การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ ฯลฯ

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นายอาทิตย์ยืมรถตู้ของนายจันทร์มาใช้ทํารถโดยสารวิ่งรับส่งระหว่างสนามบิน จ.นครศรีธรรมราชเข้าสู่ตัวเมืองเป็นเวลา 1 ปี หลังจากยืมมาได้ 3 เดือน นายอาทิตย์เห็นว่ามีจํานวนผู้โดยสารน้อยลง จึงเปลี่ยนไปวิ่งรับส่งผู้โดยสารที่สนามบิน จ.ภูเก็ต มายังตัวเมืองภูเก็ตแทน โดยไม่ได้บอกนายจันทร์ จนครบ 1 ปี นายอาทิตย์นํารถตู้มาคืนให้นายจันทร์ นายจันทร์พบว่ารถตู้มีสภาพชํารุดเสียหายดังนี้

1 ฝากระโปรงรถบุบจากกิ่งไม้ร่วงใส่ขณะกําลังวิ่งรับส่งผู้โดยสารที่สนามบิน จ.นครศรีธรรมราช

2 หลังคารถสีถลอกเป็นรอยลึกจากการที่สิ่งของปลิวมาโดนตอนจอดรอผู้โดยสารที่สนามบิน จ.ภูเก็ต เพราะมีพายุพัดลมแรงมากทําให้เกิดความเสียหายที่สนามบิน จ.ภูเก็ต ทั้งต่อตัวอาคารบ้านเรือนและทรัพย์สินทั้งหลายต่างเสียหายจากความแรงของพายุ

จากความเสียหายทั้ง 2 กรณีข้างต้น นายจันทร์จะเรียกร้องให้นายอาทิตย์ชดใช้ในฐานะผู้ยืมได้หรือไม่และอายุความกําหนดไว้นานเท่าใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 640 “อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว”

มาตรา 641 “การให้ยืมใช้คงรูปนั้น ท่านว่าย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม”

มาตรา 643 “ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไปไว้นานกว่าที่ควร จะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็น เพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั้นเอง”

มาตรา 649 “ในข้อความรับผิดเพื่อเสียค่าทดแทนอันเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูปนั้น ท่านห้าม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายอาทิตย์ยืมรถตู้ของนายจันทร์มาใช้ทํารถโดยสารวิ่งรับส่งระหว่าง สนามบิน จ .นครศรีธรรมราช เข้าสู่ตัวเมืองเป็นเวลา 1 ปีนั้น สัญญายืมรถตู้ระหว่างนายอาทิตย์และนายจันทร์ เป็นสัญญายืมใช้คงรูปตามมาตรา 640 ประกอบมาตรา 641 นายอาทิตย์ผู้ยืมจึงมีสิทธิครอบครองและใช้สอยรถตู้ตามที่ตกลงไว้กับนายจันทร์ คือ นายอาทิตย์ต้องเอามาใช้ทํารถโดยสารวิ่งรับส่งระหว่างสนามบิน จ.นครศรีธรรมราช เข้าสู่ตัวเมืองเท่านั้น

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า หลังจากยืมมาได้ 3 เดือน นายอาทิตย์เห็นว่ามีจํานวนผู้โดยสารน้อยลง จึงเปลี่ยนไปวิ่งรับส่งผู้โดยสารที่สนามบิน จ.ภูเก็ตมายังตัวเมืองภูเก็ตแทนโดยไม่ได้บอกนายจันทร์ จนครบ 1 ปีนั้น ย่อมถือว่าผู้ยืมได้นําทรัพย์สินที่ยืมไปใช้เพื่อการอย่างอื่นนอกจากการอันปรากฏในสัญญาตามมาตรา 643 แล้ว เมื่อทรัพย์สินที่ยืมมีความชํารุดเสียหาย นายจันทร์จะเรียกร้องให้นายอาทิตย์ชดใช้ในฐานะผู้ยืมได้หรือไม่ สามารถ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 การที่ฝากระโปรงรถตู้ที่ยืมมาเสียหายบุบสลายเพราะโดนกิ่งไม้ร่วงใส่ขณะวิ่งรับส่ง ผู้โดยสารที่สนามบิน จ.นครศรีธรรมราชนั้น ถือเป็นความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัยโดยไม่ใช่ความผิดของ นายอาทิตย์ผู้ยืม ดังนั้นนายอาทิตย์ผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นย่อม iําเป็นของเจ้าของรถตู้คือนายจันทร์ผู้ให้ยืม ตามหลักสุภาษิตกฎหมายที่ว่า Res perit domino : ความพินาศ แห่งทรัพย์สินย่อมตกเป็นพับแก่เจ้าของ ดังนั้น นายจันทร์จึงไม่สามารถเรียกร้องให้นายอาทิตย์ชดใช้ในฐานะผู้ยืมได้

