การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายนําโชคขับรถยนต์ชนรถยนต์ที่นายมะละกอขับเป็นเหตุให้นายนําโชคและนายกฤตพนธ์ซึ่งโดยสารมาในรถยนต์ที่นายมะละกอขับได้รับอันตรายสาหัส พนักงานอัยการเห็นว่านายมะละกอ เป็นฝ่ายประมาทฝ่ายเดียวจึงเป็นโจทก์ฟ้องนายมะละกอในข้อหากระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ศาลชั้นต้น ประทับฟ้อง นายมะละกอให้การปฏิเสธ ต่อมานายนําโชคเป็นโจทก์ฟ้องนายมะละกอในข้อหา เดียวกันอีก และนายกฤตพนธ์เป็นโจทก์ฟ้องนายนําโชคว่านายนําโชคกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ นายกฤตพนธ์ได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 เช่นกัน ทั้งสองคดีหลังศาลชั้นต้นนัดไต่สวนมูลฟ้องแต่นายนําโชคและนายกฤตพนธ์โจทก์ในสองคดีหลัง ต่างยื่นคําร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้รวมการพิจารณาคดีเข้ากับคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง นายมะละกอ ศาลชั้นต้นอนุญาต พร้อมกับมีคําสั่งในสองคดีหลังว่า กรณีนี้เป็นกรณีเดียวกับคดีที่ พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายมะละกอ จึงให้งดไต่สวนมูลฟ้อง แล้วประทับฟ้องไว้พิจารณา

ดังนี้ คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ประทับฟ้องสองคดีหลังชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 162 “ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่งต่อไปนี้

(1) ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ ให้ไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าคดีนั้นพนักงานอัยการได้ฟ้องจําเลย โดยข้อหาอย่างเดียวกันด้วยแล้ว ให้จัดการตามอนุมาตรา (2)

(2) ในคดีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ไม่จําเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้ ไต่สวนมูลฟ้องก่อนก็ได้

ในกรณีที่มีการไต่สวนมูลฟ้องดังกล่าวแล้ว ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพให้ศาลประทับฟ้องไว้ พิจารณา

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 162 วรรคแรก (1) กําหนดว่า ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง จําเลยต่อศาล ศาลจะต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อน แต่ถ้าคดีนั้นพนักงานอัยการได้ฟ้องจําเลยในข้อหาอย่างเดียวกัน ด้วยแล้ว ให้ศาลจัดการตามอนุมาตรา (2) กล่าวคือ ศาลไม่จําเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้องแต่อย่างใด

กรณีตามอุทาหรณ์ คดีที่นายนําโชคเป็นโจทก์ฟ้องนายมะละกอนั้น แม้พนักงานอัยการจะฟ้อง นายมะละกอไว้แล้ว แต่เมื่อปรากฏว่านายนําโชคเป็นผู้เสียหายก็ย่อมมีอํานาจฟ้องนายมะละกอเป็นคดีใหม่ได้อีก และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้รวมการพิจารณาเข้าด้วยกัน อีกทั้งเป็นการฟ้องนายมะละกอในข้อหาเดียวกันด้วย ศาลชั้นต้นจึงไม่จําเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้องอีกตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 162 ดังนั้น คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดไต่สวน มูลฟ้องและประทับฟ้องคดีที่นายนําโชคเป็นโจทก์ฟ้องนายมะละกอนั้นจึงขอบด้วยกฎหมายแล้ว

