การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 Vox Populi, Vox Dei หมายถึง

(1) เสียงของประชาชนคือเสียงสวรรค์

(2) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน

(3) เสียงของประชาชนไม่ใช่เสียงสวรรค์

(4) เสียงสวรรค์ต้องอยู่เหนือประชาชน

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือหลักการสําคัญที่ว่า “อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน” (Popular Sovereignty) ซึ่งตรงกับคํากล่าวในภาษาลาตินว่า “Vox Populi, Vox Dei” หรือ “เสียงของประชาชนคือเสียงสวรรค์” กล่าวคือ ประชาชนมีอํานาจอธิปไตย และ มอบหมายให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งทําหน้าที่แทนตน ดังนั้นการเลือกตั้งจึงเป็นการแสดงออกถึงสิทธิและอํานาจของประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตย

2 ตัวอย่างผู้นําแบบบารมี (Charisma) ได้แก่

(1) บารัค โอบามา

(2) อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

(3) สฤษดิ์ ธนะรัชต์

(4) จอห์น เอฟ. เคนเนดี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผู้นําแบบบารมี (Charisma) คือ ผู้นําที่ใช้บุคลิกภาพและความสามารถพิเศษของตนเป็นเครื่องมือกระตุ้นหรือโน้มน้าวให้ผู้อื่นทําตามด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ซึ่งตัวอย่าง ของผู้นําแบบบารมี ได้แก่ บารัค โอบามา, จอห์น เอฟ. เคนเนดี้, อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้น

3 การสร้างระบบคุณธรรม (Merit System) เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบ (1) ระบบกองทัพ

(2) ภาคธุรกิจ

(3) การศึกษา

(4) ระบบราชการ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การสร้างระบบคุณธรรม (Merit System) เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบราชการ โดยระบบคุณธรรมได้ถูกนํามาใช้ในระบบราชการไทยครั้งแรกในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ซึ่งประกอบด้วยหลักการสําคัญ 4 ประการ คือ หลักความสามารถ (Competence) หลักความเสมอภาค (Equality) หลักความมั่นคง(Security) และหลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality)

4 การปฏิรูประบบราชการสมัยใหม่เกิดขึ้นในรัชสมัยของ

(1) รัชกาลที่ 4

(2) รัชกาลที่ 5

(3) รัชกาลที่ 6

(4) รัชกาลที่ 7 มกราคม

(5) รัชกาลที่ 8

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปฏิรูประบบราชการสมัยใหม่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5) ซึ่งมีการปฏิรูปที่สําคัญ ๆ เช่น การจัดตั้งสภาที่ปรึกษา ราชการแผ่นดินและสภาองคมนตรี การจัดตั้งเทศาภิบาล การจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์การยกเลิกระบบจตุสดมภ์ การยกเลิกระบบไพร่และทาส เป็นต้น

5 นิยายข้อใดสะท้อนรัฐตํารวจได้ดี

(1) Animal Farm

(2) 1984

(3) 80 วันรอบโลก

(4) The Brave New World

(5) Lord of the Flies

ตอบ 2 (คําบรรยาย) จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) นักเขียนชาวอังกฤษ ได้แต่งนิยายเรื่อง “1984” เพื่อสะท้อนถึงรัฐตํารวจ (Police State) ซึ่งเป็นรัฐเผด็จการที่จับตาสอดส่องประชาชน ในรัฐ รวมทั้งข่มขู่ หรือทําร้าย หรือใช้กองกําลังสังหารคนที่มีความเห็นแตกต่าง

6 หลักการเรื่องธรรมาภิบาลประกอบด้วย

(1) โปร่งใส รวดเร็ว ประหยัด

(2) โปร่งใส รับผิดชอบ ไม่เชลียร์

(3) โปร่งใส รับผิดชอบ รวดเร็ว

(4) รับผิดชอบ คุณธรรม ประสิทธิภาพ

(5) โปร่งใส รับผิดชอบ ประสิทธิภาพ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักการสําคัญของธรรมาภิบาลหรือธรรมรัฐ (Good Governance) ประกอบด้วย

1 ความโปร่งใส (Transparency)

2 ความรับผิดชอบตรวจสอบได้ (Accountability)

3 ประสิทธิภาพ (Efficiency)

7 ผู้นําการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 สู่สยาม คือ

(1) นักเรียนนอกจากอเมริกา

(2) สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จากจีน

(3) พวกเก๊กเหม็ง

(4) คณะราษฎร

(5) กลุ่มซอยราชครู

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 สู่สยามเกิดจาก “คณะราษฎร”ซึ่งประกอบด้วย ทหาร ข้าราชการ และพลเรือน ทําการยึดอํานาจการปกครองจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ กษัตริย์หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย หรือระบอบ รัฐธรรมนูญ หรือระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่ง ม.จ.วรรณไวทยากร เรียกการ เปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ว่า “การปฏิวัติ” ส่วนนายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)เรียกการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ว่า “การอภิวัฒน์”

8 การสิ้นสุดอํานาจของคณะราษฎรอาจจะนับได้จาก

(1) รัฐประหาร พ.ศ. 2490

(2) การจี้จอมพล ป. บนเรือแมนฮัตตัน

(3) การระดมยิงไปฝ่ายกบฏวังหลวง

(4) การสังหารสี่รัฐมนตรีอีสาน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ถือว่าเป็นการยุติบทบาทหรือสิ้นสุดอํานาจของ “คณะราษฎร” ในการเมืองไทยร่วมสมัย เมื่อกลุ่มทหารนอกราชการที่นําโดย จอมพลผิน ชุณหะวัณ ยึดอํานาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ (ซึ่งสืบอํานาจต่อจาก รัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์) โดยการรัฐประหารในครั้งนี้ถือเป็นการขจัดกลุ่มอํานาจเก่าของนายปรีดีให้สิ้นไปจากเวทีการเมือง แม้จะมีความพยายามกลับมาทํากบฏวังหลวงในปี 2492 แต่ก็ไม่สําเร็จ

9 หัวหน้ากลุ่มซอยราชครู คือ

(1) หมอเหล็ง ศรีจันทร์

(2) จอมพลผิน ชุณหะวัณ

(3) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

(4) หลวงวิจิตรวาทการ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) กลุ่มซอยราชครู ประกอบด้วย จอมพลผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้า, พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์, พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร และ ร.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศในขณะนั้น) โดยมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นตัวแทนของอํานาจกลุ่มในการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งกลุ่มนี้ได้เข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยตั้งแต่การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490และสิ้นสุดอํานาจหลังการรัฐประหาร 16 กันยายน 2500

10 หลวงวิจิตรวาทการมีบทบาทสําคัญในการกําหนดนโยบาย

(1) ค่าเงินบาท

(2) ละครปลุกใจรักชาติ

(3) การต่อสู้กับฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์

(4) การต่อสู้กับคอมมิวนิสต์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลี่ยง วัฒนปฤดา) เป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการแต่งเพลงและละครปลุกใจให้ประชาชนเกิดความรักชาติตามนโยบายชาตินิยมในสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยได้แต่งละครไว้ 24 เรื่อง และแต่งเพลงประมาณ 150 เพลง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันจนทุกวันนี้ เช่น ละครเรื่องเลือดสุพรรณ ศึกถลาง ราชมนู เจ้าหญิงแสนหวี น่านเจ้า และเพลงปลุกใจรักชาติ เช่น ตื่นเถิดชาวไทย รักเมืองไทย ใต้รมองเทย รักชาติ และต้นตระกูลไทยเป็นต้น

