การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2010 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยค้ำประกัน ฯลฯ

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. แดงกู้เงินเขียว 5,000 บาท มีหลักฐานถูกต้องและมีเหลืองเป็นผู้ค้ำประกัน มีหลักฐานการค้ำประกันเป็นหนังสือแต่ลงลายมือชื่อเหลืองคนเดียว เมื่อหนี้ถึงกําหนดชําระ แดงชําระหนี้ไม่ได้ เขียวจึงส่งหนังสือไปให้เหลืองชําระหนี้แทนภายใน 60 วัน นับแต่วันผิดนัด เหลืองสืบทราบว่าแท้จริงแล้ว แดงยังมีสร้อยข้อมือทองคําวางเป็นประกันกับเขียวอยู่ ดังนี้ เหลืองจึงไม่ยอมชําระโดยอ้างว่าสัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์ เพราะลงลายมือชื่อเหลืองคนเดียว และเขียวมีสร้อยข้อมือทองคํา ขอให้ไปบังคับจากสร้อยข้อมือของแดงอยากทราบว่า ข้ออ้างของเหลืองทั้ง 2 ข้อ รับฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 680 “อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชําระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้นั้น

อนึ่งสัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน เป็นสําคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”

มาตรา 681 วรรคหนึ่ง “อันค้ำประกันนั้นจะมีได้แต่เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์”

มาตรา 686 วรรคหนึ่ง “เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกัน ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชําระหนี้ ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันมิได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันที่จะชําระหนี้เรือหนี้ถึงกําหนดชําระ”

มาตรา 690 “ถ้าเจ้าหนี้มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันไซร้ เมื่อผู้ค้ำประกันร้องขอ ท่านว่าเจ้าหนี้จะต้องให้ชําระหนี้เอาจากทรัพย์ซึ่งเป็นประกันนั้นก่อน”

วินิจฉัย

ในกรณีที่การกู้เงินและการค้ําประกันนั้นได้กระทําถูกต้องตามกฎหมาย และมีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดี หากลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ ย่อมก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าหนี้ในการบังคับการชําระหนี้เอาจากลูกหนี้ และผู้ค้ำประกันได้ตามมาตรา 680 และมาตรา 686 และในส่วนของผู้ค้ำประกันอาจจะบ่ายเบี่ยงขอให้เจ้าหนี้ บังคับเอาจากลูกหนี้ก่อนได้ตามมาตรา 690 คือ เมื่อเจ้าหนี้มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดไว้เป็นประกัน และการประกันนั้น ได้กระทําถูกต้องตามกฎหมาย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 การที่แดงกู้เงินเขียว 5,000 บาท โดยมีหลักฐานถูกต้องและแดงเด้นําสร้อยข้อมือทองคํา วางเป็นประกันกับเขียวไว้ และมีเหลืองเป็นผู้ค้ำประกันโดยทําหลักฐานค้ำประกันเป็นหนังสือแต่ลงลายมือชื่อเหลือง เพียงคนเดียวนั้น สัญญาค้ำประกันระหว่างเหลืองผู้ค้ำประกันและเขียวเจ้าหนี้ย่อมมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับคดีกันได้

ตามมาตรา 680 และมาตรา 681 วรรคหนึ่ง เพราะสัญญาค้ำประกันนั้น กฎหมายกําหนดให้องลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน เป็นสําคัญ ส่วนเจ้าหนี้และลูกหนี้จะลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันด้วยหรือไม่ไม่สําคัญ และเมื่อเขียวได้ปฏิบัติ ถูกต้องตามมาตรา 686 วรรคหนึ่งแล้ว กล่าวคือ เมื่อหนี้ถึงกําหนดชําระแดงลูกหนี้ไม่ชําระหนี้ เขียวเจ้าหนี้จึงได้ มีหนังสือบอกกล่าวไปให้เหลืองผู้ค้ำประกันชําระหนี้นั้นภายในกําหนด 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ดังนั้น เหลืองจึงต้องชําระหนี้ให้แก่เขียว การที่เหลืองไม่ยอมชําระหนี้โดยอ้างว่าสัญญาค้ําประกันไม่สมบูรณ์ เพราะ ลงลายมือชื่อเหลืองคนเดียว ข้ออ้างของเหลืองกรณีนี้จึงรับฟังไม่ได้

2 เมื่อแดงได้นําสร้อยข้อมือทองคําของตนวางเป็นประกันกับเขียวไว้ ย่อมถือว่าเจ้าหนี้ มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดถือไว้เป็นประกัน ดังนั้น เมื่อเขียวเจ้าหนี้เรียกให้เหลืองผู้ค้ำประกันชําระหนี้ แต่เหลือง ไม่ยอมชําระโดยได้บ่ายเบี่ยงให้เขียวไปบังคับเอาจากสร้อยข้อมือของแดงก่อนนั้น ข้ออ้างของเขียวกรณีนี้จึงรับฟังได้ ตามมาตรา 690

สรุป

ข้ออ้างของเหลืองที่ว่าสัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์รับฟังไม่ได้ ส่วนข้ออ้างของเหลือง ที่ให้เขียวไปบังคับเอาจากสร้อยข้อมือของแดงก่อนรับฟังได้

