การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม

Advertisement

คําแนะนํา

ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายเจริญ (นายจ้าง) ได้ทําสัญญาจ้างนายสาครเป็นลูกจ้างดูแลด้านสถานที่ และนางสาวเดือนเป็นลูกจ้างดูแลด้านการเงินตั้งแต่เดือนมกราคม โดยตกลงจ่ายสินจ้างเดือนละ 15,000 บาท ทุก ๆ วันสิ้นเดือน และให้วางหลักประกันความเสียหายในการทํางานเป็นจํานวนเงินคนละ 40,000 บาท ในสัญญามีข้อตกลงว่า “นายจ้างจะคืนเงินประกันความเสียหายในวันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือลูกจ้าง ลาออกครึ่งหนึ่งและในวันสิ้นเดือนถัดไปอีกครั้งหนึ่ง” จากข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ท่านเห็นว่าอย่างไร ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 9 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนเงินประกันตามมาตรา 10 วรรคสอง ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี

ในกรณีที่นายจ้างจงใจไม่คืนหรือไม่จ่ายเงินตามวรรคหนึ่ง โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เมื่อ พ้นกําหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ถึงกํา หนดคืนหรือจ่าย ให้นายจ้างเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างร้อยละสิบห้าของ เงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวัน”

มาตรา 10 “ภายใต้บังคับมาตรา 51 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกัน การทํางานหรือหลักประกันความเสียหายในการทํางาน ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สินอื่น หรือการค้ําประกันด้วยบุคคล จากลูกจ้าง เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทํานั้นลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของ นายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ ทั้งนี้ ลักษณะหรือสภาพของงานที่ให้เรียกหรือรับหลักประกัน จากลูกจ้าง ตลอดจนประเภทของหลักประกัน จํานวนมูลค่าของหลักประกัน และวิธีการเก็บรักษา ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด

ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกัน หรือทําสัญญาประกันกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ความเสียหาย ที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทํา เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออกหรือสัญญาประกันสั้นอายุ ให้นายจ้างคืนหลักประกัน พร้อมดอกเบี้ย ถ้ามี ให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างเล็กจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลาออก หรือวันที่ สัญญาประกันสิ้นอายุ แล้วแต่กรณี”

ตามประมวลกฎหมายแทงและพาณิชย์

มาตรา 150 “การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเจริญ (นายจ้าง) ได้ทําสัญญาจ้างนายสาครเป็นลูกจ้างดูแลสถานที่ และนางสาวเดือนเป็นลูกจ้างดูแลด้านการเงินตั้งแต่เดือนมกราคม โดยตกลงจายสินจ้างเดือนละ 15,000 บาท ทุก ๆ วันสิ้นเดือน และให้วางหลักประกันความเสียหายในการทํางานเป็นจํานวนเงินคนละ 40,000 บาท และ ในสัญญามีข้อตกลงว่า “นายจ้างจะคืนเงินประกันความเสียหายในวันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือลูกจ้างลาออกครึ่งหนึ่ง และในวันสิ้นเดือนถัดไปอีกครึ่งหนึ่ง” นั้น ถูกต้องหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของนายสาคร การที่นายเจริญทําสัญญาจ้างนายสาครเป็นลูกจ้างดูแลสถานที่นั้น ถือว่า ไม่ใช่งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่ทํานั้น ลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของ นายจ้างซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ (ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง) นายเจริญจึงไม่สามารถเรียกให้ นายสาครวางเงินประกันความเสียหายในการทํางานได้ ดังนั้น การที่นายเจริญเรียกให้นายสาครวางเงินประกัน ความเสียหายในการทํางานเป็นจํานวนเงิน 40,000 บาท จึงไม่ถูกต้อง

กรณีของนางสาวเดือน การที่นายเจริญได้ทําสัญญาจ้างนางสาวเดือนเป็นลูกจ้างดูแลด้านการเงิน ซึ่งงานที่นายเจริญให้นางสาวเดือนทํานั้น ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทํานั้นลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ ดังนั้น นายเจริญเรียกให้นางสาวเดือน วางเงินประกันความเสียหายในการทํางานได้ (ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง) แต่นายเจริญสามารถเรียกได้เพียงตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศกระทรวง คือเรียกได้ไม่เกิน 60 เท่าของอัตราค่าจ้างโดยเฉลี่ยต่อวัน ซึ่งเท่ากับ 30,000 บาทเท่านั้น ( 5,000 x 60) ดังนั้น การที่นายเจริญเรียกให้นางสาวเดือนวางเงินประกันความเสียหาย ในการทํางานเป็นจํานวนเงิน 40,000 บาท จึงไม่ถูกต้อง

