การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 “สงคราม คือ การต่อสู้ระหว่างคู่ปรปักษ์” เป็นคํากล่าวของใคร

(1) Quincy Wright

(2) Carl von Clausewitz

(3) Hans J. Morgenthau

(4) Karl Marx

(5) Kenneth Waltz

ตอบ 1 หน้า 102 นักวิชาการได้ให้ความหมายของ “สงคราม” ดังนี้

1 ควินซี ไรท์ (Quincy Wright) กล่าวว่า สงคราม คือ การต่อสู้ระหว่างคู่ปรปักษ์

2 คาร์ล วอน คลอสวิทซ์ (Cart Von Clausewitz) กล่าวไว้ในหนังสือ On War ว่า สงคราม คือ การกระทําที่รุนแรงซึ่งมุ่งบังคับให้ศัตรูกระทําตามความต้องการของตน และเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทําให้รัฐได้มาซึ่งอํานาจถ้าหากรัฐนั้นประสบความล้มเหลวในการใช้วิธีการอื่น ๆ

2 หลังสงครามใดที่เครื่องเทศกลายเป็นสินค้าที่สําคัญมากในยุโรป

(1) สงครามสามสิบปี

(2) สงครามนครรัฐกรีก

(3) สงครามโรมัน

(4) สงครามเพโลโพนีเซียน

(5) สงครามครูเสด

ตอบ 5 “หน้า 78 หลังสงครามครูเสด เครื่องเทศกลายเป็นสินค้าที่สําคัญมากในยุโรป นครรัฐอิตาลีกลายเป็นศูนย์กลางการค้าและเป็นเมืองที่มั่งคั่ง เพราะเป็นสถานีต้นทางในการขนส่งนักรบและการค้าเครื่องเทศในย่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับเอเชียตะวันตก

3 ระบบความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรโบราณในยุโรปกับเอเชียแตกต่างกันอย่างไร (1) ไม่มีความแตกต่างกัน

(2) เอเชียมีระบบบรรณาการ

(3) ยุโรปมีระบบบรรณาการ

(4) ยุโรปเน้นความสัมพันธ์ข้ามทวีป

(5) เอเชียเน้นความสัมพันธ์ข้ามทวีป

ตอบ 2 หน้า 77, (คําบรรยาย) ความแตกต่างของระบบความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรโบราณในยุโรปกับเอเชีย คือ เอเชียโดยเฉพาะความสัมพันธ์กับอาณาจักรจีนจะมี “ระบบบรรณาการ” (Tribute System) ซึ่งเป็นระบบความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน (Unequal) และลดหลั่นกันตามลําดับชั้น (Hierarchical)

4 คําว่า “รัฐชาติ” เกิดขึ้นจากสนธิสัญญาใด

(1) สนธิสัญญาสันติภาพที่แวร์ซายส์ ค.ศ. 1648

(2) สนธิสัญญาสันติภาพที่ปารีส ค.ศ. 1648

(3) สนธิสัญญาสันติภาพที่เวสต์ฟาเลีย ค.ศ. 1648

(4) สนธิสัญญาสันติภาพเบาว์ริง ค.ศ. 1648

(5) สนธิสัญญาสันติภาพวอร์ซอว์ ค.ศ. 1648

ตอบ 3 หน้า 79, (คําบรรยาย) พัฒนาการของรัฐชาติสมัยใหม่เกิดขึ้นภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพที่เวสต์ฟาเลีย (Peace at Westphalia) ในปี ค.ศ. 1648 เพื่อยุติสงคราม 30 ปี ซึ่งส่งผลทําให้เกิดคําว่า “รัฐชาติ” ขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก และนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้ รัฐแยกตัวเป็นอิสระจากศาสนจักรและมีอํานาจอธิปไตยเป็นของตัวเอง

5 การสํารวจดินแดนในช่วง ค.ศ. 1290 – ค.ศ. 1522 เมืองใดเป็นมหาอํานาจ  (1) อังกฤษ และดัชต์

(2) อิตาลี และกรีก

(3) ฝรั่งเศส และดัชต์

(4) สเปน และโปรตุเกส

(5) เยอรมนี และรัสเซีย

ตอบ 4 หน้า 78, (คําบรรยาย) การสํารวจดินแดนในช่วง ค.ศ. 1290 – ค.ศ. 1522 สเปนและโปรตุเกสต่างแข่งขันกันค้นหาเส้นทางเดินเรือใหม่ ๆ โดยสเปนค้นพบเส้นทางเดินเรือผ่านมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก-แปซิฟิก ส่วนโปรตุเกสค้นพบเส้นทางเดินเรือเลียบชายฝั่งแอฟริกา เข้าสู่มหาสมุทรอินเดียผ่านช่องแคบมะละกา จึงทําให้สเปนและโปรตุเกสกลายเป็นมหาอํานาจในช่วงเวลาดังกล่าว

6 การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ

(1) การใช้เครื่องจักรในการผลิต

(2) การใช้หุ่นยนต์ในการผลิต

(3) การใช้นิวเคลียร์ในการผลิต

(4) การใช้สื่อในการผลิต

(5) การใช้โลหะในการผลิต

ตอบ 1 หน้า 79 – 81 การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระบบและวิธีการผลิตจากการใช้แรงงานคนหรือสัตว์มาใช้เครื่องจักรกลที่สลับซับซ้อนและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การผลิตทําได้จํานวนมากภายในระยะเวลาที่สั้น โดยการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้น ในประเทศอังกฤษเป็นแห่งแรก และผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้เกิด

1 การปฏิวัติการค้า

2 ลัทธิจักรวรรดินิยมและการล่าอาณานิคม

3 การแข่งขันของมหาอํานาจในยุโรปทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร

7 ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้เกิด

(1) สงครามโลกครั้งที่ 2

(2) สงครามครูเสด

(3) การล่าอาณานิคม

(4) สงครามต่อต้านการก่อการร้าย

(5) สงครามเย็น

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

8 สงครามโลกครั้งที่ 1 แบ่งเป็นกี่ฝ่าย อะไรบ้าง

(1) สองฝ่าย ได้แก่ กลุ่มเอเชีย และกลุ่มยุโรป

(2) สองฝ่าย ได้แก่ กลุ่มเหนือ และกลุ่มใต้

(3) สองฝ่าย ได้แก่ อเมริกา และสหภาพโซเวียต

(4) สองฝ่าย ได้แก่ กลุ่มพันธมิตร และกลุ่มอักษะ

(5) สองฝ่าย ได้แก่ กลุ่มพันธมิตรไตรภาคี และกลุ่มสัมพันธมิตร

ตอบ 5 หน้า 82 – 84, (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1914 เป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ

1 ฝ่ายพันธมิตรไตรภาคีหรือมหาอํานาจกลาง (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี – ออสเตรีย-ฮังการี ออตโตมาน (ตุรกี) และบัลแกเรีย

2 ฝ่ายสัมพันธมิตร (Triple Entente/Allied Powers) ประกอบด้วย รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ด้าน โดยสงครามได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1918 ซึ่งกลุ่มพันธมิตรไตรภาคีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงคราม

9 ประเทศใดเป็นฝ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1

(1) อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย

(2) อังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลี

(3) เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย

(4) เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

(5) เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และออตโตมาน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

10 สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะ

(1) สหภาพโซเวียตโจมตีฮาวาย

(2) ญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์

(3) เยอรมนีโจมตีลอนดอน

(4) อังกฤษโจมตีหาดนอร์มังดี

(5) อิตาลีโจมตีมอสโก

ตอบ 2 หน้า 86, (คําบรรยาย) สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ช้าที่สุดโดยตัดสินใจเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 หลังจากที่ญี่ปุ่น บุกโจมตีฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ของสหรัฐอเมริกาที่หมู่เกาะฮาวาย

11 ประเทศใดที่อยู่ฝ่ายเดียวกับสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

(1) สหภาพโซเวียต

(2) ญี่ปุ่น

(3) เกาหลี

(4) เยอรมนี

(5) ฮังการี

ตอบ 1 หน้า 85 สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – ค.ศ. 1945) เป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ

1 ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประกอบด้วย 5 ประเทศหลัก ได้แก่ สหภาพโซเวียต เรา อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และสหรัฐอเมริกา

2 ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย 3 ประเทศหลัก ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

12 ประเทศใดอยู่ฝ่ายเดียวกับสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

(1) เยอรมนี

(2) บัลแกเรีย

(3) อังกฤษ

(4) เกาหลี

(5) ญี่ปุ่น

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

13 จุดกําเนิดของสงครามเย็นคือข้อใด

(1) Nixon Doctrine

(2) Truman Doctrine

(3) Kennedy Doctrine

(4) Bush Doctrine

(5) Johnson Doctrine

ตอบ 2 หน้า 87 – 88, (คําบรรยาย) สงครามเย็น (Cold War) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1947 – ค.ศ. 1991เป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มโลกเสรีประชาธิปไตย หรือกลุ่มตะวันตกนําโดยสหรัฐอเมริกาและกลุ่มโลกสังคมนิยมคอมมิวนิสต์หรือกลุ่มตะวันออก นําโดยสหภาพโซเวียต โดยจุดกําเนิดของสงครามเย็นเกิดจากการประกาศหลักการทรูแมน (Truman Doctrine) ในปี ค.ศ. 1947 ของประธานาธิบดีแฮร์รี่ เอส. ทรูแมน (Harry S. Truman)แห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรป

14 สงครามเย็นสิ้นสุดลงเพราะ

(1) สหรัฐอเมริกาชนะสงครามเวียดนาม

(2) สหรัฐอเมริกาโจมตีสหภาพโซเวียต

(3) สหรัฐอเมริกายึดครองเยอรมนี้สําเร็จ

(4) สหภาพโซเวียตล่มสลาย

(5) สหภาพโซเวียตแพ้สหรัฐอเมริกาในสงครามกัมพูชา

ตอบ 4 หน้า 90, คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญที่ทําให้สงครามเย็นสิ้นสุดลง มีดังนี้

1 มิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต ได้ประกาศใช้นโยบายเปเรสตรอยก้า (Perestroika) และนโยบายกลาสนอสต์ (Glasnost) ทั้งในสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออกในปี ค.ศ. 1986 2 ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันออกได้ประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียตจนทําให้กลุ่มตะวันออกล่มสลายลง

3 องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอว์ประกาศยุบตัวเองอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1991

4 การประกาศจัดตั้งเครือจักรภพรัฐเอกราช (CIS) ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งถือเป็นสาเหตุสําคัญที่สุดที่ทําให้สหภาพโซเวียตล่มสลายโดยสิ้นเชิง และทําให้สงครามเย็นสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ

15 สงครามฟอล์กแลนด์ในปี ค.ศ. 1982 จัดเป็น

(1) สงครามป้องกันตนเอง

(2) สงครามตัวแทน

(3) สงครามแบบจํากัด

(4) สงครามกลางเมือง

(5) สงครามลงมือโจมตีก่อน

ตอบ 3 หน้า 103, (คําบรรยาย) สงครามแบบจํากัด (Limited War) หมายถึง สงครามที่คู่ต่อสู้จํากัดจํานวนอาวุธ ชนิดอาวุธ จํานวนทหาร ขอบเขตของสมรภูมิ (สนามรบ) และความมุ่งหมาย ทางการเมืองหรือวัตถุประสงค์ทางทหารในการต่อสู้ ได้แก่

สงครามเกาหลี (1950 – 1953)

สงครามเวียดนาม (1964 1975)

สงครามอิรัก-อิหร่าน (1980 – 1988)

สงครามฟอล์กแลนด์ (1982)

สงครามอ่าวเปอร์เซีย (1991)

สงครามอัฟกานิสถาน (2001)

สงครามอิรัก (2003) และสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์

16 การโฆษณาชวนเชื่อ คือ

(1) Propaganda

(2) Advertisement

(3) Marketing

(4) Platform

(5) Tirade

ตอบ 1 หน้า 109 การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) เป็นการใช้แผนการโดยอาศัยสื่อมวลชนซึ่งกําหนดขึ้นเพื่อให้มีผลกระทบต่อจิตใจและอารมณ์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สําหรับในกิจการ ระหว่างประเทศ รัฐดําเนินการโฆษณาชวนเชื่อเนื่องจากรัฐต้องการที่จะสร้างอิทธิพลต่อ ทัศนคติหรือต่อการกระทําทางการเมืองของกลุ่มที่เป็นเป้าหมายหรือของรัฐอื่น ๆ และเพื่อบีบบังคับหรือโน้มน้าว จูงใจให้รัฐอื่น ๆ ดําเนินนโยบายตามที่รัฐตนต้องการ

17 กลุ่มก่อการร้ายใดที่ต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์

(1) IS

(2) Hezbollah

(3) IRA

(4) MNLF

(5) Hamas

ตอบ 5 หน้า 115 กลุ่มก่อการร้ายที่ต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ ได้แก่ องค์การปลดปล่อย ปาเลสไตน์ (PLO) และกลุ่มฮามาส (Hamas)

18 ความตกลงระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ

(1) Dialogue

(2) Negotiation

(3) Treaty

(4) Document

(5) Declaration

ตอบ 3, 5 หน้า 6, (คําบรรยาย) ความตกลงระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สนธิสัญญา (Treaty), อนุสัญญา (Convention), พิธีสาร (Protocol), ข้อตกลง (Agreement), กติกาสัญญา (Pact), กฎบัตร (Charter), ปฏิญญา (Declaration), สัตยาบัน (Ratification), บันทึกความเข้าใจ(Memorandum of Understanding) เป็นต้น

19 การเจรจาต่อรอง คือ

(1) Dialogue

(2) Negotiation

(3) Treaty

(4) Document

(5) Declaration

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเจรจาต่อรอง (Negotiation) คือ กระบวนการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีเพื่อให้เกิดการประนีประนอม พยายามหาข้อตกลงที่ยอมรับได้ของคู่สนทนาทั้ง 2 ฝ่าย โดยมีการเสนอข้อแลกเปลี่ยนซึ่งนําผลประโยชน์มาให้ทั้ง 2 ฝ่าย (Win-Win)

20 กฎหมายระหว่างประเทศ เป็น

(1) กฎหมายสูงสุดของทุกรัฐ

(2) กฎหมายที่ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ

(3) กฎหมายที่ทุกรัฐเกรงใจ

(4) กฎหมายที่ทุกรัฐต้องปฏิบัติตาม

(5) กฎหมายที่ให้ความเท่าเทียมกันกับทุกประเทศ

ตอบ 2 หน้า 129 กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่ไม่พึ่งพาการใช้กําลังให้รัฐอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมาย หรือกล่าวอีกนัยก็คือ เป็นกฎหมายที่ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ (Sanction)จึงทําให้สังคมระหว่างรัฐมีลักษณะสังคมอนาธิปไตย ซึ่งไม่มีอํานาจสูงสุดในการบังคับบัญชา

21 เลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบันคือใคร

(1) Ban Ki-moon

(2) Kofi Annan

(3) Roberto Azevedo

(4) Mukhisa Kutuyi

(5) Antonio Guterres

ตอบ 5 หน้า 167, (คําบรรยาย) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้รับการแต่งตั้งจากสมัชชาตามคําแนะนําของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง คราวละ 5 ปี ซึ่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ นายแอนโตนิโอ กูเตอร์เรส (Antonio Guterres) ชาวโปรตุเกส เริ่มดํารงตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017

22 ประเทศใดที่เป็นคอมมิวนิสต์

(1) Republic of Korea

(2) Republic of the Union of Myanmar

(3) Democratic Republic of East Timor

(4) Socialist Republic of Vietnam

(5) The Independent State of Papua New Guinea

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ในปัจจุบัน มี 5 ประเทศ คือ

1 สาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China)

2 ลาว (Lao People’s Democratic Republic)

3 เวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)

4 คิวบา (Republic of Cuba)

5 เกาหลีเหนือ (Democratic People’s Republic of Korea)

23 ประเทศใดที่ได้รับเอกราชจากอินโดนีเซีย

(1) Republic of Korea

(2) Socialist Republic of Vietnam

(3) Democratic Republic of East Timor

(4) Republic of the Union of Myanmar

(5) The Independent State of Papua New Guinea

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ติมอร์-เลสเต หรือติมอร์ตะวันออก (Democratic Republic of East Timor)เป็นประเทศที่ถูกปกครองโดยอินโดนีเซียมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 ภายหลังจากที่โปรตุเกส เจ้าอาณานิคมเดิมถอนตัวออกไป โดยอินโดนีเซียได้รวมติมอร์ตะวันออกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของประเทศ และในปี ค.ศ. 1999 ติมอร์ตะวันออกได้รับอิสรภาพจากอินโดนีเซีย โดยประกาศ เอกราชอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2002

24 Brexit คือ

(1) การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

(2) อังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป

(3) องค์การระหว่างประเทศ

(4) ขบวนการก่อการร้าย

(5) ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) Brexit มาจากคํา 2 คํา คือ Britain หมายถึง อังกฤษ และ Exit หมายถึง ออก ดังนั้น Brexit จึงหมายถึง การที่อังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งจะมีผล อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2019

25 อดีตผู้อํานวยการองค์การการค้าโลกที่เป็นคนไทยคือใคร

(1) อานันท์ ปันยารชุน

(2) ศุภชัย พานิชภักดิ์

(3) สุรินทร์ พิศสุวรรณ

(4) ถนัด คอมันตร์

(5) แผน วรรณเมธี

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คนไทยที่มีบทบาทเด่นในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีดังนี้

1 พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร) เคยได้รับเลือก ว่า ให้เป็นประธานสมัชชาแห่งสหประชาชาติในสมัยประชุมที่ 11 ระหว่างปี ค.ศ. 1956 – ค.ศ. 1957

2 นายพจน์ สารสิน เคยได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคนแรกขององค์การ SEATO

3 ดร.ถนัด คอมันตร์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างมากในการผลักดันให้เกิดอาเซียนขึ้นในปี ค.ศ. 1967 จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งอาเซียน”

4 นายอานันท์ ปันยารชุน เคยได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปสหประชาชาติ

5 ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อํานวยการหรือเลขาธิการขององค์การการค้าโลกระหว่างปี ค.ศ. 2002 – ค.ศ. 2005

6 ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการของสมาคมอาเซียนระหว่างปีค.ศ. 2008 – ค.ศ. 2012

