การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2302 ระเบียบปฏิบัติราชการ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1 ก.พ. มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการใด ๆ แทนได้ คือ
(1) อ.ก.พ. กระทรวง
2) .ก.พ. กรม
(3) อ.ก.พ. วิสามัญ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 12) ก.พ. มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. วิสามัญ” เพื่อ ทําการใด ๆ แทนได้ โดยจํานวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดํารงตําแหน่ง และการพ้นจากตําแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
2 ข้อใดเป็นโทษผิดวินัยขั้นร้ายแรง ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ไล่ออก
(2) ปลดออก
(3) ให้ออก
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1,2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22 – 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 88), คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัย จะต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7 การดําเนินการทางวินัย โดยโทษทางวินัย มี 5 สถาน ซึ่งแบ่งออกเป็น
1 โทษผิดวินัยประเภทไม่ร้ายแรง มี 3 สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ (เบาที่สุด) ตัดเงินเดือน และลดเงินเดือน
2 โทษผิดวินัยประเภทร้ายแรง มี 2 สถาน ได้แก่ ปลดออก และไล่ออก (หนักที่สุด)
3 หนังสือราชการ ตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) 4 ชนิด
(2) 5 ชนิด
(3) 6 ชนิด
(4) 7 ชนิด
(5) 8 ชนิด
ตอบ 3 หน้า 403, 416, 422, 428, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26 – 27), (คําบรรยาย) ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 (ฉบับปัจจุบัน) แบ่งหนังสือราชการออกเป็น 6 ชนิด ดังนี้ 1 หนังสือภายนอก 2 หนังสือภายใน 3 หนังสือประทับตรา 4 หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด ได้แก่ คําสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ 5 หนังสือประชาสัมพันธ์ มี 3 ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว 6 หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทําขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี 4 ชนิด ได้แก่ หนังสือรับรองรายงานการประชุม บันทึก และหนังสืออื่น
4 ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน องค์กรกลางในการบริหารงานบุคคลใดต่อไปนี้ อาจกําหนดตําแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหาร นอกจากตําแหน่งที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(1) ก.พ.
(2) อ.ก.พ. กระทรวง
(3) อ.ก.พ. กรม
(4) อ.ก.พ. จังหวัด
(5) อ.ก.พ. วิสามัญ
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 44) นอกจากตําแหน่งที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว อ.ก.พ. กระทรวง อาจกําหนดตําแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานและแจ้งให้ ก.พ. ทราบด้วย
5 ก.พ.ค. คือ
(1) คณะกรรมการวิชาการพลเรือน
(2) คณะกรรมการพัฒนาระบบคุณธรรม
(3) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามระบบคุณธรรม
(4) คณะกรรมการทักษะพิเศษตามระบบคุณธรรม
(5) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 11), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 24 และมาตรา 29), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ประกอบด้วย กรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค. โดยตําแหน่ง โดยกําหนดให้กรรมการ ก.พ.ค. ต้องทํางาน เต็มเวลา และมีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว ดังนั้นกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ก.พ.ค. อีกมิได้ แต่ให้กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการ ก.พ.ค. ใหม่
6 ปัจจุบันข้าราชการพลเรือน ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนแบ่งเป็นประเภท
(1) 5 ประเภท
(2) 4 ประเภท
(3) 3 ประเภท
(4) 2 ประเภท
(5) ประเภทเดียว
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 35), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยตรงของ ก.พ. มี 2 ประเภท คือ
1 ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งข้าราชการประเภทนี้ถือเป็นข้าราชการที่มีจํานวนมากที่สุดตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้
2 ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
7 ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กรมโดยตําแหน่ง
(1) รองปลัดกระทรวง
(2) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
(3) อธิบดี
(4) ปลัดกระทรวง
(5) ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 17), (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วย
1 อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดี เป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมาย 1 คน เป็นรองประธาน
2 อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล – ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ที่มิได้เป็นข้าราชการในกรมนั้น จํานวนไม่เกิน 3 คน
3 อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอํานวยการในกรมนั้น จํานวนไม่เกิน 6 คน
4 ให้ อ.ก.พ. กรม ตั้งเลขานุการ 1 คน
8 ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณฉบับปัจจุบัน ใช้บังคับโดยตรงกับหน่วยงานราชการใด
(1) ราชการบริหารส่วนกลาง
(2) ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
(3) ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 400, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26), (คําบรรยาย) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ให้ใช้บังคับโดยตรง กับหน่วยงานดังต่อไปนี้
1 ส่วนราชการ ซึ่งได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม สํานักงาน หรือ หน่วยงานอื่นใดของรัฐทั้งในราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการ บริหารส่วนท้องถิ่น หรือในต่างประเทศ
2 คณะกรรมการของส่วนราชการตามข้อ 1.
