การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2302 ระเบียบปฏิบัติราชการ

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องเป็นผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งกรณีใด

(1) กรณีสอบแข่งขันได้

(2) กรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขันตามที่ ก.พ. กําหนดก็ได้

(3) กรณีบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและความชํานาญสูง

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 53 มาตรา 55 และมาตรา 56), (คําบรรยาย) ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญนั้น อาจแยกได้เป็น 2 กรณี คือ

1 กรณีบรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกรณีทั่วไป

2 กรณีบรรจุและแต่งตั้งจากผู้ที่มิใช่เป็นผู้สอบแข่งขันได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกรณียกเว้น ได้แก่

– การบรรจุในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขันตามที่ ก.พ. กําหนด,

– การบรรจุบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และความชํานาญงานสูงในตําแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชํานาญการ หรือผู้มีทักษะพิเศษ เป็นต้น

2 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมีจํานวนกี่คน

(1) ไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน

(2) ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน

(3) 3 คน

(4) 5 คน

(5) 7 คน

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 และมาตรา 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นองค์กรกลาง ในการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย

1 กรรมการโดยตําแหน่ง จํานวน 5 คน ได้แก่ นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ

2 กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลหรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย จํานวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน โดยแต่งตั้งให้อยู่ในตําแหน่งได้คราวละ 3 ปี

3 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้อง

(1) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง

(2) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง

(3) ไม่เป็นกรรมการโดยตําแหน่งอยู่แล้ว

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 วรรคสอง) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต้องไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือ ผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองและมิได้เป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งอยู่แล้ว

4 เกี่ยวกับบัญชีอัตราเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญปัจจุบัน

(1) กําหนดเป็นระดับและขั้น

(2) กําหนดเป็นอันดับและขั้น

(3) กําหนดเป็นระดับ

(4) กําหนดเป็นขั้น

(5) กําหนดเป็นขั้นต่ำและขั้นสูงของตําแหน่งในแต่ละระดับ

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง), (คําบรรยาย) ปัจจุบันข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามตําแหน่ง ในแต่ละประเภทตามที่กําหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ท้าย พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งจะกําหนดเป็นขั้นต่ําและขั้นสูงของ แต่ละระดับของแต่ละประเภทตําแหน่ง โดยไม่มีอันดับและขั้นเป็นอัตรา ดังนั้นจึงไม่เรียกว่า “บัญชีอัตราเงินเดือน” แต่เรียกว่า “บัญชีเงินเดือน”

5 ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งใดต่อไปนี้ที่กําหนดให้มีเงินประจําตําแหน่ง

(1) บริหารระดับสูง

(2) อํานวยการระดับสูง

(3) ทักษะพิเศษ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทที่ได้รับทั้งเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง ได้แก่

1 ตําแหน่งประเภทบริหารระดับต้นและระดับสูง

2 ตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับต้นและระดับสูง

3 ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ

4 ตําแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ

6 ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่อํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

(1) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน

(2) ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน

(3) ตีค่าคุณวุฒิ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ (4) รับเรื่องราวร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนสามัญ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10 – 11), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 8) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

1 ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนรวมตลอดทั้งกําหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เป็นปัญหา

2 กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญาประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่น (ตีค่าคุณวุฒิ) เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน

3 ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน

4 พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน ฯลฯ

7 การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขัน ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งดําเนินการได้โดยวิธี

(1) คัดเลือก

(2) สอบคัดเลือก

(3) คัดเลือกหรือสอบคัดเลือก

(4) วิธีใดก็ได้ตามความเหมาะสม

(5) อาจใช้วิธีเดียวกันกับการสอบแข่งขันก็ได้

ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 55), (คําบรรยาย) กรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขันตามที่ ก.พ. กําหนด สามารถให้อธิบดี (ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจ สั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57) เป็นผู้คัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งได้เป็นรายกรณี (ไม่ใช่เป็นการพิจารณาเป็นรายบุคคล) เช่น

1 กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด

2 กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง หรือทุนรัฐบาลเพื่อศึกษาวิชาในประเทศหรือต่างประเทศที่สําเร็จการศึกษาแล้ว เป็นต้น

8 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักการสําคัญของระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล

(1) หลักความรู้ความสามารถ

(2) หลักความมั่นคง

(3) หลักความเสมอภาค

(4) หลักอาวุโส

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 17 – 18, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 2) หลักการสําคัญของระบบคุณธรรม (Merit System) ในการบริหารงานบุคคลหรือการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐม 4 ประการ คือ

1 หลักความเสมอภาค (Equality)

2 หลักความรู้ความสามารถ (Competence)

3 หลักความมั่นคง (Security)

4 หลักความเป็นกลางในทางการเมือง (Political Neutrality)

9 ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีกี่ประเภท

(1) 5 ประเภท

(2) 4 ประเภท

(3) 3 ประเภท

(4) 2 ประเภท

(5) ประเภทเดียว

ตอบ 2 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 45), (คําบรรยาย)ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญแบ่งตามลักษณะงาน ได้เป็น 4 ประเภท คือ

1 ตําแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทบริหาร

2 ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ํากว่าระดับกรมและตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทอํานวยการ เช่น หัวหน้าส่วนราชการ ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค เป็นต้น

3 ตําแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตามที่ ก.พ. กําหนด (ระดับปริญญาตรีขึ้นไป) เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตําแหน่งนั้น

4 ตําแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตําแหน่งที่ไม่ใช่ตําแหน่งประเภทตามข้อ 1, 2 และ 3

ทั้งนี้ตามที่ ก.พ. กําหนด

10 ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่กําหนดในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินได้แก่ตําแหน่ง

