การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีขอบเขตครอบคลุมประเด็นด้านใด

(1) กฎหมาย

(2) เศรษฐกิจ

(3) สังคม

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 5 – 6 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีขอบเขตครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

1 ความสัมพันธ์ทางการเมือง

2 ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ

3 ความสัมพันธ์ทางสังคม

4 ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย

5 ความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

2 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ให้ความสําคัญกับดินแดนใจกลาง (Heartland) เป็นการศึกษา แนวทางใด

(1) นโยบาย

(2) อํานาจ

(3) จิตวิทยา

(4) พฤติกรรม

(5) ภูมิรัฐศาสตร์

ตอบ 5 หน้า 9 – 10 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Approach) คือ การศึกษาที่ให้ความสําคัญกับสภาวะแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เช่น ที่ตั้ง พื้นที่ ขนาดของประเทศ ฯลฯ ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมหรือการกระทําของรัฐ รวมทั้ง ฐานะความเป็นมหาอํานาจและการกําหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐ เช่น การศึกษาของ ฮาลฟอร์ด แมคคินเตอร์ (Halford Mackinder) ที่ให้ความสําคัญกับดินแดนใจกลางทวีป (Heartland) โดยเห็นว่า “ผู้ใดควบคุมยุโรปตะวันออกผู้นั้นครองดินแดนใจกลางทวีป ผู้ใดควบคุมดินแดนใจกลางทวีปผู้นั้นครองเกาะโลก ผู้ใดควบคุมเกาะโลกผู้นั้นครองโลก”

 

3 วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีลักษณะเป็นสหวิทยาการแต่ไม่ครอบคลุมองค์ความรู้ด้านใด

(1) ภูมิศาสตร์

(2) อายุรเวช

(3) นิติศาสตร์

(4) เศรษฐศาสตร์

(5) ประวัติศาสตร์

ตอบ 2 หน้า 3, (คําบรรยาย) วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations) เป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ (Political Science) และมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) คือ มีเนื้อหาสาระกว้างขวางครอบคลุมองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา เป็นต้น

4 ข้อใดถือเป็นลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

(1) เป็นทางการ

(2) ไม่เป็นทางการ

(3) ความร่วมมือ

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 4 – 5 ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มี 3 ประการ คือ

1 ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ

2 ความสัมพันธ์ในลักษณะความร่วมมือหรือขัดแย้ง

3 ความสัมพันธ์ในลักษณะเข้มข้นรุนแรงหรือห่างเหิน

 

5 สนธิสัญญาใดว่าด้วยการยอมแพ้ของเยอรมนีภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

(1) สนธิสัญญาตรอานอง

(2) สนธิสัญญาปารีส

(3) สนธิสัญญาเวียนนา

(4) สนธิสัญญาแวร์ซายส์

(5) สนธิสัญญาเบอร์ลิน

ตอบ 4 หน้า 85 สนธิสัญญาละวร์ซายส์ (Versailles Treaty) เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการยอมแพ้ของเยอรมนีภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งผลของสนธิสัญญาทําให้เยอรมนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นค่าปฏิกรรมสงครามจํานวนมาก และต้องเสียดินแดนหลายแห่ง

6 ชาติใดไม่ได้อยู่ฝ่ายเดียวกับสหรัฐอเมริกาในสงครามโลกครั้งที่ 2

(1) ฝรั่งเศส

(2) จีน

(3) สหภาพโซเวียต

(4) ญี่ปุ่น

(5) อิตาลี

ตอบ 4, 5 หน้า 85 สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – ค.ศ. 1945) เป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ

1 ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประกอบด้วย 5 ประเทศหลัก ได้แก่ สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และสหรัฐอเมริกา

2 ฝ่ายอักษะ (Axis PowerS) ประกอบด้วย 3 ประเทศหลัก ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

7 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนี้ไม่ได้ถูกยึดครองโดยชาติใด

(1) ฝรั่งเศส

(2) สหภาพโซเวียต

(3) อิตาลี

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) อังกฤษ

ตอบ 3 หน้า 87 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เยอรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนและถูกยึดครองโดยมหาอํานาจที่ร่วมสงครามทั้ง 4 ประเทศ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต

8 ในยุคสงครามเย็นสหรัฐอเมริกากับจีนกระชับความสัมพันธ์กันผ่านการทูตทางกีฬาประเภทใด

(1) บาสเกตบอล

(2) วอลเลย์บอล

(3) ยิมนาสติก

(4) ปิงปอง

(5) แบดมินตัน

ตอบ 4 หน้า 89 ในยุคสงครามเย็นสหรัฐอเมริกากับจีนกระชับความสัมพันธ์กันผ่าน “การทูตปิงปอง” (Ping Pong Diplomacy) ซึ่งในขณะนั้นจีนตระหนักว่าสหภาพโซเวียตเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัว กว่าสหรัฐอเมริกา จีนจึงพยายามหาทางคานอํานาจกับสหภาพโซเวียตโดยการเชิญทีมปิงปองของสหรัฐอเมริกาไปร่วมแข่งขันชิงชนะเลิศในปักกิ่ง

 

ตั้งแต่ข้อ 9 – 11 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การแข่งขันเป็นมรดกของรัฐ

(2) ความมั่นคงที่สมบูรณ์ที่ไม่มีอยู่จริงในโลก

(3) การส่งเสริมอุดมการณ์ของรัฐ

(4) ความต้องการดินแดน ทรัพยากร หรือวัตถุดิบ

(5) ความต้องการเพิ่มเกียรติยศของชาติ

 

9 ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตช่วงสงครามเย็น

ตอบ 3 หน้า 97 การส่งเสริมอุดมการณ์ของรัฐ เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากรัฐหนึ่งรัฐใดต้องการส่งเสริมอุดมการณ์ของรัฐตน แต่การแผ่ขยายอุดมการณ์ไปทําลายอุดมการณ์ของรัฐอื่นหรือ อุดมการณ์ของรัฐนั้นเม่เป็นที่ต้องการของรัฐอื่น เช่น ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับ สหภาพโซเวียตช่วงสงครามเย็น ซึ่งสหรัฐอเมริกามองว่าลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นลัทธิที่มีความเชื่อหรือหลักการที่ขัดกับการดําเนินวิถีชีวิตของพวกตน เป็นต้น

 

10 ปัญหาเกาะฟอล์กแลนด์ระหว่างอังกฤษและอาร์เจนตินามีสาเหตุจาก

ตอบ 4 หน้า 97, (คําบรรยาย) ความต้องการดินแดน ทรัพยากร หรือวัตถุดิบ เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากรัฐหนึ่งรัฐใด ต้องการดินแดนของรัฐอื่น หรือต้องการทรัพยากรธรรมชาติหรือวัตถุดิบ เช่น น้ำมัน หรือแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีอยู่ในรัฐอื่น เช่น ปัญหาเกาะฟอล์กแลนด์ระหว่างอังกฤษ และอาร์เจนตินา เป็นต้น

11 ความขัดแย้งระหว่างเหนือและใต้มีสาเหตุจาก

ตอบ 2 หน้า 97, (คําบรรยาย) ความมั่นคงที่สมบูรณ์ที่ไม่มีอยู่จริงในโลก เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากรัฐหนึ่งรัฐใดพยายามจะแสวงหาความมั่นคงที่สมบูรณ์ โดยการใช้อํานาจหรือกําลังรบของตน เข้าควบคุมรัฐอื่น หรือพยายามสร้างความมั่นคงหรือสมบูรณ์โดยการขยายอํานาจและอิทธิพลของตนออกไป เช่น ความขัดแย้งระหว่างเหนือและใต้ เป็นต้น

12 ความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีผลตอบแทนต่ำมีนัยถึงข้อใด

(1) ต้นทุนต่ำ

(2) ร่วมมือกันน้อยประเทศ

(3) ร่วมมือกันเพียงเรื่องเดียว

(4) ร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ

(5) ไม่มีกรอบข้อตกลง

ตอบ 1 หน้า 121 ปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่สนับสนุนให้การดําเนินความร่วมมือระหว่างประเทศตามกรอบข้อตกลงหรือกติกาของสนธิสัญญาเป็นไปได้ด้วยดีและมีความยั่งยืน คือ ความร่วมมือ ระหว่างประเทศนั้นต้องมีผลตอบแทนต่ำ ทั้งนี้เพราะผลตอบแทนต่ำสะท้อนถึงต้นทุนต่ำ ทําให้แต่ละประเทศสามารถตัดสินใจดําเนินความร่วมมือระหว่างประเทศตามกรอบข้อตกลงได้ไม่ยาก

13 ระบอบระหว่างประเทศไม่ครอบคลุมประเด็นเรื่องใด

(1) บรรทัดฐาน

(2) พฤติกรรม

(3) ต้องเป็นทางการ

(4) เวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล

(5) ลดความหวาดระแวง

ตอบ 3 หน้า 122 – 123, (คําบรรยาย) ระบอบระหว่างประเทศ (International Regime) คือ หลักการ บรรทัดฐาน กฎระเบียบ/กฎเกณฑ์ แบบแผน และกระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับ ความคาดหวังของตัวแสดงต่าง ๆ ในประเด็นด้านใดด้านหนึ่ง โดยสมาชิกตัวแสดงทุกฝ่ายทั้งที่ เป็นรัฐและไม่ใช่รัฐที่อยู่ในระบอบต้องยอมรับและปฏิบัติตามภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน ซึ่งประโยชน์ ของระบอบระหว่างประเทศ มีดังนี้

1 เป็นเวทีเจรจาและสร้างแบบแผนสําหรับอนาคต

2 เป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือช่องทางให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น

3 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของรัฐ ทําให้สามารถคาดการณ์พฤติกรรมของรัฐสมาชิกและช่วยลดความหวาดระแวงได้

4 ช่วยลดต้นทุนในการติดต่อสื่อสาร ฯลฯ

14 ข้อใดเป็นไปตามหลักการการค้าระหว่างประเทศปัจจุบัน

(1) การค้าเสรี

(2) WTO

(3) กําแพงภาษี

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันเป็นไปตาม “หลักการค้าเสรี” ซึ่งจะเห็นได้จากความพยายามในการรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค เช่น องค์การการค้าโลก (WTO), สหภาพยุโรป (EU), เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA), เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เป็นต้น เพื่อพัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ

15 การศึกษาการทํางานของอาเซียนจัดเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสาขาใด

(1) ประวัติศาสตร์การทูต

(2) เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

(3) องค์การระหว่างประเทศ

(4) กฎหมายระหว่างประเทศ

(5) การเมืองระหว่างประเทศ

ตอบ 3 หน้า 14 การศึกษาองค์การระหว่างประเทศ (International Organization) เป็นการศึกษาที่เน้นหนักไปที่วิวัฒนาการ โครงสร้าง อํานาจและหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศที่มีบทบาท สําคัญในเวทีโลก เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN), องค์การการค้าโลก (WTO), ธนาคารโลก (World Bank), สหภาพยุโรป (EU), เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA), อาเซียน (ASEAN) เป็นต้น

