การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นายนําโชคออกเช็คชําระหนี้ให้นายลูกกอล์ฟ 100,000 บาท นายลูกกอล์ฟนําเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคาร เมื่อเช็คถึงกําหนดธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีนายนําโชคไม่พอจ่าย นายลูกกอล์ฟ นําเช็คไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวนว่า “ผู้แจ้งเกรงว่าคดีจะขาดอายุความ จึงขอแจ้งความไว้เป็น หลักฐาน” เมื่อพนักงานสอบสวนสอบสวนเสร็จแล้ว พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลขอให้ลงโทษนายนําโชค ทางอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ระหว่างศาลชั้นต้นพิจารณาคดี นายลูกกอล์ฟยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ดังนี้ ถ้าท่านเป็นศาลจะวินิจฉัยคดีของพนักงานอัยการและคําร้องของนายลูกกอล์ฟอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใด ฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6

(7) “คําร้องทุกข์” หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทําความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทําความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ”

มาตรา 28 “บุคคลเหล่านี้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล

(1) พนักงานอัยการ

(2) ผู้เสียหาย”

มาตรา 30 “คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องขอเข้าร่วม เป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้”

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิด นั้นก่อน”

มาตรา 121 วรรคสอง “แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวนเว้นแต่จะมี คําร้องทุกข์ตามระเบียบ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายนําโชคออกเช็คชําระหนี้ให้นายลูกกอล์ฟ และเมื่อเช็คถึงกําหนด ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินนั้น เมื่อนายลูกกอล์ฟเป็นผู้ทรงเช็คในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน นายลูกกอล์ฟจึง เป็นผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4)

แต่การที่นายลูกกอล์ฟนําเช็คไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวนว่า “ผู้แจ้งเกรงว่าคดีจะขาดอายุความจึงขอแจ้งความ ไว้เป็นหลักฐาน” ถือว่านายลูกกอล์ฟยังไม่มีเจตนาให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ ถ้อยคําที่แจ้งจึงไม่เป็นคําร้องทุกข์ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (7) (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 62/2521)

ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อไม่มีคําร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอํานาจสอบสวนตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 121 วรรคสอง ทําให้การสอบสวน ของพนักงานสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นผลให้พนักงานอัยการไม่มีอํานาจฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 120 ประกอบมาตรา 28 ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้องคดีของพนักงานอัยการ

เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องคดีของพนักงานอัยการแล้วจึงไม่มีคําฟ้องอยู่ในศาล นายลูกกอล์ฟ แม้จะเป็นผู้เสียหายก็ไม่สามารถเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 30 ได้ ดังนั้น ศาลจึงต้อง สั่งยกคําร้องของนายลูกกอล์ฟเช่นเดียวกัน

สรุป

ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลจะพิพากษายกฟ้องคดีของพนักงานอัยการ และจะมีคําสั่งยกคําร้อง ของนายลูกกอล์ฟ

 

ข้อ 2. นายกระทิงใช้อาวุธปืนยิงนายภาคย์เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส เมื่อพนักงานสอบสวนสอบสวนเสร็จแล้วพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลขอให้ลงโทษนายกระทิงฐานพยายามฆ่านายภาคย์ ในคดี ที่พนักงานอัยการฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่านายกระทิงมีความผิดตามฟ้อง ลงโทษจําคุก 5 ปี นายกระทิงยื่นอุทธรณ์ในระหว่างศาลอุทธรณ์พิจารณาคดี ปรากฏว่านายภาคย์ถึงแก่ความตายเพราะ บาดแผลที่ถูกอาวุธปืนยิงดังกล่าว ดังนี้ นางนันทนัชภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายภาคย์ จะยื่นฟ้องต่อศาลในวันรุ่งขึ้นขอให้ลงโทษนายกระทิงฐานฆ่านายภาคย์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใด ฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6”

มาตรา 5 “บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้

(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทําร้าย ถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้”

มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้

(4) เมื่อมีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) กรณีที่สิทธิการนําคดีอาญามาฟ้องระงับ เมื่อมีคําพิพากษา เสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องนั้น ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1 จําเลยในคดีแรกและคดีที่นํามาฟ้องใหม่เป็นคนเดียวกัน

2 การกระทําของจําเลยเป็นการกระทําเดียวกัน

3 ศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายภาคย์ถึงแก่ความตายจากบาดแผลที่ถูกนายกระทิงใช้อาวุธปืน ยิ่งนั้น แม้นางนันทนัชภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายภาคย์จะมีอํานาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) และมาตรา 5 (2) แต่เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีที่พนักงานอัยการฟ้องนายกระทิง ฐานพยายามฆ่าไปแล้ว การที่นางนันทนัชยื่นฟ้องนายกระทิงแม้จะฟ้องคนละฐานความผิดก็ยังถือว่าเป็นการกระทํา เดียวกัน ฟ้องของนางนันทนัชจึงเป็นฟ้องซ้ําเนื่องจากสิทธินําคดีอาญามาฟ้องระงับไปแล้วตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) ดังนั้น นางนันทนัชภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายภาคย์จะยื่นฟ้องต่อศาลในวันรุ่งขึ้นขอให้ ลงโทษนายกระทิงฐานฆ่านายภาคย์ไม่ได้