และการที่ในสัญญามีข้อตกลงว่า นายจ้างจะคืนเงินประกันความเสียหายในวันที่นายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออกครึ่งหนึ่งและในวันสิ้นเดือนถัดไปอีกครั้งหนึ่งนั้นก็ไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน เพราะเป็นข้อตกลงที่ ขัดกับมาตรา 10 วรรคสอง ที่กําหนดให้นายจ้างคืนหลักประกันพร้อมดอกเบี้ย (ถ้ามี) ให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลาออกแล้วแต่กรณี ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน การเขียนข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ดังนั้นนายเจริญจะต้องคืนเงิน ประกันการทํางานให้ภายใน 7 วันนับแต่วันเลิกจ้างหรือลาออก ถ้าไม่คืนภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้นายเจริญ นายจ้างเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันผิดนัด (ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง) และถ้านายเจริญจงใจไม่คืน หรือไม่จ่ายเงินตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร นายเจริญจะต้องเสียเงินเพิ่มอีก ร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วัน (ตามมาตรา 9 วรรคสอง)

สรุป

การทําสัญญาจ้างของนายเจริญนายจ้างโดยให้ลูกจ้างวางหลักประกันความเสียหายและ ข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวไม่ถูกต้อง ตามเหตุผลและหลักกฎหมายข้างต้น

 

ข้อ 2. นายพิชัย (นายจ้าง) มีคําสั่งให้นายอนุชิตซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันได้รับค่าจ้างวันละ 336 บาท (เฉลี่ยชั่วโมงละ 42 บาท) ทํางานที่สํานักงานใหญ่หัวหมาก ทํางานวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. ให้เดินทางไปทํางานที่จังหวัดเลย โดยออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ในวันเสาร์ตั้งแต่ 09.00 น. ถึงจังหวัดเลยเวลา 19.00 น. และทํางานในวันอาทิตย์ตั้งแต่ 13.00 น. ถึง 20.00 น. เช่นนี้ นายอนุชิตจะมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนอะไรบ้าง ตามมาตราใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 56 “ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทํางานสําหรับวันหยุด ดังต่อไปนี้

(1) วันหยุดประจําสัปดาห์ เว้นแต่ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงาน โดยคํานวณเป็นหน่วย”

มาตรา 62 “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในวันหยุดตามมาตรา 28 มาตรา 29 หรือมาตรา 30 ให้นายจ้างจ่ายค่าทํางานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราดังต่อไปนี้

(2) สําหรับลูกจ้างซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีกไม่น้อยกว่า สองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางานตามจํานวนชั่วโมงที่ทําหรือไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้าง ต่อหน่วยในวันทํางานตามจํานวนผลงานที่ทําได้สําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย

มาตรา 63 “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานสวงเวลาในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลา ในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางานตามจํานวนชั่วโมงที่ทํา หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทํางานตามจํานวนผลงานที่ทําได้สําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับ ค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย”

มาตรา 71 “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างเดินทางไปทํางานในท้องที่อื่น นอกจากท้องที่สําหรับ การทํางานปกติ ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา 61 และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามมาตรา 63 ในระหว่างเดินทาง แต่สําหรับการเดินทางในวันหยุดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทํางานให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามมาตรา 56 (1) สําหรับการเดินทางนั้น”