26 กฎบัตรสหประชาชาติมีกี่มาตรา

(1) 110

(2) 109

(3) 99

(4) 108

(5) 111

ตอบ 5 หน้า 150, 227 – 285, (คําบรรยาย) กฎบัตรสหประชาชาติ เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่รองรับการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติ โดยเนื้อหาจะแบ่งออกเป็น 19 หมวด 111 มาตรา เช่น หมวด 6 ได้มอบอํานาจให้สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ดําเนินการระงับข้อขัดแย้งที่ไม่รุนแรง, หมวด 7 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับการดําเนินการเกี่ยวกับการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ และการกระทําการรุกราน เป็นต้น

27 ในปี ค.ศ. 2018 สหประชาชาติมีอายุเท่าไร

(1) 70

(2) 71

(3) 72

(4) 73

(5) 74

ตอบ 4 หน้า 163 164, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 (ปัจจุบันปี ค.ศ. 2018 มีอายุ 73 ปี) ภายหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งหมด 51 ประเทศ และมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันสหประชาชาติมีสมาชิก ทั้งหมด 193 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ไทย ติมอร์-เลสเต มอนเตเนโกร ฯลฯ โดยประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกลําดับที่ 55 ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1946 และมีประเทศซูดานใต้หรือเซาท์ซูดาน (South Sudan) เข้าเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011

28 ดินแดนโลกใหม่ (New World) คือประเทศ

(1) อังกฤษ

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) ฝรั่งเศส

(4) แอฟริกา

(5) อเมริกาใต้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ดินแดนโลกใหม่ (New World) เป็นดินแดนที่ถูกค้นพบโดยคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ในปี ค.ศ. 1492 ซึ่งหมายถึง ประเทศสหรัฐอเมริกา นั่นเอง

29 การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศระดับสากล เพื่อความร่วมมือด้านสันติภาพของมนุษยชาติเป็นแนวคิด ของนักปราชญ์ท่านใด

(1) คานท์

(2) ฮอบส์

(3) ล็อค

(4) มอร์เกนธอ

(5) สมิธ

ตอบ 1 หน้า 135, 137 138 แนวความคิดในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศมีความเป็นมายาวนานตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเกิดจากแนวคิดของนักคิดอุดมคติที่เสนอให้มีการจัดตั้ง องค์การระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือด้านสันติภาพและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมนุษยชาติ ซึ่งนักคิดอุดมคติที่เสนอแนวคิดดังกล่าว ได้แก่ อีรัสมสมุนดุส (Erasmus Mundus), วิลเลียม เพนน์ (William Penn), แซงต์ ปีแยร์ (Saint Pierre), เอมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) และของ ชาค รุสโซ (Jean Jacque Rousseau)

30 การแก้ไขปัญหาสันติภาพในยุโรปช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศใดมีบทบาทมากที่สุด

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) สหภาพโซเวียต

(5) จีน

ตอบ 3 หน้า 86, 141, (คําบรรยาย) สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีบทบาทในการแก้ปัญหาสันติภาพในยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีบทบาทสําคัญในการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1945 เพื่อเป็นกลไกสําคัญในการสถาปนาสันติภาพและความมั่นคงของโลก

31 เลขาธิการคนแรกของสันนิบาตชาติคือ

(1) เจมส์ ฟาราเดย์

(2) เจมส์ ดรัมมอนด์

(3) เจมส์ มอร์แกน

(4) เจมส์ วิลเลียมสัน

(5) เจมส์ มิล

ตอบ 2 หน้า 138 139 องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1920 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง โดยมีเลขาธิการคนแรกคือ เซอร์เจมส์ อีริค ดรัมมอนด์และมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

32 ใครเป็นผู้ให้กําเนิดหลักการกําหนดเจตจํานงของตนเอง

(1) วิลสัน

(2) วิลเลียมสัน

(3) เวลสัน

(4) วิลล์

(5) วิลเลี่ยม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักการ Self-Determination หรือการกําหนดเจตจํานงของตนเอง เกิดขึ้นจากแนวคิดของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) แห่งสหรัฐอเมริกาที่ต้องการ จะยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 และเสริมสร้างสันติภาพของโลก โดยหลักการนี้ได้ปรากฏครั้งแรก ในหลัก 14 ประการของประธานาธิบดีวิลสัน และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงหลักการนี้ ก็ถูกนําไปใช้อ้างอิงในกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น ในหมวด 1 ของกฎบัตรสหประชาชาติ ข้อมติสมัชชาสหประชาชาติที่ 1514 เป็นต้น

33 สหประชาชาติดําเนินงานบนพื้นฐานของหลักประการ

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 4 หน้า 143 สหประชาชาติดําเนินงานบนพื้นฐานของหลักการสําคัญ 4 ประการ คือ

1 หลักการว่าด้วยความเสมอภาคของสมาชิก

2 หลักการว่าด้วยการแก้ไขข้อพิพาทโดยสันติวิธี

3 หลักการว่าด้วยความมั่นคงร่วม

4 หลักการเคารพอํานาจอธิปไตย

34 สหประชาชาติประกอบด้วยองค์กรสําคัญกี่องค์กร

(1) 4

(2) 3

(3) 7

(4) 5

(5) 6

ตอบ 5 หน้า 143, 166 สหประชาชาติประกอบด้วยองค์กรสําคัญ 6 องค์กร คือ เ1 สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ

2 คณะมนตรีความมั่นคง

3 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม

4 คณะมนตรีภาวะทรัสตี

5 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

6 สํานักงานเลขาธิการสหประชาชาติ

35 สมัชชามีองค์กรย่อยในการดําเนินงานตามประเด็นปัญหาในรูป “คณะกรรมการ” สําหรับประเด็นด้านกฎหมายเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการ

(1) 7

(2) 8

(3) 6

(4) 5

(5) 4

ตอบ 3 หน้า 144 สมัชชาสหประชาชาติมีองค์กรย่อยที่เรียกว่า “คณะกรรมการ” ทําหน้าที่ช่วยดําเนินงานตามประเด็นปัญหา ประกอบด้วย 6 คณะกรรมการ ดังนี้

1 คณะกรรมการที่ 1 รับผิดชอบปัญหาการเมือง และปัญหาที่คุกคามความมั่นคงและสันติภาพของโลก

2 คณะกรรมการที่ 2 รับผิดชอบปัญหาเศรษฐกิจและการคลัง

3 คณะกรรมการที่ 3 รับผิดชอบปัญหาสังคมและมนุษยธรรม

4 คณะกรรมการที่ 4 รับผิดชอบปัญหาดินแดนในภาวะทรัสตีและดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง

5 คณะกรรมการที่ 5 รับผิดชอบปัญหาการบริหารงานภายในองค์การระหว่างประเทศและงบประมาณ

6 คณะกรรมการที่ 6 รับผิดชอบปัญหากฎหมาย

36 กฎบัตรสหประชาชาติมาตรา ได้กําหนดว่าการลงคะแนนเสียงในสมัชชาให้ถือหลักมติส่วนใหญ่ 2 ใน 3และเสียงส่วนใหญ่ธรรมดา

(1) 16

(2) 18

(3) 19

(4) 20

(5) 25

ตอบ 2 หน้า 145 กฎบัตรสหประชาชาติมาตรา 18 ได้กําหนดให้การลงคะแนนเสียงในสมัชชาสหประชาชาติให้ถือหลักมติส่วนใหญ่ 2 ใน 3 และเสียงส่วนใหญ่ธรรมดา ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ นับจากจํานวนสมาชิกที่เข้าประชุมและลงคะแนนเสียงเท่านั้น โดยผู้ที่งดออกเสียงไม่มีผลต่อการนับคะแนน

37 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีสมาชิกที่ประเภท

(1) 15

(2) 5

(3) 7

(4) 11

(5) 2

ตอบ 5 หน้า 146, 166 – 167, (คําบรรยาย) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 15 ประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 สมาชิกถาวร (Permanent Members) ประกอบด้วยประเทศผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสมาชิกประเภทนี้จะมีสิทธิพิเศษในการยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) มติใด ๆ ก็ได้ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

2 สมาชิกหมุนเวียนหรือสมาชิกไม่ถาวร (Non-Permanent Members) มี 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และอยู่ในวาระคราวละ 2 ปี

38 ในกรณีปัญหาที่กระทบสันติภาพและความมั่นคงของโลก คณะมนตรีความมั่นคงสามารถดําเนินมาตรการบังคับได้ตามหมวด..ของกฎบัตรสหประชาชาติ

(1) 8

(2) 9

(3) 10

(4) 7

(5) 11

ตอบ 4 หน้า 146, 233 235 ในกรณีเกิดปัญหาที่กระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงของโลกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติสามารถดําเนินมาตรการบังคับได้ตามหมวด 7 ของ กฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งเป็นหมวดที่กําหนดวิธีดําเนินการเกี่ยวกับการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ และการกระทําการรุกราน (ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ)

39 ปัจจุบันกองกําลังรักษาสันติภาพปฏิบัติการในทวีปใดมากที่สุด

(1) แอฟริกา

(2) เอเชีย

(3) ตะวันออกกลาง

(4) เอเชียกลาง

(5) เอเชียตะวันออก

ตอบ 1 หน้า 150, (คําบรรยาย) กองกําลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติ เป็นกองกําลังทหารที่รัฐสมาชิกส่งไปช่วยเหลือในภารกิจขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการตัดสินใจส่งกองกําลังรักษาสันติภาพไปปฏิบัติภารกิจใน พื้นที่ที่มีปัญหาด้านสันติภาพตามที่รัฐสมาชิกร้องขอ ส่วนใหญ่แล้วจะให้ปฏิบัติภารกิจในระยะ 6 เดือน และอาจต่อเวลาออกไปอีกได้เป็นกรณี ๆ ไป โดยในปัจจุบันกองกําลังรักษาสันติภาพปฏิบัติการในทวีปแอฟริกามากที่สุด

