การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2012 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี 3 ข้อ

ข้อ1 นายเก่งเป็นเจ้าของบ้านราคา 3 ล้านบาท ได้ยื่นเอาประกันอัคคีภัยไว้กับบริษัทประกันอัคคีภัยแห่งหนึ่ง วงเงินเอาประกัน 2 ล้านบาท มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี หลังจากทำสัญญาประกันภัยไป 3 เดือ นายเก่งขายบ้านที่เอาประกันให้นายขวดราคา 5 ล้านบาท โดยทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ อีก 1 เดือนต่อมาไฟไหม้บ้านที่เอาประกับภัยหมดทั้งหลัง อยากทราบว่าสัญญาประกันภัยยังคงผูกพันหรือไม่ เพราะเหตุใด จงยกตัวบทอธิบาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัย ไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด

มาตรา 869 “อันคำว่า วินาศภัย” ในหมวดนี้ท่านหมายรวมเอาความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้

วินิฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเก่งซึ่งเป็นเจ้าของบ้านได้ยื่นเอาประกันอัคคีภัยไว้กับบริษัทประกับภัยแห่งหนึ่งนั้น จะเห็นได้ว่าในขณะที่นายเก่งได้เอาบ้านไปทำสัญญาประกันอัคคีภัยไว้นั้น นายเก่งเป็นเจ้าของและมีกรรมสิทธ์ในบ้านหลังนั้น

จึงถือว่านายเก่งมีความสัมพันธ์คือมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันกันไว้ ซึง ส่วนได้เสียนั้นจะต้องพิจารณาขณะทำสัญญาประกันภัยด้วย เมื่อปรากฏว่าขณะทำสัญญาประกันภัยนายเก่งยัง ไม่ได้ขายบ้าน จึงถือว่านายเก่งผู้เอาประกันภัยมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันไว้แล้วตามมาตรา 863

และเมื่อการทำสัญญาประกันภัยรายนี้เป็นสัญญาประกันวินาศภัย ซึ่งเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นนายเก่งสามารถตีราคาความเสียหายออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้ตามมาตรา 869 คือ 3 ล้านบาทตามราคาบ้าน ดังนั้นสัญญาประกันภัยระหว่างนายเก่งกับบริษัทประกันภัยจึงมีผลผูกพันคู่สัญญา

สรุป สัญญาประกันภัยยังคงผูกพันคู่สัญญา

 

ข้อ 2. นายวีรภาพทำสัญญาเอาประกันวินาศภัยรถยนต์ของตนไว้กับบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง โดยประกันภัยประเภทที่ 1 คือ คุ้มครองทุกอย่าง รวมทั้งความเสียหายที่เกิดกับตัวรถที่เอาประกันด้วย วงเงินเอาประกัน 5 แลนบาท

ในระหว่างอายุสัญญานายเอกภาพขับรถโดยประมาทชนท้ายรถของนายวีรภาพเสียหาย บริษัทประกันภัยจึงนำรถยนต์ของบายวีรภาพไปให้นายโชคดีซ่อม คิดเป็นเงิน 5 หมื่นบาท แต่บริษัทประกันยังมิได้จ่ายค่าซ่อมรถให้แก่นายโชคดีเจ้าของอู่

เมื่อซ่อมรถของนายวีรภาพเสร็จ นายวีรภาพได้รับมอบรถไปแล้ว บริษัทประกันภัยเรียกร้องให้นายเอกภาพ จ่ายค่าซ่อมรถ แต่นายเอกภาพปฏิเสธ ดังนี้ บริษัทประกันภัยมีสิทธิเรียกค่าซ่อมรถ 5 หมื่นบาทจาก นายเอกภาพได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 438 วรรคสอง อนึ่งค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่ การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย

มาตรา 880 วรรคแรก ‘‘ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของบุคคลภาบนอกไซร้ ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวนเพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิชองผู้เอาประกันภัย และของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น

วินิจฉัย

โดยหลัก ถ้าความวินศภัยได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของบุคคลภายนอก เมื่อผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว กฎหมายได้ให้สิทธิผู้รับประกันภัยที่จะรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยไปเรียกร้องเอาจากบุคคลภายนอกนั้นได้ตามมาตรา 880 วรรคแรก

กรณีตามอุทาหรณ์ นายวีรภาพทำสัญญาเอาประกับวินาศภัยรถยนต์ชองตนไว้กับบริษัทประกันภัย และในระหว่างอายุสัญญานายเอกภาพได้ขับรถโดยประมาทชนท้ายรถของนายวีรภาพเสียหาย กรณีนี้ ถือว่าความวินาศภัยได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของนายเอกภาพซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแล้ว และการที่บริษัทประกันภัย ได้นำรถยนต์คันดังกล่าวไปให้นายโชคดีซ่อมจนใช้การได้

และส่งมอบรถยนต์ให้นายวีรภาพแล้วนั้น ถือว่าเป็นการคืนทรัพย์ตามมาตรา 438 วรรคลอง ซึ่งถือได้ว่าผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัยแล้ว (เทียบฎีกาที่ 1006/2503) ดังนั้น บริษัทประกันภัยจึงสามารถเข้ารับช่วงสิทธิชองนายวีรภาพผู้เอาประกันภัย เรียกค่าซ่อมรถยนต์ 5 หมื่นบาทจากนายเอกภาพได้ตามมาตรา 880 วรรคแรก