มาตรา 73 “ให้ลูกจ้างออกค่าใช้จ่ายสําหรับการเดินทางตามมาตรา 71 และมาตรา 72”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายอนุชิตลูกจ้งรายวันได้รับค่าจ้างวันละ 336 บาท (เฉลี่ยชั่วโมงละ 42 บาท) ทํางานที่กรุงเทพฯ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. ต่อมานายพิชัย (นายจ้าง) มีค่าสั่งให้นายอนุชิตเดินทางไปทํางานที่จังหวัดเลยนั้น ถือว่าเป็นกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างเดินทางไปทํางานใน ท้องที่อื่นตามมาตรา 71 และเมื่อนายอนุชิตเป็นลูกจ้างรายวันซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามมาตรา 56 (1) ซึ่งตามมาตรา 71 ได้กําหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสําหรับการเดินทางในวันหยุดเท่ากับค่าจ้างในวันทํางานให้แก่ ลูกจ้าง ดังนั้น ในวันเสาร์นายอนุชิตจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้าง 336 บาท สําหรับการเดินทางดังกล่าว แต่นายอนุชิต ไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าล่วงเวลาในวันหยุดในช่วงเวลา 17.00 น. ถึง 19.00 น. ตามมาตรา 63 สําหรับการเดินทาง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 แต่จะได้รับค่าใช้จ่ายสําหรับการเดินทางตามมาตรา 73

ส่วนการที่นายจ้างให้นายอนุชิตทํางานในวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 15.00 น. ถึง 20.00 น. นั้น ถือเป็น กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในวันหยุดตามมาตรา 28 (วันหยุดประจําสัปดาห์) ดังนั้น นายอนุชิตจึงมีสิทธิได้รับ ค่าจ้างทํางานในวันหยุด ดังนี้คือ

1 ค่าทํางานในวันหยุดตั้งแต่เวลา 13.00 น. ถึง 17.00 น. รวม 4 ชั่วโมง ตามมาตรา 62 (2) ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างไม่น้อยกว่า 2 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางาน ซึ่งนายอนุชิต จะได้รับค่าจ้างเป็นเงิน 336 บาท (42 x 2 x 4)

2 ค่าทํางานล่วงเวลาในวันหยุดตั้งแต่เวลา 17.00 น. ถึง 20.00 น. รวม 3 ชั่วโมง ตามมาตรา 63 ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายให้เป็น 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางาน ซึ่งนายอนุชิตจะได้รับค่าจ้างเป็นเงิน 378 บาท (42 x 3 x 3)

สรุป

นายอนุชิตจะมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนสําหรับการเดินทางในวันเสาร์เป็นเงิน 336 บาท และ ค่าใช้จ่ายสําหรับการเดินทาง ส่วนวันอาทิตย์จะได้รับค่าจ้างเป็นค่าทํางานในวันอาทิตย์เป็นเงิน 719 บาท (336 + 378)

 

ข้อ 3. นายวันชัย (นายจ้าง) มีคําสั่งให้นายสมัย (เป็นลูกจ้างได้รับค่าจ้าง 12,000 บาทต่อเดือน) ขับรถยนต์ไปส่งสินค้าให้ลูกค้าที่จังหวัดเชียงราย ในระหว่างทางเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ตกเขาทําให้นายสมัย บาดเจ็บสาหัสต้องรักษาตัวนานถึงหกเดือนแต่ก็กลายเป็นคนทุพพลภาพ เช่นนี้ นายสมัยจะมีสิทธิ อย่างไรบ้าง ตามกฎหมายใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537

มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้

“ประสบอันตราย” หมายความว่า การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทํางานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคําสั่งของนายจ้าง”

มาตรา 13 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาล พื้นที่ตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือความเจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายคารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตาม ความจําเป็นแต่ไม่เกินอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวง

ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยไม่ชักช้า เมื่อฝ่ายลูกจ้างแจ้งให้ทราบ

มาตรา 15 “กรณีที่ลูกจ้างจําเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานภายหลังการประสบ อันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานของลูกจ้างเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็น ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวง”

มาตรา 18 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทน เป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้

(1) ร้อยละเจ็ดสิบของค่าจ้างรายเดือน สําหรับกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถทํางานได้ไม่ว่าลูกจ้างจะ สูญเสียอวัยวะตาม (2) ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทํางานได้ไปจนตลอดระยะเวลา ที่ไม่สามารถทํางานได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปี

(3) ร้อยละเจ็ดสิบของค่าจ้างรายเดือน สําหรับกรณีที่ลูกจ้างทุพพลภาพ โดยจ่ายตามประเภท ของการทุพพลภาพเเละตามระยะเวลาที่กระทรวงแรงงานประกาศกําหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าสิบห้าปี