11 การรัฐประหารเดือนกันยายน พ.ศ. 2500 เป็นการสิ้นอํานาจของกลุ่มการเมืองใด (1) นายปรีดี พนมยงค์

(2) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(3) นายควง อภัยวงศ์

(4) ซอยราชครู

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

12 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พยายามแยกตัวเองออกจากยุคปฏิวัติโดยคณะราษฎรมาเป็นยุค

(1) อภิวัฒน์

(2) รัฐประหาร

(3) พัฒนา

(4) เลี้ยงสุกร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พยายามแยกตัวเองออกจากยุคปฏิวัติโดยคณะราษฎรมาเป็น “ยุคพัฒนา” โดยได้สร้างผลงานทั้งทางด้านการปรับปรุงการบริหารและการพัฒนา ประเทศไว้มากมาย เช่น การออกกฎหมายเลิกการเสพและจําหน่ายผืนโดยเด็ดขาด กฎหมาย ปราบปรามพวกนักเลงอันธพาล กฎหมายปราบปรามการค้าประเวณี และที่สําคัญที่สุดก็คือ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาทําการศึกษา ค้นคว้าวิจัยจนกระทั่งได้จัดทําแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 2509)ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นแม่แบบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน

13 รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยครึ่งใบ หมายถึง

(1) ฉบับ 2521

(2) ฉบับ 2534

(3) ฉบับ 2540

(4) ฉบับ 2549

(5) ฉบับ 2557

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร เป็นผู้ที่ขนานนามรัฐธรรมนูญฯ 2521 ว่าเป็น“ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงของรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เนื่องจาก กําหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง ไม่ได้แยกข้าราชการประจําออกจากการเมือง ทําให้ข้าราชการประจําเป็นวุฒิสมาชิกได้ ซึ่งพบว่ามีลักษณะเป็นการประนีประนอมทางอํานาจระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจํานั่นเอง

14 ลักษณะ “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว คือ

(1) การคงอํานาจของผู้นํากองทัพต่อ

(2) สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง

(3) นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง

(4) สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง

(5) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางส่วนมาจากการแต่งตั้ง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

15 การรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520 มีลักษณะพิเศษคือ เป็นรัฐประหารเพื่อ

(1) เพื่อยืดอายุบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ

(2) เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปโดยเร็ว

(3) ขยายอายุราชการให้ทหารบางคน

(4) ยืดอายุสภานิติบัญญัติ

(5) ส้มร่างรัฐธรรมนูญ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร โดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินภายใต้การนําของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ซึ่ง ทางคณะปฏิรูปฯ ได้ประกาศชัดว่า เป็นรัฐประหารเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปโดยเร็ว และได้แต่งตั้ง พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นนายกรัฐมนตรี

16 รัฐบาลหอย หมายถึง รัฐบาลยุค

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร

(5) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รับฉายาว่า “รัฐบาลหอย” เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่ได้รับการปกป้องจากทหารหรือมีทหารคอยคุ้มภัย ซึ่งเปรียบเสมือนเปลือกหอยคอยคุ้มครองตัวหอยนั้นเอง

17 หลัง 14 ตุลาคม 2516 พรรคการเมืองที่ถือสโลแกน “ขวาพิฆาตซ้าย” คือ

(1) พรรคประชาธิปัตย์

(2) พรรคสังคมนิยม

(3) พรรคก้าวหน้า

(4) พรรคชาติไทย

(5) พรรคมวลชน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลัง 11 ตุลาคม 2516 พรรคชาติไทยของ พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร(ยศในขณะนั้น) ได้ใช้คําขวัญ “ขวาพิฆาตซ้าย” ในการลงเลือกตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2519

18 ข้อใดเป็นปัจจัยที่ทําให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมีความกล้าแข็งหลัง 14 ตุลาคม 2516

(1) การสังหารผู้นําชาวไร่ชาวนา

(2) การไล่ล่าฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

(3) การตั้งกลุ่มกระทิงแดง

(4) การสังหารประชาชนวันที่ 6 ตุลาคม 2519

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ทําให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) มีความกล้าแข็ง หลัง 14 ตุลาคม 2516 คือ

1 การไล่ล่าฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง การสังหารผู้นําชาวไร่ชาวนา การกวาดจับนักศึกษาและกรรมกรจํานวนมาก)

2 การกล่าวหานักศึกษาและประชาชน ด้วยข้อหาคอมมิวนิสต์

3 การคุกคามต่อขบวนการนักศึกษาและประชาชน โดยมีการตั้ง มวลชนหลายกลุ่มขึ้นมาต่อต้าน เช่น กลุ่มกระทิงแดง กลุ่มนวพล และกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน

4 การสังหารนักศึกษาและประชาชนเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ฯลฯ

19 นโยบายที่ 66/2523 ประกาศใช้ในสมัยรัฐบาล

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีติดต่อกันถึง 3 สมัย(พ.ศ. 2523 – 2531) และในแต่ละสมัยก็พ้นจากตําแหน่งด้วยการยุบสภาผู้แทนราษฎร โดยสมัยแรกนั้น พล.อ.เปรม ได้ผลักดันนโยบาย “การเมืองนำการทหาร” ซึ่งปรากฏออกมา ในรูปนโยบาย 66/2523 และ 66/2525 เพื่อยุติการทําสงครามสู้รบระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทยกับฝ่ายรัฐบาล ผลพวงจากนโยบายดังกล่าวทําให้นักศึกษาที่หนีเข้าป่า ภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เพื่อจับอาวุธต่อสู้กับรัฐบาล ได้มีโอกาสหวนมาเดินบนหนทางแห่งสันติภาพอีกครั้ง

20 นายกรัฐมนตรีท่านใดพ้นจากตําแหน่งด้วยการลาออกกลางสภาผู้แทนราษฎร

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 4 (คําบรรยาย) พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรีที่พ้นจากตําแหน่งด้วยการลาออกกลางสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523 โดยมีสาเหตุเนื่องมาจากการที่รัฐบาลตัดสินใจเพิ่มราคาค่าน้ํามันตามราคาตลาดโลก ซึ่งทําให้หลายฝ่ายได้รับความเดือดร้อนและโจมตี

21 นายกรัฐมนตรีท่านใดพ้นจากตําแหน่งด้วยการยุบสภาผู้แทนราษฎร

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

(3) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(4) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

22 นายกรัฐมนตรีท่านใดพ้นจากตําแหน่งด้วยการถูกรัฐประหาร

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

(3) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(4) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.) ส่งผลให้ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ต้องพ้นจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งผลพวงจากการ ยึดอํานาจดังกล่าวได้นําไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในวันที่ 17 – 20 พฤษภาคม 2535หรือพฤษภาทมิฬ และการก่อตัวของกระแสปฏิรูปการเมืองและร่างรัฐธรรมนูญฯ 2540

23 มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 เป็นการร่างตามอย่างของธรรมนูญการปกครองฉบับใด

(1) พ.ศ. 2502

(2) พ.ศ. 2511

(3) พ.ศ. 2517

(4) พ.ศ. 2521

(5) พ.ศ. 2540

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 44 ได้ให้อํานาจหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เหนืออํานาจของฝ่ายบริหาร (นายกรัฐมนตรี) นิติบัญญัติ และตุลาการ ซึ่งเป็นการร่างตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองฯ พ.ศ. 2502 ที่กําหนดให้นายกรัฐมนตรีสามารถใช้อํานาจได้ทั้งอํานาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการร่วมกัน

24 การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 กระทําโดยคณะ

(1) กปปส.

