การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดินพิพาท โดยอ้างว่า จําเลยทําสัญญาเช่าที่ดินราคา 2,000,000 บาท จากโจทก์ในอัตราค่าเช่า 4,000 บาทต่อเดือน เมื่อครบกําหนดระยะเวลาตามสัญญาเช่า จําเลยไม่ยอม ออกจากที่ดิน ขอให้ศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จําเลย จําเลยให้การต่อสู้ในประเด็นว่า “จําเลยไม่ได้ ค้างชําระค่าเช่า และยังไม่ครบกําหนดระยะเวลาตามสัญญาเช่า” ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จําเลย ออกจากที่ดินพิพาทตามฟ้อง ต่อมาจําเลยอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาในประเด็นที่ว่า “ที่ดินพิพาท เป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ ไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ โจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องขับไล่ จําเลย” ขอให้มีคําพิพากษากลับคําพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ยกฟ้องโจทก์ จําเลยไม่ยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลอุทธรณ์

ให้วินิจฉัยว่า จําเลยมีสิทธิอุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 223 ทวิ “ในกรณีที่มีการอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ผู้อุทธรณ์อาจขออนุญาต ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา โดยทําเป็นคําร้องมาพร้อมคําฟ้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง ได้สั่งรับอุทธรณ์และส่งสําเนาคําฟ้องอุทธรณ์และคําร้องแก่จําเลยอุทธรณ์แล้ว หากไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์ต่อ ศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 และจําเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคําร้องดังกล่าวต่อศาลภายในกําหนดเวลายืนคําแก้อุทธรณ์ และศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นการอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ให้สั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยืนอุทธรณ์โดยตรงต่อ ศาลฎีกาได้ มิฉะนั้นให้สั่งยกคําร้อง ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคําร้อง ให้ถือว่าอุทธรณ์เช่นว่านั้นได้ยื่นต่อศาลอุทธรณี ตามมาตรา 223 คําสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตหรือยกคําร้องในกรณีนี้ให้เป็นที่สุด เว้นแต่ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่ง ยกคําร้องเพราะเห็นว่าเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลฎีกา ภายในกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคําสั่ง

ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าอุทธรณ์ตามวิธีการในวรรคหนึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงให้ศาลฎีกา ส่งสํานวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดต่อไป”

มาตรา 224 วรรคแรก “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระแก่ คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวใน ศาลชั้นต้น หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่อง ให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ คู่ความที่เกี่ยวข้อง ย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่จําเลยอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาในประเด็นที่ว่า “ที่ดินพิพาทเป็น กรรมสิทธิ์ของจําเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ ไม่ใช่ที่ดินของโจทก์” นั้น เป็นกรณีที่จําเลยโต้แย้งกรรมสิทธิ์ใน ที่ดินพิพาทว่ามิใช่ที่ดินของโจทก์ ซึ่งศาลต้องฟังข้อเท็จจริงก่อนว่าโจทก์หรือจําเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน พิพาทก่อนมีคําวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่จําเลยจะยื่น อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 223 ทวิวรรคแรกได้ แม้คู่ความฝ่ายอื่นจะมิได้อุทธรณ์ในประเด็น ดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 และจําเลยอุทธรณ์จะมิได้คัดค้านก็ตาม

และแม้ประเด็นตามอุทธรณ์ของจําเลยจะเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งศาลฎีกา สามารถส่งสํานวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดต่อไปได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 223 ทวิวรรคสอง แต่เมื่อประเด็นพิพาท ตามอุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจําเลย เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ เป็นคดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ และทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทคือ 2,000,000 บาท ซึ่งเกินกว่า 50,000 บาท และเป็นคดีที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคแรกก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่า กรณีนี้ เป็นการอุทธรณ์ในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งยังมิใช่ปัญหาข้อใด อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมถึงมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้น เพราะ พฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือมิใช่เรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ ดังนั้น จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 จําเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว

สรุป จําเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดินของโจทก์ และให้จําเลยชดใช้ค่าเสียหายเดือนละ 4,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจําเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์ จําเลยให้การปฏิเสธว่า จําเลยอยู่ใน ที่ดินพิพาทตามฟ้องโดยนางฉายมารดานางฟ้าภริยาจําเลยเช่าจากโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่ ขอให้ ยกฟ้องศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์เสร็จและนัดจําเลย ระหว่างสืบพยานจําเลย จําเลยขอให้ศาลชั้นต้น ไปเผชิญสืบนางฉายที่นอนป่วยรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่จําเป็นแก่คดี จึงงดเสีย และจําเลยยื่นคําร้องขอให้หมายเรียกนางฉายเข้ามาเป็นจําเลยร่วม ศาลชั้นต้นมีคําสั่งยกคําร้อง จําเลย ยื่นคําแถลงโต้แย้งคําสั่งศาลชั้นต้นที่งดไปเผชิญสืบ และที่ยกคําร้องที่ขอให้ศาลชั้นต้นหมายเรียก นางฉายเข้ามาเป็นจําเลยร่วม ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จําเลยออกจากที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง และให้จําเลยใช้ค่าเสียหายเดือนละ 3,000 บาท แก่โจทก์นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจําเลยจะออกจาก ที่ดินของโจทก์

ให้วินิจฉัยว่า จําเลยจะอุทธรณ์คําพิพากษาว่า จําเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาท และอุทธรณ์คําสั่งของ ศาลชั้นต้นที่ยกคําร้องขอให้หมายเรียกนางฉายเข้ามาเป็นจําเลยร่วมและที่งดไปเผชิญสืบนางฉาย ได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคแรกและวรรคสอง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ใน ข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควร อุทธรณ์ได้ หรือถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมีให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว และคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจาก อสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคําฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนด ในพระราชกฤษฎีกา”

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา การ

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ขอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่ง ระหว่างพิจารณา”

มาตรา 227 “คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับหรือให้คืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือคําสั่งวินิจฉัย ชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องนั้น มิให้ถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณา และให้อยู่ภายใน ข้อบังคับของการอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี”

มาตรา 228 วรรคแรกและวรรคสอง “ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ

(1) ให้กักขัง หรือปรับไหม หรือจําขัง ผู้ใด ตามประมวลกฎหมายนี้

(2) มีคําสั่งอันเกี่ยวด้วยคําขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือ มีคําสั่งอันเกี่ยวด้วยคําขอเพื่อจะบังคับคดีตามคําพิพากษาต่อไป หรือ

(3) ไม่รับหรือคืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งมิได้ ทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ

คําสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคําสั่งเป็นต้นไป”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดินของโจทก์ และให้จําเลยชดใช้ ค่าเสียหายเดือนละ 4,000 บาท จําเลยให้การปฏิเสธโดยอ้างว่า จําเลยอยู่ในที่ดินพิพาทตามฟ้องโดยนางฉายมารดา นางฟ้าภริยาจําเลยเช่าจากโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่นั้น เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์

อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ไม่เกิน 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จําเลยออกจากที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง และให้จําเลย ใช้ค่าเสียหายเดือนละ 3,000 บาท จําเลยจะอุทธรณ์คําพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าจําเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทไม่ได้

เมื่ออุทธรณ์ของจําเลยต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง ย่อมต้องห้ามมิให้จําเลยอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในระหว่างพิจารณาด้วย ดังนั้น แม้ คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคําร้องขอให้หมายเรียกนางฉายเข้ามาเป็นจําเลยร่วมก็ดี และคําสั่งศาลชั้นต้นที่งดไป เผชิญสืบนางฉายก็ดี เป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เพราะมิใช่เป็นคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228 ที่ไม่ให้ถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา และจําเลยจะได้โต้แย้งคําสั่งดังกล่าวไว้แล้วก็ตาม ก็ต้องห้ามมิให้จําเลยอุทธรณ์คําสั่งนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 จําเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวได้

