การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา THA 1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. ข้อใดเป็นคําบอกเพศตรงตามรูปศัพท์
(1) แม่งาน
(2) แม่บ้าน
(3) แม่พิมพ์ของชาติ
(4) แม่ทัพ
ตอบ 2 คํานามในภาษาไทยบางคําก็แสดงเพศได้ชัดเจนในตัวของมันเอง เช่น คําที่บอกเพศชาย ได้แก่ พ่อ พระ เณร ทิด เขย ชาย หนุ่ม บ่าว ปู่ ตา ผม นาย ลุง ฯลฯ และคําที่บอกเพศหญิง ได้แก่ แม่ชี สะใภ้ หญิง สาว นาง ป้า ย่า ยาย ดิฉัน ฯลฯ แต่คําบางคําที่เป็นคํารวมทั้งสองเพศ เช่น พี่ น้อง เด็ก น้า อา ลูก หลาน เพื่อน ฯลฯ หากเราต้องการแสดงเพศให้ชัดเจนตามแบบภาษาคําโดดจะต้องใช้คําที่บ่งเพศมาประกอบเข้า ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง หรือประสมกันตามแบบคําประสมบ้าง เช่น พี่สาว น้องชาย เด็กสาว น้าชาย อาหญิง ลูกชาย หลานสาว เพื่อนหญิง เพื่อนชาย ฯลฯ (คําว่า “แม่บ้าน” = ภรรยาของพ่อบ้าน, หญิงผู้จัดการงานในบ้าน ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคํารวมได้ทั้งสองเพศ)
2. “ปลาตัวนี้ว่ายวนไปมาในบ่อน้ำ” ข้อความนี้สะท้อนลักษณะของภาษาไทยประเภทใด
(1) คําคําเดียวมีหลายความหมาย
(2) บอกมาลา
(3) บอกพจน์
(4) มีคําลักษณนาม
ตอบ 4
ข้อความข้างต้นสะท้อนลักษณะของภาษาไทยประการหนึ่งคือ มีคําลักษณนาม ซึ่งในที่นี้คําที่มีลักษณนามขยายเป็นคํานาม และคําที่มากับลักษณนามเป็นคุณศัพท์บอกความเฉพาะเจาะจง เพื่อเน้นความให้แน่นอนขึ้น เช่น ปลาตัวนี้ เป็นต้น
3“นายหมูเห็นหมูตัวอ้วนอยู่ริมคอก จึงรีบเข้าไปจับอย่างหมู ๆ”คําว่า “หมู” ในข้อความข้างต้นปรากฏกี่ความหมาย
(1) 1 ความหมาย
(2) 2 ความหมาย
(3) 3 ความหมาย
(4) 4 ความหมาย
ตอบ 3
ข้อความข้างต้นสะท้อนลักษณะของภาษาไทยประการหนึ่ง คือ คําคําเดียวกันอาจมีหลายความหมาย ซึ่งในที่นี้คําว่า “หมู” มีอยู่ 3 ความหมาย ได้แก่
1. นายหมู = ชื่อคน
2. หมูตัวอ้วน = ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวอ้วน
3. จับอย่างหมู ๆ = ง่าย ๆ สะดวก ไม่ยาก
4. ข้อใดไม่เป็นสระเดี่ยว
(1) ปล่อย
(2) ปลา
(3) แปลก
(4) ปลูก
ตอบ 1 เสียงสระในภาษาไทย แบ่งออกได้ดังนี้
1. สระเดี่ยว 18 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 9 เสียง ได้แก่ อะ อิ อี อุ เอะ แอะ เออะ โอะ เอาะ และเสียงยาว 9 เสียง ได้แก่ อา อี คือ อู เอ แอ เออ โอ ออ
2. สระผสม 10 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 5 เสียง ได้แก่ เอียะ เอือะ อัวะ เอา ไอ และเสียงยาว 5 เสียง ได้แก่ เอีย เอื้อ อัว อาว อาย (ยกเว้นคําใดที่ลงท้ายด้วย ย/ว ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระ อาจเป็นได้ทั้งตัวสะกด ย/ว หรือเป็นสระผสม 2 เสียง หรือ 3 เสียงก็ได้)
5. “ผึ้ง มี คู่ ครอง” จัดเป็นสระเดี่ยวที่มีความสั้นยาวของเสียงใดบ้างตามลําดับ
(1) ยาว ยาว ยาว สั้น
(2) สั้น ยาว ยาว สั้น
(3) ยาว ยาว ยาว ยาว
(4) สั้น ยาว ยาว ยาว
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ
6. ข้อใดเป็นสระหน้า
(1) นัด
(2) เส้น
(3) รูป
(4) ร้อน
ตอบ 2 สระเดี่ยวที่จําแนกตามส่วนต่าง ๆ ของลิ้นที่ทําหน้าที่ซึ่งจะต้องมีสภาพของริมฝีปากประกอบด้วย แบ่งออกได้ดังนี้
1. สระกลาง ได้แก่ อา อ๋อ เออ อะ อี เออะ
2. สระหน้า ได้แก่ อี เอ แอ อิเอะ แอะ
3. สระหลัง ได้แก่ อูโอ ออ อุ โอะ เอาะ
(คําว่า “เส้น” = สระเอะ, “นัด” – สระอะ, “รูป” = สระอู, “ร้อน” = สระออ)
7. “ชามะขามขายบนเครื่องบินลําใหญ่” ข้อความนี้มีสระเดี๋ยวเสียงสั้นที่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) 1 เสียง
(2) 2 เสียง
(3) 3 เสียง
(4) 4 เสียง
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีสระเดี๋ยวเสียงสั้น 3 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่
1. สระอะ = มะ/ลํา (เสียงสระอํา = อะ + ม)
2. สระโอะ = บน
3. สระอิ = บิน
8. “เราเลือกเจ็บเพื่อให้จบ แต่ยังจุกอยู่” ข้อความนี้ไม่ปรากฏสระเดี๋ยวเสียงใด
(1) อิ
(2) อุ
(3) อะ
(4) โอะ
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ)
ข้อความข้างต้นปรากฏสระเดี๋ยวดังนี้
1. สระเอะ = เจ็บ
2. สระโอะ = จบ
3. สระแอ = แต่
4. สระอะ = ยัง
5. สระอุ = จุก
6. สระอู = อยู่
9. ข้อใดเป็นสระผสม
(1) อ่าน
(2) เหล้า
(3) โดน
(4) เจ๋ง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ
10. ข้อใดไม่ประกอบด้วยเสียงสระอา
(1) เสย
(2) เนื้อ
(3) เครียด
(4) ลาย
ตอบ 1
คําว่า “เสย” ประกอบด้วย เออ + ย (เออ + อี) = เอย (ส่วนคําว่า “เนื้อ” ประกอบด้วย คือ + อา = เอื้อ, “เครียด” ประกอบด้วย อี + อา = เอีย, “ลาย” ประกอบด้วย อา + ย (อา + อี) = อาย)
11. ข้อใดประกอบด้วยเสียงสระอือ + อา + อี
(1) เลือด
(2) เพลีย
(3) เมื่อย
(4) เผือก
ตอบ 3
คําว่า “เมื่อย” ประกอบด้วย เอื้อ + ย (คือ 1 อา + อี) = เลื่อย
12. รูปพยัญชนะตัวที่ 6 ในภาษาไทยตรงกับข้อใด
(1) ศ
(2) ค
(3) ง
(4) ฆ
ตอบ 4
ฆ = รูปพยัญชนะตัวที่ 6 ในภาษาไทย นับเป็นพวกอักษรต่ำ ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ส่วนที่ใช้เขียนในคําไทยมีบ้างเล็กน้อย เช่น ฆ่า เพี้ยน ฆ้อง ระฆัง ตะเฆ่ เป็นต้น
13. พยัญชนะต้นในข้อใดเกิดที่ฐานคอ
(1) ย้อย
(2) ร้อย
(3) อ้อย
(4) ก้อย
ตอบ 3
พยัญชนะต้นที่จําแนกตามฐานกรณ์ (ที่เกิดหรือที่ตั้งของเสียง) แบ่งออกได้ดังนี้
1. ฐานคอ (คอหอย) มี 2 เสียง คือ ห (ฮ) อ
2. ฐานเพดานอ่อน มี 3 เสียง คือ ก ค (ข ฆ) ง
3. ฐานเพดานแข็ง มี 5 เสียง คือ จ ช (ฉ ณ) ส (ซ ศ ษ) ย (ญ) ร
4. ฐานฟัน มี 5 เสียง คือ ด (ฎ) ต (ฏ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) น (ณ) ล (ฬ)
5. ฐานริมฝีปาก ได้แก่ ริมฝีปากบนกับล่างประกบกัน มี 5 เสียง คือ บ ป พ (ผ ภ) มวและริมฝีปากล่างประกบกับฟันบน มี 1 เสียง คือ ฟ (ฝ)
14. พยัญชนะต้นในข้อใดเป็นประเภทนาสิก
(1) สุข
(2) มุข
(3) ลุก
(4) จุก
ตอบ 2
พยัญชนะต้นที่จําแนกตามรูปลักษณะของเสียง แบ่งออกได้ดังนี้
1. พยัญชนะระเบิด หรือพยัญชนะกัก ได้แก่ ก ค (ข ฆ) จ ด (ฎ) ต(ฏ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) บ ป พ (ผ ภ) อ
2. พยัญชนะนาสิก ได้แก่ ง น (ณ) ม
3. พยัญชนะเสียดแทรก ได้แก่ ส (ซ ศ ษ) ฟ (ฝ)
4. พยัญชนะกึ่งเสียดแทรก ได้แก่ ช (ฉ ฌ)
5. พยัญชนะกึ่งสระ ได้แก่ ย ว
6. พยัญชนะเหลว ได้แก่ ร ล
7. พยัญชนะเสียงหนัก ได้แก่ ห (ฮ) รวมทั้งพยัญชนะที่มีเสียง ห ผสมอยู่ด้วย ได้แก่ ค (ข) ช (ฉ) ท (ถ) พ (ผ)
15. ข้อใดเป็นพยัญชนะเคียงกันมา
(1) พิธีกร
(2) สถิต
(3) ประชาชน
(4) โสน
ตอบ 1, 2
การออกเสียงแบบตามกันมา หรือเคียงกันมา (การออกเสียงแบบเรียงพยางค์) คือ พยัญชนะคู่ที่ออกเสียงแต่ละเสียงเต็มเสียง และเสียงทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เช่น สถิต (สะถิด) ฯลฯ นอกจากนี้คําใดที่มีเสียงสระอะ อา อิ อี อุ อู อยู่ตรงกลางคํา และพยางค์หน้าออกเสียงเต็มเสียงทุกคําให้ถือว่าเป็นพยัญชนะคู่แบบเคียงกันมา เช่น พิธีกร (พิธีกอน) ฯลฯ
16. ข้อใดเป็นพยัญชนะนํากันมา
(1) ขลัง
(2) สารภาพ
(3) ควาญ
(4) หนาม
ตอบ 4
การออกเสียงแบบนํากันมา (อักษรนํา) คือ พยัญชนะคู่ที่พยัญชนะตัวหน้ามีอํานาจเหนือพยัญชนะตัวหลัง โดยที่พยัญชนะตัวหน้าจะออกเสียงเพียง ครึ่งเสียง และพยัญชนะตัวหลังก็จะเปลี่ยนเสียงตาม ซึ่งจะออกเสียงเหมือนกับเสียงที่มี ห นํา เช่น หนาม ฯลฯ
17. “คราวนี้คงเข้าใจใช่หรือไม่ว่า ถนนเส้นนี้รถติดเหลือเกิน” ข้อความนี้ปรากฎพยัญชนะคู่ประเภทใดมากที่สุด
(1) ควบกันมา
(2) เคียงกันมา
(3) นํากันมา
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3
(ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฎพยัญชนะคู่แบบนํากันมามากที่สุด คือ หรือ, ถนน (กะหนน), เหลือ ฯลฯ
18. “ฮาชุดใหญ่กับเจ้าแม่มุกแป้ก” ข้อความนี้ปรากฎพยัญชนะนํากันมากี่คํา
(1) 1 คํา
(2) 2 คํา
(3) 3 คํา
(4) 4 คํา
ตอบ 1
(ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏพยัญชนะคู่แบบนํากันมา 1 คํา คือ ใหญ่
19. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกดครบทุกคํา
(1) รักแร้
(2) น้ำใจ
(3) ขาแข้ง
(4) ตาชั่ง
ตอบ 2
พยัญชนะสะกดของไทยจะมีเพียง 8 เสียงเท่านั้น คือ