3 รัฐวิสาหกิจ ที่อยู่ในการกํากับดูแลของหน่วยงานของรัฐ
9 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้อง
(1) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(2) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง
(3) ไม่เป็นกรรมการโดยตําแหน่งอยู่แล้ว
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 วรรคสอง) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต้องไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือ ผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองและมิได้เป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งอยู่แล้ว
10 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักการสําคัญของระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
(1) หลักความเสมอภาค
(2) หลักความรู้ความสามารถ
(3) หลักความมั่นคง
(4) หลักอาวุโส
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 17 – 18, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 2) หลักการสําคัญของระบบคุณธรรม (Merit System) ในการบริหารงานบุคคลหรือการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ มี 4 ประการ คือ
1 หลักความเสมอภาค (Equality)
2 หลักความรู้ความสามารถ (Competence)
3 หลักความมั่นคง (Security)
4 หลักความเป็นกลางในทางการเมือง (Political Neutrality)
11 ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญต้อง
(1) มีคุณสมบัติทั่วไป
(2) ไม่มีลักษณะต้องห้าม
(3) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นลักษณะต้องห้ามบางประการได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36),(คําบรรยาย) ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1 มีคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน
2 ไม่มีลักษณะต้องห้ามของข้าราชการพลเรือน
3 ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามบางประการ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นลักษณะต้องห้ามบางประการได้
12 ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นข้าราชการการเมือง
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(3) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 387 388, 391, (คําบรรยาย) ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 ตําแหน่งข้าราชการการเมือง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1 ตําแหน่งข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีประจําสํานัก นายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง เลขาธิการ นายกรัฐมนตรีประจําสํานัก เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เป็นต้น
2 ตําแหน่งข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ได้แก่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
13 ผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในกรณีใดที่ต้องให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเป็นข้าราชการที่ดี ตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
(1) กรณีผู้สอบแข่งขันได้
(2) กรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขัน
(3) กรณีที่มีเหตุผลและความจําเป็นอย่างยิ่ง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง, มาตรา 55 และมาตรา 59), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับการบรรจุ ในกรณีต่อไปนี้ต้องแต่งตั้งให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเป็นข้าราชการที่ดี ตามที่กําหนดในกฎ ก.พ. ได้แก่
1 ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งจากการสอบแข่งขันได้
2 ผู้ที่ได้รับการบรรจุในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขันตามที่ ก.พ. กําหนด
14 ในการปฏิบัติราชการเพื่อดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะตามนโยบายของรัฐบาล จะบรรลุผลสําเร็จมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับ
(1) ตัวบทกฎหมาย
(2) ข้าราชการในพื้นที่
(3) ระบบราชการ
(4) ข้าราชการการเมือง
(5) ประชาชนโดยส่วนรวม
ตอบ 3 หน้า 1, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1) ในการปฏิบัติราชการเพื่อดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะตามนโยบายของรัฐบาล จะบรรลุผลสําเร็จมากน้อยเพียงใดหรือผลจะ ปรากฏออกมาดีชั่วประการใด ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับคน การจัดองค์การ และวิธีการทํางานหรือกล่าวอย่างรวบรัดก็คือ ขึ้นอยู่กับระบบราชการว่ามีลักษณะอย่างใดเป็นสําคัญ
15 ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไป ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีกี่ระดับ
(1) ระดับเดียว
(2) 2 ระดับ
(3) 3 ระดับ
(4) 4 ระดับ
(5) 5 ระดับ
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13 – 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 46) ระดับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้
1 ตําแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
2 ตําแหน่งประเภทอํานวยการ มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
3 ตําแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ
4 ตําแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโสและระดับทักษะพิเศษ ทั้งนี้การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎ ก.พ.
16 ระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ
(1) สํานักนายกรัฐมนตรี
(2) สํานักงาน ก.พ.
(3) การจัดส่วนราชการ
(4) การกําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือน
(5) การบริหารงานบุคคล
ตอบ 5 หน้า 15, (คําบรรยาย) ระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารงานบุคคลหรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ โดยระเบียบข้าราชการพลเรือน แต่ละฉบับจะตราขึ้นโดยอาศัยหลักวิชาการในทางการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรม เป็นเกณฑ์ ดังนั้นการที่จะศึกษาทําความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการพลเรือนจึงจําเป็นต้องมีความรู้ในหลักวิชาของการบริหารงานบุคคลเป็นพื้นฐานที่สําคัญ
17 ข้อใดเป็นคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน
(1) มีสัญชาติไทย
(2) เป็นบุคคลล้มละลาย
(3) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 5), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36)คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน ได้แก่
1 มีสัญชาติไทย
2 มีอายุไม่ต่ํากว่า 18 ปี
3 เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
18 ข้อใดถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณ
(1) ข่าวราชการเป็นหนังสือภายใน
(2) หนังสือรับรองเป็นหนังสือภายนอก
(3) ระเบียบเป็นหนังสือสั่งการ
(4) ข้อบังคับเป็นหนังสือภายนอก
(5) บันทึกข้อความเป็นหนังสือภายนอก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ
19 ปัจจุบันตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใดได้รับทั้งเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง
(1) ประเภทบริหาร
(2) ประเภทอํานวยการ
(3) ประเภทวิชาการทุกระดับ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทที่ได้รับทั้งเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง ได้แก่
1 ตําแหน่งประเภทบริหารระดับต้นและระดับสูง
2 ตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับต้นและระดับสูง
3 ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ
4 ตําแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ
20 ปัจจุบันบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ เพื่อใช้บรรจุบุคคลเข้ารับราชการให้ใช้ได้ไม่เกินกี่ปีนับแต่วันขึ้นบัญชี
(1) 5 ปี
(2) 4 ปี
(3) 3 ปี
(4) 2 ปี
(5) 1 ปี
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปัจจุบัน ก.พ. ได้กําหนดหลักเกณฑ์การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ เพื่อใช้บรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญว่าให้ใช้ได้ไม่เกิน 2 ปีนับแต่วันขึ้นบัญชี
21 ข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน มีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งนี้ ต้อง
(1) ไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน
(2) ไม่กระทบความต่อเนื่องในการจัดทําบริการสาธารณะ
(3) ไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 43) ข้าราชการพลเรือนสามัญมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพ ในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทําบริการสาธารณะ และต้องไม่มี วัตถุประสงค์ทางการเมือง ทั้งนี้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่ม ให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
22 ต่อไปนี้ข้อใดไม่ใช่อํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
(1) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน
(2) ตีค่าคุณวุฒิเพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน
(3) ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน
(4) รับเรื่องราวร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนสามัญ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10 – 11), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 8) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1 ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนรวมตลอดทั้งกําหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เป็นปัญหา
2 กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่น (ตีค่าคุณวุฒิ) เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน
3 ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน
4 พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน ฯลฯ
23 เกี่ยวกับบัญชีเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญปัจจุบัน
(1) กําหนดเป็นระดับและขั้น
(2) กําหนดเป็นอันดับและขั้น
(3) กําหนดเป็นระดับ
(4) กําหนดเป็นขั้น
(5) กําหนดเป็นขั้นต่ำและขั้นสูง
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง), (คําบรรยาย) ปัจจุบันข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามตําแหน่ง ในแต่ละประเภทตามที่กําหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ท้าย พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งจะกําหนดเป็นขั้นต่ำและขั้นสูงของ แต่ละระดับของแต่ละประเภทตําแหน่ง โดยไม่มีอันดับและขั้นเป็นอัตรา ดังนั้นจึงไม่เรียกว่า“บัญชีอัตราเงินเดือน” แต่เรียกว่า “บัญชีเงินเดือน”
24 ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ได้ใช้วิธีกําหนดตําแหน่งโดยใช้ระบบ
(1) ชั้นยศ
(2) จําแนกตําแหน่ง
(3) คุณธรรม
(4) อุปถัมภ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 77 – 78, (คําบรรยาย) วิธีกําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนโดยทั่วไปมี 2 ระบบ คือ ระบบชั้นยศ (R.C.) และระบบจําแนกตําแหน่ง (P.C.) ซึ่งตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้ใช้วิธีกําหนดตําแหน่งโดยใช้ระบบจําแนกตําแหน่งแบบแบ่งเป็นประเภทตําแหน่ง ตามลักษณะงาน 4 ประเภท คือ ตําแหน่งประเภทบริหาร ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ตําแหน่งประเภทวิชาการ และตําแหน่งประเภททั่วไป
25 ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน มีกี่ประเภท
(1) ประเภทเดียว
(2) 2 ประเภท
(3) 3 ประเภท
(4) 4 ประเภท
(5) 5 ประเภท
ตอบ 4 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 45), (คําบรรยาย)ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญแบ่งตามลักษณะงาน ได้เป็น 4 ประเภท คือ
1 ตําแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทบริหาร
2 ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรมและตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทอํานวยการ เช่น หัวหน้าส่วนราชการ ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค เป็นต้น
3 ตําแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตามที่ ก.พ. กําหนด (ระดับปริญญาตรีขึ้นไป) เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตําแหน่งนั้น
4 ตําแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตําแหน่งที่ไม่ใช่ตําแหน่งประเภทตามข้อ 1, 2 และ 3ทั้งนี้ตามที่ ก.พ. กําหนด (ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ)
26 การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขัน ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งดําเนินการได้โดยวิธี
(1) สอบคัดเลือก
(2) คัดเลือก
(3) คัดเลือกหรือสอบคัดเลือก
(4) วิธีใดก็ได้ตามความเหมาะสม
(5) อาจใช้วิธีเดียวกันกับการสอบแข่งขันก็ได้
ตอบ 2 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 55), (คําบรรยาย) กรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขันตามที่ ก.พ. กําหนด สามารถให้อธิบดี (ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจ สังบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57) เป็นผู้คัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งได้เป็นรายกรณี (ไม่ใช่เป็นการพิจารณาเป็นรายบุคคล) เช่น
1 กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด
2 กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง หรือทุนรัฐบาลเพื่อศึกษาวิชาในประเทศหรือต่างประเทศที่สําเร็จการศึกษาแล้ว เป็นต้น
27 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมีจํานวนกี่คน
(1) ไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน
(2) ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน
(3) 3 คน
(4) 4 คน
(5) 5 คน
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 และมาตรา 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็น องค์กรกลางในการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย
1 กรรมการโดยตําแหน่ง จํานวน 5 คน ได้แก่ นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ
2 กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลหรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายจํานวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน โดยแต่งตั้งให้อยู่ในตําแหน่งได้คราวละ 3 ปี
28 ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันคือฉบับ พ.ศ.
(1) 2518
(2) 2535
(3) 2540
(4) 2551
(5) 2557
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน คือ ฉบับ พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551 โดย พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวได้กําหนดให้ยกเลิก พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับเดิม คือ ฉบับ พ.ศ. 2535 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมทั้งหมด
29 ตําแหน่งใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง
(1) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ
(2) ปลัดกระทรวงการคลัง
(3) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
(4) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(5) รองอธิบดีกรมการปกครอง
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มี 2 ระดับ คือ
1 บริหารระดับต้น ได้แก่ รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (รองอธิบดี), รองผู้ว่าราชการจังหวัดอัครราชทูต เป็นต้น
2 บริหารระดับสูง ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และปลัดกระทรวง), รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และ รองปลัดกระทรวง), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (อธิบดี), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (เช่น เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ), ผู้ว่าราชการจังหวัดเอกอัครราชทูต เป็นต้น
30 คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ประกอบด้วยกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจํานวนกี่คน
(1) 9 คน
(2) 8 คน
(3) 7 คน
(4) 6 คน
(5) 5 คน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ
31 การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาจากต่างประเทศเข้ารับราชการ มีหลักเกณฑ์อย่างไร
(1) โดยปกติต้องผ่านการสอบแข่งขัน
(2) ก.พ. เป็นผู้ดําเนินการบรรจุและแต่งตั้ง