สรุป จําเลยจะอุทธรณ์คําพิพากษาว่าจําเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทไม่ได้ และจะอุทธรณ์ คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคําร้องขอให้หมายเรียกนางฉายเข้ามาเป็นจําเลยร่วมและที่งดไปเผชิญสืบนางฉายไม่ได้ เช่นเดียวกัน

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจําเลย ให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้เป็นเงิน 10 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยฐานผิดสัญญา หากจําเลยไม่ชําระขอบังคับจํานองที่ดินของจําเลย จําเลยต่อสู้ว่า จําเลยกู้เงินโจทก์เพียง 7 ล้านบาท และจําเลยได้ชําระแล้ว ขอให้ศาลยกฟ้อง ก่อนวันชี้สองสถาน โจทก์ทราบมาว่า จําเลย จะโอนขายรถยนต์ของจําเลย และจะถอนเงินที่จําเลยฝากไว้กับธนาคาร หากจําเลยโอนขายไปแล้ว และได้ถอนเงินไปจากธนาคาร ต่อมาโจทก์เป็นฝ่ายชนะ โจทก์ก็จะบังคับรถยนต์ไม่ได้ และจะให้ ธนาคารส่งเงินมาศาลก็ไม่ได้ โจทก์ก็จะต้องเสียหายไม่ได้รับชําระหนี้ โจทก์มาถามท่านว่า โจทก์จะมี ทางแก้อย่างไรที่โจทก์จะไม่เสียหาย ถ้าต่อมาโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ดังนี้ ท่านจะให้คําตอบแก่โจทก์

อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อ จัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย”

วินิจฉัย

บทบัญญัติตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่โจทก์ในการขอคุ้มครองประโยชน์ ของโจทก์ในระหว่างพิจารณาก่อนพิพากษา และตามมาตรา 254 (1) ที่ให้สิทธิแก่โจทก์ในการยื่นคําร้องขอให้ศาล มีคําสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยนั้น โจทก์จะร้องขอวิธีการชั่วคราวได้จะต้องเป็น กรณีที่โจทก์จะเสียหายหรือเสียสิทธิเกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจําเลยด้วย

ตามอุทาหรณ์ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้บังคับจําเลยใช้เงินหากจําเลยไม่ชําระขอบังคับจํานองที่ดินของ จําเลย โจทก์ไม่ได้ขอบังคับมาว่าหากบังคับจํานองไม่พอชําระหนี้ ขอบังคับทรัพย์อื่นของจําเลยแต่อย่างใด ดังนั้น หากโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีและจําเลยไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษา โจทก์ก็จะร้องขอให้บังคับได้เฉพาะทรัพย์ที่จํานอง โจทก์จะร้องขอให้บังคับทรัพย์อื่นของจําเลยไม่ได้ และแม้จําเลยจะโอนขายรถยนต์และถอนเงินไปจากธนาคาร โจทก์ ก็ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้ยึดหรืออายัดตามมาตรา 254 (1) ไม่ได้ เพราะโจทก์ไม่ได้เสียหายอะไร และไม่มีอะไรให้ คุ้มครองตามมาตรา 254

สรุป ข้าพเจ้าจะให้คําตอบแก่โจทก์ว่า โจทก์จะร้องขอวิธีการชั่วคราวให้ศาลมีคําสั่งให้ยึด หรืออายัดรถยนต์และเงินที่จําเลยฝากไว้กับธนาคารไม่ได้

 

