การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. จงอธิบายนิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทําได้โดยลําฟังและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมมาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทําได้โดยลําพังและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายโดยไม่ต้องได้รับ ความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ได้แก่ นิติกรรม ดังต่อไปนี้ คือ

1 นิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 22 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้เยาว์อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้น จากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง”

นิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียวนั้น แยกออกเป็น 2 กรณี คือ

1) นิติกรรมที่ทําให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่เสียสิทธิ หรือรับเอาหน้าที่อย่างใด ๆ เพิ่มขึ้นมา เช่น การที่ผู้เยาว์ตกลงรับเอาทรัพย์สินที่บุคคลอื่นยกให้โดยเสน่หา โดยไม่มี เงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันใด ๆ เป็นต้น

2) นิติกรรมที่ทําให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง ซึ่งเป็นการหลุดพ้นจาก หน้าที่โดยไม่มีเงื่อนไข หรือภาระติดพันใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น ผู้เยาว์ได้ทํานิติกรรมรับการปลดหนี้จากเจ้าหนี้ ทําให้ผู้เยาว์ หลุดพ้นจากหน้าที่ที่จะต้องชําระหนี้ เป็นต้น

2 นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทําเองเฉพาะตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 23 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้เยาว์ อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทําเองเฉพาะตัว”

คําว่า “นิติกรรมซึ่งเป็นการต้องทําเองเฉพาะตัว” ที่ผู้เยาว์สามารถทําได้โดยลําพังตนเองนั้น หมายถึงนิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทําด้วยตนเอง จะให้บุคคลอื่นทําแทนไม่ได้นั่นเอง เช่น การจดทะเบียนรับรองบุตร เพื่อให้เด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ หรือการทําพินัยกรรมในขณะที่ผู้เยาว์มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ เป็นต้น

3 นิติกรรมที่เป็นการอันจําเป็นในการดํารงชีพ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 24 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้เยาว์อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจําเป็นในการดํารงชีพตามสมควร”

ซึ่งนิติกรรมที่ได้รับการยกเว้นว่าผู้เยาว์สามารถกระทําได้โดยลําพัง โดยไม่ต้องได้ ความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมตามมาตรา 24 นี้ จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ คือ

1) ต้องเป็นนิติกรรมที่จําเป็นในการดํารงชีพจริง ๆ อันขาดเสียไม่ได้ และ 2) ต้องเป็นนิติกรรมที่สมแก่ฐานานุรูป และฐานะการเงินของผู้เยาว์ด้วย

 

ข้อ 2. นายเอต้องการซื้อที่ดินแปลงหนึ่งจากนายบี แต่นายที่ไม่ต้องการขายที่ดินแปลงดังกล่าว นายเอจึงไปหานายบีที่บ้านและบอกแก่นายบีว่า ถ้านายไม่ยอมขายที่ดินให้ตน ตนจะเปิดเผยความลับ ของนายบีให้ญาติของนายบีทราบ นายบีเกิดความกลัวจึงยอมทําสัญญาซื้อขายที่ดินกับนายเอ ดังนี้สัญญาซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าวมีการแสดงเจตนาที่บกพร่องอย่างไร และมีผลในทางกฎหมายอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 164 บัญญัติว่า “การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ

การข่มขู่ที่จะทําให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึง และร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว ซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้กระทําขึ้น”

“การข่มขู่” คือการใช้อํานาจบังคับว่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของบุคคลอื่น เพื่อให้เขาแสดงเจตนาทํานิติกรรมออกมาตามที่ผู้ข่มขู่ต้องการ โดยอาจจะข่มขู่ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายเป็นภัย แก่ผู้ถูกข่มขู่ หรือแก่สกุลผู้ถูกข่มขู่ หรืออาจจะเป็นความเสียหายเป็นภัยแก่ทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขู่ก็ได้

และตามกฎหมาย ถ้าการข่มขู่นั้นเป็นการข่มขู่ว่าจะก่อให้เกิดภัยที่ร้ายแรงทําให้ผู้ถูกข่มขู่กลัว และยอมทํานิติกรรมตามที่ผู้ข่มขู่ต้องการ นิติกรรมที่เกิดขึ้นย่อมตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 164