(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด

(2) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

(3) นายกเทศมนตรี

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่กําหนดในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดี รองอธิบดี ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานัก ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอําเภอ ปลัดอําเภอ เป็นต้น ส่วนตําแหน่งนายกเทศมนตรี และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

11 ก.พ.ค. คือ

(1) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

(2) คณะกรรมการพัฒนาระบบคุณธรรม

(3) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามระบบคุณธรรม

(4) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม

(5) คณะกรรมการทักษะพิเศษตามระบบคุณธรรม

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 11), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 24 และมาตรา 29), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ประกอบด้วย กรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้เลขาธิการ ก.พ. เป็น เลขานุการของ ก.พ.ค. โดยตําแหน่ง โดยกําหนดให้กรรมการ ก.พ.ค. ต้องทํางานเต็มเวลา และ มีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่ง ได้เพียงวาระเดียว ดังนั้นกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ จะทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ก.พ.ค. อีกมิได้ แต่ให้กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่ง ตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งกรรมการ ก.พ.ค. ใหม่

12 ข้อใดเป็นลักษณะของข้าราชการการเมือง

(1) มีวาระในการดํารงตําแหน่ง

(2) ต้องสังกัดพรรคการเมือง

(3) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นลักษณะต้องห้ามบางประการได้

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 391, (คําบรรยาย) ลักษณะของข้าราชการการเมือง มีดังนี้

1 เป็นข้าราชการการเมืองฝ่ายบริหารตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 (ฉบับปัจจุบัน)

2 มีอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทนรายเดือนคงที่ ซึ่งกําหนดตามตําแหน่งและไม่มีขั้นวิ่ง

3 การเข้าดํารงตําแหน่งเป็นไปตามเหตุผลทางการเมืองหรือตามระบบอุปถัมภ์ (ไม่เน้นเรื่องคุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถ)

4 การออกจากตําแหน่งในกรณีปกติเป็นไปตามวาระ หรือมีวาระในการดํารงตําแหน่งหรือเป็นไปตามเหตุผลทางการเมือง

5 ไม่จําเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ฯลฯ

13 ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้อง

(1) มีคุณสมบัติทั่วไป

(2) ไม่มีลักษณะต้องห้าม

(3) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นลักษณะต้องห้ามบางประการได้

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36),(คําบรรยาย) ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1 มีคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน

2 ไม่มีลักษณะต้องห้ามของข้าราชการพลเรือน

3 ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามบางประการ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นลักษณะต้องห้ามบางประการได้

14 ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กรม

(1) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด

(2) ปลัดกระทรวง

(3) อธิบดี

(4) ผู้ว่าราชการจังหวัด

(5) รองปลัดกระทรวง ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 17), (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วย 1 อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดี เป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมาย 1 คนเป็นรองประธาน

2 อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายที่มิได้เป็นข้าราชการในกรมนั้น จํานวนไม่เกิน 3 คน

3 อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอํานวยการในกรมนั้น จํานวนไม่เกิน 6 คน

4 ให้ อ.ก.พ. กรม ตั้งเลขานุการ 1 คน

15 ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้มีข้าราชการพลเรือนกี่ประเภท

(1) 2 ประเภท

(2) 3 ประเภท

(3) 4 ประเภท

(4) 5 ประเภท

(5) 6 ประเภท

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 35), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยตรงของ ก.พ. มี 2 ประเภท คือ

1 ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งข้าราชการประเภทนี้ถือเป็นข้าราชการที่มีจํานวนมากที่สุดตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้

2 ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา

16 ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณฉบับปัจจุบัน ใช้บังคับโดยตรงกับหน่วยงานราชการใด

(1) ราชการบริหารส่วนกลาง

(2) ราชการบริหารส่วนภูมิภาค

(3) ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 400, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26), (คําบรรยาย) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ให้ใช้บังคับโดยตรง กับหน่วยงานดังต่อไปนี้

1 ส่วนราชการ ซึ่งได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม สํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐทั้งในราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือในต่างประเทศ

2 คณะกรรมการของส่วนราชการตามข้อ 1. 3. รัฐวิสาหกิจ ที่อยู่ในการกํากับดูแลของหน่วยงานของรัฐ

17 ระดับใดต่อไปนี้เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการ (1) ระดับสูง

(2) ระดับต้น

(3) ระดับทรงคุณวุฒิ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13 – 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 46) ระดับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้

1ตําแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง

2 ตําแหน่งประเภทอํานวยการ มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง

3 ตําแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ

4 ตําแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโสและระดับทักษะพิเศษ ทั้งนี้การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎ ก.พ.

18 ข้อใดเป็นโทษผิดวินัยข้าราชการพลเรือนสถานเบาที่สุด

(1) ตักเตือน

(2) ตําหนิโทษ ว่ากล่าว

(4) ทําทัณฑ์บน

(5) ภาคทัณฑ์

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22 – 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 88), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัย จะต้องได้รับโทษ ทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7 การดําเนินการทางวินัย โดยโทษทางวินัยมี 5 สถาน ซึ่งแบ่งออกเป็น

1 โทษผิดวินัยประเภทไม่ร้ายแรง มี 3 สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ (เบาที่สุด) ตัดเงินเดือน และลดเงินเดือน

2 โทษผิดวินัยประเภทร้ายแรง มี 2 สถาน ได้แก่ ปลดออก และไล่ออก (หนักที่สุด)

19 ข้อใดไม่ใช่หนังสือประชาสัมพันธ์และหนังสือสั่งการตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบัน

(1) ข้อบังคับ

(2) ข่าว

(3) รายงานการประชุม

(4) แถลงการณ์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 403, 416, 422, 428, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26 – 27), (คําบรรยาย) ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 (ฉบับปัจจุบัน) แบ่งหนังสือราชการออกเป็น 6 ชนิด ดังนี้

1 หนังสือภายนอก

2 หนังสือภายใน

3 หนังสือประทับตรา

4 หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด ได้แก่ คําสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ

5 หนังสือประชาสัมพันธ์ มี 3 ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว

6 หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทําขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี 4 ชนิด ได้แก่หนังสือรับรอง รายงานการประชุม บันทึก และหนังสืออื่น

20 ตําแหน่งรองปลัดกระทรวงการคลังเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญประเภท

(1) บริหารระดับสูง

(2) บริหารระดับต้น

(3) อํานวยการระดับสูง

(4) วิชาการระดับสูง

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มี 2 ระดับ คือ

1 บริหารระดับต้น ได้แก่ รองหัวหน้า ส่วนราชการระดับกรม (รองอธิบดี), รองผู้ว่าราชการจังหวัด, อัครราชทูต เป็นต้น

2 บริหารระดับสูง ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและปลัดกระทรวง), รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ รองปลัดกระทรวง), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (อธิบดี), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (เช่น เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ), ผู้ว่าราชการจังหวัด เอกอัครราชทูต เป็นต้น

21 การสอบแข่งขันเกี่ยวข้องกับเรื่องใดต่อไปนี้โดยตรง

(1) การย้ายข้าราชการ

(2) การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน

(3) การเลื่อนระดับตําแหน่งข้าราชการพลเรือน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

22 ตําแหน่งใดต่อไปนี้ไม่ใช่ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (1) ปลัดกระทรวง

(2) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี

(3) เลขาธิการสํานักงาน ก.พ.

(4) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ

(5) รองอธิบดี

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

23 ข้อใดถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบัน

(1) ข้อบังคับเป็นหนังสือภายใน

(2) ข่าวราชการเป็นหนังสือประทับตรา

(3) ระเบียบเป็นหนังสือสั่งการ

(4) บันทึกข้อความเป็นหนังสือภายนอก

(5) หนังสือรับรองเป็นหนังสือภายนอก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

24 ข้อใดเป็นคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน

(1) มีสัญชาติไทย

(2) อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี

(3) ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 5), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36) คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน ได้แก่

1 มีสัญชาติไทย

2 มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี

3 เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

25 ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่ขาดแคลนที่ ก.พ. กําหนด ได้แก่

(1) ก.พ.

(2) อธิบดี

(3) อ.ก.พ. กรม

(4) อ.ก.พ. กระทรวง

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

26 ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน

(1) รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี

(2) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี

(3) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

27 การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาจากต่างประเทศเข้ารับราชการ มีหลักเกณฑ์ที่สําคัญอย่างไร

(1) ต้องให้ ก.พ. พิจารณาตีค่าคุณวุฒิเป็นรายไป

(2) โดยปกติต้องผ่านการสอบแข่งขัน

(3) ก.พ. เป็นผู้ดําเนินการบรรจุและแต่งตั้ง

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 93 – 95 การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศที่ ก.พ. รับรองเข้ารับราชการนั้น โดยปกติจะต้องผ่านการสอบแข่งขันเช่นเดียวกับ ผู้สําเร็จการศึกษาในประเทศหรือบุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่เปิด สอบแข่งขันนั้น แต่ต้องเสนอคุณวุฒิให้ ก.พ. พิจารณารับรองเพื่อตีราคาหรือตีค่าคุณวุฒิ และ กําหนดหลักเกณฑ์การบรรจุเป็นราย ๆ ทุกรายไป โดย ก.พ. จะพิจารณาจากหลักสูตรการศึกษา และความน่าเชื่อถือของสถาบันที่ประสาทปริญญาหรือประกาศนียบัตรนั้นด้วย แต่ ก.พ.จะไม่มีอํานาจในการบรรจุและแต่งตั้ง

28 ระดับใดต่อไปนี้เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน

(1) ระดับสูง

(2) ระดับต้น

(3) ระดับเชี่ยวชาญ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

29 ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก

(1) เพื่อความเสมอภาคและยุติธรรม

(2) เพื่อความเป็นมาตรฐาน

(3) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 30 – 31, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 (ฉบับแรก) มีดังนี้

1 เพื่อความเป็นระเบียบและมาตรฐาน

2 เพื่อความเสมอภาคและยุติธรรม

3 เพื่อให้หลักประกันความมั่นคงแก่ข้าราชการ

4 เพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการ

30 ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน องค์กรใดต่อไปนี้เป็นผู้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่ง

(1) ก.พ.

(2) ก.ร.พ.

(3) ก.พ.ค.

(4) อ.ก.พ. กระทรวง

(5) อ.ก.พ. กรม

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 48) ให้ ก.พ. เป็นผู้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยจําแนกตําแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตําแหน่งในประเภท เดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน โดยในมาตรฐานกําหนด ตําแหน่งให้ระบุชื่อตําแหน่งในสายงาน หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก และคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งไว้ด้วย

31 ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ระยะเวลาของการทดลองการปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ตามปกติกําหนด

(1) 6 เดือน

(2) ไม่เกิน 6 เดือน

(3) ไม่น้อยกว่า 6 เดือนแต่ไม่เกิน 1 ปี

(4) 1 ปี

(5) 1 ปี 6 เดือน

ตอบ 3 หน้า 100 – 101, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18) ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บุคคลเมื่อได้รับการบรรจุเข้าเป็นข้าราชการแล้ว ในทางปฏิบัติมักจะได้รับการแต่งตั้ง ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อน เพื่อทดสอบความเหมาะสมกับงานในตําแหน่งหน้าที่ ก่อนการแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการประจําโดยสมบูรณ์ต่อไป ซึ่งระยะเวลาของการทดลอง ปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญนั้น ตามปกติกําหนดไว้ไม่น้อยกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎ ก.พ. ว่าด้วย การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและการพัฒนาข้าราชการที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่

ราชการ พ.ศ. 2553

32 ระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ

(1) สํานักนายกรัฐมนตรี

(2) สํานักงาน ก.พ.