16 ผลประโยชน์พื้นฐานของรัฐไม่รวมถึงข้อใด

(1) ความกินดีอยู่ดี

(2) อุดมการณ์ของชาติ

(3) อํานาจ

(4) เกียรติภูมิ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 19 – 20 ชาร์ล โอ. เลอร์ช และอับดุล เอ. ไซอิด (Charles O. Learche and Abdul A. Said) เสนอว่า ผลประโยชน์พื้นฐานของรัฐประกอบด้วยปัจจัยสําคัญ 6 ประการ คือ

1 การดํารงรักษาความเป็นชาติ

2 ความมั่นคงปลอดภัยของชาติ

3 การแสวงหาความกินดีอยู่ดีของคนในชาติ

4 การเสริมสร้างเกียรติภูมิของชาติ

5 การเผยแพร่อุดมการณ์ของชาติ

6 การแสวงหาอํานาจ

17 ข้อใดไม่เข้าพวก

(1) ไทย

(2) จีน

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) UN

(5) รัสเซีย

ตอบ 4 หน้า 19 – 22, (คําบรรยาย) ผู้แสดง (ตัวแสดง) บทบาทในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ผู้แสดงบทบาทที่เป็นรัฐ (State Actor) นับเป็นตัวแสดงที่สําคัญที่สุด ได้แก่ รัฐต่าง ๆ เช่น ไทย จีน สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และผู้ทําหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐหรือในนามของรัฐ เช่น ผู้นํารัฐบาล รัฐมนตรีต่างประเทศ ทูต (เอกอัครราชทูต ผู้ช่วยทูต และเจ้าหน้าที่ทูต) กงสุล (กงสุลใหญ่ รองกงสุล เจ้าหน้าที่กงสุล และกงสุลกิตติมศักดิ์) เป็นต้น

2 ผู้แสดงบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors) ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค เช่น สหประชาชาติ (UN) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), องค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) เช่น กลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace), บรรษัทข้ามชาติหรือ ธุรกิจข้ามชาติหรือธุรกิจหลายชาติ (INCs/TNCs) เช่น บริษัท Unilever บริษัท Pepsi บริษัท Google บริษัท Toyota บริษัท Samsung, ขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ เช่น กลุ่ม IS หรือ ISIS กลุ่ม AI Qaeda กลุ่ม PLO กลุ่มเบอร์ซาตู และกลุ่มเชื้อชาติต่าง ๆ

18 ข้อใดที่ไม่ใช่ตัวแสดงที่เป็นองค์การที่ไม่อยู่ในภาครัฐ

(1) Unilever

(2) Greenpeace

(3) Amnesty International

(4) Human Rights Watch

(5) PETA

ตอบ 1 หน้า 22, 159 องค์การที่ไม่อยู่ในภาครัฐหรือองค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ระดับรัฐบาล (INGOs) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของเอกชนโดยไม่หวังผลกําไร และเน้นอุดมการณ์ที่ให้ความสําคัญกับภาคประชาชนเป็นหลัก โดยองค์การประเภทนี้จะได้รับ เงินช่วยเหลือจากแหล่งเงินอุดหนุนไม่ว่าจากภายในหรือต่างประเทศ มีอาสาสมัครทํางาน มีระเบียบวาระเป็นของตนในการกําหนดทิศทางและนโยบายเพื่อมุ่งบริการสาธารณประโยชน์ เช่น องค์การเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch), องค์การนิรโทษกรรม สากล (Amnesty International), องค์การกาชาดสากล (The International Red Cross), องค์กรพิทักษ์สัตว์ (PETA), กรีนพีซ (Greenpeace) เป็นต้น (ดูคําอธิบายข้อ 17 ประกอบ)

19 เจไอ (UI) เป็นกลุ่มก่อการร้ายที่ปฏิบัติการอยู่ที่ใด

(1) อิรัก

(2) ซีเรีย

(3) อิสราเอล

(4) ตุรกี

(5) อินโดนีเซีย

ตอบ 5 หน้า 22 – 23, 115, (คําบรรยาย) ขบวนการ/กลุ่มก่อการร้าย (Terrorist) เป็นตัวแสดงในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีบทบาทสําคัญมากในช่วงหลังสงครามเย็น ซึ่งตัวอย่างของขบวนการก่อการร้ายที่ปฏิบัติการอยู่ในประเทศต่าง ๆ มีดังนี้

1 กลุ่ม AI Qaeda ในอัฟกานิสถาน

2 กลุ่ม Abu Nidal ในอิสราเอล

3 กลุ่ม IS หรือ ISIS ในอิรักและซีเรีย

4 กลุ่ม Hezbollah ในเลบานอน

5 กลุ่ม PLC และกลุ่ม Hamas ในปาเลสไตน์

6 กลุ่ม ETA ในสเปน

7 กลุ่ม JI ในอินโดนีเซีย

8 กลุ่ม Abu Sayyaf, กลุ่ม MNLF และกลุ่ม MILF ในฟิลิปปินส์

9 กลุ่ม Bersatu, กลุ่ม BRN และกลุ่ม PULO ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ฯลฯ

20 การศึกษาอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครั้งแรกเชื่อว่าเป็นการอธิบายกรณีใด

(1) สงครามระหว่างเอเธนส์-สปาร์ตา

(2) ระบบบรรณาการจีน

(3) การขยายอํานาจของเปอร์เซีย

(4) การขยายอํานาจทางทะเลของเอเธนส์

(5) การค้าสําเภา

ตอบ 1 หน้า 76 77 การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครั้งแรกเป็นการอธิบายกรณีสงครามระหว่างเอเธนส์-สปาร์ตา หรือเรียกว่า สงครามเพโลโพนีเชียน (Peloponesian) ซึ่งเกิดขึ้น ในยุคกรีกโบราณระหว่างปี 431 – 404 ก่อนคริสตกาล โดยรูซิดดิส (Thucydides) นักปรัชญา กรีกโบราณ ได้อธิบายถึงสาเหตุของสงครามว่าเกิดจากความไม่สมดุลของอํานาจระหว่างเอเธนส์ และสปาตาร์ ซึ่งสปาตาร์หวาดระแวงว่าในระยะยาวเอเธนส์จะมีอํานาจเหนือกว่าตน และเอเธนส์ จะเข้มแข็งมากพอที่จะโจมตีและทําให้สปาตาร์พ่ายแพ้ ดังนั้นสปาตาร์จะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกิดขึ้น สปาตาร์จึงต้องโจมตีเอเธนส์ก่อน

21 ข้อใดเป็นผลจากการเกิดการปฏิรูปทางศาสนา (Reformation)

(1) มีการแยกนิกายจากคาทอลิก

(2) สงครามครูเสด

(3) ยุคมืด

(4) ระบบศักดินา

(5) การปฏิวัติอุตสาหกรรม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การปฏิรูปทางศาสนา (Reformation) เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1517 โดยมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) เพื่อแก้ไขความเสื่อมโทรมของคริสตจักรโรมันคาทอลิก และสถาบันสันตะปาปา ซึ่งผลจากการปฏิรูปทําให้เกิดการแยกนิกายจากคาทอลิกมาเป็นนิกายโปรเตสแตนต์

22 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของรัฐชาติที่เกิดจากสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย

(1) อาณาเขต

(2) ประชากร

(3) กองทัพ

(4) รัฐบาล

(5) อธิปไตย

ตอบ 3 หน้า 79, (คําบรรยาย) สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในปี ค.ศ. 1648 นําไปสู่การกําเนิดชุมชนทางการเมืองรูปแบบใหม่หรือความเป็นรัฐสมัยใหม่ (Modern State) คือ รัฐ (State) หรือรัฐชาติ (Nation-State) ซึ่งมีองค์ประกอบสําคัญ 4 ประการ คือ

1 ประชากร (Population)

2 ดินแดนหรืออาณาเขต (Territory)

3 รัฐบาล (Government)

4 อํานาจอธิปไตย (Sovereignty)

23 ชาติใดที่กลายเป็นมหาอํานาจโลกได้ชาติแรกจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม

(1) ฝรั่งเศส

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) รัสเซีย

(4) อังกฤษ

(5) เยอรมนี

ตอบ 4 หน้า 79, (คําบรรยาย) การปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่ 18 – 19 เป็นการเปลี่ยนแปลง ระบบและวิธีการผลิตจากการใช้แรงงานคนหรือสัตว์มาใช้เครื่องจักรกลที่สลับซับซ้อนและ มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การผลิตทําได้จํานวนมากภายในระยะเวลาที่สั้น โดยการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งนี้เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษเป็นแห่งแรกและส่งผลให้อังกฤษกลายเป็นมหาอํานาจโลก เป็นชาติแรกจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม

24 ชาติใดเป็นพันธมิตรของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 1

(1) ออตโตมาน

(2) รัสเซีย

(3) ฝรั่งเศส

(4) เซอร์เบีย

(5) อังกฤษ

ตอบ 1 หน้า 82 – 84, (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1914 – ค.ศ. 1918เป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ

1 ฝ่ายพันธมิตรไตรภาคีหรือมหาอํานาจกลาง (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ออตโตมาน (ตุรกี) และบัลแกเรีย

2 ฝ่ายสัมพันธมิตร (Triple Entente/Allied Powers) ประกอบด้วย รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

25 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างประเทศ

(1) รัฐต่างมุ่งหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจนําไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศได้

(2) ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมไม่อาจนําไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศได้

(3) ความขัดแย้งระหว่างประเทศอาจเกิดจากการขาดระบบยุติธรรมระหว่างประเทศได้

(4) การแข่งขันส่งอิทธิพลต่อประเทศเล็กอาจนําไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศได้ (5) การแย่งแหล่งทรัพยากรระหว่างมหาอํานาจอาจนําไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศได้

ตอบ 2 หน้า 37 – 40 สภาวะที่อาจนําไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ มีดังนี้

1 รัฐต่างมุ่งหาผลประโยชน์ทางการเมืองและทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกขอบเขต ระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

2 ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐ

3 การขาดระบบยุติธรรมระหว่างประเทศ

4 การขาดอํานาจกลางในระบบความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ

5 การแข่งขันกันของประเทศมหาอํานาจในการมีอิทธิพลต่อประเทศเล็ก

6 การแย่งแหล่งทรัพยากรระหว่างประเทศมหาอํานาจ ฯลฯ

26 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) มากที่สุด

(1) การดํารงไว้ซึ่งองค์รัฏฐาธิปัตย์

(2) การมีกลไกอํานาจกลางทําหน้าที่โดยสมบูรณ์

(3) การปราศจากซึ่งสงครามและความขัดแย้ง

(4) การรักษาความเป็นเอกราช

(5) การปราศจากซึ่งอํานาจสูงสุด

ตอบ 5 หน้า 2, 196 197 ลักษณะพื้นฐานสําคัญในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคปัจจุบันคือ มีลักษณะเป็นอนาธิปไตย (Anarchy) ที่ปราศจากองค์กรกลางที่มีอํานาจสูงสุดที่จะรักษา กฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทําให้รัฐแต่ละรัฐจะต้องยึดถือการรักษาผลประโยชน์ของตนและเสริมสร้างฐานะแห่งอํานาจเป็นหลัก