1. แม่กก ได้แก่ ก ข ค ฆ
2. แม่กด ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส
3. แม่กบ ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ
4. แม่กน ได้แก่ น ณ ร ล ฬ ญ
5. แม่กง ได้แก่ ง
6. แม่กม ได้แก่ ม
7. แม่เกย ได้แก่ ย
8. แม่เกอว ได้แก่ ว
(ส่วนสระอํา (อัม) = เมกม, สระ ไอ/ใอ (อัย) = แม่เกย, สระเอา (อาว) = แม่เกอว)
20. ข้อใดไม่ใช่เสียงพยัญชนะสะกดในภาษาไทย
(1) -ย
(2) -ม
(3) -ณ
(4) -ว
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ
21. “ปากไม่เคยตรงกับใจ ทั้งที่มันร่ำร้องบอกว่ารักเสมอ” ข้อความนี้ไม่ปรากฎพยัญชนะสะกดเสียงใด
(1) – น
(2) – ก
(3) -ม
(4) -ด
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฎพยัญชนะสะกดดังนี้
1. แม่กก (ก) = ปาก/บอก/รัก
2. แม่เกย (ย) = ไม่/เคย/ใจ
3. แม่กง (ง) = ตรง/ทั้ง/ร้อง
4. แม่กบ (บ) = กับ
5. แม่กน (น) = มัน
6. แม่กม (ม) = ร่ำ
22. ข้อใดมีพยัญชนะสะกดที่เป็นคําเป็น 2 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) เบื้องบน
(2) เบื้องลึก
(3) เบื้องหน้า
(4) เบื้องหลัง
ตอบ 1
(ดูคําอธิบายข้อ 4. และ 19. ประกอบ) ลักษณะของคําเป็นกับคําตาย มีดังนี้
1.คําเป็น คือ คําที่สะกดด้วยแม่กง กน กม เกย เกอว และคําที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงยาวรวมทั้งสระอํา ใอ ไอ เอา (เพราะออกเสียงเหมือนมีตัวสะกดเป็นแม่กม เกย เกอว)
2. คําตาย คือ คําที่สะกดด้วยแม่กก กด กบ และคําที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงสั้น (คําว่า “เบื้องบน” มีพยัญชนะสะกดที่เป็นคําเป็น 2 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) คือ แม่กง = เบื้อง,แม่กน = บน)
23. “คนอะไรทําข้อสอบไม่ได้สักที” ข้อความนี้มีพยัญชนะสะกดที่เป็นคําเป็นที่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) 1 เสียง
(2) 2 เสียง
(3) 3 เสียง
(4) 4 เสียง
ตอบ 3
(ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีพยัญชนะสะกดที่เป็นคําเป็น 3 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่ 1. แม่กน = คน 2. แม่เกย = ไร/ไม่/ได้ 3. แม่กม = ทํา
24. ข้อใดมีพยัญชนะสะกดที่เป็นคําเป็น 3 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) ยุทธการขยับเหงือก
(2) ทวงแค้นแสนลําเค็ญ
(3) เล่ห์รักสลับร่าง
(4) ภารกิจหัวใจรัก
ตอบ 2
(ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ) ข้อความ “ทวงแค้นแสนลําเค็ญ” มีพยัญชนะสะกดที่เป็นคําเป็น 3 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ํา) ได้แก่
1. แม่กง = ทวง 2. แม่กน = แค้น/แสน/เค็ญ 3. แม่กม = ลํา
25. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ตรี
(1) เร็ว
(2) อย่า
(3) ยื้อ
(4) ที่
ตอบ 3
เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 5 เสียง 4 รูป คือ เสียงสามัญ (ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ), เสียงเอก , เสียงโท , เสียงตรี และเสียงจัตวา ซึ่งในคําบางคํา รูปและเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน จึงควรเขียนรูปวรรณยุกต์ให้ถูกต้อง ได้แก่ คําว่า “ยื้อ” เป็นพยัญชนะเสียงต่ำเดี่ยว (ง ญ น ม ย ร ล ว) ที่ไม่มีตัวสะกด และใช้สระ เสียงยาว (สระอือ) จึงผันได้ 5 เสียง (ถ้าไม่นึกถึงเรื่องเขียน) เช่น ยื้อ = มีเสียงวรรณยุกต์ตรี แต่ใช้ไม้โท เป็นต้น
26. คําพยางค์ที่สองในข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ไม่ตรงตามรูปศัพท์
(1) รถเมล์
(2) รถพ่วง
(3) รถไฟ
(4) รถราง
ตอบ 2
(ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ) คําว่า “พ่วง” = มีเสียงวรรณยุกต์โท แต่ใช้ไม้เอก (ส่วนคําว่า“เมล์/ไฟ/ราง” มีเสียงวรรณยุกต์ตรงตามรูปศัพท์ = เสียงสามัญ ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ)
27. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์เอกครบทุกเสียง
(1) อด สระ ผม
(2) ข้อ ต่อ เลข
(3) ไผ่ ไล่ ไต่
(4) ส่วน แบ่ง เปิด
ตอบ 4
(ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ) คําที่มีเสียงวรรณยุกต์เอก = ส่วน แบ่ง เปิด อด สระ ต่อ ไผ่ ไต่
28. “คนอะไรช่างดวงดีเสียจริง” ข้อความนี้มีเสียงวรรณยุกต์โทกี่คํา
(1) 0 คํา
(2) 1 คํา
(3) 2 คํา
(4) 3 คํา
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีเสียงวรรณยุกต์โท 1 คํา คือ คําว่า “ช่าง”= มีเสียงวรรณยุกต์โท แต่ใช้ไม้เอก
29. “วงแขนกล้ามเป็นมัด ๆ” ข้อความนี้มีเสียงวรรณยุกต์ใดมากที่สุด
(1) โท
(2) จัตวา
(3) เอก
4) ตรี
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีเสียงวรรณยุกต์ดังนี้
1. เสียงสามัญ = วง/เป็น
2. เสียงจัตวา = แขน
3. เสียงโท = กล้าม
4. เสียงตรี = มัด ๆ
30. “ใครบอกเธอว่าตอบข้อนี้ถูก” ข้อความนี้มีเสียงวรรณยุกต์ใดมากที่สุด (ไม่นับคําซ้ำ)
(1) โท
(2) ตรี
(3) เอก
(4) สามัญ
ตอบ 3
(ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีเสียงวรรณยุกต์ดังนี้ (ไม่นับคําซ้ำ)1. เสียงสามัญ = ใคร/เธอ
2. เสียงเอก = บอก/ตอบ/ถูก
3. เสียงโท = ว่า/ข้อ
4. เสียงตรี = นี้
31. ข้อใดเป็นความหมายแฝง
(1) ดิ่ง
(2) ไม่
(3) ชัด
(4) อืม
ตอบ 1
ความหมายแฝงบอกทิศทาง ได้แก่
1. ขึ้นบน เช่น ขึ้น ฟู “พอง เขย่ง
2. ลงล่าง เช่น ลง ตก ดิ่ง หล่น
3. เข้าใน เช่น เข้า ฉีด อัด ยัด
4. ออกนอก เช่น ออก ขย้อน บ้วน ถ่ม
5. ถอยหลัง เช่น ถอย ร่น ดึง
6. ก้าวหน้า เช่น ก้าว รุน ดุน ผลัก
7. เข้าใกล้ เช่น กราย เฉียด ประชิด
8. แยกไปคนละทาง เช่น ปะทุ ระเบิด เตลิด
32. คําที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดมีความหมายอุปมา
(1) แก้วตาหาขนมในตู้เย็นกินทุกคืน
(2) ข้อสอบวิชานี้หินจริง ๆ
(3) เขารอฉันที่บ้านเสมอ
(4) ปลาทองว่ายวนในอ่างแก้ว
ตอบ 2
คําอุปมา คือ คําที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อพรรณนาบอกลักษณะ โดยให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความหมายใหม่เกิดขึ้นอีกความหมายหนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.คําอุปมาที่ได้มาจากคําที่มีใช้อยู่แล้ว เช่น เสือ (ดุและร้าย ฆ่าคนได้ไม่แพ้เสือ), ควาย (โง่ ทึ่ม ให้คนจูงจมูกได้ง่าย), ชะนี (ผู้หญิง), เต่า (ช้า งุ่มง่าม), หิน (ยากมาก) ฯลฯ
2. คําอุปมาที่สร้างขึ้นใหม่ ส่วนมากเป็นคําประสม เช่น แก้วตา (เป็นที่รักหวงแหน)ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นไม่มีความหมายอุปมา คือ แก้วตา = ชื่อคน, ที่บ้าน = บอกสถานที่,ปลาทอง = ชื่อปลา)
33. “เงินตรงหน้าเขาถูกรวบรวมไปวางไว้หน้าเจ้ามือ” ข้อความนี้ปรากฎการแยกเสียงแยกความหมายลักษณะใด
(1) พยัญชนะสะกดต่างกัน
(2) เสียงสูงต่ำต่างกัน
(3) เสียงสั้นยาวต่างกัน
(4) พยัญชนะต้นบางเสียงต่างกัน
ตอบ 1
การแยกเสียงแยกความหมาย คือ การเปลี่ยนแปลงเสียงในคําบางคําที่มีความหมายหลายอย่างให้แตกต่างกันบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนว่าคํานั้น มีความหมายว่าอย่างไรในที่นั้น ๆ โดยความหมายย่อยและที่ใช้อาจจะแตกต่างกัน ได้แก่ คําว่า “รวบรวม” (พยัญชนะตัวสะกดต่างกัน “แม่กบ” กับ “แม่กม”) หมายถึง นํามาไว้ด้วยกัน แต่ “รวบ” จะใช้มือทั้งสองกวาดเข้าหาตัว ส่วน “รวม” นั้นของอาจไม่ได้อยู่ที่เดียวกัน หรือถ้าอยู่ที่เดียวกันก็ต้องห่าง ๆ กันขนาดเอามือกวาดเข้ามาไม่ได้
34. คําที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดไม่ใช่คําซ้ำ
(1) ขอเสียงปรบมือรัวๆ ค่ะ
(2) คนไหนๆ ก็ทําข้อสอบข้อนี้ได้
(3) คิดๆ บวกเสมอแม้ว่าจะมีใครมาว่าก็ตาม
(4) ใครๆ ก็ไม่สนใจผมเลย
ตอบ 3
คําซ้ำ คือ คําคําเดียวกันที่นํามากล่าว 2 ครั้ง เพื่อให้มีความหมายเน้นหนักขึ้น หรือเพื่อให้มีความหมายต่างจากคําเดียว ซึ่งวิธีการสร้างคําซ้ำก็เหมือนกับการสร้างคําซ้อน แต่ใช้คําคําเดียวมาซ้อนกันโดยมีเครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) กํากับ เช่น ขอเสียง ปรบมือรัว ๆ ค่ะ (ทําให้เกิดเสียงดังถี่ ๆ), คนไหน ๆ ก็ทําข้อสอบข้อนี้ได้ (คนไหนก็ได้ไม่เฉพาะ เจาะจง), ใคร ๆ ก็ไม่สนใจผมเลย (ผู้ใดผู้หนึ่งไม่เจาะจง) เป็นต้น ส่วนตัวเลือกข้อ 3 ไม่ใช่คําซ้ำ เพราะเป็นคําที่พูดติดต่อเป็นความเดียวกัน จึงไม่ควรใช้ไม้ยมก)