40 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมประกอบด้วยสมาชิกที่ประเทศ

(1) 45

(2) 48

(3) 49

(4) 54

(5) 47

ตอบ 4 หน้า 154 155 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วยสมาชิก 54 ประเทศ กาล การแสดง ซึ่งเลือกโดยสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 3 ปี และทุก ๆ ปี 1 ใน 3 ของสมาชิกจะต้องจับสลากออก แต่อาจได้รับเลือกเข้ามาใหม่ได้

41 ข้อใดมิใช่ทบวงการชํานัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ

(1) ILO

(2) ICAO

(3) UPU

(4) WHO

(5) UNDP

ตอบ 5 หน้า 156, 169 ทบวงการชํานัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นจากข้อตกลงระหว่างรัฐบาลโดยมีความรับผิดชอบในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา อนามัย และอื่น ๆ เป็นองค์การที่มีหน้าที่ภารกิจการทํางานที่เกี่ยวพันกับองค์การสหประชาชาติ แต่มิใช่องค์การย่อยหรือหน่วยงานในกํากับขององค์การสหประชาชาติ โดยจะทํางานร่วมกับ องค์การสหประชาชาติภายใต้การประสานงานและความรับผิดชอบของคณะมนตรีเศรษฐกิจ และสังคม เช่น องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF),สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU) เป็นต้น

42 ปฏิญญาสหัสวรรษแห่งสหประชาชาติวางแนวทางการปฏิบัติภารกิจของสหประชาชาติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์กประการ

(1) 5

(2) 61

(3) 7

(4) 8

(5) 9

ตอบ 3 หน้า 156 – 157 ปฏิญญาสหัสวรรษแห่งสหประชาชาติ (The United Nation Millennium Declaration) วางแนวทางการปฏิบัติภารกิจของสหประชาชาติในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์ 7 ประการ ดังนี้

1 สันติภาพ ความมั่นคง การลดอาวุธ

2 การพัฒนาและแก้ไขปัญหาความยากจนให้จบสิ้น

3 การอนุรักษ์รักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ

4 สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และธรรมาภิบาล

5 การปกป้องผู้อ่อนแอโดยการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

6 การสนองตอบความต้องการพิเศษของแอฟริกาในทุกด้าน

7 การเพิ่มประสิทธิภาพของสหประชาชาติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวโลกต่อสู้ความยากจน

43 กฎบัตรสหประชาชาติมีกี่มาตรา

(1) 110

(2) 111

(3) 109

(4) 108

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

44 เลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบันเป็นชาว

(1) ฝรั่งเศส

(2) อังกฤษ

(3) อิตาลี

(4) โปรตุเกส

(5) เยอรมนี

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

45 ธนาคารโลกตั้งอยู่ที่ใด

(1) วอชิงตัน ดี.ซี.

(2) ปารีส

(3) ลอนดอน

(4) บรัสเซลส์

(5) เวียนนา

ตอบ 1 หน้า 170, (คําบรรยาย) ธนาคารโลก (World Bank) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (IBRD) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นมา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อช่วยฟื้นฟูประเทศที่เสียหายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมี สํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีนายจิม ยอง คิม (Jim Yong Kim) ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลี เป็นประธานธนาคารโลกคนปัจจุบัน

46 สหภาพแอฟริกามีสมาชิกที่ประเทศ

(1) 45

(2) 54

(3) 48

(4) 50

(5) 49 )

ตอบ 2 หน้า 13, (คําบรรยาย) สหภาพแอฟริกา (African Union : AU) เป็นองค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาคที่มีวัตถุประสงค์ทั่วไป ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2002 โดยปรับปรุงโครงสร้างมาจากองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity : OAU) ปัจจุบัน (ค.ศ. 2018) มากมาย มีสมาชิกทั้งหมด 54 ประเทศ

47 สหประชาชาติกําหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนสําหรับสังคมโลกในกี่ประเด็น

(1) 17

(2) 18

(3) 16

(4) 15

(5) 14

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สหประชาชาติได้กําหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) เพื่อให้สังคมโลกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลสําเร็จ เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมภายในระยะเวลา 15 ปี (ค.ศ. 2015 – ค.ศ. 2030) ซึ่งประกอบด้วย 17 เป้าหมาย เช่น การขจัดความยากจน การขจัดความหิวโหย การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่เท่าเทียมกัน การจัดการน้ําและสุขาภิบาล เป็นต้น

48 Sustainable Development Goals ของสหประชาชาติกําหนดเวลากปีในการพัฒนาโลกอย่างยั่งยืน

(1) 10

(2) 15

(3) 12

(4) 16

(5) 20

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

49 กําหนดเวลาตามกฎหมายที่อังกฤษจะออกจากสหภาพยุโรปคือปีอะไร

(1) 2018

(2) 2019

(3) 2020

(4) 2021

(5) 2022

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 24 ประกอบ

50 ประธานาธิบดีอินเดียคนปัจจุบันนับถือศาสนาใด

(1) คริสต์

(2) อิสลาม

(3) ฮินดู

(4) วูดู

(5) พุทธ

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประธานาธิบดีอินเดียคนปัจจุบัน คือ นายราม นาถ โกวินท์ (Ram Nath Kovind) ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2017 เป็นประธานาธิบดีคนแรกของอินเดียที่นับถือศาสนาพุทธ

51 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

(1) เป็นทางการ

(2) เข้มข้นรุนแรง

(3) ห่างเหิน

(4) เป็นเอกเทศ

(5) ความร่วมมือ

ตอบ 4 หน้า 4 – 5 ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มี 3 ประการ คือ

1 ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ

2 ความสัมพันธ์ในลักษณะความร่วมมือหรือขัดแย้ง

3 ความสัมพันธ์ในลักษณะเข้มข้นรุนแรงหรือห่างเหิน

 

52 ข้อใดไม่ใช่ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actor)

(1) อาเซียน

(2) กลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace)

(3) บริษัทซัมซุง (Samsung)

(4) กลุ่มรัฐอิสลามในอิรักและซีเรีย (ISIS)

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 19 – 22, (คําบรรยาย) ผู้แสดง (ตัวแสดง) บทบาทในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ผู้แสดงบทบาทที่เป็นรัฐ (State Actor) นับเป็นตัวแสดงที่สําคัญที่สุด ได้แก่ รัฐต่าง ๆ และผู้ทําหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐหรือในนามของรัฐ เช่น ผู้นํารัฐบาล, รัฐมนตรีต่างประเทศ, ทูต (เอกอัครราชทูต ผู้ช่วยทูต และเจ้าหน้าที่ทูต), กงสุล (กงสุลใหญ่ รองกงสุล เจ้าหน้าที่กงสุลและกงสุลกิตติมศักดิ์) เป็นต้น

2 ผู้แสดงบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors) ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ อาเซียน, องค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) เช่น กลุ่มกรีนพีซ องค์การเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน, บรรษัทข้ามชาติ หรือธุรกิจข้ามชาติหรือธุรกิจหลายชาติ (MNCS/TNCS) เช่น บริษัท CP บริษัท Pepsi บริษัท Google บริษัท Toyota บริษัท Samsung, ขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ เช่น กลุ่ม IS หรือ ISIS กลุ่ม AI Qaeda กลุ่ม PLO กลุ่มเบอร์ซาตู และกลุ่มเชื้อชาติต่าง ๆ 53 การทูตแบบปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศใด

(1) ญี่ปุ่น – ไต้หวัน

(2) ไทย – ญี่ปุ่น

(3) สหรัฐอเมริกา – จีน

(4) ไต้หวัน – เกาหลีใต้

(5) สหรัฐอเมริกา – อินเดีย

ตอบ 3 หน้า 89 การทูตแบบปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับจีน ซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1970 ในขณะนั้นจีนตระหนักว่าสหภาพโซเวียต เป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวกว่าสหรัฐอเมริกา จึงพยายามหาทางคานอํานาจกับสหภาพโซเวียต โดยการติดต่อกับสหรัฐอเมริกาด้วยการทูตปิงปอง โดยการเชิญทีมปิงปองของสหรัฐอเมริกาไปร่วมแข่งขันชิงชนะเลิศในปักกิ่ง

54 ข้อใดไม่ใช่ความสัมพันธ์ทางกฎหมายในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เป็นข้อตกลงลายลักษณ์อักษร

(1) กติกาสัญญา

(2)สนธิสัญญา

(3) ปฏิญาณ

(4) สัตยาบัน

(5) บันทึกความเข้าใจ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

55 ในสมัยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จอร์จ วอล์กเกอร์ บุช สหรัฐอเมริกาได้ใช้กําลังทางทหารในการโจมตี ประเทศใด

(1) อิหร่าน

(2) เกาหลีเหนือ

(3) อัฟกานิสถาน

(4) ลิเบีย

(5) ซีเรีย

ตอบ 3 หน้า 5, 7 ในสมัยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จอร์จ วอล์กเกอร์ บุช (George Walker Bush) สหรัฐอเมริกาได้ใช้กําลังทางทหารโจมตีอัฟกานิสถานในปี ค.ศ. 2001 และอิรักในปี ค.ศ. 2003