27 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่สาเหตุของความขัดแย้งระหว่างประเทศ

(1) ความไม่โปร่งใสขาดธรรมาภิบาลของรัฐ

(2) ความต้องการส่งเสริมอุดมการณ์ของรัฐ

(3) ความต้องการทรัพยากรธรรมชาติของรัฐ

(4) ความต้องการผลประโยชน์ของรัฐ

(5) ความต้องการขยายอํานาจของรัฐ

ตอบ 1 หน้า 97 สาเหตุของความขัดแย้งระหว่างประเทศ มีดังนี้

1 การแข่งขันเป็นมรดกของรัฐ

2 ความมั่นคงที่สมบูรณ์ไม่มีอยู่จริงในโลก

3 ความต้องการผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งได้แก่ ความต้องการเพิ่มเกียรติยศของรัฐ ความต้องการขยายอํานาจของรัฐ ความต้องการส่งเสริม อุดมการณ์ของรัฐ และความต้องการดินแดน ทรัพยากรธรรมชาติ หรือวัตถุดิบของรัฐ

28 รัฐขั้นแรก ตามแนวทางของ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี คือรัฐประเภทใด

(1) รัฐที่เริ่มใช้อุตสาหกรรมแทนที่เกษตรกรรม

(2) รัฐที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม

(3) รัฐที่เริ่มมีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมบ้าง

(4) รัฐที่มีพัฒนาการทางอุตสาหกรรมในระดับสูง

(5) รัฐที่มีพัฒนาการทางอุตสาหกรรมในระดับเต็มที่

ตอบ 2 หน้า 200 เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี (A. F. K. Organski) เห็นว่า ทุกรัฐในสังคมระหว่างประเทศจะผ่านขั้นตอน 3 ขั้นในการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ดังนี้ ขั้นแรก คือ รัฐที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ขั้นที่สอง คือ รัฐที่เริ่มมีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมบ้างแล้ว ขั้นที่สาม คือ รัฐที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมในระดับเต็มที่

29 “ชาติมหาอํานาจ” ในความหมายของ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี คือชาติในข้อใด

(1) ชาติที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่

(2) ชาติที่มีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมอย่างก้าวหน้า

(3) ชาติที่มีระดับเศรษฐกิจขนาดใหญ่

(4) ชาติที่มีความเข้มแข็งทางด้านการทหาร

(5) ชาติที่มีพลเมืองจํานวนมากเกินกว่า 10 ล้านคนขึ้นไป

ตอบ 2 หน้า 200 201 เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี (A. F. K. Organski) ได้จัดแบ่งประเภทของรัฐ โดยใช้ “การพัฒนาทางอุตสาหกรรม” เป็นเกณฑ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 ชาติเล็ก คือ ชาติที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม เป็นชาติเกษตรกรรม

2 ชาติขนาดกลาง คือ ชาติที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่

3 ชาติมหาอํานาจ คือ ชาติที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมอย่างก้าวหน้า

30 ความร่วมมือแบบพันธมิตรต่างจากการรวมกลุ่มประเทศ (Coalition) ในข้อใด

(1) ความเป็นสถาบัน

(2) การต่อต้านตัวแสดงอื่น

(3) มีความขัดแย้งกับตัวแสดงอื่น

(4) การร่วมป้องกัน

(5) การป้องปราม

ตอบ 1 หน้า 125, (คําบรรยาย) ความร่วมมือแบบพันธมิตร (Alliance) คือ กลุ่มผสมผสานของรัฐที่เข้ามาร่วมทํางานประสานกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยความร่วมมือแบบ พันธมิตรนั้นจะมีช่วงระยะเวลาที่ยาว มีความเป็นทางการมาก มีความเป็นสถาบัน มีระเบียบ กระบวนการบริหารและแนวทางการทํางาน มีโครงสร้างการบังคับบัญชาที่ชัดเจน และมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กว้างกว่าความร่วมมือแบบการรวมกลุ่มประเทศ (Coalition)

31 “การไม่มีมิตรแท้ และศัตรูถาวร” เป็นลักษณะสําคัญของสังคมระหว่างประเทศข้อใด

(1) ความไม่เท่าเทียมกัน

(2) ความเท่าเทียมกัน

(3) ความเป็นอนาธิปไตย

(4) ความเป็นพลวัต ไม่หยุดนิ่ง

(5) จํานวนสมาชิกรัฐที่มีจํานวนไม่แน่นอน

ตอบ 4 หน้า 195 สังคมระหว่างประเทศมีลักษณะ “ พลวัตหรือไม่หยุดนิ่ง” (Dynamic) กล่าวคือทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่และเกิดขึ้นในสังคมระหว่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งเป็นผล มาจากพัฒนาการและความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี การปฏิวัติอุตสาหกรรม และ ความเห็นแก่ประโยชน์แห่งชาติของรัฐต่าง ๆ ดังนั้นความเปลี่ยนแปลงในสังคมระหว่างประเทศ จึงอาจทําให้มิตรกลายเป็นศัตรู และศัตรูอาจกลายเป็นมิตร หรือที่เรียกว่า “ไม่มีมิตรแท้และ ศัตรูถาวร” นั่นเอง

32 สาเหตุที่ทําให้สมาชิกในสังคมระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันคือ (1) การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

(2) การล่มสลายของยูโกสลาเวีย

(3) แนวคิดเรื่องชาตินิยม

(4) การปลดปล่อยอาณานิคม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 189 190 สาเหตุสําคัญที่ทําให้สมาชิกในสังคมระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน มีดังนี้

1 การที่รัฐอธิปไตยเดิมถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายรัฐ หรือส่วนหนึ่ง ของรัฐอธิปไตยนั้นแยกตัวเป็นอิสระจากรัฐอธิปไตยเติม

2 การปลดปล่อยอาณานิคม ซึ่งเกิดจากความเข้มแข็งของความรู้สึกชาตินิยมของประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครอง ของชาติอื่น และอุดมการณ์เกี่ยวกับการให้ชาติต่าง ๆ กําหนดการปกครองด้วยตนเอง

3 การล่มสลายของยูโกสลาเวียและสหภาพโซเวียต

33 ปรากฏการณ์หรือปัจจัยใดไม่กระทบต่อความเป็นไปในผลประโยชน์ระหว่างประเทศ

(1) การดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

(2) การดูงานในต่างประเทศ

(3) กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

(4) การขยายขนาดกองทัพของประเทศเพื่อนบ้าน

(5) การค้นพบแหล่งน้ำมันดิบในอ่าวไทย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปรากฏการณ์หรือปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นไปในผลประโยชน์ระหว่างประเทศ ได้แก่

1 การดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

2 กรอบความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

3 การขยายขนาดกองทัพของประเทศเพื่อนบ้าน

4 การค้นพบแหล่งทรัพยากรใหม่ ๆ ของประเทศ เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ

34 จุดยืนของประเทศในลักษณะใดไม่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ

(1) ประเทศที่เป็นผู้กําหนดกฎกติกา

(2) ประเทศที่เป็นผู้ดูแลการทําตามกติกา

(3) ประเทศที่ไม่ชําระค่าสมาชิก

(4) ประเทศที่ได้รับประโยชน์โดยไม่ทําตามกติกา

(5) ประเทศที่ได้ประโยชน์จากหลายความร่วมมือ

ตอบ 4 หน้า 121, 126 สิ่งที่ไม่พึงปรารถนาหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อการดําเนินความร่วมมือระหว่างประเทศ มีดังนี้

1 การโกง ซึ่งเป็นผลจากความหวาดระแวงว่าผู้อื่นพยายามหาช่องทาง หาประโยชน์เข้าตัวเองให้มากที่สุด จึงอาจพยายามโกงไว้ก่อน

2 ผลประโยชน์เปรียบเทียบ คือ การคํานึงถึงผลได้โดยเปรียบเทียบ (Relative Gains) กับผู้อื่นว่าได้มากหรือน้อยกว่า (ทํามาก ได้มาก ทําน้อยได้น้อย) แทนที่จะคํานึงเพียงแค่ผลที่ได้รับ (Absolute Gains) จากการเข้าร่วม ความร่วมมือ

3 การมีกาฝาก (Free-Riders) หรือผู้ที่ได้รับประโยชน์จากความร่วมมือ

โดยไม่ต้องร่วมยินยอมรับหรือทําตามกติกาข้อผูกมัดอย่างเป็นทางการ

35 สาเหตุสําคัญที่ทําให้องค์การสหประชาชาติมีความไม่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างประเทศ

(1) การใช้อํานาจในการวิโต้ (Veto)

(2) ความเป็นอนาธิปไตยของสมาชิก

(3) การใช้อํานาจทางทหารเข้าไปควบคุมรัฐสมาชิก

(4) มาตรการแทรกแซงทางเศรษฐกิจ

(5) โครงสร้างในการบริหารองค์การ

ตอบ 1 หน้า 191 – 192 ในสังคมระหว่างประเทศนั้นความเท่าเทียมกันระหว่างรัฐจะปรากฏในองค์กรสมัชชาสหประชาชาติ ซึ่งทุก ๆ รัฐมี 1 เสียงเท่าเทียมกันหมดไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันในด้านใด ส่วนความไม่เท่าเทียมกันระหว่างรัฐจะปรากฏในองค์กรคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ เนื่องจากมีเฉพาะสมาชิกถาวรซึ่งเป็นชาติมหาอํานาจ 5 ประเทศเท่านั้นที่มีอํานาจพิเศษใน การออกเสียงยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) ในขณะที่สมาชิกอื่น ๆ ไม่มี

36 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ปัจจัยในการกําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ

(1) ความอยู่รอดและความปลอดภัยของประเทศ

(2) ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

(3) การขยายอํานาจของประเทศ

(4) เกียรติภูมิของประเทศ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 25 – 30 ปัจจัยที่กําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ ได้แก่

1 ความอยู่รอดและความปลอดภัยของประเทศ

2 ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

3 การขยายอํานาจของประเทศ

4 เกียรติภูมิของประเทศ

37 การที่รัฐขนาดเล็กขาดอิสระในการดําเนินกิจการทางการเมืองระหว่างประเทศ เนื่องจากข้อใด

(1) ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างประเทศ

(2) นโยบายและพฤติกรรมของรัฐมหาอํานาจ

(3) ขนาดของกองทัพ

(4) อิทธิพลของรัฐมหาอํานาจ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 202, (คําบรรยาย) สาเหตุที่ทําให้รัฐขนาดกลางและรัฐขนาดเล็กขาดอิสระในการดําเนินกิจการทางการเมืองระหว่างประเทศ มีดังนี้