ข้อ 4. ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2544 ให้จําเลยชําระเงินจํานวน 1,200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จําเลยไม่ชําระ โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2549 ต่อมาวันที่ 15 เมษายน 2553 โจทก์แถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดิน โฉนดเลขที่ 1 ซึ่งมีชื่อจําเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดที่ดินดังกล่าวตามคําขอ ของโจทก์โดยประมาณราคาไว้ 500,000 บาท ศาลชั้นต้นมีคําสั่งอนุญาตขายทอดตลาดที่ดินที่ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศขายทอดตลาดในวันที่ 20 ตุลาคม 2554 และในวันขายทอดตลาด โจทก์แถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถยนต์ราคา 300,000 บาท ของจําเลยเพิ่มเติม จําเลย ยืนคําคัดค้านขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดที่ดินที่จะขายทอดตลาดและให้ยกคําขอให้ ยึดรถยนต์เพิ่มเติมของโจทก์ โดยอ้างว่า โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแล้ว ให้วินิจฉัยว่า คําคัดค้านของจําเลยฟังขึ้นหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษา หรือคําสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยอาศัย และตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น”

วินิจฉัย

ในการร้องขอให้บังคับคดีนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 ได้กําหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตาม คําพิพากษาจะต้องดําเนินการบังคับคดีตามขั้นตอนให้ครบถ้วนภายในกําหนด 10 ปีนับแต่วันมีคําพิพากษาถึงที่สุด กล่าวคือต้องร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดี แล้ว และต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ดําเนินการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินใดบ้าง (ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 275 276 และมาตรา 278) หลังจากนั้นถือว่าเป็นขั้นตอนของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ต้องดําเนินการต่อไป ซึ่งจะมีการบังคับคดีให้เสร็จสิ้นภายในกําหนด 10 ปีหรือไม่ ไม่เป็นข้อสําคัญ

กรณีตามอุทาหรณ์ คําคัดค้านของจําเลยฟังขึ้นหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

ประเด็นที่ 1 การที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2544 โจทก์ซึ่งเป็น เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีได้ภายในวันที่ 10 มีนาคม 2554 และเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก็ได้ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2549 และต่อมาวันที่ 15 เมษายน 2553 โจทก์ ได้แถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 1 ซึ่งมีชื่อจําเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ย่อมถือได้ว่าเป็นการ ร้องขอให้บังคับคดีซึ่งโจทก์ได้กระทําการภายในกําหนดเวลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 แล้ว และ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีสิทธิบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวต่อไปจนเสร็จสิ้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดและ ประกาศขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 1 ของจําเลยในวันที่ 20 ตุลาคม 2554 นั้น แม้จะล่วงพ้นกําหนดเวลา การบังคับคดีแล้วก็ตาม ก็เป็นการดําเนินการบังคับคดีโดยขอบ โจทก์หาหมดสิทธิบังคับคดีไม่ ดังนั้นจําเลยจะขอให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดที่ดินที่จะขายทอดตลาดนั้นไม่ได้ คําคัดค้านของจําเลยในส่วนนี้จึงฟังไม่ขึ้น

ประเด็นที่ 2 คําคัดค้านของจําเลยที่ขอให้ยกคําขอของโจทก์ที่ให้ยึดรถยนต์ของจําเลยเพิ่มเติม นั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพิ่งยื่นคําขอดังกล่าวในวันที่ 20 ตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังเมื่อพ้นกําหนดเวลา ที่โจทก์จะร้องขอให้บังคับคดีได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 แล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีตามคําพิพากษา เพื่อให้จําเลยชําระเงินที่ขาดอยู่ได้ ดังนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะยกคําขอของโจทก์ที่ให้ยึดรถยนต์ของจําเลย เพิ่มเติมเสียได้ คําคัดค้านของจําเลยในส่วนนี้จึงฟังขึ้น

สรุป คําคัดค้านของจําเลยที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดที่ดินที่จะขายทอดตลาด โดยอ้างว่า โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแล้วนั้นฟังไม่ขึ้น ส่วนคําคัดค้านของจําเลยที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียกคําขอ ของโจทก์ที่ให้ยึดรถยนต์ของจําเลยนั้นฟังขึ้น

 

Advertisement