(2) รสช.

(3) คสช.

(4) คมช.

(5) คณะปฏิรูป

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 22 ประกอบ

25 นายกรัฐมนตรีท่านใดกระทําการรัฐประหารยึดอํานาจจากรัฐบาลตัวเอง

(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(2) จอมพลถนอม กิตติขจร

(3) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(4) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) จอมพลถนอม กิตติขจร ทําการรัฐประหารยึดอํานาจจากรัฐบาลตัวเองเมื่อปลายปี พ.ศ. 2514 โดยมีสาเหตุสืบเนื่องจากการที่สมาชิกพรรคสหประชาไทยของจอมพลถนอม ไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนตามที่จอมพลถนอมได้เคยสัญญาไว้ในช่วงการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 จึงทําให้ ส.ส. เหล่านี้ได้ต่างพากันเรียกร้องต่าง ๆ นานา บ้างก็ขู่ว่าจะลาออก เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้เป็นเหตุให้จอมพลถนอมหัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรี ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ ในสภาฯ ได้จึงทําการยึดอํานาจตัวเอง โดยไม่มีชื่อเรียกคณะรัฐประหารในครั้งนี้โดยเฉพาะเหมือนการรัฐประหารที่เคยมีมาในอดีต แต่เรียกตัวเองเพียงแค่ว่า “คณะปฏิวัติ”

26 ความพยายามของนายปรีดี พนมยงค์ และคณะที่จะก่อรัฐประหาร คือกรณี

(1) กบฏวังหลวง

(2) กบฎแมนฮัตตัน

(3) กบฏเมษาฮาวาย

(4) กบฏแช่แข็งประเทศไทย

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 1 (คําบรรยาย) กบฏ (Rebellion) คือ ความพยายามยึดอํานาจหรือก่อการรัฐประหารที่ล้มเหลวซึ่งในประวัติศาสตร์ไทยมีกบฏที่สําคัญ ๆ เช่น กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์ 2492) นําโดย นายปรีดี พนมยงค์ และคณะ, กบฏแมนฮัตตัน (29 มิถุนายน 2494) นําโดย น.อ.อานนท์ ปุณฑริกาภา และ น.ส.มนัส จารุภา, กบฏเมษาฮาวายหรือกบฏยังเตอร์ก (1-3 เมษายน 2524)นําโดย พล.อ.สัณฑ์ จิตรปฏิมา และกลุ่มทหารยังเตอร์ก เป็นต้น

27 นายกรัฐมนตรีท่านใดที่ต้องว่ายน้ำหนีจากการถูกจับเป็นตัวประกัน

(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(2) จอมพลถนอม กิตติขจร

(3) หลวงธํารงนาวาสวัสดิ์

(4) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 1 (คําบรรยาย) จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องว่ายน้ำหนีจากการถูกจับเป็นตัวประกันในเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2494 โดย น.ต.มนัส จารุภา ได้จี้จับตัว จอมพล ป. ขณะเป็นประธานรับมอบเรือขุดแมนฮัตตันที่ท่าเรือราชวรดิษฐแล้วนําไปคุมขังไว้ที่ เรือหลวงศรีอยุธยา จนกระทั่งเครื่องบินกองทัพอากาศได้ทิ้งระเบิดใส่เรือหลวงจนอับปาง จอมพล ป. จึงว่ายน้ำหนีออกมาได้อย่างปลอดภัย

28 งานวิจัยเรื่อง “ทบทวนภูมิทัศน์ทางการเมืองไทย” พยายามอธิบายว่า

(1) วงจรอุบาทว์หมดจากการเมืองไทยแล้ว

(2) ความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์เสื่อมลง

(3) มีคนชั้นกลางใหม่ในหัวเมือง

(4) อํามาตย์ไม่มีจริง

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) งานวิจัยเรื่อง “ทบทวนภูมิทัศน์ทางการเมืองไทย” โดย ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย,ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร และ รศ.ดร.นิติ ภวัครพันธุ์ อธิบายว่า มีคนชั้นกลางใหม่ในหัวเมือง (ชนบท) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง บุคคลเหล่านี้มีรายได้ประมาณ 4,000 – 10,000 บาท ต่อเดือน เป็นระดับรายได้ที่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ จึงไม่ต้องพึ่งพาความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ทําให้ความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ในชนบทนั้นเสื่อมลง

29 ผู้นําคณะรัฐประหารที่ก่อการรัฐประหารยึดอํานาจถึงสองครั้ง คือ

(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(2) จอมพลถนอม กิตติขจร

(3) หลวงธํารงนาวาสวัสดิ์

(4) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(5) พลเรือเอกสงัด ชลออยู่

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ เป็นผู้นําคณะรัฐประหารที่ก่อการรัฐประหารยึดอํานาจถึงสองครั้ง คือ วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ยึดอํานาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และวันที่ 20 ตุลาคม 2520 ยึดอํานาจรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร (ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ)

30 การรัฐประหารที่ล้มเหลว เรียกว่า

(1) คณะกู้ชาติ

(2) กบฎ

(3) สหาย

(4) ฮีโร่ป๊อปคอร์น

(5) คณะปฏิรูป

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

31 พลเอกสุจินดา คราประยูร ถูกโจมตีหลังรับตําแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2535 ด้วยข้อหา

(1) ตระบัดสัตย์

(2) ทรยศชาติ

(3) งูเห่า

(4) พลิ้วไหวเหมือนสายน้ำ

(5) คืนความสุข

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี พ.ศ. 2535 พรรคสามัคคีธรรม ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งเพื่อรองรับบทบาทของทหาร (คณะ รสช.) หลังรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ได้จํานวน ส.ส. ในสภามากที่สุด จึงเลือกนายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรค เข้ารับตําแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากนายณรงค์ถูกสหรัฐอเมริกาขึ้นบัญชีดํา ไม่สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้ จึงเลือก พล.อ.สุจินดา คราประยูร เข้ารับตําแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน ทําให้พล.อ.สุจินดาถูกโจมตีว่า “ตระบัดสัตย์” เนื่องจากเคยยืนยันว่าจะไม่รับตําแหน่งนายกรัฐมนตรี

32 ตัวแทนของอํานาจกลุ่มซอยราชครู ได้แก่

(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(2) จอมพลผิน ชุณหะวัณ

(3) พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร

(4) พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

33 การมีสมาชิกสภาผู้แทนในระบบบัญชีรายชื่อเป็นความพยายามจะแก้ปัญหาใด

(1) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(2) พ่อขุนอุปถัมภ์

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) ข้อ 4 และ 5

ตอบ 4 (คําบรรยาย) จากแนวคิดสองนคราประชาธิปไตยที่ว่า “คนจนในชนบทเลือกรัฐบาล คนชั้นกลางในเมืองล้มรัฐบาล” ได้นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญฯ 2540 ให้มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทสัดส่วนหรือแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ทั้งคนจนในชนบทและคนชั้นกลางในเมืองเป็นได้ทั้งผู้ตั้งรัฐบาลและผู้ล้มรัฐบาล

34 การปฏิรูปการเมืองหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 นําไปสู่ความพยายามแรกเพื่อเปิดทางสู่การร่างรัฐธรรมนูญด้วยการ

(1) แก้ไขรัฐธรรมนูญให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส.