1 ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างประเทศ

2 นโยบายและพฤติกรรมของรัฐมหาอํานาจ

3 ขนาดของกองทัพ

4 อิทธิพลของรัฐมหาอํานาจ

38 โครงสร้างอํานาจในสังคมการเมืองระหว่างประเทศที่แสดงถึงศูนย์อํานาจหลายศูนย์ ได้แก่

(1) เยอรมนีสมัยบิสมาร์ค

(2) สหรัฐอเมริกาหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

(3) สหภาพโซเวียตระหว่างปี 1947 1956

(4) การก้าวขึ้นมามีอํานาจของสหภาพยุโรป จีน และประเทศกลุ่ม BRICS

(5) สหรัฐอเมริกาภายใต้ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน

ตอบ 4 หน้า 204 205, (คําบรรยาย) การมีศูนย์อํานาจหลายศูนย์ (Multipolar Structure) คือ การที่รัฐมหาอํานาจมีบทบาทและอิทธิพลในการเมืองระหว่างประเทศไม่แตกต่างกันมากนัก โดยรัฐต่าง ๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงความผูกพันและจะพยายามปรับปรุงการกระจายอํานาจ ระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา เช่น การก้าวขึ้นมามีอํานาจของสหภาพยุโรป จีน และประเทศกลุ่ม BRICS เป็นต้น

39 “รัฐทุกรัฐมีความเท่าเทียมกัน” เป็นเรื่องของหลักการใดในสังคมระหว่างประเทศ (1) หลักกฎหมาย

(2) หลักพฤตินัย

(3) หลักเอกภาพ

(4) หลักอํานาจ

(5) ทุกหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

ตอบ 1 หน้า 191 ในสังคมระหว่างประเทศรัฐทุกรัฐมีความเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นผลมาจากหลักกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของอํานาจอธิปไตย แต่ก็มีความไม่เท่าเทียมกันตามหลักพฤตินัยหรือ ในทางปฏิบัติ เนื่องจากอิทธิพลของรัฐต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมระหว่างประเทศมีแตกต่างกัน

40 ข้อใดไม่ใช่ผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกาภายใต้แนวทางของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

(1) การช่วยเหลือของรัสเซียในการเลือกตั้งปี 2016

(2) การขึ้นภาษีนําเข้าเหล็กและถ่านหิน

(3) การกีดกันแรงงานต่างชาติ

(4) การสานสันติภาพกับเกาหลีเหนือ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 36, (คําบรรยาย) ผลประโยชน์แห่งชาติ คือ สิ่งที่ผู้นําหรือประชาชนของประเทศถือว่ามีความสําคัญต่อเอกราช ความมั่นคง เกียรติภูมิ ความอยู่ดีกินดี และความมั่งคั่งของประเทศ หากมีปัจจัยใดหรือประเทศใดมากระทบก็ต้องพยายามต่อสู้แย่งชิงกลับคืนมา ตัวอย่างเช่น ผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกาภายใต้แนวทางของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้แก่ การขึ้นภาษีนําเข้าเหล็กและถ่านหิน การกีดกันแรงงานต่างชาติ การสานสันติภาพกับเกาหลีเหนือ เป็นต้น

41 ผลประโยชน์ของชาติอาจถูกกําหนดโดย

(1) นายกรัฐมนตรี

(2) กระทรวงการต่างประเทศ

(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

(4) กลุ่มผลประโยชน์ภายในชาติ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 31, (คําบรรยาย) ที่มาของการกําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ มีดังนี้

1 ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของแนวนโยบายรัฐ

2 ผู้มีอํานาจทางการเมืองของประเทศ เช่น นายกรัฐมนตรี ผู้บริหารของหน่วยงานราชการรัฐบาล เป็นต้น

3 ประชามติ กลุ่มอิทธิพลหรือกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศ

42 มาตรการและความสัมพันธ์แบบใดไม่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

(1) การซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน

(2) การลดค่าวีซ่าแก่นักท่องเที่ยวจีน

(3) การพัฒนาการค้าชายแดน

(4) การปกป้องและอุดหนุนผู้ผลิตเหล็กในประเทศ

(5) ความมั่นคงและอธิบเตยทางอาหาร

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ คือ ผลประโยชน์ที่เกิดจากการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ตัวอย่างมาตรการและความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น การซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน การลดค่าวีซ่าแก่นักท่องเที่ยวการพัฒนาการค้าชายแดน การปกป้องและอุดหนุนผู้ผลิตเหล็กในประเทศ เป็นต้น

43 “นิโคโล มาเคียเวลลี” ผู้แต่งหนังสือเรื่อง “The Prince” กล่าวว่า พื้นฐานที่สําคัญของทุกรัฐ คือ

(1) มีผู้ปกครองที่อยู่ในศีลธรรม

(2) ประชาชนต้องอยู่ดีกินดี

(3) การมีเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง

(4) การมีกฎหมายที่ดีและกองทัพที่เข้มแข็ง

(5) การมีผู้ปกครองที่มากบารมี

ตอบ 4 หน้า 201 นิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli) กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “The Prince” ว่า พื้นฐานที่สําคัญที่สุดสําหรับทุกรัฐก็คือ การมีกฎหมายที่ดีและกองทัพที่เข้มแข็ง

44 อํานาจของรัฐในทางสังคมระหว่างประเทศ หมายถึงข้อใด

(1) ความเข้มแข็งทางการทหาร

(2) ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

(3) ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ

(4) บุคลิกลักษณะของผู้นํา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 211 อํานาจของรัฐในทางสังคมระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 อํานาจที่มองเห็นได้ชัด เช่น ความเข้มแข็งทางการทหาร ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

2 อํานาจที่มองเห็นได้ไม่ชัด เช่น บุคลิกลักษณะของผู้นํา ลักษณะประจําชาติต่าง ๆขวัญและวินัยของประชาชนในชาติ เป็นต้น

45 การขัดแย้งผลประโยชน์ระหว่างประเทศมักเกิดได้จาก

(1) ความหวาดระแวง

(2) การเอารัดเอาเปรียบ

(3) การกีดกันทางการค้า

(4) การไม่ปฏิบัติตามหลักการข้อตกลงที่ให้ไว้ต่อกัน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 35 – 36, (คําบรรยาย) การขัดแย้งในผลประโยชน์ระหว่างประเทศ ถือเป็นมูลเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดความขัดแย้งในระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยสาเหตุที่ทําให้เกิดความขัดแย้ง ในผลประโยชน์อาจเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามหลักการข้อตกลงที่ให้ไว้ต่อกัน ความหวาดระแวงกันการเอารัดเอาเปรียบแก่งแย่งผลประโยชน์กัน การกีดกันทางการค้า เป็นต้น

46 ปัจจัยใดไม่มีส่วนส่งเสริมความขัดแย้งในตะวันออกกลาง

(1) ผลประโยชน์ของชาติตะวันตก

(2) ความต้องการทรัพยากรน้ำมันในโลก

(3) การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มไซออนส์

(4) การคว่ำบาตรทางการค้าต่ออิหร่าน

(5) ความต้องการขยายอิทธิพลของจีน

ตอบ 5 หน้า 37 – 39, (คําบรรยาย) ปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลางเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานานและปัจจุบันก็ยังไม่ยุติ โดยปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริมความขัดแย้งในตะวันออกกลางมีหลายประการ เช่น ผลประโยชน์ของชาติตะวันตก ความต้องการทรัพยากรน้ํามัน การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มไซออนส์การคว่ำบาตรทางการค้าต่ออิหร่าน เป็นต้น

47 องค์กรใดไม่มีส่วนช่วยลดความขัดแย้งในผลประโยชน์ระหว่างประเทศเลย

(1) UN

(2) WTO

(3) WHO

(4) EU

(5) ASEAN

ตอบ 3 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งในผลประโยชน์ระหว่างประเทศขึ้นแนวทางหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งก็คือ ให้องค์การระหว่างประเทศเข้ามาช่วยลด ความขัดแย้ง โดยองค์การระหว่างประเทศที่มีส่วนช่วยลดความขัดแย้งระหว่างประเทศนั้น มีทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค เช่น สหประชาชาติ (UN), องค์การการค้าโลก (WTO), สหภาพยุโรป (EU), อาเซียน (ASEAN) เป็นต้น

48 ปัจจัยใดไม่มีส่วนส่งเสริมความเป็นมหาอํานาจ

(1) อุตสาหกรรมที่เข้มแข็ง

(2) อาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธ

(3) ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

(4) เครือข่ายนายทหารที่เข้มแข็ง

(5) ระบบการขนส่งและท่าเรือน้ำลึก

ตอบ 4 หน้า 29, (คําบรรยาย) ความเป็นมหาอํานาจ หมายถึง ความสามารถของประเทศหนึ่งที่สามารถทําให้ประเทศอื่นกระทําตามที่ตนปรารถนาได้ ซึ่งปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริมความเป็น มหาอํานาจมีหลายประการ เช่น อาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธ อุตสาหกรรมที่เข้มแข็งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ระบบการขนส่งและท่าเรือน้ำลึก เป็นต้น

49 อํานาจทางการทหารของสหรัฐอเมริกาไม่อาจทําให้เป็นผู้ชนะหรือได้ประโยชน์ในสงครามใด

(1) สงครามโลกครั้งที่ 1

(2) สงครามโลกครั้งที่ 2

(3) สงครามเวียดนาม

(4) สงครามเกาหลี

(5) สงครามไครเมีย

ตอบ 3 หน้า 45 – 46 อํานาจทางการทหารเป็นสิ่งที่ประเทศต่าง ๆ ต่างแสวงหาหรือสะสมเพื่อดํารงสถานะของตนไว้ในเวทีระหว่างประเทศ แต่การมีอํานาจทางการทหารมากมิได้หมายความว่า เวลาเกิดสงครามจะสามารถเอาชนะประเทศที่มีอํานาจทางการทหารน้อยกว่าได้เสมอไป เช่น กรณีสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกามีอํานาจทางการทหารมากกว่าเวียดนาม แต่ไม่สามารถ เอาชนะเวียดนามได้ เป็นต้น

50 ผู้นําสหภาพโซเวียตคนใดที่ให้ความสําคัญกับการทหารว่าเป็นอํานาจของรัฐ

(1) วลาดิมีร์ อิลยิช เลนิน

(2) โจเซฟ สตาลิน

(3) ครุสชอฟ

(4) กอร์บาชอฟ

(5) เยลต์ซ็นต์

ตอบ 2 หน้า 201 นักวิชาการและรัฐบุรุษทางการเมืองระหว่างประเทศที่คํานึงถึงอํานาจของรัฐในรูปของอํานาจทางการทหาร ได้แก่ โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) อดีตผู้นําสหภาพโซเวียตและนิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli)

51 ในการตัดสินใจกําหนดนโยบายต่างประเทศ รัฐควรให้ความสําคัญกับผลประโยชน์เรื่องใดมากที่สุด