35. ข้อใดไม่เป็นคําซ้อน
(1) ยกเลิก
(2) จบสิ้น
(3) ลบเลือน
(4) ปิดตา
ตอบ 4
คําซ้อน คือ คําเดียว 2, 4 หรือ 6 คํา ที่มีความหมายหรือมีเสียงใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทํานองเดียวกัน ซ้อนเข้าด้วยกันเพื่อทําให้เกิดคําใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. คําซ้อนเพื่อความหมาย (มุ่งที่ความหมายเป็นสําคัญ) ซึ่งอาจเป็นคําไทยซ้อนเข้าด้วยกัน เช่น จบสิ้น ลบเลือน พี่น้อง ฯลฯ หรืออาจเป็นคําไทยซ้อนกับคําภาษาอื่นก็ได้ เช่น ยกเลิก (ไทย + เขมร) ฯลฯ
2. คําซ้อนเพื่อเสียง (มุ่งที่เสียงเป็นสําคัญ) เช่น จริงจัง (อิ + อะ) ฯลฯ
36. ข้อใดเป็นคําซ้อน
(1) พี่น้อง
(2) พี่เขย
(3) พี่สะใภ้
(4) พี่ชาย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ
37. “คนเราต้องแข็งแกร่งขนาดไหนถึงอดทนกับถ้อยคําจากผู้ไม่หวังดี” ข้อความนี้มีคําซ้อนกี่คํา
(1) 2 คํา
(2) 3 คํา
(3) 4 คํา
(4) 5 คํา
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ)
ข้อความข้างต้นมีคําซ้อนเพื่อความหมาย 3 คํา ได้แก่
1. แข็งแกร่ง 2. อดทน 3. ถ้อยคํา
38. ข้อใดเป็นคําประสม
(1) นาข้าว
(2) นาดํา
(3) นาหว่าน
(4) นาธาน
ตอบ 2
คําประสม คือ คําตั้งแต่ 2 คําขึ้นไปมาประสมเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้คําใหม่ที่มีความหมายใหม่มาใช้ในภาษา ซึ่งความหมายสําคัญจะอยู่ที่คําต้น (คําตัวตั้ง) ส่วนที่ตามมาเป็นคําขยาย ซึ่งไม่ใช่คําที่ขยายคําต้นจริง ๆ แต่จะช่วยให้คําทั้งคํามีความหมายจํากัดเป็นนัยเดียว เช่น นาดํา = นาชนิดที่ใช้ถอนต้นกล้ามาปลูก เป็นต้น
39. ข้อใดเป็นคําประสมที่ต่างจากพวก
(1) ข้อต่อ
(2) ข้อคิด
(3) ข้อความ
(4) ข้อห้าม
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ) คําว่า “ข้อความ” (คํานาม + คํานาม) = เนื้อความตอนหนึ่งๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําประสมที่ประกอบด้วยคํานาม + คํากริยา)
40. “ของชําร่วยมีไว้แจกคนที่มาร่วมงานเท่านั้น” ข้อความนี้มีคําประสมกี่คํา
(1) 1 คํา
(2) 2 คํา
(3) 3 คํา
(4) 4 คํา
ตอบ 1
(ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีคําประสม 1 คํา คือ คําว่า “ของชําร่วย” = ของตอบแทนผู้มาช่วยงาน เช่น งานแต่งงาน งานศพ เป็นต้น
41. “ชายชราใส่เสื้อกระดํากระด่างเดินเร่ร่อนโดยไม่มีเงินติดตัวสักกะบาท” ประโยคนี้ประกอบด้วยคําอุปสรรคเทียมชนิดใด
(1) กร่อนเสียงและแบ่งคําผิด
(2) เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกันและกร่อนเสียง
(3) เทียบแนวเทียบผิดและแบ่งคําผิด
(4) เทียบแนวเทียบผิดและเพิ่มเสียงไม่ให้คอนกัน
ตอบ 3
ประโยคข้างต้นประกอบด้วยคําอุปสรรคเทียมดังนี้
1. คําอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเทียบแนวเทียบผิด ได้แก่ ดําด่าง = กระดํากระด่าง
2. คําอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการแบ่งคําผิด ได้แก่ สักบาท = สักกะบาท
42. คําในข้อใดเป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดเทียบแนวเทียบผิดทุกคํา
(1) กระอึกกระอัก กระปอดกระแปด กะเร่อกะร่า
(2) กระย่องกระแย่ง กระแอมกระไอ
(3) กระวีกระวาด กระวนกระวาย
(4) กระหนุงกระหนิง กระเง้ากระงอด กระฟัดกระเฟียด
ตอบ 4
อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเทียบแนวเทียบผิด คือการเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไปในคําซ้อนเพื่อเสียงที่พยางค์ต้นและพยางค์ท้าย ไม่ได้สะกดด้วย “ก” ซึ่งยึดการใช้อุปสรรคเทียมที่เพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกันมาเป็นแนวเทียบ แต่เป็นการเทียบแนวเทียบผิด เช่น หนุงหนิง = กระหนุงกระหนิง, เง้างอด = กระเง้ากระงอด, ฟัดเฟียด = กระฟัดกระเฟียด ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคําอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกัน เช่น กระอึกกระอัก, กระอักกระอ่วน, กระดักกระเดี้ย)
43. คําในข้อใดเป็นคําอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการแบ่งคําผิดทุกคํา
(1) สะดึง กระสัง ตุ๊กกะตา
(2) กระดุม กระจอก กระเฉด
(3) ชะพลู ชะดีชะร้าย กระยาง
(4) ตกกะใจ ตะม่อ กระสา
ตอบ 2
อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการแบ่งคําผิด เกิดจากการพูดเพื่อให้เสียงต่อเนื่องกัน โดยการเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไป 1 เสียงในคําที่ พยางค์แรกสะกดด้วยเสียง “ก” เช่น นกจอก = นกกระจอก, ลูกดุม = ลูกกระดุม, ผักเฉด = ผักกระเฉด ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคําอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียง เช่น สะดึง, ชะพลู, ตะม่อ และมีคําอุปสรรคเทียมเลียนแบบภาษาเขมร เช่น ชะดีชะร้าย)
44. คําในข้อใดไม่ใช่คําอุปสรรคเทียมที่เลียนแบบภาษาเขมรทุกคํา
(1) ฉะฉาด ระเริง ชะตา
(2) ปลุก ระคน สมยอม
(3) ปลง ระย่อ ประเดี๋ยว
(4) สะพรั่ง สมสู่ ประท้วง
ตอบ 1 อุปสรรคเทียมเลียนแบบภาษาเขมร เป็นวิธีการแผลงคําของเขมรที่ใช้นําหน้าคําเพื่อประโยชน์ทางไวยากรณ์ ได้แก่
1. “ชะ/ระ/ปะ/ประ/พะ/สม/สะ” เช่น ชะดีชะร้าย, ระคน, ระคาย, ระย่อ, ปะปน, ปะติดปะต่อ,ประเดี๋ยว, ประท้วง, พะรุงพะรัง, พะเยิบ, สมรู้, สมยอม, สมสู่, สะสาง, สะพรั่ง, สะสวย ฯลฯ
2. ใช้ “ข ค ป ผ พ” มานําหน้าคํานามและกริยาวิเศษณ์ เพื่อให้มีความหมายเป็นการีต แปลว่า“ทําให้” เช่น ขยุกขยิก, ขยิบ, ขยี้, ขยํา, ปลุก, ปลง, ปลด, ปละ, ปรุ, ผละ, พร่ำ ฯลฯ
(ส่วนตัวเลือกข้อ 1 เป็นคําอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียงทุกคํา)
45. ข้อใดประกอบด้วยประโยคชนิดเดียวกันทั้ง 2 ประโยค
(1) คิดให้ดี คิดอะไรอยู่
(2) คิดให้ดีนะ คิดไปทําไม
(3) คิดมากไป คิดเล็กคิดน้อย
(4) คิดให้รอบคอบ ทําไมไม่รู้จักคิด
ตอบ 3 ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่บอกเล่าเรื่องราวตามธรรมดา อาจใช้ในทางตอบรับหรือตอบปฏิเสธก็ได้ นอกจากนี้ประโยคที่มีคําแสดงคําถามว่า “ใคร/อะไร/ที่ไหน/เมื่อไหร่/อย่างไร” อาจใช้ในประโยคบอกเล่าได้ หากไม่ได้แสดงความสงสัยหรือไม่ต้องการคําตอบ แต่จะเป็นการกล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ โดยทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจงเช่น คิดมากไป คิดเล็กคิดน้อย คิดไปทําไม ทําไมไม่รู้จักคิด ฯลฯ
46. ประโยคในข้อใดไม่ใช่ประโยคชนิดเดียวกันกับข้ออื่น ๆ
(1) ดูให้ดีนะ
(2) ดูไม่ได้เลย
(3) ดูซิไปทําอะไรมา
(4) ดูแล้วดูอีกอยู่นั่นแหละ
ตอบ 1
ประโยคขอร้องหรือชักชวน คือ ประโยคที่ผู้พูดต้องการขอร้องหรือชักชวนให้ผู้ฟังทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ตามที่ตนต้องการ ซึ่งการใช้คําพูดนั้นจะคล้ายกับ ประโยคคําสั่งแต่นุ่มนวลกว่า โดยในภาษาเขียนมักจะมีคําว่า “โปรด/กรุณา” อยู่หน้าประโยค ส่วนในภาษาพูดนั้นอาจมีคําลงท้ายประโยค ได้แก่ เถอะ เถิด น่ะ นะ หน่อย ซิ ซี ฯลฯ เช่น ดูให้ดีนะ คิดให้ดีนะ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นประโยคบอกเล่า)
47. “รักกันไว้เถิด เราเกิดร่วมแดนไทย จะเกิดภาคไหน ๆ ก็ไทยด้วยกัน” ข้อใดเรียงลําดับประโยคในเครื่องหมายคําพูดได้ถูกต้อง
(1) คําสั่ง บอกเล่า คําถาม บอกเล่า
(2) คําสั่ง ขอร้อง คําถาม บอกเล่า
(3) ขอร้อง บอกเล่า บอกเล่า บอกเล่า
(4) ขอร้อง บอกเล่า คําถาม บอกเล่า
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 45. และ 46. ประกอบ)
จากข้อความเรียงลําดับประโยคได้ดังนี้ รักกันไว้เถิด (ขอร้อง) เราเกิดร่วมเดนไทย (บอกเล่า) จะเกิดภาคไหน ๆ (บอกเล่า) ก็ไทยด้วยกัน (บอกเล่า)
48. ข้อใดมีส่วนขยายกริยาทั้ง 2 ประโยค
(1) คนพายเรือ น้องขับรถเร็ว
(2) นกฮูกบินสูง หมาเห่าเสียงดัง
(3) แมวกระโดด หนังสืออ่านสนุก
(4) พ่อไปตลาด แม่ทํากับข้าวอร่อย
ตอบ 2
ภาคขยายแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
1. ส่วนขยายประธานหรือผู้กระทํา และส่วนขยายกรรมหรือผู้ถูกกระทํา ซึ่งเรียกว่า คุณศัพท์ เช่น พิธีกรสาวประกาศรายชื่อผู้โชคดี (ขยายประธาน), เราควรดื่มน้ำสะอาด/แดงชอบอากาศบริสุทธิ์ เขาเหม่อมองท้องฟ้ายามเย็น (ขยายกรรม) เป็นต้น
