การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3300 การบริหารการคลัง
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1 กฎหมายกําหนดให้ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ยกเว้นข้อใด
(1) บุคคลธรรมดา
(2) นิติบุคคล
(3) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
(4) ผู้ที่ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
(5) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 24 – 25) ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1 บุคคลธรรมดา 2 ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล 3 ผู้ที่ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี 4 กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
2 กฎหมายกําหนดให้ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคล ยกเว้นข้อใด
(1) ห้างหุ้นส่วนจํากัด
(2) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
(3) บริษัทมหาชนจํากัด
(4) บริษัทจํากัด
(5) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้
ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 24 – 25) ผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ 1 บริษัทจํากัด 2 บริษัทมหาชนจํากัด 3 ห้างหุ้นส่วนจํากัด 4 ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน (ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล) 5มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ เป็นต้น
3 ผู้ที่มีอํานาจในการกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการส่งออก คือ
(1) อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
(3) อธิบดีกรมสรรพากร
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(5) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 8) ผู้ที่มีอํานาจในการกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการส่งออก คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
4 “Ownership” หมายถึง
(1) กระบวนการตรวจสอบภาษีของกรมสรรพากร
(2) คณะบุคคลที่เป็นนิติบุคคล
(3) กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี
(4) การเก็บภาษีล่วงหน้า
(5) การกํากับดูแลผู้เสียภาษีตามกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ
ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 27 – 28) กรมสรรพากรได้กําหนดกลยุทธ์การพัฒนาระบบการจัดเก็บภาษีอากรโดยใช้นโยบายการกํากับดูแลผู้เสียภาษีอากรอย่างใกล้ชิดเป็นราย ผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นแนวทางการจัดเก็บภาษีโดยให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในลักษณะเป็น Ownership คือ การกํากับดูแลผู้เสียภาษีอากรตามกลุ่มของการประกอบธุรกิจ (กลุ่ม ผู้ประกอบการธุรกิจ) ตั้งแต่การให้คําแนะนําอย่างใกล้ชิด การติดตามดูแลผู้เสียภาษีอากร โดยไม่เน้นการตรวจสอบย้อนหลัง แต่ให้มีการกํากับดูแลทันทีที่ถึงกําหนดการยื่นแบบแสดง รายการเสียภาษี
5 หลักการจัดเก็บภาษีอากรในประเทศไทย
(1) หลักสัญชาติ
(2) หลักถิ่นที่อยู่
(3) หลักแหล่งเงินได้
(4) หลักถิ่นที่อยู่และหลักแหล่งเงินได้
(5) หลักสัญชาติและหลักแหล่งเงินได้
ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3300-1 หน้า 27), (เอกสารหมายเลข 1-3300-3 หน้า 16)หลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ใช้กันในปัจจุบันมี 3 หลักการ ดังนี้ 1 หลักถิ่นที่อยู่ คือ บุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศใดต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศนั้น ซึ่งในกรณีของประเทศไทยบุคคลใดอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วัน ให้ถือว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย 2 หลักแหล่งเงินได้ คือ ผู้มีเงินได้จากแหล่งประเทศใด ก็ต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศนั้น 3 หลักสัญชาติ คือ บุคคลที่ถือสัญชาติใดก็ให้เสียภาษีแก่ประเทศนั้น อนึ่งสําหรับประเทศไทยจะใช้หลักถิ่นที่อยู่เละหลักแหล่งเงินได้เท่านั้น
6 การกําหนดมาตรการลงโทษ คือลักษณะพิเศษของกฎหมายภาษีอากรข้อใด
(1) หลักความเสมอภาค
(2) หลักความเป็นกลาง
(3) หลักการบังคับใช้ทั่วไป
(4) หลักสะดวก
(5) หลักความชอบด้วยกฎหมาย
ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 15 – 16) หลักการบังคับใช้เป็นการทั่วไป เป็นการบังคับใช้กฎหมายภาษีอากรภายใต้เขตแดนภาษี หรือเรียกว่า หลักการใช้อํานาจตามส่วนและต้องอยู่ภายใต้กรอบแห่งระยะเวลา ไม่มีผลย้อนหลัง
7 อัตราภาษีตามสภาพและอัตราภาษีตามราคา คืออัตราภาษีข้อใด
(1) อัตราภาษีแบบสัดส่วน
(2) อัตราภาษีแบบก้าวหน้า
(3) อัตราภาษีแบบถดถอย
(4) อัตราภาษีแบบคงที่
(5) อัตราภาษีแบบถอยหลัง
ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 1-3300-3 หน้า 12 – 13) อัตราภาษีคงที่ แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1 อัตราตามสภาพ เป็นกรณีที่ฐานภาษีแสดงไว้เป็นปริมาณหรือขนาด เช่น การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากสุราเป็นลิตร เป็นต้น 2. อัตราตามราคา เป็นกรณีที่ฐานภาษีแสดงไว้เป็นราคาหรืออัตราภาษีที่กําหนดไว้เป็นร้อยละของราคาสินค้า เช่น การจัดเก็บภาษีศุลกากรจากรถยนต์นําเข้าในอัตราร้อยละ 80 ของราคารถยนต์ เป็นต้น
8 ภาษีที่เก็บจากสุรา คือข้อใด
(1) ภาษีศุลกากร
(2) ภาษีการใช้จ่าย
(3) ภาษีการขาย
(4) ภาษีที่ดิน
(5) ภาษีสรรพสามิต
ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3300-1 หน้า 10 – 11, 29) กรมสรรพสามิต มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ซึ่งเก็บจากสินค้าหรือโภคภัณฑ์บางประเภทที่ผลิตภายในประเทศ เช่น สุรา เครื่องดื่ม ยาสูบ (บุหรี) ไพ่ น้ำมันและผลิตภัณฑ์นำมัน น้ำหอม รถยนต์ ซีเมนต์ ยานัตถุ ฯลฯ
9 ภาษีทางอ้อม คือข้อใด
(1) ภาษีการใช้จ่าย
(2) ภาษีมูลค่าเพิ่มของทรัพย์สิน
(3) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(4) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(5) ภาษีมรดก
ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3300-1 หน้า 29), (เอกสารหมายเลข 0-3300-3 หน้า 11), (คําบรรยาย)การจําแนกประเภทภาษีอากรตามหลักการผลักภาระภาษี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1 ภาษีทางตรง เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีไม่สามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้หรือผลักภาระได้ยาก เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการประกันสังคม ภาษีมรดก ภาษีมูลค่าเพิ่มของทรัพย์สิน เป็นต้น
2 ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการ ภาษีการขายทั่วไป ภาษีการใช้จ่าย อากรมหรสพ ค่าใบอนุญาต เป็นต้น
10 ข้อใดคือภาษีเพื่อการใช้จ่ายเฉพาะอย่าง (Earmarked Tax)
(1) ภาษีสรรพสามิต
(2) ภาษีนิติบุคคล
(3) ภาษีการค้า
(4) ภาษีเงินเดือน
(5) ภาษีศุลกากร
ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 1-3300-3 หน้า 10 – 11) การจําแนกประเภทภาษีอากรตามลักษณะการใช้เงินภาษีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1 ภาษีเพื่อการใช้จ่ายทั่วไป เป็นภาษีอากรส่วนใหญ่ที่รัฐบาลจัดเก็บจากประชาชนเพื่อนําเข้า เป็นงบประมาณรายได้ แล้วตั้งจ่ายไปตามงบประมาณรายจ่ายประจําปี เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร เป็นต้น
2 ภาษีเพื่อการใช้จ่ายเฉพาะอย่าง เป็นภาษีอากรที่รัฐบาลจัดเก็บเป็นรายได้สําหรับใช้จ่ายในกิจการหรือเป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นการเฉพาะ มิได้นําเข้าเป็นงบประมาณรายได้สําหรับใช้จ่าย เป็นการทั่วไป เช่น การจัดเก็บภาษีเงินเดือนเพื่อนํามาตั้งเป็นกองทุนให้บริการด้านการประกันสังคม เป็นต้น
11 ภาษีประเภทใดนับเป็นแหล่งรายได้ที่สําคัญของกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา
(1) ภาษีการขาย
(2) ภาษีสรรพสามิต
(3) ภาษีศุลกากร
(4) ภาษีการค้า
(5) ภาษีทรัพย์สิน
ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 12, 14), (คําบรรยาย) ภาษีการค้า ถือเป็นแหล่งรายได้ที่สําคัญที่สุดของประเทศที่กําลังพัฒนา ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วแหล่งรายได้สําคัญจะมาจากภาษีรายได้และภาษีทรัพย์สิน
12 ประเภทของภาษีอากรที่มีอยู่ตามประมวลรัษฎากรในปัจจุบัน ยกเว้น
(1) ภาษีทรัพย์สิน
(2) ภาษีธุรกิจเฉพาะ
(3) อากรแสตมป์
(4) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(5) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 17) ภาษีอากรที่มีอยู่ตามประมวลรัษฎากรในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1 ภาษีเงินได้ ประกอบด้วย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม 3 ภาษีธุรกิจเฉพาะ 4 อากรแสตมป์