(3) บรรจุกรณีพิเศษก็ได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 93 – 95 การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศที่ ก.พ. รับรองเข้ารับราชการนั้น โดยปกติจะต้องผ่านการสอบแข่งขันเช่นเดียวกับ ผู้สําเร็จการศึกษาในประเทศหรือบุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่เปิด สอบแข่งขันนั้น แต่ต้องเสนอคุณวุฒิให้ ก.พ. พิจารณารับรองเพื่อตีราคาหรือตีค่าคุณวุฒิ และกําหนดหลักเกณฑ์การบรรจุเป็นราย ๆ ทุกรายไป โดย ก.พ. จะพิจารณาจากหลักสูตร การศึกษาและความน่าเชื่อถือของสถาบันที่ประสาทปริญญาหรือประกาศนียบัตรนั้นด้วยแต่ ก.พ. จะไม่มีอํานาจในการบรรจุและแต่งตั้ง
32 ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ประเภทอํานวยการ ได้แก่
(1) หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง
(2) หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
(3) หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม
(4) หัวหน้าส่วนราชการระดับต่ำกว่ากระทรวงแต่สูงกว่าระดับกรม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ
33 หนังสือสั่งการ ตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) ชนิดเดียว
(2) 2 ชนิด
(3) 3 ชนิด
(4) 4 ชนิด
(5) 5 ชนิด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ
34 รองประธาน อ.ก.พ. กระทรวง ได้แก่
(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(2) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
(3) ปลัดกระทรวง
(4) รองปลัดกระทรวง
(5) อธิบดี
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 15),(คําบรรยาย) อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วย
1 อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด (รัฐมนตรีว่าการกระทรวง) เป็นประธานปลัดกระทรวง เป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. 1 คน
2 อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ที่มิได้เป็นข้าราชการ ในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 3 คน
3 อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 5 คน
4 ให้ อ.ก.พ. กระทรวง ตั้งเลขานุการ 1 คน
35 การย้ายตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน หมายถึง
(1) การเปลี่ยนไปดํารงตําแหน่งอื่นในกรมเดียวกัน
(2) การเปลี่ยนไปดํารงตําแหน่งอื่นในสังกัดเดียวกัน แต่อาจต่างท้องที่กันก็ได้
(3) การเปลี่ยนไปดํารงตําแหน่งอื่นในต่างกรม แต่อยู่ในกระทรวงเดียวกัน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (คําบรรยาย) ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2551 การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญ หมายถึง การย้ายหรือการเปลี่ยนไปดํารงตําแหน่งอื่น ในกรมเดียวกัน และต้องย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับเดียวกัน กล่าวคือ สังกัดกรมเดิม แต่อาจเปลี่ยนไปอยู่ในส่วนราชการภายในกรมส่วนกลาง หรือไปอยู่จังหวัดหรืออําเภอในส่วนภูมิภาค ก็ได้ ส่วนการโอน หมายถึง การเปลี่ยนไปดํารงตําแหน่งอื่นในต่างกรม กล่าวคือ สังกัดกรมใหม่แต่อาจจะอยู่ในกระทรวงเดียวกัน หรือกระทรวงใหม่ก็ได้
36 คําขึ้นต้นของหนังสือราชการถึงรองนายกรัฐมนตรีใช้ว่าอย่างไร
(1) กราบเรียน
(2) กราบเรียน ฯพณฯ
(3) เรียน
(4) ขอประทานกราบเรียน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 479 480, (คําบรรยาย) การใช้คําขึ้นต้นตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ในหนังสือราชการสําหรับ ผู้รับหนังสือที่เป็นบุคคลธรรมดานั้น มี 2 แบบ คือ
1 สําหรับประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎรประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ฯลฯ ให้ใช้คําขึ้นต้นว่า“กราบเรียน” และใช้คําลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง”
2 บุคคลธรรมดานอกจากข้อ 1. ให้ใช้คําขึ้นต้นว่า “เรียน” และใช้คําลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถือ
37 การบริหารงานบุคคลตามระบบอุปถัมภ์มีข้อดีบางประการ คือ
(1) ช่วยให้ความคุ้มครองแก่ข้าราชการ
(2) ช่วยให้ข้าราชการก้าวหน้าเร็วยิ่งขึ้น
(3) ช่วยเสริมการวัดผลในการสอบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
(4) ช่วยขจัดผู้ไม่เหมาะสมออกจากวงราชการ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 19 – 20 การบริหารงานบุคคลตามระบบอุปถัมภ์มีข้อดี คือ
1 ช่วยให้การบริหารงานบุคคลดําเนินไปได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย
2 ช่วยส่งเสริมการวัดผลในการสอบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3 ช่วยให้การบริหารงานบุคคลสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันท่วงที
38 ระดับใดต่อไปนี้เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการ ตามระเบียบข้าราชการพลเรือน ฉบับปัจจุบัน
(1) ระดับต้น
(2) ระดับชํานาญงาน
(3) ระดับทักษะพิเศษ
(4) ระดับอาวุโส
(5) ระดับปฏิบัติการ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ
39 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมีวาระดํารงตําแหน่งคราวละกี่ปี
(1) 2 ปี
(2) 3 ปี
(3) 4 ปี
(4) 5 ปี
(5) 6 ปี
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ
40 ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กระทรวง
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(3) รองนายกรัฐมนตรี
(4) ปลัดกระทรวง
(5) รองปลัดกระทรวง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ
41 ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก
(1) เพื่อความเสมอภาคและยุติธรรม
(2) เพื่อความเป็นมาตรฐาน
(3) เพื่อความสมบูรณ์พูนสุข
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 30 – 31, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 (ฉบับแรก) มีดังนี้
1 เพื่อความเป็นระเบียบและมาตรฐาน
2 เพื่อความเสมอภาคและยุติธรรม
3 เพื่อให้หลักประกันความมั่นคงแก่ข้าราชการ
4 เพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการ
- ข้อใดเป็นประเภทของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ประเภทขาดแคลน
(2) ประเภทพิเศษ
(3) ประเภททั่วไป
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ
43 ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน คําว่า “คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง” หมายถึง การกําหนดเกี่ยวกับ
(1) หลักการบรรจุผู้ทรงคุณวุฒิ
(2) หลักการจําแนกตําแหน่ง
(3) หลักการของระบบคุณธรรม
(4) หลักการของระบบอุปถัมภ์
(5) ความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์
ตอบ 5 หน้า 94, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 16) คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง หมายถึงคุณสมบัติที่กําหนดไว้โดยเฉพาะสําหรับตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวกับคุณวุฒิทางการศึกษา ความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์ในการรับราชการ โดยคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งมีอย่างไร จะมีกําหนดไว้ล่วงหน้าในมาตรฐานกําหนดตําแหน่งของแต่ละประเภทตําแหน่งที่ ก.พ. จัดทําขึ้น
44 การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญระดับใดที่ระเบียบฯ กําหนดให้ต้องนําความกราบบังคมทูล เพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(1) ประเภทบริหารระดับสูง
(2) ประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(3) ประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 16 – 17), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 57 (1) (2) (7)), (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีขั้นตอนการบรรจุ และแต่งตั้งโดยต้องขออนุมัติหรือขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและนําความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ได้แก่
1 ตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เช่น ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น
2 ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
45 หนังสือประชาสัมพันธ์ ตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบัน ได้แก่
(1) ระเบียบ
(2) ข้อบังคับ
(3) คําสั่ง
(4) แถลงการณ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ
46 ระดับทักษะพิเศษ เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใด
(1) บริหาร
(2) วิชาการ
(3) พิเศษ
(4) ทั่วไป
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ
47 ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน องค์กรใดต่อไปนี้เป็นผู้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่ง
(1) ก.พ.