2. ส่วนขยายกริยา ซึ่งเรียกว่า กริยาวิเศษณ์ อาจมีตําแหน่งอยู่หน้าคํากริยา หรืออยู่หลังคํากริยาก็ได้ เช่น “นกฮูกบินสูง (ขยายกริยา “บิน”), หมาเห่าเสียงดัง (ขยายกริยา “เห่า”),ดําชอบอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ (ขยายกริยา “ชอบอ่าน”) เป็นต้น
49. ประโยคในข้อใดไม่มีส่วนขยายกรรม
(1) เราควรดื่มน้ำสะอาด
(2) แดงชอบอากาศบริสุทธิ์
(3) เขาเหม่อมองท้องฟ้ายามเย็น
(4) ดําขอบอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ
50. ประโยคในข้อใดมีส่วนขยายประธาน
(1) หมอฉีดยาคนไข้
(2) เจ้าหน้าที่อ่านเอกสาร
(3) พนักงานกําลังต้อนรับลูกค้า
(4) พิธีกรสาวประกาศรายชื่อผู้โชคดี
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ
51. คํานามในข้อใดแสดงเพศเดียวกันขัดเจนทั้ง 2 คํา
(1) ลุงนพถวายของเณรน้อย
(2) ครูเดินจูงมือเด็กน้อยข้ามถนน
(3) สาวนิรนามโทรศัพท์หาพนักงานขาย
(4) บุรุษพยาบาลกําลังเข็นเตียงป้าสายหยุด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ
52. ข้อใดมีคํานาม
(1) อยู่ดีไม่ว่าดี
(2) น้ำนิ่งไหลลึก
(3) ไม่รู้อิโหน่อิเหน่
(4) อดเปรี้ยวไว้กินหวาน
ตอบ 2
คํานาม คือ คําที่ใช้เรียกชื่อสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งที่เป็นรูปธรรมและเป็นนามธรรม ทั้งชื่อเฉพาะเจาะจงและไม่เฉพาะเจาะจง เช่น คน หมู หมา โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ บางทีคํานามนั้นก็ใช้เป็นสํานวนได้ เช่น น้ำนิ่งไหลลึก = คนที่มีท่าหงิม ๆมักจะมีความคิดลึกซึ้ง ฯลฯ
53. ข้อใดเป็นสรรพนามไม่เฉพาะเจาะจง
(1) ถึงอย่างไรเธอก็ยังเป็นเพื่อน
(2) อะไรที่ทําให้เขาเปลี่ยนไป
(3) เขาหายไปอยู่ที่ไหน
(4) เมื่อไหร่เธอจะกลับมา
ตอบ 1
สรรพนามที่บอกความไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่“ใคร อะไร ใด ไหน” ซึ่งเป็นคํากลุ่มเดียวกันกับสรรพนามที่บอกคําถาม แต่สรรพนามที่บอก ความไม่เฉพาะเจาะจงจะกล่าวถึงบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่แบบลอย ๆ ไม่ชี้เฉพาะเจาะจงว่า เป็นใคร อะไรหรือที่ไหน และไม่ได้เป็นการถาม เช่น ถึงอย่างไรเธอก็ยังเป็นเพื่อน (อย่างไร = อย่างใด อย่างไหน) ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสรรพนามที่บอกคําถาม)
54. ข้อใดไม่ใช่คําสรรพนามบอกความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ
(1) คนนั้นเสียงดัง
(2) บ้างฟังบ้างคุย
(3) ต่างคนต่างอยู่
(4) กินด้วยกันนอนด้วยกัน
ตอบ 1
สรรพนามที่บอกความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆได้แก่ คําว่า “ต่าง” (ใช้แทนผู้ทําหลายคนทํากริยาเดียวกัน แต่ไม่ได้ทําพร้อมกัน เช่น ต่างคน ต่างอยู่), “บ้าง” (ใช้แทนผู้ทําหลายคนแยกกันทํากริยาคนละอย่าง เช่น บ้างฟังบ้างคุย), “กัน”(ใช้แทนนามที่ต่างก็ทํากริยาเดียวกัน เกี่ยวข้องกัน เช่น กินด้วยกันนอนด้วยกัน) ฯลฯ
55. ข้อใดใช้คําสรรพนามไม่เหมาะสม
(1) พ่อสมชายหลานรักของย่า
(2) ยายส้มแกมาใกล้ ๆ ยายหน่อย
(3) ไอ้น้อยมันเป็นเพื่อนรักของผม
(4) พ่อแกให้ผมมาพบครูใหญ่ครับ
ตอบ 4
คําว่า “แก” เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 ซึ่งแสดงว่าไม่เคารพนับถือมากนัก มักหมายถึงบุคคลน่าเวทนา น่าสมเพชมากกว่าน่านับถือ แต่ถ้าใช้กับเด็กเล็ก ๆ กลับเป็นการแสดงความเอ็นดูรักใคร่ เช่น ยายส้มแกมาใกล้ ๆ ยายหน่อย ฯลฯ (ส่วนตัวเลือก ข้อ 4 ใช้คําสรรพนาม “แก” ไม่เหมาะสม จึงควรแก้ไขโดยใช้คําสรรพนาม “ท่าน” กับผู้ที่เราเคารพนับถือ)
56. ข้อใดเป็นกริยาที่มีกรรมมารับ
(1) ฝนตกหนัก
(2) นกบินสูง
(3) นกทํารังน่าอยู่
(4) นกร้องเสียงดัง
ตอบ 3
ภาคแสดงหรือกริยา เป็นส่วนที่แสดงกิริยาอาการหรือการกระทําของภาคประธาน ตามธรรมดาจะมีตําแหน่งอยู่หลังประธาน และอยู่หน้ากรรม เช่น นกทํารังน่าอยู่ (กริยาที่มีกรรมมารับ) ฯลฯ แต่กริยานั้นจะไม่มีกรรมก็ได้ เช่น ฝนตกหนัก/นกบินสูง/นกร้องเสียงดัง (มีเฉพาะกริยา + ส่วนขยายกริยา โดยไม่มีกรรม) ฯลฯ
57. คําว่า “มา” ในข้อใดเป็นกริยาแท้
(1) น้องเดินมา
(2) น้องมาสาย
(3) น้องไปไหนมา
(4) น้องกินข้าวมาแล้ว
ตอบ 2
คําว่า “มา” เป็นได้ทั้งกริยาแท้และกริยาช่วย ถ้าหากเป็นกริยาแท้จะหมายถึง เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น น้องมาสาย/มานี้หน่อย ฯลฯ แต่ถ้า เป็นกริยาช่วยจะบอกกาล คือ บอกอดีตที่ผ่านไปแล้ว ส่วนใหญ่จะวางอยู่หลังกริยาแท้ เช่น น้องเดินมา/น้องไปไหนมา/น้องกินข้าวมาแล้ว ฯลฯ
58. ข้อใดใช้คํากริยาการีต
(1) โอไปเล่นฟุตบอล
(2) โอ้ไปดูหนัง
(3) เอ๋ไปขี่จักรยาน
(4) เอ้ไปทําฟัน
ตอบ 4
คํากริยาธรรมดาที่มีความหมายเป็นการีต (ทําให้) เป็นคําที่กําหนดขึ้นเป็นพิเศษ และมีความหมายเฉพาะเป็นที่รู้กัน ซึ่งดูเหมือนว่าประธานเป็นผู้กระทํากริยานั้นเอง แต่ที่จริงแล้วประธานเป็นผู้ถูกกระทํา เช่น ไปดูหมอ (ที่จริงคือ ให้หมอดูโชคชะตาให้ตน), ไปตรวจโรค (ที่จริงคือ ให้หมอยาตรวจโรคให้ตน), ไปตัดเสื้อทําผม (ที่จริงคือ ให้ช่างตัดเสื้อและทําผมให้ตน), ไปทําฟัน (ที่จริงคือ ให้หมอฟันทําฟันให้ตน) ฯลฯ
59. ข้อใดเป็นคํากริยาวิเศษณ์บอกคําถาม
(1) นอนอย่างไรก็ไม่หลับ
(2) กินเท่าไหร่ก็ไม่โต
(3) คิดอะไรกันอยู่
(4) ทําอะไรก็ไม่ผิด
ตอบ 3
คํากริยาวิเศษณ์บอกคําถาม ได้แก่ ทําไม เมื่อไร เท่าไร อย่างไร แค่ไหน ไหน กระไร อะไร เหตุไร เหตุใด หรือ หรือไม่ ไหม หรือเปล่า ฯลฯ ซึ่งเป็นคํากลุ่มเดียวกันกับคํากริยาวิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ แต่คํากริยาวิเศษณ์บอกคําถาม จะใช้สร้างประโยคคําถาม และมักวางอยู่หลังคํากริยา เช่น คิดอะไรกันอยู่ เป็นต้น ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคํากริยาวิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ)
60. ข้อใดเป็นคําคุณศัพท์บอกจํานวนนับไม่ได้
(1) นักกีฬาทั้งหมดเดินเข้าสนาม
(2) นักกีฬาบางคนวิ่งบางคนเดิน
(3) กล้องเสียตังค์แสดงความดีใจ
(4) นักกีฬาไทยวิ่งเข้าสู่เส้นชัยเป็นที่ 1
ตอบ 1
คําคุณศัพท์บอกจํานวนนับไม่ได้ (ประมาณคุณศัพท์)หรือคําคุณศัพท์บอกจํานวนประมาณ ได้แก่ มาก น้อย นิดหน่อย ครบ พอ เกิน เหลือ ขาด ถ้วน ครบถ้วน หมด หลาย ทั้งหลาย ทั้งหมด ทั้งสิ้น ทั้งนั้น ทั้ง ฯลฯ เช่น นักกีฬาทั้งหมดเดินเข้าสนาม เป็นต้น
61. “กินไม่ได้นอนไม่หลับ” เป็นคํากริยาวิเศษณ์ชนิดใด
(1) บอกประมาณ
(2) บอกความชี้เฉพาะ
(3) บอกความไม่ชี้เฉพาะ
(4) บอกการตอบรับหรือตอบปฏิเสธ
ตอบ 4
คํากริยาวิเศษณ์บอกการตอบรับหรือตอบปฏิเสธ ได้แก่ ใช่ ใช่แล้ว ใช่ซิ จะ ค่ะ ครับ เจ้าคะ ขอรับ เพคะ ไม่ ไม่ได้ อย่า ฯลฯ เช่น กินไม่ได้นอนไม่หลับ เป็นต้น
62. ข้อใดไม่สามารถละบุรพบทได้
(1) หนังสือของเขาหายไป
(2) ครูให้หนังสือแก่นักเรียน
(3) การเรียนเก่งกว่าดํา
(4) เขากลับไปบ้านที่ต่างจังหวัด
ตอบ 3
คําบุรพบทไม่สําคัญมากเท่ากับคํานาม คํากริยาและคําวิเศษณ์ ดังนั้นบางแห่งไม่ใช้บุรพบทเลยก็ยังฟังเข้าใจได้ ซึ่งบุรพบทที่อาจละได้แล้ว ความหมายยังเหมือนเดิม ได้แก่ ของ แก่ ต่อ สู่ ยัง ที่ บน ฯลฯ แต่บุรพบทบางคําก็ละไม่ได้ เพราะละแล้วความจะเสีย ไม่รู้เรื่อง เช่น การเรียนเก่งกว่าดํา (คําบุรพบท “กว่า” ใช้นําหน้า คําที่มาเปรียบเทียบ) เป็นต้น หากจะละบุรพบทก็ต้องดูความในประโยคว่าความหมายต้องไม่เปลี่ยนไปจากเดิม
63. “เวลาไปต่างถิ่น ผมมักจะเรียนรู้ภาษาถิ่น 1. ท้องถิ่นนั้น ๆ 2. เริ่มต้นจากประโยคง่าย ๆ เช่น สวัสดีและขอบคุณ” ข้อใดเลือกคําบุรพบทมาเติมได้ถูกต้องที่สุด อาหาร
(1) 1. ใน 2. ซึ่ง
(2) 1. ของ 2. โดย
(3) 1. ของ 2. ซึ่ง
(4) 1. ใน 2. โดย
ตอบ 3
คําบุรพบท “ของ” ใช้นําหน้าคําแสดงความเป็นเจ้าของ ส่วนคําบุรพบท “ซึ่ง” ใช้นําหน้านามที่เป็นผู้ถูกกระทํา หรืออาจใช้เป็นคําสรรพนามแทนนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า
64. “ชีวิตคนไทยไม่ว่าจะยากจนอย่างไรก็ยังดํารงอยู่ได้โดยไม่อดอยาก เพราะยังมีพืชผลอีกหลายอย่างที่ยังชีวิตได้” ข้อความนี้ใช้คําสันธานชนิดใด
(1) เชื่อมความสอดคล้องกัน
(2) เชื่อมความขัดแย้งกัน
(3) เชื่อมความเป็นเหตุเป็นผล
(4) เชื่อมความคาดคะเนหรือแบ่งรับแบ่งสู้
ตอบ 3
