การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)
ข้อ 1. โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจําเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนนายเส็งบิดาโจทก์ทั้งสี่ บัดนี้นายเส็งบิดาโจทก์ทั้งสี่ถึงแก่กรรมแล้ว จําเลยไม่ยอมคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของนายเส็ง ผู้ตาย ขอให้จําเลยจดทะเบียนที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ทั้งสี่ จําเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจําเลย มิใช่ของนายเส็งบิดาโจทก์ทั้งสี่ ขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ทั้งสี่ และจําเลยแถลงรับกันต่อศาลชั้นต้นว่า ที่ดินพิพาทตามฟ้องมีราคา 200,000 บาท ศาลชั้นต้น พิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจําเลย มิใช่เป็นของนายเส็งบิดาโจทก์ทั้งสี่ พิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสี่
โจทก์อุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของนายเส็งบิดาโจทก์ทั้งสี่ ไม่ใช่ของจําเลย ให้วินิจฉัยว่า โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิอุทธรณ์ได้หรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี
วินิจฉัย
ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวน ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นหลักในการพิจารณา
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจําเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนนายเส็ง บิดาของโจทก์ทั้งสี่ บัดนี้นายเส็งบิดาโจทก์ทั้งสี่ถึงแก่กรรมแล้ว จําเลยไม่ยอมคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสี่ ซึ่งเป็นทายาทของนายเส็งผู้ตาย ขอให้จําเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ทั้งสี่ ซึ่งจําเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจําเลย มิใช่เป็นของนายเส็งบิดาโจทก์ทั้งสี่นั้น คําฟ้องของโจทก์ทั้งสี่เป็นคําฟ้องเรียกให้จําเลย ส่งคืนทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ทั้งสี่ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของนายเส็ง ซึ่งถือเป็นคดีที่มีคําขอ ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ ดังนั้น การอุทธรณ์ย่อมอยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจําเลยมิใช่เป็นของนายเส็ง บิดาโจทก์ทั้งสี่จึงพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสี่ และโจทก์อุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของนายเส็งบิดาโจทก์ทั้งสี่ ไม่ใช่ของจําเลยนั้น ถือเป็นการอุทธรณ์คัดค้านดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น อันเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
และเมื่อที่ดินพิพาทมีราคา 200,000 บาท แม้โจทก์ทั้งสี่จะอุทธรณ์รวมกันมาในอุทธรณ์ ฉบับเดียวกัน แต่การพิจารณาสิทธิในการอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่จะต้องแยกออกจากกันตามราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องเอาแก่จําเลยเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิ ของตนโดยเฉพาะในฐานะที่เป็นทายาทของนายเส็งผู้ตาย ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนจึงมีเพียงคนละ 50,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความ อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงดังกล่าว
สรุป โจทก์ทั้งสี่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์
ข้อ 2. โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จําเลยโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย จําเลยอ้างว่าไม่เคยทําสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ ขอให้ศาลยกฟ้อง ต่อมาในระหว่างการพิจารณาคดี โจทก์ และจําเลยได้ทําสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจําเลยตกลงจะโอนที่ดินพิพาทส่วนหนึ่ง ให้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาตามยอมและคดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคําร้องต่อ ศาลชั้นต้นอ้างว่าจําเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไม่ครบตามที่กําหนดไว้ในคําพิพากษาตามยอม ขอให้เรียกจําเลยมาสอบถาม ศาลชั้นต้นมีคําสั่งให้ไต่สวนคําร้องของโจทก์ จําเลยไม่พอใจคําสั่ง ของศาลชั้นต้น จึงใช้สิทธิในการยื่นอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นทันทีโดยไม่ได้โต้แย้งคําสั่งของศาล ดังนี้ จําเลยจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 1 “ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