56 วิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวทางใดเป็นแนวทางที่ศึกษาตามแนวทางอํานาจ (Power Approach)

(1) Marxism

(2) Democratic Peace

(3) Political Realism

(4) Classical Liberalism

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 11 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามแนวทางอํานาจ (Power Approach) เป็นวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสํานัก Political Realism ในสหรัฐอเมริกา โดยแนวทางอํานาจเชื่อว่าอํานาจเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือ การเมืองระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการเมืองระหว่างประเทศ ก็ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจของรัฐ ดังนั้นอํานาจจึงมีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติ

57 นักวิชาการคนใดที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแนวภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics Approach)

(1) Karl Deutsch

(2) Adam Smith

(3) Raymond Aron

(4) Halford Mackinder

(5). Benedict Anderson

ตอบ 4 หน้า 9 – 10 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแนวภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Approach) คือ การทําความเข้าใจการเมืองระหว่างประเทศโดยพิจารณาลักษณะทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น ที่ตั้ง พื้นที่ ขนาดของประเทศว่ามีผลต่อพฤติกรรมหรือการกระทําของรัฐอย่างไร ซึ่งนักวิชาการ แนวภูมิรัฐศาสตร์ที่สําคัญ ได้แก่ ฮาลฟอร์ด แมคคินเดอร์ (Halford Mackinder) และคริสตอฟ (Kristof) นอกจากนี้ยังมีนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแนวภูมิรัฐศาสตร์อีกท่าน ได้แก่ นิโคลัส สปิคแมน (Nicholas Spykman)

58 ในวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ข้อใดไม่ใช่การศึกษาในแนวทางพฤติกรรมที่มีการใช้วิธีการ และเทคนิคทางสังคมศาสตร์

(1) การทดลอง

(2) การสร้างทฤษฎี

(3) การมุ่งดําเนินการ

(4) การสังเกต

(5) การวัด

ตอบ 3 หน้า 12 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแนวทางพฤติกรรม (Behavioral Approach) เป็นการศึกษาที่พยายามจะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยข้อสรุปที่ได้มาจากการสังเกต สภาพตามความเป็นจริงและด้วยทฤษฎี รวมทั้งมีการทํานายพฤติกรรมของมนุษย์ที่จะเกิดขึ้น ในอนาคตโดยพยายามหาทางปรับปรุงคําทํานายหรือการคาดคะเนให้มีความแม่นยําถูกต้อง มากขึ้น โดยการศึกษาแนวนี้จะใช้วิธีการและเทคนิคทางสังคมศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต การตั้ง ปัญหาและสมมุติฐาน และการทดสอบสมมุติฐาน ผสมผสานกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การวัด การทดลอง และการสร้างทฤษฎี

59 ข้อใดคือความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น

(1) JTETA

(2) TUFTA

(3) JTEPA

(4) JTA

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) เป็นความตกลงที่ครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่นแบบรอบด้าน ทั้งด้านการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการจัดทําความตกลงการค้าเสรี ซึ่งลงนามโดยอดีตนายกรัฐมนตรีไทย พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ กับอดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นายชินโซ อาเบะ โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007

60 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่กําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ

(1) ความอยู่รอดและความปลอดภัยของประเทศ

(2) ความสามารถของประชากร

(3) การขยายอํานาจของประเทศ

(4) เกียรติภูมิของประเทศ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 25 – 30 ปัจจัยที่กําหนดผลประโยชน์ของชาติ ได้แก่

1 ความอยู่รอดและความปลอดภัยของประเทศ

2 ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

3 การขยายอํานาจของประเทศ

4 เกียรติภูมิของประเทศ

61 ประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล (Landlocked Country) คือประเทศใด

(1) เบลารุส

(2) ลัตเวีย

(3) โซมาเลีย

(4) กัมพูชา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 34, (คําบรรยาย) ปัจจุบันประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ได้แก่ ลาว ยูกันดา มาลี ไนเจอร์ ชาด มองโกเลีย โบลิเวีย เบลารุส ปารากวัย เป็นต้น

62 ประเทศใดเป็นประธานของอาเซียนในปี ค.ศ. 2018

(1) ไทย

(2) อินโดนีเซีย

(3) ลาว

(4) เวียดนาม

(5) สิงคโปร์

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประธานอาเซียน จะอยู่ในตําแหน่งคราวละ 1 ปี และจะหมุนเวียนกันในประเทศสมาชิกอาเซียนตามตัวอักษรชื่อประเทศในภาษาอังกฤษตัวแรก ซึ่งประเทศที่เป็นประธานของอาเซียนในปี ค.ศ. 2018 ก็คือ สิงคโปร์

63 องค์การที่นําชาวยิวกลับไปยังดินแดนปาเลสไตน์ได้แก่องค์การใด

(1) องค์การสหประชาชาติ

(2) องค์การไซออนส์

(3) G-20

(4) องค์การเมอโคซัว (MercOSur)

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 37 ในปี พ.ศ. 613 ชาวยิวถูกพวกโรมันขับไล่ออกจากปาเลสไตน์ ทําให้ต้องอพยพเร่ร่อนไปตามที่ต่าง ๆ ของโลกโดยไม่มีประเทศของตนเอง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2460 องค์การไซออนส์ ได้นําชาวยิวกลับไปยังดินแดนปาเลสไตน์ ทําให้ชาวยิวทุกมุมโลกได้อพยพกลับไปตั้งหลักแหล่งในปาเลสไตน์อีกครั้ง

64 สงคราม 6 วัน เป็นการรบระหว่างใคร

(1) สหรัฐอเมริกา – กลุ่มประเทศอาหรับ

(2) อิรัก อิหร่าน

(3) สหรัฐอเมริกา – อิรัก

(4) อิสราเอล – กลุ่มประเทศอาหรับ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 7 – 8, 38, (คําบรรยาย) สงคราม 6 วัน เป็นการรบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มประเทศอาหรับ ระหว่างวันที่ 5 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 1967 โดยอิสราเอลได้รับชัยชนะและได้ครอบครองดินแดน ต่าง ๆ ของกลุ่มประเทศอาหรับ เช่น อียิปต์ ซีเรีย จอร์แดน เป็นต้น

65 ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาคนใดที่ไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการเป็นคนแรก

(1) บารัค โอบามา

(2) แฮรี่ ทรูแมน

(3) จอห์น เอฟ. เคนเนดี้

(4) ริชาร์ด นิกสัน

(5) ลินดอน บี. จอห์นสัน

ตอบ 4 หน้า 89, (คําบรรยาย) ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาที่ไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1972 การเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนในครั้งนั้นได้นําไปสู่การปรับความสัมพันธ์ระหว่าง สาธารณรัฐประชาชนจีนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสําคัญในการเมืองโลกในยุคสงครามเย็น

66 หนังสือที่เขียนโดยใช้วิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวอํานาจเล่มสําคัญ คือ Politics Among Nations : The Struggle for Power and Peace เขียนโดยใคร

(1) นิโคลัส สปิคแมน

(2) ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ

(3) ฮาลฟอร์ด แมคคินเดอร์

(4) เรมอนด์ อารอน

(5) เฮนรี่ คิสซิงเจอร์

ตอบ 2 หน้า 11 หนังสือที่เขียนโดยใช้วิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวอํานาจ ได้แก่

1 Politics Among Nations : The Struggle for Power and Peace ของฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ (Hans J. Morgenthau).

2 Power and International Relations ของไอนิส แอล. เคลาด์ จูเนียร์ (Iris L. Cloude, JR.)

67 สหรัฐอเมริกายึดถือแนวนโยบายต่างประเทศแบบใดจึงไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติ ที่ตั้งขึ้นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

(1) ดุลแห่งอํานาจ

(2) การไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐนั้น

(3) โดดเดี่ยวตนเอง

(4) แบบระบบความร่วมมือ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 31, (คําบรรยาย) ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สหรัฐอเมริกามีนโยบายต่างประเทศ แบบสันโดษหรือโดดเดี่ยวตนเองจึงไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับวงการเมืองโลก ไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิก ขององค์การสันนิบาตชาติ โดยหวังจะไม่ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในสงครามภูมิภาคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ ภายในทวีปอเมริกา แต่ในความจริงปรากฏว่าสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นมหาอํานาจไม่สามารถ หลีกเลี่ยงการยุ่งเกี่ยวกับวงการเมืองโลกได้ เพราะไม่เล่นการเมืยง แต่การเมืองกลับมาเล่นทําให้สหรัฐอเมริกาต้องเข้าเกี่ยวข้องในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

68 ใครไม่เคยดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

(1) ฮิลลารี คลินตัน

(2) เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน

(3) แมเดลิน อาลไบรต์

(4) โคลิน เพาเวล

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) บุคคลตามตัวเลือกดังกล่าวล้วนเคยดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา คนปัจจุบัน คือ นายไมค์ ปอมเปโอ ซึ่งดํารงตําแหน่งต่อจากนายเร็กซ์ ทิลเลอร์สัน เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2018

69 ข้อใดเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจที่ตัวแสดงใช้ในยามที่เกิดสงคราม

