสระทุกตัว

ตอบ 5 หน้า 3, 5 – 7 จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงจิตวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบาย (บรรยาย) ทําความเข้าใจ ทํานาย (พยากรณ์)และควบคุมพฤติกรรม (โดยการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้)

115 กลุ่มใดเน้นว่า “ส่วนรวมมีความสําคัญมากกว่าผลรวมของส่วนย่อย”

(1) กลุ่มจิตวิเคราะห์

(2) กลุ่มมนุษยนิยม

(3) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

(5) กลุ่มหน้าที่ทางจิต

ตอบ 4 หน้า 11, 74 แม็ก เวิร์ธไทเมอร์ (Max Wertheimer) เป็นนักจิตวิทยาชาวเยอรมันกลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) ที่ได้ให้ความสนใจมากเป็นพิเศษในเรื่องของ การจัดหมวดหมู่ของการรับรู้ โดยเชื่อว่า มนุษย์มีการรับรู้ในลักษณะของส่วนรวม และการรับรู้ส่วนรวมมีความสําคัญมากกว่าผลรวมของส่วนย่อย

116 กลุ่มใดเน้นว่า “อินทรีย์ต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ดีที่สุดเท่านั้นจึงจะรอดได้”

(1) กลุ่มหน้าที่ของจิต

(2) กลุ่มจิตวิเคราะห์

(3) กลุ่มจิตวิทยาการรู้คิด

(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

(5) กลุ่มโครงสร้างทางจิต

ตอบ 1 หน้า 9 – 10, (คําบรรยาย) กลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism) เน้นว่าการปรับตัวของอินทรีย์เข้ากับสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ดีที่สุดเท่านั้นจึงจะอยู่รอดได้ โดยกลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน (Darwin) ที่เชื่อว่าอินทรีย์จะมีวิวัฒนาการเพื่อการอยู่รอดสัตว์ทั้งหลายจะมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม

117 ข้อใดเกี่ยวข้องกับลักษณะ “การสังเกต ทดลอง รายงานประสบการณ์ทางจิตด้วยตนเอง”

(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(2) กลุ่มโครงสร้างทางจิต

(3) กลุ่มมนุษยนิยม

(4) กลุ่มจิตวิทยาการรู้คิด

(5) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

ตอบ 2 หน้า 9 กลุ่มโครงสร้างของจิต (Structuralism) ให้ความสนใจศึกษาองค์ประกอบของจิตสํานึก 3 ลักษณะ คือ การรับสัมผัส ความรู้สึก และมโนภาพ ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยศึกษาที่ใช้ กันอยู่ในกลุ่มนี้ ก็คือ วิธีการสังเกต-ทดลอง และการรายงานประสบการณ์ทางจิตด้วยตนเองหรือเรียกว่า Introspection คือ การมองภายในนั้นเอง

118 “การศึกษาที่กําหนดให้มีตัวแปรต้นและตัวแปรตาม” จัดเป็นวิธีการศึกษาแบบใด (1) การทดลอง

(2) การสังเกต

(3) การสํารวจ

(4) การทํา Case Study

(5) การทดสอบทางจิตวิทยา

ตอบ 1 หน้า 14 การทดลอง (Experimentation) เป็นวิธีการศึกษาที่ทําให้วิชาจิตวิทยาได้รับการยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง เพราะเป็นการศึกษาถึงเหตุและผล โดยผู้ทดลองจะสร้างเหตุการณ์ บางอย่างขึ้นมาหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งเเวดล้อมตามที่ต้องการศึกษาซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรอิสระ” หรือ “ตัวแปรต้น” (เหตุของพฤติกรรม) แล้วคอยสังเกตพฤติกรรมหรือศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรตาม” (ผลของพฤติกรรม)

119 “ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ Prompt Pay” จัดเป็นการศึกษาแบบใด

(1) การสังเกต

(2) การทดลอง

(3) การทํา Case Study

(4) การสํารวจ

(5) การทดสอบทางจิตวิทยา

ตอบ 4 หน้า 14 การสํารวจ (Survey) เป็นวิธีการศึกษาทางจิตวิทยาที่เน้นการศึกษาลักษณะบางลักษณะของบุคคลบางกลุ่มที่ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนของประชากรที่ต้องการศึกษา ด้วยการออกแบบ สอบถามให้ตอบหรือโดยการสัมภาษณ์ และนําคําตอบที่ได้ไปประมวลผลด้วยวิธีการทางสถิติ เช่น การสํารวจประชามติหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ฯลฯ

120 ข้อใดเป็นนักจิตวิทยาประยุกต์

(1) นักจิตวิทยาการทดลอง

(2) นักจิตวิทยาสังคม

(2) นักจิตวิทยาสิ่งแวดล้อม

(4) นักจิตวิทยาพัฒนาการ

(5) นักจิตวิทยาประจําศาล

ตอบ 5 หน้า 16 – 18, 20 จิตวิทยาในปัจจุบันมีหลายสาขา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 จิตวิทยาบริสุทธิ์ ได้แก่ จิตวิทยาการทดลอง

2 จิตวิทยาประยุกต์ ได้แก่ จิตวิทยาคลินิกและบริการให้คําปรึกษา จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาผู้บริโภค จิตวิทยาโรงเรียน จิตวิทยาวิศวกรรม จิตวิทยาประจําศาล และจิตวิทยาทางการแพทย์

3 จิตวิทยาบริสุทธิ์และประยุกต์ ได้แก่ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม และจิตวิทยาสิ่งแวดล้อม

Advertisement