การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2555
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)
ข้อ 1. คดีอาญาสองสํานวน ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําเลยโดยไม่รอการลงโทษ จําเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ ทั้งสองสํานวน หากปรากฏว่า
(ก) สําานวนแรก ศาลอุทธรณ์ตรวจสํานวนพบว่า แบบพิมพ์คําขอท้ายคําฟ้องคดีอาญาของโจทก์เป็นสําเนาเอกสารที่ถ่ายเอกสารมาจากต้นฉบับคําขอท้ายคําฟ้องคดีอาญาทีโจทก์ ผู้เรียง และผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้องได้ลงชื่อไว้แล้วแสดงว่า คําฟ้องของโจทก์เป็นคําฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง
(ข) สํานวนหลัง ศาลอุทธรณ์ตรวจสํานวนพบว่าเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร จําเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําเลย ฐานรับของโจรตามคํารับสารภาพของจําเลย แต่คําฟ้องโจทก์บรรยายระบุวันเวลาเกิดเหตุว่าความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นก่อนความผิดฐานลักทรัพย์
ให้วินิจฉัย ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีอาญาตามข้อ (ก) และข้อ (ข) อย่างไร และเมื่อศาลอุทธรณ์ มีคําพิพากษาแล้ว โจทก์จะนําคดีอาญาทั้งสองสํานวนนี้มายื่นฟ้องจําเลยเป็นคดีใหม่ได้หรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดังต่อไปนี้
(4) เมื่อมีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง”
มาตรา 158 “ฟ้องต้องทําเป็นหนังสือ และมี
(5) การกระทําทั้งหลายที่อ้างว่าจําเลยได้กระทําผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับ เวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทํานั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จําเลย เข้าใจข้อหาได้ดี
(7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง”
มาตรา 161 วรรคแรก “ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้องหรือไม่ประทับฟ้อง”
วินิจฉัย
(ก) คดีอาญาสํานวนแรก
เมื่อศาลอุทธรณ์ตรวจสํานวนพบว่าแบบพิมพ์คําขอท้ายฟ้องคดีอาญาของโจทก์เป็นสําเนาเอกสาร ที่ถ่ายเอกสารมาจากต้นฉบับคําขอท้ายฟ้องคดีอาญาที่โจทก์ ผู้เรียง และผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้องได้ลงชื่อไว้แล้ว จึงเป็น คําฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง และผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 158(7) ซึ่งหากศาลชั้นต้นตรวจพบข้อผิดพลาดดังกล่าวก็จะใช้อํานาจตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 161 วรรคแรก สั่งให้โจทก์ แก้ไขเสียให้ถูกต้อง แต่เมื่อศาลชั้นต้นสังประทับฟ้อง และดําเนินกระบวนพิจารณาจนคดีขึ้นสู่การพิจารณาของ ศาลอุทธรณ์แล้ว การที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 161 วรรคแรก ดังกล่าวย่อมล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้ ดังนั้นศาลอุทธรณ์จึงต้องพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์
แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ เพราะฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อ โจทก์ ผู้เรียง และผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 158(7) นั้น ไม่ถือว่าศาลได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาด ในความผิดซึ่งได้ฟ้อง อันจะทําให้สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39(4) แต่อย่างใด ดังนั้นโจทก์ย่อมสามารถนําคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องดังกล่าวนี้ยื่นฟ้องจําเลยเป็นคดีใหม่ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
(ข) คดีอาญาสํานวนหลัง
ความผิดฐานรับของโจรตาม ป.อาญา มาตรา 357 เป็นความผิดที่เกิดขึ้นจากการกระทําอันเป็น การอุปการะความผิดฐานลักทรัพย์หรือความผิดอื่น ดังนั้นความผิดฐานรับของโจรจึงต้องเกิดขึ้นภายหลังจาก มีการกระทําความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อคําฟ้องโจทก์บรรยายว่า การกระทําความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นก่อน ความผิดฐานลักทรัพย์ ย่อมเป็นคําฟ้องที่ขัดต่อสภาพและลักษณะของการกระทําความผิดอย่างชัดเจน จึงเป็น คําฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 158(5) แม้จําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องฐานรับของโจร ก็เป็น การรับสารภาพตามฟ้องซึ่งไม่อาจเป็นความผิดฐานรับของโจรได้ ดังนั้นศาลอุทธรณ์จึงต้องพิพากษากลับให้ ยกฟ้องโจทก์ (คําพิพากษาฎีกาที่ 330/2549)
ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ เนื่องจากคําฟ้องโจทก์บรรยายขัดต่อสภาพและ ลักษณะของการกระทําความผิดฐานรับของโจรเช่นนี้ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิด ซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39(4) โจทก์จะนําคดีอาญาใน สํานวนหลังตามข้อ (ข) มายื่นฟ้องจําเลยเป็นคดีใหม่ไม่ได้ เป็นฟ้องซ้ำ
สรุป
(ก) คดีอาญาสํานวนแรก ศาลอุทธรณ์ต้องพิพากษายกฟ้อง แต่โจทก์สามารถนํา คดีอาญาตามข้อ (ก) นี้มาฟ้องเป็นคดีใหม่ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
(ข) คดีอาญาสํานวนหลัง ศาลอุทธรณ์ต้องพิพากษายกฟ้องเช่นเดียวกัน และโจทก์ จะนําคดีอาญาตามข้อ (ข) นี้มาฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้ เป็นฟ้องซ้ำ
ข้อ 2. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่าจําเลยกระทําความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรสร้อยคอทองคําของนายจ้าง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335, 357 โดยโจทก์บรรยายฟ้อง ไว้ด้วยว่าในชั้นสอบสวนจําเลยให้การรับสารภาพข้อหาลักทรัพย์ของนายจ้าง ส่วนชั้นพิจารณา ของศาลจําเลยให้การว่าขอให้การรับสารภาพตามฟ้องทุกประการ โจทก์แถลงไม่สืบพยาน ศาลชั้นต้น พิพากษาลงโทษจําเลยข้อหาลักทรัพย์ของนายจ้าง จําคุก 1 ปี จําเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้ กึ่งหนึ่ง คงจําคุก 6 เดือน ให้วินิจฉัยว่า
(ก) คําพิพากษาศาลชั้นต้นชอบหรือไม่
(ข) หากจําเลยอุทธรณ์ว่า เหตุที่จําเลยลักทรัพย์ของนายจ้างก็เพราะจําเลยยากจน ขอให้รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์เห็นว่า แม้คําให้การของจําเลยจะไม่ชัดแจ้งแต่จําเลยรับในอุทธรณ์ว่า ลักทรัพย์ของนายจ้างจริงตามฟ้อง ประกอบกับคดีไม่มีเหตุอันควรรอการลงโทษ จึงพิพากษายืน คําพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบหรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 176 วรรคแรก “ในชั้นพิจารณา ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกําหนดอัตราโทษ อย่างต่ำไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลย ได้กระทําผิดจริง”
วินิจฉัย
(ก) ในชั้นพิจารณา กรณีที่ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคแรกนั้น จะต้องเป็นกรณีที่จําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยแน่ชัดว่าได้กระทํา ความผิดฐานใด หากคํารับสารภาพของจําเลยไม่ชัดเจนพอที่จะฟังได้ว่าจําเลยรับสารภาพว่าได้กระทําความผิดฐานใด กรณีเช่นนี้ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยไม่ได้ เป็นหน้าที่โจทก์ที่ต้องนําสืบพยานหลักฐานว่าจําเลยกระทําความผิด ฐานใด หากโจทก์ไม่ประสงค์จะนําสืบต่อไป ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานเป็นโจทก์ฟ้องว่าจําเลยกระทําความผิดฐานลักทรัพย์หรือ รับของโจรสร้อยคอทองคําของนายจ้าง แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจําเลยในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียว การที่จําเลยให้การในชั้นพิจารณาว่าขอให้การรับสารภาพตามฟ้องทุกประการนั้น ยังไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดได้ว่า จําเลยกระทําความผิดฐานใด แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องไว้ด้วยว่าในชั้นสอบสวนจําเลยให้การรับสารภาพข้อหา ลักทรัพย์ก็ตาม แต่คําให้การชั้นสอบสวนก็ไม่เกี่ยวข้องกับคําให้การในชั้นพิจารณา กรณีจึงไม่อาจถือว่าการที่ จําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องนั้น เป็นคําให้การรับสารภาพข้อหาลักทรัพย์ ดังนั้น เมื่อคําให้การรับสารภาพ ของจําเลยไม่สามารถรับฟังได้แน่ชัดว่าจําเลยกระทําความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะ พิพากษาลงโทษจําเลยได้โดยไม่ต้องสืบพยานตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคแรก เมื่อโจทก์แถลงไม่สืบพยาน ศาลจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจําเลยได้ ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง ดังนั้นตามอุทาหรณ์การที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ลงโทษจําเลยข้อหาลักทรัพย์ของนายจ้างนั้น คําพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย (เทียบ คําพิพากษาฎีกาที่ 1798/2550)