2 การที่นายอาทิตย์ได้นํารถตู้ไปวิ่งรับส่งผู้โดยสารที่สนามบิน จ.ภูเก็ต ซึ่งถือเป็นการ ประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืมตามมาตรา 643 นั้น เมื่อทรัพย์สินที่ยืมได้รับความเสียหาย คือ หลังคารถสีถลอก เป็นรอยเล็กจากการที่สิ่งของปลิวมาโดนตอนจอดรอผู้โดยสารที่สนามบิน จ.ภูเก็ต เพราะมีพายุพัดลมแรงมากนั้น ความเสียหายดังกล่าวแม้จะเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัยก็ตาม แต่นายอาทิตย์ผู้ยืมก็ยังคงต้องรับผิดต่อนายจันทร์ใน ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นตามมาตรา 643 ดังนั้น นายจันทร์จึงสามารถเรียกร้องให้นายอาทิตย์ชดใช้ความเสียหาย ในกรณีนี้ได้

ความรับผิดของนายอาทิตย์ผู้ยืมในการชดใช้ค่าทดแทนตามสัญญายืมใช้คงรูปจะมีอายุความ 5 เดือน นับแต่วันสิ้นสัญญา (มาตรา 649)

สรุป

1 นายจันทร์จะเรียกร้องให้นายอาทิตย์ชดใช้ค่าทดแทนในกรณีที่ฝากระโปรงรถบุบ จากกิ่งไม้ร่วงใส่ขณะกําลังวิ่งรับส่งผู้โดยสารที่สนามบิน จ.นครศรีธรรมราชไม่ได้

2 นายจันทร์สามารถเรียกร้องให้นายอาทิตย์ชดใช้ค่าทดแทนในกรณีที่หลังคารถ มีสีถลอกเป็นรอยลึกจากการที่สิ่งของปลิวมาโดนตอนจอดรอผู้โดยสารที่สนามบิน จ.ภูเก็ตได้ โดยมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสัญญา

 

ข้อ 2. คํายืมเงินจากแดงหนึ่งแสนบาท กําหนดใช้คืนภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ยืม แดงกลัวดําไม่ชําระหนี้เงินที่ยืม จึงให้นําสร้อยคอทองคําน้ำหนักสิบบาทมาจํานําไว้เป็นหลักประกัน ดํากลัวว่าแดง จะไม่คืนสร้อยคอทองคํา จึงเขียนหนังสือขึ้นมาโดยมีข้อความว่า “เงินที่ยืมไปนั้นเจ้าหนี้รับจํานํา สร้อยคอทองคําน้ำหนักสิบบาทไว้เป็นประกัน” โดยให้แดงลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน เมื่อเวลา หกเดือนผ่านไป ดําไม่นําเงินมาชําระหนี้ แดงต้องการฟ้องบังคับคดีต่อศาลโดยใช้หนังสือดังกล่าว เป็นหลักฐานในการฟ้อง เพื่อขอให้ศาลบังคับดําใช้เงินที่กู้ยืมไปได้หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 650 “อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิด ใช้ไปสิ้นไปนั้น เป็นปริมาณมีกําหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณ เช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น

สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม”

มาตรา 653 วรรคหนึ่ง “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม หนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสําคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”

วินิจฉัย

การกู้ยืมเงินเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองประเภทหนึ่ง และจะมีผลสมบูรณ์เมื่อผู้ให้กู้ได้ส่งมอบ เงินที่ยืมให้แก่ผู้ยืมตามมาตรา 650 เพียงแต่ตามมาตรา 653 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้ว่าถ้าเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้จะต้องมีหลักฐานประกอบการฟ้องร้องบังคับคดี คือ

