การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3301 นโยบายสาธารณะ

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

ตั้งแต่ข้อ 1 – 20 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ข้อ 1 และข้อ 2 ถูก

(2) ข้อ 1 ถูก ข้อ 2 ผิด

(3) ข้อ 1 ผิด ข้อ 2 ถูก

(4) ข้อ 1 และข้อ 2 ผิด

(5) ไม่สามารถตัดสินใจได้

 

1 (1) Montjoy & O’Toole สนใจคล้ายกับ Stuart S. Nagel

(2) William Dunn สนใจในการวิเคราะห์นโยบาย

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 24, 33 – 72, 89 – 111), (คําบรรยาย) นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) ได้แก่

1 เควด (E.S. Quade)

2 วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn)

3 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel)

4 โทมัส อาร์, ดาย (Thomas R. Dye)

5 เจมส์ อี. แอนเดอร์สัน (James E. Anderson) ฯลฯ

ส่วนนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ได้แก่

1 กรอส (Gross)

2 ไจแอคควินทา (Giacquinta)

3 เบิร์นสไตล์ (Bernstein)

4 กรีนวูด (Greenwood)

5 แมน (Mann)

6 แมคลัฟลิน (McLaughlin)

7 เบอร์แมน (Berman)

8 เดล อี. ริชาร์ด (Dale E. Richards)

9 อีมิลี ไชมี โลวี ไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Lowe Brizendine)

10 เพรสแมน (Pressman)

11 วิลดัฟสกี (Wildavsky)

12 มองจอย (Montjoy)

13 โอทูเล (O’Toole)

14 โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) ฯลฯ

 

2 (1) ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ มีส่วนต่อความสําเร็จของนโยบาย

(2) การประเมินนโยบายจําเป็นต้องใช้วิธีการหลายวิธีเพื่อให้ผลการประเมินถูกต้อง ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 48 – 58, 73), (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญที่จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความสําเร็จ มีดังนี้

1 ลักษณะของนโยบายที่สามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน

2 วัตถุประสงค์ของนโยบายที่ชัดเจน สอดคล้องกัน และสามารถรับรู้ได้ง่าย

3 ความเป็นไปได้ทางการเมืองหรือการได้รับการสนับสนุนทางการเมือง

4 ความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีหรือการมีเทคโนโลยีที่เหมาะสม

5 ทรัพยากรที่พอเพียง

6 ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติมีทัศนคติที่ดีต่อตัวนโยบาย ฯลฯ

ซึ่งหากไม่เป็นไปตามลักษณะ ปัจจัยดังกล่าวก็จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความล้มเหลว

ส่วนอีมิล เจ. โพซาวัค และเรย์มอนด์ จี. แครี (Emil J. Posavac & Raymond G. Carey) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการใช้วิธีการหลายวิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านเพื่อให้ผลการประเมิน ถูกต้อง และเพื่อตรวจสอบว่านโยบายนั้นจําเป็นและควรใช้หรือไม่ หรือจะดําเนินการต่อไป ตามที่วางไว้ได้หรือไม่ และช่วยแก้ปัญหาตามที่มุ่งหวังไว้หรือไม่

3 (1) การประเมินผลในรูปแบบทดลอง จะต้องมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

(2) การประเมินผลในรูปแบบกึ่งทดลอง เป็นวิธีการที่เชื่อถือได้และแม่นตรงที่สุด  ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 76 – 78), (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design) เป็นวิธีการที่มีความ เคร่งครัดในการดําเนินงานมากที่สุด และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุดด้วย โดยมีลักษณะสําคัญดังนี้

1 มีการจัดกลุ่มขึ้นเพื่อทําการทดลอง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (Experimental Group) และกลุ่มควบคุม (Control Group)

2 มีการกําหนดเป้าหมายและหลักเกณฑ์ในการชี้วัดความสําเร็จ โดยการวัดนั้นจะวัดก่อนที่โครงการจะถูกนํามาใช้และวัดอีกครั้งหลังจากที่โครงการสิ้นสุดแล้ว

3 มีการเลือกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling) จากประชากรที่อยู่ในเป้าหมายของโครงการ และใช้วิธีการกระจายสุ่ม (Randomization) ของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุม

 

4 (1) การจับคู่เป็นวิธีการสําคัญในการประเมินผลในรูปแบบทดลอง

(2) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์เป็นรูปแบบหนึ่งของการประเมินผลในรูปแบบทดลอง

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 76, 79, 81) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลองมีวิธีการที่สําคัญคือ การจับคู่ (Matching) ซึ่งเป็นการแสวงหาคู่ในระดับบุคคลในพื้นที่ที่มีลักษณะเหมือนกัน ส่วนการประเมินผลกระทบแบบไม่ใช้วิธีการวิจัยมี 4 รูปแบบ คือ

1 การเปรียบเทียบโครงการหลาย ๆ โครงการ

2 การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

3 การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล

4 การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

 

5 (1) ทฤษฎีผู้นํา อธิบายว่า นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนความต้องการของมวลชน

(2) ทฤษฎีกลุ่มจะสะท้อนความต้องการของมวลชน

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 84 85), (คําบรรยาย) ตัวแบบ/ทฤษฎีผู้นําหรือชนชั้นนํา (Elite Model/Theory) อธิบายว่า

1 สังคมถูกแบ่งเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจกับคนกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ โดยผู้นําซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคม แต่มีอํานาจเป็นผู้จัดสรรคุณค่าของสังคมและกําหนดนโยบาย สาธารณะให้เป็นไปตามความต้องการหรือค่านิยมของตน ขณะที่ประชาชนหรือคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนตัดสินใจในนโยบายสาธารณะด้วย

2 ผู้นําจะแสดงความสมานฉันท์กับค่านิยมพื้นฐานของระบบสังคมและพยายามสงวนรักษาระบบไว้

3 นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนถึงความต้องการของมวลชน แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นค่านิยมของผู้นํามากกว่า

4 ผู้นํามีอิทธิพลต่อมวลชนมากกว่ามวลชนมีอิทธิพลต่อผู้นํา ฯลฯ

 

6 (1) ทฤษฎีกลุ่ม อธิบายว่า สังคมแบ่งเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจและคนกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจคนกลุ่มน้อยจะจัดสรรคุณค่าของสังคม

(2) ทฤษฎีผู้นํา สะท้อนให้เห็นค่านิยมของผู้นํา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

7 (1) สังคมถูกแบ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจกับกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ คนกลุ่มน้อยเป็นผู้กําหนดนโยบายตามความต้องการหรือค่านิยมของตน คือ ทฤษฎีผู้นํา

(2) สถาบันของรัฐเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะ คือ ทฤษฎีผู้นํา

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 85), (คําบรรยาย) ตัวแบบ/ทฤษฎีสถาบันนิยม(Institutional Mode/Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะอยู่ในฐานะเป็นผลผลิตของสถาบัน โดยที่สถาบันหรือหน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะเนื่องจากมีความชอบธรรม มีความเป็นสากล และมีการผูกขาดอํานาจบังคับ นั่นคือ เป็นการพยายามเชื่อมโยงโครงสร้างหน้าที่ของสถาบันรัฐบาลกับการกําหนดนโยบายสาธารณะเข้าด้วยกัน โดยชี้ให้เห็นว่า สถาบันรัฐบาลเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะเพราะเป็นอํานาจหน้าที่อันชอบธรรม ซึ่งทฤษฎีนี้จะสะท้อน ให้เห็นว่านโยบายสาธารณะก็คือนโยบายของรัฐบาลนั่นเอง

