การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4007 นิติปรัชญา
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ
ข้อ 1. ให้นักศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบทั้งในแง่ที่มาและเหตุผลพื้นฐานของบทสรุปที่ว่ากฎหมายเกิดจากเจตจํานง/จิตวิญญาณของประชาชาติ (Volksgeist) กับบทสรุปที่ว่ากฎหมายเป็นเจตจํานงหรืออาวุธ ของชนชั้นปกครองที่บัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องอํานาจหรือผลประโยชน์ของตน ในทัศนะของนักศึกษา บทสรุปใดดังกล่าวมีความถูกต้องหรือสมจริงมากกว่ากันในยุคสมัยปัจจุบันเมื่อพิจารณาจากบริบท ของสังคมไทยที่อยู่ภายใต้การปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ธงคําตอบ
บทสรุปที่ว่ากฎหมายเกิดจากเจตจํานง/จิตวิญญาณของประชาชาติ (Volksgeist) นั้น มีที่มาจาก “สํานักกฎหมายประวัติศาสตร์” ส่วนบทสรุปที่ว่ากฎหมายเป็นเจตจํานงหรืออาวุธของชนชั้นปกครองนั้น เป็น “ทฤษฎีกฎหมายของฝ่ายมาร์กซิสต์” (The Marxist Theory of Law)
สํานักกฎหมายประวัติศาสตร์ (Historical School of Law) มีแนวความคิดว่า กฎหมายไม่ใช่สิ่ง ที่ผู้มีอํานาจจะกระทําตามอําเภอใจโดยพลการ แต่กฎหมายเป็นผลผลิตของสังคมที่มีรากเหง้าหยั่งลึกลงไปในประวัติศาสตร์ของประชาชาติ กําเนิดและเติบโตจากประสบการณ์และหลักประพฤติทั่วไปของประชาชน ซึ่งปรากฏในรูปจารีตประเพณีหรือจิตวิญญาณร่วมของประชาชน กล่าวคือ สํานักคิดนี้อธิบายว่า กฎหมายคือ จิตวิญญาณร่วมกันของชนในชาติ และที่มาของกฎหมายคือ จารีตประเพณีนั้นเอง
เหตุผลที่แนวคิดของสํานักกฎหมายประวัติศาสตร์อธิบายเช่นนั้น เพราะพื้นฐานที่มาของเยอรมัน ในขณะนั้นได้รับอิสรภาพจากการปกครองของฝรั่งเศส ทําให้เกิดการปลุกกระแสความรักชาติด้วยอารมณ์ หัวใจและ จิตวิญญาณความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ และความพยายามสร้างกฎหมายที่กําเนิดและเกิดขึ้นมา จากประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชาติที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกันของคนเยอรมัน โดยมีพื้นฐานที่เกิดขึ้นมา พร้อม ๆ กับจารีตประเพณีที่คนในชาติปฏิบัติกันมาตั้งแต่ต้น กําเนิดและเติบโตหยั่งลึกลงไปในจิตวิญญาณของ ชนในชาติที่พร้อมจะยึดถือและปฏิบัติร่วมกัน กฎหมายของสํานักคิดนี้จึงถือเป็นจิตวิญญาณร่วมกันของคนในชาตินั้น และมีที่มาจากจารีตประเพณีที่มีความแตกต่างกับชาติอื่น ๆ และถือว่ากฎหมายของชาติหนึ่งจะนํากฎหมายของอีกชาติหนึ่งมาใช้ไม่ได้
มองโดยภาพรวมแล้วแนวความคิดของสํานักกฎหมายประวัติศาสตร์ เน้นไปที่เรื่องราวของอดีต เกือบทั้งหมด แม้นกระทั่งสิ่งที่เรียกว่า “จิตสํานึกร่วมของประชาชน” (Common Consciousness of the People) การที่จะรู้ถึงจิตสํานึกร่วมของประชาชนได้ก็โดยการศึกษาถึงภูมิประวัติศาสตร์ของชนชาตินั้น ๆ เป็นสํานัก ที่ยกย่องเชิดชูประวัติศาสตร์ รากฐานของสังคมในอดีต หรือการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในลักษณะอารมณ์ แบบโรแมนติก (Romantic) ให้ความสําคัญกับอดีตมากเกินไปจนละเลยต่อการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นในสังคม รวมถึงการละเลยถึงภูมิปัญญาของปัจเจกชน