(2) แก้ไขรัฐธรรมนูญให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา

(3) แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ

(4) แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการทําประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การปฏิรูปการเมืองหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ได้นําไปสู่ความพยายามแรกเพื่อเปิดทางสู่การร่างรัฐธรรมนูญฯ 2540 ด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฯ 2534 มาตรา 211 ในสมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา ให้มีการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากหลายสาขาอาชีพและผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทําหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ

35 ตามคํานิยามของเอ็ดมันด์ เบอร์ก พรรคการเมืองจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อ

(1) ส่งเสริมสาธารณกุศล

(2) ป้องกันการแตกสามัคคีของคนในชาติ

(3) สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ

(4) ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ

(5) ส่งเสริมประโยชน์แก่สมาชิกพรรค

ตอบ 4 หน้า 4 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้ให้คํานิยามของพรรคการเมืองว่า พรรคการเมืองได้แก่ “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันตามแนวหลักการบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ”

36 พรรคการเมืองที่แท้จริงจะต้องมีลักษณะอย่างไร

(1) ยึดตัวผู้นําพรรคเป็นหลัก

(2) แสดงบทบาทเฉพาะช่วงเลือกตั้ง

(3) ไม่ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล

(4) จํากัดจํานวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น

(5) มีสาขาพรรคกระจายทั่วทุกภูมิภาค

ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ลักษณะของพรรคการเมืองที่แท้จริง มี 4 ประการ คือ

1 ต้องมีความยั่งยืนโดยไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตหรืออํานาจของผู้นําพรรคการเมือง แต่ยึดหลักการหรืออุดมการณ์เป็นหลัก

2 ต้องมีองค์การหรือสาขาพรรคมาก ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค และมีเครือข่ายติดต่อกันระหว่าง สํานักงานใหญ่กับสาขาพรรคในท้องถิ่น

3 ผู้นําพรรคต้องมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาล โดยอาจจัดตั้งรัฐบาลโดยลําพังพรรคเดียวหรือจัดตั้งรัฐบาลผสมก็ได้

4 ต้องพยายามหาคะแนนเสียงเมื่อมีการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากมหาชนทั่วไปเมื่อไม่มีการเลือกตั้ง

37 พรรคการเมืองมีการฟังความคิดเห็นของสมาชิกเป็นขบวนการที่เรียกว่าประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ใช้กับพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4 หน้า 76, 137 ประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) เป็นลักษณะการใช้อํานาจหรือการดําเนินงานภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขบวนการ คือ ในระยะแรก ให้สมาชิกในหน่วยพื้นฐานเสนอความคิดเห็นในนโยบายของพรรคแล้วเสนอไปยังเบื้องบนหรือ ศูนย์กลางของพรรคเพื่อรับทราบ ส่วนในระยะต่อมาเป็นการตัดสินใจจากเบื้องบน โดยมติที่ได้จะต้องบังคับใช้กับองค์การทุกระดับของพรรคอย่างเข้มงวด

38 อุดมการณ์คู่ใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในแง่การใช้อํานาจ

(1) คอมมิวนิสต์ – ฟาสซิสต์

(2) คอมมิวนิสต์ – ประชาธิปไตย

(3) อนุรักษนิยม – สังคมนิยม

(4) อนุรักษนิยม – ประชาธิปไตย

(5) อนุรักษนิยม – คอมมิวนิสต์

ตอบ 1 หน้า 140 อุดมการณ์คอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์ จะมีลักษณะการใช้อํานาจที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นเผด็จการแบบรวมอํานาจเบ็ดเสร็จ โดยประชาชนจะถูกลิดรอนเสรีภาพในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

39 อุดมการณ์ใดที่นิยมระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4, 5 หน้า 135, 139, (คําบรรยาย) ระบบพรรคเดียว หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว และระบบนี้ยอมให้มีเฉพาะพรรคที่ครองอํานาจอยู่เท่านั้น ไม่ยอมให้มีพรรคอื่นเข้ามาแข่งขันหรือกีดกัน ซึ่งจะพบระบบนี้ได้ในประเทศที่มีการปกครอง ระบอบเผด็จการหรือมีอุดมการณ์แบบซ้ายสุดโต่ง (คอมมิวนิสต์) หรือขวาสุดโต่ง (ฟาสซิสต์ และนาซี) เช่น จีน ลาว เวียดนาม คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น

40 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดไม่ต้องการให้มีรัฐ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนาธิปัตย์

(3) สังคมนิยม

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2 ตอบ 2 (คําบรรยาย) อนาธิปัตย์ หรืออนาคิสม์ (Anarchism) เป็นอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมือง ที่ต่อต้านการมีรัฐบาลหรือการมีรัฐ โดยถือว่ารัฐหรือการรวมตัวเป็นประเทศ เป็นชาติ เป็น บ้านเมือง หรือการมีรัฐบาลนั้นเป็นของไม่จําเป็น และเป็นบ่อเกิดของความชั่วร้ายนานาประการ

41 แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) อธิบายว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพได้ในเงื่อนไขใด

(1) ในรัฐสังคมนิยม

(2) ในรัฐสวัสดิการ

(3) ในรัฐแบบใดก็ได้

(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุถึงเสรีภาพได้ ภายใต้เงื่อนไขการออก กฎหมายมาบังคับตัวเอง กล่าวคือ การที่เคารพกฎหมายที่ตัวเรามีส่วนร่วมในการบัญญัตินั้น เราย่อมไม่รู้สึกว่ากฎนั้นกดขี่เรา และทําให้เรามีเสรีภาพได้ เพราะโดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใคร เสียสติพอที่จะบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อกดขี่บีบคั้นตัวเองให้เจ็บปวดนั่นเอง

42 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนุรักษนิยม

(3) เสรีนิยม

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 234, (คําบรรยาย) การเมืองแบบพหุนิยม เป็นแนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยการมีกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง สมาคม ชมรม สันนิบาต องค์การ หรือสหพันธ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายภายในรัฐโดยเสรีและสมัครใจ มิได้มีการบังคับ เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่อง ปกติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่เกรงกันข้ามกับอุดมการณ์อนุรักษนิยม คอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และนาซี ที่ไม่สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

43 ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ คือ

(1) วิจารณ์สังคม ให้ภาพอนาคต เสนอแนวทางเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(2) ให้ภาพอดีต วิจารณ์สังคม เสนอวิธีเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(3) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ภาพอนาคต เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(4) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ศรัทธาผู้นํา เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ มี 3 ประการ คือ

1 การวิจารณ์สังคมหรือระเบียบในปัจจุบัน

2 การให้ภาพสังคมหรือระเบียบในอนาคต

3 การเสนอทฤษฎีหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมหรือระเบียบใหม่ เช่น เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบันหรือเสนอแนวทางเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เป็นต้น

44 ประเทศไทยมีพันธะที่จะปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่

(1) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาเศรษฐกิจ-เสาการเมืองและความมั่นคง

(2) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม-เสาประเพณี-เสาการเมืองและความมั่นคง

(3) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม-เสาระหว่างประเทศ-เสาการเมืองและความมั่นคง (4) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม-เสาธุรกิจ-เสาการเมืองและความมั่นคง

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ถือกําเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ. 2546 จากการที่ผู้นําอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกจํานวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้ มีพันธะที่จะต้องปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่ เสาสังคม และวัฒนธรรม เสาเศรษฐกิจ และเสาการเมืองและความมั่นคง

45 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้อาศัยข้ออ้างใดในการมีระบบพรรคเดียว

(1) เพื่อความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ

(2) ประเทศมีชนชั้นเดียว ต้องมีพรรคเดียว

(3) เพื่อพัฒนาให้เยอรมันมีความเป็นประชาธิปไตย

(4) เพื่อให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองโดยไม่มีคู่แข่ง