8 (1) นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตที่ได้มาจากการเจรจาต่อรองเกี่ยวข้องกับทฤษฎีสถาบันนิยม

(2) สิ่งแวดล้อม เป็นตัวแปรที่สําคัญของทฤษฎีระบบ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 85 – 86), (คําบรรยาย) ตัวแบบดุลยภาพระหว่างกลุ่มหรือทฤษฎีกลุ่ม (Group Equilibrium Model or Group Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์กับนโยบายสาธารณะ โดยชี้ให้เห็นว่านโยบายสาธารณะเป็นผลผลิต ที่ได้มาจากการเจรจาต่อรอง การประนีประนอม และการถ่วงดุลผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ

ส่วนตัวแบบ/ทฤษฎีระบบ (System Mode/Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะเป็น ผลผลิตของระบบ โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สําคัญ 5 ตัวแปร คือ

1 ปัจจัยนําเข้า (Inputs)

2 กระบวนการ (Process)

3 ปัจจัยนําออก/ผลผลิต (Outputs)

4 ข้อมูลป้อนกลับ/ผลสะท้อนกลับ (Feedback)

5 สิ่งแวดล้อม (Environment)

 

9 (1) ตัวแบบเหตุผลนิยมอยู่ในทฤษฎีการตัดสินใจ

(2) แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมืองเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นเนื้อหา

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 86, 88), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการตัดสินใจ แบ่งออกเป็น 3 ตัวแบบ คือ

1 ตัวแบบเหตุผลนิยมหรือตัวแบบยึดหลักเหตุผล

2 ตัวแบบส่วนเพิ่ม

3 ตัวแบบผสมผสาน

ส่วนทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการควบคุม อธิบายว่า การวางแผนจะต้องมีการตรวจสอบอํานาจที่เข้าไปแทรกแซง ซึ่งสามารถจําแนกได้ 3 แนว คือ แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง แนวคิดเชิงมนุษยนิยม และแนวคิดเชิงปฏิบัตินิยม

10 (1) ความสมเหตุสมผลทางด้านปทัสถานเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ

(2) แนวคิดเชิงมนุษยนิยมเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการควบคุม

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 87) ทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ (Decision Centred Planning Theory) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านการทําหน้าที่ (Functional Rationalism) ได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีเชิงกรรมวิธีที่มุ่งอธิบายกระบวนการและการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งทฤษฎีนี้ต่อมาก็พัฒนาไปเป็นทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการนํานโยบายไปปฏิบัติ

2 การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านปทัสถาน (Normative Rationalism) ได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีการวางแผนสังคมและการวางแผนสนับสนุน (ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ)

11 (1) การวางแผนที่มุ่งอธิบายกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอนเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการมีส่วนร่วม

(2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นผลลัพธ์

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 87) ทฤษฎีการวางแผนที่เน้นเนื้อหาหรือทฤษฎีเชิงสาระ เป็นทฤษฎีที่ให้ความสําคัญกับเนื้อหาสาระเฉพาะเรื่องที่จะนํามาวางแผนเป็นอย่างมาก โดยมุ่งอธิบายรายละเอียดของปัญหาและการแก้ปัญหาที่เจาะลึกในแต่ละเรื่อง แต่ไม่สนใจเรื่องวิธีการ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น

12 (1) การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายเป็นแนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า

(2) การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 12 – 13, 25) แนวโน้มการวิเคราะห์นโยบายในอนาคต มี 3 แนวโน้มใหญ่ คือ

1 แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า จะมุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายโดยหาทางเลือกที่ดีที่สุดที่ทําให้ประชาชนพอใจ และสนองต่อคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม โดยการเน้นให้ประชาชน กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น เพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง

2 แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย จะมุ่งเน้นการหาวิธีการที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ โดยการพิจารณามิติทางการเมืองและการบริหาร และมีการนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขาวิชามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายในลักษณะสหวิทยาการ

3 แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ จะมุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงธุรกิจที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน  (Cost-Benefit) รวมทั้งการคํานึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้นด้วย

ส่วนการที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการ เป็นขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation

13 (1) การจัดลําดับความสําคัญของปัญหาอยู่ในขั้นตอนอนุมัตินโยบาย

(2) การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 11) ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย

1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน

2 การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา

3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ

4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

14 (1) แผนงาน เป็นตัวแปรที่ Cook & Scioli เสนอไว้ในตัวแบบของเขา

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง เป็นรูปแบบที่แสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 81 82) คุกและซิโอลี (Cook & Scioli) สนใจศึกษาเรื่องผลกระทบของนโยบาย (Policy Impacts) โดยได้เสนอตัวแบบในการวิเคราะห์ผลกระทบ ของนโยบาย (A Policy Impacts Model) ซึ่งมีองค์ประกอบที่สําคัญ ดังนี้

1 นโยบาย 2 แผนงาน 3 วัตถุประสงค์ 4 กิจกรรม 5 ผลกระทบ (ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ)

15 (1) การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูง

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะกับประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 18) การนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศต่าง ๆ อาจจะให้ผลแตกต่างกัน ดังนี้

1 การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูงจะกลายเป็นข้อจํากัดที่สําคัญของประเทศในโลกที่ 3 และในยุโรปบางประเทศ

2 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีขนาดกลางหรือขนาดเล็ก

3 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะสมกับประเทศที่ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

4 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีการปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ

5 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะมีประสิทธิผลมากในประเทศที่รัฐบาลมีเสถียรภาพสูง

16 (1) Ira Sharkansky ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์

(2) David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 1 – 2, 15 – 16), (คําบรรยาย) ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่เน้นการสร้างภาพรวมและได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ได้ให้ความหมายนโยบายสาธารณะร่วมกับอับราแฮม แคปแพลน (Abraham Kaplan) ว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น อันประกอบด้วยเป้าหมาย คุณค่า และแนวการปฏิบัติงานต่าง ๆ” ส่วนไอรา ซาร์แคนสกี้ (Ira Sharkansky) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ การควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจของเอกชน เป็นต้น”

17 (1) Harold Lasswell ชี้ให้เห็นเหตุผลของการศึกษานโยบายไว้ 3 ประการ ได้แก่ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพ และเหตุผลทางการเมือง

(2) Theodore Lowi เสนอให้จําแนกนโยบายตามเนื้อหาสาระของนโยบาย

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 3, 14), (คําบรรยาย) โทมัส อาร์ ดาย (Thomas R. Dye) ได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผล ความสําคัญของการศึกษาและการกําหนดนโยบายสาธารณะไว้ 3 ประการ คือ

1 เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Reasons) คือ การทําความเข้าใจเหตุและผลของการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย เพื่อให้ได้นโยบายที่มีเหตุผลมากที่สุด

2 เหตุผลทางวิชาชีพ (Professional Reasons) คือ การนําความรู้เชิงนโยบายไปใช้แก้ปัญหาทางด้านการปฏิบัติ โดยวิชาชีพที่แตกต่างกันจะทําให้การกําหนดนโยบายและการนํานโยบาย ไปปฏิบัติของแต่ละวิชาชีพมีความแตกต่างกัน

3 เหตุผลทางการเมือง (Political Reasons) คือ การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมทางการเมืองมาใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง โดยการใช้เหตุผลทางการเมือง มักจะทําให้การกําหนดนโยบายเป็นไปอย่างไม่มีเหตุผลแต่เป็นที่ยอมรับของประชาชน เช่น นโยบายประชานิยมต่าง ๆ เป็นต้น