(3) การบริหารงานบุคคลภาครัฐ

(4) การจัดส่วนราชการ

(5) การปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม

ตอบ 3 หน้า 15, (คําบรรยาย) ระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารงานบุคคลหรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ โดยระเบียบข้าราชการพลเรือน แต่ละฉบับจะตราขึ้นโดยอาศัยหลักวิชาการในทางการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรม เป็นเกณฑ์ ดังนั้นการที่จะศึกษาทําความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการพลเรือนจึงจําเป็นต้องมีความรู้ในหลักวิชาของการบริหารงานบุคคลเป็นพื้นฐานที่สําคัญ

33 ชนิดของหนังสือราชการตามระเบียบงานสารบรรณปัจจุบันมีกี่ชนิด

(1) 6 ชนิด

(2) 5 ชนิด

(3) 4 ชนิด

(4) 3 ชนิด

(5) 2 ชนิด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

34 การแต่งตั้งให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน

(1) เป็นขั้นตอนก่อนบรรจุเข้ารับราชการ

(2) เป็นระยะเวลาที่ผู้ทดลองๆ ยังไม่มีสถานภาพเป็นข้าราชการ

(3) ต้องทดลองฯ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎ ก.พ.

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กําหนดว่า การแต่งตั้งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น เป็นระยะเวลาที่ผู้ทดลอง ปฏิบัติหน้าที่ราชการมีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญนับตั้งแต่วันที่ได้รับ การบรรจุให้เข้ารับราชการ แต่ทั้งนี้ต้องทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎ ก.พ.

35 คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีวาระดํารงตําแหน่งกี่ปี

(1) 6 ปี

(2) 5 ปี

(3) 4 ปี

(4) 3 ปี

(5) 2 ปี

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

36 การสอบคัดเลือกเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องใดต่อไปนี้

(1) การแต่งตั้งข้าราชการ

(2) การบรรจุข้าราชการ

(3) การย้ายข้าราชการ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 220 – 221 การสอบคัดเลือก ได้แก่ การสอบเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนให้ดํารงตําแหน่งที่สอบได้ตามความเหมาะสม โดยรับสมัครสอบจากข้าราชการพลเรือนซึ่งมี คุณสมบัติและความรู้ที่ต้องการสําหรับตําแหน่งที่จะแต่งตั้ง โดยระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้กระทรวง กรมเจ้าสังกัดเป็นผู้ดําเนินการสอบคัดเลือกเอง

37 ระดับใดต่อไปนี้ที่เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไป (1) ระดับต้น

(2) ระดับชํานาญงาน

(3) ระดับทรงคุณวุฒิ

(4) ระดับเชี่ยวชาญ

(5) ระดับชํานาญการพิเศษ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

38 ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กระทรวง

(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

(2) นายกรัฐมนตรี

(3) ปลัดกระทรวง

(4) รองปลัดกระทรวง

(5) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 15), (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วย

1 อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด (รัฐมนตรีว่าการกระทรวง) เป็นประธาน ปลัดกระทรวง เป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. 1 คน

2 อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ที่มิได้เป็นข้าราชการ ในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 3 คน

3 อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 5 คน

4 ให้ อ.ก.พ. กระทรวง ตั้งเลขานุการ 1 คน

39 ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน องค์กรใดต่อไปนี้อาจกําหนดตําแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานได้

(1) กพ.ค.

(2) ก.พ.

(3) อ.ก.พ. กระทรวง

(4) อ.ก.พ. กรม

(5) อ.ก.พ. จังหวัด

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 44) นอกจากตําแหน่งที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว อ.ก.พ. กระทรวงอาจกําหนดตําแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน และแจ้งให้ ก.พ. ทราบด้วย

40 โทษผิดวินัยประเภทร้ายแรงตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีกีสถาน

(1) 2 สถาน

(2) 3 สถาน

(3) 4 สถาน

(4) 5 สถาน

(5) 6 สถาน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

41 ข้อใดเป็นหลักการสําคัญของระบบราชการ

(1) มีลําดับขั้นการบังคับบัญชา

(2) ฝ่ายจัดการมิใช่เจ้าของกิจการ

(3) มีฝ่ายกําหนดนโยบายสาธารณะ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 1 – 7, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1 – 2) ระบบราชการมีลักษณะดังนี้

1 เป็นการค้นหาความสมเหตุสมผล

2 มีลําดับขั้นการบังคับบัญชา

3 มีการกําหนดโครงสร้างของงานที่สมเหตุสมผล

4 มีการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญ เฉพาะด้าน

5 เป็นการทํางานภายในกรอบของกฎหมาย

6 เป็นระบบค่านิยมอย่างหนึ่ง

7 ฝ่ายจัดการไม่ใช่เจ้าของกิจการ ฯลฯ

42 ข้อใดเป็นลักษณะของข้าราชการพลเรือน

(1) เน้นเรื่องความรู้ความสามารถ

(2) มีหลักประกันความมั่นคง

(3) มีวาระในการดํารงตําแหน่ง

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 32 ลักษณะของข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 (ฉบับแรก) มีดังนี้