(5) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความรวดเร็วในการปกครอง

ตอบ 5 หน้า 136 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้ให้เหตุผลในการมีระบบพรรคเดียวว่า เยอรมันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกไม่ได้ พรรคก็ต้องมีพรรคเดียว เพราะการมีหลายพรรคจะเป็นการแบ่งแยกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประเทศไม่เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร

46 ในทัศนะของนักปรัชญาการเมืองคนใดที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง เพราะเป็นการทําลาย สภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เสรี

(1) โทมัส ฮอบส์

(2) คาร์ล มาร์กซ์

(3) เอ็ดมันด์ เบอร์ก

(4) แม็กซ์ เวเบอร์

(5) รุสโซ

ตอบ 3 หน้า 33 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้กล่าวถึงพรรคการเมืองในประเทศอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1770 ว่า การแบ่งกันเป็นพรรคการเมืองเป็นการทําลายสภาสามัญ (สภาผู้แทนราษฎร) และรัฐบาลที่เสรี

47 การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2540 เกิดในยุค

(1) พล.อ.อาทิตย์ กําลังเอก

(2) นายชวน หลีกภัย

(3) นายบรรหาร ศิลปอาชา

(4) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

48 การประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกําหนด

(3) กฎกระทรวง

(4) พระราชกฤษฎีกา

(5) ประกาศของ กกต.

ตอบ 4 หน้า 396 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 2550 มาตรา 4 บัญญัติว่า “วันเลือกตั้ง” คือ วันที่กําหนดให้เป็นวันเลือกตั้งตามพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. หรือ ส.ว. แล้วแต่กรณี

49 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ผลของการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสถานะเป็น

(1) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถูกขัดขวางจึงเป็นโมฆะ

(2) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(3) การเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศการเลือกตั้งจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(4) การเลือกตั้งเป็นโมฆะตั้งแต่แรก เสมือนไม่เคยมีการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (ข่าว) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีมติเสียงข้างมาก 6 : 3 ว่า การที่ พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎร 2556 กําหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และมีการดําเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้ว แต่ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งสําหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัคร รับเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้เป็นวันเลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 108 วรรค 2

50 ในเดือนมีนาคม 2557 มีการเลือกตั้งมีสมาชิกวุฒิสภา แต่การรัฐประหารทําให้วุฒิสภา

(1) วุฒิสภาสิ้นสุดลง

(2) แปรสภาพเป็นสมัชชาแห่งชาติ

(3) แปรสภาพเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(4) แปรสภาพเป็นสภาปฏิรูป

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลรักษาการของนายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้ เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ของประวัติศาสตร์ไทย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบหนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549) โดยการรัฐประหารได้มีผลทําให้ รัฐธรรมนูญฯ 2550 สิ้นสุดลง และทําให้คณะรัฐมนตรีรักษาการและวุฒิสภาสิ้นสุดลงด้วย แต่ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนพรรคการเมืองนั้นยังคงดํารงอยู่ แต่ไม่สามารถดําเนินกิจกรรมใด ๆ ทางการเมืองได้

ตั้งแต่ข้อ 51 – 80 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ถูก

(2) ผิดเอาเอง

 

51 จอมพลถนอม กิตติขจร ทํารัฐประหารตัวเองเมื่อปลายปี พ.ศ. 2511

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

52 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรมที่ประเทศญี่ปุ่น

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2507 ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

53 กรณี 14 ตุลาคม 2516 เป็นการยุติบทบาทการเมืองฝ่ายประชาชนและทําให้เกิดความหวาดระแวงในสังคมไทยจนต้องมีการนิรโทษกรรมจึงผ่อนคลาย

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์โดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่และกลุ่มที่รัฐให้ การสนับสนุนได้เข้าไปจับกุมและสังหารนักศึกษาและประชาชนภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งกําลังชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่ให้จอมพลถนอม กิตติขจร ออกนอกประเทศ จนทําให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายเป็นจํานวนมาก โดยเหตุการณ์ในครั้งนี้ถือเป็นการ ยุติบทบาทของการเมืองแบบมีส่วนร่วมประชาชนและทําให้เกิดความหวาดระแวงในสังคมไทยจนต้องมีการนิรโทษกรรมเหตุการณ์จึงผ่อนคลาย

54 วิทยุยานเกราะเป็นกลุ่มจัดตั้งทางการเมืองและปลุกความเกลียดชังนักศึกษาและประชาชนหลัง 14 ตุลาคม 2516

ตอบ 1 (คําบรรยาย) วิทยุยานเกราะเป็นกลุ่มจัดตั้งทางการเมืองและปลุกความเกลียดชังนักศึกษาและประชาชนหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งวิทยุยานเกราะได้สร้างกระแสความเกลียดชังนักศึกษาและปลุกระดมให้กลุ่มกระทิงแดง นวพล และลูกเสือชาวบ้านสังหารนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยอ้างว่านักศึกษาเป็นคอมมิวนิสต์

55 รัฐเผด็จการไม่สนับสนุนการชุมนุมบนท้องถนน เพราะถือว่าเป็นการแตกความสามัคคีและเป็นการสร้างความวุ่นวาย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐประชาธิปไตยถือว่าการชุมนุมบนท้องถนนเป็นสิทธิในการแสดงความเห็นและมีส่วนร่วมทางการเมืองรูปแบบหนึ่ง เพราะรัฐประชาธิปไตยได้ให้สิทธิพื้นฐานแก่ประชาชน ในการชุมนุมทางการเมืองเพื่อแสดงความเห็นหรือเรียกร้องให้รัฐบาลดําเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ ตราบเท่าที่การกระทํานั้นเป็นไปอย่างสันติและไม่เกินขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งตรงกันข้ามกับ รัฐเผด็จการที่ไม่สนับสนุนการชุมนุมบนท้องถนน เพราะถือว่าเป็นการแตกความสามัคคีและเป็นการสร้างความวุ่นวายให้กับสังคม

56 การสลายการชุมนุมในเหตุการณ์ความไม่สงบในเดือนพฤษภาคม 2535 ไม่มีผู้เสียชีวิตเลย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 เกิดความรุนแรงขึ้นเพราะคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งนําโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ต้องการสืบทอดอํานาจโดยการตั้ง พรรคสามัคคีธรรม และให้ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่ต้องลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส. จึงทําให้เกิดการประท้วงและนําไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่าง ๆ ของประชาชน เพื่อเรียกร้องให้ พล.อ.สุจินดา ลาออกจากตําแหน่ง โดยเหตุการณ์ในครั้งนี้รัฐบาลได้ใช้กําลังทหาร และตํารวจเข้าสลายการชุมนุมจนเกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนผู้ชุมนุม ทําให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจํานวนมาก และเหตุการณ์ได้สิ้นสุดเมื่อ พล.อ.สุจินดา ลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี

57 หนึ่งในหลักหกประการของคณะราษฎรคือจะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษา

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลัก 5 ประการของคณะราษฎร ซึ่งประกาศไว้ในประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 เพื่อเป็นนโยบายในการบริหารและปกครองประเทศ มีดังนี้

1 จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย

2 จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก 3 จะต้องบํารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ

