การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3011 กฎหมายลักษณะพยาน
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ
ข้อ 1 ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง โจทก์ฟ้องว่า จําเลยเป็นน้องสาวโจทก์ จําเลยค้าขายขาดทุนจึงมากู้ยืมเงินโจทก์หนึ่งล้านบาทและได้รับเงินดังกล่าวไปเรียบร้อยแล้วตามหนังสือสัญญากู้ยืมเอกสารท้ายคําฟ้องขอให้ ศาลบังคับจําเลยชําระเงินกู้พร้อมดอกเบี้ย นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชําระครบถ้วน จําเลยให้การว่า จําเลยขอโต้แย้งว่าโจทก์ไม่ใช่พี่สาวที่แท้จริงของจําเลย จําเลยไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใดกับโจทก์และไม่เคย กู้ยืมเงินหรือรับเงินไปจากโจทก์ตามฟ้อง หนังสือสัญญากู้ยืมเอกสารท้ายคําฟ้องมีลายมือชื่อผู้ให้กู้ เป็นสามีโจทก์และลายมือชื่อผู้กู้มิใช่ของจําเลย หนังสือสัญญากู้ยืมเป็นเอกสารปลอมขอให้ยกฟ้อง ในวันชี้สองสถาน โจทก์แถลงขอส่งหนังสือสัญญากู้ยืมไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อผู้กู้ซึ่งการนี้ให้จําเลยเสียค่าใช้จ่ายกึ่งหนึ่งด้วย ทนายจําเลยจึงแถลงไม่ติดใจโต้เถียงในข้อที่ว่าหนังสือ สัญญากู้ยืมเป็นเอกสารปลอมอีกต่อไป ดังนี้ให้วินิจฉัยว่า
(1) คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทและภาระการพิสูจน์ประการใดบ้าง
(2) ถ้าปรากฏว่า ในวันชี้สองสถาน โจทก์และทนายจําเลยแถลงร่วมกันให้ส่งหนังสือสัญญากู้ยืมตามฟ้องไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ ถ้าผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าลายมือชื่อผู้กู้ในหนังสือสัญญากู้ยืม เป็นลายมือชื่อของจําเลยจริง จําเลยยอมแพ้คดี ถ้าไม่ใช่ลายมือชื่อของจําเลย โจทก์ยอมแพ้คดี ศาลจึงส่งเอกสารดังกล่าวพร้อมด้วยตัวอย่างลายมือชื่อของจําเลยไปให้ผู้เชี่ยวชาญทําการ ตรวจพิสูจน์ ต่อมาผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าลายมือชื่อผู้กู้ในหนังสือสัญญากู้ยืมกับลายมือชื่อ ของจําเลยตามตัวอย่างน่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน แต่จําเลยโต้แย้งผลการ ตรวจพิสูจน์ว่าไม่ตรงตามที่ตกลงกันไว้และขอให้ศาล ทําการสืบพยานต่อไป เช่นนี้ ศาลจะดําเนินกระบวนพิจารณาต่อไปอย่างไร และคู่ความฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายชนะคดี
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 84/1 “คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคําคู่ความของตนให้คู่ความ ฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น แต่ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายหรือมีข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็น ซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์เพียงว่าตนได้ ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว”
มาตรา 177 วรรคสอง “ให้จําเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคําให้การว่า จําเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น”
วินิจฉัย
(1) กรณีตามอุทาหรณ์ มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย ดังนี้ คือ
1) คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทประการใดบ้าง และ
2) ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นําสืบตกแก่คู่ความฝ่ายใด
ประเด็นที่ 1 คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทประการใดบ้าง
คําว่า “ประเด็นข้อพิพาท” หมายถึง ข้ออ้างข้อเถียงในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ที่ฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างในคําคู่ความ และคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่รับ ดังนั้นปัญหาข้อใดที่ฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างและคู่ความ อีกฝ่ายหนึ่งรับแล้ว ย่อมไม่เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องว่า จําเลยเป็นน้องสาวโจทก์ จําเลยกู้ยืมเงินโจทก์ 1 ล้านบาท และจําเลยได้รับเงินดังกล่าวไปเรียบร้อยแล้วตามหนังสือสัญญากู้ยืมเอกสารท้ายคําฟ้อง
และจําเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่พี่สาวที่แท้จริงของจําเลย จําเลยไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใดกับ โจทก์และไม่เคยกู้ยืมเงินหรือรับเงินไปจากโจทก์ตามฟ้อง หนังสือสัญญากู้ยืมเอกสารท้ายคําฟ้องมีลายมือชื่อผู้ให้กู้ เป็นสามีโจทก์และลายมือชื่อผู้กู้มิใช่ของจําเลย หนังสือสัญญากู้ยืมเป็นเอกสารปลอม
ดังนั้น จากคําฟ้องและคําให้การจึงมีประเด็นที่คู่ความโต้แย้งกัน คือ