คําสันธานที่เชื่อมความเป็นเหตุเป็นผลกัน ได้แก่ เพราะ เพราะว่า, ด้วย, ด้วยว่า เหตุว่า, อาศัยที่, ค่าที่, เพราะฉะนั้น ดังนั้น จึง, เลย, เหตุฉะนี้
65. “ใบหม่อนเป็นใบไม้ที่ให้คุณประโยชน์แก่มนุษย์ ซึ่งเป็นได้ทั้งอาหารและยา” ข้อความนี้ใช้คําสันธานชนิดใด
(1) เชื่อมความสอดคล้องกัน
(2) เชื่อมความขัดแย้งกัน
(3) เชื่อมความเป็นเหตุเป็นผล
(4) เชื่อมความคาดคะเนหรือแบ่งรับแบ่งสู้
ตอบ 1
คําสันธานที่เชื่อมความคล้อยตามกัน ทํานองเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน โดยทําหน้าที่เชื่อมความที่เกี่ยวกับเวลา ได้แก่ ก็, แล้ว….ก็, แล้ว….จึง ครั้น…..ก็, เมื่อ, เมื่อ…..ก็, ครั้น….., เมื่อ….จึง, พอ….ก็ ส่วนที่ทําหน้าที่เชื่อมความให้สอดคล้องหรือรวมเข้าด้วยกัน ได้แก่ ทั้ง, ทั้ง…..ก็, ทั้ง……และ, ก็ได้, ก็ดี, กับ, และ
66. คําสันธานในข้อใดเชื่อมความให้รวมเข้าด้วยกัน
(1) แดดออกนกบินกลับรัง
(2) นอนเสียหรือไม่ก็ลุกมาอ่านหนังสือ
(3) เขารวยก็จริงอยู่แต่ก็หาความสุขไม่ได้
(4) แม่ครัวไปซื้อกับข้าวมีทั้งผักและเนื้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ
67. คําอุทานใดไม่ใช่คําวิเศษณ์
(1) อึกทึก
(2) อื้อฉาว
(3) เอะอะ
(4) ครึกโครม
ตอบ 3
คําอุทานที่ได้เลื่อนมาเป็นคําวิเศษณ์ ได้แก่
1. อื้ออึง หมายถึง ลั่น ดังลั่น
2. อื้อฉาว หมายถึง เซ็งแซ่ โจษจัน
3. อึกทึก หมายถึง เอ็ดอึง
4. ครึกโครม หมายถึง ดังตึงตัง น่าตื่นเต้น
5. ครืน หมายถึง เสียงดังลั่น
6. ครั้นครั่น หมายถึง กึกก้อง
7. ครึกครื้น หมายถึง เอิกเกริก
(ส่วนคําว่า “เอะอะ” = ทําเสียงดังโวยวาย เป็นคําอุทานที่ได้เลื่อนมาเป็นคํากริยา)
68. ข้อใดคือคําลักษณนามของภูษาโยง
(1) เส้น
(2) สาย
(3) ผืน
(4) พับ
ตอบ 2
คําลักษณนาม คือ คําที่ตามหลังคําบอกจํานวนนับเพื่อบอกรูปลักษณะและชนิดของคํานามที่อยู่ข้างหน้าคําบอกจํานวนนับ มักจะเป็นคําพยางค์เดียว แต่เป็นคําที่สร้างขึ้นใหม่โดยอาศัยการอุปมาเปรียบเทียบ การเลียนเสียงธรรมชาติ การเทียบ แนวเทียบ และการใช้คําซ้ำกับคํานามนั้นเอง (ในกรณีที่ไม่มีลักษณนามโดยเฉพาะ) เช่น ภูษาโยง = สาย, ตะกรุด/กะตรุด = ดอก, สมอเรือ/ลอดช่อง (ขนม) = ตัว, แคน = เต้า,
ฆ้องวง = ลูก/วง, คันไถ = คัน ฯลฯ
69. ข้อใดคือคําลักษณนามของตะกรุด
(1) ดอก
(2) เส้น
(3) สาย
(4) ตะกรุด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ
70. ข้อใดใช้คําลักษณนามเดียวกับสมอเรือ
(1) แคน
(2) ฆ้องวง
(3) คันไถ
(4) ลอดช่อง (ขนม)
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ
ข้อ 71. – 80. ให้นักศึกษาเลือกคําราชาศัพท์ที่ถูกต้องเติมในช่องว่าง
เมื่อเวลา 17.15 น. วันที่ 23 พฤษภาคม 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชอนุสรณ์ คํานึงถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร 71. และสมเด็จพระนางเจ้า 72. พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี จึง 73, 74. ให้จัด 75. บําเพ็ญ 76. อุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร และ 77. ถวาย สมเด็จ 78. พระสยามเทวาธิราช และ 79. มงคล สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ โดยมี 80. สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นประธานสงฆ์
71.
(1) พระบรมชนกนาถ
(2) สมเด็จพระชนกนาถ
(3) สมเด็จพระบรมชนกนาถ
(4) พระมหาชนกนาถ
ตอบ 3
สมเด็จพระบรมชนกนาถ = พ่อที่เป็นพระมหากษัตริย์ (ใช้กับพระมหากษัตริย์)
72.
(1) สิริกิต
(2) สิริกิติ
(3) สิริกิติ์
(4) สิริกิตติ์
ตอบ 3 พระนามที่ถูกต้อง คือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
73.
(1) ทรงพระกรุณา
(3) ทรงกรุณา
(2) ทรงพระมหากรุณา
(4) พระกรุณา
ตอบ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ/ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม = ทรงพระเมตตาและพอพระราชหฤทัย (ใช้กับพระมหากษัตริย์)
74.
(1) โปรด
(2) ทรงโปรด
(3) โปรดเกล้า
(4) โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ
75.
(1) พระราชพิธี
(2) มหาราชพิธี
(3) พระราชพิธีมงคล
(4) พิธีมหามงคล
ตอบ 4
พิธีมหามงคล = งานมงคลที่ยิ่งใหญ่ (คําว่า “พิธี” ในที่นี้จะมีความหมายถึง พิธีสําคัญของพระมหากษัตริย์หรือรัฐบาล แต่มิได้กําหนดเป็นพระราชพิธีหรือรัฐพิธี ส่วนคําว่า “พระราชพิธี หมายถึง งานที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กําหนดไว้ตามราชประเพณี ซึ่งจะเสด็จพระราชดําเนินไปทรงประกอบพิธีด้วยพระองค์เอง)
76.
(1) พระกุศล
(2) พระราชกุศล
(3) พระมหากุศล
(4) พระราชมหากุศล
ตอบ 2
พระราชกุศล = บุญ (ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2) ซึ่งในที่นี้เป็นพิธีทําบุญอันยิ่งใหญ่จึงใช้ว่า พิธีมหามงคลบําเพ็ญพระราชกุศล
77.
(1) ทรงเจริญพระพุทธมนต์
(2) เจริญพระพุทธมนต์
(3) ทรงพระพุทธมนต์
(4) พระพุทธมนต์
ตอบ 2
เจริญพระพุทธมนต์ = สวดสาธยายพระพุทธมนต์ ให้ใช้เมื่องานนั้นเกี่ยวกับงานมงคลอันจะนํามาซึ่งความเจริญ
78.
(1) พระกษัตริยาธิราช
(2) พระมหากษัตริยาธิราช
(3) พระบูรพกษัตริย์ยาธิราช
(4) พระบูรพมหากษัตริยาธิราช
ตอบ 4
สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช = พระมหากษัตริย์และพระบรมราชินีในราชวงศ์ก่อนหน้าและสมเด็จพระบรมราชบูรพการี คือ พระมหากษัตริย์และพระบรมราชินีรัชกาลก่อนแห่งราชวงศ์ปัจจุบัน
79.
(1) ถวายพระพรชัย
(2) ทรงถวายพระพรชัย
(3) ถวายพระพร
(4) ทรงถวายพระพร
ตอบ 1
ถวายพระพรชัยมงคล = ให้พร ปัจจุบันอนุโลมให้ใช้หากว่างานนั้นมีผู้แสดงความจงรักภักดีและร่วมลงนาม โดยมีทั้งพระและสามัญชน
80.
(1) พระอริยวงศาคตญาณ
(2) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(3) พระสมเด็จอริยวงศาคตญาณ
(4) สมเด็จอริยวงศาคตญาณ
ตอบ 2
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ = ราชทินนามของสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นสามัญชน ซึ่งสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 20 (พระองค์ ปัจจุบัน) ทรงเริ่มดํารงตําแหน่งเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และทรงเป็นเจ้าอาวาส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
ข้อ 81 – 90. อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม
ประเด็นเรื่องการแต่งตัววาบหวิวของนักศึกษาไทยในปัจจุบันยังคงเป็นข้อถกเถียงจนยากที่จะหาที่สิ้นสุด ซึ่งแนวความคิดด้านการจัดระเบียบชุดนักศึกษาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ได้มีการพัฒนากัน อย่างต่อเนื่องจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ แต่ปัญหากลับอยู่ที่การเอาจริงเอาจัง ความเด็ดขาด และการ มีกฎเกณฑ์หรือกฎหมายออกมารองรับอีกที่หนึ่ง
อย่างไรก็ตามประเด็นดังกล่าวทําให้เกิดความคิดซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ขั้วด้วยกันฝ่ายแรกเห็นว่า ควรมีการจัดระเบียบอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเครื่องแบบนักศึกษาที่ฟิตรัดติ้วจนถึงขั้นโป๊ ซึ่งเน้นการโชว์สรีระ ส่วนอีกฟากหนึ่งกลับมีความคิดเห็นว่าเป็นเรื่องของสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งไม่ได้สร้าง ความเดือดร้อนให้แก่ใคร
วันนี้ผมขออนุญาตนําเสนอผลงานวิจัยที่จะช่วยให้ท่านผู้อ่านพิจารณาว่า หลักการดังกล่าว มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
ทั้งนี้ก่อนจะพูดในเชิงสถิติ ขอพูดถึงความหมายของคําว่า “ยูนิฟอร์ม” (Uniform) ซึ่งเป็นประเด็น สําคัญที่ต้องทําความเข้าใจชัดเจนเสียก่อนว่า ยูนิฟอร์มนั้นมีความสําคัญอย่างไรต่อองค์กรหรือสถาบันต่าง ๆ
สําหรับตัวผมเอง ยูนิฟอร์ม คือ เครื่องแบบที่นําเสนอความเป็นมาตรฐาน กล่าวคือ ผู้ใดที่สวมใส่ ยูนิฟอร์มจะทราบกันดีว่าสังกัดกลุ่มใด สถาบันไหน เป็นคนของมหาวิทยาลัยที่ไหน และที่สําคัญคือ เป็นการนําเสนอความเป็นเอกภาพของสถาบันนั้น ๆ
ส่วนในด้านสปิริตแล้วนั้นยูนิฟอร์มมีความสัมพันธ์กับศักดิ์ศรี เป็นการให้เกียรติต่อสถาบันที่เราพึ่งพาอาศัย ซึ่งครอบคลุมไปถึงการแสดงออกในด้านการจงรักภักดีนั่นเองครับ
ดังนั้นยูนิฟอร์มจึงเปรียบเสมือนสัญลักษณ์สําคัญดั่งธงชาติของประเทศนั้น ๆ แต่ในปัจจุบัน ความหมายของยูนิฟอร์มกลับผิดเพี้ยนไปเพราะเป็นเรื่องของการออกนอกกรอบ การสร้างความแตกต่าง กลายเป็นกระแสแฟชั่น
