การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3011 กฎหมายลักษณะพยาน
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ
ข้อ 1 โจทก์ฟ้องว่า จําเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างคนขับรถของจําเลยที่ 2 วันเกิดเหตุ จําเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกไปในทางการที่จําเลยที่ 2 ว่าจ้าง และด้วยความประมาท จําเลยที่ 1 ขับรถเฉี่ยวชนโจทก์ในขณะ กําลังเดินข้ามถนน เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส ยองเสียค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายอื่น รวมเป็นเงิน 50,000 บาท จําเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจําเลยที่ 1 ขอให้จําเลย ทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 50,000 บาท พอมดอกเบี้ย จําเลยทั้งสองให้การว่า จําเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถด้วยความประมาท เหตุเกิดเพราะรถบรรทุกเบรกแตก วันเกิดเหตุ จําเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกออกไปโดยพลการ เพื่อทํากิจส่วนตัวไม่ใช่งานตามคําสั่งของ จําเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าสินไหมทดแทนเคลือบคะ มเพราะไม่ได้บรรยายว่าค่ารักษาพยาบาล และค่าเสียหายอื่นนั้นมีรายการใดบ้าง ขอให้ยกฟ้อง ในวันชี้สองสถาน คู่ความแถลงร่วมกันว่า หลังเกิดเหตุ พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยที่ 1 ในความผิดฐานกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําเลยที่ 1 แล้ว ให้วินิจฉัยว่า คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นําสืบประการใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 84 “การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคดี จะต้องกระทําโดยอาศัยพยานหลักฐาน ในสํานวนคดีนั้น เว้นแต่
(1) ข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป
(2) ข้อเท็จจริงซึ่งม่อาจโต้แย้งได้ หรือ
(3) ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล”
มาตรา 84/1 “คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริง เพื่อสนับสนุนคําคู่ความของตนให้คู่ความ ฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น แต่ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายหรือมีข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่ง ปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์เพียงว่าตน ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว”
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 46 “ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจําต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคําพิพากษาคดีส่วนอาญา”
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 425 “นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้าง ในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทําไปในทางการที่จ้างนั้น”
มาตรา 437 วรรคหนึ่ง “บุคคลใดครอบครองหร่อควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใด ๆ อัน เดินด้วยกําลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง”
มาตรา 438 วรรคหนึ่ง “ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัย ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย ดังนี้คือ
1 คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทว่าอย่างไร
2 ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นําสืบตกแก่คู่ความฝ่ายใด
ประเด็นที่ 1 คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทว่าอย่างไร
คําว่า “ประเด็นข้อพิพาท” หมายถึง ข้ออ้างข้อเสียงในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ ฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างในคําคู่ความ และคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่รับ ดังนั้นปัญหาข้อใดที่ฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างและคู่ความ อีกฝ่ายหนึ่งรับแล้ว ย่อมไม่เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท
จากข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ โจทก์ฟ้องว่า
(1) จําเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างคนขับรถของจําเลยที่ 2
(2) จําเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกไปในทางการที่จ้า ของจําเลยที่ 2
(3) จําเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกด้วยความประมาทเฉียวชนโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับ อันตรายสาหัสและได้รับความเสียหายตามฟ้อง
จําเลยทั้งสองให้การว่า
(1) จําเลยที่ 1 ได้ขับรถด้วยความประมาท เหตุเกิดเพราะรถบรรทุกเบรกแตก
(2) จําเลยที่ 1 ได้ขับรถบรรทุกไปในทางการที่จ้างของจําเลยที่ 2
(3) ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเสียหายเคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายว่าค่ารักษาพยาบาลและ ค่าเสียหายอื่นนั้นมีรายการใดบ้าง
ในวันชี้สองสถาน คู่ความแถลงร่วมกันว่า หลังเกิดเหตุ พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลย ที่ 1 ในความผิดฐานกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และศาลชั้นต้นได้พิพากษาถึงที่สุด ให้ลงโทษจําเลยที่ 1 แล้ว
จากคําฟ้องของโจทก และคําให้การของจําเลยทั้งสอง รวมทั้งคําแถลงของคู่ความ จะเห็นได้ว่า มีประเด็นแห่งคดีที่คู่ความฟังได้เป็นยุติ ดังนี้คือ
1 ประเด็นตามฟ้องที่ว่า จําเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจําเลยที่ 2 นั้น จําเลยทั้งสองไม่ได้ ให้การปฏิเสธข้อเท็จจริงในส่วนนี้ จึงถือว่าจําเลยทั้งสองยอมรับข้อเท็จจริงในส่วนนี้แล้วตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84 (3) ดังนั้น ถ้าพิสูจน์ได้ว่าจําเลยที่ 1 ได้ขับรถบรรทุกตามฟ้องไปในทางการที่จ้างของจําเลยที่ 2 จําเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมกัน รับผิดกับจําเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425
2 ประเด็นที่ว่า จําเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกด้วยความประมาทเฉียวชนโจทก์นั้น เมื่อคดีนี้ เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และจากคําแถลงของคู่ความในวัน ชี้สองสถาน จําเลยที่ 1 ต้องคําพิพากษา ในคดีอาญาถึงที่สุดแล้วว่ามีความผิด ดังนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งสําหรับจําเลยที่ 1 ศาลจําต้องถือ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคําพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อาญา ราตรา 46 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่จําเลยที่ 1 ไม่อาจโต้แย้งได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84 (2) จําเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
3 คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะอันเดินด้วยกําลังเครื่องจักรกล อันเป็นมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 โจทก์จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานความรับผิดตามบท กฎหมายดังกล่าว แต่เนื่องจากจําเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีส่วนอาญาด้วย จําเลยที่ 2 จึงไม่ผูกพันตาม ข้อเท็จจริงในคําพิพากษาคดีส่วนอาญาของจําเลยที่ 1 แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อจําเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธโดยตั้ง ประเด็นเพื่อนําสืบหักล้างความรับผิดตามข้อสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา 437 ดังนั้น จึงไม่มีประเด็นนําสืบ