สรุป

นางนันทนัชภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายภาคย์จะยื่นฟ้องต่อศาลในวันรุ่งขึ้น ขอให้ศาลลงโทษนายกระทิงฐานฆ่านายภาคย์ไม่ได้

 

ข้อ 3. ร.ต.อ.กฤตพนธ์วางแผนให้นายเสือสายลับไปล่อซื้อนางสาวมะกรูดซึ่งเป็นหญิงค้าประเวณี โดยมีการถ่ายสําเนาธนบัตรที่จะใช้ในการล่อซื้อไว้ เมื่อนายเสือพบนางสาวมะกรูดยืนอยู่หน้าบ้านซึ่ง เปิดไว้เพื่อการค้าประเวณี นายเสือได้เดินเข้าไปหานางสาวมะกรูด นางสาวมะกรูดเห็นนายเสือจึง ได้เสนอราคาต่อนายเสือ หากนายเสือต้องการร่วมประเวณีกับตน นายเสือได้ตกลงตามราคาที่ นางสาวมะกรูดเสนอมา และได้เปิดห้องพักเพื่อใช้ร่วมประเวณี โดยห้องพักนั้นเป็นห้องพักที่ใช้ สําหรับให้หญิงค้าประเวณีทําการค้าประเวณีกับบุคคลทั่วไป เมื่อนายเสือได้ร่วมประเวณีกับนางสาวมะกรูดแล้ว นายเสือได้ใช้ธนบัตรเดียวกับที่ได้ถ่ายสําเนาไว้เพื่อใช้ในการล่อซื้อจ่ายเงินตาม จํานวนที่ตกลงกับนางสาวมะกรูด หลังจากนั้นนายเสือได้ส่งสัญญาณให้ ร.ต.อ.กฤตพนธ์เปิดประตู เข้ามา เมื่อ ร.ต.อ.กฤตพนธ์เข้ามาในห้องพักก็พบนายเสือกับนางสาวมะกรูดนอนอยู่บนเตียงสองต่อสอง และเห็นว่าข้างตัวนางสาวมะกรูดมีธนบัตรเดียวกับที่ได้ถ่ายสําเนาไว้เพื่อใช้ในการล่อซื้อวางอยู่ ร.ต.อ.กฤตพนธ์จึงทําการจับนางสาวมะกรูดทันทีโดยไม่มีหมายจับและหมายค้น

ดังนี้ การจับของ ร.ต.อ.กฤตพนธ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 78 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจะจับผู้ใด โดยไม่มีหมายจับหรือคําสั่งของศาลนั้น ไม่ได้ เว้นแต่

(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทําความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80”

มาตรา 80 วรรคแรก “ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ ความผิดซึ่งเห็นกําลังกระทําหรือ พบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทําผิดมาแล้วสด ๆ”

มาตรา 81 “ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทําตาม บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน”

มาตรา 92 “ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคําสั่งของศาล เว้นแต่พนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตํารวจเป็นผู้ค้น และในกรณีดังต่อไปนี้ ”

วินิจฉัย

โดยหลัก การจับกุมผู้กระทําผิดของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ ถ้าเป็นการจับในที่รโหฐาน การที่จะเข้าไปจับได้จะต้องมีอํานาจในการจับ คือ ต้องมีหมายจับหรืออํานาจที่กฎหมายให้ทําการจับได้โดยไม่ต้อง มีหมายจับ และต้องทําตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน คือ ต้องมีอํานาจในการค้นโดยมีหมายค้นหรือมีอํานาจที่กฎหมายให้ทําการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น

กรณีตามอุทาหรณ์ ห้องพักที่ใช้สําหรับให้ผู้หญิงค้าประเวณีทําการค้าประเวณีกับบุคคลทั่วไป ถือได้ว่าเป็นที่สาธารณสถานไม่ใช่ที่รโหฐาน การจับจึงไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน หาก ร.ต.อ.กฤตพนธ์มีอํานาจในการจับก็สามารถเข้าไปจับ ในห้องพักที่ใช้สําหรับให้หญิงค้าประเวณีทําการค้าประเวณีกับบุคคลทั่วไปได้โดยไม่จําเป็นต้องมีหมายค้นหรือ ไม่จําเป็นต้องมีอํานาจที่กฎหมายให้ทําการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 92 หรือไม่จําเป็นต้อง ขอความยินยอมโดยความสมัครใจจากเจ้าของที่รโหฐานให้เข้าไปในที่รโหฐานนั้น

