การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา THA 1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. ข้อใดสะท้อนลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดดชัดเจนที่สุด
(1) หล่อนเดินทอดน่องริมชายหาด
(2) เขาดื่มโค้กหมดแล้ว
(3) ย่าทําต้มยํากุ้งหลายหม้อ
(4) หนุ่มขับรถเร็วเกินไป
ตอบ 3
ลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดด มีดังนี้
1. คําแต่ละคําต้องออกเสียงพยางค์เดียว และอาจเป็นคําควบกล้ำก็ได้ 2. ต้องเป็นภาษาไทย เท่านั้น ไม่ใช่คํายืมจากภาษาอื่น 3. มีตัวสะกดตรงตามมาตรา 4. มีระบบวรรณยุกต์ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคํายืมจากภาษาอังกฤษ = โค้ก (Coke), ภาษาเขมร = เดิน (เฎิร) และมีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา = รถ)
2. ข้อใดมีคําบอกกาล
(1) คําแก้วกําลังกลายเป็นงู
(2) ก๋วยเตี๋ยวชามนี้ใส่พริกสด
(3) นิดฉุนจัดเมื่อมีรถขับปาดหน้า
(4) ทองนั่งหลับหลังห้อง
ตอบ 1
การแสดงกาล คือ การแสดงให้รู้ว่ากริยากระทําเมื่อไร ซึ่งนอกจากจะต้องอาศัยกริยาช่วยเพื่อบอกกาลเวลาที่ต่างกันแล้ว เช่น คําว่า “จะ/กําลังจะ” (บอกอนาคต), “กําลัง/อยู่” (บอกปัจจุบัน), “ได้/แล้ว” (บอกอดีต) ฯลฯ ก็ยังมีคํากริยาวิเศษณ์หรือกริยาบางคําที่ช่วยแสดงกาล โดยอาศัยเหตุการณ์และสภาพแวดล้อม เป็นเครื่องชี้ ดังนี้
1. บอกปัจจุบัน ได้แก่ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ ตอนนี้ วันนี้ ฯลฯ
2. บอกอนาคต ได้แก่ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ ปีหน้า เดือนหน้า ฯลฯ
3. บอกอดีต ได้แก่ เมื่อวานนี้ เมื่อก่อนนี้ เมื่อปีก่อน เพิ่ง มา ฯลฯ
3. ข้อใดไม่มีคําบอกพจน์
(1) เพื่อน ๆ พี่หลับกันหมดแล้ว
(2) หนูดีร้องเพลงเพราะเหลือเกิน
(3) ฝูงแกะกําลังถูกตอนขน
(4) ลิลลี่ชอบซื้อทองหนัก 2 บาท
ตอบ 3
การแสดงพจน์ (จํานวน) มีอยู่หลายวิธี แต่ก็ต้องดูความหมายของประโยคด้วย ดังนี้ 1. ใช้คําบอกจํานวนหนึ่ง (เอกพจน์) ได้แก่ โสด เดียว หนึ่ง โทน ฯลฯ 2. ใช้คําบอกจํานวนมากกว่าหนึ่ง (พหูพจน์) ได้แก่ คู่/แฝด (จํานวนสองที่กําหนดไว้เป็นชุด), กลุ่ม/ฝูง/ขบวน (มีจํานวนมากกว่าสองขึ้นไป) ฯลฯ นอกจากนี้ยังสามารถใช้คําขยาย ได้แก่ มาก หลาย เหลือ เกิน ฯลฯ, ใช้คําบอกจํานวนนับ ได้แก่ สอง สี ฯลฯ, ใช้คําซ้ำ ได้แก่ เด็ก ๆหนุ่ม ๆ สาว ๆ เพื่อน ๆ ฯลฯ และใช้คําซ้อน ได้แก่ ลูกเด็กเล็กแดง (เด็กเล็ก ๆ หลายคน) ฯลฯ
4. ข้อใดเป็นสระเดี่ยว
(1) เอื้อย
(2) เอื้อม
(3) แอบ
(4) อ้วน
ตอบ 3 เสียงสระในภาษาไทย แบ่งออกได้ดังนี้
1. สระเดี่ยว 18 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 9 เสียง ได้แก่ อะ อิ อี อุ เอะ แอะ เออะ โอะ เอาะ และเสียงยาว 9 เสียง ได้แก่ อา อี คือ อู เอ แอ เออ โอ ออ
2. สระผสม 10 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 5 เสียง ได้แก่ เอียะ เอือะ อัวะ เอา ไอ และเสียงยาว 5 เสียง ได้แก่ เอีย เอื้อ อัว อาว อาย (ยกเว้นคําใดที่ลงท้ายด้วย ย/ว ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระ อาจเป็นได้ทั้งตัวสะกด ย/ว หรือเป็นสระผสม 2 เสียง หรือ 3 เสียงก็ได้)