(1) ผลประโยชน์ด้านอุดมการณ์

(2) ผลประโยชน์ด้านความมั่นคงอยู่รอด

(3) ผลประโยชน์ด้านการเมือง

(4) ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ

(5) ผลประโยชน์ด้านวัฒนธรรม

ตอบ 2 หน้า 207 – 208 การตัดสินใจกําหนดนโยบายต่างประเทศมีจุดประสงค์เพื่อรักษาและเสริมสร้างผลประโยชน์ของรัฐในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง ความมั่นคงอยู่รอด ความเจริญรุ่งเรือง อุดมการณ์ วัฒนธรรม ฯลฯ ซึ่งแต่ละรัฐจะให้ความสําคัญกับผลประโยชน์ ในแต่ละด้านแตกต่างกันออกไป โดยผลประโยชน์ที่รัฐควรให้ความสําคัญมากที่สุดก็คือความมั่นคงอยู่รอดของรัฐ

52 Status Quo คือ นโยบายต่างประเทศในลักษณะใด

(1) นโยบายการรักษาไว้ซึ่งสถานะคงเดิมระหว่างประเทศ

(2) นโยบายการเปลี่ยนสถานะระหว่างประเทศโดยการเพิ่มอํานาจให้รัฐตน

(3) นโยบายการเปลี่ยนสถานะระหว่างประเทศโดยการลดอํานาจของรัฐตน

(4) นโยบายการรักษาสถานะความเป็นกลางของรัฐในเวทีระหว่างประเทศ

(5) นโยบายการรักษาสถานะความชอบธรรมของรัฐในเวทีระหว่างประเทศ ตอบ 1 หน้า 211 นโยบายการรักษาไว้ซึ่งสถานะคงเดิมระหว่างประเทศ (Policy of the Status Quo) หมายถึง นโยบายต่างประเทศที่จะพยายามรักษาสภาพการกระจายอํานาจและทรัพยากรธรรมชาติ ในสังคมระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่อชาติของตน โดยประเทศที่มักจะใช้นโยบายลักษณะนี้จะเป็นประเทศมหาอํานาจนั้นเอง

53 ประเทศใดเสนอข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (BRI)

(1) ญี่ปุ่น

(2) จีน

(3) รัสเซีย

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) อังกฤษ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) เป็นยุทธศาสตร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกและทางทะเลเพื่อเชื่อมโยง เอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเส้นทางเศรษฐกิจ การค้า และวัฒนธรรมระหว่างประเทศ และเพื่อให้การดําเนินการพัฒนาตามยุทธศาสตร์นี้ ประสบความสําเร็จ สาธารณรัฐประชาชนจีนได้จัดตั้งธนาคารพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) ขึ้นมา เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและเป็นแหล่งเงินทุนให้แก่ประเทศต่าง ๆเพื่อนําไปใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ

54 นโยบายต่างประเทศอเมริกามาก่อน (America First Policy) เกิดขึ้นในสมัยประธานาธิบดีอเมริกาคนใด

(1) โรนัลด์ เรแกน

(2) บิล คลินตัน

(3) จอร์จ ดับเบิลยู บุช

(4) บารัค โอบามา

(5) โดนัลด์ ทรัมป์

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) นโยบายอเมริกามาก่อน (America First Policy) เป็นนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ที่มุ่งเน้นการปกป้องชาตินิยมและการกระจาย รายได้ รวมถึงการลดความเหลื่อมล้ำโดยการตัดสินใจด้านต่าง ๆ ทั้งภาษี คนเข้าเมือง และ กิจการต่างประเทศจะต้องเอื้อประโยชน์ต่อชาวอเมริกัน เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์ “Make America

Great Again”

55 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยคนปัจจุบัน (พ.ศ. 2561) คือใคร (1) นายสาโรจน์ ชวนะวิรัช

(2) นายเตช บุนนาค

(3) นายกษิต ภิรมย์

(4) นายดอน ปรมัตถ์วินัย

(5) นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยคนปัจจุบัน (พ.ศ. 2561)คือ นายดอน ปรมัตถ์วินัย ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

56 นายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนจีนคนปัจจุบัน (พ.ศ. 2561) คือใคร

(1) นายสี จิ้นผิง

(2) นายหู จินเทา

(3) นายหลี่ เค่อเฉียง

(4) นายเจียง เจ๋อหมุน

(5) นายเวิน เจียเป่า

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบัน (พ.ศ. 2561) สาธารณรัฐประชาชนจีนมีนายสี จิ้นผิง (Xi Jinping)เป็นประธานาธิบดี และนายหลี่ เค่อเฉียง (Li Kegiang) เป็นนายกรัฐมนตรี

57 ผู้นําเกาหลีเหนือคนปัจจุบันมีชื่อว่าอะไร

(1) Kim Jong Il

(2) Kim Il Sung

(3) Kim Jong Sung

(4) Kim Un Sung

(5) Kim Jong Un

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผู้นําเกาหลีเหนือคนปัจจุบันคือ นายคิม จอง อึน (Kim Jong Un) ซึ่งเป็นบุตรชายของนายคิม จอง อิล (Kim Jong I) อดีตผู้นําเกาหลีเหนือ โดยเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

58 เครื่องมือใดในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ควรใช้อย่างระมัดระวังมากที่สุด

(1) เครื่องมือทางเศรษฐกิจ

(2) เครื่องมือทางการทหาร

(3) เครื่องมือทางจิตวิทยา

(4) เครื่องมือทางการทูต

(5) เครื่องมือทางการเมือง

ตอบ 2 หน้า 43 เครื่องมือทางการทหาร เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยทั่วไปมักใช้เมื่อใช้เครื่องมืออื่น ๆ เช่น เครื่องมือทางการทูต เครื่องมือทางการเมือง เครื่องมือทางเศรษฐกิจ เครื่องมือทางจิตวิทยา ไม่ได้ผล และต้องใช้อย่างระมัดระวังมากที่สุด เพราะถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวังและรอบคอบเพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้

59 การพยายามเข้าไปมีอิทธิพลในประเทศแถบที่มีบ่อน้ำมันเพื่อควบคุมการผลิตน้ำมันนับเป็นการกระทํา เพื่อจุดมุ่งหมายใด

(1) จุดมุ่งหมายทางการเมือง

(2) จุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจ

(3) จุดมุ่งหมายทางการทหาร

(4) จุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจและการทหาร

(5) จุดมุ่งหมายในการลงโทษ

ตอบ 4 หน้า 50 จุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจและการทหาร เป็นจุดมุ่งหมายที่ส่งเสริมฐานะทางเศรษฐกิจเพื่อช่วยให้เกิดความเข้มแข็งทางด้านการทหารและเศรษฐกิจ นั่นคือ การนําเอาเศรษฐกิจ มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเข้าควบคุมดินแดนสําคัญที่มีวัตถุดิบที่มีความจําเป็นทางด้านยุทธศาสตร์ และเศรษฐกิจ เช่น การพยายามเข้าไปมีอิทธิพลในประเทศแถบที่มีบ่อน้ำมันเพื่อควบคุม การผลิตน้ำมัน เป็นต้น

60 ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การบอยคอต (Boycott)คือการใช้วิธีการใด

(1) การงดส่งสินค้าบางประเภทหรือทุกประเภทออกไปขาย

(2) การห้ามนําสินค้าบางประเภทหรือทุกประเภทเข้ามาขาย

(3) การตั้งกําแพงภาษีสินค้า

(4) การทุ่มสินค้า

(5) การควบคุมหรือยึดทรัพย์ของฝ่ายศัตรู

ตอบ 2 หน้า 53 การกีดกันทางการค้า หรือการบอยคอต (Boycott) คือ การที่รัฐบาลห้ามนําสินค้าบางประเภทหรือทั้งหมดของประเทศที่รัฐบาลมุ่งกีดกันทางการค้าเข้าประเทศ แต่ถ้าหากรัฐบาล ไม่ได้ทําการค้าโดยตรงกับประเทศที่ถูกกีดกันทางการค้าก็จะบังคับให้เอกชนที่ทําการค้ากับประเทศนั้นต้องขออนุญาตในการนําเข้าสินค้า หากฝ่าฝืนก็จะถูกลงโทษ

61 ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจโดยการส่งสินค้าออกขายต่างประเทศในราคาถูกมากหรือขายในราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิตเพื่อทําให้คู่แข่งอ่อนแอลง เรียกว่าวิธีการใด

(1) การกีดกันทางการค้า

(2) การกําหนดโควตา

(3) การกดดันราคาสินค้า

(4) การตั้งกําแพงภาษีสินค้า

(5) การทุ่มสินค้า

ตอบ 5 หน้า 55 การทุ่มสินค้า (Dumping) คือ การส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศในราคาถูกมากหรือขายในราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิต เพื่อช่วยให้สินค้าที่ตกค้างอยู่สามารถขายยังต่างประเทศได้และอาจทําให้คู่แข่งขันต้องอ่อนแอลงจนต้องถอนตัวออกไปจากตลาด

62 เครื่องหมายสวัสดิกะ (Swastika) ประเทศใดนํามาใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิทยาในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2

(1) สหภาพโซเวียต

(2) จีน

(3) เยอรมนี

(4) ญี่ปุ่น

(5) อิตาลี

ตอบ 3 หน้า 65 เครื่องหมายสวัสดิกะ (Swastika) เป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิทยาที่เยอรมนี้นํามาใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อทําให้ชาวเยอรมันอุทิศตนเพื่อชาติ เครื่องหมายนี้ปรากฏทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นท้องถนน ในห้องเรียน บนฝาผนัง และในที่สุดได้กลายเป็นเสมือนสัญลักษณ์ความเชื่อทางศาสนา

63 การทูตที่เป็นการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขหรือผู้นําสูงสุดของประเทศเรียกว่าอะไร

(1) Head Diplomacy

(2) Leadership Diplomacy

(3) State Diplomacy

(4) Ad hoc Diplomacy

(5) Summit Diplomacy

ตอบ 5 (คําบรรยาย) Summit Diplomacy คือ การทูตที่เป็นการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขหรือผู้นําสูงสุดของประเทศ

64 ในยุคสงครามเย็นจนถึงปัจจุบัน การดําเนินนโยบายต่างประเทศรูปแบบใดทําให้ประเทศกําลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุดได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากที่สุด

(1) Isolate

(2) Ally

(3) Alliance

(4) Non-alignment

(5) Neutrally

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประเทศกําลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด เป็นประเทศที่ไม่มีอํานาจต่อรองทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่น ๆ ดังนั้นในยุคสงครามเย็นจนถึงปัจจุบัน การดําเนิน นโยบายต่างประเทศแบบสัมพันธมิตร (Alliance) เพื่อรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ กับประเทศอื่น ๆ จะทําให้ประเทศเหล่านี้ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากที่สุด