(2) อ.ก.พ. กระทรวง
(3) อ.ก.พ. กรม
(4) อ.ก.พ. จังหวัด
(5) ก.พ.ร.
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 48) ให้ ก.พ. เป็นผู้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยจําแนก ตําแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตําแหน่งในประเภทเดียวกันและ สายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้โดยคํานึงถึง ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน โดยในมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง ให้ระบุชื่อตําแหน่งในสายงาน หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก และคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งไว้ด้วย
48 ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ประเภทอํานวยการได้แก่ ตําแหน่ง
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(3) นายอําเภอ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทอํานวยการตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มี 2 ระดับ คือ
1 อํานวยการระดับต้น ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม (ผู้อํานวยการกอง/ศูนย์, เลขานุการกรม), หัวหน้าสํานักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัด (ระดับต้น), นายอําเภอ (ระดับต้น) เป็นต้น
2 อํานวยการระดับสูง ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม (ผู้อํานวยการสํานัก/ศูนย์/สถาบัน), หัวหน้าสํานักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัด (ระดับสูง),ปลัดจังหวัด, นายอําเภอ (ระดับสูง), ผู้ตรวจราชการกรม เป็นต้น (ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ)
49 ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ได้กําหนดเรื่องใดต่อไปนี้ที่สอดคล้องกับหลักความรู้ความสามารถตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
(1) การร้องทุกข์
(2) การสอบสวนทางวินัย
(3) การอุทธรณ์
(4) การออกจากราชการ
(5) การสอบแข่งขัน
ตอบ 5 หน้า 17, (คําบรรยาย) หลักความรู้ความสามารถ (Competence) ตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ หมายถึง การเลือกสรรบุคคลเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการและ แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งสูงขึ้นหรือการพิจารณาเลื่อนระดับตําแหน่งจากบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานเป็นสําคัญ ซึ่งส่วนมากจะกระทําโดยการสอบแข่งขันสอบสัมภาษณ์ และการทดลองปฏิบัติงาน
50 การเลื่อนระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญโดยวิธีสอบคัดเลือก อาจวิเคราะห์ได้ว่าเป็นการพิจารณาจากปัจจัยด้านใด
(1) ความรู้ความสามารถ
(2) อาวุโส
(3) จริยธรรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 220, (คําบรรยาย) การเลื่อนระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญโดยวิธีสอบคัดเลือกและวิธีการคัดเลือก เป็นการพิจารณาจากปัจจัยตามความเหมาะสม ซึ่งได้แก่ ความรู้ความสามารถ ความประพฤติ (คุณธรรมและจริยธรรม) และประวัติการรับราชการ (อาวุโส) ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว
51 ราชการคืองานที่เกี่ยวกับ
(1) การสร้างความสมานฉันท์ความสามัคคีในสังคม
(2) การประสานงานกับภาคเอกชนในการให้บริการต่าง ๆ
(3) การจัดทําบริการสาธารณะต่าง ๆ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 หน้า 1, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1), (คําบรรยาย) ราชการ คือ การงานของประเทศที่เกี่ยวกับการจัดทําบริการสาธารณะประเภทต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบําบัดทุกข์บํารุงสุข ของประชาชน ซึ่งการจัดทํานโยบายบริการสาธารณะนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาล โดยมี ข้าราชการประจําเป็นเครื่องมือหรือผู้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานที่กําหนดของฝ่ายการเมือง และจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ
52 คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ดํารงตําแหน่งคราวละกี่ปี
(1) 2 ปี
(2) 3 ปี
(3) 4 ปี
(4) 5 ปี
(5) 6 ปี
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ
53 ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการ ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีกี่ระดับ
(1) ระดับเดียว
(2) 2 ระดับ
(3) 3 ระดับ
(4) 4 ระดับ
(5) 5 ระดับ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ
54 การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือน ตามกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ต้องคํานึงถึง
(1) ความเสมอภาค ความเป็นธรรม
(2) ความรู้ความสามารถของบุคคล
(3) ประโยชน์ของทางราชการ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 42 (1) การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญตามหลักการระบบคุณธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับ การรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ต้องคํานึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ
55 ระดับใดต่อไปนี้เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการ
(1) ระดับเชียวชาญ
(2) ระดับสูง
(3) ระดับทักษะพิเศษ
(4) ระดับอาวุโส
(5) ระดับชํานาญการพิเศษ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ
56 การสอบแข่งขัน ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องใดต่อไปนี้โดยตรง
(1) การย้าย
(2) การโอน
(3) คุณสมบัติทั่วไป
(4) คุณสมบัติเฉพาะ
(5) การบรรจุและแต่งตั้ง
ตอบ 5 หน้า 92, (คําบรรยาย) การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนโดยบรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ ซึ่งใช้กรณีบรรจุคนใหม่ที่ไม่เคยรับราชการมาก่อน ถือเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปของการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในทุกประเทศ ทั้งนี้ ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าผู้ที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ส่วนใหญ่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รับ การบรรจุและแต่งตั้งโดยไม่ต้องสอบแข่งขัน