 

ข้อ 2 นายแก้วกู้เงินนายนพ 1,000,000 บาท มีหลักฐานการกู้ถูกต้อง และนายแก้วได้นําที่ดินราคา 1,000,000 บาท มาจดทะเบียนจํานองเป็นประกัน ต่อมานายแก้วอนุญาตเป็นหนังสือให้นายแหวน มีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์บนที่ดินแปลงดังกล่าวจนถึงวันที่ 10 มกราคม 2570 โดยไม่แจ้งให้นายนพทราบ

ดังนี้ การกระทําของนายแก้วกระทบสิทธิของนายนพหรือไม่ และนายนพต้องดําเนินการกับสิทธิ ดังกล่าวอย่างไร จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 722 “ถ้าทรัพย์สินได้จํานองแล้ว และภายหลังที่จดทะเบียนจํานองมีจดทะเบียน ภาระจํายอมหรือทรัพยสิทธิอย่างอื่น โดยผู้รับจํานองมิได้ยินยอมด้วยไซร้ ท่านว่าสิทธิจํานองย่อมเป็นใหญ่กว่า ภาระจํายอมหรือทรัพยสิทธิอย่างอื่นนั้น หากว่าเป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของผู้รับจํานองในเวลาบังคับจํานองก็ให้ ลบสิทธิที่กล่าวหลังนั้นเสียจากทะเบียน

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 722 เป็นบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้รับจํานอง กล่าวคือ ถ้าหาก ภายหลังที่ได้จดทะเบียนจํานองแล้ว ผู้จํานองได้ไปก่อตั้งภาระจํายอมหรือจดทะเบียนทรัพยสิทธิในทรัพย์สิน ที่จํานองขึ้นโดยผู้รับจํานองมิได้ยินยอมด้วย กฎหมายให้ถือว่าสิทธิจํานองย่อมเป็นใหญ่กว่าสิทธิอื่น ๆ ที่ผู้จํานอง ได้ก่อขึ้นนั้น และเมื่อในขณะบังคับจํานอง ภาระจํายอมหรือทรัพยสิทธิที่ผู้จํานองได้ก่อนนั้นจะเป็นที่เสื่อมเสีย แก่สิทธิของผู้รับจํานอง ผู้รับจํานองมีสิทธิที่จะให้ลบทรัพยสิทธิเหล่านั้นได้

กรณีตามอุทาหรณ์

การที่นายแก้วกู้เงินนายนพและได้นําที่ดินของตนมาจดทะเบียนจํานอง เป็นประกัน และต่อมานายแก้วอนุญาตเป็นหนังสือให้นายแหวนมีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์บนที่ดินแปลง ดังกล่าวจนถึงวันที่ 10 มกราคม 2570 โดยไม่แจ้งให้นายนพทราบนั้น การกระทําของนายเก้วย่อมไม่กระทบสิทธิ ของนายนพแต่อย่างใด เพราะการกระทําของนายแก้วมิใช่เป็นการจดทะเบียนภาระจํายอมหรือทรัพยสิทธิใน ทรัพย์สินที่จํานอง แต่เป็นเพียงการให้สิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์บนที่ดินแปลงดังกล่าว ซึ่งเป็นเพียงบุคคลสิทธิ ระหว่างนายแก้วและนายแหวนเท่านั้น อีกทั้งถ้าหากมีการบังคับจํานอง สิทธิของนายนพผู้รับจํานองก็มิได้เสื่อมเสีย แต่อย่างใด ดังนั้น นายนพจึงไม่ต้องดําเนินการกับสิทธิดังกล่าวแต่อย่างใด

สรุป

การกระทําของนายแก้วไม่กระทบสิทธิของนายนพ และนายนพไม่ต้องดําเนินการกับ สิทธิดังกล่าวแต่อย่างใด

 

ข้อ 3 หนึ่งกู้เงินสอง 100,000 บาท โดยนําแม่โคพ่อโคไปจํานําเป็นประกันหนี้ โดยมิรู้ ว่าแม่โคมีลูกติดท้องไปด้วย ต่อมาหนึ่งได้ติดค้างดอกเบี้ยแก่สองมาหลายเดือน และแม่โคได้ตกลูกออกมาที่บ้านของสอง นั่นเอง สองจึงนําลูกโคไปขายและนําเงินมาชําระค่าดอกเบี้ยที่หนึ่งค้างชําระอยู่ ดังนี้ ให้ทานวินิจฉัยว่า

1 สองมีอํานาจนําลูกโคไปขายเพื่อนําเงินมาชําระค่าดอกเบี้ยที่หนึ่งค้างซิ” ระหรือไม่ เพราะเหตุใด

2 สิทธิของสองในฐานะเจ้าหนี้จํานํามีสิทธิที่จะทําอะไรได้บ้าง

3 ผู้ใดเป็นเจ้าของลูกโคที่แท้จริง มีสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนได้หรือไม่ และต้องเสียค่าไถ่หรือไม่ เพราะอะไร