65 เครื่องมือทางเศรษฐกิจใดใช้ในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยามสันติ

(1) การทุ่มตลาด

(2) การกว้านซื้อสินค้า

(3) การปิดล้อมฝัง

(4) การจัดทํารายชื่อผู้ต้องห้าม

(5) การยึดทรัพย์ของศัตรู

ตอบ 1 หน้า 53 – 59 เครื่องมือทางเศรษฐกิจในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ในยามสันติ ได้แก่ กําแพงภาษี การกีดกันทางการค้าการงดส่งสินค้าออกไปขาย การให้ความช่วยเหลือ การทุ่มสินค้า/การทุ่มตลาด การรวมตัวกันทางธุรกิจระหว่างประเทศ การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา

2 เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ในยามที่เกิดสงคราม ได้แก่ การปิดล้อมฝัง การจัดทํารายชื่อผู้ต้องห้าม การกว้านซื้อสินค้า การควบคุมหรือยึดทรัพย์ของฝ่ายศัตรู

3 เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ทั้งในยามสงครามและยามสันติ ได้แก่ นโยบายทางการค้าการกําหนดโควตาและการออกใบอนุญาต

66 การประชุมสุดยอดความร่วมมือจีนและแอฟริกาปี ค.ศ. 2018 จัดขึ้นที่ประเทศใด

(1) แอฟริกาใต้

(2) ไนจีเรีย

(3) อียิปต์

(4) ซูดาน

(5) จีน

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) การประชุมสุดยอดความร่วมมือจีนและแอฟริกา จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2018 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน โดยที่ประชุมได้ประกาศเอกสารผลการประชุม 2 ฉบับ ได้แก่ ปฏิญญาปักกิ่ง และแผนปฏิบัติการปักกิ่ง เพื่อแสดงความมุ่งมั่นของจีนต่อแอฟริกา ในการร่วมดําเนินการตาม “แนวปฏิบัติ 8 ประการ” สําหรับการเดินหน้าความร่วมมือและสร้างบระชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างจีนกับแอฟริกา

67 ในสมัยล่าอาณานิคม การที่สยามยอมเสียดินแดนบางส่วนให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศแบบใด

(1) นโยบายแห่งการเอาใจ

(2) นโยบายรักษาดุลอํานาจ

(3) นโยบายตีสองหน้า

(4) นโยบายการรักษาหน้า

(5) นโยบายรักษาความเป็นมิตร

ตอบ 1 หน้า 216 217 นโยบายแห่งการเอาใจ (Appeasement Policy) เป็นกลยุทธ์การดําเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะที่รัฐหนึ่งยินยอมให้รัฐที่เป็นเป้าหมายของนโยบายนี้ดําเนินการ อันไม่เป็นผลดีกับผลประโยชน์ของตนบางประการ ด้วยความหวังว่ารัฐที่เป็นเป้าหมายจะพอใจ และยุติการดําเนินการอันจะเกิดผลเสียอย่างรุนแรงกับผลประโยชน์ของรัฐนั้น เช่น การที่อังกฤษ ยอมรับการครอบครองซูเดเทนของเยอรมนี้ในสมัยของนายกรัฐมนตรีเนวิลล์ แชมเบอร์แลน การที่สยามยอมเสียดินแดนบางส่วนให้กับอังกฤษและฝรั่งเศสในสมัยล่าอาณานิคม เป็นต้น

68 ประเทศใดไม่ได้เข้าร่วมในกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (LMC)

(1) ลาว

(2) พม่า

(3) กัมพูชา

(4) เวียดนาม

(5) มาเลเซีย

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) กรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (Lancang Mekong Cooperation : LMC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2016 มีสมาชิกทั้งหมด 6 ประเทศ คือ ไทย กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ (พม่า) เวียดนาม และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนา อนุภาคลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาระหว่างประเทศในอนุภาค ลุ่มน้ำโขง และระหว่างอนุภาคลุ่มน้ำโขงกับภูมิภาคอื่น ๆ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่ง ให้กับประชาคมอาเซียนในภาพรวม

69 สาเหตุใดที่ทําให้องค์การระหว่างประเทศเป็นตัวแสดงที่มีความสําคัญในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคปัจจุบัน

(1) รัฐที่อ่อนแอต้องการพึ่งพิงรัฐที่มีอํานาจเหนือกว่า

(2) รัฐต้องการให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ

(3) ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในบางกรณีนําไปสู่การแก้ไขปัญหาโดยรัฐเพียงลําพัง

(4) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคปัจจุบันมีลักษณะพึ่งพาอาศัยกันและกันอย่างซับซ้อน

(5) ต้องอาศัยความร่วมมือในกรอบขององค์การระหว่างประเทศในการเจรจาการค้า ตอบ 4 หน้า 158, (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศระหว่างรัฐหรือระดับรัฐบาล ถือเป็นตัวแสดงที่สูงกวารัฐในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเป็นตัวแสดงที่มีความสําคัญ ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคปัจจุบันมีลักษณะพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกันอย่างซับซ้อน จนทําให้ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในบางประเด็นหรือบางกรณี ไม่สามารถบรรลุผลสําเร็จหรือนําไปสู่การแก้ไขปัญหาได้โดยลําพังเพียงรัฐเดียว แต่ต้อง อาศัยความร่วมมือในกรอบขององค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับสากลและระดับภูมิภาคมาช่วยในการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศให้สําเร็จลุล่วง

70 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การระหว่างประเทศในยุคปัจจุบัน

(1) ตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป

(2) ประกอบไปด้วยรัฐ จํานวนหนึ่งที่ต้องเป็นหน่วยทางการเมืองที่อิสระและเสมอภาค (3) เป็นความร่วมมือในด้านการเมือง เศรษฐกิช และสังคม

(4) รัฐสมาชิกต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

(5) มีอํานาจเหนือสมาชิกทั้งหมดภายใต้สถาบันเหนือชาติ

ตอบ 5 หน้า 159 ลักษณะขององค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล มีดังนี้

1 ต้องประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่ง (ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป) และเหล่านี้จะต้องเป็นหน่วยทางการเมืองที่มีเอกราช อิสระ และมีความเสมอภาคกัน

2 ตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป

3 ขอบเขตของความร่วมมืออาจเป็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร วัฒนธรรม สังคม วิชาการ กฎหมาย การพัฒนา เป็นต้น

4 รัฐสมาชิกต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

5 รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ และมุ่งที่จะ ปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ

6 รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงความจําเป็นที่ต้องมีเครื่องมือที่เป็นองค์ เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

71 ธนาคารใดจัดตั้งขึ้นภายใต้ข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (BRI)

(1) AIDB

(2) ADIB

(3) AIIB

(4) BRIB

(5) BRDB

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53 ประกอบ

72 การทูตปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) นํามาใช้ในการสานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใด

(1) สหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกา

(2) สหภาพโซเวียตกับญี่ปุ่น

(3) จีนกับญี่ปุ่น

(4) จีนกับสหรัฐอเมริกา

(5) จีนกับสหภาพโซเวียต

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

73 วิกฤติการณ์คิวบาเกิดขึ้นในปี ค.ศ. ใด

(1) 1960

(2) 1961

(3) 1962

(4) 1963

(5) 1964

ตอบ 3 หน้า 26, 89, (คําบรรยาย) วิกฤติการณ์คิวบาในปี ค.ศ. 1962 เป็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต เนื่องจากสหภาพโซเวียตได้ไปติดตั้งฐานยิงขีปนาวุธในคิวบา ทําให้สหรัฐอเมริกาเกิดความหวาดกลัวว่าการติดตั้งขีปนาวุธจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของ สหรัฐอเมริกา จึงปิดล้อมคิวบาทางทะเลและยื่นคําขาดให้สหภาพโซเวียตถอนขีปนาวุธออกจาก คิวบามิฉะนั้นจะบุกคิวบาและทําลายขีปนาวุธเสียเอง วิกฤติการณ์ครั้งนี้สิ้นสุดลงโดยการเจรจาขององค์การสหประชาชาติ ทําให้สหภาพโซเวียตยอมถอนขีปนาวุธออกจากคิวบาโดยสันติ

74 วิกฤติการณ์คิวบาเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศใด

(1) คิวบากับสหรัฐอเมริกา

(2) คิวบากับเม็กซิโก

(3) คิวบากับสหภาพโซเวียต

(4) สหภาพโซเวียตกับญี่ปุ่น

(5) สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

75 การทูตเรือปืน หมายถึงการทูตในลักษณะใด

(1) การแข่งขันทางอํานาจของกองทัพเรือโดยใช้อาวุธ

(2) การเจรจาการทูตบนเรือรบ

(3) การเจรจาต่อรองการเป็นมหาอํานาจทางทะเล

(4) การที่ประเทศที่แข็งแรงบีบบังคับประเทศที่อ่อนแอกว่า

(5) การทูตที่ประเทศอ่อนแอใช้ตอบโต้ประเทศที่แข็งแรงกว่า

ตอบ 4 หน้า 219 นโยบายการทูตเรือปืน (Gunboat Diplomacy) เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศของชาติมหาอํานาจหรือชาติที่เข้มแข็งกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการทหาร ในการบีบบังคับ ให้ชาติที่อ่อนแอกว่าทําหรือไม่ทําการใด ๆ ตามความต้องการของตน ซึ่งวิธีการนี้เป็นการรังแก ชาติที่อ่อนแอกว่า เช่น กรณีเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสบีบบังคับให้สยามยอมเสียดินแดนบางส่วนในอินโดจีนให้กับฝรั่งเศส เป็นต้น

76 นักการทูตที่ไปสืบหาข้อมูลอย่างไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายในประเทศที่ตนไปประจําการอยู่อาจถูกกล่าวหาว่าทําการจารกรรมและนักการทูตผู้นั้นต้องกลายเป็น

(1) บุคคลผู้ไม่พึงปรารถนา

(2) บุคคลผู้เป็นภัยคุกคาม

(3) บุคคลน่าละอาย

(4) บุคคลที่ไม่ชอบธรรม

(5) บุคคลที่ควรถูกขับไล่

ตอบ 1 หน้า 71 – 72 นักการทูตมีหน้าที่หลักประการหนึ่งคือ การรวบรวมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆเพื่อวิเคราะห์ท่าที่ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลที่สถานทูตไปตั้งอยู่แล้วรายงานต่อรัฐบาลของตน ซึ่งมีบ่อยครั้งที่นักการทูตจะต้องสืบเสาะหาข้อมูลโดยใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องตามครรลองหรือ ขั้นตอนของกฎหมายในประเทศที่ตนไปประจําการอยู่ จึงทําให้นักการทูตผู้นั้นถูกกล่าวหาว่าทําจารกรรมและต้องกลายเป็น “บุคคลผู้ไม่พึงปรารถนา” (Persona Non Grata)

77 เครื่องมือทางเศรษฐกิจใดใช้ในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยามสงคราม

(1) การงดสินค้าออกไปขาย

(2) กําแพงภาษี

(3) การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา

(4) การกีดกันทางการค้า

(5) การจัดทํารายชื่อผู้ต้องห้าม ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ

78 ข้อเลือกข้อใดเป็นหน้าที่ของธนาคารโลก

(1) การบูรณะและพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

(2) อํานวยความสะดวกการค้าระหว่างประเทศ

(3) การตั้งข้อจํากัดทางการค้าและการชําระเงิน

(4) เป็นแหล่งกู้ยืมเงินของประเทศกําลังพัฒนา

(5) ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ

ตอบ 1 หน้า 170, 222 วัตถุประสงค์หรือหน้าที่ของธนาคารโลก (World Bank) หรือธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (IBRD) มีดังนี้

1 เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยให้สมาชิกกู้ยืมเงินเพื่อบูรณะพัฒนาเศรษฐกิจและประเทศ

2 เพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ทําการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

3 เพื่อสนับสนุนการลงทุนเพื่อการพัฒนาและเพิ่มผลผลิตในประเทศกําลังพัฒนา

4 เพื่อยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศสมาชิก

5 เพื่อให้บริการด้านความรู้และคําแนะนําเกี่ยวกับการวางแผนการลงทุนและการบริหารการเงิน

79 ประธานกรรมการธนาคารโลกคนปัจจุบันคือใคร

(1) นายโรเบิร์ต บี ซิลแคร์

(2) นายคิม จอง อึน

(3) นางคริสติน ลาการ์ด

(4) นายศุภชัย พานิชภักดิ์

(5) นายจิม ยอง คิม

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประธานกรรมการธนาคารโลกคนปัจจุบัน คือ นายจิม ยอง คิม (Jim Yong Kim) ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลี ซึ่งเข้าดํารงตําแหน่งสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2017 ทั้งนี้ประธานกรรมการจะมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี

80 ผู้อํานายการกองทุนการเงินระหว่างประเทศคนปัจจุบันคือใคร

(1) นายโรเบิร์ต บี ซิลแคร์

(2) นายคิม จอง อึน

(3) นางคริสติน ลาการ์ด

(4) นายศุภชัย พานิชภักดิ์

(5) นายจิม ยอง คิม

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผู้อํานวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศคนปัจจุบัน คือ นางคริสติน ลาการ์ด (Christine Lagarde) ชาวฝรั่งเศส ซึ่งเข้าดํารงตําแหน่งสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 ทั้งนี้ผู้อํานวยการจะมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี

81 ข้อเลือกใดเกี่ยวข้องกับองค์การการค้าโลก

(1) เป็นเวทีตกลงเซ็นสัญญาการซื้อขายระหว่างประเทศ

(2) มุ่งเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

(3) เวทีในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

(4) แก้ไขการตกต่ำของเศรษฐกิจโลก

(5) สนับสนุนด้านดุลการชําระเงินแก่ประเทศสมาชิก

ตอบ 3 หน้า 174 วัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้งองค์การการค้าโลก มีดังนี้

1 เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ

2 เพื่อกํากับการดําเนินการของประเทศสมาชิกให้เป็นไปตามข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ. 1994 (GAT 1994)

3 เพื่อยุติหรือระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก

4 เพื่อเป็นเวที่เจรจาการค้าระหว่างประเทศสมาชิก

82 เลขาธิการคนปัจจุบันขององค์การการค้าโลกคือใคร

(1) นายโรแบร์โต อาเซเวโด

(2) นายลามี ปาสคาล

(3) นางคริสติน ลาการ์ด

(4) นายศุภชัย พานิชภักดิ์

(5) นายจิม ยอง คิม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้อํานวยการหรือเลขาธิการองค์การการค้าโลกคนปัจจุบัน คือ นายโรแบร์โต อาเซเวโด (Roberto Azevedo) ชาวบราซิล ซึ่งเข้าดํารงตําแหน่งสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2017 ทั้งนี้เลขาธิการจะมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 4 ปี

83 ข้อเลือกข้อใดเกี่ยวข้องกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป

(1) Paris Treaty

(2) Treaty of Rome

(3) Russell Treaty

(4) Treaty of Athens

(5) Treaty of Maastricht

ตอบ 2 หน้า 179, (คําบรรยาย) ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community : EEC) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1957 โดยสนธิสัญญากรุงโรม (Treaty of Rome) มีสมาชิกทั้งหมด 6 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เบลเยียม เนเธอแลนด์ และลักเซมเบิร์ก

84 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่หน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ

(1) ทําหน้าที่จัดสรรทรัพยากรของรัฐสมาชิก

(2) ปฏิบัติการรักษาสันติภาพของโลก

(3) หาหนทางที่จะอยู่รอดร่วมกัน

(4) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิก

(5) กําหนดกฎหมายที่ใช้ในองค์การ

ตอบ 5 หน้า 160 – 161, (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศทําหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิกในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1 การเป็นที่ประชุมปรึกษาหารือระหว่างรัฐสมาชิก

2 การเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ

3 การจัดสรรทรัพยากร

4 การเพิ่มสมรรถนะทางทหาร

5 การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ

6 การหาหนทางที่จะอยู่รอดร่วมกัน.

7 การส่งเสริมความร่วมมือเฉพาะด้านต่าง ๆ

85 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่องค์การระหว่างประเทศระดับโลก

(1) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

(2) องค์การอาหารและการเกษตร

(3) ธนาคารโลก

(4) องค์การการค้าโลก

(5) สหภาพยุโรป

ตอบ 5 หน้า 135 – 136, 158, 160 องค์การระหว่างประเทศซึ่งจําแนกตามภูมิศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 องค์การระหว่างประเทศระดับโลกหรือระดับสากล (Global Organization) เช่น สันนิบาตชาติ (LAN), สหประชาชาติ (UN), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), ธนาคารโลก (World Bank), องค์การการค้าโลก (WTO), องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การประเทศผู้ส่งน้ํามันเป็นสินค้าออก (OPEC), องค์การอาหารและการเกษตร (FAO), สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU) เป็นต้น

2 องค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค (Regional Organization) เช่น สหภาพยุโรป (EU),อาเซียน (ASEAN), องค์การนานารัฐอเมริกัน (OAS), สหภาพแอฟริกา (AU), องค์การสนธิสัญญา แอตแลนติกเหนือ (NATO), กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC), องค์การสันนิบาตอาหรับ (Arab League), องค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) เป็นต้น

86 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ภารกิจหลักขององค์การสหประชาชาติ

(1) พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งมวล

(2) คณะมนตรีความมั่นคงอาจให้กําลังรบของประเทศสมาชิกเข้าแทรกแซง

(3) รักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

(4) คณะมนตรีความมั่นคงส่งผู้รักษาสันติภาพเข้าไปยังพื้นที่ประเทศที่ขัดแย้งกัน

(5) เสนอแนะแนวทางต่าง ๆ เพื่อหาทางออกเมื่อเกิดความขัดแย้ง

ตอบ 2 หน้า 141 – 142, 165 166 องค์การสหประชาชาติมีจุดมุ่งหมาย หลักการ และภารกิจที่สําคัญดังนี้

1 ธํารงไว้เพื่อการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งเมื่อเกิดกรณีพิพาท ระหว่างประเทศ สหประชาชาติจะมอบหมายให้คณะมนตรีความมั่นคงเข้าไปแทรกแซงโดยเปิด การเจรจาระหว่างคู่กรณี และเสนอแนะแนวทางต่าง ๆ เพื่อหาทางออกในการยุติความขัดแย้ง รวมทั้งการส่งผู้รักษาสันติภาพเข้าไปยังพื้นที่ประเทศที่ขัดแย้งกันในกรณีที่ประเทศดังกล่าวยินยอม

2 สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน และควบคุมตรวจสอบรัฐบาลของแต่ละประเทศ ให้เคารพในสิทธิมนุษยชนของพลเมือง

3 พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งมวล

4 เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง

87 ประเทศใดเป็นสมาชิกล่าสุดของสหประชาชาติ

(1) ลิทัวเนีย

(2) เวียดนาม

(3) จอร์เจีย

(4) ซีเรีย

(5) ซูดานใต้

ตอบ 5 หน้า 163 164, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งหมด 51 ประเทศ และมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน (ค.ศ. 2018) สหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ไทย ติมอร์-เลสเต มอนเตเนโกร ฯลฯ โดยประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกลําดับที่ 55 ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1946 และมีประเทศซูดานใต้หรือเซาท์ซูดาน (South Sudan) เข้าเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011

88 ข้อเลือกข้อใดเป็นหน้าที่ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

(1) เสริมสร้างความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ

(2) เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

(3) ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ

(4) ให้การประกันแก่นักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในประเทศกําลังพัฒนา

(5) เป็นศูนย์กลางระหว่างประเทศเพื่อยุติความขัดแย้งด้านการลงทุน

ตอบ 3 หน้า 173, (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์หรือหน้าที่ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ มีดังนี้

1 เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพและความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ

2 เพื่ออํานวยความสะดวกให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัวอย่างสมดุล

3 เพื่อให้ประเทศสมาชิกกู้ยืมเงินไปแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องของการเงินภายในประเทศ

4 เพื่อสนับสนุนด้านการเงินแก่ประเทศสมาชิกในการปรับปรุงฐานะดุลการชําระเงินให้ดีขึ้นซึ่งจะช่วยให้ประเทศสมาชิกไม่ต้องใช้มาตรการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจของ ประเทศสมาชิกอื่น ๆ เช่น การตั้งข้อจํากัดทางการค้าและการชําระเงิน

5 เพื่อควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศไม่ให้ผันผวนและป้องกันการลดค่าเงิน

6 เพื่อลดการขาดดุลชําระเงินระหว่างประเทศ ฯลฯ

89 ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

(1) สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ค.ศ. 1929 1933

(2) Bretton Woods Conference

(3) United Nations Monetary and Financial Conference

(4) ป้องกันการลดค่าเงิน

(5) เป็นแหล่งกู้ยืมเงินของประเทศด้อยพัฒนา

ตอบ 5 (คําบรรยาย) กองทุนการเงินระหว่างประเทศถือกําเนิดขึ้นมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจและการค้าโลกในช่วงปี ค.ศ. 1920 อันเป็นจุดเริ่มต้นที่นําไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (Great Depression) ในระหว่างปี ค.ศ. 1929 – 1933 และการประชุม United Nations Monetary and Financial Conference หรือการประชุมเบรตต้น วูดส์ (Bretton Woods Conference) ที่จัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1944 ณ มลรัฐนิวแฮมพ์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา (ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ)

90 ข้อเลือกข้อใดไม่ได้เป็นที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ

(1) สนธิสัญญา

(2) ข้อตกลงระหว่างประเทศ

(3) กระบวนการทางนิติบัญญัติ

(4) จารีตประเพณี

(5) คําพิพากษาของศาล

ตอบ 3 หน้า 128, (คําบรรยาย) ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