57 ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน กําหนดให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด คือ
(1) อ.ก.พ. กระทรวง
(2) ปลัดกระทรวง
(4) อ.ก.พ. จังหวัด
(5) อธิบดี
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ
58 หนังสือราชการชนิดใดต่อไปนี้ต้องมีคําลงท้าย
(1) หนังสือภายใน
(2) รายงานการประชุม
(3) หนังสือประทับตรา
(4) หนังสือภายนอก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 404 – 407, (คําบรรยาย) ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการ ที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการ มีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก ซึ่งหนังสือภายนอกนี้ จะต้องมีคําขึ้นต้นและคําลงท้ายตามฐานะของผู้รับหนังสือตามตารางการใช้คําขึ้นต้น สรรพนามและคําลงท้ายที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 2
59 ระดับทรงคุณวุฒิเป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใด ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ทั่วไป
(2) บริหารระดับต้น
(3) บริหารระดับสูง
(4) อํานวยการระดับสูง
(5) วิชาการ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ
60 ตําแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(1) เป็นข้าราชการการเมือง
(2) มีฐานะเท่ากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(3) อาจมีหลายคนก็ได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 387, 393 ตําแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 ซึ่งกําหนดให้มีตําแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรีจํานวนเพียง 1 อัตรา
ตั้งแต่ข้อ 61, 100. ข้อใดถูกให้ระบายในช่อง 1 ข้อใดผิดให้ระบายในช่อง 2
61 การจัดทําบริการสาธารณะจะมีข้าราชการการเมืองเป็นผู้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลซึ่งต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ
62 คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งมีอย่างไร จะมีกําหนดล่วงหน้าในระบบจําแนกตําแหน่ง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ
63 ปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าผู้ที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญส่วนใหญ่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบคัดเลือกได้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ
64 ระบบจําแนกตําแหน่งถือเอาหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นเงื่อนไขสําคัญของการกําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือน
ตอบ 1 หน้า 78 – 80 ระบบจําแนกตําแหน่ง (Position Classification : P.C.) เป็นการกําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนโดยถือเอาสายงานหรือประเภทอาชีพ ระดับความยากง่าย และหน้าที่ความรับผิดชอบของงานเป็นเงื่อนไขสําคัญ หรือกล่าวได้ว่าระบบจําแนกตําแหน่งเป็นการกําหนดตําแหน่งโดยถืองานเป็นเกณฑ์
65 การแต่งตั้งตําแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กฎหมายกําหนดให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมีอํานาจแต่งตั้งได้โดยตรง
ตอบ 2 หน้า 390 พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 กําหนดให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอํานาจแต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรตามเหตุผลในทาง การเมือง และเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการการเมืองได้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้
1 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
2 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
3 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง
4 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง
5 ที่ปรึกษารัฐมนตรี
66 ระบบการบริหารงานบุคคลในระบบราชการไทย ได้พัฒนาจากระบบอุปถัมภ์ไปสู่ระบบคุณธรรม
ตอบ 1 หน้า 25, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) ระบบการบริหารงานบุคคลในระบบราชการของไทย ได้มีการพัฒนามาตามลําดับ โดยพัฒนามาจากรูปแบบที่ไม่เป็นทางการไปสู่รูปแบบ ที่เป็นทางการมากขึ้น และจากระบบอุปถัมภ์ไปสู่ระบบคุณธรรม โดยทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้รับบริการ
67 ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนโดยตําแหน่ง ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ
68 การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญไปประจํากระทรวง ประจํากรม ประจําจังหวัด ไม่ทําให้ขาดจากอัตราเงินเดือนเดิม
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 19), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 69),(คําบรรยาย) การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญไปประจําส่วนราชการ (ประจํากระทรวง ประจํากรม ประจํากอง หรือประจําจังหวัด) ซึ่งเป็นการสั่งให้พ้นจากตําแหน่งหน้าที่เดิม เป็นการชั่วคราว จะไม่ทําให้ขาดจากอัตราเงินเดือนเดิม ยังคงรับเงินเดือนในอัตราเดิมอยู่ จึงไม่ทําให้อัตราเงินเดือนว่าง ฉะนั้นการที่จะแต่งตั้งผู้อื่นให้มาดํารงตําแหน่งแทนจะกระทําไม่ได้คงทําได้แต่เพียงสั่งให้ผู้อื่นรักษาการในตําแหน่งได้เท่านั้น
69 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเป็นองค์กรกลางในการบริหารงานบุคคล องค์กรกลางเดียวที่มีอยู่ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7) ตามระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กําหนดให้มีองค์กรกลางในการบริหารงานบุคคลจํานวน 2 องค์กร คือ
1 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
2 คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.)