1 เป็นข้าราชการประจํา (ไม่มีวาระการดํารงตําแหน่ง)

2 มีหลักประกันความมั่นคง

3 ได้รับการเลือกสรรเข้ารับราชการโดยถือเอาความรู้ความสามารถเป็นเกณฑ์ หรือเน้นเรื่องคุณวุฒิ ฯลฯ

43 ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไปมีกี่ระดับ

(1) 2 ระดับ

(2) 3 ระดับ

(3) 4 ระดับ

(4) 5 ระดับ

(5) 6 ระดับ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

44 ข้าราชการพลเรือนที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยตรงของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันส่วนใหญ่เป็น

(1) ข้าราชการพลเรือนสามัญ

(2) ข้าราชการพลเรือนในพระองค์

(3) ข้าราชการครู

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

45 เรื่องใดต่อไปนี้ไม่ได้บัญญัติในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน

(1) ศาลรัฐธรรมนูญ

(2) ศาลปกครอง

(3) ข้าราชการประจําต่างประเทศพิเศษ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนไว้หลายเรื่อง เช่น การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การสับเปลี่ยนหน้าที่ การออกจากราชการ การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ คณะกรรมการพิทักษ์ ระบบคุณธรรม ฯลฯ ส่วนเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ศาลปกครอง ศาลทหาร ข้าราชการประจําต่างประเทศพิเศษ เป็นเรื่องที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน

46 ตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ประเภทอํานวยการ ได้แก่ตําแหน่ง

(1) หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม

(2) หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม

(3) หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

47 ข้าราชการพลเรือนสามัญระดับใดต่อไปนี้ที่ไม่ได้รับเงินประจําตําแหน่ง

(1) ระดับปฏิบัติการ

(2) ระดับปฏิบัติงาน

(3) ระดับชํานาญการ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

48 การยื่นอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัยขั้นปลดออกจากราชการให้ยื่นต่อองค์กรใด (1) ก.พ.

(2) ก.พ.ค.

(3) ศาลปกครอง

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 20 – 25), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 114), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ไม่ว่าจะเป็นโทษทางวินัยสถานใด (เช่น ปลดออก ไล่ออก) หรือ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 110 (1) (3) (5) (6) (7) และ (8) ของ พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคําสั่ง

49 ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใดต่อไปนี้ที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งทุกระดับ (1) ประเภทบริหาร

(2) ประเภทอํานวยการ

(3) ประเภทวิชาการ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

50 ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน กรรมการ ก.พ. ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอยู่ในตําแหน่งคราวละกี่ปี

(1) 6 ปี

(2) 5 ปี

(3) 4 ปี

(4) 3 ปี

(5) 2 ปี

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

51 ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการ

(1) นิติกรระดับปฏิบัติการ

(2) นักวิชาการศึกษาระดับชํานาญการ

(3) เจ้าหน้าที่ปกครองระดับชํานาญการพิเศษ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

52 ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการ

(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด

(2) รองผู้ว่าราชการจังหวัด

(3) นายอําเภอ

(4) ปลัดอําเภออาวุโส

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทอํานวยการตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มี 2 ระดับ คือ

1 อํานวยการระดับต้น ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม (ผู้อํานวยการกอง/ศูนย์, เลขานุการกรม), หัวหน้าสํานักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัด (ระดับต้น), นายอําเภอ (ระดับต้น) เป็นต้น

2 อํานวยการระดับสูง ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม (ผู้อํานวยการสํานัก/ศูนย์/สถาบัน), หัวหน้าสํานักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัด (ระดับสูง), ปลัดจังหวัด, นายอําเภอ (ระดับสูง), ผู้ตรวจราชการกรม เป็นต้น (ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ)

53 ระดับใดต่อไปนี้เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการ (1) ระดับสูง

(2) ระดับทักษะพิเศษ

(3) ระดับทรงคุณวุฒิ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

54 การยื่นหนังสือขอลาออกจากราชการกรณีใดต่อไปนี้ที่ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจสั่งอนุญาตต้องอนุญาตให้ลาออก โดยมีผลนับแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก

(1) กรณีเพื่อดํารงตําแหน่งทางการเมือง

(2) กรณีเพื่อดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

(3) กรณีเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 109 วรรคห้า), (คําบรรยาย) ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ เพื่อไปดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)) ตําแหน่งทางการเมือง (เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวง, เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง) หรือตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนด หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา (ส.ส. และ ส.ว.) สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น (เช่น นายก อบต.) ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจตามมาตรา 57 ไม่อาจยับยั้งการลาออกได้ และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก

55 ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการมีกี่ระดับ

(1) 6 ระดับ

(2) 5 ระดับ

(3) 4 ระดับ

(4) 3 ระดับ

(5) 2 ระดับ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

56 พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน คือฉบับ พ.ศ.

(1) 2540

(2) 2550

(3) 2551

(4) 2552

(5) 2535

ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน คือ ฉบับ พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2551 โดย พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวได้กําหนดให้ ยกเลิก พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับเดิม คือ ฉบับ พ.ศ. 2535 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมทั้งหมด

57 ตําแหน่งใดต่อไปนี้ไม่ได้เป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่ง

(1) นายกรัฐมนตรี

(2) ปลัดกระทรวงการคลัง

(3) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ

(4) เลขาธิการ ก.พ.