(5) “คําคู่ความ” หมายความว่า บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ”
มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228
(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา
(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เป็นต้นไป
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่ง ระหว่างพิจารณา
วินิจฉัย
คําสั่งของศาลที่จะถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณานั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ
1 จะต้องเป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินหรือจําหน่ายคดี
2 เมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล กล่าวคือ ศาลยังต้องทําคดีนั้นต่อไป
3 ไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228
และเมื่อเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาแล้ว คู่ความจะอุทธรณ์คําสั่งนั้นทันทีไม่ได้ ต้องโต้แย้ง คัดค้านคําสั่งนั้นไว้ก่อนจึงจะเกิดสิทธิอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 (2)
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จําเลยโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย แต่จําเลยอ้างว่าไม่เคยทําสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ ต่อมาในระหว่างการพิจารณาคดี โจทก์และจําเลยได้ทําสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจําเลยตกลงจะโอนที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งให้แก่โจทก์ และศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาตามยอมและคดีเสร็จเด็ดขาดแล้วนั้น ต่อมาการที่โจทก์ได้ยื่นคําร้องต่อศาลชั้นต้น อ้างว่าจําเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไม่ครบตามที่กําหนดไว้ในคําพิพากษาตามยอม ขอให้เรียกจําเลยมา สอบถามนั้น เป็นกรณีที่คําร้องของโจทก์มีการกล่าวหาจําเลย คําร้องของโจทก์ฉบับนี้จึงถือว่าเป็นคําคู่ความตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 1 (5) ส่งผลทําให้เกิดคดีขึ้นใหม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคําสั่งให้ไต่สวนคําร้องของโจทก์ คําสั่งของ ศาลชั้นต้นไม่ทําให้คดีเสร็จไป จึงเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจําเลยไม่ได้โต้แย้งคําสั่งนั้นไว้ก่อน แต่ใช้สิทธิใน การยื่นอุทธรณ์คําสั่งของศาลทันที จําเลยจึงไม่สามารถอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นได้
สรุป จําเลยจะอุทธรณ์ไม่ได้
ข้อ 3. ข้อนี้มีคําถามอยู่ 2 ข้อ ให้เลือกทําเพียงข้อเดียว และต้องเลือกทําเฉพาะข้อที่เป็นคําขอวิธีการชั่วคราวก่อนมีคําพิพากษา
(ก) ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําเลยใช้เงินโจทก์ 10 ล้านบาท ในชั้นบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดบ้านที่ดินไว้ตามคําขอของโจทก์เพื่อขายทอดตลาด นายแดงได้ยื่นคําร้องขอต่อศาลว่า บ้านที่ดินที่ยึดหาใช่ของจําเลยแต่เป็นของนายแดงผู้ร้อง ขอให้ศาลมีคําสั่งให้ปล่อยบ้านที่ดินที่ยึด โจทก์คัดค้าน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าเป็นของจําเลย และมีคําสั่งให้ยกคําร้องนายแดง นายแดงอุทธรณ์ว่าบ้านที่ดินที่ยึดเป็นของตนพร้อมกับคําร้องให้ศาลมีคําสั่งงดการขายบ้านที่ดิน ไว้ก่อนในระหว่างอุทธรณ์ ดังนี้ ศาลใดเป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องที่นายแดงขอให้งดการขาย และถ้าท่านเป็นศาล
ท่านมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตอย่างไร
(ข) ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้จําเลยใช้เงิน 10 ล้านบาทแก่โจทก์ จําเลยอุทธรณ์ ในระหว่างอุทธรณ์เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดบ้านที่ดินของจําเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินมาชําระหนี้ตาม คําพิพากษา จําเลยเห็นว่าหากบ้านที่ดินของจําเลยถูกขายทอดตลาดไปแล้ว หากต่อมาศาลอุทธรณ์ มีคําพิพากษาว่าจําเลยไม่ได้ผิดสัญญาและให้จําเลยเป็นฝ่ายชนะคดี จําเลยก็จะเสียสิทธิใน บ้านที่ดิน จําเลยจึงยื่นคําร้องให้ศาลมีคําสั่งให้งดการขายบ้านที่ดินของจําเลยไว้ก่อนในระหว่าง อุทธรณ์ ดังนี้ ศาลใดมีอํานาจสั่งคําร้องของจําเลยที่ขอให้งดการขาย และถ้าท่านเป็นศาล ท่านมี หลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตตามคําขอของจําเลยอย่างไร
ธงคําตอบ
ข้อ (ก)
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 254 วรรคท้าย “ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่าน คําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสํานวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกา ไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คําขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอํานาจที่จะสั่ง อนุญาตหรือยกคําขอเช่นว่านี้”