(1) การกว้านซื้อสินค้า

(2) การให้ความช่วยเหลือ

(3) การทุ่มสินค้า

(4) กําแพงภาษี

(5) การงดส่งสินค้าออกไปขาย

ตอบ 1 หน้า 53 – 59 เครื่องมือทางเศรษฐกิจในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ในยามสันติ ได้แก่ กําแพงภาษี การกีดกันทางการค้าการงดส่งสินค้าออกไปขาย การให้ความช่วยเหลือ การทุ่มสินค้า/การทุ่มตลาด การรวมตัวกันทางธุรกิจระหว่างประเทศ การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา

2 เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ในยามที่เกิดสงคราม ได้แก่ การปิดล้อมฝั่ง การจัดทํารายชื่อผู้ต้องห้าม การกว้านซื้อสินค้า การควบคุมหรือยึดทรัพย์ของฝ่ายศัตรู

3 เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ทั้งในยามสงครามและยามสันติ ได้แก่ นโยบายทางการค้าการกําหนดโควตาและการออกใบอนุญาต

70 ข้อใดถูกต้องสําหรับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) หรือศาลโลก

(1) คําตัดสินของศาลโลกย่อมถือเป็นที่สุด ไม่มีอุทธรณ์ไม่มีฎีกา

(2) หากคู่กรณีไม่ปฏิบัติตามคําชี้ขาดของศาล ศาลโลกจะเป็นผู้จัดการบังคับให้มีการดําเนินการตามผลคําตัดสิน

(3) ตั้งขึ้นครั้งแรกพร้อมการเกิดขึ้นขององค์การสหประชาชาติ

(4) มีที่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1, 4 หน้า 42 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice : ICU) หรือศาลโลก เป็นองค์กรตุลาการที่ทําหน้าที่ตัดสินคดีระหว่างรัฐกับรัฐ โดยก่อตั้งขึ้นครั้งแรกพร้อมกับ การเกิดขึ้นขององค์การสันนิบาตชาติ และมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สําหรับการตัดสินคดีของศาลโลกในกรณีที่เกิดข้อพิพาทระหว่างประเทศและประเทศคู่กรณี ได้ยินยอมนําเรื่องขึ้นศาลโลกนั้น คําตัดสินของศาลโลกย่อมถือเป็นที่สุด ไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกา โดยคู่กรณีต้องปฏิบัติตามคําชี้ขาดของศาล หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามคําชี้ขาด อีกฝ่ายหนึ่งต้องยอมใช้สิทธิให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดการบังคับตามผลคําตัดสิน

71 การใช้เครื่องมือทางทหารที่ถูกต้องที่ได้รับการยอมรับและมีความชอบธรรม ตัวแสดงในเวทีระหว่างประเทศจะต้องปฏิบัติตามมาตราใดในกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ

(1) 50, 49

(2) 52, 53

(3) 51, 42

(4) 52, 41

(5) 50, 40

ตอบ 3 หน้า 99, (คําบรรยาย) ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาตินั้น การใช้เครื่องมือทางทหารที่ถูกต้อง ได้รับการยอมรับและมีความชอบธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จะต้องดําเนินการตามมาตรา 51 ที่กําหนดให้รัฐสมาชิกสามารถใช้กําลังป้องกันตนเองได้ หากมีการโจมตีด้วยกําลังอาวุธจากประเทศผู้รุกราน และจะต้องรายงานให้คณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทราบ เพื่อให้คณะมนตรีความมั่งคงมีมติตามมาตรา 42ในการใช้กองกําลังรักษาสันติภาพเข้าช่วยเหลือประเทศที่ถูกรุกราน

72 การใช้เครื่องมือทางทหารข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) การป้องปราม

(2) การป้องกัน

(3) การย้ำเจตจํานง

(4) การสาธิตอํานาจ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การใช้เครื่องมือทางทหาร มีดังนี้

1 การป้องปราม

2 การป้องกัน

3 การสาธิตอํานาจ (Demonstration) เช่น การซ้อมรบ

4 การย้ำเจตจํานง (Assertion)

73 ข้อใดถูกต้องสําหรับองค์การสหประชาชาติ

(1) องค์การนิรโทษกรรมสากลเป็นหน่วยงานในกํากับขององค์การสหประชาชาติ (2) ชาติสมาชิกให้เงินสนับสนุน

(3) เคยมีชาวเอเชียเพียงคนเดียวที่เป็นชาวเกาหลีใต้ ดํารงตําแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ

(4) สมาชิกมีส่วนร่วมส่งกองกําลังเข้าไปช่วยเหลือในภารกิจขององค์การสหประชาชาติ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2, 4 หน้า 22, 167 168, (คําบรรยาย) องค์การนิรโทษกรรมสากล เป็นองค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) ที่มีบทบาทสําคัญในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั่วโลก มิใช่หน่วยงานที่อยู่ในกํากับ ขององค์การสหประชาชาติ ส่วนงบประมาณในการดําเนินงานขององค์การสหประชาชาตินั้นมาจาก ชาติสมาชิกทั้ง 193 ประเทศให้เงินสนับสนุน โดยประเทศที่ให้เงินสนับสนุนองค์การสหประชาชาติ มากที่สุดก็คือ สหรัฐอเมริกา และชาวเอเชียที่เคยดํารงตําแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ มี 2 คน คือ นายอู ถัน (u Thant) ชาวพม่า และนายบัน คี-มูน (Ban Ki-Moon) ชาวเกาหลีใต้ (ดูคําอธิบายข้อ 39 ประกอบ)

74 ในสงครามโลกครั้งที่ 2 สาเหตุหนึ่งที่ทําให้อังกฤษประกาศสงครามกับเยอรมนีเป็นเพราะเยอรมนี ใช้กําลังทหารยึดประเทศใด

(1) โปแลนด์

(2) ฝรั่งเศส

(3) เบลเยียม

(4) เนเธอร์แลนด์

(5) ออสเตรีย

ตอบ 1 หน้า 26, 83, 85, (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1939 – ค.ศ. 1945 โดยจุดเริ่มต้นของสงครามเกิดจากฮิตเลอร์ ผู้นําเยอรมนี ได้ใช้กําลังทหารเข้ายึดครองโปแลนด์ ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 การยึดครองโปแลนด์ของเยอรมนี้เป็นการละเมิดข้อตกลงมิวนิค ค.ศ. 1938 ที่เยอรมนีเคยตกลงว่าจะไม่รุกรานดินแดนใด ๆ อีก ทําให้อังกฤษและฝรั่งเศสต้อง ประกาศสงครามกับเยอรมนีและนําไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ในที่สุด ส่วนในสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษประกาศสงครามกับเยอรมนี้ เพราะเยอรมนี้ใช้กําลังทหารเข้ายึดครองเบลเยียม)

75 ตัวแสดงใดที่ไม่เกี่ยวข้องในวิกฤติการณ์คิวบาใน ค.ศ. 1962

(1) Warsaw Pact

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) สหภาพโซเวียต

(4) องค์การสหประชาชาติ

(5) คิวบา

ตอบ 1 หน้า 26, 89, (คําบรรยาย) วิกฤติการณ์คิวบาในปี ค.ศ. 1962 เป็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต เนื่องจากสหภาพโซเวียตได้ไปติดตั้งฐานยิงขีปนาวุธในคิวบา ทําให้สหรัฐอเมริกาเกิดความหวาดกลัวว่าการติดตั้งขีปนาวุธจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของ สหรัฐอเมริกา จึงปิดล้อมคิวบาทางทะเลและยื่นคําขาดให้สหภาพโซเวียตถอนขีปนาวุธออกจาก คิวบามิฉะนั้นจะบุกคิวบาและทําลายขีปนาวุธเสียเอง วิกฤติการณ์ครั้งนี้สิ้นสุดลงโดยเจรจาขององค์การสหประชาชาติ ทําให้สหภาพโซเวียตยอมถอนขีปนาวุธออกจากคิวบาโดยสันติ

76 ปัจจุบันสมาชิกองค์การสหประชาชาติ (UN) มีทั้งสิ้นจํานวนกี่ประเทศ

(1) 190

(2) 193

(3) 195

(4) 198

(5) ไม่มีคําตอบที่ถูกต้อง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ

77 ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติล่าสุดคือประเทศใด

(1) อับคาเซีย

(2) เซาท์ออสเซเทีย

(3) เซาท์ซูดาน

(4) ติมอร์-เลสเต

(5) มอนเตเนโกร

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ

78 ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทําให้สมาชิกในสังคมระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

(1) การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

(2) การล่มสลายของยูโกสลาเวีย

(3) แนวคิดเรื่องชาตินิยม

(4) การปลดปล่อยอาณานิคม

(5) สงครามโลกครั้งที่ 2

ตอบ 5 หน้า 189 190 สาเหตุสําคัญที่ทําให้สมาชิกในสังคมระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน มีดังนี้

1 การที่รัฐอธิปไตยเดิมถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายรัฐ หรือส่วนหนึ่ง ของรัฐอธิปไตยนั้นแยกตัวเป็นอิสระจากรัฐอธิปไตยเดิม

2 การปลดปล่อยอาณานิคม ซึ่งเกิดจากความเข้มแข็งของความรู้สึกชาตินิยมของประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครอง ของชาติอื่น และอุดมการณ์เกี่ยวกับการให้ชาติต่าง ๆ กําหนดการปกครองด้วยตนเอง