13 ภาษีทางตรงเป็นการจําแนกภาษีประเภทใด
(1) การจําแนกตามระดับของผู้จัดเก็บ
(2) การจําแนกตามลักษณะของการใช้เงินภาษี
(3) การจําแนกตามหลักการผลักภาระภาษี
(4) การจําแนกตามลักษณะของฐานภาษี
(5) การจําแนกตามวิธีการประเมิน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ
14 ภาษีมรดกและการให้เป็นภาษีที่จัดเก็บอย่างไร
(1) ภาษีทางตรง
(2) ภาษีที่เก็บจากทรัพย์สิน
(3) ภาษีทางอ้อม
(4) ภาษีที่เก็บจากโภคภัณฑ์
(5) ภาษีที่เก็บจากการประเมิน
ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 12), (คําบรรยาย) การจําแนกประเภทภาษีอากรตามลักษณะของฐานภาษี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 ภาษีที่เก็บจากเงินได้ (รายได้) เป็นการนําเอารายได้มาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภาษีบุคคลธรรมดา) มี “เงินได้หรือรายได้สุทธิ” เป็นฐานภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภาษีนิติบุคคล) มี “กําไรสุทธิ” เป็นฐานภาษี, ภาษีมูลค่าเพิ่มของทรัพย์สิน มี “มูลค่าเพิ่ม” เป็นฐานภาษี เป็นต้น
2 ภาษีที่เก็บจากทรัพย์สิน เป็นการนําเอาทรัพย์สินมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีมรดก, ภาษีบํารุงท้องที่, ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นต้น
3 ภาษีที่เก็บจากการบริโภคหรือโภคภัณฑ์ เป็นการนําเอาค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าและบริการมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีสรรพสามิต, ภาษีศุลกากร มี “มูลค่าการนําเข้า” เป็นฐานภาษี, ภาษีการค้า มี “รายรับหรือยอดขาย” เป็นฐานภาษี ภาษีการขาย, ภาษีการใช้จ่าย เป็นต้น
15 การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินจากที่ดินเรียกว่าอะไร
(1) ภาษีทรัพย์สิน
(2) ภาษีบํารุงท้องที่
(3) ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
(4) ภาษีที่ดิน
(5) ภาษีที่บุคคลถือครอง
ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3300-3 หน้า 12) ภาษีทรัพย์สิน เป็นภาษีที่เก็บจากทรัพย์สินที่บุคคลถือครองอยู่ทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ โดยภาษีที่มีทรัพย์สินเป็นฐานนี้ มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินจากที่ดินเรียกว่า “ภาษีบํารุงท้องที่”การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินจากโรงเรือนที่ให้เช่าเรียกว่า “ภาษีโรงเรือนและที่ดิน” เป็นต้น
16 “เงินได้สุทธิ” เป็นฐานภาษี (Tax Base) ของภาษีประเภทใด
(1) ภาษีทางตรง
(2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(3) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(4) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(5) ภาษีเงินได้จากการขาย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ
17 ความหมายของคําว่า “การหลบหลีกภาษี” คือข้อใด
(1) ผู้มีอิทธิพลร่วมกับเจ้าหน้าที่มักจะหาช่องทางไม่เสียภาษี
(2) ประชาชนไม่สนใจกฎหมายภาษีอากร
(3) ปัญหาจากกลไกการจัดเก็บภาษีบกพร่อง
(4) การหาวิธีไม่เสียภาษีหรือเสียภาษีให้น้อยลงโดยวิธีการที่ถูกกฎหมาย
(5) การหาวิธีไม่เสียภาษีหรือเสียภาษีให้น้อยลงโดยวิธีการที่ผิดกฎหมาย
ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 20), (คําบรรยาย) การหลบหลีกภาษี (Tax Evasion) หมายถึง การหาวิธีการไม่เสียภาษีหรือเสียภาษีให้น้อยลงโดยวิธีการที่ผิดกฎหมาย ได้แก่
1 ประชาชนไม่ให้ความสนใจกฎหมายภาษีอากร จึงทําให้ไม่ทราบว่ากิจการของตนเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษี
2 กลุ่มผู้มีอิทธิพลมักพยายามหาช่องทางไม่เสียภาษีอากรร่วมกับเจ้าหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีจึงทําให้ผู้มีอิทธิพลน้อยหรือไม่มีอิทธิพลปฏิบัติตาม
3 กลไกการจัดเก็บภาษีอากรยังมีความบกพร่อง จึงทําให้การหลบหลีกภาษีเป็นเรื่องง่าย
18 ภาษีที่ท้องถิ่นไม่ได้จัดเก็บ คือข้อใด
(1) ภาษีบํารุงท้องที่
(2) ภาษีบํารุงท้องถิ่น
(3) ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
(4) ภาษีป้าย
(5) อากรฆ่าสัตว์
ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3300-1 หน้า 30, 47 – 48) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตําบล เทศบาล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา มีอํานาจหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีอากร ดังนี้
1 ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
2 ภาษีบํารุงท้องที่
3 ภาษีป้าย
4 อากรฆ่าสัตว์
19 ภาษีอากรที่ท้องถิ่นไม่ได้เก็บร่วมกับรัฐบาลกลาง คือข้อใด
(1) ภาษีการขาย
(2) ภาษีการค้า
(3) ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
(4) ภาษีเครื่องดื่ม
(5) อากรมหรสพ
ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3300-1 หน้า 48) ภาษีอากรที่ท้องถิ่นจัดเก็บร่วมกับรัฐบาลกลางหรือภาษีเสริม (Surcharge Tax) เป็นภาษีที่รัฐบาลช่วยจัดเก็บ ได้แก่ ภาษีการค้า ภาษีเครื่องดื่ม อากรมหรสพ และภาษีน้ํามันกับผลิตภัณฑ์น้ํามัน
20 ข้อใดไม่ใช่ภาษีร่วม (Revenue-Sharing Tax)
(1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(2) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(3) ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
(4) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(5) ภาษีการค้า
ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3300-1 หน้า 54) ระบบภาษีร่วม (Revenue-Sharing Tax) เป็นระบบภาษีที่มีฐานรายได้ร่วมกันระหว่างรัฐบาลระดับต่าง ๆ ซึ่งภาษีที่นิยมใช้ระบบ ดังกล่าว ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้า ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 21. – 25. เป็นนโยบายภาษีในข้อใดต่อไปนี้ (อาจเลือกคําตอบได้มากกว่าหนึ่งครั้ง)
(1) ส่งเสริมการลงทุน
(2) ส่งเสริมการกระจายความมั่งคั่ง
(3) สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ
(4) สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ
(5) เพื่อหารายได้ของรัฐ
21 ลดการนําเข้าสินค้าและส่งเสริมการลงทุนเพื่อทดแทนการนําเข้า
ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3300-3 หน้า 18), (คําบรรยาย) นโยบายภาษีอากรที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้
1 เพื่อหารายได้ของรัฐ เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) สนับสนุนนโยบายการขึ้นภาษียาสูบของรัฐบาล
2 สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ เช่น การออกกฎหมายเพื่อผลักดันหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายภาษีสิ่งแวดล้อม (PPP) การพิจารณาปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ในส่วนของเชื้อเพลิงที่ ไม่ได้มาตรฐาน นโยบายภาษีที่ลดการนําเข้าสินค้าและส่งเสริมการลงทุนเพื่อทดแทนการนําเข้า
3 สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ เช่น การใช้ภาษีเงินได้แบบติดลบในยามที่เศรษฐกิจตกต่ำ ยกเว้นการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีรายได้ไม่เกิน 80,000 บาท ผู้มีเงินได้สุทธิ ไม่เกิน 100,000 บาท ให้จัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 5 การขยายเวลาการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 7% การปรับลดภาษีน้ำมัน
4 ส่งเสริมการกระจายความมั่งคั่ง ซึ่งอาจกระทําได้โดยการเก็บภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยในราคาแพงการเก็บภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดิน หรือภาษีบุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้า
5 ส่งเสริมการลงทุน คือ การกําหนดอัตราภาษีหรือยกเว้นภาษีบางประเภท หรือกําหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้การลงทุนของรัฐบาลกับเอกชนมีความสอดคล้องกันหรือช่วยส่งเสริมการลงทุน ของภาคเอกชน เช่น การกําหนดอัตราภาษีศุลกากรในอัตราที่ต่ํา การออกมาตรการภาษีและ ค่าธรรมเนียมเพื่อการสนับสนุนและพัฒนาตลาดทุนไทย ซึ่งได้แก่ การยกเว้นภาษี Capital Gains กรณีบุคคลธรรมดา การหักภาษี ณ ที่จ่ายอัตรา 10% สําหรับเงินปันผลที่ได้รับ ฯลฯ
22 เพิ่มอัตราภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ
23 การเก็บภาษีบุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้า
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ
24 การร่วมลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชนมีความสอดคล้องกัน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ
25 ผู้มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 100,000 บาท ให้จัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 5