70 ระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบัน กําหนดให้ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ตอบ 2 หน้า 400, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณพ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 กําหนดให้ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเป็น ผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม ระเบียบนี้ รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวกและจัดทําคําอธิบายกับให้มีหน้าที่ดําเนินการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานสารบรรณ
71 ผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือนไม่อาจสมัครเข้ารับราชการได้
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36), (คําบรรยาย) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้าม โดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาบังคับไว้ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้สมัครเข้ารับราชการได้ โดยไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปของการเป็นข้าราชการพลเรือน มี 4 กรณี ดังนี้
1 เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
2 เป็นบุคคลล้มละลาย
3 เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะกระทําความผิดทางอาญา
4 เป็นผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ
72 ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกลงโทษขั้นปลดออกจากราชการ ให้มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ และต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายบําเหน็จบํานาญข้าราชการด้วย
ตอบ 1 หน้า 267, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 97 วรรคสี่), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยขั้น ปลดออกจากราชการตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้มีสิทธิได้รับ บําเหน็จบํานาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ และต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายว่า ด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการด้วย ส่วนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัย ขั้นไล่ออกจากราชการ จะไม่มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
73 ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 59 วรรคสาม), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการในระหว่าง ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อน แต่ทั้งนี้จะไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือการรับเงินเดือน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างผู้นั้นอยู่ระหว่าง ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ดังนั้นจึงไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือข้อห้ามของข้าราชการพลเรือนแต่อย่างใด
74 ปัจจุบันข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามบัญชีเงินเดือนต่อท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ
75 ระบบอุปถัมภ์เป็นระบบที่เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งและเป็นรัฐบาลสามารถแต่งตั้งพรรคพวกของตนเข้าดํารงตําแหน่งข้าราชการการเมืองได้
ตอบ 1 หน้า 19 ระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบ Spoils System ซึ่งเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งและเป็นรัฐบาลสามารถแต่งตั้งพรรคพวกของตนเข้าดํารงตําแหน่งข้าราชการการเมืองได้
76 กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ อาจได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการอีกก็ได้ แต่ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ
77 ผู้ที่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อนและลาออกจากราชการไป อาจยื่นเรื่องราวขอกลับเข้ารับราชการได้เฉพาะกระทรวง กรมเดิมเท่านั้น
ตอบ 2 หน้า 99, (คําบรรยาย) ผู้ที่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อนและลาออกจากราชการไปโดยไม่มีความผิดวินัยแต่ประการใด ถ้าประสงค์ขอกลับเข้ารับราชการ อาจยื่นเรื่องราวขอกลับ เข้ารับราชการในกระทรวง กรมใด ๆ ก็ได้ โดยไม่ได้จํากัดเฉพาะกระทรวง กรมเดิมที่เคยสังกัดก่อนออกจากราชการ และอาจได้รับการบรรจุแต่งตั้งในระดับและเงินเดือนที่ไม่สูงกว่าเดิม
78 การลาออกจากราชการนั้น ถ้าผู้มีอํานาจสั่งบรรจุฯ ซึ่งเป็นผู้มีอํานาจสั่งอนุญาตการลาออก ไม่ได้สั่งอนุญาตให้ลาออกหรือไม่ได้ยับยั้งการลาออก การลาออกจะมีผลโดยอัตโนมัตินับตั้งแต่วันขอลาออก
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23 – 24), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 109) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอ ลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งโดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่า 30 วัน ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 (ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจสั่งอนุญาตการ ลาออก) เห็นว่าจําเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันขอลาออกก็ได้ แต่ถ้าผู้มีอํานาจสั่งบรรจุฯ ไม่ได้สั่งอนุญาตให้ลาออกหรือไม่ได้ยับยั้ง การลาออก การลาออกจะมีผลโดยอัตโนมัตินับตั้งแต่วันขอลาออก ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กําหนด
79 ระดับตําแหน่งชํานาญการพิเศษและระดับอาวุโส เป็นตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไป
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ
80 การสอบแข่งขันเป็นการสอบเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง คือ ใช้ในกรณีจะบรรจุคนใหม่ก็ได้ หรือในกรณีสอบเพื่อเลื่อนระดับตําแหน่งก็ได้
ตอบ 1 หน้า 220 การสอบแข่งขันเป็นการสอบเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง คือ ใช้ในกรณีที่จะบรรจุคนใหม่ก็ได้หรือในกรณีสอบเพื่อเลื่อนระดับตําแหน่งก็ได้ ซึ่งในกรณีสอบเพื่อเลื่อนระดับตําแหน่งนี้เป็นการสอบเพื่อแต่งตั้งเท่านั้นไม่มีการบรรจุ
81 การที่จะศึกษาทําความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการพลเรือน จําเป็นต้องมีความรู้ในหลักวิชาการด้านรัฐศาสตร์เป็นพื้นฐานที่สําคัญ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ
82 ก.พ. มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ และอนุกรรมการสามัญ เพื่อทําการใด ๆ แทนได้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ
83 ในการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการฝ่ายพลเรือนในปัจจุบัน มีกฎหมายกําหนดวิธีปฏิบัติไว้เป็นการแน่นอน และมีกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวหลายฉบับด้วยกัน
ตอบ 1 หน้า 15 ในการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการฝ่ายพลเรือนในปัจจุบัน มีพระราชบัญญัติกําหนดวิธีปฏิบัติไว้เป็นการแน่นอน และมีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวหลายฉบับด้วยกัน เช่น ระเบียบข้าราชการพลเรือน ระเบียบข้าราชการตุลาการ ระเบียบข้าราชการอัยการ เป็นต้น
84 โดยปกติการบรรจุกับการแต่งตั้งเป็นขั้นตอนการบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกัน เมื่อมีการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการก็ต้องแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งตามมาเสมอ
ตอบ 1 หน้า 91, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15) โดยปกติการบรรจุกับการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ เป็นขั้นตอนของการบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกัน กล่าวคือ เมื่อมีการบรรจุ บุคคลเข้ารับราชการก็จะต้องมีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งตามมาเสมอ ซึ่งการบรรจุ หมายถึง การรับบุคคลเข้าเป็นข้าราชการ ส่วนการแต่งตั้ง หมายถึง การมอบหมายให้ทําหน้าที่ในตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่ง โดยอาจเกิดขึ้นพร้อมกับเมื่อมีการบรรจุ หรือต่างวาระกันก็ได้
85 ตําแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดในราชการส่วนภูมิภาค เป็นตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการระดับสูง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29. และ 48. ประกอบ
86 ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จํานวนเท่าใด และเป็นตําแหน่งประเภทใดระดับใด ให้เป็นไปตามที่ส่วนราชการนั้น ๆ กําหนด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 47)ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จํานวนเท่าใด และเป็นตําแหน่ง ประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง กําหนด โดยต้องคํานึงถึง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ําซ้อนและประหยัดเป็นหลัก ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง
87 ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไปตามที่ ก.พ. กําหนด เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ตําแหน่งนั้น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ
88 บํานาญ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา เมื่อพ้นจากราชการ และเป็นผู้มีสิทธิได้รับตามกฎหมายบําเหน็จบํานาญข้าราชการ บํานาญจ่ายเป็นรายเดือน ตอบ 1 หน้า 69 – 70, (คําบรรยาย) บํานาญ หมายถึง เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาเมื่อพ้นจากหน้าที่ราชการแล้ว ซึ่งผู้ที่จะได้รับบํานาญนี้จะต้องเป็นผู้มีสิทธิได้รับตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ โดยบํานาญจ่ายให้เป็นรายเดือน
89 “การสอบคัดเลือก” ระเบียบฯ กําหนดให้ ก.พ. เป็นผู้ดําเนินการจัดการสอบคัดเลือก ตามที่กระทรวง กรม แจ้งให้ ก.พ. ดําเนินการให้
ตอบ 2 หน้า 220 – 221 การสอบคัดเลือก ได้แก่ การสอบเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนให้ดํารงตําแหน่งที่สอบได้ตามความเหมาะสม โดยรับสมัครสอบจากข้าราชการพลเรือนซึ่งมีคุณสมบัติ และความรู้ที่ต้องการสําหรับตําแหน่งที่จะแต่งตั้ง โดยระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน กําหนดให้กระทรวง กรมเจ้าสังกัดเป็นผู้ดําเนินการสอบคัดเลือกเอง
90 ตําแหน่งเอกอัครราชทูต เป็นตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ
91 ตําแหน่งนายอําเภอในราชการส่วนภูมิภาค เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการ อาจจะเป็นประเภทอํานวยการระดับสูง หรือประเภทอํานวยการระดับต้นก็ได้
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ
92 กรณีข้าราชการพลเรือนสามัญถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุใด ๆ ตามที่กําหนดไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎหมายกําหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24 – 25), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 114) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ ออกจากราชการตามมาตรา 110 (1) (3) (5) (6) (7) และ (8) ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคําสั่งหรือถือว่าทราบคําสั่ง ทั้งนี้การอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.ค.
