การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555
 
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2012 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย
 
คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)
ข้อ 1. นายเด่นเป็นเจ้าของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า นายเด่นได้ยื่นคำขอเอาประกันอัคคีภัยไว้กับบริษัทประกันวินาคภัยแห่งหนึ่ง กรมธรรม์มีกำหนดระยะเวลาคุ้มครอง 2 ปี จำนวนเงินเอาประกันภัยคือ 100 ล้านบาท แต่เนื่องจากโรงงานของนายเด่นอยู่ติดกับสถานีบริการน้ำมันและแก๊สจึงทำให้ต้องชำระเบี้ยประกันภัย 100,000 บาท แต่ถ้าเป็นโรงงานที่ไม่ติดกับสถานีบริการแก๊สและน้ำมัน บริษัทประกันเรียกเก็บเบี้ยประกันปีละ 40,000 บาท โดยนายเด่นผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันให้บริษัทประกันฯ เรียบร้อยแล้ว ต่อมาในระหว่างปีแรกของสัญญาประกันภัยสถานีบริการน้ำมันฯ ที่อยู่ติดกับโรงงานของนายเด่นถูกรื้อถอนปิดกิจการลง อยากทราบว่า นายเด่นมีสิทธิอย่างไร เพราะเหตุใด จงยกตัวบทอธิบาย
ธงคำตอบ
 
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 864 “เมื่อคู่สัญญาประกันภัยยกเอาภัยใดโดยเฉพาะขึ้นเป็นข้อพิจารณาในการวาง กำหนดจำนวนเบี้ยประกันภัย และภัยเช่นนั้นสิ้นไปหามีไม่แล้ว ท่านว่าภายหน้าแต่นั้นไปผู้เอาประกันภัยชอบที่จะได้ลดเบี้ยประกันภัยลงตามส่วน”
 
วินิจฉัย
 
กรณีตามอุทาหรณ์การที่นายเด่นซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า ได้ทำสัญญาประกันอัคคีภัย ไว้กับบริษัทประกับวินาศภัยโดยมีกรมธรรม์กำหนดระยะเวลาคุ้มครอง 2 ปี และบายเด่นผู้เอาประกับภัยได้ชำระเบี้ยประกันให้บริษัทประกันภัยเรียบร้อยแล้วเป็นจำนวน 100,000 บาท ตามที่บริษัทประกับภัยได้เรียกเก็บ ซึ่งจำนวน เบี้ยประกับภัยดังกล่าวนั้นนายเด่นและบริษัทประกันภัยได้พิจารณาจากภัยที่จะเกิดจากสถานีน้ำมันและแก๊ส โดยเฉพาะเป็นข้อกำหนดในการเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยซึ่งสูงขึ้นกว่าปกติจาก 40,000 บาท เป็น 100,000 บาท
และจากข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าสถานีบริการน้ำมันและแก๊สที่อยู่ติดกันโรงงานของนายเด่น ได้ถูกรื้อถอนปิดกิจการลง ย่อมถือว่าภัยโดยเฉพาะที่คู่สัญญาได้กำหนดไว้หมดสิ้นไป กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 864 ที่เมื่อขึ้นปีที่ 2 นายเด่นชอบที่จะได้ลดเบี้ยประกับภัยลงได้ โดยการชำระเบี้ยประกันภัยให้บริษัทประกันภัยเพียง 40,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราเบี้ยประกันภัยในกรณีการเสี่ยงภัยตามปกติ แต่จะขอลดเบี้ยประกันภัยในปีที่ 1 ไม่ได้
สรุป นายเด่นมีสิทธิขอลดเบี้ยประกันภัยลงได้ในปีที่ 2 ให้เหลือเพียง 40,000 บาท แต่จะลดเบี้ยประกันภัยในปีที่ 1 ไม่ได้ 

 