ส่วนธีโอดอร์ โลวาย (Theodore Lowi) ได้เสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตามเนื้อหา สาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ

18 (1) Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม

(2) David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่า โดยชอบด้วยกฎหมาย และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคม

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 1) เจมส์ แอนเดอร์สัน (James Anderson) กล่าวว่า“นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเจตนา เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น ความยากจน การผูกขาด เป็นต้น”

ส่วนเดวิด อีสตัน (David Easton) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่า (Values) ต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม”

19 (1) Harold Lasswell ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์ ไ(2) กรอสและคณะ เสนอ Catalyptic Role Model

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 18 – 22, 36 – 41, 45 – 47) นักวิชาการต่างประเทศ รายการที่ศึกษาเกี่ยวกับการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) มีดังนี้

1 กรอสและคณะ (Gross, Giacquinta & Bernstein) ศึกษานวัตกรรมทางการสอนแบบใหม่สําหรับครู โดยเน้นที่กระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาสาระของบทเรียน ซึ่งเรียกตัวแบบ นอกจเสมอ การศึกษานี้ว่า “Catalytic Role Model”

2 กรีนวูดและคณะ (Greenwood, Mann & McLaughlin) ศึกษาโครงการของรัฐบาลกลางในการให้การสนับสนุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยเน้นศึกษาโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลในระดับท้องถิ่น

3 เบอร์แมนและแมคลัฟลิน (Berman & McLaughin) ศึกษาโครงการของรัฐบาลกลาง ในการให้การสนับสนุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยเน้นศึกษาความต่อเนื่องของนโยบายนวัตกรรมหลังจากที่ความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลกลางสิ้นสุดลง

4 อีมิลี ไชมี โลวี ไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Lowe Brizendine) ศึกษาการปฏิรูปโรงเรียนรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

5 เดล อ. ริชาร์ด (Dale E. Richards) ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์

6 เพรสแมนและวิลดฟสกี (Pressman & Wildavsky) ศึกษานโยบายการจ้างงานของชนกลุ่มน้อยที่เมืองโอคแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ภายใต้ชื่อ “Implementation” ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ)

20 (1) Ira Sharkansky กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ

(2) Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะทําหรือไม่ทํา

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 1) โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) กล่าวว่า“นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา” (ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ)

 

ตั้งแต่ข้อ 21 – 25 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Regulative Policy

(2) Distributive Policy

(3) Re-Distributive Policy

(4) Capitalization Policy

(5) Ethical Policy

 

21 30 บาทรักษาทุกโรค เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องจัดบริการพื้นฐานให้ประชาชนทุกคนได้ใช้ หรือเพื่อให้ประชาชนทั่วไปโดยส่วนรวมมีโอกาสได้รับบริการสาธารณะที่เป็นของรัฐบาล อย่างทั่วถึงและพอเพียง เช่น นโยบายการมีถนนแยกเลนไปสู่ทุกจังหวัด, นโยบายการลดราคาน้ำมันเบนซิน, โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน, การขยายช่องทางจราจรหรือการสร้างถนน, การจัดให้มีบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค, นโยบายให้มีสถานพยาบาลให้ครบทุกอําเภอ, การจัดให้มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้ทุกหมู่บ้าน เป็นต้น

22 โครงการเมาไม่ขับ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy) เป็นนโยบายที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อให้ทุกคนต้องปฏิบัติตาม ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดกฎหมายต้องถูกลงโทษ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกัน ของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายจราจร(เช่น โครงการเมาไม่ขับ การขับรถยนต์ต้องมีใบขับขี่) นโยบายจัดระเบียบสังคม เป็นต้น

23 โครงการหน้าบ้านน่ามอง เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อจริยธรรม (Ethical Policy) เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ไม่มีการบังคับให้ผู้ใดปฏิบัติตาม แต่ต้องการจูงใจและสนับสนุนหรือ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้สึกสํานึกที่ดี และมีจิตสํานึกในทางที่ถูกที่ควรที่จะปฏิบัติตาม เช่น โครงการพลังแผ่นดิน,โครงการเมืองน่าอยู่, โครงการถนนสีขาว, โครงการหน้าบ้านน่ามอง, นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ, นโยบายส่งเสริมให้มีน้ำใจต่อนักท่องเที่ยว และ การรณรงค์ต่าง ๆ เป็นต้น

24 นโยบายให้มีสถานพยาบาลให้ครบทุกอําเภอ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

25 นโยบายสร้างท่าเรือน้ำลึก เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-5301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อการลงทุน (Capitalization Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเพื่อแสวงหาทรัพยากรใหม่ ๆ คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา แล้วก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมและประเทศชาติ หรือการสร้างสิ่งก่อสร้างบางอย่างเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศต่อไป เช่น นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคใต้, การสร้างสนามบิน, การสร้างนิคมอุตสาหกรรม, การสร้างท่าเรือน้ำลึก การวางท่อก๊าซ เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 26 – 30 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Economic Policy

(2) Education Policy

(3) Social Policy

(4) Administrative Policy

(5) Politic & Defence Policy

 

26 นโยบายการปฏิรูประบบราชการ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายใด

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 4), (คําบรรยาย) นโยบายทางการบริหาร (Administrative Policy) เป็นนโยบายรองที่กําหนดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ เช่น นโยบายธรรมาภิบาล นโยบายการปฏิรูประบบราชการ นโยบายเร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง นโยบายการบริหารงานบุคคล นโยบายการบริหารงานคลังโครงการประเทศไทยใสสะอาด เป็นต้น

27 การช่วยชาวเขาให้มีอาชีพ เกี่ยวข้องกับนโยบายใด

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 4), (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านสังคม (Social Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความมั่นคงให้แก่สังคม เช่น การประชาสงเคราะห์ (เช่น การช่วยเหลือชาวเขา คนชรา หรือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก) การประกันสังคม การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ โดยกําหนดให้มีโรงพยาบาล สถานีอนามัย และสุขศาลาในทุกอําเภอ การพัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขให้เป็นนักจัดการสุขภาพชุมชน โครงการตํารวจบ้าน เป็นต้น

28 โครงการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา เกี่ยวข้องกับนโยบายใด ๆ

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 4), (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านการศึกษา(Education Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวางแนวทางและการจัดการศึกษาให้กับประชาชน ทั้งการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียน เช่น การสร้างโรงเรียน โครงการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา นโยบายกําหนดให้ทุกคนต้องเรียนหนังสือ การแจกอุปกรณ์การเรียนแก่นักเรียน การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน เป็นต้น

29 โครงการตํารวจบ้าน เกี่ยวข้องกับนโยบายใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ

30 โครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เกี่ยวข้องกับนโยบายใด

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้และการกินดีอยู่ดีของประชาชน โดยให้ประชาชน ได้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนอะไรที่ได้มาซึ่งรายได้หรือรายจ่าย และเมื่อจ่ายไปแล้วก็จะมีการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกันทําให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายกองทุนหมู่บ้าน นโยบายจ่ายเงินให้ชาวนาไร่ละ 1,000 บาท การส่งเสริมอาชีพให้ประชาชน โครงการธงฟ้าราคาประหยัด โครงการธนาคารประชาชน โครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การพักชําระหนี้ให้เกษตรกร การดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต เป็นต้น

31 นักวิชาการคนใดมีความสนใจที่แตกต่างจากผู้อื่น

(1) Dale E. Richards

(2) Berman

(3) Stuart S. Nagel

(4) McLaughlin

(5) Greenwood

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

32 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) เดล อี. ริชาร์ด ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ (2) Gross, Giacquinta & Bernstein ศึกษานวัตกรรมทางการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าสาระ