แต่ถ้าจะให้พูดตามเนื้อผ้าแล้วนั้นยูนิฟอร์มใช่ว่าต้องอยู่ในกฎระเบียบที่เคร่งครัดซะทีเดียว แน่นอนที่สุดว่ายุคสมัยย่อมเปลี่ยนไป ความคิดของคนและความเชื่อในอิสรเสรีภาพเป็นสิ่งสําคัญท่ามกลาง สังคมยุคปัจจุบัน ดังนั้นถ้าโป๊เกินไปอาจดูไม่เหมาะสม ส่วนเข้มงวดเกินไปอาจเป็นการบังคับ ผมว่าเจอกันตรงกลางน่าจะเหมาะสมมากกว่า จึงพอสรุปได้ว่ายูนิฟอร์มสามารถเปลี่ยนเป็นแฟชั่นได้ แต่ต้องมีมาตรฐาน เหมาะสมต่อคนส่วนมาก
นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ค่านิยมของการแต่งชุดนักศึกษาที่วาบหวิวนั้น ทางสถาบันการศึกษาทั้งหลายต่างพยายามปรับเปลี่ยน ส่งเสริมให้นักศึกษาแต่งกายให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น แต่ปัญหาคือควบคุม ไม่ได้เพราะสถาบันไม่เข้มงวด สถาบันบางแห่งก็มีความเป็นทุนนิยมมากเกินไป
กล่าวคือ มองนักศึกษาเป็นดังลูกค้าที่ต้องตามใจ มิเช่นนั้นถ้าใครพูดว่าสถาบันแห่งนี้เชย ไม่ทันสมัยแล้ว ใครจะมาเรียน
ทั้งนี้เรื่องราวและเหตุการณ์ดังกล่าวทําให้กระทรวงวัฒนธรรมเกิดการตื่นตัว และเร่งแก้ไขปัญหา ดังกล่าวเพื่อให้อยู่ในวาระแห่งชาติเลยทีเดียว
ส่วนในเชิงสถิติที่เป็นผลงานวิจัยของสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ให้ข้อสรุปว่า การแต่งกาย ของนิสิตนักศึกษาจะก่อให้เกิดผลเสียหรือปัญหาอาชญากรรม อาทิการล่วงละเมิดทางเพศ การข่มขืนมากถึงร้อยละ 59.9 รองลงมาคือ เสื่อมเสียต่อสถาบันและตนเองร้อยละ 17.8 และก่อปัญหาจี้ปล้นวิ่งราวทรัพย์ ร้อยละ 5.10
ส่วนมาตรการที่จะนํามาใช้ในการแก้ไขนั้น นิสิตนักศึกษาร้อยละ 47.5 เห็นว่าควรใช้กฎระเบียบ สถาบันการศึกษามาเป็นตัวบังคับอย่างจริงจัง ร้อยละ 30.2 ใช้การรณรงค์หรือชักจูงใจให้นิสิตนักศึกษาหันมา แต่งกายให้เหมาะสม ร้อยละ 15.7 เห็นควรใช้มาตรการทางกฎหมายในการบังคับให้ผู้ผลิตเลิกผลิตเสื้อนักศึกษา ที่ฟิตโป็ หรือมีขนาดเล็กเกินไป
แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกเมื่อร้อยละ 60 กลับเชื่อว่า ปัญหาเรื่องการแต่งกายไม่เหมาะสมยังคงมีอยู่ ซึ่งร้อยละ 22.3 เชื่อว่าปัญหาดังกล่าวจะไม่สามารถหมดไปได้
ส่วนผลงานวิจัยอีกประเภทหนึ่งในหัวข้อ “ความคิดเห็นต่อปัญหาการแต่งกายของนิสิต” โดยเก็บ ข้อมูลจากนิสิตนักศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาจากสถาบันการศึกษารัฐและเอกชนทั่วประเทศ 19 แห่ง จํานวน 1,743 คน เพศชายร้อยละ 36.9 เพศหญิง 63.1 ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน – 18 กรกฎาคม 2550 สรุปผลได้ดังนี้
การแต่งกายนิสิตนักศึกษาในปัจจุบันเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน มีนิสิตนักศึกษา เห็นด้วยร้อยละ 72.6 ไม่เห็นด้วยร้อยละ 12.8 ไม่แสดงความคิดเห็นร้อยละ 14.6 และถือว่าเป็นปัญหาที่ ค่อนข้างน่าเป็นห่วงร้อยละ 54.2
สุดท้ายก่อนจากกันไปในวันนี้ผมขอแสดงความคิดเห็นว่าเรื่องของความเหมาะสมเป็นสิ่งที่ควร เจอกันตรงกลาง ไม่เคร่งเกินไป และไม่ฟรีจนเกินไป
แต่อย่างน้อยขอให้เรารับรู้ว่า ความหมายของยูนิฟอร์มภายใต้สถาบันการศึกษาที่สังกัดอยู่นั้น มีความสําคัญมากกว่าค่านิยมที่ผิด ๆ ดังที่เป็นแฟชั่นอยู่ทุกวันนี้ เพราะการที่เราไม่ได้ให้เกียรติยูนิฟอร์ม อาจทําให้คนอื่นเขามองว่า เราไม่ให้เกียรติต่อตนเองและสถาบันการศึกษาที่เราสังกัดอยู่นะครับ
(จากคอลัมน์ วัยทวีนส์ โดยเอกลักษณ์ ยิ้มวิไล หนังสือพิมพ์มติชน ประจําวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 หน้า 20)
81. ข้อความที่อ่านจัดเป็นวรรณกรรมประเภทใด
(1) ข่าว
(2) วิจัย
(3) บทความ
(4) วิจารณ์
ตอบ 3
บทความ คือ งานเขียนที่มีการนําเสนอข้อมูลที่ได้มาจากเอกสารทางวิชาการหรือผลงานการวิจัย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นเพื่อให้ข้อมูลหรือความรู้ และมีการสรุปให้เห็นความสําคัญของเรื่อง พร้อมทั้งเสนอข้อคิดให้ผู้อ่านนําไปพิจารณา
82. จุดประสงค์ของผู้เขียนคืออะไร
(1) โน้มน้าวใจ
(2) สื่อความเข้าใจ
(3) ให้ความรู้และแสดงทัศนะ
(4) ให้ข้อมูลและแสดงทัศนะ
ตอบ 4
ผู้เขียนมีจุดประสงค์ในการนําเสนอ คือ ให้ข้อมูลและแสดงทัศนะของตนเองเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการแต่งชุดนักศึกษาที่วาบหวิวของนักศึกษาไทยในปัจจุบัน พร้อมทั้งเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้ผู้อ่านนําไปคิดพิจารณา
83. โวหารการเขียนเป็นแบบใด
(1) บรรยาย
(2) อภิปราย
(3) อธิบายและอภิปราย
(4) บรรยายและอภิปราย
ตอบ 3
ผู้เขียนใช้โวหารการเขียนผสมผสานกัน 2 รูปแบบ ดังนี้
1. โวหารเชิงอธิบาย คือ โวหารที่ใช้ชี้แจงเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งซึ่งเป็นการให้ความรู้หรือข้อมูลเพียงด้านเดียว โดยจะต้องมีการชี้แจงแสดงเหตุผลการยกตัวอย่างประกอบ การเปรียบเทียบ และการจําแนกแจกแจง
2. โวหารเชิงอภิปราย คือ โวหารที่ใช้แสดงความคิดเห็นซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ โดยผู้เขียนจะแสดงทัศนะรอบด้านทั้งในด้านบวกและลบ เพื่อนําไปสู่ข้อสรุปอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทิ้งท้ายให้ผู้อ่านเก็บไปคิด
84. ท่วงทํานองเขียนเป็นแบบใด
(1) กระชับรัดกุม
(2) สละสลวย
(3) เรียบง่ายเป็นภาษาเขียน
(4) เรียบง่ายเป็นภาษาพูด
ตอบ 4
ผู้เขียนใช้ท่วงทํานองเขียนแบบเรียบง่าย คือ ท่วงทํานองเขียนที่ใช้คําง่าย ๆ ชัดเจน การผูกประโยคไม่ซับซ้อน ทําให้อ่านง่ายและเข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาขบคิดมากนัก แต่จะมีการใช้ภาษาพูดปะปนบ้างในบางย่อหน้า และมีการใช้คําทับศัพท์ (คําภาษาต่างประเทศที่นํามาใช้ในภาษาไทยโดยวิธีถ่ายเสียงและถอดอักษร) เช่น ฟิต (Fit),โชว์ (Show), ยูนิฟอร์ม (Uniform), สปิริต (Spirit), แฟชั่น (Fashion), ฟรี (Free) เป็นต้น
85. ข้อความใดถูกต้องตรงกับข้อความที่ให้อ่าน
(1) นักศึกษาในอดีตแต่งกายได้ถูกต้องตามระเบียบของสถาบัน
(2) การเดินสายกลางอย่างมีเหตุผลเป็นเรื่องที่สมควรทํา
(3) การแก้ปัญหาการแต่งกายของนักศึกษามีพัฒนาการจนจบกระบวนการ
(4) นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เห็นสมควรที่จะให้เรื่องการแต่งเครื่องแบบเป็นวาระแห่งชาติ
ตอบ 2
จากข้อความ….. แต่ถ้าจะให้พูดตามเนื้อผ้าแล้วนั้นยูนิฟอร์มใช่ว่าต้องอยู่ในกฎระเบียบที่เคร่งครัดซะทีเดียว แน่นอนที่สุดว่ายุคสมัยย่อมเปลี่ยนไป ความคิดของคนและความเชื่อในอิสรเสรีภาพ เป็นสิ่งสําคัญท่ามกลางสังคมยุคปัจจุบัน ดังนั้นถ้าโป๊เกินไปอาจดูไม่เหมาะสม ส่วนเข้มงวดเกินไป อาจเป็นการบังคับ ผมว่าเจอกันตรงกลางน่าจะเหมาะสมมากกว่า จึงพอสรุปได้ว่า ยูนิฟอร์มสามารถเปลี่ยนเป็นแฟชั่นได้ แต่ต้องมีมาตรฐานเหมาะสมต่อคนส่วนมาก
86. ยูนิฟอร์มมีความสําคัญต่อองค์กรหรือสถาบันต่าง ๆ ในด้านใด
(1) รูปธรรม
(2) ทั้งรูปธรรมและนามธรรม
(3) นามธรรม
(4) เกียรติและศักดิ์ศรี
ตอบ 4
จากข้อความ ยูนิฟอร์มนั้นมีความสําคัญอย่างไรต่อองค์กรหรือสถาบันต่าง ๆ สําหรับตัวผมเองยูนิฟอร์ม คือ เครื่องเเบบที่นําเสนอความเป็นมาตรฐาน กล่าวคือ ผู้ใดที่สวมใส่ยูนิฟอร์มจะทราบกันดีว่าสังกัดกลุ่มใด สถาบันไหน เป็นคนของมหาวิทยาลัยที่ไหน และที่สําคัญคือ เป็นการนําเสนอความเป็นเอกภาพของสถาบันนั้น ๆ ส่วนในด้านสปิริตแล้วนั้นยูนิฟอร์มมีความสัมพันธ์กับศักดิ์ศรี เป็นการให้เกียรติต่อสถาบันที่เราพึ่งพาอาศัย
87. สิ่งใดที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย
(1) แฟชั่น
(2) ค่านิยม
(3) ธรรมเนียมนิยม
(4) ความคิดและความเชื่อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ
88. สิ่งที่เป็นปัญหาต่อการแก้ไขเรื่องการแต่งเครื่องแบบคืออะไร
(1) วัยของนักศึกษาและกระแสแฟชั่น
(2) การไม่มีกฎหมายมารองรับ
(3) ความไม่เด็ดขาดของสถาบัน
(4) ความเป็นทุนนิยมและความไม่เข้มงวด
ตอบ 4
จากข้อความ… นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ค่านิยมของการแต่งชุดนักศึกษาที่วาบหวิวนั้นทางสถาบันการศึกษาทั้งหลายต่างพยายามปรับเปลี่ยน ส่งเสริมให้นักศึกษาแต่งกายให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น แต่ปัญหาคือควบคุมไม่ได้เพราะสถาบันไม่เข้มงวด สถาบันบางแห่งก็มีความเป็นทุนนิยมมากเกินไป