เมื่อข้อเท็จจริงเบื้องต้นในคดีนี้ฟังได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 และ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84 (2) และ (3) ว่า วันเกิดเหตุ จําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจําเลยที่ 2 ได้ขับรถบรรทุกด้วยความประมาทเฉียวชน โจทก์ และทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เนื่องจากได้รับอันตรายสาหัล ดังนั้นคดีนี้จึงมีประเด็นข้อพิพาท ดังนี้
1 จําเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกตามฟ้องไปในทางการที่จ้างของจําเลยที่ 2 หรือไม่
2 ฟ้องของโจทก์ในส่วนค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่
3 โจทก์เสียหาย เพียงใด ประเด็นที่ 2 ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นําสืบตกแก่คู่ความฝ่ายใด
สําหรับภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นําสืบนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84/1 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ ไว้ว่า ผู้ใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใด ผู้นั้นมีหน้าที่นําสืบ ซึ่งแยกพิจารณ ตามประเด็นข้อพิพาทได้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 ที่ว่าจําเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกตามฟ้องไปในทางการที่จ้างของจําเลยที่ 2 หรือไม่ เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าจําเลยที่ 1 ได้กระทําไปในทางการที่จ้าง แต่จําเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ ดังนั้นโจทก์ ซึ่งเป็นผู้กล่าวอ้างย่อมมีหน้าที่นําสืบตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84/1
ประเด็นที่ 2 ที่ว่าฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่ แม้จําเลยจะเป็นผู้กล่าว อ้างก็ตาม แต่ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลวินิจฉัยได้เอง ดังนั้น คู่ความไม่ต้องนําสืบ
ประเด็นที่ 3 ที่ว่าโจทก์เสียหายเพียงใด เมื่อโจทก์ กล่าวอ้างเรื่องความเสียหาย แม้จําเลยจะ ไม่ได้ให้การโต้แย้งจํานวนเงินค่าเสียหายด้วย หน้าที่นําสืบข้อนี้ก็ยังคงตกแก่โจทก์ กล่าวคือ เป็นหน้าที่ของฝ่าย ที่เรียกร้องจะต้องนําสืบถึงจํานวนค่าเสียหายให้ได้ตามที่ฟ้องมา แต่หากโจทก์ไม่นําสืบหรือนําสืบไม่ได้ตามฟ้อง ศาลก็มีอํานาจกําหนดค่าเสียหายให้โจทําได้เองตามสมควร โดยพิจารณาจากพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่ง ละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438
สรุป
คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นําสืบ ดังนี้
1 จําเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกไปในทางการที่จ้างของจําเลยที่ 2 หรือไม่ โจทก์มีหน้าที่นําสืบ
2 ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่ คู่ความไม่ต้องนําสืบ
3 โจทก์เสียหายเพียงใด โจทก์มีหน้าที่นําสืบ
ข้อ 2 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานลักทรัพย์ จําเลยให้การปฏิเสธ ขั้นพิจารณา โจทก์นําพยานบุคคลสืบเพื่อพิสูจน์ว่าจําเลยกระทําความผิดตามฟ้อง คือ
(1) นายหนึ่งผู้เสียหายประจักษ์พยานเบิกความว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุ จําเลยได้ลักเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปตามฟ้อง แต่ก่อนเบิกความผู้เสียหายไม่ได้สาบานหรือกล่าวคําปฏิญาณตนด้วย ความพลั้งเผลอ โดยได้สาบานตนต่อหน้าศาลหลั จากเบิกความเสร็จแล้วทันทีในวันนั้นว่าข้อความที่ตนเบิกความไปแล้วเป็นความจริง
(2) นายสองประจักษ์พยานเบิกความตอบข้อซักถามโจทก์จนจบยืนยันว่า จําเลยกระทําความผิดตามฟ้อง แล้วศาลให้เลื่อนคดีไปให้จําเลยซักค้านนัดหน้าเพราะหมดเวลาราชการเสียก่อน
ในวันนัดนายสองไม่ได้มาเบิกความตอบข้อซักค้าน ยองจําเลยเพราะถึงแก่กรรมไปเสียก่อน
(3) สิบตํารวจโทสามผู้จับกุมจําเลยเบิกความตามบันทึก การจับกุมที่สิบตํารวจโทสามเป็นผู้ทําขึ้นว่าชั้นจับกุมจําเลยให้ถ้อยคํารับสารภาพว่าลักทรัพย์ขอ ผู้เสียหายตามข้อกล่าวหาด้วยความสมัครใจ รายละเอียดตามบันทึกการจับกุมที่อ้างส่งศาล