ส่วนการที่บริษัทประกันภัยติดค้างค่าซ่อมรถ ซึงยังมิได้ชำระให้แก่นายโชคดีเจ้าองอู่นั้น เป็นหนี้ตามสัญญาจ้างทำของระหว่างบริษัทประกันภัยกับนายโชคดีซึ่งเป็นหนี้ต่างหากจากกัน ไม่เกี่ยวกับการที่บริษัทประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้นายวีรภาพ

สรุป บริษัทประกันภัยมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน 5 หมื่นบาท จากนายเอกภาพได้ เพราะเป็นกรณีที่บริษัทประกันภัยเข้ารับช่วงสิทธิตามมาตรา 880

 

ข้อ 3. หนึ่งกับสองเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย มีบุตรชายคนหนึ่งคือสาม สามได้ไปทำสัญญา ประกันชีวิตของสองมารดาของตนไว้กับบริษัทประกันชีวิต จำกัด เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2554 จำนวนเงินที่เอาประกัน 2 ล้านบาท สัญญากำหนด 5 ปี ระบุให้ตนเองเป็นผู้รับประโยชน์

ต่อมา วันที่ 1 มีนาคม 2554 สามก็ได้ไปทำสัญญาประกันชีวิตของหนึ่งบิดาอีกกรมธรรม์หนึ่งไว้กับบริษัทเดียวกันนั้น จำนวนเงินที่เอาประกัน 1 ล้านบาท สัญญากำหนด 5 ปี โดยระบุให้สามเป็นผู้รับประโยชน์อีกเช่นกัน

ต่อมาวันที 1 กุมภาพันธ์ 2555 หนึ่งกับสองทะเลาะกันอย่างรุนแรง เนื่องจก หนึ่งไปติดพันสีซึ่งเป็นสาวสวยข้างบ้านจึงทำให้สองเกิดการหึงหวง หนึ่งบันดาลโทสะจึงใช้ปืนยิงสองถึงแก่ความตายและด้วยความเสียใจในเหตุที่เกิดขึ้นเขาจึงได้ยิงตัวตายตามสองไป สามจึงไปขอรับเงิน จากบริษัทประกันชีวิตตามสัญญาทั้ง 2 กรณีดังกล่าว

จงวินิจฉัยว่าบริษัทจะต้องชดใช้เงินหรือปฏิเสธ ไม่ใช้เงินแก่สาม เนื่องจากเหตุการตายของหนึ่งและสองได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 863 “อับสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด

มาตรา 895 “เมื่อใดจะต้องใช้จำนวนเงินในเหตุมรณะของบุคคลคนหนึ่งคนใด ท่านว่าผู้รับประกันภัยจำต้องใช้เงินนั้นในเมื่อมรณภัยอันนั้นเกิดขึ้น เว้นแต่

(1)           บุคคลผู้นั้นได้กระทำอัตวินิบาตด้วยใจสมัครภายในปีหนึ่งนับแต่วันทำสัญญา หรือ

(2)           บุคคลผู้นั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา

ในกรณีที่ 2 นี้ท่านว่าผู้รับประกันภัยจำต้องใช้เงินค่าไถถอนกรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือให้แก่ทายาทของผู้นั้น 

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่สามซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหนึ่งและสอง ได้ไปทำสัญญาประกันชีวิตของสองมารดาของตน และได้ไปทำสัญญาประกันชีวิตของหนึ่งบิดาอีกกรมธรรมหนึ่งไว้กับบริษัท ประกันชีวิต จำกัด โดยระบุให้ตนเองเป็นผู้รับประโยชน์นั้น ย่อมสามารถทำได้เพราะถือว่าสามผู้เอาประกัน มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ตามมาตรา 863 สัญญาจึงมีผลผูกพันคู่สัญญา

แต่อย่างไรก็ตาม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 895 ผู้รับประกันภัยสามารถปฏิเสธการใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตได้ ในกรณีที่

1.             บุคคลผู้ถูกเอาประกันชีวิตกระทำอัตวินิบาตด้วยใจสมัครภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญา

2.             บุคคลผู้ถูกเอาประกันชีวิตถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา

ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์บริษัทจะต้องชดใช้เงินหรือปฏิเสธไม่ใช้เงินแก่สาม เนื่อจากเหตุ การตายของหนึ่งและสองได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีที่หนึ่งใช้ปืนยิงตัวตาย ถือว่าเป็นกรณีที่ผู้ถูกเอาประกับชีวิตกระทำอัดวินิบาตด้วยใจสมัครภายใน 1 ปีนับแต่วันทำสัญญา ดังนั้นบริษัทจึงปฏิเสธการใช้เงินให้แก่สามตามสัญญาประกันชีวิตได้ตาม มาตรา 895(1)

ส่วนกรณีที่หนึ่งใช้ปืนยิงสองตายแม้เป็นการฆ่าสองตายโดยเจตนา แต่หนึ่งมิใช่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกับชีวิต จึงไม่ถือว่าเป็นกรณีที่บุคคลผู้ถูกเอาประกันชีวิตถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา ตามมาตรา 895(2) ดังนั้นบริษัทจึงปฏิเสธไม่ใช้เงินแก่สามตามสัญญาประกันชีวิตไม่ได้ บริษัทจะต้องชดใช้เงินให้แก่สาม

สรุป บริษัทสามารถปฏิเสธไม่ใช้เงินแก่สามเนื่องจากการตายของหนึ่งได้ แต่จะต้องชดใช้เงินไปให้แก่สาม เนื่องจากการตายของสองจะปฏิเสธไม่ใช้เงินแก่สามไม่ได้

Advertisement