(5) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

58 ข้อใดเป็นโทษผิดวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญสถานหนักที่สุด

(1) ประหารชีวิต

(2) จําคุก

(3) ริบทรัพย์

(4) ปลดออก

(5) ไล่ออก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

59 หนังสือสั่งการตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด

(1) 6 ชนิด

(2) 5 ชนิด

(3) 4 ชนิด

(4) 3 ชนิด

(5) 2 ชนิด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

60 หนังสือราชการชนิดใดต่อไปนี้ต้องมีคําขึ้นต้นและคําลงท้าย

(1) หนังสือประทับตรา

(2) หนังสือภายนอก

(3) หนังสือภายใน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 2 หน้า 404 – 407, (คําบรรยาย) ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี โดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงาน อื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก ซึ่งหนังสือภายนอกนี้จะต้องมีคําขึ้นต้น และคําลงท้ายตามฐานะของผู้รับหนังสือตามตารางการใช้คําขึ้นต้น สรรพนาม และคําลงท้ายที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 2

 

ตั้งแต่ข้อ 61. – 100. ข้อใดถูกให้ระบายในช่อง 1 ข้อใดผิดให้ระบายในช่อง 2

 

61 เงินประจําตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญไม่ถือเป็นเงินเดือน เพื่อเป็นเกณฑ์ในการคํานวณบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ

ตอบ 1 หน้า 55, (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 50 วรรคห้า)เงินประจําตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ ไม่ถือเป็นเงินเดือนเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคํานวณบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ

62 ผู้มีอํานาจกําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของส่วนราชการระดับกรม คือ อธิบดี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

63 ข้าราชการพลเรือนสามัญบางระดับของประเภทต่าง ๆ อาจได้รับเงินประจําตําแหน่งด้วย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

64 ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไประดับอาวุโสได้รับเงินประจําตําแหน่งด้วย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

65 การปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญให้กระทําโดยพระราชกฤษฎีกา

ตอบ 2 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 138), (คําบรรยาย) การปรับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันนั้น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกําหนด

66 บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ปัจจุบันกําหนดเป็นขั้นต่ำและขั้นสูงเช่นเดียวกันกับระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับที่แล้วมา

ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 กําหนดให้มีบัญชีอัตราเงินเดือนบัญชีเดียว โดยจัดให้เป็นอันดับเงินเดือนเพื่อให้สอดคล้องกับการจําแนกตําแหน่งตามแบบ Single Classification Scheme

67 ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันได้กําหนดเรื่องการอุทธรณ์ไว้ซึ่งสอดคล้องกับหลักความมั่นคงตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล

ตอบ 1 หน้า 18, (คําบรรยาย) หลักความมั่นคง (Security) ตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลหมายถึง การให้หลักประกันแก่ข้าราชการที่มีผลงานและความประพฤติดีจะต้องไม่ถูกให้ออก จากงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร โดย พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้กําหนด เรื่องที่สอดคล้องกับหลักการนี้ไว้หลายเรื่อง เช่น การออกจากราชการว่าจะออกเมื่อใด การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ การสอบสวนและการดําเนินการทางวินัย เป็นต้น

68 ข้าราชการอัยการไม่อาจโอนมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญได้

ตอบ 2 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง), (คําบรรยาย)การโอนพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญ (เช่น ข้าราชการ ตํารวจ ข้าราชการทหาร ข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการตุลาการ (ผู้พิพากษา) ข้าราชการอัยการ ข้าราชการรัฐสภา เป็นต้น) และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ ก.พ. กําหนด มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตลอดจนจะแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทําได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนด

69 บํานาญ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาเมื่อพ้นจากราชการ ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับตามกฎหมายบําเหน็จบํานาญข้าราชการ บํานาญจ่ายเป็นรายเดือน ตอบ 1 หน้า 69 – 70, (คําบรรยาย) บํานาญ หมายถึง เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาเมื่อพ้นจากหน้าที่ราชการแล้ว ซึ่งผู้ที่จะได้รับบํานาญนี้จะต้องเป็นผู้มีสิทธิได้รับตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ โดยบํานาญจ่ายให้เป็นรายเดือน

70 คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เป็นคณะกรรมการที่กําหนดไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับก่อนฉบับปัจจุบัน และยังคงกําหนดในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันด้วย

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม(ก.พ.ค.) เป็นองค์กรกลางในการบริหารงานบุคคล ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ไม่เคยบัญญัติ ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใดมาก่อน เพราะเป็นองค์กรที่เพิ่งบัญญัติขึ้นใหม่ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เพื่อพิทักษ์คุ้มครองความเป็นธรรมให้ บรรดาข้าราชการพลเรือน และพิทักษ์ระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม

71 โทษผิดวินัยขั้นปลดออกจากราชการตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีสิทธิรับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายบําเหน็จบํานาญข้าราชการ

ตอบ 1 หน้า 267, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2551 มาตรา 97 วรรคสี), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษ ทางวินัยขั้นปลดออกจากราชการตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้มีสิทธิ ได้รับบําเหน็จบํานาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ และต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย ว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการด้วย ส่วนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัย ขั้นไล่ออกจากราชการ จะไม่มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ

72 รองอธิบดีเป็นตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการระดับสูงเช่นเดียวกับตําแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20, และ 52. ประกอบ

73 การบรรจุแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ เป็นอํานาจของปลัดกระทรวง

ตอบ 2 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 57 (7)) การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

74 ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันได้กําหนดเรื่องการสอบสวนทางวินัยไว้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการกําหนดที่สอดคล้องกับหลักความเป็นธรรมตามระบบคุณธรรม

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ

75 การบรรจุแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งปลัดกระทรวงต้องผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและต้องนําความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งด้วย