(3) กรีนวูดและคณะ ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ (4) Pressman & Wildavsky ศึกษาการจ้างงานของชนกลุ่มน้อย

(5) Thomas R. Dye ชี้ให้เห็นเหตุผลของการศึกษานโยบายไว้ 3 ประการ ได้แก่ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพ และเหตุผลทางการเมือง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 17 และ 19 ประกอบ

33 Policy Science หมายถึงอะไร

(1) ความรู้ในเรื่องของนโยบาย

(2) ความรู้ในการกําหนดนโยบาย

(3) ความรู้ในการนํานโยบายไปปฏิบัติ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 16 – 17) นโยบายศาสตร์ (Policy Science) หมายถึงการให้ความรู้ในเรื่องของนโยบาย (Policy-Issue Knowledge) และความรู้ในการกําหนด นโยบายของรัฐ (Policy-Making Knowledge)

34 องค์ประกอบของนโยบายตามแนวคิดของเควด (Quade) มีอะไรบ้าง

(1) วัตถุประสงค์ ทางเลือก ผลกระทบ มาตรฐาน และค่านิยม

(2) วัตถุประสงค์ ทางเลือก กระบวนการ มาตรฐาน และค่านิยม

(3) วัตถุประสงค์ ทางเลือก ผลกระทบ มาตรฐาน และตัวแบบ

(4) วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลกระทบ มาตรฐาน และค่านิยม

(5) วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลกระทบ มาตรฐาน และตัวแบบ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 25) องค์ประกอบของการวิเคราะห์นโยบายตามแนวคิด ของเควด (E.S. Quade) มีดังนี้

1 วัตถุประสงค์ (The Objective)

2 ทางเลือก (The Alternative)

3 ผลกระทบ (The Impact)

4 มาตรฐานหรือบรรทัดฐาน (The Criteria)

5 ตัวแบบ (The Models)

35 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการที่ Stuart S. Nagel เสนอไว้ในแนวคิดในการประเมินนโยบายของเขา

(1) การกําหนดเป้าหมายเพื่อบรรลุผล

(2) การกําหนดแผนงาน

(3) การกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์

(4) การวิเคราะห์ผลตอบแทนสูงสุด

(5) การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 82) สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) ได้เสนอแนวคิดในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบง่ายสําหรับการวิเคราะห์หรือการประเมินนโยบาย ซึ่งมีหลักการหรือกระบวนการที่สําคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1 กําหนดเป้าหมายเพื่อการบรรลุผล หรือการให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด

2 กําหนดเป้าหมายสัมพันธ์

3 กําหนดคน สถานที่ หรือวัสดุอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับนโยบายนั้น ๆ

4 กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

5 ปรับความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

36 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของนโยบาย

(1) ต้องมีแผนงานรองรับ

(2) ต้องคํานึงถึงเงื่อนไขด้านเวลาและสถานที่

(3) ต้องกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์

(4) ต้องเป็นข้อความที่เข้าใจง่าย

(5) ต้องเป็นเครื่องมือหรือกําหนดบรรทัดฐานในการทํางาน

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 2) ลักษณะของนโยบายสาธารณะ มีดังนี้

1 ต้องมีวัตถุประสงค์ขัดเจน เพื่อประโยชน์แก่สังคมและส่วนรวม

2 ต้องมีแผนงานรองรับ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

3 ต้องคํานึงถึงเงื่อนไขด้านเวลาและสถานที่

4 ต้องเป็นข้อความที่เข้าใจง่าย เป็นลายลักษณ์อักษรและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

5 ต้องเป็นเครื่องมือในการกําหนดแนวทางและบรรทัดฐานในการทํางาน

37 ข้อใดไม่ใช่ความสําคัญในการศึกษานโยบาย

(1) นําความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาทางปฏิบัติ

(2) การเข้าใจเหตุผลของการตัดสินใจ

(3) การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมให้บรรลุเป้าหมาย

(4) สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนทั่วไป

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 17 ประกอบ

38 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของนโยบาย

(1) วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

(2) แนวทางในการบรรลุผล

(3) ขั้นตอนหรือแผนงาน

(4) ทุนที่ใช้ในการดําเนินการ

(5) เป็นองค์ประกอบของนโยบายทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 6 – 7) องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ มีดังนี้

1 วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน

2 ลําดับขั้นตอนหรือแผนงานในการปฏิบัติ

3 แนวทางหรือหลักการในการบรรลุผลสําเร็จ

4 การกําหนดการกระทําต่าง ๆ และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ฯลฯ )

39 ข้อใดถูกต้อง

(1) Scientific Reasons : การนําไปใช้ในการแก้ปัญหาทางปฏิบัติ

(2) Professional Reasons : การเข้าใจเหตุผลของการตัดสินใจ

(3) Political Reasons : การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมให้บรรลุเป้าหมาย

(4) Policy Effects : ปัจจัยนําเข้าของนโยบาย เช่น ทรัพยากร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 17 ประกอบ

40 การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบาย เป็นแนวโน้มในเรื่องใด

(1) แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า

(2) แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ

(3) แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย

(4) แนวโน้มเกี่ยวกับรูปแบบ

(5) แนวโน้มเกี่ยวกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

41 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกัน

(1) Elite Theory : การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี

(2) Group Theory : การหาสาเหตุและผลของนโยบาย

(3) Policy Process : ศึกษากระบวนการต่าง ๆ ในการกําหนดนโยบาย

(4) Policy Area Study : ศึกษาข้อปลีกย่อยในแต่ละแง่มุมของนโยบาย

(5) Descriptive Study : เป็นการพรรณนาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 4 – 5) แนวทางการศึกษานโยบายสาธารณะ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี (Theory or Model of Study) เป็นการศึกษาตามแนวทางที่มุ่งคิดค้นและสร้างเป็นตัวแบบหรือทฤษฎีของวิธีการศึกษานโยบายของรัฐ แล้วนําเอา ตัวแบบหรือทฤษฎีนั้น ๆ ไปใช้ในการศึกษาต่อไป เช่น ทฤษฎีผู้นํา (Elite Theory), ทฤษฎีกลุ่ม (Group Theory), ทฤษฎีระบบ (System Theory) เป็นต้น

2 การศึกษาในแง่ขอบเขตของนโยบาย (Policy Area Study) เป็นการศึกษาข้อปลีกย่อยของนโยบายแต่ละอย่างแต่ละแง่มุม โดยหาสาเหตุและเหตุผลของแต่ละประเด็นนําเอามาศึกษาและเปรียบเทียบกันดูโดยละเอียด

3 การศึกษาในแง่กระบวนการของนโยบาย (Policy Process Study) เป็นการศึกษากระบวนการต่าง ๆ ของนโยบายไม่ว่าจะเป็นกระบวนการกําหนดนโยบาย กระบวนการพัฒนา กระบวนการจัดตั้งองค์การ หรืออื่นใดก็ตาม

42 การเน้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นเพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง เป็นแนวโน้มเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) มาตรฐาน

(2) เป้าหมายและคุณค่า

(3) การดําเนินนโยบาย

(4) วิธีการ

(5) การสร้างตัวแบบหรือทฤษฎี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

43 การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 12 – 13), (คําบรรยาย) ขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงการนําทรัพยากรต่าง ๆ ไปจัดสรร เพื่อก่อให้เกิดผลตามนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย

1 การส่งต่อนโยบาย (Policy Delivery)

2 การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ

3 การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย

4 การดําเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ (Street-Level Bureaucracy)