ตามปัญหา การที่นายเอต้องการซื้อที่ดินแปลงหนึ่งจากนายบี แต่นายบีไม่ต้องการขายที่ดิน แปลงดังกล่าว นายเอจึงไปหานายบีที่บ้านและบอกแก่นายบีว่า ถ้านายบีไม่ยอมขายที่ดินให้ตน ตนจะเปิดเผยความลับ ของนายบีให้ญาติของนายบีทราบนั้น การกระทําของนายเอถือว่าเป็นการข่มขู่นายบีแล้ว เพราะเป็นการใช้ อํานาจบังคับว่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่จิตใจของนายบี และเมื่อนายบีเกิดความกลัวจึงยอมทําสัญญาซื้อขายที่ดิน กับนายเอ การแสดงเจตนาทําสัญญาซื้อขายที่ดินของนายบีจึงเป็นการแสดงเจตนาที่บกพร่อง กล่าวคือถือว่า เป็นการแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่ และมีผลทําให้สัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวตกเป็นโมฆียะ

สรุป สัญญาซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าวมีการแสดงเจตนาที่บกพร่อง คือนายบีได้แสดงเจตนา เพราะถูกข่มขู่ และมีผลทางกฎหมายคือตกเป็นโมฆียะ

 

ข้อ 3. นายเมฆทําสัญญาซื้อขายโต๊ะกับนายหมอกจํานวน 500 ตัว ราคาตัวละ 800 บาท พอถึงกําหนดวันส่งมอบ นายหมอกนําโต๊ะมาส่งมอบให้นายเมฆจํานวน 300 ตัว ดังนี้ ถ้านายเมฆไม่พอใจและปฏิเสธไม่รับมอบโต๊ะทั้ง 300 ตัวนั้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 465 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับหน้าที่และ ความรับผิดของผู้ขายในกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์น้อยกว่าหรือมากกว่าที่ได้สัญญาไว้ หรือระคนกับทรัพย์สินอย่างอื่นที่มิได้รวมอยู่ในข้อสัญญา ไว้ดังนี้คือ

(1) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินน้อยกว่าที่ได้สัญญาไว้ ผู้ซื้อจะบอกปัดไม่รับเอาทรัพย์สินนั้น ก็ได้ หรือจะรับเอาทรัพย์สินนั้นแล้วใช้ราคาตามส่วนก็ได้

(2) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินมากกว่าที่ได้สัญญาไว้ ผู้ซื้อจะรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้เฉพาะ ที่ตกลงไว้ในสัญญาและนอกนั้นบอกปัดเสียก็ได้ หรือจะบอกปัดไม่รับเสียทั้งหมดก็ได้ หรือจะรับเอาไว้ทั้งหมด แล้วใช้ราคาตามส่วนก็ได้

(3) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินตามที่ได้สัญญาไว้ระคนกับทรัพย์สินอย่างอื่นที่มิได้รวมอยู่ใน ข้อสัญญา ผู้ซื้อจะรับเอาไว้เฉพาะทรัพย์สินตามสัญญาและนอกนั้นบอกปัดเสียก็ได้ หรือจะบอกปัดไม่รับเสีย ทั้งหมดก็ได้

กรณีตามปัญหา การที่นายเมฆทําสัญญาซื้อขายโต๊ะกับนายหมอกจํานวน 500 ตัว ราคาตัวละ 800 บาท พอถึงกําหนดวันส่งมอบ นายหมอกนําโต๊ะมาส่งมอบให้นายเมฆจํานวน 300 ตัวนั้น กรณีดังกล่าวถือ ได้ว่านายหมอกผู้ขายมิได้ปฏิบัติตามสัญญา กล่าวคือ ได้ส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์น้อยกว่าที่ได้ สัญญาไว้ ดังนั้น ตามกฎหมายผู้ซื้อย่อมมีสิทธิตามมาตรา 465 (1) คือ มีสิทธิที่จะบอกปัดไม่รับเอาทรัพย์สินนั้น หรือจะรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้แล้วใช้ราคาตามส่วนก็ได้

และตามปัญหา การที่นายเมฆผู้ซื้อไม่พอใจและปฏิเสธไม่รับมอบโต๊ะทั้ง 300 ตัวนั้น นายเมฆ ย่อมสามารถทําได้ เพราะเป็นสิทธิของนายเมฆผู้ชื่อตามมาตรา 465 (1) ดังกล่าว

สรุป ถ้านายเมฆไม่พอใจ นายเมฆสามารถปฏิเสธไม่รับมอบโต๊ะทั้ง 300 ตัวนั้นได้

 

ข้อ 4. ก. ตัวแลกเงินสามารถโอนให้กันได้โดยวิธีใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ข. เมื่อผู้เคยค้าออกเช็คสั่งให้ธนาคารใช้เงิน ธนาคารจําต้องใช้เงินตามคําสั่ง เว้นกรณีใดบ้างที่ธนาคารไม่จําเป็นต้องใช้เงินตามเช็คนั้น