1 มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง และ

2 ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสําคัญ

สําหรับหลักฐานการกู้ยืมเงินนั้น กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทําเป็นหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเท่านั้น เพียงแต่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง และมีข้อความปรากฏในเอกสารว่าผู้กู้ยืมเป็นหนี้สินในเรื่องการ กู้ยืมเงินกัน และมีการระบุถึงจํานวนเงินที่กู้ยืมกันโดยชัดแจ้งก็ใช้เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินได้ แต่ที่สําคัญจะต้องมี การลงลายมือชื่อของผู้ยืมเป็นสําคัญ ส่วนผู้ให้ยืมและพยานจะลงลายมือชื่อในหลักฐานนั้นหรือไม่ ไม่ใช่สาระสําคัญ และการมีหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวนั้น ไม่จําเป็นต้องทําในวันที่มีการกู้ยืมเงินกันอาจทําในภายหลังก็ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ดํายืมเงินจากแดง 100,000 บาท กําหนดใช้คืนภายใน 6 เดือน แดงกลัวดําไม่ชําระหนี้เงินที่ยืม จึงให้ดําน้ําสร้อยคอทองคําน้ําหนักสิบบาทมาจํานําไว้เป็นหลักประกัน กลัวว่า แดงจะไม่คืนสร้อยคอทองคํา จึงเขียนหนังสือขึ้นมามีข้อความว่า “เงินที่ยืมไปนั้นเจ้าหนี้รับจํานําสร้อยคอทองคํา น้ําหนักสิบบาทไว้เป็นประกัน” โดยให้แตงลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานนั้น แม้จะมีหลักฐานเป็นหนังสือว่ามีการ กู้ยืมเงินกันก็ตาม แต่เมื่อไม่มีการระบุถึงจํานวนเงินที่กู้ยืมกันโดยชัดแจ้ง อีกทั้งลายมือชื่อที่ลงนั้นไม่ใช่ลายมือชื่อ ของผู้ยืม แต่เป็นลายมือชื่อของแดงผู้ให้ยืม หนังสือดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ที่จะถือเป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง เรียกเงินกู้ตามมาตรา 653 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อครบกําหนด 6 เดือน ไม่นําเงินมาชําระหนี้ แดงจึงไม่สามารถ ใช้หนังสือดังกล่าวเพื่อเป็นหลักฐานในการฟ้องขอให้ศาลบังคับใช้เงินที่กู้ยืมไปได้

สรุป

แดงจะใช้หนังสือดังกล่าวเป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง เพื่อขอให้ศาลบังคับดําใช้เงินที่ กู้ยืมไปไม่ได้

 

ข้อ 3. นายเอกเข้าพักที่โรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดสุโขทัย มีนายโทเป็นเจ้าสํานักผู้ควบคุมกิจการโรงแรม นายเอกได้ถอดนาฬิกา และสร้อยคอทองคําน้ําหนัก 5 บาท แขวนพระสมเด็จ 1 องค์ (โดยเฉพาะ พระสมเด็จมีมูลค่า 80,000 บาท) วางไว้ในห้องพัก แล้วออกไปรับประทานอาหารนอกโรงแรม เมื่อกลับมาที่ห้องพักพบว่านาฬิกา สร้อยคอทองคํา และพระสมเด็จหายไป จึงแจ้งให้นายโทชดใช้ ราคานาฬิกาเป็นเงิน 100,000 บาท และสร้อยคอทองคําพร้อมพระสมเด็จเป็นเงิน 180,000 บาท ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า ทรัพย์สินดังกล่าวที่สูญหายอยู่ในความหมายของ “ของมีค่า” ในมาตรา 675 วรรคสองหรือไม่ และนายโทจะต้องรับผิดต่อนายเอกหรือไม่ จํานวนเท่าใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 674 “เจ้าสํานักโรงแรมหรือโฮเต็ล หรือสถานที่อื่นทํานองเช่นว่านั้น จะต้องรับผิด เพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัย หากได้พามา”

มาตรา 675 “เจ้าสํานักต้องรับผิดในการที่ทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยสูญหาย หรือบุบสลายไปอย่างใด ๆ แม้ถึงว่าความสูญหายหรือบุบสลายนั้นจะเกิดขึ้นเพราะผู้คนไปมาเข้าออก ณ โรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่เช่นนั้นก็คงต้องรับผิด