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ
26 เงินได้พึงประเมินข้อใดที่ไม่ต้องนํามาคํานวณในการเสียภาษี
(1) ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงินที่ได้รับจริง
(2) การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก
(3) ประโยชน์ที่อาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน
(4) เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกําหนด
(5) เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เงินได้พึงประเมินที่ต้องนํามาคํานวณในการเสียภาษี ได้แก่
1 ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงินที่ได้รับจริง
2 การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก
3 ประโยชน์ที่อาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน
4 เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกําหนด ฯลฯ
27 ภาษีประเภทใดเป็นดัชนีชี้วัดการพัฒนาประเทศ
(1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(2) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(3) ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
(4) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(5) ภาษีการค้า
ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-2300-3 หน้า 23) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถือเป็นดัชนีชี้วัดการพัฒนาประเทศ และเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดที่จะสะท้อนระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ ซึ่ง ประเทศใดก็ตามที่ประชากรส่วนใหญ่มีรายได้มากพอที่จะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็แสดงว่าประเทศนั้นมีระดับการพัฒนาสูง และประชาชนมีความกินดีอยู่ดี
28 ขีดจํากัดของระบบภาษีในการเก็บภาษีสูงขึ้น ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) อํานาจของรัฐบาลสูงขึ้น เสรีภาพของเอกชนลดลง
(2) การออมทรัพย์ของเอกชนเพิ่มขึ้น
(3) การลงทุนของเอกชนเพิ่มขึ้น
(4) การลงทุนของเอกชนลดลง
(5) อํานาจของรัฐบาลลดลง เสรีภาพของเอกชนเพิ่มขึ้น
ตอบ 1, 4 (เอกสารหมายเลข 0-3300-3 หน้า 17 – 18) ขีดจํากัดของระบบภาษีในการเก็บภาษีสูงขึ้น คือ
1 อํานาจของรัฐบาลสูงขึ้น เสรีภาพของเอกชนจะลดลง
2 การออมทรัพย์ของเอกชนจะลดลง
3 การลงทุนของเอกชนจะลดลง
4 การหลบเลี่ยงภาษีอาจมีมากขึ้น
29 ข้อใดเป็นลักษณะการเก็บภาษีเพื่อลดปัญหาเงินเฟ้อ
(1) การยกเว้นภาษีบางประเภท
(2) การเก็บภาษีให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ
(3) การเก็บภาษีทุกประเภทให้น้อยลง
(4) การเก็บภาษีบุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้า
(5) การเก็บภาษีให้มากขึ้น
ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 18 – 19) ภาวะเงินเฟ้อทําให้มีการขยายตัวในการนําสินค้าเข้า ซึ่งทําให้การแบ่งสรรรายได้เป็นไปอย่างไม่เป็นธรรม ดังนั้นภาษีอากรที่สามารถลด การบริโภคของประชาชน หรือการเก็บภาษีมาใช้ในการพัฒนาประเทศให้มากขึ้นจะสามารถ ช่วยลดปัญหาความรุนแรงของภาวะเงินเฟ้อได้
30 ค่าใช้จ่ายในการบริหารภาษีอากรควรจะอยู่ในอัตราที่ต่ำ คือลักษณะระบบภาษีอากรข้อใด
(1) หลักยุติธรรม
(2) หลักสะดวก
(3) หลักทํารายได้ดี
(4) หลักประหยัด
(5) หลักแน่นอน
ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 15), (คําบรรยาย) หลักประหยัด หมายถึง การบริหารงานจัดเก็บภาษีควรจะให้เสียค่าใช้จ่ายทั้งผู้จัดเก็บและผู้เสียภาษีน้อยที่สุด แต่ให้ได้ประโยชน์มาก ที่สุด นั่นคือ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดเก็บควรจะต่ำ และการจัดเก็บควรมีผลกระทบต่อเอกชนน้อยที่สุด เช่น การนําเครื่องมือการจัดการมาใช้แทนคนในการจัดเก็บภาษีอากร เป็นต้น
31 อัตราภาษีที่จัดเก็บจะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าฐานภาษีที่เพิ่มขึ้น คือโครงสร้างอัตราภาษีข้อใด
(1) อัตราภาษีแบบสัดส่วน
(2) อัตราภาษีแบบก้าวหน้า
(3) อัตราภาษีแบบถดถอย
(4) อัตราภาษีแบบคงที่
(5) อัตราภาษีแบบถอยหลัง
ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3300-3 หน้า 12 – 13), (คําบรรยาย) อัตราภาษีที่ใช้ในการคํานวณภาษีอากร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 อัตราภาษีคงที่ (Flat Tax Rate) หรืออัตราภาษีตามสัดส่วน (Proportional Tax Rate) คือ อัตราภาษีที่จัดเก็บจะคงที่เมื่อฐานภาษีเปลี่ยนไป หรืออัตราภาษีที่เรียกเก็บเท่ากันหมด ไม่ว่าฐานภาษีจะต่างกันหรือไม่
2 อัตราภาษีแบบถดถอย (Regressive Tax Rate) คือ อัตราภาษีที่จัดเก็บจะลดลงเมื่อฐานภาษีเพิ่มขึ้นหรือมากขึ้น
3 อัตราภาษีแบบก้าวหน้า (Progressive Tax Rate) คือ อัตราภาษีที่จัดเก็บจะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าฐานภาษีที่เพิ่มขึ้น หรืออัตราภาษีที่เรียกเก็บมากขึ้นเมื่อฐานภาษีมากขึ้น
32 ลักษณะพิเศษของกฎหมายภาษีอากร ยกเว้น
(1) หลักสะดวก
(2) หลักความชอบด้วยกฎหมาย
(3) หลักการบังคับใช้ทั่วไป
(4) หลักความเป็นกลาง
(5) หลักความเสมอภาคทางภาษีอากร
ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 1-3300-3 หน้า 15 – 16) ลักษณะพิเศษของกฎหมายภาษีอากรมี 4 ประการ คือ
1 หลักความชอบด้วยกฎหมายภาษี
2 หลักความเสมอภาคทางภาษี
3 หลักการบังคับใช้เป็นการทั่วไป
4 หลักความเป็นกลางและการแทรกแซงภาษี
33 ข้อต่อไปนี้คือหลักการจัดเก็บภาษีจากผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ยกเว้น
(1) ผู้ผลิต
(2) ผู้ให้บริการ
(3) ผู้ขายส่งและผู้ขายปลีก
(4) ผู้นําเข้าและผู้ส่งออก
(5) องค์การของรัฐบาลบางแห่ง
ตอบ 5 (GM 306 เลขพิมพ์ 51163 หน้า 156 – 159) ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่เก็บจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและการจําหน่ายสินค้าหรือ บริการต่าง ๆ โดยผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่
1 ผู้ผลิต 2 ผู้ให้บริการ
3 ผู้ขายส่งและผู้ขายปลีก 4 ผู้นําเข้าและผู้ส่งออก
34 “หลักการใช้อํานาจตามส่วน” และต้องอยู่ภายใต้กรอบแห่งเวลา “ไม่มีผลย้อนหลัง” คือลักษณะพิเศษ ของกฎหมายภาษีอากรข้อใด
(1) หลักความชอบด้วยกฎหมายภาษี
(2) หลักความเสมอภาคทางภาษีอากร
(3) หลักการบังคับใช้เป็นการทั่วไป
(4) หลักความเป็นกลาง
(5) หลักการแทรกแซงภาษี
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ
35 อธิบดีกรมสรรพากร คือ
(1) นายประสงค์ พูนธเนศ
(2) นายสมชัย สัจจพงษ์
(3) นายวินัย วิทวัสการเวช
(4) นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล
(5) นางอัจนา ไวความดี
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) อธิบดีกรมสรรพากรคนปัจจุบัน คือ นายประสงค์ พูนธเนศ เข้าดํารงตําแหน่งตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2557
36 ส่วนขาดดุลทางการคลังเกิดจากข้อใด
(1) รัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้
(2) รัฐบาลมีรายได้มากกว่ารายจ่าย
(3) รัฐบาลมีรายจ่ายเท่ากับรายได้
(4) รายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3300-1 หน้า 21), (คําบรรยาย)นโยบายการคลัง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 นโยบายการคลังแบบสมดุล คือ นโยบายที่กําหนดให้รายรับของรัฐเท่ากับรายจ่ายของรัฐ
2 นโยบายการคลังแบบเกินดุล คือ นโยบายที่กําหนดให้รายรับของรัฐมากกว่ารายจ่ายของรัฐ
3 นโยบายการคลังแบบขาดดุล คือ นโยบายที่กําหนดให้รายรับของรัฐน้อยกว่ารายจ่ายของรัฐ
37 ปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงทศวรรษ 1930 เรียกว่าอะไร
(1) Crisis
(2) The Great Storm
(3) The Great Depression
(4) Hamburger Crisis
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลกในช่วงทศวรรษ 1930 เรียกว่า The Great Depression ซึ่งทฤษฎีของเคนส์ได้เข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ํานี้ โดยการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดําเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลโดยรัฐบาล ซึ่งเป็นการทํางานของกลไกอุปสงค์มวลรวม
38 นักเศรษฐศาสตร์สํานักใดไม่ยอมรับการก่อหนี้สาธารณะ
(1) เคนส์เซียน
(2) นีโอลิเบอรัล
(3) พาณิชย์นิยม
(4) เสรีนิยม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) นักเศรษฐศาสตร์สํานักคลาสสิก (Classical Economist) หรือสํานักเสรีนิยม(Liberalist) มองว่า บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจควรเป็นไปอย่างจํากัด (Minimalist State) คือ รัฐบาลควรใช้จ่ายงบประมาณอย่างจํากัด ดังนั้นการใช้จ่ายเกินตัวของรัฐบาลซึ่งนําไปสู่การก่อหนี้สาธารณะจึงเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์สํานักนี้
39 ในทฤษฎีของเคนส์การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรัฐบาลเป็นการทํางานของกลไกในข้อใด