3 การล่มสลายของยูโกสลาเวียและสหภาพโซเวียต

79 สาเหตุสําคัญของการลดลงของสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศ มาจากสาเหตุใด

(1) การยินยอมรวมตัวกันโดยสมัครใจ

(2) การเข้ายึดครองรัฐอธิปไตยอื่นโดยการใช้กําลัง

(3) การให้ชาติต่าง ๆ กําหนดการปกครองด้วยตนเอง

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 หน้า 189 สาเหตุสําคัญของการลดลงของสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศ คือ การที่รัฐอธิปไตยได้รวมตัวกันเป็นหน่วยการเมืองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะของการเห็นพ้องต้องกัน และการยินยอมรวมตัวกันโดยสมัครใจ หรือโดยการที่รัฐเข้มแข็งรัฐหนึ่งเข้าทําการยึดครองรัฐอธิปไตยอื่นโดยการใช้กําลัง ซึ่งมักเกิดขึ้นได้ภายหลังการทําสงครามระหว่างกัน

80 จํานวนสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศมีแนวโน้มในอนาคตเป็นอย่างไร

(1) อัตราการเพิ่มขึ้นของจํานวนสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

(2) อัตราการเพิ่มขึ้นของจํานวนสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้ช้าลง

(3) อัตราการเพิ่มขึ้นของจํานวนสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศมีแนวโน้มไม่แน่นอน

(4) อัตราการเพิ่มขึ้นของจํานวนสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศมีแนวโน้มคงที่

(5) จํานวนสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศมีแนวโน้มลดลง

ตอบ 2 หน้า 190 ในอนาคตอัตราการเพิ่มขึ้นของจํานวนสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้ช้าลง ทั้งนี้เพราะดินแดนในส่วนต่าง ๆ ของโลกที่เคยตกอยู่ใต้อํานาจอาณานิคมได้รับเอกราชกันเกือบหมดแล้ว

81 สิ่งสําคัญที่สุดในการกําหนดลักษณะความสัมพันธ์ของรัฐแต่ละรัฐในสังคมระหว่างประเทศคืออะไร

(1) ทรัพยากรธรรมชาติ

(2) ผลประโยชน์แห่งชาติ

(3) การมีอิทธิพล

(4) อํานาจอธิปไตย

(5) ผู้นําประเทศ

ตอบ 2 หน้า 192 ผลประโยชน์แห่งชาติ เป็นสิ่งสําคัญที่สุดในการกําหนดลักษณะความสัมพันธ์ของรัฐแต่ละรัฐในสังคมระหว่างประเทศ กล่าวคือ ถ้าผลประโยชน์แห่งชาติระหว่างรัฐเข้ากันได้ หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลักษณะความสัมพันธ์จะปรากฏออกมาในรูปของความร่วมมือกัน (Cooperation) แต่ถ้าผลประโยชน์แห่งชาติระหว่างรัฐขัดแย้งกันหรือไม่อาจปรับเข้าหากันได้ ลักษณะความสัมพันธ์จะปรากฏออกมาในรูปของความขัดแย้งกัน (Conflict)

82 ความไม่เท่าเทียมกันของรัฐต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศแสดงให้เห็นผ่านช่องทางใด

(1) รัฐมหาอํานาจกับรัฐเล็ก ๆ

(2) ความร่วมมือและความขัดแย้ง

(3) การพึ่งพาอาศัยกันระหว่างรัฐ

(4) การแข่งขันกันระหว่างรัฐ

(5) ปัญหาระหว่างประเทศ

ตอบ 1 หน้า 191 ความไม่เท่าเทียมกันของรัฐต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศมักจะแสดงออกมาในลักษณะที่เรียกว่า รัฐมหาอํานาจ (Great Powers) กับรัฐเล็ก ๆ (Small Powers) ซึ่งข้อพิจารณา ที่ใช้เป็นมาตรฐานของการจัดแบ่งในลักษณะนี้ตามความเห็นของ เค. เจ. โฮลสตี (K. J. Holsti) ก็คือ ความสามารถของรัฐต่าง ๆ ที่จะสร้างพันธะกับรัฐอื่น ๆ ว่ามีขอบเขตแค่ไหน และรัฐนั้น ๆ สามารถจะปฏิบัติตามพันธะนั้น ๆ ได้แค่ไหน

83 กรณีเหตุกราดยิงในโรงเรียนมัธยมปลาย “มาจอริตี้ สโตนแมน ดักลาส” ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันวาเลนไทน์ พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา เกิดขึ้นในรัฐใดต่อไปนี้

(1) แคลิฟอร์เนีย

(2) ไมอามี

(3) ฟลอริดา

(4) เทกซัส

(5) เวอร์จิเนีย

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อวันวาเลนไทน์ พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา เกิดเหตุกราดยิงในโรงเรียนมัธยมปลาย“มาจอริตี้ สโตนแมน กลาส” ในรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจํานวนมาก

84 การจัดแบ่งประเภทของรัฐตามแนวทางของ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี ใช้เกณฑ์ใดในการแบ่งประเภทของรัฐ

(1) การพัฒนาทางอุตสาหกรรม

(2) อํานาจของรัฐโดยรวม

(3) กําลังทางทหาร

(4) การพัฒนาทางเศรษฐกิจ

(5) ระดับการมีอิทธิพลของรัฐต่อรัฐอื่น

ตอบ 1 หน้า 200 201 เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี (A. F. K. Organski) ได้จัดแบ่งประเภทของรัฐโดยใช้ “การพัฒนาทางอุตสาหกรรม” เป็นเกณฑ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 ชาติเล็ก คือ ชาติที่ยังไม่มีการพัฒนาอุตสาหกรรม เป็นชาติเกษตรกรรม

2 ชาติขนาดกลาง คือ ชาติที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่

3 ชาติมหาอํานาจ คือ ชาติที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมแล้วอย่างเต็มที่

85 “ชาติเล็ก” ในความหมายของ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี คือชาติในข้อใด

(1) ชาติที่มีระดับเศรษฐกิจขนาดเล็ก

(2) ชาติที่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างชาติ

(3) ชาติที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก

(4) ชาติที่ยังไม่มีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม

(5) ชาติที่มีพลเมืองจํานวนน้อยไม่ถึง 10 ล้านคน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

86 สิ่งที่ “โจเซฟ สตาลิน” อดีตผู้นําสหภาพโซเวียตให้ความคํานึงถึงในเรื่องของอํานาจของรัฐ คือ

(1) ความอยู่ดีกินดีของประชากรในรัฐ

(2) ทรัพยากรธรรมชาติ

(3) การทหาร

(4) พื้นที่ดินแดนของรัฐ

(5) การเมืองภายในรัฐที่เข้มแข็ง

ตอบ 3 หน้า 201 นักวิชาการและรัฐบุรุษทางการเมืองระหว่างประเทศที่คํานึงถึงอํานาจของรัฐในรูปของอํานาจทางการทหาร ได้แก่ โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) อดีตผู้นําสหภาพโซเวียต และนิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli)

87 นอกจากกองทหารที่เข้มแข็งแล้ว “นิโคโล มาเคียเวลลี” ผู้แต่งหนังสือเรื่อง “The Prince”ได้ให้ความสําคัญกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การมีเศรษฐกิจที่ดี

(2) ประชาชนอยู่ดีกินดี

(3) การมีกฎหมายที่ดี

(4) การมีผู้ปกครองที่ดี

(5) การค้าขายกับต่างประเทศ

ตอบ 3 หน้า 201 นิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli) กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “The Prince” ว่า พื้นฐานที่สําคัญที่สุดสําหรับทุกรัฐก็คือ การมีกฎหมายที่ดี และกองทหารที่เข้มแข็ง

88 ทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า จนกลายเป็นเหตุเกิดโศกนาฏกรรมในหลายประเทศในแอฟริกาที่เรียกว่า “Blood Diamond” คืออะไร

(1) ทองแดง

(2) สังกะสี

(3) ทับทิม

(4) เพชร

(5) ทองคํา

ตอบ 4 (คําบรรยาย) Blood Diamond หมายถึง เพชรสีเลือด เป็นคําที่ใช้เรียกเพชรผิดกฎหมายที่มีการลักลอบค้าโดยกลุ่มกบฏในประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา ไม่ว่าจะเป็นเซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย แอลโกลา และคองโก

89 ฝ่ายที่สนับสนุนให้ใช้วิธีการทางสันติหรือวิธีทางการทูตในการดําเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา คือ

(1) เหยี่ยว

(2) นกอินทรีย์

(3) นกเขา

(4) นกพิราบ

(5) นกนางนวล

ตอบ 4 หน้า 210 การดําเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในกรณีความขัดแย้งในอินโดจีนแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

1 ฝ่ายเหยี่ยว (Hawks) ได้แก่ เสนาธิการและกระทรวงกลาโหมต้องการให้สหรัฐอเมริกาใช้กําลังทางทหาร

2 ฝ่ายนกพิราบ (Doves) ได้แก่ นักการเมืองและกระทรวงการต่างประเทศ ต้องการให้สหรัฐอเมริกาใช้วิธีการทางสันติหรือวิธีการทางการทูต

90 การที่รัฐมหาอํานาจให้ความสนใจเป็นพิเศษแก่ดินแดนใดดินแดนหนึ่งมากกว่าดินแดนส่วนอื่นในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เรียกว่าอะไร