มาตรา 264 “นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และมาตรา 254 คู่ความชอบที่จะ ยื่นคําขอต่อศาล เพื่อให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับ ตามคําพิพากษา เช่น ให้นําทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการ หรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทําการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครอง ของบุคคลภายนอก
คําขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตามมาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และมาตรา 262
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแดงได้ยื่นคําร้องขอต่อศาลว่าบ้านที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ได้ยึดไว้เพื่อขายทอดตลาด เป็นที่ดินของนายแดงหาใช่ของจําเลยไม่ ขอให้ศาลมีคําสั่งให้ปล่อยบ้านที่ดินที่ยึดนั้น ถือว่าเป็นคดีร้องขัดทรัพย์และนายแดงมีฐานะเป็นโจทก์
การที่ศาลชั้นต้นทําการไต่สวนแล้วเห็นว่าเป็นของจําเลยและมีคําสั่งให้ยกคําร้องของนายแดง นายแดงได้อุทธรณ์พร้อมกับร้องขอให้ศาลมีคําสั่งงดการขายบ้านที่ดินที่ยึดไว้ก่อน คําขอของนายแดงถือว่าเป็น คําขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 เพราะไม่ใช่คําขอตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 และมาตรา 254 และเมื่อคดีนี้อยู่ระหว่างอุทธรณ์ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอํานาจสั่งคําร้องของนายแดง เพราะ กรณีการยื่นคําขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 นั้น มิให้นําบทบัญญัติมาตรา 254 วรรคท้าย มาใช้บังคับ ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอํานาจสั่งคําร้องของโจทก์ (นายแดง)
และตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตไว้ว่า ในกรณี ที่ศาลจะพิจารณาอนุญาตตามคําขอของนายแดง ศาลจะต้องพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการคุ้มครองประโยชน์ ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทได้รับการคุ้มครองไว้ก่อนพิพากษา และ ตามข้อเท็จจริง หากนายแดงไม่ได้ยื่นคําขอ และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดบ้านที่ดินนั้นไปแล้ว ต่อมาศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาว่าบ้านที่ดินที่ยึดเป็นของนายแดง นายแดงก็จะไม่ได้บ้านที่ดินคืน ทําให้นายแดง ต้องเสียหายและเสียสิทธิในบ้านที่ดินนี้ และเมื่อพิจารณาได้ความดังกล่าวแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็จะมีคําสั่งให้งดการ ขายบ้านที่ดินไว้ก่อนในระหว่างอุทธรณ์ได้
สรุป ศาลอุทธรณ์เป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องที่นายแดงขอให้งดการขายไว้ก่อน และศาลอุทธรณ์ จะมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ดังกล่าวข้างต้น
หมายเหตุ คําถามในข้อ 3. มี 2 ข้อ ซึ่งท่านอาจารย์ให้นักศึกษาเลือกทําเพียงข้อเดียว และ ต้องเลือกทําเฉพาะข้อที่เป็นคําขอวิธีการชั่วคราวก่อนมีคําพิพากษา ดังนั้นนักศึกษาจึงต้องเลือกทําข้อ (ก)
ส่วนคําถามในข้อ (ข) นั้น ไม่ใช่คําขอตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 เพราะการที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดบ้านที่ดินของจําเลยและประกาศขายทอดตลาดนั้น เป็นกรณีที่ศาลบังคับให้จําเลย ปฏิบัติตามคําพิพากษา หากจําเลยไม่อยากถูกบังคับให้ปฏิบัติตามคําพิพากษา จําเลยก็จะต้องร้องขอให้ศาลทุเลา การบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 231 หรือขอให้ศาลสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 292 (1) แล้วแต่กรณี จําเลยจะร้องขอวิธีการชั่วคราวขอให้ศาลมีคําสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของจําเลย ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ไม่ได้