5 การจัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร การมอบหมายอํานาจหน้าที่ และการติดต่อสื่อสาร

6 การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน

44 การแปลงนโยบายเป็นแผนงานเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Policy Outputs

(2) Policy Formulation

(3) Policy Implementation

(4) Policy Process

(5) Policy Impacts

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

45 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 11) ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation)ประกอบด้วย

1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน

2 การพิจารณา เวลาที่เกิดปัญหา

3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ

4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

46 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหาอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การประเมินผลนโยบาย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

47 การกําหนดเกณฑ์ในการวัดอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การประเมินผลนโยบาย

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 13) ขั้นตอนการประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation) ประกอบด้วย

1 การกําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน

2 การกําหนดเกณฑ์วัดและวิธีการตรวจสอบสิ่งที่ต้องการประเมิน

3 การกําหนดวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิธีการรายงาน

4 การนําผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

48 การกําหนดวิธีการในการรวบรวมข้อมูลและวิธีรายงาน อยู่ในขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การประเมินผลนโยบาย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

49 ข้อใดไม่ใช่การวิจัยประเมินผล

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) เป็นการวิจัยประเมินผลทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 76) การวิจัยประเมินผลมีวิธีการที่สําคัญ 3 รูปแบบ คือ

1 การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design)

2 การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design)

3 การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง (Pre-Experimental Design)

50 รูปแบบใดเป็นการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 76 – 78) ประโยชน์ของการวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design) มีดังนี้

1 เป็นเครื่องมือในการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด

2 ช่วยทําให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหารในระยะยาว

51 “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีจุดมุ่งหมายหลักคือ

(1) การแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) การพัฒนาแบบองค์รวม

(4) การยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กําหนด “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ด้วยการให้ความสําคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและการพัฒนา อย่างมีดุลยภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในสังคมมีความสุข ถ้วนหน้า สามารถพึ่งตนเองและก้าวตามโลกได้อย่างรู้เท่าทัน โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ของ ความเป็นไทย

52 สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในประเทศที่สําคัญที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมาคือ

(1) การเสริมสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น

(2) การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

(3) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมไทย

(4) การแพร่ระบาดของยาเสพติด

(5) กระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีดังนี้

1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (สําคัญที่สุด) ทําให้เกิดการปฏิรูปภาคการเมืองและภาคสังคมที่สําคัญหลายประการ เช่น การกระจายอํานาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง, ประชาสังคมมีความตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมในการพัฒนา

2 สังคมไทยมีเอกลักษณ์ความเป็นไทย มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่สั่งสมเป็นปึกแผ่นมายาวนาน

3 โครงสร้างสังคมไทยเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและสังคมเมืองมากขึ้น รวมถึงรูปแบบครัวเรือนส่วนใหญ่ก็เป็นครอบครัวเดี่ยว และมีการอยู่เป็นโสดเพิ่มขึ้น 4 มีปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยที่สําคัญ เช่น การตกอยู่ในกระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม,การแพร่ระบาดของยาเสพติด

53 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญคือ

(1) ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม

(2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดบริการสาธารณะและพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

(3) การมุ่งปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญ ดังนี้

1 ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม มีระบบและกลไก การทํางานรวมทั้งระบบงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ

2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถในการจัดบริการสาธารณะและการพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

3 ธุรกิจของไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

4 ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากภาครัฐอย่างครบถ้วนในเวลาที่รวดเร็ว ฯลฯ

54 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคน ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) ให้คนมีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง คิดเป็น ทําเป็น

(2) ให้คนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

(3) เพิ่มระดับการศึกษาภาคบังคับ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ให้ความสําคัญกับการสร้างคนให้มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง เป็นคนเก่ง คนดี คิดเป็น ทําเป็น มีระเบียบวินัยมีความซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสามัคคีและรักชาติ ตลอดจนมีจิตสํานึกความเป็นไทย

55 จุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมคือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด (1) ฉบับที่ 7

(2) ฉบับที่ 8

(3) ฉบับที่ 9

(4) ฉบับที่ 10

(5) ฉบับที่ 11

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 105, 107, 116 117) ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น มีดังนี้ 1 เป็นจุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม นั่นคือ เป็นแผนแรกที่มาจากการร่วมคิดของหลายฝ่ายจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มอาชีพในทุกภูมิภาคเข้ามามีบทบาทร่วมในการแสดงความคิดเห็น และกําหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่เริ่มการจัดทําแผน

2 เป็นแผนแรกที่เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” โดยถือว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น

56 การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่ คือ

(1) การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ

(2) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

(3) การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(4) การเคลื่อนย้ายคนอย่างเสรี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่นั้น มี 5 บริบท ดังนี้

1 การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินของโลก 2 การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

3 การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

4 การเคลื่อนย้ายของคนอย่างเสรี

5 การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

57 วิสัยทัศน์ประเทศไทยที่กําหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

(4) เศรษฐกิจพอเพียง

(5) การปฏิรูประบบราชการ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 7-3301-2 หน้า 138, 147) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ได้กําหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศไทยในระยะยาว โดยมุ่งพัฒนาไปสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) คนไทยมีคุณธรรมนําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัว อบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อม มีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดํารงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลก ได้อย่างมีศักดิ์ศรี”

58 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนา เศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณเท่าใด

(1) ร้อยละ 7 ต่อปี

(2) ร้อยละ 8 ต่อปี

(3) ร้อยละ 9 ต่อปี

(4) ร้อยละ 10 ต่อปี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 1-3301-2 หน้า 103 104), (คําบรรยาย) จากผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 พบว่า ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งส่งผลทําให้รายได้ต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้นจาก 2,100 บาท ในปี พ.ศ. 2504 เป็น 68,000 บาท ในปี พ.ศ. 2538 หรือเพิ่มขึ้น 32 เท่าตัว และสัดส่วนคนยากจนของประเทศลดลงเหลือเพียงร้อยละ 13.7 ในปี พ.ศ. 2535

59 สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 8.5 ปี

(2) แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8

(3) ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำเมื่อเทียบกับมาเลเซีย

(4) มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 1-3301-2 หน้า 135 136), (คําบรรยาย) สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 ประเทศไทยมีการพัฒนาคนระดับกลาง และมีแนวโน้มการพัฒนาคนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2 จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 8.5 ปี ในปี พ.ศ. 2548

3 แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8 ในปี พ.ศ. 2548

4 ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำกว่าประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ได้แก่ มาเลเซีย เกาหลี สิงคโปร์ ไต้หวัน และญี่ปุ่น

5 มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

6 คนไทยได้รับหลักประกันสุขภาพอย่างทั่วถึงร้อยละ 96.3 ในปี พ.ศ. 2548

7 สังคมไทยปรับตัวจากชนบทสู่เมืองอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ

60 สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี

(2) ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นลําดับที่ 20 ในโลก

(3) โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 128 129, 136), (คําบรรยาย) สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ รในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีดังนี้

1 เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2545 – 2548 และจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง

2 ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศใหญ่เป็นลําดับที่ 20 จากจํานวน 192 ประเทศในโลก

3 มีการพึ่งพิงการนําเข้าวัตถุดิบ ชิ้นส่วน พลังงาน เงินทุน และเทคโนโลยีในสัดส่วนที่สูง

4 อัตราการว่างงานลดลง โดยมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2

5 โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์ยังขาดประสิทธิภาพ ฯลฯ

61 สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เหลือพื้นที่ป่าร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ

(2) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบูรณ์ลง

(3) คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง

(4) การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 เหลือพื้นที่ป่าเพียงร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ

2 ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบูรณ์ลง

3 คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง เนื่องจากสาเหตุสําคัญประการหนึ่ง คือ การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น ฯลฯ

62 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนอย่างไร

(1) เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

(2) ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10

(3) อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี

(4) เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อกรม

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน ดังนี้

1 เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

2 เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเป็น 10 คน ต่อประชากร 10,000 คน

3 ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10

4 กําหนดให้อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี ฯลฯ

63 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในด้านการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถ ในการแข่งขันโดย

(1) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอตสาหกรรมของโลก

(2) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก(3) ให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

(4) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(5) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเกษตรของโลก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศประการหนึ่ง คือ พัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถการแข่งขันในระดับประเทศ ระดับวิสาหกิจและหน่วยผลิตพื้นฐาน โดยให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

64 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ทําให้สัดส่วนของคนยากจนของประเทศไทย ลดลงเป็นอย่างมาก คือ

(1) ร้อยละ 10.4

2) ร้อยละ 11.4

(3) ร้อยละ 12.4

(4) ร้อยละ 13.4

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 103 104), (คําบรรยาย) จากผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 พบว่า ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งส่งผลทําให้รายได้ต่อหัวของคนไทย เพิ่มขึ้นจาก 2,100 บาท ในปี พ.ศ. 2504 เป็น 68,000 บาท ในปี พ.ศ. 2538 หรือเพิ่มขึ้น 32 เท่าตัว และสัดส่วนคนยากจนของประเทศลดลงเหลือเพียงร้อยละ 13.7 ในปี พ.ศ. 2535

65 ผลที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 2 คือ

(1) มีความก้าวหน้าในการพัฒนาสังคม

(2) มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง

(3) มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า ประปา

(4) คุณภาพชีวิตของคนในชนบทได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

(5) มีเป้าหมายการลดอัตราการเพิ่มของประชากร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 2 คือ เน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยการลงทุนกระจายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า และประปา แต่เกิดปัญหาช่องว่างการกระจายรายได้และคุณภาพชีวิตของคนในชนบทไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

66 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(2) การส่งออกและการกระจายรายได้

(3) การพัฒนาสังคม

(4) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 40, 43, 50) จุดเด่นที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญก็คือ การพัฒนาสังคม กล่าวคือ เริ่มมีการวางแผนทางด้านสังคมโดยมีการกําหนดนโยบายด้าน ประชากรเป็นครั้งแรก ซึ่งมีการกําหนดเป้าหมายลดอัตราการเพิ่มของประชากรให้เหลืออยู่ที่ ร้อยละ 2.5 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2519 เพื่อลดภาระทางเศรษฐกิจแก่ครอบครัวที่มีฐานะยากจนและประเทศในระยะยาว รวมทั้งเพื่อให้การบริการในภาครัฐขยายตัวได้ทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น

67 วิกฤติที่เกิดขึ้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 คือ

(1) วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ

(2) วิกฤติการณ์ทางการเงินของโลก

(3) วิกฤติการณ์น้ำมัน

(4) วิกฤติการณ์ความผันผวนทางการเมือง

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 นั้น ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤติการณ์ความผันผวนทางการเมืองและวิกฤติการณ์น้ำมันอย่างรุนแรง จนก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างรุนแรง แต่สัมฤทธิผลของแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ที่เป็นไปตามเป้าหมาย ก็คือ อัตราการเพิ่มของประชากร

68 สภาพของประเทศไทยก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ คือ

(1) ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว

(2) เศรษฐกิจขยายตัวประมาณร้อยละ 4 ต่อปี

(3) ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 3.7 ต่อปี

(4) เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นกับภาคเกษตร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 2 – 3) สถานภาพของประเทศไทยก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีดังนี้

1 ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ทั้งด้านป่าไม้ แหล่งน้ำ แร่ธาตุ ฯลฯ หรืออยู่ในสภาพที่เรียกว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”

2 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวไม่ถึง 2,000 บาทต่อปี

3 เศรษฐกิจขยายตัวประมาณ ร้อยละ 4 ต่อปี

4 มีแรงงานภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 8.5 ของแรงงานทั้งหมด

5 บริการพื้นฐานต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมีไม่เพียงพอ

6 ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 3.7 ต่อปี

7 เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นกับภาคเกษตร ฯลฯ

69 การเตรียมความพร้อมและยกระดับฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน มุ่งเน้นการผลิตกําลังคน ในระดับใด

(1) ระดับสูง

(2) ระดับกลาง

(3) ระดับต่ำ

(4) ระดับกลางและระดับต่ำ

(5) ทุกระดับ 1

ตอบ 2 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการเตรียมความพร้อมและยกระดับทักษะฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและสอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปประการหนึ่ง คือ มุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากําลังคนระดับกลาง โดยผสมผสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะชีวิต กับความรู้พื้นฐาน รวมทั้งให้มีการขยายบริการการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานอย่างทั่วถึง

70 การปฏิรูปการศึกษามีแนวทางอย่างไร

(1) ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

(2) พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครู

(3) ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลาย

(4) เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนี้

1 พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครูที่มีคุณภาพและคุณธรรม

2 ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลายและยืดหยุ่น

3 ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีศักยภาพสูงและมีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

4 เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา ฯลฯ

71 ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา คือ

(1) ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ปานกลาง

(2) ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอุตสาหกรรม

(3) อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

(4) ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับสูง

(5) ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 3) ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา มีดังนี้

1 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ต่ำ

2 ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

3 อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์สูง

4 ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับต่ำ

5 อัตราความเป็นเมืองอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

6 ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม

72 ต่อไปนี้ข้อใดเป็นแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท

(1) นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้

(2) การปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงระเบียบให้คนจนได้รับโอกาสมากขึ้น

(3) ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

(4) ให้คนยากจนมีโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท ดังนี้

1 นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้ โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนยากจนเป็นองค์กรชุมชน สหกรณ์ และเครือข่ายองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง

2 เสริมสร้างโอกาสให้คนยากจน สามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึงและสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

3 ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

4 ปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงกฎระเบียบให้คนจนได้รับโอกาส สิทธิ ความเสมอภาค และความเป็นธรรมในด้านต่าง ๆ

73 การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง

(1) การให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐบาลมากขึ้น

(2) การพัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

(3) การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน (4) การมุ่งเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) การมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีสมัยใหม่

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) หมายถึง การพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน โดยยึด“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานําทางในการพัฒนา

74 ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกในช่วงที่ผ่านมาลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นผลเนื่องมาจากสาเหตุสำคัญคือ

(1) มีการพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศสูง

(2) แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ

(3) ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

(4) ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงที่ผ่านมานั้น พบว่า สมรรถนะทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากสาเหตุสําคัญ คือ

1 ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2 มีการพึ่งพาวัตถุดิบ เงินทุน และเทคโนโลยีจากต่างประเทศสูง

3 แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษา

4 ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

75 ประเทศใดเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน

(1) รัสเซีย

(2) ญี่ปุ่น

(3) จีน

(4) อินเดีย

(5) เกาหลี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจุบันแนวโน้ม “ระบบภูมิภาคนิยม” มีอิทธิพลเพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศมหาอํานาจทางเศรษฐกิจคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ยังคงมีบทบาทต่อการจัดระเบียบเศรษฐกิจและสังคมโลกใหม่ และการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกนั้น จะทําให้จีนกลายเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาคเอเชีย

76 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

(1) เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นที่จะได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

(2) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

(3) เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชน

(4) เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงเผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ประเทศไทยได้ดําเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเป็นขั้นตอน โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

1 เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

2 เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชนที่คํานึงถึงประสิทธิภาพการให้บริการ

3 เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

4 เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกที่จะได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

77 เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย คือ

(1) กระแสประชาธิปไตยในสังคมโลก

(2) กระแสโลกาภิวัตน์

(3) ระบบเศรษฐกิจของโลกมีความสลับซับซ้อนและเชื่อมโยงกันมากขึ้น

(4) แนวโน้มของการพัฒนาสู่ “เศรษฐกิจยุคใหม่”

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นอกจากตัวเลือกข้อ 1, 2, 3 และ 4 แล้ว เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย ได้แก่

1 การเปิดเสรีและการกีดกันทางการค้า

2 แนวโน้มระบบภูมิภาคนิยมมีอิทธิพลเพิ่มขึ้น

3 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบาง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของ ประเทศสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นที่ยังชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่ประมาณการไว้

78 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาส “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส” ได้แก่

(1) เด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

(2) สตรีในธุรกิจบริการทางเพศ

(3) คนพิการ ผู้ถูกคุมประพฤติ และผู้ต้องขัง

(4) ผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากร “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส”ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มเด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

2 กลุ่มเด็กและสตรีในธุรกิจบริการทางเพศ และถูกประทุษร้าย

3 กลุ่มคนพิการ

4 กลุ่มผู้ถูกคุมประพฤติและผู้ต้องขัง

5 กลุ่มผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

6 กลุ่มคนยากจนในเมืองและชนบท

7 กลุ่มคนไทยต่างวัฒนธรรม

79 สาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจไทยในช่วงปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คือ

(1) ขาดปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างรุนแรง

(2) รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงมากและคนไทยนิยมไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น

(3) ปัญหาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์

(4) ปัญหาแรงงานฝีมือต่ำ

(5) ปัญหาด้านการส่งออก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 111 – 113), (คําบรรยาย) วิกฤติเศรษฐกิจไทยที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีสาเหตุเกิดจากปัญหาโครงสร้างที่สะสมมานานซึ่งไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ประกอบกับมีปัจจัยและตัวเร่งที่ก่อให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ ระบบเศรษฐกิจและการเมืองในลักษณะรวมศูนย์ ความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของภาครัฐ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยที่มีค่านิยมทางวัตถุและสิ่งฟุ่มเฟือย รวมทั้งการนิยมเดินทาง ไปเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งทําให้รายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศลดลง ได้นําไปสู่ การที่รัฐบาลตัดสินใจประกาศขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) พร้อมด้วยพันธะกรณีตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่จะต้องรักษาวินัยทางการเงินและการคลัง อย่างเคร่งครัด

80 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าเท่าใดของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

(1) ร้อยละ 0.6

(2) ร้อยละ 0.5

(3) ร้อยละ 0.4

(4) ร้อยละ 0.3

(5) ร้อยละ 0.2

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ ดังนี้

1 มีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

2 การส่งออกสินค้ามีการขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ต่อปี โดยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทยให้อยู่ในระดับร้อยละ 1.1 ของตลาดโลกในปี พ.ศ. 2549

3 เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7-8 ต่อปี และให้คนไทยท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ต่อปี

4 เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ฯลฯ

81 แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีลักษณะที่แตกต่างจากแผนอื่น ๆ คือ (1) มุ่งเน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

(2) มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่คํานึงถึงผลทางด้านสังคม

(3) สนใจเรื่องการกระจายรายได้

(4) เป็นแผนที่มีระยะเวลานาน 6 ปี

(5) เน้นเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 11 – 12,19), (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ ดังนี้

1 เป็นแผนที่มีระยะเวลายาวนานถึง 6 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ถึง 2509

2 เป็นแผนที่กําหนดวัตถุประสงค์เดี่ยว (Single Objective) คือ เร่งรัดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

82 ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายว่าในปี 2549 ประชาชนจะมีการศึกษาอย่างไร

(1) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6 ปี

(2) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 8 ปี

(3) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 9 ปี

(4) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 12 ปี

(5) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 15 ปี

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 122 – 123) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิต ดังนี้

1 ให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปมีการศึกษาโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 9 ปี ในปี พ.ศ. 2549

2 ยกระดับการศึกษาของแรงงานไทยให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2549

3 ขยายการประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

4 ให้มีระบบการคุ้มครองทางสังคมที่สร้างหลักประกันแก่คนไทยทุกช่วงวัย ฯลฯ

83 การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” มีแนวทางอย่างไร

(1) สนับสนุนให้เกษตรกรริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

(2) ให้สินเชื่อทางการเกษตรแก่เกษตรกรมากขึ้น

(3) รัฐเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้สนับสนุนมาเป็นผู้ชี้นําในการพัฒนาการเกษตร (4) ให้ภาคเอกชนลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301 -2 หน้า 97) การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 7 มีแนวทาง ดังนี้

1 สนับสนุนให้เกษตรกรเป็นผู้ริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

2 ให้ความสําคัญกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มเกษตรกรผู้ยากจน แรงงานรับจ้างภาคเกษตร ผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีที่ดินของตนเอง ให้ได้รับบริการด้านปัจจัยการผลิตอย่างทั่วถึงและเพียงพอ

3 รัฐต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น “ผู้ชี้นํา” มาเป็น “ผู้สนับสนุน” ในการพัฒนาการเกษตร

4 ภาครัฐต้องเน้นการลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

84 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในด้านอัตราเงินเฟ้ออย่างไร

(1) ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี

(2) ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

(3) ไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี

(4) ไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี

(5) ไม่เกินร้อยละ 6 ต่อปี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 80 ประกอบ

85 “หน่วยงานกลาง” มีบทบาทสําคัญในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ หน่วยงานกลางได้แก่

(1) สํานักงาน ก.พ.

(2) สํานักงบประมาณ

(3) กระทรวงการคลัง

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานกลางในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยกําหนดให้ปรับปรุงบทบาทของหน่วยงานกลาง 5 หน่วยงาน ดังนี้

1 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2 สํานักงบประมาณ

3 สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

4 สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

5 สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

86 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะเหตุใด

(1) ต้องเร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติ

(2) ต้องพัฒนาสิ่งแวดล้อมในทุก ๆ ด้าน

(3) ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอกมากขึ้น

(4) ต้องเร่งพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้จากเงินตราต่างประเทศ

(5) ต้องพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตของคนชนบท

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 130) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะจําเป็นต้องเร่งรัดการปฏิรูป ระบบเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดสัมฤทธิผล และเร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติ พร้อมทั้งวางรากฐานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกและสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น

87 การปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่มุ่งให้ระบบราชการมีลักษณะอย่างไร

(1) ปรับปรุงโครงสร้างใหม่ให้เน้นการเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ

(2) เพิ่มจํานวนบุคลากรให้มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจใหม่

(3) ระบบราชการทํางานแยกส่วนกับภาคเอกชนโดยมุ่งแข่งขันกับภาคเอกชน

(4) ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่ ดังนี้

1 ปรับบทบาท ภารกิจ และวิธีการบริหารงานของระบบราชการจากการเป็นผู้ปฏิบัติไปเป็นผู้กํากับดูแลและอํานวยความสะดวก