ธงคําตอบ

(ก) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวเงินได้บัญญัติถึงวิธีโอนตั๋วแลกเงินไว้ดังนี้ คือ

1 ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อนั้นยอมโอนให้กันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ (มาตรา917 วรรคแรก)

2 ตั๋วแลกเงินสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ย่อมโอนกันได้ด้วยการส่งมอบให้แก่กัน (มาตรา 918)

3 การสลักหลังต้องเขียนลงในตัวแลกเงินและลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง โดยจะระบุชื่อของผู้รับสลักหลังด้วย หรือเพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้สลักหลังไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงินซึ่งเรียกว่า การสลักหลังลอยก็ได้ (มาตรา 919)

จากหลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าตั๋วแลกเงินนั้นสามารถโอนให้แก่ผู้อื่นได้โดยวิธีดังต่อไปนี้ คือ

1 ถ้าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ ผู้รับเงิน) การโอนย่อมสามารถทําได้โดยการ สลักหลังและส่งมอบ (มาตรา 917 วรรคแรก) หมายความว่าตัวแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ (ผู้รับเงิน) นั้น ถ้าจะ มีการโอนต่อไปให้แก่บุคคลอื่น การโอนจะมีผลสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมายก็ต่อเมื่อผู้โอนได้ทําการสลักหลังและ ส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่ผู้รับโอน (จะโอนโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้)

“การสลักหลัง” คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้โอน) ได้เขียนข้อความและลงลายมือชื่อของตนไว้ ในตั๋วแลกเงิน (หรือใบประจําต่อ) โดยอาจจะเป็นการ “สลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ)” หรืออาจจะเป็นการ “สลักหลังลอย”ก็ได้

(1) การสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หมายถึง การสลักหลังที่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับ สลักหลัง (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ในตั๋วแลกเงินด้วย โดยอาจจะทําที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วก็ได้

(2) การสลักหลังลอย หมายถึง การสลักหลังที่ไม่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ เพียงแต่ผู้สลักหลังได้ลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงินเท่านั้น (มาตรา 919 วรรคสอง)

ตัวอย่าง หนึ่งได้ออกตั๋วแลกเงินสั่งให้สองจ่ายเงินให้แก่สาม โดยระบุชื่อสามเป็นผู้รับเงิน ดังนี้ถ้าสามมีความประสงค์จะโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ต่อไปให้ ก. สามจะต้องลงลายมือชื่อของสามสลักหลังไว้ด้วย โดยสามอาจจะระบุชื่อ ก. ผู้รับสลักหลังลงไว้ในตัวด้วยซึ่งเรียกว่า การสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หรือสามอาจจะ ลงแต่ลายมือชื่อของสามไว้ที่ด้านหลังของตัวแลกเงินนั้น โดยไม่ระบุชื่อ ก. ผู้รับสลักหลังไว้ในตัวซึ่งเรียกว่าเป็น การสลักหลังลอยก็ได้

2 ถ้าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ การโอนถั่วชนิดนี้ย่อมสามารถทําได้โดยการ ส่งมอบตั๋วแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องมีการสลักหลังใด ๆ ทั้งสิ้น (มาตรา 918)

ตัวอย่าง หนึ่งออกตั๋วแลกเงินสั่งให้สองจ่ายเงินแก่ผู้ถือ และส่งมอบตั๋วนั้นให้แก่สาม ดังนี้ ถ้าสามมีความประสงค์จะโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ให้แก่ ก. สามสามารถโอนได้โดยการส่งมอบตั๋วให้แก่ ก. โดยที่สาม ไม่ต้องลงลายมือชื่อสลักหลังตั๋ว การโอนตั๋วดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์

(ข) เมื่อผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเช็คสั่งให้ธนาคารใช้เงิน โดยหลักแล้วธนาคารจําต้องใช้เงิน ตามคําสั่ง เว้นแต่ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ธนาคารมีสิทธิไม่ต้องใช้เงินตามเช็คนั้น (ป.พ.พ. มาตรา 991)

(1) ไม่มีเงินในบัญชีของผู้เคยค้าคนนั้น เป็นเจ้าหนี้พอที่จะจ่ายตามเช็คนั้น หรือ

(2) เช็คนั้นได้ยื่นเพื่อให้ใช้เงินเมื่อพ้นเวลา 6 เดือนนับแต่วันออกเช็ค หรือ

(3) ได้มีคําบอกกล่าวว่าเช็คนั้นหายหรือถูกลักไป

Advertisement