(1) การบริโภค
(2) การออม
(3) การลงทุน
(4) อุปสงค์มวลรวม
(5) การจับจ่ายใช้สอย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ
40 กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้สาธารณะ เรียกว่าอะไร
(1) วินัยทางการคลัง
(2) กฎเหล็กทางการคลัง
(3) ความยั่งยืนทางการคลัง
(4) กฎกระทรวงการคลัง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้สาธารณะ เรียกว่า วินัยทางการคลัง
41 บทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดในพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ที่กําหนดขีดจํากัดของ การก่อหนี้สาธารณะสําหรับประเทศไทย
(1) มาตรา 8
(2) มาตรา 8 ทวิ
(3) มาตรา 9
(4) มาตรา 9 ทวิ
(5) มาตรา 9 ตรี
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ที่กําหนดขีดจํากัดของการก่อหนี้สาธารณะคือ มาตรา 9 ทวิ ซึ่งกําหนดให้กู้ได้ร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจําปีที่ใช้บังคับอยู่ ในขณะนั้น และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมกับอีกร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สําหรับชําระคืนต้นเงินกู้
42 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะอยู่ภายใต้สังกัดของหน่วยงานใด
(1) สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
(2) กรมบัญชีกลาง
(3) สํานักงบประมาณ
(4) กรมธนารักษ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2542 เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้สังกัดของสํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
43 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ ก่อตั้งขึ้นในปีใด
(1) ปี พ.ศ. 2540
(2) ปี พ.ศ. 2541
(3) ปี พ.ศ. 2542
(4) ปี พ.ศ. 2543
(5) ปี พ.ศ. 2544
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ
44 ข้อใดไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ
(1) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
(2) หนี้ของรัฐบาล
(3) หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน
(4) หนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3300-1 หน้า 39 – 40, เอกสารหมายเลข 0-3300-3 หน้า 36 – 42)หนี้สาธารณะ มีลักษณะดังนี้
1 หนี้ที่รัฐบาลกู้ตรงทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศ
2 หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ําประกันและไม่ค้ําประกัน แต่ไม่รวมถึงหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐไม่ได้ค้ำประกัน
3 หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
45 บทบาทของรัฐบาลในลักษณะที่เป็น Minimalist State ตรงกับข้อใด
(1) รัฐบาลไม่มีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ
(2) รัฐบาลไม่ควรมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ
(3) บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจควรเป็นไปอย่างจํากัด
(4) บาทบาทของรัฐบาลเป็นไปตามนโยบายของพรรคการเมือง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ
46 ณ สิ้นเดือนเมษายน 2560 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทย อยู่ที่ประมาณร้อยละเท่าไร
(1) 10
(2) 15
(3) 20
(4) 40
(5) 60
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2560 มีจํานวน 6,267,920.88 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.64 ของ GDP
47 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับร้อยละเท่าไร
(1) 7.12
(2) 15.26
(3) 15.28
(4) 18.25
(5) 25.74
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.1 และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ภาระหนี้ต่องบประมาณอยู่ที่ร้อยละ 8.9
48 ข้อใดคือความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ในต่างประเทศ
(1) วงเงิน
(2) ระยะเวลาชําระคืน
(3) อัตราดอกเบี้ย
(4) ผู้ที่รับภาระหนี้
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การก่อหนี้สาธารณะต้องคํานึงถึงผู้ที่รับภาระหนี้ วงเงิน ระยะเวลาชําระคืนและอัตราดอกเบี้ย โดยที่อัตราดอกเบี้ยคือ ความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้ สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับต่างประเทศ เนื่องจากต้องใช้คืนทั้งต้นเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยที่ผันผวนตามค่าเงิน
49 กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารหนี้สาธารณะ คือข้อใด
(1) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2545
(2) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2546
(3) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2547
(4) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548
(5) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2550
ตอบ 4 (คําบรรยาย) กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารหนี้สาธารณะ คือ พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548
50 ข้อใดไม่ใช่ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ
(1) ตั๋วสัญญาใช้เงิน
(2) พันธบัตร
(3) ตั๋วเงินคลัง
(4) บัตรเงินฝาก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 39 – 40) ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ คือ
1 ตัวเงินคลัง 2 ตั๋วสัญญาใช้เงิน 3 พันธบัตร
51 ข้อใดเป็นคํานิยามของพันธบัตรที่ถูกต้อง
(1) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกินหกเดือน
(2) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกินสิบสองเดือน
(3) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบสองเดือนขึ้นไป
(4) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบแปดเดือนขึ้นไป
(5) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่ยี่สิบสี่เดือนขึ้นไป
ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3300-3 หน้า 39), (คําบรรยาย) พันธบัตร คือ เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับเต่วันที่ออกตั้งแต่สิบสองเดือนขึ้นไป
52 ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังไม่อาจกู้เงินเพื่อการใด
(1) ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
(2) พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
(3) ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
(4) ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
(5) พัฒนาตลาดทุนในประเทศ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังกู้เงินได้เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1 ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ หรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้
2 พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
3 ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
4 ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
5 พัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ
53 บุคคลใดเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(3) ปลัดกระทรวงการคลัง
(4) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ
(5) ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 42)คณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ ประกอบด้วย
1 ประธานกรรมการ ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
2 รองประธานกรรมการ ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
3 กรรมการ ได้แก่ ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลังผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ และผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน
4 กรรมการและเลขานุการ ได้แก่ ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ การ
54 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ
(1) การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
(2) การเป็นเครื่องชี้วัดสถานภาพทางสังคม
(3) การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
(4) การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ คือ
1 การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2 การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
3 การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า
55 ข้อใดไม่นับว่าเป็นเงิน
(1) เหรียญกษาปณ์
(2) เช็ค
(3) ตั๋วแลกเงิน
(4) บัตรเครดิต
(5) ศิลปวัตถุ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เงิน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจจะอยู่ในหลายรูปแบบ เช่น ธนบัตรเหรียญกษาปณ์ เช็ค ตั๋วแลกเงิน บัตรเครดิต เป็นต้น