ดังนั้น เมื่อนายเสือสายลับที่ให้ไปร่วมประเวณีกับนางสาวมะกรูดซึ่งเป็นหญิงค้าประเวณีได้ส่ง สัญญาณให้ ร.ต.อ.กฤตพนธ์เปิดประตูเข้ามา เมื่อ ร.ต.อ.กฤตพนธ์เข้ามาในห้องพักก็พบนายเสือกับนางสาวมะกรูด นอนอยู่บนเตียงสองต่อสอง และเห็นว่าข้างตัวนางสาวมะกรูดมีธนบัตรเดียวกับที่ได้ถ่ายสําเนาไว้เพื่อใช้ในการล่อซื้อวางอยู่ เป็นการพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่านางสาวมะกรูดได้กระทําผิดมาแล้วสด ๆ อัน เป็นความผิดซึ่งหน้าตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 80 วรรคแรก ร.ต.อ.กฤตพนธ์จึงมีอํานาจใน การจับนางสาวมะกรูดได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 69/2535) ดังนั้น การจับของ ร.ต.อ.กฤตพนธ์จึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การจับของ ร.ต.อ.กฤตพนธ์ชอบด้วยกฎหมาย

หมายเหตุ การใช้สายลับล่อซื้อหญิงค้าประเวณีเป็นเพียงการกระทําเท่าที่จําเป็นและสมควร ในการแสวงหาพยานหลักฐานในการกระทําความผิดของนางสาวมะกรูดตามอํานาจในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 2 (10) ชอบที่เจ้าพนักงานตํารวจจะกระทําการได้เพื่อให้ได้โอกาสจับกุมจําเลยพร้อมด้วย พยานหลักฐาน อันเป็นเพียงวิธีการพิสูจน์ความผิดของจําเลย ไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 81/2551)

 

ข้อ 4. นายลิตรร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีแก่นายกริชโดยกล่าวหาว่า วันเกิดเหตุขณะที่นายลิตรยืนอยู่บริเวณหน้าบ้านของนายลิตร นายกริชเดินเข้ามาทําร้ายนายลิตรและเอาสร้อยคอ ทองคําหนัก 1 บาทของนายลิตรไป ต่อมาเจ้าพนักงานตํารวจจับกุมนายกริชได้ตามจับและแจ้ง ข้อหาชิงทรัพย์กับแจ้งสิทธิตามกฎหมายชั้นจับกุมให้นายกริชทราบ นายกริชรับสารภาพและแจ้งว่า ได้เก็บสร้อยคอทองคําของนายลิตรไว้ในตู้เสื้อผ้าภายในบ้านของนายกริช เจ้าพนักงานตํารวจบันทึก คําให้การของนายกริชไว้ในบันทึกการจับกุมและยึดสร้อยคอทองคําเป็นของกลาง ชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาชิงทรัพย์และแจ้งสิทธิตามกฎหมายที่ผู้ต้องหาพึงมีในชั้นสอบสวนให้นายกริชทราบ

จากการสอบสวนได้ความว่านอกจากนายกริชแล้วยังมีนายพุฒิและนายสุกรีร่วมกระทํา ความผิดด้วย แต่นายพุฒิและนายสุกรีหลบหนีไปได้ เมื่อพนักงานสอบสวนทําการสอบสวนเสร็จแล้ว มีความเห็นว่า ควรสั่งฟ้องนายกริชฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ ต่อมาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง นายกริชในความผิดฐานดังกล่าว นายกริชให้การปฏิเสธโดยต่อสู้ว่าในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเจ้าพนักงานมิได้แจ้งข้อหาร่วมกัน ปล้นทรัพย์ให้นายกริชทราบมาก่อน เป็นเหตุให้การสอบสวนไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอํานาจฟ้อง นายกริชในข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 ขอให้ยกฟ้อง

ดังนี้ ข้อต่อสู้ของนายกริชฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิด นั้นก่อน”

มาตรา 134 “เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียกหรือส่งตัวมาหรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือ ปรากฏว่าผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทําที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทําผิด  แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ…”

วินิจฉัย

ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้นการสอบสวนถือเป็นเพียงการรวบรวมหลักฐานและ ดําเนินการทั้งหลายตามที่กฎหมายกําหนด ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทําไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบ ข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อเอาตัวผู้กระทําผิดมาฟ้องลงโทษ และการแจ้งข้อกล่าวหาตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134 ก็ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งของการสอบสวนเพื่อให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าจะถูกสอบสวนในคดีอาญาเรื่องใด แม้เดิมเจ้าพนักงานตํารวจจับกุมและพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อการสอบสวนปรากฏว่าการกระทํา ของผู้ต้องหาเป็นความผิดฐานอื่นก็ถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดนั้นมาแล้วแต่แรก

ดังนั้น ตามอุทาหรณ์ แม้ขั้นจับกุมและชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อหาแก่นายกริช ฐานชิงทรัพย์ แต่เมื่อพนักงานอัยการโจทก์เห็นว่าการกระทําความผิดของนายกริชเข้าองค์ประกอบความผิดร่วมกัน ปล้นทรัพย์ตามความเห็นของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ โจทก์ย่อมมีอํานาจฟ้องนายกริชในความผิดฐานร่วมกัน ปล้นทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 120 เพราะถือว่ามีการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมายมาแล้วแต่แรกนั่นเอง ดังนั้น ข้อต่อสู้ของนายกริชจึงฟังไม่ขึ้น (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 256/2553)

สรุป ข้อต่อสู้ของนายกริชฟังไม่ขึ้น

Advertisement