5. ข้อใดไม่เป็นสระเดี่ยว
(1) ชุด
(2) ใช้
(3) ซ้ำ
(4) เชิญ
ตอบ 2
คําว่า “ใช้” = สระไอ, “ชด” = สระโอะ, “ซ้ำ” = สระอะ, “เชิญ” = สระเออ
6. ข้อใดเป็นสระเดี่ยวเสียงยาว
(1) ตรง
(2) ตน
(3) ตุ่น
(4) ต่อ
ตอบ 4
คําว่า “ต่อ” = สระออ, “ตรง/ตน” – สระโอะ, “ตูน” – สระอุ
7. ข้อใดเป็นสระหน้า
(1) แขก
(2) จับ
(3) กบ
(4) โหด
ตอบ 1
สระเดี่ยวที่จําแนกตามส่วนต่าง ๆ ของลิ้นที่ทําหน้าที่ซึ่งจะต้องมีสภาพของริมฝีปากประกอบด้วย แบ่งออกได้ดังนี้
1.สระกลาง ได้แก่ อา คือ เออ อะ อี เออะ
2. สระหน้า ได้แก่ อี เอ แอ อิ เอะ แอะ
3. สระหลัง ได้แก่ อู โอ ออ อุ โอะ เอาะ (คําว่า “แขก” = สระแอ, “จับ” = สระอะ, “กบ” = สระโอะ, “โหด” = สระโอ)
8. ข้อใดเป็นสระสูง หน้า ริมฝีปากไม่ห่อ เสียงยาว
(1) หู
(2) สี
(3) ท่าน
(4) โรค
ตอบ 2
ดูคําอธิบายข้อ 4. และ 7. ประกอบ) คําว่า “สี” = สระอี ซึ่งเป็นสระเดี๋ยวเสียงยาว และเป็นสระหน้า มีระดับของลิ้นสูง เพราะปลายลิ้นจะกระดกขึ้นเกือบจดเพดานแข็ง แต่ยังไม่จด ทําให้ช่องว่างในปากแคบ เรียกว่า ลักษณะปิด และริมฝีปากไม่ห่อแต่จะแบะออกเป็นรูปยิ้ม
9. ข้อใดไม่มีเสียงสระอู
(1) เขย หัว
(2) คิว นวล
(3) เร็ว ปุ๋ย
(4) เปลว ย้าย
ตอบ 3
คําว่า “เร็ว” ประกอบด้วย เอะ + ว (เอะ + อุ) = เอ็ว, “ปุ๋ย” ประกอบด้วย อุ + ย (อุ + อิ) = อุย (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคําที่มีเสียงสระอู ได้แก่ คําว่า “หัว/นวล” ประกอบด้วย อู + อา = อัว, “เปลว” ประกอบด้วย เอ + ว (เอ + อู) = เอว)
10. ข้อใดไม่เป็นสระผสม
(1) ผล
(2) ขวบ
(3) ปลิว
(4) อ้อย
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) คําว่า “ผล” = สระโอะ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสระผสม ได้แก่ คําว่า “ขวบ” ประกอบด้วย อู + อา = ตัว, “ปลิว” ประกอบด้วย อิ + ว (อิ + อุ) = อิว, “อ้อย” ประกอบด้วย ออ + ย (ออ + อี) = ออย)
11. “คนบนฟ้า สบายดีไหม” จากข้อความไม่ปรากฏสระเสียงใด
(1) โอะ
(2) อะ
(3) อะ + อิ
(4) อา + อิ
ตอบ 4
จากข้อความปรากฏสระดังนี้
1. สระโอะ (คน/บน)
2. สระอา (ฟ้า)
3. สระอะ (สะ)
4. สระอา + ย (อา + อี) = อาย (บาย)
5. สระอี (ดี)
6. สระอะ + ย (อะ + อิ) = ไอ (ไหม)
12. “การรอคอยเขากําลังใกล้จะสิ้นสุด” จากข้อความปรากฏสระผสมเสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) 1 เสียง
(2) 2 เสียง
(3) 3 เสียง
(4) 4 เสียง
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) จากข้อความปรากฏสระผสม 3 เสียง(ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่
1. สระออ + ย (ออ + อี) = ออย (คอย)
2. สระเอา (เขา)
3. สระไอ (ใกล้)
13. พยัญชนะต้นในข้อใดเกิดที่ฐานฟัน
(1) ยม
(2) งม
(3) ดม
(4) ผม
ตอบ 3
พยัญชนะต้นที่จําแนกตามฐานกรณ์ (ที่เกิดหรือที่ตั้ง ของเสียง) แบ่งออกได้ดังนี้