56 คําในข้อใดหมายถึงนโยบายการเงิน
(1) Fiscal Policy
(2) Monetary Policy
(3) Financial Policy
(4) Public Policy
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3300-1 หน้า 20 – 22), (คําบรรยาย) นโยบายการเงิน (Monetary Policy) หมายถึง นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่น การกําหนดอัตราดอกเบี้ย การควบคุมการปล่อย สินเชื่อของสถาบันการเงิน การควบคุมการให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน การออกระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ทางการเงิน เป็นต้น
57 การดําเนินนโยบายการเงินไม่มีผลกระทบสืบเนื่องไปยังเรื่องใด
(1) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(2) การจ้างงาน
(3) ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
(4) เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การดําเนินนโยบายการเงินใด ๆ ก็ตามต่างก็มีผลกระทบสืบเนื่องไปยังเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการจ้างงาน
58 ECB เป็นชื่อเรียกของธนาคารกลางในข้อใด
(1) ธนาคารกลางแห่งอังกฤษ
(2) ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์
(3) ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(4) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา
(5) ธนาคารกลางแห่งเอเชีย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในปัจจุบันธนาคารกลางที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ได้แก่ ธนาคารกลางแห่งยุโรป(European Central Bank : ECB) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve Bank : FED) เป็นต้น
59 ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงิน
(1) การควบคุมปริมาณเงิน
(2) การกําหนดอัตราดอกเบี้ย
(3) การควบคุมเงินที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ
(4) การเก็บภาษีศุลกากร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง ประกอบด้วย 3 เครื่องมือ คือ การควบคุมปริมาณเงิน การกําหนดอัตราดอกเบี้ย และการควบคุมเงินที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ
60 หน่วยงานใดเป็นผู้กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทย
(1) กระทรวงพาณิชย์
(2) กระทรวงการคลัง
(3) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(4) ธนาคารกรุงไทย
(5) คณะกรรมการนโยบายการเงิน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2485 เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและหน้าที่ ดังนี้ 1 ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร
2 กําหนดและดําเนินนโยบายการเงิน เช่น กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ย
3 บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
4 เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน
5 กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
6 บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและสินทรัพย์ในทุนสํารองเงินตรา ฯลฯ
61 ข้อใดคือลักษณะที่สําคัญที่สุดของธนาคารกลางในการดําเนินนโยบายทางการเงิน
(1) มุ่งหากําไรสูงสุด
(2) หลีกเลี่ยงการแทรกแซงตลาดการเงิน
(3) มีอิสระจากฝ่ายการเมือง
(4) มีอํานาจเด็ดขาด
(5) รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสีย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หน่วยงานที่ทําหน้าที่ดูแลนโยบายการเงิน ก็คือ ธนาคารกลาง ซึ่งมีลักษณะที่สําคัญที่สุดในการดําเนินนโยบายทางการเงิน คือ มีอิสระจากฝ่ายการเมืองนั่นเอง
62 ในปัจจุบันบุคคลใดดํารงตําแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล
(2) นายประทิน สันติประภพ
(3) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
(4) นายวิรไท สันติประภพ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนปัจจุบัน คือ นายวิรไท สันติประภพซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558
63 ธนาคารแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในปีใด
(1) ปี พ.ศ. 2480
(2) ปี พ.ศ. 2485
(3) ปี พ.ศ. 2490
(4) ปี พ.ศ. 2495
(5) ปี พ.ศ. 2500
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ
64 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) ออกธนบัตร
(2) บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) ผลิตเหรียญกษาปณ์
(4) กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 60 ประกอบ
65 ในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับเท่าไร
(1) ร้อยละ 1.0 ต่อปี
(2) ร้อยละ 1.5 ต่อปี
(3) ร้อยละ 2.0 ต่อปี
(4) ร้อยละ 2.5 ต่อปี
(5) ร้อยละ 3.0 ต่อปี
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 ต่อปี ซึ่งยังคงเดิมไว้ตลอดทั้งปี 2560
66 ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(1) เสถียรภาพและความมั่นคง
(2) การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
(3) การบริหารความเสี่ยงที่ดี
(4) ส่งเสริมการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน คือ
1 เสถียรภาพและความมั่นคง 2 การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
3 การบริหารความเสี่ยงที่ดี 4 ส่งเสริมการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน
67 ความต้องการถือเงินของภาคครัวเรือน เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากข้อใด
(1) ความต้องการจับจ่ายใช้สอย
(2) การสร้างความมั่นคง
(3) การสร้างหลักประกันในการดําเนินชีวิต
(4) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3 (5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เงินเป็นสิ่งสําคัญและมีบทบาทอย่างสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากลักษณะของการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนของเงินนั่นเอง ซึ่งทําให้ ภาคครัวเรือนเกิดความต้องการถือเงินเมื่อมีความต้องการจับจ่ายใช้สอย
68 FED เป็นชื่อเรียกของธนาคารกลางในข้อใด
(1) ธนาคารกลางแห่งฝรั่งเศส
(2) ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์
(3) ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(4) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา
(5) ธนาคารกลางแห่งแอฟริกา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ
69 ตัวชี้วัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้แก่
(1) อัตราเงินเฟ้อ
(2) อัตราการว่างงาน
(3) ค่าจ้างขั้นต่ำ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-2300-2 หน้า 10 – 11), (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินจะต้องเป็นไปเพื่อ
1 สร้างความเจริญเติบโตให้กับระบบเศรษฐกิจหรือความมั่งคั่งของชาติ ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตมวลรวม
2 สร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูอัตราการว่างงานอัตราเงินฝืด และอัตราเงินเฟ้อ
3 สร้างประสิทธิภาพในการทํางาน ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูผลผลิตต่อหน่วย
4 สร้างความเสมอภาคหรือการกระจายทางเศรษฐกิจ หรือการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้กับสังคม ซึ่งสามารถวัดได้โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของรายได้ อัตราการใช้จ่ายและทรัพย์สินที่มี
70 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ พิจารณาได้จาก
(1) อัตราเงินเฟ้อ
(2) อัตราการว่างงาน
(3) ค่าจ้างขั้นต่ำ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ
71 หน่วยงานใดที่ทําหน้าที่ “จัดให้ใช้และจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุ”
(1) กรมบัญชีกลาง
(2) กรมสรรพากร
(3) กรมธนารักษ์
(4) สํานักงานปลัด กระทรวงการคลัง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3300-1 หน้า 10) กรมธนารักษ์ (Treasury Department) มีหน้าที่ในการผลิตเหรียญกษาปณ์ จัดทําเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บรักษาทรัพย์สินของรัฐ จัดให้ใช้ และจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุให้เป็นไปอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด และโอนบัญชีตรวจสอบยอดการรับจ่ายบัญชีคงคลังให้ตรงกับของธนาคารแห่งประเทศไทยและกรมบัญชีกลาง
72 สินค้าต่อไปนี้ ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ยกเว้น
(1) เสื้อผ้า
(2) น้ำหอม
(3) รถยนต์
(4) เครื่องดื่ม
(5) น้ำมัน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ
73 ภาวะเงินฝืด แก้ไขได้โดย
(1) ปรับงบประมาณให้เป็นแบบเกินดุล
(2) ลดอัตราภาษีอากร