ส่วน “ทฤษฎีกฎหมายของฝ่ายมาร์กซิสต์” (The Marxist Theory of Law) เป็นทฤษฎีทาง กฎหมายของคาร์ล มาร์กซ์ ที่มองกฎหมายว่าเป็นเพียงกลไกเพื่อรับใช้ประโยชน์ของคนบางกลุ่มบางชนชั้นที่มี อํานาจในสังคม มิใช่เป็นกลไกที่มีความเป็นอิสระในการใช้ประนีประนอมผลประโยชน์ขัดแย้งทั้งหลาย
เนื่องจากตัวมาร์กซ์เองแล้วเขาเป็นคนค่อนข้างจะเย้ยหยันต่อบทบาทของกฎหมายในระบบทุนนิยม จึงทําให้มีการสรุปธรรมชาติหรือบทบาทของกฎหมายเป็น 3 ประการ คือ
1 กฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ โดยที่รูปแบบและเนื้อหาของกฎหมายจะแปรเปลี่ยนไปตามความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในสังคมนั้น ๆ โดยมองว่า สังคม ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของสังคม ล้วนถูกกําหนดโดยระบบการผลิตหรือระบบเศรษฐกิจ ที่เป็นอยู่ ซึ่งสมมติให้เป็นโครงสร้างส่วนบนของสังคมซึ่งวางอยู่บนฐานของระบบเศรษฐกิจหรือโครงสร้างส่วนล่าง ของสังคม ซึ่งกฎหมายก็ถือเสมือนว่าเป็นโครงสร้างส่วนบนของสังคม โดยที่รูปแบบและเนื้อหาของกฎหมายนั้น จะเป็นผลสะท้อนของระบบเศรษฐกิจหรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
2 กฎหมายเป็นเสมือนเครื่องมือหรืออาวุธที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้นเพื่อปกป้องอํานาจของตน กฎหมายเป็นเครื่องมือกดขี่ของชนชั้นปกครอง เป็นข้อสรุปที่มาจาก “คําประกาศของพรรคคอมมิวนิสต์” ที่มาร์กซ์ และเองเกลส์เขียนขึ้นเพื่อกล่าวเสียดสีกฎหมายของชนชั้นเจ้าสมบัติ จึงทําให้นักทฤษฎีมาร์กซิสต์ทั่วไปมอง กฎหมายว่าไม่ได้เกิดจากเจตนาร่วมหรือเจตจํานงทั่วไปของประชาชน แต่กฎหมายนั้นเป็นเพียงการแสดงออก ซึ่งเจตจํานงของชนชั้นปกครอง
3 ในสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์ กฎหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการควบคุมสังคม จะเหือดหาย (Writering Away) และสูญสิ้นไปในที่สุด เป็นการสรุปความเอาเองของบรรดาเหล่าสาวกของมาร์กซ์ ที่ตีความของบุคคลจากงานเขียนของเองเกลส์ ชื่อ “Anti-Dubring” ที่กล่าวพยากรณ์ว่า สังคมคอมมิวนิสต์ ในอนาคตรัฐหรือรัฐบาลของบุคคลจะเดือดหายไร้ความจําเป็นในการดํารงอยู่อีกต่อไป ซึ่งเองเกลส์พูดถึงแต่รัฐ เท่านั้นไม่ได้พูดถึงกฎหมาย