4 จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน

5 จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ

6 จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษาอย่างเต็มที่

58 พรรคชาติไทยเป็นพรรคการเมืองของกลุ่มนายบรรหาร ศิลปอาชา ตั้งแต่ยุคแรก ตอบ 2 (คําบรรยาย) พรรคชาติไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2517 โดยในยุคแรกนั้นเป็นพรรคการเมืองของกลุ่มซอยราชครูนําโดย พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร, พล.ต.ศิริ สิริโยธิน และพล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศในขณะนั้น) ส่วนนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นหัวหน้าพรรคชาติไทยตั้งแต่ปี 2537 จนกระทั่งพรรคถูกยุบในปี 2551 เนื่องจากกรณีทุจริตการเลือกตั้ง

59 การเมืองแบบพ่อขุนอุปถัมภ์เป็นการเมืองที่มีฐานอํานาจคับแคบมาก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ทักษ์ เฉลิมเตียรณ ได้ขนานนามการเมืองการปกครองของไทยในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ว่าเป็น “ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์” แบบเผด็จการ ซึ่งเป็นผลมาจาก มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองฯ 2502 ที่ให้อํานาจนายกรัฐมนตรีแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ในการใช้อํานาจทั้งอํานาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ดังนั้นจึงถือว่าการเมืองแบบ พ่อขุนอุปถัมภ์เป็นการเมืองที่มีฐานอํานาจคับแคบมาก เพราะอํานาจเด็ดขาดจะตกอยู่ที่ตัวนายกรัฐมนตรีแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นฐานแห่งอํานาจเผด็จการนั่นเอง

60 การเมืองหลังพฤษภาคม 2535 ทําให้สังคมไทยแบ่งแยกกลุ่มการเมืองออกเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มพรรคเทพ-กลุ่มพรรคมาร

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเมืองในช่วงก่อนเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 นั้น ทําให้สังคมไทยแบ่งแยกกลุ่มการเมืองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพรรคเทพและกลุ่มพรรคมาร โดยกลุ่มพรรคเทพได้ประกาศตัว เป็นฝ่ายค้าน ไม่สนับสนุนการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ซึ่งประกอบด้วย 4 พรรคการเมือง คือ พรรคความหวังใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคพลังธรรม และพรรคเอกภาพ ส่วนกลุ่มพรรคมารได้ให้การสนับสนุนการดํารงตําแหน่งดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย 5 พรรคการเมือง คือ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎร

61 พรรคพลังธรรมเป็นพรรคที่ก่อตั้งเพื่อรองรับบทบาทของทหาร หลังรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

62 6 ตุลาคม 2519 เป็นวันที่เรียกว่าวันมหาประชาปิติ

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) เหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 นั้นถูกเรียกว่า “วันมหาวิปโยค” หรือ“วันมหาประชาปิติ” เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทยมากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการของจอมพลถนอม กิตติขจร จนทําให้ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจํานวนมาก โดยเหตุการณ์นี้ทําให้เกิดแรงกดดันจากพลังทางการเมืองหลายฝ่ายจนทําให้จอมพลถนอม กิตติขจร ต้องลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี

63 แรงกดดันทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหนึ่งในความต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง แต่หากระบบการเมืองสนองตอบไม่ได้ จะเกิดการพังทลายทางการเมือง (Political Decay)

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามแนวคิดการพัฒนาการเมืองของแซมมวล ฮันติงตัน (Samuel Huntington) นั้น แรงกดดันทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทําให้เกิดความต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชน หากระบบการเมืองสนองตอบได้จะทําให้เกิดเสถียรภาพทางการเมือง (Political Stability) แต่หากระบบการเมืองสนองตอบไม่ได้จะทําให้เกิดการผุกร่อนทางการเมืองหรือ

การพังทลายทางการเมือง (Political Decay)

64 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 ได้มีการทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตยและพรรคการเมืองเพื่อเป็นการเรียกว่าคณะเสือป่า

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ทรงตั้งเมืองสมมุติ“ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไท เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง กําหนดให้มี พรรคการเมือง 2 พรรค มีการเลือกตั้งนคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี และมีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย

65 หัวหน้า คสช. มีอํานาจเหนือนายกรัฐมนตรี

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

66 ในการดําเนินการประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2559 มาตรา 39/1 กําหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการดําเนินการจัดให้มีการ ออกเสียงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฯ 2559 ทั้งนี้คณะกรรมการการเลือกตั้งได้กําหนดให้วันที่ 7 สิงหาคม 2559 เป็นวันออกเสียงประชามติ

67 ไม่เคยมีข่าวว่าสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ตั้งลูกและภรรยาเป็นผู้ช่วยปฏิบัติงานเลย

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สื่อมวลชนได้เปิดเผยเมื่อเดือนมีนาคม 2558 ว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีการแต่งตั้งลูก ภรรยา และเครือญาติเป็นผู้ช่วย ปฏิบัติงานในตําแหน่งผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยประจําตัว ซึ่งทําให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึง ความไม่เหมาะสม ดังนั้นวิป สนช. และวิป สปช. จึงมีมติให้สมาชิก สนช. และ สปช. ปรับเปลี่ยน ผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยประจําตัวที่เป็นลูก ภรรยา และเครือญาติออกจากตําแหน่งทันที

68 สมาชิกสภาปฏิรูปชุดแรกหมดสภาพไปแล้วเนื่องจากการล้มร่างรัฐธรรมนูญฉบับบวรศักดิ์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) สมาชิกสภาปฏิรูปชุดแรกหมดสภาพไปแล้วเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2558 เนื่องจากการล้มร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งส่งผลทําให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องพ้นจากตําแหน่งไปด้วย

69 รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มีความมาตรา 44 ให้อํานาจหัวหน้า คสช. เหนือนายกรัฐมนตรี

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

70 สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดปัจจุบันมีวาระเหลืออีกเพียงหนึ่งปี

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดปัจจุบัน เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 เพื่อทําหน้าที่รัฐสภา โดยวาระการดํารงตําแหน่ง จะเป็นไปตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่เนื่องจากในปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อยู่ในขั้นตอนของการจัดทํา ยังไม่ได้ประกาศใช้บังคับ จึงไม่อาจสรุปได้ว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดปัจจุบันจะเหลือวาระการดํารงตําแหน่งอีกกี่ปี

71 ในทางทฤษฎีแล้ว การตั้งข้าราชการและสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติยุคปัจจุบันเป็นการย้อนทวนสู่การเมืองไทยยุคอํามาตยาธิปไตย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎีแล้ว การตั้งข้าราชการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะรัฐมนตรียุคปัจจุบันนั้น เป็นการย้อนทวนสู่การเมืองยุคอํามาตยาธิปไตย (Bureaucratic Polity) ซึ่งจะเห็นได้จากสังคมไทยในอดีต เช่น ยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์และจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นต้น

72 ในยุครัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้มี พ.ร.บ. นิรโทษกรรมกรณี 6 ตุลาคม เพื่อการปรองดอง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในยุครัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้มี พ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทําการรัฐประหารเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เพื่อการปรองดอง ซึ่งมิใช่ครั้งแรกที่มีการนิรโทษกรรม ให้แก่ผู้กระทําการรัฐประหาร/ปฏิวัติเพื่อยึดอํานาจการปกครอง ในประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จนถึงปัจจุบันมีการออก พ.ร.บ. เพื่อนิรโทษกรรมให้แก่ ผู้กระทําการรัฐประหาร/ปฏิวัติมาแล้วหลายครั้ง เช่น ยุครัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ นิรโทษกรรม แก่ผู้กระทําการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490, ยุครัฐบาลนายพจน์ สารสิน นิรโทษกรรมแก่ ผู้กระทําการรัฐประหาร 16 กันยายน 2500, ยุครัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทําการรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520 เป็นต้น