(3) เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 1-3300-1 หน้า 23), (คําบรรยาย) ภาวะเงินฝืด หมายถึง ภาวะที่อุปสงค์ด้านสินค้าและบริการน้อยกว่าอุปทานด้านสินค้าและบริการ หรือเป็นภาวะที่มีปริมาณเงิน หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป ทําให้เศรษฐกิจตกต่ำ สินค้าล้นตลาด และประชาชนว่างงาน ดังนั้นรัฐบาลควรจะแก้ไขปัญหาด้วยการเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ให้มากขึ้น โดยการนํานโยบายการคลังแบบขาดดุล (แบบขยายตัว) และการลดอัตราภาษีอากร มาใช้ควบคู่กับนโยบายการเงินดังต่อไปนี้
1 ซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากประชาชน
2 ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์
3 ลดอัตราเงินสดสํารองของธนาคารพาณิชย์
4 ลดอัตราส่วนลดเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยเงินกู้มากขึ้น ฯลฯ
74 ในระดับการกําหนดยอดวงเงินของงบประมาณแบบแสดงรายการ การตัดสินใจจะใช้วิธีการใด
(1) Pure Rationality
(2) Political Bargaining
(3) Economic Analysis
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 24, 27 – 28) การกําหนดยอดวงเงินของงบประมาณแบบแสดงรายการ จะใช้การตัดสินใจโดยอาศัยหลักความพึงพอใจ (Muddling Through) หรือการวิเคราะห์เฉพาะส่วนที่เพิ่ม(Incrementalism) ซึ่งเป็นการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณ โดยอาศัยการต่อรองระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ (Political Bargaining) และสิ่งที่จะนํามาพิจารณา ตัดสินใจกันก็จํากัดอยู่แต่เฉพาะโครงการใหม่ งานใหม่ หรือพิจารณาแต่ส่วนที่เพิ่มขึ้นของ วงเงินงบประมาณจากปีที่ผ่านมา โดยดูว่าส่วนเพิ่มนั้นเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่อย่างไรและจะจัดสรรอย่างไรสังคมจึงจะยอมรับร่วมกัน
75 “ความพยายามที่จะเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนในการดําเนินงานและผลงานที่ได้รับ” เป็นวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์งบประมาณแบบใด
(1) แสดงรายการ
(2) แสดงผลงาน
(3) แผนงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 26, 28 – 29) การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Analysis) เป็นการวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐกิจที่พยายามเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุน ในการดําเนินงานกับผลงานที่ได้รับ ซึ่งเทคนิคนี้เป็นวิธีการที่ใช้ในการจัดทํางบประมาณแบบโครงการ (Program Budget) หรืองบประมาณแบบแสดงผลงาน (Performance Budget)
76 ระยะเวลาในการ “ควบคุม” งบประมาณในปีงบประมาณหนึ่ง ๆ ของไทยมีระยะเวลาประมาณกี่เดือน
(1) 4 เดือน
(2) 9 เดือน
(3) 12 เดือน
(4) 18 เดือน
(5) ไม่แน่นอนกําหนดตายตัวไม่ได้
ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 15 – 16) ระยะเวลาของการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆเกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน เรียกว่า วงจรงบประมาณ (Budget Cycle) ซึ่งถือเป็นช่วงเวลา ที่ยาวนานที่สุด โดยวงจรงบประมาณของประเทศไทยนั้นจะใช้เวลาประมาณ 22 เดือน ประกอบด้วยกิจกรรมหรือการกระทํา 3 ขั้นตอน คือ การจัดเตรียมประมาณ 6 – 7 เดือนการอนุมัติประมาณ 3 – 4 เดือน และการควบคุมหรือการบริหารเป็นเวลา 12 เดือน
77 วิธีการใดที่จัดเป็นส่วนสําคัญที่สุดของ “งบประมาณแบบแสดงรายการ”
(1) การจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(2) การจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย
(3) การวิเคราะห์โครงการ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 24 – 25, 27 – 28), (คําบรรยาย) งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item Budget) หรืองบประมาณแบบเก่า (Conventional Budget)หรืองบประมาณแบบประเพณี (Traditional Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ในด้านการ ควบคุมเพื่อมุ่งตรวจสอบความถูกต้องและความซื่อสัตย์สุจริตของการใช้จ่ายเงินของรัฐ หรือให้ ความสําคัญกับความถูกต้องของ “ปัจจัยนําเข้า” (Inputs) หรือการจัดสรร “ทรัพยากร” ของ งานหรือโครงการ โดยเน้นกฎ ระเบียบ และการควบคุมให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบนั้น ดังนั้น งบประมาณจึงถูกแบ่งออกตามหน่วยราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ (Agencies Classification หรือ Organizations Classification) โดยเฉพาะในระดับกรม และมีการแบ่งแยกตามประเภท และชนิดของการใช้จ่าย (Objects of Expenditure Classification) เช่น หมวดเงินเดือน หมวดสาธารณูปโภค หมวดครุภัณฑ์ ฯลฯ นอกจากนี้ในการจัดเตรียมงบประมาณก็จะต้อง มีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจ (Mudding Through) หรือการวิเคราะห์เฉพาะส่วนที่เพิ่ม (Incrementalism) เป็นเกณฑ์ด้วย
78 วิธีการงบประมาณแบบใดที่ให้ความสําคัญกับ “ปัจจัยนําเข้า” ของงานหรือโครงการ
(1) แสดงรายการ
(2) แสดงผลงาน
(3) แผนงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ
79 ที่เรียกว่า “Cost-push Inflation” เกิดจาก
(1) ความต้องการบริโภคมีมาก
(2) น้ำมันขึ้นราคา
(3) มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3300-1 หน้า 23 – 24), (คําบรรยาย) การที่ปริมาณเงินในมือของประชาชนน้อย แต่ราคาสินค้าแพงขึ้นนั้น มีสาเหตุมาจากปัญหาเงินเฟ้อด้านอุปทาน คือ เกิด จากต้นทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการสูงขึ้น (Cost-push Inflation) เช่น น้ํามันขึ้นราคา มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ํา เพราะวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตมีราคาแพง จึงทําให้ผู้ผลิต จําเป็นจะต้องเพิ่มราคาสินค้าและบริการขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นควรใช้มาตรการเพื่อแก้ปัญหา ดังนี้
1 ลดอัตราภาษีสําหรับวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เช่น การลดราคาน้ำมัน
2 ลดอัตราภาษีสินค้าสําเร็จรูป
3 จัดหาแหล่งเงินกู้ให้เอกชนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ฯลฯ
80 ทุกข้อเป็น “มาตรการการลดการขาดดุลการค้า” ยกเว้น
(1) การเพิ่มอัตราภาษีสินค้านําเข้า
(2) ส่งเสริมการใช้สินค้าไทย
(3) ลดต้นทุนสินค้าออก
(4) การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ
(5) ส่งเสริมการลงทุนจากบรรษัทระหว่างประเทศ
ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3300-1 หน้า 24 – 25), (คําบรรยาย) การขาดดุลการค้าหมายถึง ภาวะที่มีมูลค่าสินค้านําเข้ามากกว่ามูลค่าสินค้าส่งออก ซึ่งมาตรการในการ แก้ปัญหาการขาดดุลการค้า มีดังนี้
1 ลดปริมาณสินค้านําเข้าให้น้อยลง โดยการใช้นโยบายต่าง ๆ เช่น นโยบายการคลังแบบเกินดุลและเพิ่มอัตราภาษีอากร นโยบายการเงินโดยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ เพิ่มอัตราเงินสดสํารอง ขายพันธบัตรรัฐบาล นโยบายอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยการลดค่าเงินบาท ส่งเสริมการใช้สินค้าไทย เป็นต้น
2 เพิ่มปริมาณสินค้าส่งออก โดยใช้นโยบายการคลัง เช่น การคืนอากรวัตถุดิบ ลดหรือยกเว้นภาษีอากรขาออกเพื่อให้ต้นทุนสินค้าส่งออกตําลง เป็นต้น
81 ข้อแตกต่างระหว่างงบประมาณเอกชนกับงบประมาณแผ่นดิน ได้แก่
(1) เป็นแผนทางการเงิน
(2) เป็นกฎหมาย
(3) ลักษณะการเป็นเจ้าของ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 1 – 4, 58), (คําบรรยาย) คุณสมบัติหรือลักษณะสําคัญของงบประมาณแผ่นดินซึ่งแตกต่างจากงบประมาณเอกชน มีดังนี้
1เป็นกฎหมายทางการเงิน กล่าวคือ มีการตราเป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งกําหนดว่าให้ใช้จ่ายเงินได้ไม่เกินจํานวนที่กําหนด แต่ในทางปฏิบัติรายจ่ายจริงอาจมีน้อยกว่ารายจ่ายที่ประมาณการเอาไว้ก็ได้
2 เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับต่อประชาชนทุกคนในชาติ
3 เป็นเครื่องมือ เงื่อนไข หรือกลไกรับรองการเป็นรัฐบาลหรือการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สําคัญของงบประมาณแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
4 คํานึงถึงความพึงพอใจของประชาชนเป็นแรงจูงใจในการจัดทํางบประมาณ
5 การกําหนดรายรับ มีรายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับ
6 มีกระบวนการจัดทํางบประมาณที่มีลักษณะกระจายอํานาจ
7 ลักษณะการเป็นเจ้าของ โดยมีประชาชนเป็นเจ้าของกิจการที่แท้จริง
8 มีการอนุมัติงบประมาณโดยรัฐสภา
9 การควบคุมหรือการบริหารงบประมาณจะถูกควบคุมร่วมกันทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ
82 ทุกข้อจัดเป็น “เงินนอกงบประมาณแผ่นดิน” ยกเว้น
(1) เงินรายได้ของสถาบันการศึกษา
(2) งบประมาณของสํานักงบประมาณ
(3) งบประมาณของเทศบาล
(4) งบประมาณของ ขสมก.
