การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 บริษัท ยางสยาม จํากัด จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายไทย บริษัทฯได้ทําสัญญาว่าจ้างนายไกรซึ่งมีสัญชาติไทยในตําแหน่งเป็นผู้ตรวจงานของบริษัทฯ เงินเดือน 200,000 บาท นายไกรเป็นคนเชื้อสายไทย สัญชาติสิงคโปร์และมีภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดอุทัยธานี โดยตลอด ต่อมาในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 บริษัทฯ ได้ส่งนายไกรไปตรวจงาน ณ สาขาของ บริษัทฯ ในประเทศสิงคโปร์ เป็นเวลา 180 วัน จึงเดินทางกลับ ทั้งนี้สํานักงานสาขาดังกล่าวได้ทํา หน้าที่ชําระเงินค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ให้แก่นายไกรโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของนายไกร ในประเทศสิงคโปร์ ข้อเท็จจริงปรากฏว่านายไกรนําเงินเดือนที่ได้รับในขณะอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ใช้จ่ายไปทั้งหมดโดยไม่นําเงินเดือนเข้าประเทศไทยเลย และในขณะเดียวกันนายไกรได้ทําสัญญาว่าจ้างนางฟาโอร่าซึ่งมีสัญชาติมาเลเซียและมีทะเบียนบ้าน อยู่ที่ประเทศมาเลเซียให้ทําหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวทํางานที่ประเทศสิงคโปร์ เป็นเวลา 2 เดือน โดยนายไกรได้ชําระเงินค่าจ้างเดือนละ 190,000 บาท ให้แก่นางฟาโอร่าโดยโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารของนางฟาโอร่าที่ประเทศไทย ให้ท่านวินิจฉัยว่า ปีภาษี 2559 เงินได้รายการดังกล่าว ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทําใน ประเทศไทย หรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคแรก)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

กรณีของนายไกร เงินเดือนของนายไกรที่ได้รับทั้งในประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ จะต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 เงินเดือน ๆ ละ 200,000 บาท ที่บริษัท ยางสยาม จํากัด จ่ายให้แก่นายไกรในประเทศไทย เป็นเวลา 6 เดือน จํานวน 1,200,000 บาท นั้น ถือเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย และเป็นเงินได้ที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ดังนั้น นายไกรจะต้องนําเงินได้จํานวน 1,200,000 บาท ดังกล่าว มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคหนึ่ง

2 เงินเดือน ๆ ละ 200,000 บาท ที่สํานักงานสาขาของบริษัท ยางสยาม จํากัด ใน ประเทศสิงคโปร์ จ่ายให้แก่นายไกรในขณะที่นายไกรไปตรวจงาน ณ สาขาของบริษัทฯ โดยการโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารของนายไกรในประเทศสิงคโปร์นั้น ถือเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในต่างประเทศ และถือเป็นเงินได้ที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศไทย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายไกรน้ําเงินเดือนที่ได้รับ ในขณะอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ใช้จ่ายไปทั้งหมดโดยไม่ได้นําเงินเดือนดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทยเลย ดังนั้นแม้ว่า นายไกรจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันก็ตาม แต่เมื่อนายไกรไม่ได้เอาเงินได้ดังกล่าวกลับเข้ามาในประเทศไทย ในปีภาษีเดียวกับปีที่เกิดเงินได้ นายไกรจึงไม่ต้องนําเงินได้จํานวนดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม

กรณีของนางฟาโอร่า การที่นายไกรได้ทําสัญญาว่าจ้างนางฟาโอร่าซึ่งมีสัญชาติมาเลเซียและ มีทะเบียนบ้านอยู่ที่ประเทศมาเลเซียให้ทําหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวทํางานที่ประเทศสิงคโปร์ เป็นเวลา 2 เดือน ค่าจ้างเดือนละ 190,000 บาท โดยนายไกรได้ชําระเงินให้แก่นางฟาโอร่าโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของนางฟาโอร่า ที่ประเทศไทยนั้น เงินได้ที่นางฟาโอร่าได้รับจากนายไกรดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งานที่ทํา ในต่างประเทศ และเป็นเงินได้ที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศไทย ดังนั้นกรณีตามอุทาหรณ์แม้จะถือได้ว่า นางฟาโอร่าได้นําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทยแล้วก็ตาม แต่เมื่อนางฟาโอร่ามิใช่เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย คือไม่ได้อยู่ในประเทศไทยในปีภาษีครบ 180 วัน นางฟาโอร่าจึงไม่ต้องนําเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม

สรุป นายไกรจะต้องนําเงินเดือนที่ได้รับในประเทศไทยจํานวน 1,200,000 บาท มาเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ส่วนเงินเดือนที่ได้รับในต่างประเทศไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

นางฟาโอร่าไม่ต้องนําเงินเดือนที่ได้รับจํานวน 380,000 บาท มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

ข้อ 2 ให้ท่านอธิบายหลักกฎหมายเรื่อง “สิทธิหักค่าลดหย่อน” ในการคํานวณหาค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรอย่างน้อย 11 รายการ พร้อมยกตัวอย่างโดยละเอียด

ธงคําตอบ

“สิทธิหักค่าลดหย่อน” ในการคํานวณหาค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น หมายถึง สิทธิของ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในการนํารายการต่าง ๆ ที่กฎหมายได้กําหนดไว้มาหักเพิ่มได้อีกหลังจาก ได้มีการหักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี ก่อนนําเงินได้ที่เหลือซึ่งเรียกว่า “เงินได้สุทธิ” ไปคํานวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ตามประมวลรัษฎากร ได้กําหนดรายการต่าง ๆ ที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีสิทธินําไปหักเป็นค่า ลดหย่อนไว้หลายรายการ เช่น

1 หักลดหย่อนสําหรับตัวผู้มีเงินได้ โดยหักได้ 30,000 บาท

2 หักลดหย่อนสําหรับสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ในกรณีที่สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ไม่มีเงินได้พึงประเมิน หรือมีแต่ไม่ได้แยกคํานวณภาษี โดยหักได้ 30,000 บาท

3 หักลดหย่อนสําหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ รวมทั้ง บุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ โดยหักได้คนละ 15,000 บาท (ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ ในมาตรา 47) รวมทั้งมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรที่กําลังศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท

4 เบี้ยประกันชีวิต ที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายไปในปีภาษีสําหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ (รวมทั้งสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้) โดยหักได้ส่วนแรก 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท หักได้ไม่เกินเงินได้ หลังจากหักค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 90,000 บาท เฉพาะในกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกําหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป

5 เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สามารถหักลดหย่อนได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท เป็นเงินที่ได้รับยกเว้นภาษี โดยน้ํา จํานวนเงินส่วนที่เกินดังกล่าวหักจากเงินได้พึงประเมินก่อนหักค่าใช้จ่ายตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 490,000 บาท

6 ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (สําหรับการกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อหรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย….) ตาม จํานวนเงินที่ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

7 เงินสมทบทุนที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม รวมทั้งกรณีที่สามีหรือภริยา ของผู้มีเงินได้ ซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม) โดยหักได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง

8 ค่าลดหย่อนบิดามารดา ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท โดยบิดามารดานั้นต้องมี อายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ

9 เงินที่ได้จ่ายไปเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด ที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง (ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2559) โดยหักได้ไม่เกิน ร้อยละ 20 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์

10 หักลดหย่อนเงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา โดยสามารถหักได้ 2 เท่าของจํานวนเงินที่ ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

11 หักลดหย่อนสําหรับเงินบริจาค โดยผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนสําหรับเงินบริจาคได้ เท่าจํานวนที่บริจาคจริง แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว และให้หักค่าลดหย่อนได้เฉพาะ

(1) เงินที่บริจาคให้แก่สถานพยาบาลและสถานศึกษาของรัฐ

(2) เงินที่บริจาคเป็นสาธารณประโยชน์ให้แก่สถานที่ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา

 