สําหรับในทัศนะของข้าพเจ้านั้น ในยุคสมัยปัจจุบันเมื่อพิจารณาจากบริบทของสังคมไทยที่อยู่ภายใต้ การปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นว่า บทสรุปของ “ทฤษฎีกฎหมายของฝ่ายมาร์กซิสต์” จะมีความถูกต้องหรือสมจริงมากกว่าทฤษฎีหรือแนวคิดของสํานักกฎหมายประวัติศาสตร์ ดังจะเห็นได้จาก ในการออกกฎหมายต่าง ๆ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ผู้ที่มีอํานาจในการจัดทํารัฐธรรมนูญก็เป็นคณะบุคคล ที่ คสช. แต่งตั้งขึ้นมา บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญก็จะมีลักษณะเอื้ออํานวยแก่ คสช. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้ อํานาจปกครองหรือในการบริหารราชการ รวมทั้งเมื่อบุคคลใน คสช. ต้องการจะสืบทอดอํานาจก็จะให้มีการกําหนด บทบัญญัติต่าง ๆ ไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของตนและพรรคพวกของตน เช่น นายกรัฐมนตรีไม่จําเป็นต้อง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือไม่จําเป็นต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ให้สมาชิกวุฒิสภาที่ตนแต่งตั้ง ขึ้นมามีสิทธิออกเสียงลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้ และที่สําคัญคือการกําหนดบทบัญญัติบางมาตราขึ้นมาเพื่อให้ ตนมีอํานาจกระทําการใด ๆ ได้โดยไม่ถือว่าการกระทํานั้น ๆ เป็นความผิด ทําให้ผู้มีอํานาจกระทําการใด ๆ ได้ ตามอําเภอใจ ทําให้ดูเสมือนว่าผู้มีอํานาจได้ออกกฎหมายมาแล้วนํากฎหมายนั้นเป็นเครื่องมือเพื่อกดขี่ประชาชน และเพื่อปกป้องอํานาจของตน โดยไม่สนใจถึงความรู้สึกและความต้องการของประชาชน และไม่เป็นไปตามหลักสากลที่นานาประเทศยอมรับ
หมายเหตุ นักศึกษาอาจมีความคิดเห็นเป็นอย่างอื่นได้ โดยให้เหตุผลที่เหมาะสมตามทฤษฎีของสํานักกฎหมายประวัติศาสตร์ และทฤษฎีกฎหมายของฝ่ายมาร์กซิสต์
ข้อ 2. จงอธิบายความหมายพื้นฐานของความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice) ทฤษฎีความยุติธรรมทางสังคมของรอลส์ (John Rawls) เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้หรือไม่ อย่างไร และในทัศนะของนักศึกษา การมุ่งสร้างความยุติธรรมทางสังคมที่เข้มแข็งสมบูรณ์จัดเป็นการกระทําที่ขัดต่อหลักกฎแห่งกรรมในพุทธศาสนาหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
ความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice) หรือ “ความยุติธรรมในการแบ่งสันปันส่วน” หรือ “ความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ” เป็นเรื่องเกี่ยวข้องโดยตรงกับวิถีทางจําแนกหรือแบ่งปันสิ่งซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์ หรือสิ่งอันมีคุณค่าในสังคม (เช่น ทรัพย์สิน, รายได้, ความสุข, การได้รับความพึงพอใจ, การได้รับการศึกษา) ให้แก่สมาชิกของสังคมอย่างถูกต้องเหมาะสม หรืออย่างเป็นธรรม ทั้งนี้โดยมีจุดมุ่งหมายสําคัญที่สุดในการ สร้างสรรค์และคงไว้ซึ่งความสมานฉันท์ กลมกลืนของสังคมโดยรวม
จอห์น รอลส์ นําเสนอทฤษฎีความยุติธรรมทางสังคมไว้ในงานเขียนเรื่อง “ทฤษฎีความยุติธรรม” ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เน้นความสําคัญของอิสรภาพของบุคคล