ค่าทดแทนตามวรรคหนึ่งต้องไม่น้อยกว่าค่าทดแทนรายเดือนต่สุด และไม่มากกว่าค่าทดแทน รายเดือนสูงสุดตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกําหนด”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายวันชัย (นายจ้าง) มีคําสั่งให้นายสมัย (ลูกจ้าง) ขับรถยนต์ไปส่งสินค้า ให้ลูกค้าที่จังหวัดเชียงราย และในระหว่างทางเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ตกเขาทําให้นายสมัยบาดเจ็บสาหัสต้องรักษาตัว นานถึง 6 เดือนแต่ก็กลายเป็นคนทุพพลภาพนั้น ย่อมถือว่านายสมัยประสบอันตรายเนื่องจากการทํางานให้แก่ นายจ้างตามมาตรา 5 แล้ว นายสมัยจึงได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 (ซึ่งมีการปรับ แก้ไขใหม่ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2561 เป็นต้นไป) และกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล และค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานที่ให้นายจ้างจ่าย ดังนั้น นายวันชัย (นายข้าง) จะต้องจ่ายเงินทดแทนให้แก่ นายสมัย ดังนี้คือ

1 ค่ารักษาพยาบาล ตามมาตรา 13 โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่นายสมัย เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินอัตราที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง ดังนี้

(1) ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นแต่ไม่เกิน 50,000 บาท

(2) ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตาม (1) ไม่เพียงพอให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มอีกไม่เกิน 100,000 บาท

(3) ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่ขายตาม (2) ไม่เพียงพอให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มขึ้นอีก โดยเมื่อรวมค่ารักษาพยาบาลตาม (1) และ (2) แล้วต้องไม่เกิน 300,000 บาท

(4) ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตาม (3) สําหรับลูกจ้างรายใดไม่เพียงพอให้นายจ้าง จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มขึ้นตามความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ โดยเมื่อรวมกับ ค่ารักษาพยาบาลตาม (1) (2) และ (3) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

(5) ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตาม (4) สําหรับลูกจ้างรายใดไม่เพียงพอให้นายจ้าง จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มขึ้น โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาลตาม (1) (2) (3) และ (4) แล้วต้องไม่เกิน 1,000,000 บาท

2 ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางาน ตามมาตรา 15 โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ ในการทํางานให้แก่นายสมัยเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็น ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ดังนี้

(1) ค่าใช้จ่ายในทางกายภาพบําบัดไม่เกินวันละ 200 บาท และค่าใช้จ่ายทางกิจกรรมบําบัด ไม่เกินวันละ 100 บาท แต่รวมแล้วไม่เกิน 24,000 บาท

(2) ค่าใช้จ่ายในกระบวนการบําบัดรักษาและการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพ ในการทํางานไม่เกิน 40,000 บาท

(3) ค่าวัสดุและอุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูหน่วยละไม่เกินตามที่กระทรวงการคลังกําหนด แต่รวมแล้วไม่เกิน 160,000 บาท

(4) ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานด้านอาชีพฯ ไม่เกิน 24,000 บาท รวมค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานที่นายจ้างจะต้องจ่ายไม่เกิน 248,000 บาท

3 ค่าทดแทนในกรณีไม่สามารถทํางานได้ ตามมาตรา 18 (1) เมื่อนายสมัยไม่สามารถทํางานได้ เพราะประสบอันตรายบาดเจ็บสาหัสต้องรักษาตัว 6 เดือน และกลายเป็นคนทุพพลภาพนั้น นายจ้างจะต้องจ่าย ค่าทดแทนให้แก่นายสมัยในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่นายสมัยไม่สามารถ ทํางานได้ เมื่อนายสมัยได้รับค่าจ้างเดือนละ 12,000 บาท ร้อยละ 70 ของ 12,000 บาท คือ 8,400 บาท ดังนั้น นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าทดแทนให้นายสมัยเป็นเงิน 8,400 x 6) 50, 100 บาท

4 ค่าทดแทนในกรณีทุพพลภาพ ตามมาตรา 18 (3) เมื่อนายสมัยกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่นายสมัยในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือนคือ 8,400 บาทให้แก่นายสมัย ทุกเดือนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี

สรุป

นายสมัยจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ดังนี้

1 ค่ารักษาพยาบาลรวมแล้วไม่เกิน 1,000,000 บาท

2 ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานจํานวนไม่เกิน 248,000 บาท

3 ค่าทดแทน ในกรณีไม่สามารถทํางานได้เป็นเงิน 50 400 บาท

4 ค่าทดแทน นกรณีทุพพลภาพเดือนละ 8,400 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี

 

ข้อ 4. ในสถานประกอบการแห่งหนึ่งมีลูกจ้าง 100 คน ถ้าหากว่ามีลูกจ้างจํานวนหนึ่งมีความต้องการให้มีการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จํานวน 4 ข้อ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์นั้น มีกระบวนการขั้นตอนที่จะต้องดําเนินการอย่างไรจนสามารถแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นั้นได้ให้อธิบายตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ตั้งแต่เริ่มต้นว่าต้องมีลูกจ้างจํานวนเท่าใด และกฎหมาย กําหนดให้ทําอย่างไรจนสามารถตกลงกันได้แล้วเสร็จ

ธงคําตอบ

กรณีที่ในสถานประกอบการนั้นมีลูกจ้าง 100 คน ถ้าหากมีลูกจ้างจํานวนหนึ่งมีความต้องการ ให้มีการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จํานวน 4 ข้อ จะต้องดําเนินการตามกระบวนการขั้นตอนตามที่ บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ตั้งแต่การแจ้งข้อเรียกร้องของลูกจ้างจนถึงมีการจัดทําข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างดังต่อไปนี้ คือ

ขั้นตอนการแจ้งข้อเรียกร้องของลูกจ้าง

1 ฝ่ายลูกจ้างจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องนั้นไปยังฝ่ายนายจ้าง โดยทําเป็นหนังสือแจ้งไปยัง ฝ่ายนายจ้าง (มาตรา 13 วรรคหนึ่ง) และข้อเรียกร้องดังกล่าวจะต้อง

(1) มีรายชื่อ และ

(2) มีลายมือชื่อ (ลายเซ็น) ของลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในจํานวนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 15 ของลูกจ้างทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้น คือต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่า 15 คน (มาตรา 13 วรรคสาม)

2 ในกรณีที่ลูกจ้างได้เลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาไว้แล้ว ให้ระบุชื่อผู้แทนผู้เข้าร่วม ในการเจรจามีจํานวนไม่เกิน 7 คน พร้อมกับการแจ้งข้อเรียกร้องด้วย ถ้าลูกจ้างยังมิได้เลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วม ในการเจรจา ให้ลูกจ้างเลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาและระบุชื่อผู้แทนผู้เข้าร่วมในการเจรจามีกําหนด ไม่เกิน 7 คน โดยมิชักช้า (มาตรา 13 วรรคสาม)

ขั้นตอนการเจรจา

เมื่อนายจ้างได้รับข้อเรียกร้องแล้ว ต้องแจ้งชื่อตนเองหรือผู้แทนเป็นหนังสือให้ฝ่ายลูกจ้างทราบ โดยมีชักช้า และให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มเจรจากันภายใน 3 วัน นับแต่วันที่นายจ้างได้รับข้อเรียกร้อง (มาตรา 16)

การทําข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและการจดทะเบียนข้อตกลง

1 ให้นายจ้างและลูกจ้างทําข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้ตกลงร่วมกันเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของนายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการของสหภาพแรงงาน แล้วแต่กรณี

2 ให้นายจ้างติดประกาศข้อตกลงดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผยภายใน 3 วัน นับแต่ที่ตกลงกัน เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน

3 ให้นายจ้างนําข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างไปจดทะเบียนต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดี มอบหมายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ตกลงกัน (มาตรา 18)

ผลผูกพันของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

1 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลผูกพันนายจ้าง และลูกจ้างซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้อง ตลอดจนลูกจ้างซึ่งมีส่วนในการเลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาทุกคน มาตรา 19 วรรคหนึ่ง)

2 เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้นายจ้างทําสัญญาจ้างแรงงาน กับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า (มาตรา 20)

Advertisement