ข้อ 2. นายสมบูรณ์ทำสัญญาประกันอัคคีภัยบ้านของตนไว้กับบริษัทแดงในวันที่ 12 พฤษภาคม 2552 จำนวนเงินเอาประกัน 100,000 บาท ในวับที่ 14พฤษภาคม 2552 ได้ทำประกันอัคคีภัยบ้านหลังนี้อีก กับบริษัทดำ จำนวนเงินเอาประกัน 200,000 บาท ต่อมาภายในอายุสัญญาประกัน บ้านที่ทำประกัน ถูกไฟไหม้เสียหายไป 100,000 บาท ดังนี้ นายสมบูรณ์มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัท ประกันภัยทั้งสองบริษัทอย่างไรบ้าง เพราะเหตุใด

Advertisement

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 870 “ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองรายหรือกว่านั้นพร้อมกันเพื่อความวินาศภัยอันเดียวกัน และจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยรวมกันทั้งหมดนั้นท่วมจำนวนที่วินาศจริงไซร้ ท่านว่าผู้รับประโยชน์ ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพียงเสมอจำนวนวินาศจริงเท่านั้น ผู้รับประกันภัยแต่ละคนต้องใช้เงินจำนวน วินาศจริงแบ่งตามส่วนมากน้อยที่ตนได้รับประกันภัยไว้

อันสัญญาประกันภัยทั้งหลาย ถ้าลงวันเดียวกัน ท่านให้ถือว่าได้ทำพร้อมกัน

ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองรายหรือกว่านั้นสืบเนื่องเป็นลำดับกัน ท่านว่าผู้รับประกันภัย คนแรกจะต้องรับผิดเพื่อความวินาศภัยก่อน ถ้าและจำนวนเงินซึ่งผู้รับประกันภัยคนแรกได้ใช้นั้นยังไม่คุ้มจำนวน วินาศภัยไซร้ ผู้รับประกันภัยคนถัดไปก็ต้องรับผิดในส่วนที่ยังขาดอยู่นั้นต่อๆ กันไปจนกว่าจะคุ้มวินาศ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสมบูรณ์นำบ้านชองตนไปทำสัญญาประกันอัคคีภัยไว้กับบริษัทแดง ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2552 และต่อมาในวันที่ 14 พฤษภาคม 2552 ได้นำไปประกันไว้กับบริษัทดำอีกนั้น ถือเป็นเรื่องการประกันวินาศภัยหลายรายในวัตถุเดียวกันและเป็นสัญญาสืบต่อเนื่องกัน ซึ่งตามหลักในเรื่องการชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนกรณีเกิดวินาศภัยนั้น ผู้รับประโยชน์จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเท่าที่เสียหายจริง และตาม มาตรา 870 วรรคสามได้กำหนดไว้ว่า ถ้าผู้เอาประกันภัยได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองรายหรือกว่านั้นสืบเนื่องเป็นลำดับกัน ผู้รับประกันภัยคนแรกจะต้องรับผิดเพื่อความวินาศภัยก่อน ถ้าและจำนวนเงินซึ่งผู้รับประกันภัย คนแรกได้ใช้นั้นยังไม่คุ้มจำนวนวินาศภัย ผู้รับประกันภัยคนถัดไปก็ต้องรับผิดในส่วนที่ยังขาดอยู่นั้นต่อ ๆ กันไป จนกว่าจะคุ้มวินาศภัย

เมื่อข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ปรากฏว่า บ้านที่เอาประกันถูกไฟไหม้เสียหายเพียง 100,000 บาท ซึ่งบริษัทแดงที่ได้รับประกันไว้ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2552 ในวงเงิน 100,000 บาท จึงต้องรับผิดเพื่อความวินาศก่อน ดังนั้นนายสมบูรณ์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทแดงผู้รับประกันภัยรายแรกได้เต็มจำนวนเงินประกัน คือ 100,000 บาท และเมื่อได้รับเงินจากบริษัทแดง 100,000 บาทแล้ว ย่อมถือว่าคุ้มจำนวนวินาศภัยแล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทดำอีก

สรุป นายสมบูรณ์มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทแดงได้เต็มจำนวนเงินประกัน คือ 100,000 บาท แต่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทดำไม่ได้ เพราะจำนวนเงินที่บริษัทแดงได้ใช้ให้นั้นคุ้มจำนวน วินาศภัยแล้ว

 

ข้อ 3. ดำเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของขาวและเหลือง ดำได้ไปทำสัญญาประกันชีวิตของบิดามารดา โดยอาศัยเหตุแห่งการมรณะไว้กับบริษัท ประกันชีวิต จำกัด เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2555 โดยแยกเป็นสองกรมธรรม์ ๆ ละ 1 ล้านบาท สัญญากำหนด 5 ปี ระบุให้ตนเองเป็นผู้รับประโยชน์ ต่อมาวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 ขาวกับเหลืองได้ทะเลาะกันอย่างรุนแรงเนื่องจากขาวได้ไปติดพันหญิงอื่นทำให้ เหลืองไม่พอใจ ขาวบันดาลโทสะจึงใช้ปืนยิงเหลืองตาย และฆ่าตัวตายตามไปด้วย จงวินิจฉัยว่า บริษัทประกับชีวิตจะต้องจ่ายเงินตามสัญญาๆ ให้แก่ดำผู้รับประโยชน์อย่างไร หรือไม่

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด

มาตรา 895 “เมื่อใดจะต้องใช้จำนวนเงินในเหตุมรณะของบุคคลคนหนึ่งคนใด ท่านว่าผู้รับประกันภัยจำต้องใช้เงินนั้นในเมื่อมรณภัยอันนั้นเกิดขึ้น เว้นแต่

(1)           บุคคลผู้นั้นได้กระทำอัตวินิบาตด้วยใจสมัครภายในปีหนึ่งนับแต่วันทำสัญญา หรือ

(2)           บุคคลผู้นั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา

ในกรณีที่ 2 นี้ ท่านว่าผู้รับประกันภัยจำต้องใช้เงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือให้แก่ทายาทของผู้นั้น

วินิจฉัย

โดยหลัก เมื่อผู้เอาประกันชีวิต หรือผู้ถูกเอาประกันชีวิตได้ถึงแก่ความตาย บริษัทผู้รับประกัน จะต้องใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตนั้น เว้นแต่บุคคลนั้นจะได้กระทำอัตวินิบาตหรือฆ่าตัวตายด้วยใจสมัครภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญา หรือบุคคลนั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนาตามมาตรา 895

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ดำซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของขาวและเหลืองได้ไปทำสัญญา ประกันชีวิตของบิดามารดาของตนโดยอาศัยเหตุแห่งการมรณะไว้กับบริษัท ประกันชีวิต จำกัด และระบุให้ตนเองเป็นผู้รับประโยชน์นั้น ย่อมสามารถทำได้เพราะถือว่าดำผู้เอาประกันมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ตามมาตรา 863 สัญญาจึงมีผลผูกพันคู่สัญญา

เมื่อปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาได้ 1 ปี 2 วัน ขาวได้ฆ่าตัวตาย และได้ฆ่าเหลืองตายด้วย ดังนี้ เมื่อมีมรณภัยเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ถูกเอาประกัน บริษัทประกันชีวิตจึงต้องจ่ายเงินตามสัญญาให้แก่ดำผู้รับประโยชน์ ทั้ง 2 กรมธรรม ทั้งนี้เพราะกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 895 (1) หรือ (2) กล่าวคือ แม้ขาวจะฆ่าตัวตาย ด้วยใจสมัครแต่ก็เกินเวลา 1 ปีแล้ว และเหตุมรณะของเหลืองก็ไม่ได้เกิดจากดำซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนาแต่อย่างใด ดังนั้น บริษัทประกันชีวิตจึงอ้างข้อยกเว้นไม่ได้ทั้ง 2 กรณี และจะต้องจ่ายเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ ในสัญญา

สรุป บริษัทประกันชีวิตจะต้องจ่ายเงินตามสัญญาให้แก่ดำผู้รับประโยชน์ทั้ง 2 กรมธรรม์

Advertisement