(ข) การที่จําเลยอุทธรณ์ว่าเหตุที่จําเลยลักทรัพย์ของนายจ้างก็เพราะจําเลยยากจน ขอให้รอการลงโทษ โดยมิได้โต้แย้งคําวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่พิพากษาว่าจําเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์นั้น คําพิพากษาศาลชั้นต้น หรือคําฟ้องอุทธรณ์มิใช่คําให้การของจําเลยที่ได้ให้การไว้ต่อศาลชั้นต้นก่อนเริ่มพิจารณา ถึงแม้จะมีถ้อยคํา หรือข้อความที่อาจแสดงว่าจําเลยรับสารภาพในความผิดฐานลักทรัพย์ ก็ไม่อาจถือว่าเป็นคําให้การของจําเลยว่า กระทําผิดฐานลักทรัพย์หรือรับฟังได้โดยปริยายว่าจําเลยให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ เมื่อคําให้การของจําเลย ไม่สามารถรับฟังได้ว่าจําเลยกระทําความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาลงโทษ จําเลยไม่ได้ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คําพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 4784/2550)
สรุป
(ก) คําพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ข) คําพิพากษาของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน
ข้อ 3. โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2555 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จําเลยลักทรัพย์เอาสร้อยคอทองคําของนางสาวน้ำหวานไปโดยใช้กําลังประทุษร้าย ขอให้ลงโทษจําเลยฐานชิงทรัพย์ตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 339 ศาลพิจารณาได้ความจากพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบว่า ในคืนเกิดเหตุ จําเลยไม่ได้ใช้กําลังประทุษร้ายนางสาวน้ำหวานผู้เสียหาย จําเลยเพียงแต่ใช้มือซ้ายดึงคอเสื้อของ ผู้เสียหาย แล้วใช้มือขวากระชากสร้อยคอทองคําหนัก 1 สลึง ที่นางสาวน้ำหวานสวมใส่อยู่ที่คอขาด ติดมือไป การกระทําของจําเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง แต่เป็นการลักทรัพย์ โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าซึ่งเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ให้แยกวินิจฉัยตามประเด็น ดังนี้
(ก) ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพียงใด
(ข) หากข้อเท็จจริงที่ได้ความจากทางพิจารณา ปรากฏว่าสร้อยคอทองคําที่นางสาวน้ำหวานสวมใส่อยู่มิใช่เป็นของนางสาวน้ำหวานตามที่โจทก์ฟ้อง หากแต่เป็นของนางสาวน้ำฝน คําตอบจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 192 วรรคแรก วรรคสอง วรรคสี่ และวรรคหก “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคําขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมีใช้ในข้อสาระสําคัญและทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลย ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้
ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดังกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็น เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจําเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ
ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ใน ตัวเอง ศาลจะลงโทษจําเลยในการกระทําผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้
(ก) การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานชิงทรัพย์ แต่ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า จําเลยกระทํา ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ดังนี้เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องระบุองค์ประกอบความผิดว่า จําเลยลักทรัพย์โดยกิริยา ฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ และคําขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็มิได้ขอให้ลงโทษ ฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 336 จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ ดังนั้น ศาลจะ ลงโทษจําเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคแรกและวรรคสี่