จอห์น รอลส์ นําเสนอโดยเริ่มจากการมองความยุติธรรมในฐานะที่เป็นความเที่ยงธรรมหรือ ความเที่ยงตรง ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากขั้นตอนหรือกระบวนการหาจุดยุติปัญหาที่เที่ยงธรรม ปราศจากอคติส่วนตัว โดยเขาได้จินตนาการถึงมนุษย์ในสถานการณ์ที่ทุกคนอยู่ใน “จุดเริ่มต้นภายใต้ม่านแห่งอวิชชา” ซึ่งเขาก็ได้กําหนดให้ มนุษย์ใน “จุดเริ่มต้น” รู้ว่าตนเองเป็นผู้มีเหตุผล มีอิสระ สนใจในผลประโยชน์ของตนเองและต่างมีความเสมอกัน พร้อมกันนั้นพวกเขาก็ตระหนักว่า พ้นจากฐานะแรกเริ่มอันเสมอกันนั้น มนุษย์ก็มีผลประโยชน์ที่มีทั้งเหมือนและ ต่างกัน กล่าวคือ รู้ถึงภาวะที่อาจมีผลประโยชน์ขัดแย้งกันและยังรู้ถึงข้อจํากัดของศีลธรรมและสติปัญญาของ มนุษย์ด้วยกันเอง
จอห์น รอลส์ ก็ให้พวกเขามืดบอดอยู่ภายใต้ “ม่านแห่งอวิชชา” กล่าวคือ ไม่ทราบถึง สถานะทางสังคมของตนที่ดํารงอยู่ ไม่ทราบถึงความสามารถโดยธรรมชาติ ไม่รู้ว่าอะไรเป็นคุณความดี ไม่รู้ถึง คุณสมบัติทางจิตวิทยา ไม่รู้ว่าตนอยู่ในสังคมยุคไหน เพียงทราบว่าตนอยู่ภายใต้ “เหตุแวดล้อมความยุติธรรม” ซึ่งหมายความว่า รู้ว่าอยู่ในสังคมที่ยังมีปัญหาเรื่องความยุติธรรมหรือรู้ว่าอยู่ในโลกแห่งความจํากัดขาดแคลน
ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวมาข้างต้น จอห์น รอสส์ เชื่อว่ามนุษย์ตามมโนภาพเช่นนี้จะเป็นผู้ให้ คําตอบเกี่ยวกับหลักความยุติธรรมได้อย่างเที่ยงธรรม แท้จริง เนื่องจากพวกเขาไม่ทราบถึงสถานะหรือตําแหน่ง ทางสังคมของตน ดังนั้นหากให้มนุษย์ในสถานการณ์นี้มาตกลงทําสัญญาประชาคมร่วมกัน มากําหนดหลักความ ยุติธรรมทางสังคม โดยธรรมชาติของการนึกถึงประโยชน์ของตนเอง ด้วยเหตุผล แน่นอนว่าพวกเขาจะต้องคิด สร้างหลักความยุติธรรมอย่างรอบคอบที่สุดหรือยุติธรรมอย่างแท้จริง
จากที่ จอห์น รอลส์ นําเสนอไว้ข้างต้น เขาก็สรุปว่าหลักความยุติธรรมที่มนุษย์ในจุดเริ่มต้นจะ ประกอบด้วยหลักการสําคัญ 2 ประการ คือ
1 หลักอิสระเสรีภาพอันเท่าเทียม กล่าวคือ มนุษย์แต่ละคนจําต้องมีสิทธิเท่าเทียมกันใน เสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างมากที่สุด ซึ่งเทียบเคียงได้กับเสรีภาพอันคล้ายคลึงกันในบุคคลอื่น ๆ
2 หลักความเสมอภาคโอกาสอันเท่าเทียม กล่าวคือ ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจและ สังคมต้องได้รับการจัดระเบียบให้เป็นธรรม
ทฤษฎีความยุติธรรมทางสังคมของ จอห์น รอลส์ ที่ประกอบด้วยหลักความยุติธรรม 2 ประการ ดังกล่าว จะเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยเฉพาะหลักในข้อ 2 ที่เน้นเรื่องความเสมอภาค ของโอกาสที่เป็นธรรม และความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ
การมุ่งสร้างความยุติธรรมทางสังคมที่เข้มแข็งสมบูรณ์ ลดความเหลื่อมล้ำ และช่วยเหลือผู้ยากไร้ ด้อยโอกาสนั้น ไม่ถือว่าเป็นการกระทําที่ขัดแย้งต่อหลักกฎแห่งกรรมในพุทธศาสนาแต่อย่างใด เพราะกฎแห่งกรรม ตามคติของพุทธศาสนาเมื่อเข้าใจอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว ย่อมตระหนักได้ว่าเป็นสากลที่ใช้กับมนุษย์ทุกหมู่เหล่า โดยไม่มีข้อยกเว้น ถือว่าทุกคนเป็นทายาทแห่งกรรมหมด ใครทํากรรมสิ่งใดย่อมได้รับกรรมตามนั้น (แม้ไม่ได้รับ ในชาตินี้ก็ย่อมปรากฎเห็นได้ในชาติหน้า ไม่มีผู้อื่นใดจะมารับแทนได้) มิได้หมายความว่าเฉพาะความยากจนเท่านั้น ที่เป็นเรื่องผลของกรรมเก่าเพียงอย่างเดียว
ข้อ 3. หลักจตุรธรรมแห่งปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิมภายใต้กรอบคิดในพระธรรมศาสตร์ มีเนื้อหาสาระที่ส่งเสริมหรือให้ความสําคัญต่อสิทธิเสรีภาพพื้นฐาน/ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเสมอภาค เท่าเทียมหรือไม่อย่างไร และนักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่เพราะเหตุใดต่อบทสรุปเรื่องทวิลักษณ์หรือ การมีมาตรฐานสองชั้น (Double Standard) ทางกฎหมาย/อํานาจในปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิม
ธงคําตอบ
“หลักจตุรธรรมแห่งปรัชญากฎหมายไทย” เป็นหลักบรรทัดฐานทางกฎหมายของพระธรรมศาสตร์ ที่สรุปอนุมานขึ้นมาจากเนื้อหาสาระสําคัญของพระธรรมศาสตร์ โดยอาจจะเรียกเป็นหลักบรรทัดฐานสูงสุดทาง กฎหมาย 4 ประการในพระธรรมศาสตร์ หรือหลักกฎหมายทั่วไป 4 ประการในพระธรรมศาสตร์ หรือหลัก กฎหมายธรรมชาติ 4 ประการในพระธรรมศาสตร์ก็ได้สุดแท้แต่จะเรียก ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1 กฎหมายมิได้เป็นกฎเกณฑ์หรือคําสั่งของผู้ปกครองแผ่นดินที่อาจมีเนื้อหาอย่างไรก็ได้ตามอําเภอใจ
2 กฎหมายต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับธรรมะหรือศีลธรรม
3 จุดหมายแห่งกฎหมายต้องเป็นไปเพื่อความสุขสถาพรหรือเพื่อประโยชน์ของราษฎร
4 การใช้อํานาจทางกฎหมายของพระมหากษัตริย์ (หรือผู้ปกครอง) ต้องกระทําบนพื้นฐานของหลักทศพิธราชธรรม
และเมื่อพิจารณาเนื้อหาสาระของหลักจตุรธรรมแห่งปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิมดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าไม่มีเนื้อหาที่ส่งเสริมหรือให้ความสําคัญต่อสิทธิเสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเสมอภาค เท่าเทียมกันของราษฎรแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะลักษณะที่สําคัญของปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิม จะต้องอยู่บน กระแสความคิดพื้นฐานในลักษณะธรรมนิยม กล่าวคือกฎหมายต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับธรรมะหรือศีลธรรม ซึ่งตั้งอยู่บนหลักพุทธธรรม พระธรรมศาสตร์ ทศพิธราชธรรม รวมทั้งจตุรธรรมแห่งกฎหมายไทยอันเป็นธรรมนิยมแบบพุทธ และขณะเดียวกันก็ถูกทับซ้อนด้วยความคิดอํานาจนิยมที่ผูกติดกับอิทธิพลความคิดฝ่ายพราหมณ์หรือฮินดู ลัทธิเทวราช และความเป็นจริยธรรมการเมืองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ผสมผสานหรือคู่ขนานกลมกลืนกันไป