ความรับผิดนี้ ถ้าเกี่ยวด้วยเงินทองตรา ธนบัตร ตัวเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า วัญมณี หรือของมีค่าอื่น ๆ ให้จํากัดไว้เพียงห้าพันบาท เว้นแต่จะได้ฝากของมีค่าเช่นนี้ไว้แก่เจ้าสํานักและได้บอก ราคาแห่งของนั้นชัดแจ้ง

แต่เจ้าสํานักไม่ต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือแต่สภาพแห่ง ทรัพย์สินนั้น หรือแต่ความผิดของคนเดินทางหรือแขกอาศัยผู้นั้นเอง หรือบริวารของเขา หรือบุคคลซึ่งเขาได้ต้อนรับ”

มาตรา 676 “ทรัพย์สินซึ่งมิได้นําผ่ากบอกราคาชัดแจ้งนั้น เมื่อพบเห็นว่าสูญหายหรือบุบสลายขึ้น คนเดินทางหรือแขกอาศัยต้องแจ้งความนั้นต่อเจ้าสํานักโรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่เช่นนั้นทันที มิฉะนั้นท่านว่า เจ้าสํานักย่อมพ้นจากความรับผิดดังบัญญัติไว้ในมาตรา 674 และ 675”

วินิจฉัย

ตามกฎหมาย เจ้าสํานักโรงแรมหรือสถานที่อื่นทํานองเช่นว่านั้น ต้องรับผิดในความสูญหาย หรือบุบสลายที่เกิดแก่ทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยซึ่งได้นํามาด้วย แม้ความสูญหายหรือบุบสลายนั้น จะเกิดขึ้นเพราะคนที่ไปมาเข้าออก ณ โรงแรมหรือสถานที่เช่นนั้นตามมาตรา 674 ประกอบมาตรา 675

และในกรณีที่ทรัพย์สินที่สูญหายหรือบุบสลายนั้น เป็นของมีค่า เช่น เงินตรา แหวนเพชร เรือพระเครื่อง ฯลฯ กฎหมายกําหนดให้เจ้าสํานักรับผิดเพียงห้าพันบาท เว้นแต่คนเดินทางหรือแขกอาศัยจะ นําเปฝากไว้แก่เจ้าสํานักและบอกราคาแห่งของนั้นโดยชัดแจ้ง (มาตรา 675 วรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ ทรัพย์สินของนายเอกที่สูญหายไปดังกล่าวอยู่ในความหมายของ “ของมีค่า” ตามมาตรา 675 วรรคสองหรือไม่ และนายโทจะต้องรับผิดต่อนายเอกหรือไม่ จํานวนเท่าใดนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 นาฬิการาคา 100,000 บาท ของนายเอกที่สูญหายไปนั้น แม้จะมีราคาแพงก็ถือว่าเป็น ทรัพย์ทั่ว ๆ ไป ตามมาตรา 675 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่ของมีค่าอื่น ๆ ตามมาตรา 675 วรรคสอง และเมื่อนายเอกพบว่า นาฬิกาหายไป นายเอกก็ได้แจ้งให้นายโทเจ้าสํานักโรงแรมทราบทันทีแล้ว (มาตรา 676) ดังนั้น นายโทจึงต้อง รับผิดชดใช้เต็มราคาทรัพย์ คือ 100,000 บาท ตามมาตรา 675 วรรคหนึ่ง

2 สร้อยคอทองคําหนัก 5 บาท และพระสมเด็จ ถือว่าเป็นของมีค่าตามความหมายของ มาตรา 675 วรรคสอง การที่นายเอกเก็บรักษาไว้ในห้องพัก ไม่ได้นําไปฝากและบอกราคาโดยชัดแจ้งกับทางโรงแรม ดังนั้น เมื่อทรัพย์สินดังกล่าวได้สูญหายไป นายโทจึงต้องรับผิดชดใช้เพียง 5 พันบาท ตามมาตรา 675 วรรคสอง

สรุป

นายโทเจ้าสํานักโรงแรมต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่นายเอกในราคานาฬิกา 100,000 บาท และชดใช้ค่าสร้อยคอทองคําพร้อมพระสมเด็จเป็นเงิน 5,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 105,000 บาท

 

Advertisement