89. ข้อใดเป็นคําทับศัพท์ทั้งหมด
(1) ฟรี แฟชั่น ยูนิฟอร์ม
(2) โป๊ ฟิต รัดติ้ว
(3) จี้ ปล้น วิ่งราว
(4) เอกภาพ สถิติ สถาบัน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 84. ประกอบ
90. ข้อความใดเหมาะสมที่จะเป็นข้อสรุปของข้อความดังกล่าว
(1) เกียรติและศักดิ์ศรีย่อมอยู่ที่สถาบัน
(2) เครื่องแบบที่ถูกต้องทุกสังคมย่อมยอมรับ
(3) การแต่งกายที่งดงามย่อมเป็นไปตามกฎระเบียบ
(4) เคารพตนเอง เคารพสถาบัน พร้อมใจกันแต่งกายให้สุภาพ
ตอบ 4 ข้อความที่เหมาะสมจะเป็นข้อสรุปของข้อความที่ให้อ่านทั้งหมด คือ เคารพตนเอง เคารพสถาบันพร้อมใจกันแต่งกายให้สุภาพ เพราะการที่เราไม่ได้ให้เกียรติยูนิฟอร์มอาจทําให้คนอื่นเขามองว่าเราไม่ให้เกียรติต่อตนเองและสถาบันการศึกษาที่เราสังกัดอยู่
91. ข้อใดมีคําที่สะกดถูกขนาบคําที่สะกดผิด
(1) ทะเลสาบ สีสัน หยากไย่
(2) ผัดผ่อน สาปแช่ง สิงโต
(3) บังสุกุล รื่นรมย์ ภาพยนตร์
(4) หลับใหล หงษ์ ไอศกรีม
ตอบ 4
คําที่สะกดผิด ได้แก่ หงษ์ ซึ่งที่ถูกต้องคือ หงส์
92. ข้อใดสะกดผิดทุกคํา
(1) ขนมเค้ก นะคะ เสื้อเชิ้ต
(2) มาตราฐาน เบรก ถนนลาดยาง
(3) ขนมคุ้กกี้ ล็อกประตู รสชาด
(4) เสื้อเชิ้ต ทะเลสาบ เกร็ดความรู้
ตอบ 3 คําที่สะกดผิด ได้แก่ มาตราฐาน ขนมคุ้กกี้ ล็อกประตู รสชาด ซึ่งที่ถูกต้องคือ มาตรฐาน ขนมคุกกี้ ล็อกประตู รสชาติ
93. ข้อใดมีคําที่สะกดถูกสลับกับคําที่สะกดผิด
(1) คํานวณ เข็ญใจ ข้นแค้น เกร็ดความรู้
(2) ขะมักเขม้น ซ่าหริ่ม เหลวไหล หลุดลุ่ย
(3) ลําไย เหม็นสาบ หลุมพราง รู้เท่าไม่ถึงการณ์
(4) ต้มโคล้ง ลาดยางถนน ผัดวันประกันพรุ่ง จตุรัส
ตอบ 4 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ลาดยางถนน จตุรัส ซึ่งที่ถูกต้องคือ ถนนลาดยาง จัตุรัส
94. ข้อใดเขียนประโยคได้ถูกต้อง
(1) ฉันไปซื้อของกับเพื่อนที่ตลาด
(2) ฉันกับเพื่อนไปซื้อของที่ตลาด
(3) ฉันไปซื้อของที่ตลาดกับเพื่อน
(4) ที่ตลาดฉันไปซื้อของกับเพื่อน
ตอบ 2
การเรียงลําดับประโยคให้ถูกที่ คือ การวางประธาน กริยา กรรม และส่วนขยายให้ตรงตามตําแหน่ง เพราะหากวางไม่ถูกที่จะทําให้ข้อความนั้นไม่ชัดเจน หรือมีความหมาย
ไม่ตรงกับที่เราต้องการ ซึ่งตัวอย่างการเขียนประโยคที่เรียงลําดับได้ถูกต้อง เช่น ฉันกับเพื่อนไปซื้อของที่ตลาด (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเรียงลําดับประโยคไม่ถูกต้อง)
95. ข้อใดเขียนคําถูกทุกคํา
(1) กะเพรา รื่นรมย์ ไม่ไยดี แมงกะพรุน
(2) กระทันหัน พลัดพราก เจ็กลากรถ พังทะลาย
(3) ลมหวล กงศุล เครื่องยนต์ ลายเซ็น
(4) กระโหลก เพทภัย ริดรอน กะทัดรัด
ตอบ 1
คําที่สะกดผิด ได้แก่ กระทันหัน เจ็กลากรถ ฟังทะลาย ลมหวน กงศุล นางสาว กระโหลก เพทภัย ริดรอน
ซึ่งที่ถูกต้องคือ กะทันหัน เจ๊กลากรถ พังทลาย ลมหวน กงสุล กะโหลก เภทภัย ลิดรอน
ข้อ 96, – 98, ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม
(1) อุ้มชู เป็นแพะรับบาป แพแตก
(2) แกะดํา ไข่ในหิน ฆ้องปากแตก
(3) คว่ำบาตร ดินพอกหางหมู รักวัวให้ผูกรักลูกให้ดี
(4) ชักใบให้เรือเสีย จุดไต้ตําตอ ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก
96. ข้อใดเป็นคําพังเพยทั้งหมด
ตอบ 4
ข้อแตกต่างของสํานวน คําพังเพย และสุภาษิต มีดังนี้
1. สํานวน หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นอย่างกะทัดรัด ใช้คําน้อยแต่กินความหมายมากและเป็นความหมายโดยนัยหรือโดยเปรียบเทียบ เช่น แพะรับบาป (คนที่รับเคราะห์กรรม แทนผู้อื่นที่ทํากรรมนั้น), แพแตก (ครอบครัวที่แตกแยกย้ายกันไปเพราะหัวหน้าครอบครัว ประสบความวิบัติหรือเสียชีวิต), แกะดํา (คนที่ทําอะไรผิดเพื่อนฝูงในกลุ่ม), ไข่ในหิน (ของที่ต้องระมัดระวังทะนุถนอมอย่างยิ่ง), ฆ้องปากแตก (ปากโป้ง เก็บความลับไม่อยู่),คว่ำบาตร (ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย) เป็นต้น
2. คําพังเพย หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อตีความ สรุปเหตุการณ์ สภาวการณ์ บุคลิกและอารมณ์ให้เข้ากับเรื่อง มีความหมายกลาง ๆ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่แฝงคติเตือนใจ ให้นําไปปฏิบัติหรือไม่ให้นําไปปฏิบัติ เช่น ดินพอกหางหมู (ที่คั่งค้างพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ), ชักใบให้เรือเสีย (ทูดหรือทําขวาง ๆ ให้การสนทนาหรือการงานเขวออกนอกเรื่องไป), จุดไต้ตําตอ (พูดหรือทําสิ่งใดบังเอิญไปโดนเอาผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่องโดยไม่รู้ตัว), ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก (ทําการใหญ่ไม่ควรตระหนี่) เป็นต้น
3. สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อสั่งสอนโดยตรง ซึ่งอาจเป็นคติ ข้อติติง คําจูงใจหรือคําห้าม และเนื้อความที่สั่งสอนก็เป็นความจริง เป็นความดีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี (รักสิ่งใดก็ต้องระวังสิ่งนั้นให้ดี อย่าปล่อยตามใจ มิฉะนั้นจะต้อง เสียใจภายหลัง) เป็นต้น ส่วนคําว่า “อุ้มชู” เป็นคํากริยา หมายถึง ประคับประคอง)
97. ข้อใดเป็นสํานวนทั้งหมด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 96. ประกอบ
98. ข้อใดเรียงลําดับถูกต้องตั้งแต่สํานวน คําพังเพย และสุภาษิต
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 96. ประกอบ
99. “หมาในรางหญ้า” มีความหมายตรงกับข้อใด
(1) คนที่ลอบทําร้ายผู้อื่น
(2) คนที่ทําตัวเข้าด้วยทั้งสองฝ่าย
(3) คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่ง แต่ไม่กล้าจริง
(4) คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้
ตอบ 4
หมาในรางหญ้า = คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้
100. “เนื้อเต่ายำเต่า” มีความหมายตรงกับข้อใด
(1) กล่าวสั่งสอนไม่รู้จักหยุด
(2) ดูเหมือนถี่ถ้วน แต่ไม่ถี่ถ้วนจริง
(3) นําผลกําไรหรือดอกเบี้ยไปลงทุนต่อไป
(4) แสวงหาผลประโยชน์โดยไม่ต้องลงทุน
ตอบ 3
เนื้อเต่ายำเต่า = นําเอาทรัพย์สินส่วนที่เป็นกําไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุนต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม
101. “เรื่องที่ไม่พอใจพูดกันแล้วก็ให้จบ ๆ กันไป เธอจะไปทําให้มันมีเรื่องมีราวขึ้นมาอีกทําไม เหมือนกับ 2 คําโบราณเขาว่าแท้ ๆ”
(1) ปลูกเรือนคร่อมตอ
(2) ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง
(3) ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า
(4) บนข้าวผี ตีข้าวพระ
ตอบ 2
ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง = พยายามทําให้มีเรื่องมีราวขึ้นมา (ส่วนปลูกเรือนคร่อมตอ = กระทําสิ่งที่ล่วงล้ำ ก้าวก่าย หรือทับสิทธิของผู้อื่น, ข่มเขาโคขึ้นให้กินหญ้า = บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทําตาม ที่ตนต้องการ, บนข้าวผี ตีข้าวพระ = ขอร้องให้ผีสางเทวดาช่วยเหลือโดยจะแก้บนเมื่อประสบผลสําเร็จแล้ว)
102. ข้อใดใช้คําถูกต้อง
(1) เธอมีกริยามารยาทดี
(2) เกษรของดอกไม้นี้นําไปปลูกได้
(3) ฉันชอบกินปลากระพงนึ่งมะนาว
(4) แม่กําลังขลิบลูกไม้ที่ชายกระโปรง
ตอบ 4
คําว่า “ขลิบ” = เย็บหุ้มริมผ้าและของอื่น ๆ เพื่อกันลุ่ยหรือเพื่อให้งาม (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นใช้คําผิด จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น เธอมีกิริยามารยาทดี, เกสรของดอกไม้นี้นําไปปลูกได้,ฉันชอบกินปลากะพงนึ่งมะนาว)
103. ข้อใดใช้คําถูกต้อง
(1) นําไม้ลวกไปลวกน้ำร้อน
(2) คนงานกําลังขุดรอกคูคลอง ก็เห็นงูกําลังลอกคราบ
(3) เราไม่ควรร่วงล้ำเข้าไปเก็บของที่ร่วงหล่นในบ้านคนอื่น
(4) เขานําลวดมากั้น แล้วบอกว่าค่าผ่านประตู 10 บาทรวด
ตอบ 4 คําว่า “ลวด” = โลหะที่เอามารีดเป็นเส้น และ “รวด” = เสมอเท่ากันหมด (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นใช้คําผิด จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น นําไม้รวกไปลวกน้ำร้อน, คนงานกําลังขุดลอกคูคลอง ก็เห็นงูกําลังลอกคราบ, เราไม่ควรล่วงล้ำเข้าไปเก็บของที่ร่วงหล่นในบ้านคนอื่น)
104. ขอบผ้ามีด้าย………………ออกมา นุ่งดี ๆ นะเดี๋ยวจะหลุด………………..