1. ฐานคอ (คอหอย) มี 2 เสียง คือ ห (ฮ) อ
2. ฐานเพดานอ่อน มี 3 เสียง คือ ก ค (ข ฆ) ง
3. ฐานเพดานแข็ง มี 5 เสียง คือ จ ช (ฉ ฌ) ส (ซ ศ ษ) ย (ญ) ร
4. ฐานฟัน มี 5 เสียง คือ ด (ฎ) ต (ภู) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) น (ณ) ล (ฬ)
5. ฐานริมฝีปาก ได้แก่ ริมฝีปากบนกับล่างประกบกัน มี 5 เสียง คือ บ ป พ (ผ ภ) มวและริมฝีปากล่างประกบกับฟันบน มี 1 เสียง คือ ฟ (ฝ)
14. พยัญชนะต้นในข้อใดไม่ใช่ประเภทนาสิก
(1) อ้าง
(2) แน่น
(3) ง่าย
(4) เมฆ
ตอบ 1
พยัญชนะต้นที่จําแนกตามรูปลักษณะของเสียง แบ่งออกได้ดังนี้
1. พยัญชนะระเบิด หรือพยัญชนะกัก ได้แก่ ก ค (ข ฆ) จ ด (ภู) ต (ฎ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) บ ป พ (ผ ภ) อ
2. พยัญชนะนาสิก ได้แก่ งน (ณ) ม
3. พยัญชนะเสียดแทรก ได้แก่ ส (ซ ศ ษ) ฟ (ฝ)
4. พยัญชนะถึงเสียดแทรก ได้แก่ ช (ฉ ฌ)
5. พยัญชนะกึ่งสระ ได้แก่ ย ว
6. พยัญชนะเหลว ได้แก่ รล
7. พยัญชนะเสียงหน้า ได้แก่ ห (ฮ) รวมทั้งพยัญชนะที่มีเสียง ห ผสมอยู่ด้วย ได้แก่ ค (ข) ช (ฉ) ท (ถ) พ (ผ)
15. รูปพยัญชนะไทยลําดับที่ 5 ตรงกับข้อใด
(1) ข
(2) ค
(3) ฆ
(4) ง
ตอบ 2
รูปพยัญชนะไทยลําดับที่ 5 คือ ศ ซึ่งนับเป็นพวกอักษรต่ำ แต่ปัจจุบันนี้เลิกใช้แล้ว
16. “มิตรภาพไม่สําคัญเท่ากับใครมาก่อนมาหลังนะ” จากข้อความไม่ปรากฎพยัญชนะประเภทใด
(1) นํากันมา
(2) เคียงกันมา
(3) ควบกันมา
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4
พยัญชนะคู่ คือ พยัญชนะต้นที่มาด้วยกัน 2 เสียงซึ่งมี 3 ลักษณะดังนี้
1. เคียงกันมา (เรียงพยางค์) คือ แต่ละเสียงจะออกเสียงเต็มเสียง และไม่มีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกัน เช่น มิตรภาพ (มิดตระพาบ), เวทนา (เวดทะนา), พิสดาร (พิดสะดาน), นาคราช (นากคะราด) ฯลฯ
2. นํากันมา (อักษรนํา คือ พยัญชนะตัวหน้ามีอํานาจเหนือพยัญชนะตัวหลัง โดยพยัญชนะตัวหน้าจะออกเสียงเพียงครึ่งเสียง และพยัญชนะตัวหลังก็จะเปลี่ยนเสียงตาม ซึ่งจะออกเสียงเหมือนกับเสียงที่มี ห นํา เช่น หลัง, สยบ (สะหยบ), แหลม, วาสนา (วาดสะหนา), ถลอก (ถะหลอก), อยู่ (หยู่) ฯลฯ
3. ควบกันมา (อักษรควบ) แบ่งออกเป็น อักษรควบกล้ำแท้ หรือเสียงกล้ำกันสนิท เช่น ใคร,กลัว, คลอง ฯลฯ และอักษรควบกล้ำไม่แท้ หรือเสียงกล้ำกันไม่สนิท เช่น แทรก (แซก) ฯลฯ
17. ข้อใดเป็นพยัญชนะคู่ประเภทเดียวกัน
(1) สยบ แหลม
(2) วาสนา เวทนา
(3) ถลอก แทรก
(4) กลัว พิสดาร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ
18. ข้อใดเป็นพยัญชนะเคียงกันมา
(1) โชติช่วง
(2) นาคราช
(3) ใบบัว
(4) ชาติหน้า
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ
19. ข้อใดเป็นพยัญชนะนํากันมา
(1) บุกเบิก
(2) ประกวด
(3) คลอง
(4) อยู่
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ
20. พยัญชนะสะกดในข้อใดไม่ใช่คําเป็น
(1) -ม
(2) -ย
(3) -ด
(4) -ว
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) ลักษณะของคําเป็นกับคําตาย มีดังนี้