(4) นายสี่เบิกความว่า หลังเกิดเหตุไม่ถึงอึดใจนายเดงบอกแก่นายสี่ว่า นายแดงเห็นจําเลยซึ่งนายแดงรู้จักมาก่อนลักทรัพย์ของผู้เสียหายตามฟ้อง โดยสอดคล้องกับคําเบิกความของนายหนึ่งผู้เสียหาย และ
(5) นายห้าประจักษ์พยานซึ่งเป็นญาติกับนายหนึ่งผู้เสียหายเบิกความว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุนายห้าเห็นจําเลยซึ่งไม่เคยรู้จักมาก่อนลักเอาทรัพย์ของนายหนึ่งผู้เสียหายไปตามฟ้อง
ให้วินิจฉัยว่า พยานโจทก์ดังกล่าวรับฟังเพื่อลงโทษจําเลยตามฟ้องได้หรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 95 วรรคหนึ่ง “ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใด เว้นแต่บุคคลนั้น
(1) สามารถเข้าใจและตอบคําถามได้
(2) เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วย ตนเองโดยตรง…”
มาตรา 112 “ก่อนเบิกความพยานทุกคนต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณี แห่งชาติของตน หรือกล่าวคําปฏิญาณว่าจะให้การตามความสัตย์จริงเสียก่อน เว้นแต่…”
มาตรา 117 “คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานชอบที่จะตั้งข้อซักถามพยานได้ในทันใดที่พยานได้ สาบานตนและแสดงตนตามมาตรา 112 และ 116 แล้ว …
เมื่อคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานได้ซักถามพยานเสร็จแล้ว คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชอบที่จะถามค้าน พยานนั้นได้
เมื่อได้ถามค้านพยานเสร็จแล้ว คู่ความฝ่ายที่อ้างทยานชอบที่จะถามติงได้
…”
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 15 “วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวล กฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ เท่าที่พอจะใช้บังคับได้”
มาตรา 84 วรรคสี่ “ถ้อยคําใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตํารวจในชั้นจับกุม หรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคํานั้นเป็นคํารับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทําความผิด ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน…”
มาตรา 226/3 “ข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนํามาเบิกความต่อศาล หรือที่ บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุอื่นใดซึ่งอ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาล หากนำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น ให้ถือเป็นพยานบอกเล่า
ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่
(1) ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจร่งแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่า จะพิสูจน์ความจริงได้”
มาตรา 227 วรรคหนึ่ง “ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ําหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษา ลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทําผิดจริง และจําเลยเป็นผู้กระทําความผิดนั้น”
วินิจฉัย กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้
(1) ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 95 ซึ่งนํามาใช้ในคดี บาญาได้ด้วย (ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 15) ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ไว้ว่า พยานบุคคลที่ศาลจะรับฟังนั้นจะต้องสามารถเข้าใจและตอบคําถามได้ และจะต้อง เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็น พยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรงที่เรียกว่า ประจักษ์พยาน และตาม ป.วิ.แพ่ง ซึ่งนํามาใช้ในคดีอาญาได้ด้วยเช่นกันนั้นมีหลักเกณฑ์ว่า ก่อนเบิกความ พยานต้องสาบานตนหรือกล่าวคําปฏิญาณว่าจะให้การตามความสัตย์จริงเสียก่อน พยานบุคคลที่เบิกความโดยมิได้ สาบานตนหรือปฏิญาณตนย่อมรับฟังไม่ได้ แต่อย่างไรก็ดี พยานบุคคลที่เปกความโดยมิได้สาบานตนหรือปฏิญาณตน โดยความพลั้งเผลอ หากให้การหรือเบิกความจบแล้ว ได้สาบานตนรับรองต่อศาลว่าข้อความที่ตนเบิกความไปแล้ว เป็นความจริง ถือได้ว่ามีการสาบานตนตามความมุ่งหมายของกฎหมายแล้ว คําเบิกความนั้นรับฟังได้ (คําพิพากษา ฎีกาที่ 693/2487 และ 217/2488)