(1) รุ่ย ลุ่ย
(2) ลุ่ย รุ่ย
(3) ลุย ลุ่ย
(4) ปุย ปุย
ตอบ 1
คําว่า “รุ่ย” = หลุดออกจากที่เดิมทีละเล็กทีละน้อย เช่น ด้ายชายผ้ารุ่ยไปทีละเส้นสองเส้น,
“หลุดลุ่ย” = คลายตัวหลุดเลือนไปจากสภาพเดิม เช่น เสื้อผ้าหลุดลุ่ย (ส่วนคําว่า “ลุ่ย” =เลือนหลุดจากที่เพราะคลายตัวไม่แน่นเหมือนเดิม)
105. เขารีบวิ่งพรวด……..เข้ามาในห้อง จนชนถูกคนที่ยืนเอามือ…….หลัง
(1) พาด ไพ่
(2) พลาด ไพล่
(3) พราด ไพ่
(4) พราด ไพล่
ตอบ 4
คําว่า “พรวดพราด” = อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ยับยั้ง, “ไพล่” = ไขว้ เช่น เอามือไพล่หลัง (ส่วนคําว่า “ พาด” = ก่าย, “ไพ่” = เครื่องเล่นการพนันชนิดหนึ่ง ทําด้วยกระดาษค่อนข้างแข็งหรือพลาสติก, “พลาด” = ไม่ตรงที่หมายในลักษณะเพลี่ยงไป เลี่ยงไป)
106. เขาถูกต่อยจนเลือด………ปาก พอกลับถึงบ้านแม่ก็…….ใส่เขาทันที
(1) กบ เกรี้ยวกราด
(2) กรบ เกรี้ยวกราด
(3) กลบ เกลี้ยวกลาด
(4) กลบ เกรี้ยวกราด
ตอบ 1
คําว่า “กบ” = เต็มมาก เต็มแน่น เช่น ข้าวกบหม้อ เลือดกบปาก, “เกรี้ยวกราด” = การแสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวอย่างรุนแรงด้วยความโกรธ (ส่วนคําว่า “กรบ” = เครื่องแทง ปลา ทําด้วยไม้ 3 อัน มัดติดกัน, “กลบ” = กิริยาที่เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง,“เกลี้ยวกลาด” เป็นคําที่เขียนผิด)
107. เด็กวัยรุ่นคนที่หน้าแดง………คนนั้นแหละเป็นคนลั่น……..ปืนใสนักเรียน
(1) ก่ำ ไกร
(2) ก่ำ ไก
(3) กล่ำ ไก
(4) กร่ำ ไก
ตอบ 2
คําว่า “ก่ำ” = สุกใส เข้ม จัด (มักใช้กับสีแดงหรือทองที่สุก) เช่น หน้าแดงก่ำ, “ไก” – ที่สําหรับเหนี่ยวให้ลูกกระสุนลั่นออกไป เช่น ไกปืน ไกหน้าไม้ (ส่วนคําว่า “ไกร” = ยิ่ง มาก ใหญ่ เก่ง, “กล่ำ” = เครื่องที่ใช้ดักปลาชนิดหนึ่ง, “กร่ำ” – ใช้ประกอบกับอาการเมา เช่น เมาเหล้าว่าเมากร่ำ)
108. เขาชอบ………วันประกันพรุ่ง วันนี้ก็……….ผ่อนการชําระหนี้อีกแล้ว
(1) ผัด ผัด
(2) ผัด ผลัด
(3) ผลัด ผัด
(4) ผลัด ผลัด
ตอบ 1
คําว่า “ผัดวันประกันพรุ่ง” = ขอเลื่อนเวลาออกไปครั้งแล้วครั้งเล่า, “ผัดผ่อน” = ผัดพอให้ทุเลา หรือหย่อนคลายลง ส่วนคําว่า “ผลัด” = เปลี่ยนแทนที่ เช่น ผลัดเสื้อผ้า ผลัดเวร ผลัดใบ ผลัดขน)
109. การศึกษายุค……ต้องสร้างคนให้มี……กว้างไกล
(1) โลกาภิวัตน์ วิสัยทัศน์
(2) โลกาภิวัฒน์ วิสัยทัศน์
(3) โลกาภิวัฒน์ โลกทัศน์
(4) โลกาภิวัตน์ ทัศนวิสัย
ตอบ 1 คําว่า “โลกาภิวัตน์” การแพร่กระจายไปทั่วโลก, “วิสัยทัศน์” = การมองการณ์ไกล (ส่วนคําว่า“โลกาภิวัฒน์” เป็นคําที่เขียนผิด, “โลกทัศน์” = การมองโลก การรู้จักโลก, “ทัศนวิสัย” = ระยะทางไกลที่สุด ซึ่งสามารถมองเห็นวัตถุด้วยตาเปล่าและบอกได้ว่าวัตถุนั้นเป็นอะไร)
110. กํานัน……..เงินจากชาวบ้าน เพื่อสร้างศาลา………
(1) เรี่ยราย การเปลียญ
(2) เรี่ยราย การเปรียญ
(3) เรี่ยไร การเปรียญ
(4) เรี่ยไร การเปลียญ
ตอบ 3
คําว่า “เรี่ยไร” = ขอร้องให้ช่วยออกเงินทําบุญตามสมัครใจ, “ศาลาการเปรียญ” – ศาลาวัด สําหรับพระสงฆ์แสดงธรรม (ส่วนคําว่า “เรี่ยราย” = กระจายเกลื่อนไป, “การเปลียญ” เป็นคํา ที่เขียนผิด)
111. ข้อใดเขียนคําถูกต้อง
(1) ฉันฝันเห็นเครื่องรางของขลังเป็นภาพราง ๆ
(2) เขาชอบกินหมูกระทะกับข้าวผัดกระเพราไก่
(3) วันนี้เขาถวายบาตรแด่พระภิกษุที่มาบิณฑบาตร
(4) ปีนี้น้องอายุครบเบญจเพศ เธอกลัวอาเพสจะเกิดขึ้น
ตอบ 1 คําที่สะกดผิด ได้แก่ กระเพรา บิณฑบาตร เบญจเพศ อาเพส ซึ่งที่ถูกต้องคือ กะเพรา บิณฑบาต เบญจเพส อาเพศ
112. “ฉันไปซื้อผักผลไม้ที่ตลาดสดหลายอย่าง” ประโยคนี้ไม่ถูกต้องเพราะเหตุใด (1) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(2) วางส่วนขยายผิดที่
(3) ใช้คํากํากวม
(4) ใช้สํานวนต่างประเทศ
ตอบ 2
(ดูคําอธิบายข้อ 94. ประกอบ) ประโยคข้างต้นเรียงลําดับประโยคไม่ถูกต้องเพราะวางส่วนขยายผิดที่ จึงควรแก้ไขเป็น ฉันไปซื้อผักผลไม้หลายอย่างที่ตลาดสด
113. “การจราจรในกรุงเทพฯ แน่นหนามาก” ประโยคนี้ไม่ถูกต้องเพราะเหตุใด
(1) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(2) ใช้คํากํากวม
(3) ใช้คําไม่ตรงความหมาย
(4) ใช้คําที่มีความหมายขัดแย้งกัน
ตอบ 3
การใช้คําในการพูดและเขียนจะต้องรู้จักเลือกคํามาใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม คือ จะต้องมีความรู้ว่าคําที่จะนํามาใช้นั้นมีความหมายอย่างไร ใช้แล้วเหมาะสม ไม่ผิดความหมาย และจะเป็นที่เข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้งเพียงไร เช่น การจราจรในกรุงเทพฯ แน่นหนามาก (ใช้คําไม่ตรงความหมาย) จึงควรแก้ไขเป็น การจราจรในกรุงเทพฯ หนาแน่นมาก (คําว่า “หนาแน่น” = คับคั่ง แออัด ส่วนคําว่า “แน่นหนา” – มั่นคง แข็งแรง)
114. “ฉันไม่รู้จะตอบแทนเขาอย่างไรดี” ประโยคนี้ไม่ถูกต้องเพราะเหตุใด
(1) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(2) ใช้คํากํากวม
(3) วางส่วนขยายผิดที่
(4) ใช้สํานวนต่างประเทศ
ตอบ 2
การใช้คําที่มีความหมายหลายอย่างจะต้องคํานึงถึงถ้อยคําแวดล้อมด้วยเพื่อให้เกิดความแจ่มชัด ไม่กํากวม เพราะคําชนิดนี้ต้องอาศัยถ้อยคําซึ่งแวดล้อมอยู่เป็น เครื่องช่วยกําหนดความหมาย เช่น ฉันไม่รู้จะตอบแทนเขาอย่างไรดี (ใช้คํากํากวม) จึงควร แก้ไขให้มีความหมายแน่ชัดลงไปเป็น ฉันไม่รู้จะตอบคําถามแทนเขาอย่างไรดี/ฉันไม่รู้จะตอบแทนบุญคุณเขาอย่างไรดี
115. “ผู้ประท้วงภายใต้การนําของเกษตรกร” ประโยคนี้ไม่ถูกต้องเพราะเหตุใด (1) ประโยคไม่มีเอกภาพ
(2) วางส่วนขยายผิดที่
(3) ใช้คําไม่ตรงความหมาย
(4) ใช้สํานวนต่างประเทศ
ตอบ 4
การใช้คําตามแบบภาษาไทย คือ การให้ข้อความที่ผูกขึ้นมีลักษณะเป็นภาษาไทย ไม่เลียนแบบภาษาต่างประเทศ ซึ่งจะทําให้ข้อความกะทัดรัด เข้าใจง่าย และ ไม่เคอะเขิน เช่น ผู้ประท้วงภายใต้การนําของเกษตรกร (ใช้สํานวนต่างประเทศ) จึงควรแก้ไขเป็น เกษตรกรเป็นผู้นําการประท้วง
116. “ห้องเรียนที่เต็มไปด้วยนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์” ประโยคนี้ไม่ถูกต้องเพราะเหตุใด
(1) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(2) ใช้คํากํากวม
(3) วางส่วนขยายผิดที่
(4) ใช้คําฟุ่มเฟือย
ตอบ 1
(ดูคําอธิบายข้อ 115. ประกอบ) ประโยคข้างต้นไม่ถูกต้องเพราะใช้สํานวนต่างประเทศ(ซึ่งก็คือ เต็มไปด้วย) จึงควรแก้ไขเป็น นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์อยู่เต็มห้องเรียน
117. “บัณฑิตผู้มีความรู้และความคิดไม่พึงขาดสติ” ประโยคนี้ไม่ถูกต้องเพราะเหตุใด
(1) ประโยคไม่มีเอกภาพ
(2) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(3) วางส่วนขยายผิดที่
(4) ใช้สํานวนต่างประเทศ
ตอบ 1
การจํากัดความให้ประโยคมีเอกภาพ คือ การใช้ประโยคหรือข้อความซ้อนกันต้องให้ใจความมีความเกี่ยวข้องหรือเป็นเหตุเป็นผลกัน ไม่ควรให้กระจัดกระจายไปเป็นคนละเรื่อง หากใจความใดไม่สัมพันธ์กันก็ควรแยกออกเป็นคนละข้อความเสียเลย เช่น บัณฑิตผู้มีความรู้และความคิดไม่พึงขาดสติ (ประโยคไม่มีเอกภาพ) จึงควรแก้ไขเป็น บัณฑิตผู้มีความรู้และความคิดพึงมีสติ
118. “เรื่องนี้ฉันได้ยินมากับหู ได้เห็นมากับตาตัวเอง” ประโยคนี้ไม่ถูกต้องเพราะเหตุใด
(1) ประโยคไม่สมบูรณ์
(2) ประโยคกํากวม
(3) เรียงคําในประโยคผิด
(4) ประโยคที่ใช้คําฟุ่มเฟือย
ตอบ 4
การใช้คําฟุ่มเฟือยหรือการใช้คําที่ไม่จําเป็น จะทําให้คําโดยรวมไม่มีน้ำหนักและข้อความก็จะขาดความหนักแน่น ไม่กระชับรัดกุม เพราะเป็นคําที่ไม่มีความหมาย อะไร แม้ตัดออกไปก็ไม่ได้ทําให้ความหมายของข้อความนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่กลับทําให้ดูรุงรัง ยิ่งขึ้น เช่น เรื่องนี้ฉันได้ยินมากับหู ได้เห็นมากับตาตัวเอง (ใช้คําฟุ่มเฟือย) จึงควรแก้ไขเป็น เรื่องนี้ฉันได้ยิน ได้เห็นมา (คําว่า “ได้ยิน” = รับรู้เสียงด้วยหู ส่วนคําว่า “ได้เห็น” = รับรู้ภาพด้วยตา)
119. ข้อความใดใช้คําว่า “ถูก” ได้ถูกต้อง
(1) เพลงนี้ถูกขอมามากในรายการ
(2) ฉันถูกหัวหน้าว่าทํางานไม่เรียบร้อย
(3) หนังสือถูกยืมไปแล้วตั้งแต่เมื่อวานนี้
(4) น้ำถูกทําให้เย็นด้วยการนําไปแช่ตู้เย็น
ตอบ 2
ในภาษาไทยไม่นิยมใช้คํากริยา “ถูก” แสดงกรรมวาจก นอกจากจะใช้ในเรื่องไม่ดีเท่านั้น เช่น ฉันถูกหัวหน้าว่าทํางานไม่เรียบร้อย ฯลฯ หากเป็นเรื่องดีมักจะละ คํากริยา “ถูก” ไว้ หรือไม่ก็ใช้คําอื่นหรือเปลี่ยนรูปประโยคเป็นอย่างอื่นไป (ส่วนตัวเลือก ข้ออื่นใช้คํากริยา “ถูก” ไม่ถูกต้อง จึงควรแก้ไขเป็น เพลงนี้มีผู้ขอมามากในรายการ/หนังสือมีคนยืมไปแล้วตั้งแต่เมื่อวานนี้ น้ำเย็นเพราะนําไปแช่ตู้เย็น)
120. ข้อใดเป็นประโยคไม่ฟุ่มเฟือย
(1) เขาได้รับความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง
(2) ธนาคารเปิดทําการเวลา 9.00 น.
(3) โปรดกรุณาตรวจสิ่งของก่อนลุก
(4) วันเพ็ญวันพระจันทร์เต็มดวง
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 118. ประกอบ) ประโยค “ธนาคารเปิดทําการเวลา 9.00 น.” ไม่ฟุ่มเฟือยเพราะคําว่า “เปิดทําการ” = เปิดทํางาน (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นประโยคฟุ่มเฟือย จึงควรแก้ไขเป็น เขาเสียใจเป็นอย่างยิ่ง/โปรดตรวจสิ่งของก่อนลุก/วันเพ็ญ)