สําหรับคดีที่นายกฤตพนธ์เป็นโจทก์ฟ้องนายนําโชคนั้น แม้จะเป็นการฟ้องในข้อหาเดียวกันกับ คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายมะละกอก็ตาม แต่จําเลยทั้งสองคดีไม่ใช่จําเลยคนเดียวกันจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 162 วรรคแรก (1) ที่ศาลชั้นต้นจะจัดการตามอนุมาตรา (2) ได้ ศาลชั้นต้นจึงต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อน ดังนั้น คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดไต่สวนมูลฟ้องแล้วประทับฟ้องคดีที่นายกฤต นธ์เป็นโจทก์ฟ้องนายนําโชคจึง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ประทับฟ้องคดีที่นายนําโชคเป็นโจทก์ฟ้องนายมะละกอชอบด้วย กฎหมาย แต่คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ประทับฟ้องคดีที่นายกฤตพนธ์เป็นโจทก์ฟ้องนายนําโชคไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. นายพิศทรรตฟ้องขอให้ลงโทษนายกระทิงจําเลยฐานลักทรัพย์ในเคหสถานหรือรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, 335 (8), 357 โดยฟ้องถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ ในวันนัดสืบพยานโจทก์ นายกระทิงจําเลยแถลงต่อศาลขอให้การรับสารภาพ ศาลบันทึกคําให้การ จําเลยว่าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ในวันเดียวกันนั้นนายกระทิงจําเลยยืน คําให้การมีข้อความว่า จําเลยขอถอนคําให้การเดิมและขอให้การรับสารภาพในความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 โจทก์จําเลยแถลงไม่สืบพยาน ดังนี้ ศาลจะพิพากษาลงโทษ จําเลยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 “ผู้ใดผู้นั้นกระทําความผิดฐานลักทรัพย์ ต้อง ระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินหกพันบาท” ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 “ผู้ใดลักทรัพย์ (8) ในเคหสถาน ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปีและปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท” ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 “ผู้ใด ผู้นั้นกระทําความผิดฐานรับของโจร ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ”

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 176 วรรคแรก “ในชั้นพิจารณา ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกําหนดอัตราโทษ อย่างต่ำไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลย ได้กระทําผิดจริง”

วินิจฉัย

ในชั้นพิจารณา กรณีที่ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคแรกนั้น จะต้องเป็นกรณีที่จําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยแน่ชัดว่าได้กระทํา ความผิดฐานใด หากคํารับสารภาพของจําเลยไม่ชัดเจนพอที่จะฟังได้ว่าจําเลยรับสารภาพว่าได้กระทําความผิดฐานใด กรณีเช่นนี้ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยไม่ได้ เป็นหน้าที่โจทก์ที่ต้องนําสืบพยานหลักฐานว่าจําเลยกระทําความผิด ฐานใด หากโจทก์ไม่ประสงค์จะนําสืบต่อไป ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด เห็นว่า คําให้การของ นายกระทิงครั้งแรกที่ศาลบันทึกไว้ว่า จําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการนั้น แม้จะไม่ได้ความชัดแจ้งว่า จําเลยรับสารภาพในความผิดข้อหาใดก็ตาม แต่เมื่อต่อมาจําเลยยื่นคําให้การอีกฉบับหนึ่งมีความว่า จําเลยขอถอน คําให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 334 ศาลจึงฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจําเลยกระทําความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 334 และเมื่อปรากฏว่า ความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 334 มิใช่คดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ําให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่ หนักกว่านั้น ศาลจึงพิพากษาลงโทษจําเลยตาม ป.อาญา มาตรา 334 ได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคแรก (เทียบคําพิพากษา ฎีกาที่ 4129/2543)

ส่วนความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหะสถานและรับของโจรตาม ป.อาญา มาตรา 335 (8) และ 357 นั้น เมื่อคําให้การใหม่ของจําเลยขอให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์เพียงความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 334 เท่านั้น จึงมีผลเท่ากับจําเลยปฏิเสธคําฟ้องโจทก์ในความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 335 (8) และ 357 ดังนั้นจึงเป็น หน้าที่ของโจทก์จะต้องนําพยานหลักฐานมาสืบให้ได้ความถึงการกระทําผิดของจําเลย เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงเท่ากับ โจทก์ไม่ติดใจที่จะให้ศาลลงโทษจําเลยในความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 335 (8) และ 357 อีกต่อไป ศาลจะมี คําพิพากษาลงโทษจําเลยไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคแรก

สรุป ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยตาม ป.อาญา มาตรา 334 ได้ แต่จะพิพากษาลงโทษจําเลย ตาม ป.อาญา มาตรา 335 (8) และ 357 ไม่ได้