(1) จําเลยเป็น น้องสาวที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่
(2) จําเลยกู้ยืมและรับเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องแล้วหรือไม่ และ
(3) หนังสือสัญญา กู้ยืมท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอมหรือไม่
จากประเด็นตามคําให้การที่ว่าจําเลยเป็นน้องสาวที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่นั้น ไม่มีผล กระทบกระเทือนถึงผลของคดี (ไม่ใช่สาระสําคัญของคดี) จึงไม่ต้องกําหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท (คําพิพากษาฎีกาที่ 2940/2526) ส่วนประเด็นในข้อที่ว่าหนังสือสัญญากู้ยืมท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอมหรือไม่นั้น เมื่อจําเลยแถลง สละประเด็นตามคําให้การแล้ว ก็ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทด้วยเช่นกัน (คําพิพากษาฎีกาที่ 3784/2553) ดังนั้น คดี คงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงประการเดียวว่า จําเลยกู้ยืมและรับเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องแล้วหรือไม่ แต่เนื่องจาก จําเลยให้การปฏิเสธโดยไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธตามมาตรา 177 วรรคสอง จําเลยจึงไม่มีประเด็นสืบแก้
ประเด็นที่ 2 ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นําสืบตกแก่คู่ความฝ่ายใด
สําหรับภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นําสืบนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84/1 ได้กําหนด หลักเกณฑ์ไว้ว่า ผู้ใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใด ผู้นั้นมีหน้าที่นําสืบ
ตามข้อเท็จจริง ประเด็นข้อพิพาทที่ว่าจําเลยกู้ยืมและรับเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องแล้ว หรือไม่นั้น เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้าง และจําเลยให้การปฏิเสธ ดังนั้น โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจําเลยกู้ยืมและ รับเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84/1
(2) กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลจะดําเนินกระบวนพิจารณาต่อไปอย่างไร และคู่ความฝ่ายใด จะเป็นฝ่ายชนะคดีนั้น เห็นว่า คําแถลงร่วมกันของโจทก์และจําเลยตามข้อเท็จจริงนั้นมีลักษณะเป็นคําท้าว่า ให้ ถือเอาผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญเป็นข้อแพ้ชนะคดี ดังนั้น เมื่อศาลส่งลายมือชื่อของจําเลยในสัญญากู้ยืม กับตัวอย่างลายมือชื่อของจําเลยไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ และผู้เชี่ยวชาญทําการตรวจพิสูจน์แล้วมีความเห็น ว่าน่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวจึงเป็นการยืนยันหรือทํานอง ยืนยันว่าเป็นลายมือชื่อของจําเลยตรงตามคําท้าของโจทก์จําเลยแล้ว จําเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคําท้า จําเลยจะโต้แย้งเป็นอย่างอื่นมิได้ ดังนั้น ศาลจึงไม่ต้องดําเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป แต่ต้องตัดสินให้โจทก์ เป็นฝ่ายชนะคดีตามคําท้า (คําพิพากษาฎีกาที่ 12183/2547)
สรุป
(1) คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทว่า จําเลยกู้ยืมและรับเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องแล้วหรือไม่และภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์
(2) ศาลไม่ต้องดําเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป และโจทก์จะเป็นฝ่ายชนะคดี
ข้อ 2 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยตามพระราชบัญญัติการพนั้น จําเลยให้การปฏิเสธ ชั้นพิจารณาโจทก์นําสืบโดยไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นการเล่นการพนันของจําเลยตามฟ้อง มีแต่คําให้การรับสารภาพโดย สมัครใจของจําเลยในชั้นสอบสวนที่โจทก์อ้างส่งเป็นพยานต่อศาล ส่วนจําเลยนําสืบอ้างฐานที่อยู่ แต่ ตอนอ้างตนเองเข้าเบิกความ จําเลยตอบคําถามค้านของโจทก์รับว่าจําเลยเล่นการพนันตามฟ้องจริง ให้วินิจฉัยว่า ศาลลงโทษจําเลยตามฟ้องได้หรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 233 “จําเลยอาจอ้างตนเองเป็นพยานได้ ในกรณีที่จําเลยอ้างตนเองเป็นพยานศาลจะให้เข้าสืบก่อนพยานอื่นฝ่ายจําเลยก็ได้ ถ้าคําเบิกความของจําเลยนั้นปรักปรําหรือเสียหายแก่จําเลยอื่น จําเลยอื่นนั้น ซักค้านได้
ในกรณีที่จําเลยเบิกความเป็นพยาน คําเบิกความของจําเลยย่อมใช้ยันจําเลยนั้นได้ และศาล อาจรับฟังคําเบิกความนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้”
วินิจฉัย