1. คําเป็น คือ คําที่สะกดด้วยแม่กง กน กม เกย เกอว และคําที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงยาว รวมทั้งสระอํา ใอ ไอ เอา เพราะออกเสียงเหมือนมีตัวสะกดเป็นแม่กม เกย เกอว)
2. คําตาย คือ คําที่สะกดด้วยแม่กก กด กบ และคําที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงสั้น
21. ข้อใดเป็นคําเป็นทุกคํา
(1) จิตใจ
(2) เจ้าบ้าน
(3) ตะกร้า
(4) เหล็กแหลม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ
22. “ทิวลิปออกดอกบานสะพรั่งเต็มท้องทุ่ง” จากข้อความไม่ปรากฏพยัญชนะสะกดเสียงใด
(1) -ป
(2) -ก
(3) -ง
(4) -บ
ตอบ 1 หน้า พยัญชนะสะกดของไทยจะมีเพียง 8 เสียงเท่านั้น คือ
1. แม่กก ได้แก่ ก ข ค ฆ
2. แม่กด ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส
3. แม่กบ ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ
4. แม่กน ได้แก่ น ณ ร ล ท ญ
5. แม่กง ได้แก่ ง
6. แม่กม ได้แก่ ม
7. แม่เกย ได้แก่ ย
8. แม่เกอว ได้แก่ ว (ส่วนสระอํา (อัม) = แม่กม, สระ ไอ/ไอ (อัย) = แม่เกย, สระเอา (อาว) = แม่เกอว)
23. “น้ำตาลไหม้เกินไปเลยต้องนําไปเททิ้ง แล้วก็ทําใหม่” จากข้อความมีพยัญชนะสะกดเสียง -ย กี่คํา (ไม่นับคําซ้ำ)
(1) 2 คํา
(2) 3 คํา
(3) 4 คํา
(4) 5 คํา
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ) จากข้อความมีพยัญชนะสะกดเสียง ย (แม่เกย) 4 คํา (ไม่นับคําซ้ำ) ได้แก่ 1. ไหม้ 2. ไป 3. เลย 4. ใหม่
24. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ตรงกับคําว่า “เหนื่อย”
(1) ช่าง
(2) ปิ้ง
(3) บ่อย
(4) คลิป
ตอบ 3
เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 5 เสียง 4 รูป คือ เสียงสามัญ (ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ), เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา ซึ่งในคําบางคํา รูปและเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน จึงควรเขียนรูปวรรณยุกต์ให้ถูกต้อง เช่น คําว่า “เหนื่อย” และ “บ่อย” มีเสียงวรรณยุกต์เอกตรงกัน (ส่วนคําว่า “ช่าง/ผึ้ง/คลิป” มีเสียงวรรณยุกต์โท/โท/ตรี)
25. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์สามัญ
(1) กบ
(2) งาม
(3) นัด
(4) ขวาน
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ) คําว่า “งาม” มีเสียงวรรณยุกต์สามัญ ส่วนคําว่า “กบ/นัด/ขวาน” มีเสียงวรรณยุกต์เอก/ตรี/จัตวา)
26. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ตรี
(1) ถ่าน
(2) เชื่อม
(3) หล่อน
(4) ล้ำ
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ) คําว่า “ล้ำ” มีเสียงวรรณยุกต์ตรี (ส่วนคําว่า “ถ่าน/เชื่อม/หล่อน”มีเสียงวรรณยุกต์เอกโท/เอก)
27 ข้อใดมีเสียงวรรณยกต์เหมือนกัน
(1) น้ำโค้ก
(2) น้ำเต้า
(3) น้ำตก
(4) น้ำตา
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ) คําว่า “น้ำโค้ก” มีเสียงวรรณยุกต์ตรีเหมือนกัน (ส่วนคําว่า “น้ำ/เต้า” = ตรี/โท, “น้ำ/ตก” – ตรี/เอก, “น้ำ/ตา” = ตรี/สามัญ)