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อความผิดฐานชิงทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่าง อาจเป็นความผิดได้ในตัวเอง เมื่อศาลพิจารณาได้ความจากพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบว่าจําเลยกระทําความผิด ฐานวิ่งราวทรัพย์ ซึ่งเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า แม้ศาลจะลงโทษจําเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ไม่ได้ ศาลก็ลงโทษจําเลยฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตาม ป.อาญา มาตรา 335(1) ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบกับ องค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหก
(ข) การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยการบรรยายฟ้องว่า จําเลยชิงทรัพย์สร้อยคอทองคําของนางสาวน้ำหวาน ผู้เสียหายนั้น แม้ในทางพิจารณาจะได้ความว่าสร้อยคอทองคําที่นางสาวน้ำหวานสวมใส่อยู่มิใช่เป็นของนางสาวน้ำหวาน ตามที่โจทก์ฟ้องแต่เป็นของนางสาวน้ำฝนก็ตาม แต่การแตกต่างในตัวเจ้าของทรัพย์ที่ถูกประทุษร้ายนั้น หาใช่ ข้อสาระสําคัญไม่ ดังนั้น แม้ในทางพิจารณาจะปรากฏว่าสร้อยคอทองคําที่ถูกประทุษร้ายจะเป็นของนางสาวน้ําฝน ซึ่งแตกต่างจากฟ้องที่ระบุว่าเป็นของนางสาวน้ำหวาน คําตอบก็หาเปลี่ยนแปลงไปไม่
สรุป
(ก) ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนได้ แต่จะพิพากษา ลงโทษจําเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้
(ข) หากข้อเท็จจริงที่ได้ความจากทางพิจารณาว่าสร้อยคอทองคําที่นางสาวน้ำหวาน สวมใส่อยู่มิใช่เป็นของนางสาวน้ำหวานตามที่โจทก์ฟ้องแต่เป็นของนางสาวน้ำฝน คําตอบก็หาเปลี่ยนแปลงไปไม่
ข้อ 4. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่า จําเลยกระทําความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ รวม 2 กระทง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําเลยตามฟ้อง จําคุกกระทงละ 1 ปี รวม 2 กระทง รวมจําคุกจําเลย 2 ปี บวกโทษจําคุกจําเลยในคดีอื่นของศาลชั้นต้นที่รอการลงโทษไว้อีก 1 ปี 6 เดือน รวมจําคุกจําเลยมีกําหนด 3 ปี 6 เดือน โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นลงโทษจําเลยเบาเกินไป ขอให้ลงโทษหนักขึ้นอีก จําเลยอุทธรณ์ว่า จําเลยไม่ได้กระทําความผิด ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้น มีคําสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ แต่ให้รับอุทธรณ์ของจําเลย ให้วินิจฉัยว่า คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์และรับอุทธรณ์ของจําเลยชอบหรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่ง อัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
(1) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจําคุก
(2) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้
(3) ศาลพิพากษาว่าจําเลยมีความผิด แต่รอการกําหนดโทษไว้ หรือ
(4) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท”
วินิจฉัย
ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ ได้บัญญัติเอาไว้ว่า ถ้าเป็นคดีซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่ กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ได้ตามมาตรา 193 ทวิ (1) (2) (3) และ (4)
กรณีตามอุทาหรณ์ คดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่า จําเลยกระทําความผิดฐานยักยอก ตาม ป.อาญา มาตรา 352 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ จึงเป็น คดีที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจํา ทั้งปรับ ซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําเลยตามฟ้องโจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นลงโทษจําเลย เบาเกินไป ขอให้ลงโทษหนักขึ้นอีก อันเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการกําหนดโทษของศาลชั้นต้น ซึ่ง ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
ส่วนกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยนั้น เมื่อจําเลยต้องคําพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจําคุก และอุทธรณ์ของจําเลยที่ว่าจําเลยไม่ได้กระทําความผิด เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟัง พยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง กรณีนี้จึงเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ (1) ที่ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งให้รับอุทธรณ์ของ จําเลยจึงชอบแล้ว
สรุป
คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์และรับอุทธรณ์ของจําเลยนั้นเป็นคําสั่ง ที่ชอบแล้ว