(ทุกข้อที่ตอบต้องใส่หลักกฎหมายมาให้ครบทุกประเด็น)

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 747 “อันว่าจํานํานั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จํานํา ส่งมอบสังหาริมทรัพย์ สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจํานํา เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้”

มาตรา 758 “ผู้รับจํานําชอบที่จะยึดของจํานําไว้ได้ทั้งหมดจนกว่าจะได้รับชําระหนี้และค่า อุปกรณ์ครบถ้วน”

มาตรา 761 “ถ้ามิได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา หากมีดอกผลนิตินัยงอกจาก ทรัพย์สินนั้นอย่างไร ท่านให้ผู้รับจํานําจัดสรรใช้เป็นค่าดอกเบี้ยอันค้างชําระแก่ตน และถ้าไม่มีดอกเบี้ยค้างชําระ ท่านให้จัดสรรใช้ต้นเงินแห่งหนี้อันได้จํานําทรัพย์สินเป็นประกันนั้น”

มาตรา 764 “เมื่อจะบังคับจํานํา ผู้รับจํานําต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ชําระหนี้และอุปกรณ์ภายในเวลาอันควรซึ่งกําหนดให้ในคําบอกกล่าวนั้น

ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตามคําบอกกล่าว ผู้รับจํานําชอบที่จะเอาทรัพย์สินซึ่งจํานําออกขายได้ แต่ต้องขายทอดตลาด

อนึ่งผู้รับจํานําต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังผู้จํานําบอกเวลาและสถานที่ซึ่งจะขาย ทอดตลาดด้วย”

มาตรา 1336 “ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจําหน่ายทรัพย์สิน ของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิ จะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 การที่หนึ่งกู้เงินสอง 100,000 บาท โดยนําแม่โคพ่อโคไปจํานําเป็นประกันหนี้ สัญญาจํานํา ระหว่างหนึ่งและสองมีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 747 ต่อมาหนึ่งได้ติดค้างดอกเบี้ยแก่สองมาหลายเดือน และแม่โคซึ่งมี ลูกติดท้องไปด้วยได้ตกลูกออกมาที่บ้านของสอง เมื่อแมโคเป็นทรัพย์สินของหนึ่งที่นําไปส่งมอบเพื่อประกันหนี้เงินกู้ แก่สอง กรรมสิทธิ์ในแม่โคจึงยังเป็นของหนึ่งและเมื่อแม่โคออกลูกมาลูกโคจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของหนึ่ง ดังนั้น สอง ซึ่งมิใช่เจ้าของลูกโคจึงไม่มีสิทธินําลูกโคไปขายเพื่อนําเงินมาชําระหนี้ที่หนึ่งค้างชําระ อีกทั้งลูกโคก็ถือว่าเป็น ดอกผลธรรมดามิใช่ดอกผลนิตินัย ดังนั้น สองจึงไม่มีสิทธินําลูกโคไปขายเพื่อนําเงินมาจัดสรรใช้เป็นค่าดอกเบี้ยที่ หนึ่งค้างชําระแก่สองตามมาตรา 761

2 สิทธิของสองในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจํานํานั้น ย่อมมีสิทธิที่จะทําได้ตามมาตรา 747 ประกอบมาตรา 758 คือมีสิทธิที่จะยึดหน่วงทรัพย์สินที่หนึ่งได้จํานําไว้กับสองทั้งหมดคือพ่อโคและแม่โค จนกว่าจะได้รับชําระหนี้และดอกเบี้ยจนครบถ้วน รวมทั้งเมื่อสองจะบังคับจํานําและสองได้บอกกล่าวเป็นหนังสือ ไปยังหนึ่งลูกหนี้ให้ชําระหนี้และดอกเบี้ยแล้ว แต่หนึ่งละเลยไม่ปฏิบัติตามคําบอกกล่าวคือไม่ยอมชําระหนี้ สองผู้รับจํานํามีสิทธิที่จะเอาทรัพย์สินที่จํานําคือพ่อโคและแม่โคนั้นออกขายทอดตลาดเพื่อนําเงินมาชําระหนี้ได้ ตามมาตรา 764

3 เมื่อแม่โคเป็นของหนึ่ง ดังนั้น หนึ่งจึงเป็นเจ้าของลูกโคที่แท้จริงและมีสิทธิติดตามเอา ทรัพย์สินคือลูกโคคืนจากสองได้ โดยไม่ต้องเสียค่าไถ่ตามมาตรา 1336

สรุป

1 สองไม่มีสิทธินําลูกโคไปขายเพื่อนําเงินมาชําระค่าดอกเบี้ยที่หนึ่งค้างชําระ

2 สองมีสิทธิยึดพ่อโคและแม่โคไว้ได้จนกว่าจะได้รับชําระหนี้ รวมทั้งมีสิทธินําพ่อโค และแม่โคออกขายทอดตลาดเพื่อนําเงินมาชําระหนี้ได้

3 หนึ่งเป็นเจ้าของลูกโค จึงมีสิทธิติดตามเอาลูกโคคืนจากสองได้โดยไม่ต้องเสียค่าไถ่

Advertisement