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 16 – 17), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551มาตรา 57 (1) (2) (7)), (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีขั้นตอนการบรรจุ และแต่งตั้งโดยต้องขออนุมัติหรือขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและนําความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ได้แก่

1 ตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เช่น ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น

2 ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ

76 ข้าราชการพลเรือนสามัญที่กระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงอาจถูกลงโทษทางวินัยขั้นปลดออก และหากการกระทํานั้นเป็นความผิดกฎหมายทางอาญาอาจถูกดําเนินคดีอาญาอีกส่วนหนึ่งต่างหากด้วย

ตอบ 1 หน้า 265 สําหรับข้าราชการพลเรือนสามัญที่กระทําผิดวินัยนั้น นอกจากจะต้องรับโทษทางวินัยตามประเภทความผิด 5 สถานแล้ว ถ้าหากการกระทํานั้นเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาหรือกฎหมายแพ่งจะต้องรับโทษอีกส่วนหนึ่งต่างหากด้วย

77 เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ ถือว่าเป็นหนังสือราชการ

ตอบ 1 หน้า 403, (คําบรรยาย) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 กําหนดว่า หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็น หลักฐานในราชการ ได้แก่

1 หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ

2 หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก

3 หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ

4 เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ

5 เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ

6 ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

78 การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้ายจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแล้ว

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 63 วรรคสาม), (คําบรรยาย) การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้ายจะกระทํามิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น ส่วนการย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงกว่าเดิม จะไม่สามารถดําเนินการได้แต่ต้องใช้วิธีการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทน

79 เงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญกําหนดไว้ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน

ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 50), (คําบรรยาย) เงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ กําหนดไว้ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ทั้งนี้ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับ เงินเดือนตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญเท่าใด หรือจะได้รับ เงินประจําตําแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.

80 การบรรจุแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาจากต่างประเทศเข้ารับราชการ โดยปกติจะต้องผ่านการสอบแข่งขันเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่เปิดสอบแข่งขันนั้น

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

81 กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 เป็นกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรกมีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ตอบ 2 หน้า 29, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471ได้ประกาศเป็นกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรกเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 โดยทั้งนี้ยังมิได้ใช้บังคับทันทีนับแต่วันประกาศเป็นกฎหมาย แต่ให้เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 เป็นต้นไป

82 กรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อพ้นจากตําแหน่งตามวาระแล้ว อาจได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น กรรมการ ก.พ. อีกก็ได้

ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 7 วรรคสาม และวรรคสี่), (คําบรรยาย) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.พ. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอีกก็ได้ แต่ถ้าเมื่อพ้นจากตําแหน่งแล้วยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งกรรมการใหม่

83 ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกําหนด

ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 38 วรรคสอง) ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกําหนด

84 ผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือสอบเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ระเบียบฯบัญญัติว่า ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปของการเป็นข้าราชการพลเรือน

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36), (คําบรรยาย) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้าม โดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาบังคับไว้ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้สมัครเข้ารับราชการได้ โดยไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไป มี 4 กรณี ดังนี้

1 เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม

2 เป็นบุคคลล้มละลาย

3 เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะกระทําความผิดทางอาญา

4 เป็นผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ

85 ผู้ที่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อน ต่อมาได้ลาออกจากราชการไปโดยไม่มีความผิดวินัยแต่ประการใดถ้าประสงค์ขอกลับเข้ารับราชการอาจยื่นเรื่องขอกลับเข้ารับราชการที่กระทรวง ทบวง กรมเดิมและจะต้อง ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในตําแหน่งเดิมด้วย

ตอบ 2 หน้า 99, (คําบรรยาย) ผู้ที่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อนและลาออกจากราชการไปโดยไม่มีความผิดวินัย แต่ประการใด ถ้าประสงค์ขอกลับเข้ารับราชการ อาจยื่นเรื่องราวขอกลับ เข้ารับราชการในกระทรวง กรมใด ๆ ก็ได้ โดยไม่ได้จํากัดเฉพาะกระทรวง กรมเดิมที่เคยสังกัดก่อนออกจากราชการ และอาจได้รับการบรรจุแต่งตั้งในระดับและเงินเดือนที่ไม่สูงกว่าเดิม

86 บําเหน็จดํารงชีพเป็นเงินที่ข้าราชการผู้รับบํานาญได้รับไม่เกิน 15 เท่าของบํานาญ อาจได้รับในปีที่เกษียณอายุราชการ เมื่ออายุครบ 60 ปีในวันสิ้นปีงบประมาณ และอาจได้รับอีกครั้งหนึ่งก็ได้ เมื่ออายุครบ 65 ปีบริบูรณ์

ตอบ 1 (คําบรรยาย) บําเหน็จดํารงชีพ คือ เงินที่จ่ายให้ข้าราชการบํานาญเพื่อช่วยเหลือการดํารงชีพโดยจ่ายให้ครั้งเดียว ซึ่งให้จ่ายในอัตรา 15 เท่าของบํานาญรายเดือน แต่ไม่เกิน 4 แสนบาท โดยปัจจุบันแบ่งจ่ายเป็น 2 งวด คือ งวดแรกจ่ายเมื่ออายุครบ 60 ปีในปีที่เกษียณอายุราชการ ไม่เกิน 2 แสนบาท และงวดที่สองจ่ายที่เหลือเมื่ออายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ อีกครั้งหนึ่ง ไม่เกิน 4 แสนบาท

87 ผู้กระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ ทําให้ขาดคุณสมบัติเฉพาะในการสมัครเข้ารับราชการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 84. ประกอบ

88 “การสอบคัดเลือก” ระเบียบฯ กําหนดให้กระทรวง ทบวง กรม เจ้าสังกัดเป็นผู้ดําเนินการ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