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2556 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จําเลยลักทรัพย์เอาสร้อยคอทองคําของนางสาวระรินไปโดยใช้กําลังประทุษร้าย ขอให้ลงโทษจําเลยฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 339 ศาลพิจารณาได้ความจากพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบว่า ในคืนเกิดเหตุ จําเลย ไม่ได้ใช้กําลังประทุษร้ายนางสาวระรินผู้เสียหาย จําเลยเพียงแต่ใช้มือซ้ายดึงคอเสื้อของผู้เสียหาย แล้วใช้มือขวากระชากสร้อยคอทองคําหนัก 1 สลึง ที่นางสาวระรินสวมใส่อยู่ที่คอขาดติดมือไป การกระทําของจําเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง แต่เป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวย เอาซึ่งหน้าซึ่งเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ดังนี้ ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคแรก วรรคสอง วรรคสี่ และวรรคหก “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกิน คําขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญและทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลย ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดังกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็น เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจําเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ

ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลจะลงโทษจําเลยในการกระทําผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพียงใด เห็นว่า การที่โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจําเลยฐานชิงทรัพย์ แต่ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า จําเลยกระทําความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ดังนี้เมื่อโจทก์มิได้ บรรยายฟ้องระบุองค์ประกอบความผิดว่า จําเลยลักทรัพย์โดยกิริยาฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นองค์ประกอบความผิด ฐานวิ่งราวทรัพย์ และคําขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 336 จึงเป็น เรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ ดังนั้น ศาลจะลงโทษจําเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ตามที่พิจารณา ได้ความไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคแรกและวรรคสี่

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อความผิดฐานชิงทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่าง อาจเป็นความผิดได้ในตัวเอง เมื่อศาลพิจารณาได้ความจากพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบว่าจําเลยกระทําความผิด ฐานวิ่งราวทรัพย์ ซึ่งเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า แม้ศาลจะลงโทษจําเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ไม่ได้ศาลก็ ลงโทษจําเลยฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตาม ป.อาญา มาตรา 335 (1) ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบกับองค์ประกอบ อย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192

สรุป

ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนได้ แต่จะพิพากษาลงโทษ จําเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้

 

ข้อ 4. คดีอาญาเรื่องหนึ่ง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจําเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ลงโทษประหารชีวิต แต่เนื่องจากคําให้การของจําเลยในชั้นสอบสวนบางส่วนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี ลดโทษให้ จําเลยหนึ่งในสามให้จําคุกตลอดชีวิต จําเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวขอให้ศาลลงโทษประหารชีวิตโดยไม่ต้อง ลดโทษให้จําเลย ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่าจําเลยกระทําผิดจริงและไม่มีเหตุอันควรลดโทษ พิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตจําเลย ดังนี้ คําพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 212 “คดีที่จําเลยอุทธรณ์คําพิพากษาที่ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติม โทษจําเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทํานองนั้น”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญามาตรา 212 ได้วางหลักไว้ว่า คดีอาญาที่จําเลยอุทธรณ์คําพิพากษาของศาลชั้นต้น ที่ให้ลงโทษจําเลยนั้น ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจําเลย แม้จําเลยจะอุทธรณ์ขอให้ศาลเพิ่มเติม โทษแก่ตนเองก็ตาม เว้นเสียแต่ว่าโจทก์จะได้อุทธรณ์ในทํานองให้เพิ่มเติมโทษแก่จําเลยด้วย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จําคุกจําเลยตลอดชีวิต และจําเลยอุทธรณ์ ฝ่ายเดียวนั้น แม้อุทธรณ์ดังกล่าวของจําเลยจะขอให้ศาลลงโทษประหารชีวิตโดยไม่ต้องลดโทษให้จําเลยก็ตาม กรณีก็ต้องปรับใช้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 212 ที่ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจําเลย เมื่อปรากฏว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตจําเลยจึงเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจําเลย ขัดต่อ ป.วิ.อาญ : มาตรา 212 ดังนั้น คําพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย (เทียบคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 374 1/2540)

สรุป คําพิพากษาของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

Advertisement