ดังนั้น คําเบิกความของนายหนึ่งผู้เสียหายที่ก่อนเบิกความไม่ได้สาบานตนหรือกล่าว คําปฏิญาณตนด้วยความพลั้งเผลอ โดยได้สาบานตนต่อหน้าศาลหลังจากเบิกความเสร็จแล้วนั้นทันทีในวันนั้นว่า ข้อความที่ตนเบิกความไปแล้วเป็นความจริง จึงรับฟังได้
(2) หลักเกณฑ์การถามพยานบุคคลในศาลตาม ปวิ.แพ่ง มาตรา 117 ซึ่งนํามาใช้ในคดีอาญา ได้ด้วย (ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 15) นั้น ได้กําหนดลําดับของการถามพยานบุคคลไว้ว่า ฝ่ายที่อ้างพยานมาจะ ถามพยานของตนก่อนเรียกว่า “ซักถาม” เมื่อถามเสร็จแล้วให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งถามค้านพยานนั้นได้เรียกว่า “ถามค้านหรือซักค้าน” เสร็จแล้วคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานมาจะถามพยานของตนได้อีกครั้งหนึ่งเรียกว่า “ถามติง” แต่อย่างไรก็ดี กฎหมายมิได้บัญญัติว่า หากพยานยังไม่ได้ตอบถามค้านหรือซักค้านแล้ว ห้ามมิให้รับฟังพยาน บุคคลปากนั้น ดังนั้น การที่นายสองประจักษ์พยานโจทก์ไม่ได้มาเบิกความตอบถามค้านหรือซักค้านของจําเลย เพราะถึงแก่กรรมไปก่อนวันนัด ก็มิใช่ความผิดของฝ่ายโจทก์ ศาลจึง มีอํานาจรับฟังคําเบิกความของนายสอง ประจักษ์พยานโจทก์ดังกล่าวได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ 6333/2539)
(3) ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 84 วรรคสี่ มีหลักว่า ถ้อยคําที่เป็นคํารับสารภาพของผู้ถูกจับว่า ตนได้กระทําความผิดที่ให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน ดังนั้น การที่สิบตํารวจโทสาม ผู้จับกุมจําเลยเบิกความตามบันทึกการจับกุมที่สิบตํารวจโทสามเป็นผู้ทําขึ้นว่า ชั้นจับกุมจําเลยให้ถ้อยคํารับสารภาพ ว่าลักทรัพย์ของผู้เสียหายตามข้อกล่าวหาด้วยความสมัครใจนั้นก็เป็นเพียงการยืนยันถึงข้อเท็จจริงตามคําให้การ รับสารภาพของจําเลยในชั้นจับกุม ซึ่งต้องห้ามมิให้รับฟังตามบทบัญญัติดังกล่าวเช่นกัน (คําพิพากษาฎีกาที่ 1850/2555) คําเบิกความของสิบตํารวจโทสามจึงรับฟังไม่ได้
(4) การที่นายสี่เบิกความว่า หลังเกิดเหตุไม่ถึงอึดใจนายแดงบอกแก่นายสี่ว่า นายแดง เห็นจําเลยซึ่งนายแดงรู้จักมาก่อนลักทรัพย์ของผู้เสียหายตามฟ้องนั้น ย่อมถือว่านายสี่เป็นพยานบอกเล่าและ ห้ามมิให้ศาลรับฟังตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 226/3
แต่อย่างไรก็ดี เมื่อพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงแวดล้อมที่หลังเกิดเหตุไม่ถึงอึดใจ นายแดง ก็บอกแก่นายสี่ว่า นายแดงเห็นจําเลยซึ่งรู้จักกันมาก่อนโดยไม่ปรากฏว่า สาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนด้วย ได้ลักเอา ทรัพย์ของผู้เสียหายไปตามฟ้องและสอดคล้องกับคําเบิกความของนายหนึ่งผู้เสียหาย จึงเห็นได้ว่านายแดงได้บอกแก่ นายสี่พยานโจทก์ในระยะเวลากระชั้นชิดกับที่เหตุเกิด นายแดงยังไม่มีโอกาสไตร่ตรองเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงเป็น อย่างอื่นเพื่อปรักปรําใส่ร้ายจําเลยให้ต้องรับโทษ ดังนั้น คําเบิกความของนายสี่พยานบอกเล่าของโจทก์จึงรับฟังได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 226/3 (1) (คําพิพากษาฎีกาที่ 63/2533)
(5) ไม่มีกฎหมายโดห้ามมิให้รับฟังคําเบิกความของพยานที่เป็นญาติกัน หากศาลเห็นว่า พยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และชอบด้วยเหตุผล พอให้รับฟังได้ว่าเป็นความจริง ศาลก็มี อํานาจรับฟังคําเบิกความของพยานดังกยาวได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ 13 /2539) ดังนั้น ตามอุทาหรณ์ เมื่อนายห้า ประจักษ์พยานโจทก์เป็นเพียงญาติกับผู้เสียหายเท่านั้นโดยไม่เคยรู้จักกับจําเลยมาก่อน จึงไม่มีสาเหตุที่จะมาเบิกความ กลั่นแกล้งจําเลยให้ต้องได้รับโทษ คําเบิกความของนายห้าประจักษ์พยานโจทก์จึงรับฟังได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 95 ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 15