1 ลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สนธิสัญญาระหว่างประเทศ อนุสัญญาระหว่างประเทศข้อตกลงระหว่างประเทศ และคําพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก

2 ลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณีระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไป

91 ข้อเลือกข้อใดเกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ

(1) ผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติ

(2) ได้มาจากอํานาจส่วนกลาง

(3) เป็นจารีตประเพณีของรัฐมหาอํานาจ

(4) เป็นอนาธิปไตย (Anarchy) ในระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

(5) เป็นความตกลงระหว่างประเทศที่ทําขึ้นระหว่างรัฐเป็นลายลักษณ์อักษร

ตอบ 4, 5 หน้า 128 กฎหมายระหว่างประเทศเป็นหลักปฏิบัติอันเป็นที่ยอมรับระหว่างประเทศที่จะเป็นตัวกําหนดควบคุมอํานาจอธิปไตยของรัฐ หรือเป็นผู้ควบคุมพฤติกรรมของรัฐ ทั้งนี้ กฎหมายระหว่างประเทศจะไม่เหมือนกับกฎหมายภายในรัฐแต่ละรัฐ (National Laws) เพราะว่าการได้มาของกฎหมายระหว่างประเทศนั้นไม่ได้ผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติ หรืออํานาจส่วนกลางใด ๆ แต่มาจากจารีตประเพณีปฏิบัติและความตกลงระหว่างประเทศ ที่ทําขึ้นระหว่างรัฐเป็นลายลักษณ์อักษร จึงทําให้มีลักษณะเป็นอนาธิปไตย (Anarchy) ในระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

92 ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับบทบาทของกฎหมายระหว่างประเทศ

(1) ก่อให้เกิดและธํารงไว้ซึ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อย

(2) มีผลบังคับใช้เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ

(3) ส่งเสริมมิตรภาพ ความร่วมมือปรองดอง และมิตรไมตรีระหว่างรัฐ

(4) ไม่พึ่งพาการใช้กําลังให้รัฐอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ

(5) เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐที่เกิดกรณีขัดแย้งกัน

ตอบ 2 หน้า 129 บทบาทของกฎหมายระหว่างประเทศในการบังคับใช้ มีดังนี้

1 ก่อให้เกิดและธํารงไว้ซึ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อยที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ส่วนรวมของสังคมแห่งรัฐ เป็นบทบาทที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

2 ส่งเสริมมิตรภาพ ความร่วมมือปรองดอง และมิตรไมตรีระหว่างรัฐ

3 ไม่พึ่งพาการใช้กําลังให้รัฐอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ คือ ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ (Sanction) จึงทําให้สังคมระหว่างรัฐมีลักษณะสังคมอนาธิปไตย ไม่มีอํานาจสูงสุดในการบังคับบัญชา

4 เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐที่เกิดกรณีขัดแย้งกัน

5 เป็นเครื่องมือของรัฐที่มีอํานาจที่จะใช้เพื่อรักษาอํานาจที่มีอยู่ให้มั่นคงและยั่งยืน

93 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี

(1) การเจรจา

(2) การไกล่เกลี่ย

(3) การไต่สวน

(4) การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ

(5) อนุญาโตตุลาการ

ตอบ 4 หน้า 130 – 131, (คําบรรยาย) กระบวนการแก้ปัญหาหรือระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธีตามหมวด 6 ของสหประชาชาติ มี 6 วิธี คือ

1 การเจรจา

2 การไต่สวน

3 การไกล่เกลี่ย

4 การประนีประนอม

5 การตั้งอนุญาโตตุลาการ

6 การเข้าสู่กระบวนการศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

94 ข้อเลือกข้อใดไม่ได้เป็นบทบาทกฎหมายระหว่างประเทศในการบังคับใช้

(1) ใช้หลักการพึ่งพาการใช้กําลังให้รัฐอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ (2) ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ (Sanction)

(3) สอดคล้องกับผลประโยชน์ส่วนรวมของสังคมแห่งรัฐเป็นบทบาทที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

(4) เป็นเครื่องมือของรัฐที่มีอํานาจที่จะใช้เพื่อรักษาอํานาจที่มีอยู่ให้มั่นคงและยั่งยืน (5) เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐที่เกิดกรณีขัดแย้งกัน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

95 ขณะนี้อะไรถือว่าเป็นปัญหาวิกฤติที่สําคัญที่สุดของสหภาพยุโรป

(1) การรับประเทศมุสลิมอย่างประเทศตุรกีเข้ามาเป็นสมาชิก

(2) ความยากจนของประเทศสมาชิกใหม่

(3) การก่อการร้ายระหว่างประเทศ

(4) การอพยพเข้าออกของประชากรในประเทศสมาชิก

(5) การขอลาออกจากการเป็นสมาชิกอียูของสหราชอาณาจักร

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปัญหาการอพยพเข้าออกของประชากรในประเทศสมาชิก ถือเป็นปัญหาวิกฤติที่สําคัญที่สุดของสหภาพยุโรปในปัจจุบัน โดยกลุ่มผู้อพยพมี 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มผู้อพยพลี้ภัย สงคราม ซึ่งอพยพมาจากตะวันออกกลาง และกลุ่มผู้อพยพลี้ภัยความยากจน ซึ่งอพยพมาจาก แอฟริกาและเอเซีย การอพยพดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาแก่ประเทศที่รับผู้อพยพเข้าประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงบประมาณในการจัดการดูแลผู้อพยพ การจัดเตรียมที่พักพิง อาหารสวัสดิการต่าง ๆ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการแย่งงานคนท้องถิ่น เป็นต้น

96 อะไรถือว่าเป็นการประสบความสําเร็จที่สุดของสหภาพยุโรป

(1) การขอเข้าเป็นสมาชิกของประเทศตุรกี

(2) เป็นตลาดเดียว ใช้เงินสกุลเดียว

(3) การรับอดีตประเทศในสหภาพโซเวียตเป็นสมาชิกทั้งหมด

(4) ใช้เชงเก้นวีซ่า

(5) การมีกองกําลังต่อต้านการก่อการร้าย

ตอบ 2 หน้า 180, (คําบรรยาย) ความสําเร็จของสหภาพยุโรป มีดังนี้

1 เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งที่สุดในโลก

2 เป็นการขยายจํานวนสมาชิกที่ครอบคลุมทั้งในยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออก

3 มีความเป็นหนึ่งเดียวทางเศรษฐกิจ คือ การเป็นตลาดเดียว และใช้เงินสกุลเดียวซึ่งถือเป็นความสําเร็จที่สุดของสหภาพยุโรป

4 เป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก

97 อะไรถือว่าเป็นความสําเร็จที่สุดของการพัฒนา ASEAN ในปัจจุบัน

(1) การปฏิวัติอุตสาหกรรมการเกษตร

(2) การแก้ไขปัญหาวิกฤติค่าเงินในเอเชีย

(3) การเป็นประชาคมอาเซียน

(4) มีกฎบัตรอาเซียน

(5) การใช้เงินเยนและหยวนเป็นเงินสํารองในภูมิภาคเอเชีย

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2015 เป็นการรวมกลุ่มของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อให้เป็นประชาคมที่มีความแข็งแกร่ง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และสังคมวัฒนธรรม รวมทั้งเพื่อสร้างโอกาสให้กับภูมิภาค และประเทศในภูมิภาคในการเจรจาต่อรองกับภูมิภาคอื่น ๆ และประเทศอื่น ๆ ได้มากขึ้นซึ่งการเป็นประชาคมอาเซียนนี้ถือเป็นความสําเร็จที่สุดของการพัฒนาอาเซียนในปัจจุบัน

98 ข้อเลือกข้อใดไม่เป็นสาระสําคัญของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(1) อาเซียนเป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง

(2) เสริมสร้างอํานาจการต่อรองทางเศรษฐกิจ

(3) เป็นตลาดเดียว ฐานการผลิตเดียว

(4) แรงงานมีทักษะสามารถไปทํางานต่างประเทศได้

(5) ส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีเป้าหมาย 4 ประการ คือ

1 การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว โดยให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนเงินทุน และแรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนได้อย่างเสรี

2 การสร้างอํานาจการต่อรองและความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน

3 การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค โดยเน้นการเน้นการส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

4 การบูรณาการเข้ากับระบบเศรษฐกิจโลก

99 อะไรไม่ถือว่าเป็นความสําเร็จที่สุดของประชาคมอาเซียนในปัจจุบัน

(1) การจัดตั้งปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน

(2) การเกิดกฎบัตรอาเซียน

(3) การรักษาบรรทัดฐานของอาเซียน

(4) ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้

(5) เป็นตลาดเดียว ฐานการผลิตเดียว

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การเจรจาปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ระหว่างประชาคมอาเซียนและสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบันยังไม่ถือว่าประสบความสําเร็จ โดยอาเซียนและสาธารณรัฐ ประชาชนจีนได้เจรจาทําความตกลงเพื่อกําหนดแนวทางปฏิบัติในทะเลจีนใต้มานานหลายปีแล้ว โดยมีจุดประสงค์เพื่อกําหนดและควบคุมการทํากิจกรรมต่าง ๆ ในน่านน้ําแห่งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยง การกระทบกระทั่งกันของประเทศที่กล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งในจํานวนนี้มีประเทศสมาชิกอาเซียน คือ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม บรูไน และมาเลเซีย ที่กล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ด้วย

100 ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับเอเปค

(1) เปิดโอกาสให้ประเทศที่ไม่เป็นสมาชิกเข้าร่วมด้วยได้

(2) มีสมาชิกเป็นเขตปกครองพิเศษร่วมอยู่ด้วย

(3) การให้กู้ยืมเงินสมาชิกมาพัฒนาประเทศ

(4) ลดอุปสรรคทางการค้าและการบริการ

(5) ใช้เป็นเวทีในการปรึกษาหารือทางการค้าระหว่างประเทศ

ตอบ 3 หน้า 186, (คําบรรยาย) กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค (APEC)ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1989 ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2018) มีสมาชิกทั้งหมด 21 ประเทศ โดยมีฮ่องกงและไต้หวันซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษเป็นสมาชิกร่วมด้วย เอเปคนั้นถือเป็นการ รวมกลุ่มทางเศรษฐกิจแบบเปิด คือ เปิดโอกาสให้ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสามารถเข้าร่วมได้ โดยให้สิทธิประโยชน์แก่ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกเหล่านั้นเช่นเดียวกับที่ให้แก่สมาชิกเอเปค วัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของเอเปค มีดังนี้

1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการขยายตัว ทางการค้าและเศรษฐกิจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

2 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมระบบ การค้าหลายฝ่าย หรือระบบการค้าแบบเปิด

3 เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและการบริการ

4 เพื่อเป็นเวทีปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการค้าของสมาชิก แต่ไม่ใช่เวที ในการเจรจาหรือยุติข้อพิพาททางการค้าระหว่างสมาชิก

Advertisement