การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดสุโขทัยว่าจําเลยเช่าตึกแถวจากโจทก์ จําเลยผิดสัญญาไม่ชําระค่าเช่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้ขับไล่จําเลยและบริวารออกจากตึกแถวพิพาท จําเลยให้การรับตามฟ้อง แต่ขอผ่อนผันอยู่อาศัยต่อไปอีกระยะหนึ่ง นายเอกและนายโทซึ่งเป็นผู้พิพากษาศาล จังหวัดสุโขทัยเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ได้พิพากษาให้ขับไล่จําเลยและบริวารออกจาก ตึกแถวพิพาท ภายหลังออกหมายบังคับคดีแล้ว นายโทย้ายไปรับราชการยังศาลอื่น ต่อมาแดงยื่น คําร้องว่า ผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจําเลย แต่ผู้ร้องเข้าครอบครองตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตาม สัญญาโอนสิทธิการเช่าระหว่างผู้ร้องกับจําเลย วันดังกล่าวนายเอกลาป่วย นายตรีซึ่งเป็นผู้พิพากษา ประจําศาลในศาลจังหวัดสุโขทัยจึงมีคําสั่งรับคําร้อง สําเนาให้โจทก์ นัดไต่สวนคําร้องของผู้ร้อง

ให้ท่านวินิจฉัยว่า การที่นายตรีมีคําสั่งรับคําร้อง สําเนาให้โจทก์ และนัดไต่สวนคําร้องของผู้ร้องชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 24 “ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอํานาจดังต่อไปนี้

(2) ออกคําสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(1) ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคําร้องหรือคําขอที่ยื่นต่อศาลในคดีทั้งปวง

(2) ไต่สวนและมีคําสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย

(3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญา

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้

ผู้พิพากษาประจําศาลไม่มีอํานาจตาม (3) (4) หรือ (5)”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนและต้อง ไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรือคดีอาญาทั้งปวง”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น จะต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน เป็นองค์คณะเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรือคดีอาญาทั้งปวงตามมาตรา 26 แต่อย่างก็ดีผู้พิพากษาคนหนึ่ง ย่อมมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และผู้พิพากษาคนเดียวย่อมมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้นตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 25

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกและนายโทซึ่งเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดสุโขทัยเป็นองค์คณะ ได้พิพากษาให้ขับไล่จําเลยและบริวารออกจากตึกแถวพิพาท และภายหลังออกหมายบังคับคดีแล้ว ต่อมาแดงได้ ยื่นคําร้องว่า ผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจําเลย แต่ผู้ร้องเข้าครอบครองตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาโอนสิทธิ การเช่าระหว่างผู้ร้องกับจําเลยนั้น แม้คําร้องของแดงจะมีข้อพิพาทในชั้นบังคับคดีซึ่งไม่อยู่ในอํานาจของผู้พิพากษา คนเดียวตามมาตรา 25 ก็ตาม แต่การที่นายตรีซึ่งเป็นผู้พิพากษาประจําศาลในศาลจังหวัดสุโขทัยได้มีคําสั่งรับคําร้อง สําเนาให้โจทก์ และนัดไต่สวนคําร้องของผู้ร้องนั้น ถือเป็นการออกคําสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาด ข้อพิพาทแห่งคดีตามมาตรา 24 (2) ดังนั้น คําสั่งของนายตรีดังกล่าวจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป

การที่นายตรีมีคําสั่งรับคําร้อง สําเนาให้โจทก์ และนัดไต่สวนคําร้องของผู้ร้องดังกล่าว ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ข้อ 2 พีทต้องการยื่นคําร้องขอจัดตั้งเป็นผู้จัดการมรดกประเสริฐผู้เป็นบิดา อันมีหุ้นบริษัท อนันตา จํากัด จํานวนร้อยละ 25 ถือเป็นเงินทั้งสิ้น 2,500 ล้านบาท เงินในบัญชีธนาคาร 200 ล้านบาท บ้าน ราคา 10 ล้านบาท และรถยนต์ 1 คัน ราคา 200,000 บาท ต้องยื่นคําร้องขอจัดตั้งผู้จัดการมรดก ที่ศาลใด ระหว่างศาลแพ่งหรือศาลแขวงพระนครเหนือ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 19 วรรคหนึ่ง “ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลแพ่งธนบุรีมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17 คดีแพ่งที่ศาลแขวง “ผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีมีข้อพิพาท และคดีมีข้อพิพาทนั้นจะต้องเป็น เที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท หรือเป็นคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาพิพากษาไม่ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พีทต้องการยื่นคําร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคําสั่งตั้งตนเป็น ผู้จัดการมรดกของประเสริฐเจ้ามรดกนั้น ถือเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงไม่อยู่ในอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีของศาลแขวง ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17 ดังนั้น พีทจะต้องนําคดีนี้ไปยื่นคําร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกได้ที่ศาลแพ่ง จะนําไปยื่นที่ศาลแขวงพระนครเหนือไม่ได้ เพราะคดีดังกล่าวไม่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงพระนครเหนือ แต่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษา ของศาลแพ่ง (ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 19 วรรคหนึ่ง)