ข้อ 3 บริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าอาหารทะเลภายในประเทศอเมริกาและประเทศอื่น ๆ รวมทั้งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้จัดตั้งนิติบุคคลใหม่ชื่อ บริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด ซึ่งมีสํานักงาน ขนาดใหญ่ที่จังหวัดภูเก็ต ในรอบระยะเวลาบัญชี 2560 บริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด ได้ส่งลูกจ้าง ผู้ทําการแทน ผู้ทําการติดต่อ ไปยังจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทยและประเทศลาว เพื่อทําสัญญาซื้อขายอาหารทะเลเป็นเหตุ ให้ได้รับเงินสดจํานวน 150 ล้านบาท และมีสิทธิได้รับเงินอีก 250 ล้านบาท ซึ่งถึงกําหนดชําระแล้ว ในปี พ.ศ. 2560 แต่ยังมิได้รับชําระเงิน 250 ล้านบาท ดังกล่าวจนกระทั่งสิ้นปี พ.ศ. 2560 และ มีรายจ่ายค่าขนส่งอาหารทะเลไปยังจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย จํานวน 50 ล้านบาท และ มีรายจ่ายค่าขนส่งอาหารทะเลจากประเทศไทยไปยังประเทศลาว จํานวน 60 ล้านบาท ให้แก่ บริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด ให้ท่านวินิจฉัยว่า ในรอบระยะเวลาบัญชี 2560 เงินได้รายการดังกล่าวต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี..

การคํานวณรายได้และรายจ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยให้นํารายได้ที่เกิดขึ้นใน รอบระยะเวลาบัญชีใดแม้ว่าจะยังไม่ได้รับชําระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคํานวณเป็นรายได้ในรอบ ระยะเวลาบัญชีนั้น…”

มาตรา 66 วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

วินิจฉัย

ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จะต้องเสียภาษีจากกําไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่าย ทั้งนี้โดยไม่คํานึงว่าจะเป็นเงินได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่ได้กระทํา ณ ที่ใดไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือนอกประเทศไทยก็ตาม จะต้องนํารายได้เหล่านั้นทั้งหมด มาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย

กรณีตามอุทาหรณ์ เเยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 กรณีของบริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด

การที่บริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย มีรายได้จากการส่งลูกจ้าง ผู้ทําการแทน ผู้ทําการติดต่อไปยังจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทยและประเทศลาว เพื่อทําสัญญาซื้อขายอาหารทะเล โดยได้รับเป็นเงินสดจํานวน 150 ล้านบาท และมีสิทธิได้รับเงินอีก 250 ล้านบาท ซึ่งถึงกําหนดชําระแล้วในปี พ.ศ. 2560 นั้น แม้ว่าบริษัทฯ จะยังมิได้รับชําระเงิน 250 ล้านบาท ดังกล่าวจนกระทั่งสิ้น ปี พ.ศ. 2560 ก็ตาม บริษัทฯ ก็จะต้องนํารายได้ที่ยังไม่ได้รับชําระจํานวน 250 ล้านบาท มารวมกับรายได้ที่ ได้รับชําระเป็นเงินสดแล้วจํานวน 150 ล้านบาท รวมเป็นเงินจํานวน 400 ล้านบาท มาคํานวณกําไรสุทธิเพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ตามหลักของการคํานวณรายได้และรายจ่ายโดยใช้เกณฑ์สิทธิ

2 กรณีของบริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด

การที่บริษัท มาร์คดีลยเอส จํากัด ได้จัดตั้งนิติบุคคลใหม่ชื่อ บริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด ซึ่งมีสํานักงานขนาดใหญ่ที่จังหวัดภูเก็ตนั้น ย่อมไม่ถือว่าบริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด เป็นบริษัท เดียวกันกับ บริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด เพราะบริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่แยก ออกมาจากบริษัทเดิม มิใช่สาขาของบริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด แต่อย่างใด

และเมื่อถือว่าบริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด เป็นนิติบุคคลที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ตาม กฎหมายไทยการที่ บริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด ได้จ่ายค่าขนส่งอาหารทะเลไปยังจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย จํานวน 50 ล้านบาท และค่าขนส่งอาหารทะเลจากประเทศไทยไปยังประเทศลาวจํานวน 60 ล้านบาท ให้แก่บริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด ย่อมถือว่าเงินจํานวน 110 ล้านบาทดังกล่าว เป็นรายได้ของบริษัท มาร์คยูเอสโก จํากัด ดังนั้น บริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด จึงต้องนํารายได้จํานวน 110 ล้านบาทดังกล่าว มาคํานวณกําไรสุทธิเพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 65 วรรคหนึ่ง

สรุป

บริษัท มาร์คติลยูเอส จํากัด จะต้องนํารายได้จํานวน 400 ล้านบาท มาคํานวณเพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร และบริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด ต้องนํารายได้จํานวน 110 ล้านบาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

Advertisement