(1) เขตผลประโยชน์

(2) เขตแห่งความสนใจ

(3) เขตอิทธิพล

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 202 การที่รัฐมหาอํานาจให้ความสนใจเป็นพิเศษแก่ดินแดนใดดินแดนหนึ่งมากกว่าดินแดนส่วนอื่น ในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เรียกว่า เขตผลประโยชน์หรือเขตแห่ง ความสนใจ (Sphere of Interest) หรือเขตอิทธิพล (Sphere of Influence) โดยปกติ เขตผลประโยชน์นั้นจะอยู่ในดินแดนใกล้กับรัฐมหาอํานาจเอง หรืออาจเป็นดินแดนอื่นซึ่งรัฐคิดว่ามีความสําคัญอย่างยิ่งต่อผลประโยชน์ของตน

91 ประเทศกลุ่ม “BRICS” แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างอํานาจในสังคมการเมืองระหว่างประเทศอย่างไร

(1) การมีศูนย์อํานาจแห่งเดียว

(2) การมีศูนย์อํานาจหลายศูนย์

(3) การไม่มีศูนย์อํานาจ

(4) การมีสองศูนย์อํานาจแบบไม่เคร่งครัด

(5) การมีสองศูนย์อํานาจแบบเคร่งครัด

ตอบ 2 หน้า 204 205, (คําบรรยาย) การมีศูนย์อํานาจหลายศูนย์ (Multipolar Structure) คือ การที่รัฐมหาอํานาจมีบทบาทและอิทธิพลในการเมืองระหว่างประเทศไม่แตกต่างกันมากนัก โดยรัฐต่าง ๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงความผูกพันและจะพยายามปรับปรุงการกระจายอํานาจ ระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา เช่น ประเทศกลุ่ม “BRICS” เป็นต้น

92 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยคนปัจจุบัน คือ

(1) นายกษิต ภิรมย์

(2) นายดอน ปรมัตถ์วินัย

(3) นายวีรชัย พลาศรัย

(4) นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล

(5) นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยคนปัจจุบัน คือ นายดอน ปรมัตถ์วินัย ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 2015

93 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐคนปัจจุบัน คือ

(1) นายไมค์ ปอมเปโอ

(2) นายเร็กซ์ ทิลเลอร์สัน

(3) นายจอห์น เคร์รี

(4) พลเอกโคลิน เพาเวส

(5) นางฮิลลารี คลินตัน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

94 คําว่า “ใจถึง” และ “ใจไม่ถึง” และใครที่ใจไม่ถึงต้องหลบไป เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศแบบใด

(1) ขู่ให้กลัว

(2) การทําให้เสียหน้า

(3) การทูตเรือปืน

(4) การเอาใจ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 218 นโยบายการขู่ให้กลัว (Chickening Policy) เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศที่ประเทศคู่พิพาทต่างแสดงความเอาจริงเอาจังที่จะให้ฝ่ายตรงข้ามเห็นว่าผลประโยชน์ที่ ขัดแย้งกันนั้นมีความสําคัญต่อผลประโยชน์สําคัญของชาติตน เพื่อที่จะให้ฝ่ายตรงข้ามยอมแพ้ ในความขัดแย้งนั้น ดังนั้นการดําเนินนโยบายต่างประเทศแบบนี้จึงมีคําว่า “ใจถึง” และ “ใจไม่ถึง” และใครที่ใจไม่ถึงต้องหลบไป เพราะถ้าทั้งสองฝ่ายต่างใจถึงจะทําให้เกิดสงคราม เช่น การดําเนิน นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาต่อสหภาพโซเวียตในกรณีวิกฤติการณ์คิวบาในปีค.ศ. 1962 เป็นต้น

95 นักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ที่กล่าวว่า “เราไม่สามารถแยกนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐได้อีกต่อไป” คือใคร

(1) ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ

(2) เค. เจ. โฮลสตี

(3) ซูซาน สเตรท

(4) โรเบิร์ต กิลพิน

(5) เคนเน็ธ วอลซ์

ตอบ 1 หน้า 209 ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ (Hans J. Morgenthau) กล่าวว่า เราไม่สามารถแยกนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐได้อีกต่อไป ทั้งนี้เพราะว่าการดําเนินนโยบาย ต่างประเทศในสมัยปัจจุบันมิได้กระทําด้วยเครื่องมือทางการทูตและทางอํานาจทางทหารเท่านั้น แต่นโยบายต่างประเทศต้องอาศัยเครื่องมือทางการโฆษณาชวนเชื่อประกอบเป็นส่วนสําคัญด้วย

96 เพลงเค-ป๊อป รวมถึงซีรีส์เกาหลีที่วัยรุ่นไทยชื่นชอบ เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศผ่านสิ่งใด

(1) อํานาจหลัก

(2) สื่อสารสนเทศ

(3) อํานาจละมุน

(4) วัฒนธรรม

(5) ข้อมูลข่าวสาร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) อํานาจละมุนหรืออํานาจอ่อนหรืออํานาจนุ่มนวล (Soft Power) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อํานาจอันชาญฉลาด” (Smart Power) เป็นอํานาจที่ทําให้เกิดการยอมรับ ปฏิบัติตามโดยสมัครใจ เต็มใจ ยินยอมพร้อมใจ ตัวอย่างการดําเนินนโยบายต่างประเทศโดยใช้อํานาจละมุน เช่น เพลงเจ-ป๊อปของญี่ปุ่น เพลงเค-ป๊อปและซีรีส์เกาหลี เป็นต้น

97 การดําเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาต่อสหภาพโซเวียตในกรณีวิกฤติการณ์คิวบา เป็นการ ดําเนินนโยบายต่างประเทศอย่างไร

(1) การขู่ให้กลัว

(2) การรักษาหน้า

(3) การตีสองหน้า

(4) การทูตเรือปืน

(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 218 นโยบายการรักษาหน้า (Face-Saving Policy) ของประเทศคู่กรณี เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศที่ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่กรณีพิพาทนั้นเกิดความตึงเครียด จนถึงขั้นจะใช้กําลังระหว่างกัน แต่ประเทศคู่กรณีไม่ปรารถนาที่จะให้กรณีพิพาทนั้นเป็นไป ในลักษณะของความรุนแรงจึงยอมให้กับอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม โดยฝ่ายที่ได้เปรียบ จะไม่บีบบังคับฝ่ายที่ยอมด้วยความก้าวร้าว แต่จะพยายามหาทางออกในลักษณะที่ทําให้ฝ่ายที่ยอม ไม่เสียศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของชาติ เช่น การดําเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาต่อสหภาพโซเวียตในกรณีวิกฤติการณ์คิวบาในปี ค.ศ. 1962 เป็นต้น (ดูคําอธิบายข้อ 94 ประกอบ)

98 การใช้กําลังทหารบีบบังคับประเทศที่อ่อนแอกว่า เป็นการใช้นโยบายต่างประเทศแบบใด แบบที่ฝรั่งเศสใช้กับสยามในกรณีเหตุการณ์ ร.ศ. 112 คือ

(1) การทูตเรือปืน

(2) รบและเจรจา

(4) ทําให้เสียหน้า

(5) การตีสองหน้า

ตอบ 1 หน้า 219 นโยบายการทูตเรือปืน (Gunboat Diplomacy) เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศของชาติมหาอํานาจหรือชาติที่เข้มแข็งกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการทหาร ในการบีบบังคับ ให้ชาติที่อ่อนแอกว่าทําหรือไม่ทําการใด ๆ ตามความต้องการของตน ซึ่งวิธีการนี้เป็นการรังแก ชาติที่อ่อนแอกว่า เช่น กรณีเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสบีบบังคับให้สยาม (ไทย) ยอมเสียดินแดนบางส่วนในอินโดจีนให้กับฝรั่งเศส เป็นต้น

99 เหตุการณ์ ร.ศ. 112 สยามยอมเสียดินแดนส่วนหนึ่งให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศแบบใด

(1) นโยบายตีสองหน้า

(2) นโยบายโอนอ่อนผ่อนตาม

(3) นโยบายเพื่อนที่ดี

(4) นโยบายเด็กดี

(5) นโยบายเอาใจ

ตอบ 5 หน้า 216 217 นโยบายแห่งการเอาใจ (Appeasement Policy) เป็นกลยุทธ์การดําเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะที่รัฐหนึ่งยินยอมให้รัฐที่เป็นเป้าหมายของนโยบายนี้ดําเนินการ อันไม่เป็นผลดีกับผลประโยชน์ของตนบางประการ ด้วยความหวังว่ารัฐที่เป็นเป้าหมายจะพอใจ และยุติการดําเนินการอันจะเกิดผลเสียอย่างรุนแรงกับผลประโยชน์ของรัฐนั้น เช่น การที่อังกฤษ ยอมรับการครอบครองซูเดเทนของเยอรมนี้ในสมัยของนายกรัฐมนตรีเนวิลล์ แชมเบอร์แลนกรณีเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ที่สยามยอมเสียดินแดนส่วนหนึ่งให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส เป็นต้น

100 ประเทศใดเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกในฤดูหนาวในปี ค.ศ. 2018

(1) เกาหลีใต้

(2) แคนาดา

(3) จีน

(4) ญี่ปุ่น

(5) รัสเซีย

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) เกาหลีใต้ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 23 หรือเรียกว่า “พย็องชั่ง เกมส์” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 – 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018

 

Advertisement