28. “หมดเขตวันไหนคะ” จากข้อความไม่ปรากฎวรรณยุกต์เสียงใด
(1) สามัญ
(2) เอก
(3) โท
(4) ตรี
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ) จากข้อความปรากฏเสียงวรรณยุกต์ ดังนี้
1. เสียงเอก = หมด เขต
2. เสียงสามัญ = วัน
3. เสียงจัตวา = ไหน
4. เสียงตรี = คะ
29. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ต่างจากพวก
(1) หอบ
(2) รอบ
(3) สอบ
(4) จอบ
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ) คําว่า “รอบ” มีเสียงวรรณยุกต์โท (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีเสียงวรรณยุกต์เอกทั้งหมด)
30. “คนข้างหลังมักเล่นไลน์เสมอ” จากข้อความข้อใดกล่าวถูก
(1) มีเสียงวรรณยุกต์ไม่ครบ 5 เสียง
(2) มีเสียงวรรณยุกต์เอกน้อยที่สุด
(3) มีเสียงวรรณยุกต์เอกและตรีที่มี 1 เสียง
(4) มีเสียงวรรณยุกต์โทมากที่สุด
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ) จากข้อความปรากฏเสียงวรรณยุกต์ ดังนี้
1. เสียงสามัญ = คน ไลน์ 2. เสียงโท = ข้าง เล่น 3. เสียงจัตวา = หลัง เหมอ
4 เสียงตรี = มัก 5. เสียงเอก = สะ
31. ข้อใดเป็นความหมายแฝงที่เคลื่อนไปมาแบบสับสน
(1) กรู
(2) รุม
(3) ไหว
(4) ขวักไขว่
ตอบ 4
ความหมายแฝงที่บอกการเคลื่อนไหวไปมาแบบสับสน ได้แก่ ขวักไขว่ (เดินไปบ้างมาบ้าง), พลุกพล่าน (ขวักไขว่ เกะกะ), สับสน (ไปบ้างมาบ้างปะปนกันยุ่ง), สวน (ไปบ้างมาบ้างในทางที่ตรงข้ามกัน) ฯลฯ
32. ข้อใดสะท้อนลักษณะการแยกเสียงแยกความหมาย
(1) ฟาดฟัน
(2) แจ้ง-แล้ง
(3) แมว-แก้ว
(4) บ้านเรือน
ตอบ 1
การแยกเสียงแยกความหมาย คือ การเปลี่ยนแปลงเสียงในคําบางคําที่มีความหมายหลายอย่างให้แตกต่างกันบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนว่าคํานั้น มีความหมายว่าอย่างไรในที่นั้น ๆ โดยความหมายย่อยและที่ใช้อาจจะแตกต่างกัน ได้แก่ คําว่า “ฟาดฟัน” (พยัญชนะตัวสะกดต่างกัน “แม่กด” กับ “แม่กน”) คือ เอาอาวุธเหวี่ยงลงไปเช่นเดียวกัน แต่ “ฟาด” มักใช้ทางแบนของอาวุธหวดเหวี่ยงลงไป ส่วน “ฟัน” นั้นใช้ทางคมหวด
33. คําที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดไม่ใช่คําซ้ำ
(1) เด็ก ๆ ไปโรงเรียน
(2) คํา ๆ เดียวมีหลายความหมาย
(3) ชมเดินอยู่ริม ๆ หาด
(4) เขาชอบดื่มน้ำชาร้อน ๆ
ตอบ 2
คําซ้ำ คือ คําคําเดียวกันที่นํามากล่าว 2 ครั้ง เพื่อให้มีความหมายเน้นหนักขึ้น หรือเพื่อให้มีความหมายต่างจากคําเดียว ซึ่งวิธีการสร้างคําซ้ำก็ เหมือนกับการสร้างคําซ้อน แต่ใช้คําคําเดียวมาซ้อนกันโดยมีเครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) กํากับ เช่น เด็ก ๆ ไปโรงเรียน (ซ้ำคํานามแสดงพหูพจน์), ชมเดินอยู่ริม ๆ หาด (ซ้ำคําบุรพบท ใช้ขยายกริยาบอกความเน้น), เขาชอบดื่มน้ำชาร้อน ๆ (ซ้ำคําขยายแสดงความไม่เจาะจง) ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้อ 2 ไม่ใช่คําซ้ำ เพราะเป็นคําที่พูดติดต่อเป็นความเดียวกัน จึงไม่ควรใช้ไม้ยมก)