89 ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามบางประการ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่มติของ ก.พ. ในการยกเว้นดังกล่าวต้องเป็นการประชุมลับและต้องได้ คะแนนเสียง 3 ใน 5 ของกรรมการที่มาประชุม

ตอบ 2 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36 วรรคสอง และวรรคสี่) มติของ ก.พ. ในการยกเว้นลักษณะต้องห้ามบางประการสําหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็น ข้าราชการพลเรือนนั้น ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของกรรมการที่มาประชุม และการลงมติให้กระทําโดยลับ ซึ่งในการนี้ ก.พ. อาจจะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะรายหรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้

90 การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยปกติให้เลื่อนปีละ 2 ครั้ง

ตอบ 1 หน้า 173, (คําบรรยาย) การเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือการพิจารณาความดีความชอบของ ข้าราชการพลเรือนแต่เดิมนั้น จะกระทําได้เพียงปีละ 1 ครั้ง แต่ปัจจุบันได้กําหนดให้ เลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ปีละ 2 ครั้ง โดยการเลื่อนขั้นเงินเดือนจะกําหนดเป็นอัตราร้อยละ ของเงินเดือน

91 ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน

ตอบ 2 หน้า 38, (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนทั่วไปที่ปฏิบัติราชการประจําอยู่ตามกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน หรือจังหวัด และอําเภอในราชการส่วนภูมิภาค เช่น ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด ปลัดอําเภอ ฯลฯ (ส่วนปลัดกรุงเทพมหานคร, ผู้อํานวยการเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ, ปลัด อบต. ปลัด อบจ. ปลัดเทศบาล (นคร-เมือง-ตําบล) เป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น)

92 บําเหน็จตกทอด กําหนดให้ผู้รับบํานาญตอนถึงแก่กรรม ซึ่งตกแก่ทายาท ซึ่งจะได้รับ 30 เท่าของบํานาญปัจจุบันจะต้องลบด้วยบําเหน็จดํารงชีพที่ผู้รับบํานาญรับไปก่อนแล้ว

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การคํานวณบําเหน็จตกทอดกรณีผู้รับบํานาญตายนั้น ทายาทผู้มีสิทธิรับบําเหน็จตกทอดจะได้รับตามสูตรดังนี้

บําเหน็จตกทอด = บํานาญ x 30 – บําเหน็จดํารงชีพที่ได้รับไปแล้ว

93 ประธานศาลฎีกาเป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือกคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน

ตอบ 2 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 26 วรรค 1) คณะกรรมการคัดเลือกคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ประกอบด้วย ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธาน รองประธานศาลฎีกาที่ได้รับมอบหมายจากประธานศาลฎีกา 1 คน, กรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน ซึ่งได้รับเลือกโดย ก.พ. และให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ

94 การบริหารงานบุคคลอาจจําแนกวิธีการบริหารได้เป็น 2 ระบบ คือระบบจําแนกตําแหน่งกับระดับชั้นยศ

ตอบ 2 หน้า 17 ในการบริหารงานบุคคลอาจจําแนกวิธีการบริหารได้เป็น 2 ระบบ คือ ระบบคุณธรรมกับระบบอุปถัมภ์

95 การให้ออกจากราชการเป็นโทษผิดวินัยที่ใช้ลงโทษแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้กระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งเบากว่าโทษไล่ออกจากราชการ

ตอบ 2 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 96 และมาตรา 97), (คําบรรยาย)การสั่งลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญผู้กระทําผิดวินัย แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

1 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งลงโทษ สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด

2 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งลงโทษ สั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามา ประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก (พึงสังเกต ด้วยว่าตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 นี้ จะไม่มีโทษผิดวินัย สถาน “ให้ออก” ดังนั้นการให้ออกจากราชการตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวไม่ว่าในกรณีใด ๆจึงไม่ถือเป็นการลงโทษทางวินัย)

96 การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับต่ำกว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้ายจะกระทําได้เมื่อเจ้าตัวยินยอมและเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแล้ว

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

97 การโอนพนักงานเทศบาลหรือข้าราชการอื่นมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องเกิดจากความสมัครใจของเจ้าตัวผู้ขอโอนเอง ถ้าเจ้าตัวไม่สมัครใจจะบังคับให้โอนไม่ได้

ตอบ 1 หน้า 158 159 การโอนพนักงานเทศบาลหรือข้าราชการอื่นมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญต้องเกิดจากความสมัครใจของตัวผู้ขอโอนเอง โดยเมื่อผู้มีอํานาจสั่งบรรจุ ของทั้ง 2 หน่วยงานตกลงกันได้แล้ว ก็ให้เสนอเรื่องไปยัง ก.พ. เพื่อพิจารณาอนุมัติซึ่ง ก.พ. จะพิจารณาอนุมัติโดยคํานึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับเป็นหลักสําคัญ

98 กรณีข้าราชการพลเรือนสามัญถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้มีการสอบสวนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหา

ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 93), (คําบรรยาย) การดําเนินการทางวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญ กรณีมีมูลอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน โดยในการสอบสวนต้อง แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ พร้อมทั้งรับฟังคําชี้แจงของ

ผู้ถูกกล่าวหา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหา

99 ลักษณะสําคัญของระบบราชการประการหนึ่ง คือ การทํางานภายในกรอบของกฎหมาย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

100 ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 59 วรรคสาม), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการในระหว่าง ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อน แต่ทั้งนี้จะไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือการรับเงินเดือนหรือ ผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลอง ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ดังนั้นจึงไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือข้อห้ามของข้าราชการพลเรือน แต่อย่างใด

 

 

Advertisement