73 ในทัศนะทางวิชาการ นักรัฐศาสตร์บางท่านเห็นว่าภาคราชการ โดยเฉพาะกองทัพไทยมีลักษณะเป็น “พรรคการเมือง” ที่มีความเป็นสถาบันการเมืองสูงกว่าหน่วยอื่น ๆ ตอบ 1 (คําบรรยาย) นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ภาคราชการโดยเฉพาะกองทัพไทยได้เข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยมาโดยตลอด จึงทําให้นักรัฐศาสตร์ บางท่านเห็นว่าภาคราชการ โดยเฉพาะกองทัพไทยมีลักษณะเป็น “พรรคการเมือง” ที่มี ความเป็นสถาบันการเมืองสูงกว่าหน่วยอื่น ๆ

74 ตามโรดแม็ปเดิมของ คสช. จะคืนอํานาจให้มีการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2558

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ตามโรดแม็ปเดิมของ คสช. นั้นจะคืนอํานาจให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายในปี 2558 แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ เนื่องจากไม่สามารถร่างรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้เสร็จตามแผนที่กําหนดไว้

75 อํานาจของ คสช. ก่อนมีรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มีสถานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์

ตอบ 1 (คําบรรยาย) อํานาจของ คสช. ทั้งก่อนและหลังมีรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557มีสถานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์ (Sovereign) คือ ผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ

76 จากคําพิพากษาในหลายกรณี สะท้อนว่ามีการยอมรับว่ารัฏฐาธิปัตย์คือคณะรัฐประหาร

ตอบ 1 (คําบรรยาย) จากการรัฐประหารในหลาย ๆ ครั้งที่ผ่านมาของไทย และจากคําพิพากษาในหลาย ๆ กรณี สะท้อนว่ามีการยอมรับว่ารัฏฐาธิปัตย์คือคณะรัฐประหาร แม้แต่ศาลก็มิอาจก้าวล่วงไปพิจารณาพิพากษาเอาผิดแก่คณะรัฐประหารได้

77 ในทางทฤษฎี โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบันเป็นการเมืองแบบประชาธิปไตย

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ในทางทฤษฎี โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินของไทยในปัจจุบันมิใช่การเมืองแบบประชาธิปไตย เนื่องจากขาดโครงสร้างในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจะเห็นได้จากการใช้อํานาจนิติบัญญัติและอํานาจบริหาร (รัฐบาล) ซึ่งไม่มีความเชื่อมโยงกับ ประชาชน หากแต่เป็นอํานาจเบ็ดเสร็จของ คสช. เท่านั้น แม้จะมีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 3 ที่ระบุว่า อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยแต่ในความเป็นจริงในรายละเอียดกลับไม่ได้เป็นดังที่กล่าวไว้

78 นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันควบตําแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน พ้นจากตําแหน่งผู้บัญชาการทหารบกแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557 โดยผู้บัญชาการทหารบกคนปัจจุบัน คือ พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558 ดังนั้นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันจึงมิได้ควบตําแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

79 สังคมไทยผ่านการรัฐประหารมาแล้วหลายครั้ง แต่ครั้งนี้มีความแตกต่างคือ หัวหน้าคณะรัฐประหารดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีเอง

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สังคมไทยแม้จะผ่านการรัฐประหารมาแล้วหลายครั้ง แต่การรัฐประหารครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่หัวหน้าคณะรัฐประหารดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีเอง หากนับการรัฐประหาร ตั้งแต่มีการรัฐประหารครั้งแรกเมื่อปี 2476 จนถึงการรัฐประหารครั้งล่าสุดเมื่อปี 2557 นั้น มีหัวหน้าคณะรัฐประหารที่ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีเองถึง 4 ท่าน คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา (รัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476), จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501), จอมพลถนอม กิตติขจร (รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514), และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557)

80 ตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 จะมี ส.ส. ในระบบเขตได้เพียงเขตละหนึ่งคน ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2540 มาตรา 89 และ 102 กําหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) จํานวน 500 คน ประกอบด้วย ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อจํานวน 100 คน และ ส.ส.ระบบเขตเลือกตั้งจํานวน 400 คน ซึ่งการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบเขตนั้นให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เพียงเขตละหนึ่งคน

81 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีการยุบพรรคการเมืองหรือไม่

(1) ไม่มีพรรคไหนโดนยุบพรรค

(2) พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ

(3) หัวหน้าพรรคเพื่อไทยโดนจับ

(4) พรรคเพื่อไทยถูกยุบ

(5) พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ 82. ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับผลกระทบ คือ

(1) คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่โดนยุบ

(2) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนปลด ฐานจัดการเลือกตั้งล้มเหลว

(3) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนเรียกไปปรับทัศนคติ

(4) ประธาน กกต. ถูกปลด

(5) กกต. ถูกส่งไปศึกษางานต่างประเทศ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 50 ประกอบ

83 ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือ นาย

(1) สมชัย ศรีสุทธิยากร

(2) ศุภชัย สมเจริญ

(3) ประวิช รัตนเพียร

(4) ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์

(5) บุญส่ง น้อยโสภณ

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบัน ประกอบด้วย นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. และกรรมการอีก 4 คน ได้แก่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร, นายประวิช รัตนเพียร,นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ และนายบุญส่ง น้อยโสภณ

84 การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 นําไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง คือ

(1) 14 ตุลาคม 2516

(2) 6 ตุลาคม 2519

(3) 26 มีนาคม 2524

(4) 17 – 20 พฤษภาคม 2535

(5) 13 – 20 พฤษภาคม 2553

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 22 ประกอบ

85 ศัพท์ทางรัฐศาสตร์เรียกการแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมืองว่า

(1) Salamandering

(2) Gerrymandering

(3) Psudo Electionman

(4) Stupidioelection Commission

(5) Fraudmandering

ตอบ 2 (คําบรรยาย) Gerrymandering หมายถึง การบิดเบือนเขตเลือกตั้งเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของพรรคใดพรรคหนึ่ง เช่น กรณีการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วนในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัดโดยให้จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกัน อยู่ในกลุ่มจังหวัดเดียวกัน ทําให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มนักวิชาการว่ามีการบิดเบือนเขตเลือกตั้ง เพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมือง

86 ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร

(1) รัฐประหารเปลี่ยนผู้นํา แต่ปฏิวัติเปลี่ยนโครงสร้างรัฐ

(2) รัฐประหารเปลี่ยนโครงสร้างรัฐ แต่ปฏิวัติเปลี่ยนผู้นํา

(3) รัฐประหารเป็นการเปลี่ยนชั่วคราว ปฏิวัติเป็นการเปลี่ยนถาวร

(4) รัฐประหารเป็นการเปลี่ยนถาวร ปฏิวัติเป็นการเปลี่ยนชั่วคราว

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎีนั้นการรัฐประหาร (Coup d’etat) จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วเปลี่ยนผู้นําคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Regime) หรือโครงสร้างของรัฐ แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือโครงสร้างของรัฐ ซึ่งจะเกิดได้ยากกว่ารัฐประหาร โดยในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีการปฏิวัติเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ เมื่อ 24 มิถุนายน 2475

87 เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านผู้ใดได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส”

(1) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

(2) พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)ในฐานะผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้รับโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” เนื่องจากเป็นผู้นําในการกอบกู้บ้านเมืองในช่วงสงครามโลก รวมทั้งได้ทํางานที่เป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติหลายประการทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การต่างประเทศ การเศรษฐกิจและการศึกษา โดยนายปรีดีถือเป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย

88 ตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” ของบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์

(2) ขบวนการเสรีไทย

(3) ขบวนการพูโล

(4) พรรคเสรีมนังคศิลา

(5) พรรคประชาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 87 ประกอบ

89 ข้าราชการท่านใดใช้นามแฝงในขบวนการเสรีไทยเขียนจดหมายถึงผู้ใหญ่ทํานุ เกียรติก้อง เพื่อเรียกร้อง รัฐธรรมนูญ

(1) น.พ.ประเวศ วะสี

(2) ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล

(3) นายจํากัด พลางกูร

(4) นายป๋วย อึ้งภากรณ์

(5) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น นายป๋วย อึ้งภากรณ์ ได้ใช้นามแฝงสมัยเป็นเสรีไทยว่า เข้ม เย็นยิ่ง เขียนจดหมายจากประเทศอังกฤษถึงผู้ใหญ่ทํานุ เกียรติก้อง ซึ่งหมายถึงจอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อเรียกร้องให้จอมพลถนอมซึ่งยึดอํานาจการปกครองอยู่ในขณะนั้นคืนรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนโดยเร็ว

90 กรณี 14 ตุลาคม 2516 ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีท่านใดต้องลาออก

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) พลเอกกฤษณ์ สีวะรา

(3) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(4) จอมพลประภาส จารุเสถียร

(5) จอมพลถนอม กิตติขจร

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 62 ประกอบ

91 การแก้ไขรัฐธรรมนูญในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้กําหนดให้มี ส.ส. เขต รวมทั้งสิ้นจํานวน

(1) 325 คน

(2) 350 คน

(3) 375 คน

(4) 400 คน

(5) 425 คน

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในเรื่องจํานวนและสัดส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) โดยรัฐธรรมนูญฯ 2550 แก้ไขเพิ่มเติม 2554 มาตรา 93 กําหนดให้มี ส.ส. จํานวน 500 คน ประกอบด้วย ส.ส. ระบบเขตเลือกตั้งจํานวน 375 คน และ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อจํานวน 125 คน (จากเดิมกําหนดให้ ส.ส. มีจํานวน 480 คน ประกอบด้วย ส.ส. ระบบเขตเลือกตั้งจํานวน 400 คน และ ส.ส. ระบบสัดส่วนจํานวน 80 คน)

92 การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะส่งผลให้

(1) พรรคการเมืองขนาดเล็กเข้มแข็ง

(2) พรรคการเมืองใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น

(3) พรรคการเมืองขนาดเล็กมีอํานาจต่อรอง

(4) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางอาจจะได้เปรียบ

(5) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางมีคะแนนเสียงลดลง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อปี พ.ศ. 2554 นั้น คาดว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้ ส.ส. น้อยลง รวมทั้งจะทําให้เกิดปัญหา ยุ่งยากในการกําหนดตัวผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย เนื่องจากจะต้องมีการจัดเขตเลือกตั้งใหม่ตามจํานวน ส.ส. ที่ลดลง

93 ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยปัจจุบันว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เสนอแนวคิดเรื่อง “สองนคราประชาธิปไตย”เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่า ชาวไร่ชาวนาหรือคนจนในชนบทมักเป็นฐานเสียง และผู้ตั้งรัฐบาล แต่ไม่สามารถกําหนดความอยู่รอดและการสิ้นสุดของรัฐบาลได้ ส่วนคนชั้นกลาง หรือคนในเขตเมือง มักเป็นฐานนโยบายและเป็นผู้ล้มรัฐบาล แต่ไม่สามารถตั้งรัฐบาลใหม่ที่มี ผู้นําและนโยบายอย่างที่ตนต้องการได้ ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งทางความคิดความต้องการ และพฤติกรรมในการเลือกตัวแทนของคนในชนบทกับคนในเขตเมือง

94 ศ.ดร.เฟรด ริกส์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred W. Riggs) เป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องอํานาจการเมืองในภาคราชการ และเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น “ระบอบ อํามาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบงําโดยภาคราชการนับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

95 ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงปัญหาการรัฐประหารซ้ำซากของการเมืองไทยว่ามีลักษณะเป็น “วงจรอุบาทว์” ซึ่งก็คือ การวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร แล้วตามด้วยการร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้ง และก็วนไปที่การรัฐประหารอีกไม่รู้จบสิ้น โดยสาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะการรัฐประหารไม่สามารถแก้ปัญหาการเมืองได้นั่นเอง

96 แนวคิดที่นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสัดส่วน คือ

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

97 ชนชั้นนํา (Elite) คือ

(1) คนที่มีรสนิยมสูง

(2) คนที่เป็นแนวหน้าในการสร้างประชาธิปไตย

(3) คนที่เกิดมาเป็นผู้นํา

(4) คนที่มีอํานาจสูงสุด

(5) กลุ่มคนที่ครอบครองปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม

ตอบ 5 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่ยังคงรักษาโครงสร้างของคําว่า “ชนชั้นนํา” (Eite) อยู่ กล่าวคือ เป็นพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของ สมาชิกพรรคหรือจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้น ในเรื่องคุณภาพของสมาชิกพรรค เพราะพรรคต้องการเฉพาะกลุ่มคนหรือบุคคลที่ครอบครอง ปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือมีฐานะดีพอที่จะสามารถสนับสนุนพรรคในด้านการเงินได้ หรืออาจจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆก็คือ เป็นพรรคการเมืองที่เน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณของสมาชิกนั่นเอง

98 ขบวนการเสรีไทย จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1, 5 หน้า 315 – 316 กลุ่มอุดมการณ์ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต่างอาชีพต่างวัย ต่างความรู้ แต่มีเป้าหมายทางอุดมการณ์เหมือนกัน ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเพื่อทํางานให้แก่ ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มอาสาสมัคร เช่น สโมสรไลออนส์สากล (ไลออนส์นานาชาติ) สโมสรโรตารีสากล สมาคมฮากกา (สมาคมหัวเฉียว) มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง ยุวสมาคม เจ.ซี.) ชมรมค่ายอาสา ฯลฯ

2 กลุ่มสมาคมทางการเมือง เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ

3 กลุ่มศาสนา เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ฯลฯ

4 กลุ่มปกป้องคุ้มครอง เช่น ขบวนการเสรีไทยขบวนการจีนโพ้นทะเล กลุ่มอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

99 จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสื่อมวลชนคือหนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้น ก็เพื่อธุรกิจการค้าแต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชน เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มผลักดัน

(1) นอมินี

(2) เอกชน

(3) จริง

(4) แฝง

(5) เฉพาะเรื่อง

ตอบ 4 หน้า 252 การก่อตั้งสื่อสารมวลชน คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้นมีจุดประสงค์หลักเพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชนหรือบีบบังคับในทางการเมือง เพื่อจะได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า“กลุ่มผลักดันแฝง”

100 ผู้นําแรงงานที่หายตัวไปหลังการรัฐประหาร กุมภาพันธ์ 2534 คือ

(1) นายอิศรา อมันตกุล

(2) นายทนง โพธิ์อ่าน

(3) นายถวัติ ฤทธิเดช

(4) นายสมชาย นีละไพจิตร

(5) นายจิตร ภูมิศักดิ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) นายทนง โพธิ์อ่าน อดีตประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทยได้หายตัวไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ภายหลังการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งขณะนั้นนายทนงเป็นผู้นําระดับสูงของขบวนการแรงงานที่มีบทบาทในการต่อต้านคณะรัฐประหารอย่างชัดเจนที่สุด

Advertisement