(5) เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-2300-1 หน้า 41), (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 4 – 5), (คําบรรยาย)เงินนอกงบประมาณ หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่มีมูลค่าซึ่งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจหามาได้เองด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่ใช่มาจากเงินงบประมาณแผ่นดิน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นเงินที่แยกออกจากความเป็นศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน ซึ่งได้แก่ เงินทุนหมุนเวียน งบประมาณของรัฐวิสาหกิจ (เช่น งบประมาณของ ขสมก.) เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ เงินกู้ยืมทั้งในและต่างประเทศ งบประมาณของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น (ได้แก่ งบประมาณของ อบต. อบจ. เทศบาล กทม. และเมืองพัทยา) งบรายได้ (เงินรายได้) ของสถาบันการศึกษา และงบรายได้ (เงินรายได้) ของสถาบันสาธารณสุข
83 ระยะเวลาของการบริหารงบประมาณ เรียกว่า
(1) ปีงบประมาณ
(2) วงจรงบประมาณ
(3) เงินประจํางวด
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 5 – 6), (คําบรรยาย) รอบของการบริหารหรือการใช้จ่ายเงินตามงบประมาณแผ่นดินหรือระยะเวลาของการใช้จ่ายเงินตาม พ.ร.บ.งบประมาณ เรียกว่า “ปีงบประมาณ” หรือ “ปีคลัง” (Fiscal Year) ซึ่งปกติแล้วจะต้องมีระยะเวลาที่แน่นอน โดยอาจเป็น 6 เดือน 1 ปี (12 เดือน) หรือ 2 ปี (24 เดือน) ก็ได้ แต่จะต้องเป็นเช่นนั้นทุก ๆ ปี และจะเริ่มต้นในเดือนใดก็ได้ เช่น ปีงบประมาณของไทยมีระยะเวลา 12 เดือน เริ่มต้นจาก วันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี และไปสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป โดยใช้ชื่อปีถัดไป เป็นชื่อปีงบประมาณ (เช่น ปีงบประมาณ 2561 จะเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2560 และสิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน 2561)
84 กิจกรรมใดมีลักษณะผูกขาดได้โดยง่าย
(1) การศึกษาภาคบังคับ
(2) การป้องกันโรคติดต่อ
(3) การบริการน้ำประปา
(4) การป้องกันประเทศ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 9) กิจกรรมที่มีลักษณะผูกขาดได้โดยง่ายนั้นมักเป็นกิจกรรมที่ยิ่งมีผู้ใช้สินค้าและบริการมาก ต้นทุนต่อหน่วยก็จะลดลง เช่น กิจการไปรษณีย์ ไฟฟ้า โทรศัพท์ ประปา ขนส่งมวลชน เป็นต้น
85 ระบบงบประมาณที่ในด้านการควบคุมมีลักษณะที่สําคัญคือ
(1) แบ่งเงินงบประมาณออกตามวัตถุประสงค์ในการจัดสรรทรัพยากร
(2) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(3) มีการกําหนดตัวชี้วัดผลผลิต
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ
86 ลักษณะสําคัญที่สุดของระบบงบประมาณที่ในด้านการวางแผนวางโครงการ
(1) แบ่งเงินงบประมาณออกตามประเภทและชนิดของการใช้จ่าย
(2) เน้นที่การแบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(3) มีการจัดทําแผนงานระยะยาวและตัวชี้วัดความสําเร็จ
(4) แบ่งเงินงบประมาณออกตามวัตถุประสงค์ในการจัดสรรทรัพยากร
(5) มีการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์
ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3300-2 หน้า 1 – 2, 29 – 30, 33, 36 – 37), (คําบรรยาย)งบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ (Planning Programming Budgeting System : PPBS) เป็นระบบงบประมาณที่ในด้านการวางแผนวางโครงการโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ระยะยาว ระบบงบประมาณแบบนี้จะมีการวางแผนงานให้สอดคล้องกับนโยบายและตั้งวงเงินงบประมาณ ตามแต่ละแผนงาน มีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจผสมกับหลัก เหตุผล (Limited Rationality หรือ Mixed Scanning) มีการแบ่งเงินงบประมาณออกตาม โครงสร้างแผนงานหรือโครงการ (Program Structure) มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ในการวิเคราะห์โครงการเพื่อศึกษาถึงโครงสร้างแผนงานหรือโครงการที่ จัดทําว่ามีความสัมพันธ์กับโครงการใด ๆ บ้าง มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายสาธารณะ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการ วางแผนวางโครงการของหน่วยงาน มีการกําหนดตัวบ่งชี้หรือวัดความสําเร็จตามเป้าหมายของ แผนงานหรือโครงการเพื่อการติดตามประเมินผล และที่สําคัญระบบนี้จะต้องมีการจัดทําแผนงาน และแผนทางการเงินระยะยาว (อาจเป็น 3 ปี หรือ 5 ปี) เพื่อประกอบการจัดทําโครงการด้วย
87 ลักษณะของระบบ Program Budget
(1) มีการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของโครงการ
(2) มีการกําหนดผลลัพธ์ของโครงการ
(3) ให้ความสําคัญกับการแบ่งแยกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3300-2 หน้า 28 – 29), (คําบรรยาย) งบประมาณแบบโครงการ(Program Budget) หรืองบประมาณแบบแสดงผลงาน (Performance Budget) เป็นระบบ งบประมาณที่ในหลักประสิทธิภาพ กล่าวคือ เป็นระบบงบประมาณที่เน้นการควบคุม ประสิทธิภาพของการใช้จ่าย หรือให้ความสําคัญกับประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร ทั้งนี้ ก็เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์อย่างประหยัด นอกจากนี้ยังให้ความสําคัญกับผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ของงานหรือโครงการในแต่ละปี โดยจะมีการแบ่งเงินงบประมาณ ออกตามโครงการหรือตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล (Objectives Classification) หรือตามหน้าที่ ของรัฐ (Functional Classification) มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) หรือ วิเคราะห์ประสิทธิภาพของโครงการหรือประสิทธิภาพของการใช้เงิน และมีการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณโดยอาศัยหลักของเหตุผล (Pure Rationality) เป็นสําคัญ
88 สถาบันที่ทําหน้าที่ “กําหนดระยะเวลาของเงินประจํางวด”
(1) กรมบัญชีกลาง
(2) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน
(3) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(4) สํานักงบประมาณ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 21) เงินประจํางวด (Apportionment) หมายถึง เงินที่จะจัดสรรให้กับส่วนราชการหนึ่ง ๆ ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งในกรณีของประเทศไทยการกําหนดระยะเวลาของเงินประจํางวดนั้นจะเป็นอํานาจของสํานักงบประมาณ
89 “เงินประจํางวด” หมายถึงอะไร
(1) แผนการใช้จ่ายเงิน
(2) เงินในหมวดรายจ่ายประจํา
(3) รายงานทางการเงิน
(4) เงินของราชการส่วนภูมิภาค
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ
90 ลักษณะสําคัญของงบประมาณแผ่นดิน ได้แก่
(1) รายจ่ายจริงอาจมีมากกว่ารายจ่ายที่ประมาณการเอาไว้ก็ได้
(2) รัฐบาลมีรายได้เป็นตัวกําหนดรายจ่าย
(3) มีลักษณะของการจัดทําที่กระจายอํานาจ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ
91 ตัวอย่างของสินค้าสาธารณะ (Public Goods) ได้แก่
(1) การจัดแสงสว่างในทางเดินสาธารณะ
(2) บริการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(3) น้ำประปา
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
(5) ถูกข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3300-2 หน้า 3, 8 – 9) สินค้าสาธารณะ (Collective Goods หรือ Public Goods) หรือสินค้าที่ไม่อาจแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้ คือ สินค้าและบริการที่ เกี่ยวข้องกับสาธารณูปการสาธารณูปโภคที่มีประโยชน์ต่อคนส่วนรวม ซึ่งรัฐเป็นผู้ดําเนินการโดย อาศัยกฎหมายและรายได้จากภาษีอากรของประชาชน เป็นสินค้าและบริการที่มุ่งอรรถประโยชน์ สูงสุดของระบบเศรษฐกิจ และไม่อาจใช้กลไกราคาเป็นเครื่องวัดมูลค่าได้ เช่น บริการป้องกัน ประเทศ บริการรักษาความสงบภายใน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การอํานวย ความยุติธรรม การควบคุมน้ําท่วม การจัดแสงสว่างในทางเดินสาธารณะ เป็นต้น
92 ที่ว่า “ งบประมาณแผ่นดินเป็นเงื่อนไขของการเป็นรัฐบาล” หมายความว่าอย่างไร
(1) งบประมาณแผ่นดินเป็นกฎหมายอย่างหนึ่ง
(2) ผู้จัดเตรียมงบประมาณต้องเป็นผู้ใช้เงินงบประมาณ
(3) ถ้างบประมาณแผ่นดินไม่ได้รับการรับรองจากสภารัฐบาลจะบริหารประเทศต่อไปไม่ได้
(4) รัฐบาลต้องเป็นผู้พิจารณาอนุมัติงบประมาณ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3300-2 หน้า 2,19) งบประมาณแผ่นดิน เป็นเงินของประชาชนที่มอบให้กับรัฐบาลในรูปของภาษีอากรและการกู้ยืมเพื่อนําไปใช้ในการบริหารประเทศ ดังนั้นการใช้จ่าย เงินงบประมาณจึงต้องได้รับการอนุมัติหรือยินยอมจากประชาชนเสียก่อน แต่เนื่องจากการบริหาร ราชการในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ประชาชนได้มอบอํานาจการตัดสินใจให้กับ สภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว งบประมาณแผ่นดินซึ่งการจัดทําเป็นหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะ จึงจําเป็นต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาโดยต้องทําเป็นกฎหมายก่อนที่จะนําไปใช้ ซึ่งถ้า งบประมาณไม่ได้รับการรับรองจากสภา รัฐบาลก็จะบริหารประเทศต่อไปไม่ได้ ดังนั้นจึงถือว่างบประมาณเป็นเครื่องมือ เงื่อนไข หรือกลไกรับรองการเป็นรัฐบาลหรือการจัดตั้งรัฐบาลนั่นเอง
93 การแบ่งรายจ่ายออกเป็นหมวด เช่น หมวดเงินเดือน หมวดสาธารณูปโภค หมวดครุภัณฑ์ เป็นการจําแนกงบประมาณที่เรียกว่า
(1) Objects of Expenditure Classification
(2) Objective Classification
(3) Functional Classification
(4) Agencies Classification
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ
94 ลักษณะที่เรียกว่าเป็น “ศูนย์รวมเงิน” ได้แก่
(1) ดําเนินการภายใต้การดูแลของสถาบันต่าง ๆ เดียวกัน
(2) ดําเนินการภายใต้กฎข้อบังคับเดียวกัน
(3) อนุมัติเพียงครั้งเดียวในปีงบประมาณหนึ่ง ๆ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 4), (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินมีลักษณะเป็น“ศูนย์รวมเงิน” ของแผ่นดิน หมายความว่า ในปีงบประมาณหนึ่ง ๆ จะต้องมีการบูรณาการ แผนทางการเงินของสวนราชการต่าง ๆ ให้เป็นแผนเดียวกัน มีการอนุมัติงบประมาณเพียง ครั้งเดียว และไม่มีการจัดทํางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม โดยกระบวนการงบประมาณของ ส่วนราชการต่าง ๆ จะต้องดําเนินไปภายใต้กฎข้อบังคับเดียวกัน ใช้บทบัญญัติเดียวกัน และมีสถาบันหรือหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในขั้นตอนต่าง ๆ ของการบริหารงบประมาณเดียวกัน
95 การ “อนุมัติงบประมาณ” มีรายละเอียดที่ถูกกําหนดโดย
(1) กฎหมายรัฐธรรมนูญ
(2) พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ 2502
(3) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534
(4) ข้อบังคับกระทรวงการคลัง
(5) พระราชกฤษฎีกา
ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 15) พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ถือเป็นกฎหมายแม่บทในกระบวนการจัดทํางบประมาณแผ่นดินของไทย ซึ่งจะกําหนดหลักเกณฑ์ กว้าง ๆ ในการจัดเตรียมและควบคุมหรือการบริหารงบประมาณ ส่วนการอนุมัติงบประมาณ จะเป็นไปภายใต้ข้อบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะกําหนดวิธีการกว้าง ๆ ในการพิจารณา อนุมัติของรัฐสภา
96 หลักที่ว่างบประมาณแผ่นดินต้องมีระยะเวลาที่แน่นอน หมายความว่าอย่างไร
(1) งบประมาณอาจกําหนดให้ 1 ปีงบประมาณมีระยะเวลา 24 เดือนก็ได้
(2) ปีงบประมาณอาจเริ่มต้นในเดือนใดของปีปฏิทินก็ได้ แต่ต้องมีระยะเวลาแน่นอน
(3) ปีงบประมาณต้องเท่ากันกับปีปฏิทินเสมอ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 83. ประกอบ
97 ลักษณะในการกําหนดรายรับรายจ่ายของงบประมาณแผ่นดินโดยหลักการแล้ว
(1) รายรับเป็นตัวกําหนดรายจ่าย
(2) ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดเก็บภาษีอากร
(3) ขึ้นอยู่กับความสามารถในการขายสินค้าและบริการ
(4) สามารถใช้รายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับ
(5) ทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข ท-3300-2 หน้า 3) ลักษณะการกําหนดรายรับรายจ่ายของงบประมาณแผ่นดินนั้น โดยหลักการแล้วสามารถใช้รายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับได้ เนื่องจากรัฐบาล มีแหล่งของรายรับที่กว้างขวาง และมีอํานาจในการออกกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีอากรจาก ประชาชนและก่อหนี้สาธารณะ ในขณะที่เอกชนจะมีรายรับเป็นตัวกําหนดรายจ่าย เพราะ เอกชนมีแหล่งรายรับที่จํากัด และขึ้นอยู่กับความสามารถในการหารายได้จากการขายสินค้าและบริการของตนเป็นสําคัญ
98 งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีวงเงินประมาณเท่าไร
(1) 1.8 ล้านล้านบาท
(2) 2.7 ล้านล้านบาท
(3) 2.9 ล้านล้านบาท
(4) 12.7 ล้านล้านบาท
(5) 22.3 ล้านล้านบาท
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ปีงบประมาณ 2561 รัฐบาลได้ดําเนินนโยบายการจัดทํางบประมาณแบบขาดดุลโดยได้กําหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายจํานวน 2.9 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) โดยที่มีรายการในส่วนของรายจ่ายประจําและรายจ่ายลงทุนมีจํานวนลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน และมีวงเงินขาดดุลเป็นจํานวน 450,000 ล้านบาท
99 งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีวงเงินคิดเป็นร้อยละเท่าไรของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
(1) 12
(2) 15
(4) 26
(5) 30
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 98 ประกอบ
100 งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีวงเงินขาดดุลจํานวนเท่าไร
(1) 390,000 ล้านบาท
(2) 450,000 ล้านบาท
(3) 760,000 ล้านบาท
(4) เกินดุล 36,000 ล้านบาท
(5) ศูนย์บาท (เป็นงบประมาณสมดุล)
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 98 ประกอบ