ในคดีอาญานั้น กรณีที่จําเลยเบิกความเป็นพยาน คําเบิกความของจําเลยย่อมสามารถใช้ยัน จําเลยนั้นเองได้ และศาลอาจรับฟังคําเบิกความของจําเลยนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์เพื่อพิจารณา ตัดสินคดีได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 233 วรรคสอง)
กรณีตามอุทาหรณ์ ตอนจําเลยอ้างตนเองเข้าเบิกความ การที่จําเลยตอบคําถามค้านของโจทก์ รับว่า จําเลยเล่นการพนันตามฟ้องจริงนั้น ย่อมสามารถใช้ยันจําเลยได้ และศาลสามารถรับฟังคําเบิกความของ จําเลยดังกล่าวไปประกอบคําให้การรับสารภาพโดยสมัครใจของจําเลยในชั้นสอบสวนที่โจทก์อ้างส่งเป็นพยานต่อ ศาลได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 233 วรรคสอง และเมื่อไม่ปรากฏว่าคําให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจําเลย ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้น แม้จําเลยจะให้การปฏิเสธในชั้นศาล ศาลก็ลงโทษจําเลยตามฟ้องได้
สรุป ศาลสามารถลงโทษจําเลยตามฟ้องได้
ข้อ 3 โจทก์กับจําเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จําเลย เป็นการตอบแทนที่จําเลยไถ่ถอนจํานองที่ดินพิพาทที่โจทก์เป็นหนี้ธนาคารอยู่ อันเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุจําเลยประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. มาตรา 535(2) ต่อมา จําเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ โจทก์จึงฟ้องถอนคืนการให้ขอให้บังคับจําเลยโอนที่ดินพิพาทและ ส่งมอบที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ ดังนี้ หากในหนังสือสัญญาให้ที่ดินระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หา ไม่มีค่าตอบแทน จําเลยสามารถนําสืบพยานบุคคลให้เห็นว่าการให้ตามสัญญาให้ที่ดินเป็นการให้ สิ่งที่มีค่าภาระติดพันได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 94 “เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟัง พยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยินยอมก็ดี
(ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนําเอกสารมาแสดง
(ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นําเอกสารมาแสดงแล้วว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก
แต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (2) แห่งมาตรา 93 และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนําพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้าง พยานเอกสารที่ แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้น ไม่สมบูรณ์ หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด”
วินิจฉัย
โดยหลักแล้ว เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ย่อมต้องห้ามมิให้นํา พยานบุคคลมาสืบแทนพยานเอกสาร ในเมื่อไม่สามารถนําเอกสารมาแสดง หรือขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นําเอกสารมาแสดงแล้วว่ายังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความ ในเอกสารนั้นอยู่อีก เว้นแต่กรณีอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ที่สามารถนําสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารได้ คือ
1 กรณีต้นฉบับเอกสารสูญหาย หรือถูกทําลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือไม่สามารถนําต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น
2 พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอม
3 พยานเอกสารที่แสดงนั้นไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือบางส่วน
4 สัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์
5 คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด
กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า จําเลยสามารถนําสืบพยานบุคคลตามข้อเท็จจริง ที่กล่าวอ้างได้หรือไม่ เห็นว่า แม้สัญญาให้ที่ดินระหว่างโจทก์กับจําเลยจะเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องนํา พยานเอกสารมาแสดง (เพราะสัญญาให้ที่ดินกฎหมายบังคับไว้ว่าจะต้องทําเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่) ก็ตาม แต่การที่โจทก์ฟ้องถอนคืนการให้ที่ดินแก่จําเลยนั้น ไม่ใช่การฟ้องร้องให้บังคับหรือ ไม่บังคับตามสัญญาให้ที่ดินแต่อย่างใด ดังนั้น จึงไม่ใช่กรณีการนําสืบพยานบุคคลเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 94(ข) จําเลยจึงสามารถนําสืบพยานบุคคลให้เห็นว่าการให้ตามสัญญา ให้ที่ดินเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันได้
สรุป
จําเลยสามารถนําสืบพยานบุคคลให้เห็นว่าการให้ตามสัญญาให้ที่ดินเป็นการให้สิ่งที่มี ค่าภาระติดพันได้