2 ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

3 ปรับระบบบริหารบุคคลและลดจํานวนบุคลากรให้สอดคล้องกับการปรับบทบาทภารกิจใหม่

4 ปรับระบบราชการให้สามารถทํางานร่วมกับภาคเอกชนได้ ฯลฯ

88 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-7 ก่อให้เกิด “ความไม่สมดุลของการพัฒนา”หมายความว่า

(1) มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง และมีการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน

(2) มีปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้

(3) มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแต่มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย

(4) มีปัญหายาเสพติดและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 นั้น ก่อให้เกิด“ความไม่สมดุลของการพัฒนา” หมายความว่า มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจดี แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และผลประโยชน์จากการพัฒนาระหว่างภาค ระหว่างชนบท กับเมือง และระหว่างกลุ่มคนในสังคม ก็ยังเป็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย โดยทําให้มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย เช่น ปัญหายาเสพติดและความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ขณะเดียวกันก็มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งนําไปสู่ ปัญหาความขัดแย้งแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและความเสื่อมโทรม ทางสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง จึงนําไปสู่ข้อสรุปผลการพัฒนาที่ว่า แม้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับดี แต่สังคมมีปัญหา และการพัฒนาไม่ยั่งยืน

89 ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คือ

(1) เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

(2) มุ่งเน้นการปฏิรูปทางการศึกษา

(3) มุ่งเน้นการเสริมสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

(4) เศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนา

(5) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 105, 107, 116 117) ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น มีดังนี้ 1 เป็นจุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม นั่นคือ เป็นแผนแรกที่มาจากการร่วมคิดของหลายฝ่ายจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มอาชีพในทุกภูมิภาคเข้ามามีบทบาทร่วม ในการแสดงความคิดเห็น และกําหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่เริ่มการจัดทําแผน

2 เป็นแผนแรกที่เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” โดยถือว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น

90 วิกฤติที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คือ

(1) ปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์

(2) ปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหาการขาดดุลงบประมาณ

(3) ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างรุนแรง ความพยายามในการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะปานกลาง อย่างต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ และมีเสถียรภาพในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็ยังมีปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหาการขาดดุลงบประมาณอยู่อย่างเดิม

91 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด ที่ประเทศไทยมีผลของการพัฒนาเศรษฐกิจสูงกว่าเป้าหมายถึงสองเท่าตัว

(1) ฉบับที่ 5

(2) ฉบับที่ 6

(3) ฉบับที่ 7

(4) ฉบับที่ 8

(5) ฉบับที่ 9

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 82), (คําบรรยาย) การพัฒนาตลอดช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 เศรษฐกิจของประเทศได้ฟื้นตัวและขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10.5 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ถึง 2 เท่าตัว นับเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยสูงสุด ของการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 25 ปีของการพัฒนาที่ผ่านมา โดยที่โครงสร้างเศรษฐกิจไทย เปิดกว้างเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนานาชาติมากขึ้น และโครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนจากเศรษฐกิจการเกษตรสู่เศรษฐกิจอุตสาหกรรม นอกจากนี้ภาวะเศรษฐกิจของโลกเอื้ออํานวยต่อเศรษฐกิจไทยด้วย

92 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด ที่ประเทศไทยสามารถลดอัตราการเพิ่มของประชากรได้ผลตรงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผน

(1) ฉบับที่ 4

(2) ฉบับที่ 5

(3) ฉบับที่ 6

(4) ฉบับที่ 7

(5) ฉบับที่ 8

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 55 – 56) ผลการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 มีดังนี้

1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ คือ เพิ่มในอัตราร้อยละ 7.1 ต่อปี สูงกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ร้อยละ 7.0 ต่อปี

2 การผลิตสาขาเกษตรและอุตสาหกรรมขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้

3 การลดอัตราการเพิ่มของประชากรเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการเป็นครั้งแรก โดยอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี

4 การกระจายรายได้ยังทําได้ไม่เพียงพอและทั่วถึง โดยเฉพาะประชาชนในเขตชนบท ฯลฯ

93 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ประสบความสําเร็จอย่างสูงในเรื่องใด

(1) การลดปัญหาสังคมเมืองและปัญหาอาชญากรรม

(2) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(3) มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงเกินความคาดหมาย

(4) ความสมดุลของการพัฒนา

(5) การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

94 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ คือ

(1) มีการประเมินความเสี่ยง

(2) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโลก

(3) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(4) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก

(5) ให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 152 153), (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ได้ประเมินความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญไว้ 6 ประการ ซึ่งถือเป็นรายละเอียดที่ทําให้ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีความแตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับก่อน ๆ ดังนี้

1 การบริหารภาครัฐอ่อนแอ ไม่สามารถขับเคลื่อนการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

3 โครงสร้างประชากรที่มีวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง

4 ค่านิยมที่ดีงามเสื่อมถอยและประเพณีดั้งเดิมถูกบิดเบือน

5 ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของประเทศมีแนวโน้มเสื่อมโทรมรุนแรง

6 มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงเพราะเกิดปัญหาความไม่สงบภายในประเทศและปัญหาการก่อการร้าย

95 ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคได้แก่ข้อใด

(1) การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(2) การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม

(3) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

(4) การป้องกันภัยจากภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 161 – 163) ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีดังนี้

1 การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

2 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

3 การป้องกันภัยจากภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

4 การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม ฯลฯ

96 ภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติเป็นอย่างไร

(1) ได้คะแนน 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ในปี 2548

(2) อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

(3) มีอันดับเพิ่มสูงขึ้น

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 – 3

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 137) ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทย และการอนาที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ มีอันดับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนนในปี 2548 ซึ่งยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

97 “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” มีลักษณะอย่างไร

(1) สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมีความยั่งยืน

(2) คนไทยมีคุณธรรมนําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก

(3) ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข

(4) เศรษฐกิจมีเสถียรภาพและเป็นธรรม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 57 ประกอบ

98 การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ที่สําคัญได้แก่

(1) ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นฐานรายได้หลักของประเทศ

(2) ยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(3) เร่งรัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ

(4) สนับสนุนให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศ

(5) ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชนบท

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 153) การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศไทยตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มี 5 ประการ ดังนี้

1 ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2 การพัฒนาประเทศให้อยู่บนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

3 สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม

4 ภาคการเกษตรเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ

5 ชุมชนท้องถิ่นเป็นกลไกที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเชื่อมโยงกันเป็นสังคมสวัสดิการ

99 ปัจจุบันประเทศไทยมุ่งเดินหน้าพัฒนาไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” หมายความว่าอย่างไร

(1) การพัฒนาให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม (2) การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2575

(3) การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นผู้นําในกลุ่มประเทศอาเซียน

(4) การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศไทย 4.0 คือ การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล เป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลมาสร้างสรรค์หรือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอย่างแท้จริง

100 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ข้อใด

(1) เทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรม

(2) เทคโนโลยีการเกษตร

(3) นาโนเทคโนโลยี

(4) เทคโนโลยีการศึกษา

(5) เทคโนโลยีสารสนเทศ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ นาโนเทคโนโลยี ) (Nanotechnology) เช่น นาโนเทคโนโลยีเชิงชีวภาพและนาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Biological and Medical Nanotechnology) มีบทบาทเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันอย่างมาก

และยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับความต้องการพื้นฐานของมนุษยชาติ เช่น การมีอายุยืนยาว ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและรักษาโรค มีสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมทั้งมีรูปร่างหน้าตาสวยงามตลอดเวลา

Advertisement