93 ข้าราชการการเมืองตําแหน่งรัฐมนตรีเข้าดํารงตําแหน่ง ตามวิถีทางทางการเมือง หรือตามบทบัญญัติในกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ตอบ 1 หน้า 389 การเข้าดํารงตําแหน่งและการออกจากตําแหน่งของข้าราชการการเมืองตําแหน่งรัฐมนตรี ให้เป็นไปตามวิถีทางทางการเมือง หรือตามบทบัญญัติในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐมนตรีในที่นี้หมายความรวมถึงรัฐมนตรีทุกตําแหน่ง ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการทบวงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง และรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง
94 หลักความเสมอภาค ตามระบบคุณธรรมหมายความว่า สิทธิที่จะเข้ารับราชการจะต้องเปิดกว้างสําหรับประชาชนทุกคนที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายและตามที่ทางราชการต้องการ
ตอบ 1 หน้า 17 หลักความเสมอภาค (Equality) ตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลหมายความว่า สิทธิที่จะเข้ารับราชการจะต้องเปิดกว้างสําหรับประชาชนทุกคนที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมตามที่กฎหมายและตามที่ทางราชการต้องการ โดยให้มีโอกาสสมัครสอบแข่งขันเข้า รับราชการได้ และต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุเกี่ยวกับเหล่ากําเนิด ฐานะทางเศรษฐกิจสถานภาพทางสังคม ศาสนา และเพศของบุคคล
95 ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญของส่วนราชการระดับกระทรวง ได้แก่ ปลัดกระทรวง
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 16), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 57 (1) (2) ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญของส่วนราชการ ระดับกระทรวง มีดังนี้
1 ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรี นําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการ ระดับกระทรวง (ปลัดกระทรวง)
2 ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชาเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้ นายกรัฐมนตรีนําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ได้แก่ รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (รองปลัดกระทรวง)
96 เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดลาออกจากราชการไปดํารงตําแหน่งทางการเมือง ทางราชการต้องสงวนตําแหน่งในระดับเดียวกันไว้สําหรับบรรจุผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ
ตอบ 2 หน้า 98 – 99, 113, 119, (คําบรรยาย) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดลาออกจากราชการไปดํารงตําแหน่งทางการเมือง หรือดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแล้ว ส่วนราชการ เจ้าสังกัดไม่ต้องสงวนตําแหน่งในระดับเดียวกันไว้สําหรับบรรจุผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ แต่ถ้า ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรี หรือ ออกจากราชการไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ส่วนราชการ เจ้าสังกัดต้องสงวนตําแหน่งในระดับเดียวกันไว้สําหรับบรรจุผู้นั้นกลับเข้ารับราชการภายในเวลาที่กําหนด
97 การลงมติของ ก.พ. ในเรื่องการยกเว้นคุณสมบัติทั่วไป หรือลักษณะต้องห้ามบางประการของข้าราชการพลเรือนต้องกระทําโดยประชุมลับ และมีมติเป็นเอกฉันท์
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36 วรรคสอง และวรรคสี่) มติของ ก.พ. ในการยกเว้นลักษณะต้องห้ามบางประการสําหรับผู้ที่ จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนนั้น ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของ จํานวนกรรมการที่มาประชุม และการลงมติให้กระทําโดยลับ ซึ่งในการนี้ ก.พ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้
98 คําว่า “ปลัดกระทรวง” ตามคํานิยามของระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ให้หมายความรวมถึงปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีด้วย
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 4)คําว่า “ปลัดกระทรวง” ให้หมายความรวมถึงปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวง
99 หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบัน เป็นหนังสือราชการที่ไม่ต้องมีคําลงท้าย
ตอบ 1 หน้า 413 – 414, (คําบรรยาย) ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 หนังสือประทับตรา คือ หนังสือที่ใช้ประทับตรา แทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกํากับตรา ซึ่งหนังสือประทับตรานี้ไม่ต้องมีคําลงท้าย
100 การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงกว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้ายจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแล้ว
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 63 วรรคสาม), (คําบรรยาย) การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไป แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้ายจะกระทํามิได้ เว้นแต่จะได้รับ ความยินยอมจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น ส่วนการย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งใน ระดับที่สูงกว่าเดิม จะไม่สามารถดําเนินการได้แต่ต้องใช้วิธีการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ ดํารงตําแหน่งแทน