ดังนั้น กรณีตามอุทาหรณ์ คําเบิกความของพยานโจทก์คือนายหนึ่ง นายสอง นายสี่ และ นายห้า จึงรับฟังเพื่อลงโทษจําเลยตามฟ้องได้ ส่วนจะเพียงพอให้แน่ใจ ว่ามีการกระทําผิดตามฟ้องและจําเลยเป็น ผู้กระทําผิดนั้นหรือไม่ ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 227 วรรคหนึ่ง ส่วนคําเบิกความของสิบตํารวจโทสามพยานโจทก์ผู้จับกุมจําเลยรับฟังไม่ได้
สรุป
คําเบิกความของนายหนึ่ง นายสอง นายสี่ และนายห้าพยานโจทก์รับฟังได้ ส่วนคํา เบิกความของสิบตํารวจโทสามพยานโจทก์ผู้จับกุมจําเลยรับฟังไม่ได้
ข้อ 3 โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จําเลยออกจากตึกแถวของโจทก์ที่จําเลยเช่า จําเลยให้การว่า “การเช่าตึกพิพาทมีข้อตกลงให้จําเลยช่วยค่า ก่อสร้างตึกพิพาทแล้วยกกรรม สิทธิ์ให้โจทก์ โดยโจทก์สัญญาว่าจะให้จําเลย เช่าตึกพิพาทมีกําหนด 25 ปี เพียงแต่ทําสัญญาเช่าและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีกําหนด 12 ปีก่อน ครบกําหนดแล้วโจทก์จะให้เช่าต่ออีก 13 ปีเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าการเช่า ธรรมดา ขอให้ยกฟ้อง” และจําเลยขอนํานายทศพลผู้เป็นพยานบุคคลในวันทําสัญญาเช่าดังกล่าว เข้าสืบ กรณีนี้จะสามารถนํานายทศพลเข้าสืบได้หรือไม่ อย่างไร
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 94 “เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟัง พยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี
(ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนําเอกสารมาแสดง
(ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นําเอกสารมาแสดงแล้วว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก
แต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (2) แห่งมาตรา 93 และมีให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนําพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่าพยานเอกสาร ที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ใน เอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีความหมายผิด”
วินิจฉัย
โดยหลักแล้ว เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ย่อมต้องห้ามมิให้นํา พยานบุคคลมาสืบแทนพยานเอกสาร ในเมื่อไม่สามารถนําเอกสารมาแสดง หรือขอสืบพยานบุคคลประกอบ ข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นําเอกสารมาแสดงแล้วว่ายังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข ข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีกตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 94 วรรคหนึ่ง
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จําเลยออกจากตึกแถวของโจทก์ที่จําเลยเช่า จําเลยให้การว่า การเช่าตึกพิพาทมีข้อตกลงให้จําเลยช่วยค่าก่อสร้างตึก พิพาทแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ โดยโจทก์ สัญญาว่าจะให้จําเลยเช่าตึกพิพาทมีกําหนด 25 ปี เพียงแต่ทําสัญญาเช่าและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มี กําหนด 12 ปีก่อน ครบกําหนดแล้วโจทก์จะให้เช่าต่ออีก 13 ปี เป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา และขอนํานายทศพลผู้เป็นพยานบุคคลในวันทําสัญญาเช่าดังกล่าวเข้าสืบนั้น เป็นกรณีที่จําเลยจะขอนําพยานบุคคล เข้ามาสืบถึงเหตุที่จําเลยมีสิทธิเช่าต่ออีก เพราะได้ออกเงินค่าก่อสร้างให้โจทก์เป็นการตอบแทน ซึ่งเท่ากับ เป็นการนําสืบหักล้างสัญญาเช่านั้นไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา แต่เป็นสัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษ มิใช่เป็นการ นําสืบว่ายังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีกแต่อย่างใด จึงไม่ต้องห้าม ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 94 (ข) ดังนั้น จําเลยจึงสามารถนํานายทศพลเข้าสืบได้
สรุป จําเลยชอบที่จะนํานายทศพลเข้าสืบได้