ข้อ 4. ศาลแพ่งมีคําพิพากษาให้จับไล่จําเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ กับให้จําเลยใช้ค่าเสียหาย แก่โจทก์จํานวน 50,000 บาท และได้ออกคําบังคับแก่จําเลยในวันที่ได้อ่านคําพิพากษาให้จําเลยฟัง โดยชอบแล้ว ต่อมาโจทก์ได้ทําหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจําเลยทั้งหมดตามคําพิพากษา ให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้ว ผู้ร้องยื่นคําร้องต่อศาลแพ่งเพื่อเข้าสวมสิทธิ์เป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา โจทก์ไม่ยื่นคําคัดค้าน จําเลยยื่นคําคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะเข้าสวมสิทธิ บังคับคดีไม่ได้ ขอให้ยกคําร้อง ให้วินิจฉัยว่า คําคัดค้านของจําเลยฟังขึ้นหรือไม่ และศาลแพ่งจะมีคําสั่งให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็น เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้หรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 274 วรรคสาม “ถ้าสิทธิเรียกร้องตามคําพิพากษาหรือคําสั่งเป็นการให้ชําระเงิน ส่งคืน หรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง บุคคลซึ่งได้รับโอนหรือรับช่วงสิทธิตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นมีอํานาจบังคับคดี ตามความในหมวด 2 การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงิน หรือหมวด 3 การบังคับคดีในกรณีที่ให้ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์ เฉพาะสิง แล้วแต่กรณี โดยการร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิ์เป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาต่อไป”
วินิจฉัย
ตามอุทาหรณ์ การที่ศาลแพ่งมีคําพิพากษาให้ขับไล่จําเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ กับให้จําเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จํานวน 50,000 บาท ต่อมาโจทก์ได้ทําหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจําเลย ทั้งหมดตามคําพิพากษาให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้ว และผู้ร้องได้ยื่นคําร้องต่อศาลแพ่งเพื่อเข้าสวมสิทธิ์เป็นเจ้าหนี้ ตามคําพิพากษา แต่จําเลยได้ยื่นคําคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะเข้าสวมสิทธิบังคับคดีไม่ได้นั้น คําคัดค้านของจําเลยย่อมฟังไม่ขึ้น ทั้งนี้เพราะตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคสาม ได้บัญญัติให้บุคคลผู้ซึ่งรับโอน หรือรับช่วงสิทธิเรียกร้องตามคําพิพากษาหรือคําสั่งที่เป็นการให้ชําระเงิน ส่งคืน หรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง มีอํานาจบังคับคดีโดยการร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาต่อไป ดังนั้น เมื่อผู้ร้องได้รับ โอนสิทธิเรียกร้องตามคําพิพากษาจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษามาโดยชอบแล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอ ต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพื่อบังคับคดีต่อไปได้
แต่อย่างไรก็ดี ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคสาม ได้บัญญัติให้บุคคลผู้รับโอนหรือรับช่วงสิทธิ ตามคําพิพากษาหรือคําสั่งดังกล่าวนั้น มีอํานาจบังคับคดีเฉพาะตามความในหมวด 2 การบังคับคดีในกรณีที่ เป็นหนี้เงิน หรือหมวด 3 การบังคับคดีในกรณีที่ให้ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง แล้วแต่กรณีเท่านั้น เมื่อสิทธิเรียกร้องที่ผู้ร้องรับโอนมาจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษานั้น นอกจากจะเป็นการให้ชําระเงิน แก่โจทก์แล้ว ยังมีการบังคับคดีโดยให้ขับไล่จําเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ด้วย ซึ่งการบังคับคดีใน ส่วนหลัง มิใช่การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงิน หรือส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งตามความในหมวด 2 หรือหมวด 3 ที่ผู้ร้องจะเรียกร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้ แต่เป็นการบังคับคดีในกรณี ที่ให้ขับไล่ตามความในหมวด 4 ซึ่งไม่อยู่ในบังคับที่ผู้ร้องจะขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาในส่วนนี้ได้ ส่วนสิทธิเรียกร้องตามคําพิพากษาที่บังคับให้จําเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นั้น เป็นการบังคับในกรณีที่เป็นหนี้เงิน ซึ่งผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาต่อไปได้ ดังนั้น ศาลแพ่งชอบที่จะมีคําสั่งให้ผู้ร้อง เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเฉพาะในกรณีที่ให้จําเลยชําระเงินและยกคําร้องขอเข้าสวมสิทธิ์เป็นเจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาในกรณีที่ให้ขับไล่จําเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์
สรุป คําคัดค้านของจําเลยฟังไม่ขึ้น และศาลแพ่งชอบที่จะมีคําสั่งให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็น เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเฉพาะในกรณีที่ให้จําเลยชําระเงินและมีคําสั่งยกคําร้องขอที่จะเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาในกรณีที่ให้ขับไล่จําเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์