เมื่อความคิดเชิงธรรมนิยมหรืออํานาจนิยมในปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิม มุ่งเน้นศีลธรรมแบบดั้งเดิม และอนุรักษนิยมภายใต้โครงสร้างสังคมแบบศักดินา ซึ่งไม่มีการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อัน เท่าเทียมกัน ดังนั้นการก่อตัวหรือพัฒนาวัฒนธรรมเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อันเท่าเทียมกัน ในสังคมไทยสมัยใหม่ จึงไม่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิมดังกล่าวนั้นแต่อย่างใด แต่จะได้รับอิทธิพลทางความคิดจากการปฏิรูปบ้านเมืองให้เป็นสมัยใหม่แบบตะวันตกตามแนวคิดเสรีนิยมตะวันตก โดยเริ่มมีการปฏิรูปตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 4 (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ) ซึ่งเกี่ยวพันกับเหตุปัจจัยอันซับซ้อน ทั้งกระแสปฏิรูปความคิดทางพุทธศาสนาแบบมนุษยนิยมและธรรมยุติกนิกาย อิทธิพลของวิทยาการตะวันตก การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนับจากการทําสัญญาเบาริงในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ได้รับพลังกดดันจากมหาอํานาจ ตะวันตก ตลอดจนเหตุปัจจัยทางการเมืองภายในอันเกี่ยวกับอํานาจเสนาบดีตระกูลบุนนาค
ซึ่งการก่อตัวหรือพัฒนาวัฒนธรรมเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ดังกล่าว ทําให้เกิดแผนการปฏิรูปสังคมไทยให้เข้าสู่แบบวิถีสังคมสมัยใหม่แบบตะวันตก และแผนปฏิรูปสังคมนับว่าเป็นเหตุ ที่มาของการปฏิรูปสถาบัน และองค์กรต่าง ๆ ตามมา รวมทั้งการปฏิรูประบบราชการ การคลัง และโดยเฉพาะ การปฏิรูปกฎหมาย ทําให้ปรัชญากฎหมายไทยแบบเดิมที่อิงอยู่กับพระธรรมศาสตร์ได้เสื่อมลงอย่างมาก พร้อมกันนั้น ปรัชญากฎหมายตะวันตกก็เริ่มปรากฏตัวขึ้น
และเมื่อพิจารณาจากภาพรวมทางความคิดแล้ว ข้าพเจ้าเห็นด้วยต่อบทสรุปเรื่องทวิลักษณ์หรือ การมีมาตรฐานสองชั้น (Double Standard) ทางอํานาจหรือกฎหมายในปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิม ทั้งนี้เพราะ ถึงแม้ว่าตามหลักปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิมนั้น จะตั้งอยู่บนกระแสความคิดพื้นฐานในลักษณะธรรมนิยม แต่ในขณะเดียวกันก็ถูกทับซ้อนด้วยแนวความคิดอํานาจนิยมที่ผูกติดกับอิทธิพลความคิดฝ่ายพราหมณ์หรือฮินดู ลัทธิเทวราช รวมทั้งแนวความคิดระบบศักดินา ซึ่งมีอิทธิพลเป็นอย่างมากในสมัยอยุธยา จนทําให้การใช้ พระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์หรือกฎหมายในปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิมมีลักษณะเป็นมาตรฐานสองชั้น ที่ซับซ้อน ตัวอย่างเช่น ในสมัยอยุธยานั้น พระราชโองการของพระมหากษัตริย์จะไม่ใช่คําสั่งของมนุษย์ผู้มีอํานาจ สูงสุดในแผ่นดินอีกต่อไป แต่กลายเป็นเทวโองการที่มนุษย์ธรรมดาไม่อยู่ในฐานะที่จะขัดแย้งหรือวิจารณ์หรือ แม้แต่จะแสดงความคิดเห็นไปในทางใดทั้งสิ้น เป็นต้น (นักศึกษาสามารถวิเคราะห์วิจารณ์ได้อย่างอิสระ โดยให้ เหตุผลที่เหมาะสม)