สรุป

พีทต้องนําคดีนี้ไปยื่นคําร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกที่ศาลแพ่ง เพราะเป็นคดีที่ไม่มี ข้อพิพาทจึงไม่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงพระนครเหนือ

 

ข้อ 3 พนักงานอัยการฟ้องจําเลยต่อศาลจังหวัดตากข้อหาวิ่งราวทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 วรรคแรก (มีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 1 แสนบาท) นายมกรา ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดตาก จ่ายสํานวนให้นายกุมภาและนายมีนาซึ่งเป็นผู้พิพากษาอาวุโส ในศาลจังหวัดตากทั้ง 2 คนเป็นองค์คณะพิจารณา ระหว่างการพิจารณานายมกราและนายกุมภา เดินทางไปต่างประเทศไม่อาจปฏิบัติราชการหรือนั่งพิจารณาคดีได้ นายเมษาผู้พิพากษาที่มีอาวุโส สูงสุดในศาลจังหวัดตากจึงมอบหมายให้นางสาวพฤษภาผู้พิพากษาประจําศาลจังหวัดตากเข้าเป็น องค์คณะแทนนายกุมภา หลังจากนั้นนายมีนาและนางสาวพฤษภาได้ร่วมกันพิจารณาคดีจนเสร็จ แล้วมีคําพิพากษาว่าจําเลยมีความผิดตามฟ้อง ให้จําคุกจําเลยมีกําหนด 4 ปี

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 9 “ในศาลจังหวัดหรือศาลแขวง ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ศาลละหนึ่งคน

เมื่อตําแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงว่างลง หรือเมื่อ ผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทน ถ้าผู้ที่มี อาวุโสสูงสุดในศาลนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลําดับในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทน

ในกรณีที่ไม่มีผู้ทําการแทนตามวรรคสอง ประธานศาลฎีกาจะสั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็น ผู้ทําการแทนก็ได้

ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจําศาลจะเป็นผู้ทําการแทนในตําแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคน และต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง”

มาตรา 28 “ในระหว่างการพิจารณาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้น ม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไป ให้ผู้พิพากษา ดังต่อไปนี้นั่งพิจารณาคดีนั้นแทนต่อไปได้

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค ผู้พิพากษา หัวหน้าศาล หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้น ซึ่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแล้วแต่กรณีมอบหมาย”

มาตรา 30 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 หมายถึง กรณีที่ ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ หรือถูกคัดค้านและถอนตัวไป หรือไม่อาจ ปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณา หรือทําคําพิพากษาในคดีนั้นได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยต่อศาลจังหวัดตากเป็นคดีอาญา ข้อหาวิ่งราวทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 วรรคแรก ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับ ไม่เกิน 1 แสนบาท จึงต้องมีผู้พิพากษา 2 คน เป็นองค์คณะตามมาตรา 26

การที่นายมกราผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดตากได้จ่ายสํานวนคดีดังกล่าวไปให้นายกุมภา และนายมนาซึ่งเป็นผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดตากทั้ง 2 คนเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวนั้น เมื่อปรากฏว่าในระหว่างพิจารณานายกุมภาเดินทางไปต่างประเทศไม่อาจปฏิบัติราชการหรือนั่งพิจารณาคดีได้ จึงถือเป็นเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 30 ดังนั้นจึงต้องให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคือนายมกรา หรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้นตามที่นายมกรามอบหมายนั่งพิจารณาคดีนั้นแทนต่อไปตามมาตรา 28 (3)

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายมกราได้เดินทางไปต่างประเทศไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ในกรณีนี้ตามมาตรา 9 วรรคสอง จะต้องให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นเป็นผู้ทําการแทน ดังนั้นการที่ นายเมษาซึ่งเป็นผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลจังหวัดตากได้มอบหมายให้นางสาวพฤษภาผู้พิพากษาประจํา ศาลจังหวัดตากเข้าเป็นองค์คณะแทนนายกุมภา ซึ่งแม้ว่านางสาวพฤษภาจะเป็นผู้พิพากษาประจําศาลจังหวัดตาก ได้เข้าร่วมเป็นองค์คณะกับนายมีนาผู้พิพากษาอาวุโสนั้น ย่อมถือว่าเป็นองค์คณะโดยชอบตามมาตรา 26 ซึ่ง กําหนดว่าต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน และต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกิน 1 คน ดังนั้น การที่นายเมษา มอบหมายให้นางสาวพฤษภาผู้พิพากษาประจําศาลเป็นองค์คณะร่วมกับนายมีนาผู้พิพากษาอาวุโสจึงชอบด้วย พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

และเมื่อนายมีนาและนางสาวพฤษภาได้ร่วมกันพิจารณาคดีจนเสร็จแล้วมีคําพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามฟ้อง ให้จําคุกจําเลยมีกําหนด 4 ปีนั้น การทําคําพิพากษาของนายมีนาและนางสาวพฤษภา ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26

สรุป

การที่นายเมษามอบหมายให้นางสาวพฤษภาผู้พิพากษาประจําศาลเป็นองค์คณะ ร่วมกับนายมีนา การพิจารณาและการทําคําพิพากษาของนายมีนาและนางสาวพฤษภาชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

Advertisement