34. ข้อใดไม่เป็นคําซ้อน
(1) จบสิ้น
(2) หมดสิ้น
(3) สิ้นสูญ
(4) สิ้นใจ
ตอบ 4
คําซ้อน คือ คําเดี่ยว 2, 4 หรือ 6 คํา ที่มีความหมายหรือมีเสียงใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทํานองเดียวกัน ซ้อนเข้าด้วยกันเพื่อทําให้เกิดคําใหม่ ที่มีความหมายใหม่ขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. คําซ้อนเพื่อความหมาย มุ่งที่ความหมายเป็นสําคัญ) ซึ่งอาจเป็นคําไทยซ้อนเข้าด้วยกัน เช่น จบสิ้น, หมดสิ้น, ดูดดื่ม, ทิ่มแทง, กักตุน, ทดแทน, ว่ากล่าว, แก่เฒ่า ฯลฯ หรืออาจเป็น คําไทยซ้อนกับคําภาษาอื่นก็ได้ เช่น สิ้นสูญ (ไทย + บาลีสันสกฤต) ฯลฯ
2. คําซ้อนเพื่อเสียง (มุ่งที่เสียงเป็นสําคัญ) เช่น ขึงขัง (อี + อะ), มัวเมา (อัว + เอา) ฯลฯ(ส่วนคําว่า “สิ้นใจ” = ขาดใจ ตาย เป็นคําประสม)
35. “ความทรงจําอันดูดดื่มของเรายังคงทิ่มแทงอยู่ในอกของฉันอยู่เสมอ” จากข้อความมีคําซ้อนกี่คํา
(1) 0 คํา
(2) 1 คํา
(3) 2 คํา
(4) 3 คํา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ
36. “เธอกักตุนเสบียงอาหารไว้ให้ใคร” จากข้อความมีคําซ้อนกี่คํา
(1) 1 คํา
(2) 2 คํา
(3) 3 คํา
(4) 4 คํา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ
37. ข้อใดเป็นคําประสม
(1) ลูกน้อง
(2) ทดแทน
(3) ว่ากล่าว
(4) แก่เฒ่า
ตอบ 1
คําประสม คือ คําตั้งแต่ 2 คําขึ้นไปมาประสมเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้คําใหม่ที่มีความหมายใหม่มาใช้ในภาษา ซึ่งความหมายสําคัญจะอยู่ที่คําต้น (คําตัวตั้ง) ส่วนที่ตามมาเป็นคําขยาย ซึ่งไม่ใช่คําที่ขยายคําต้นจริง ๆ แต่จะช่วยให้คําทั้งคํามีความหมายจํากัด เป็นนัยเดียว เช่น ลูกน้อง, นักเรียน, กุ้งเผา, น้ำฝน, บ้านเช่า, ของกิน, ของฝาก, ของนอก ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําซ้อน) (ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ)
38. คําประสมในข้อใดประกอบด้วยคํานามกับคํานาม
(1) นักเรียน
(2) กุ้งเผา
(3) น้ำฝน
(4) บ้านเช่า
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 37. ประกอบ) คําว่า “น้ำฝน” (คํานาม + คํานาม) = น้ำที่ตกลงมาจากเมฆเป็นเม็ด ๆ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําประสมที่ประกอบด้วยคํานามกับคํากริยา)
39. ข้อใดไม่เป็นคําประสม
(1) ของกิน
(2) ของฝาก
(3) ของนอก
(4) ของเธอ
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 37. ประกอบ) คําว่า “ของเธอ” ไม่เป็นคําประสม แต่เป็นคําเดี่ยวเรียงกัน
40. “นกสองหัวอย่างหล่อนคงไม่มีที่ยืนในสังคม” จากข้อความมีคําประสมกี่คํา
(1) 1 คํา
(2) 2 คํา
(3) 3 คํา
(4) 4 คํา
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 37. ประกอบ) จากข้อความมีคําประสม 2 คํา ได้แก่
1. นกสองหัว (คนที่ทําตัวฝักใฝ่เข้าด้วยทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งไม่เป็นมิตรกัน โดยหวังผลประโยชน์เพื่อตน)
2. ที่ยืน (พื้นที่หรือตําแหน่งที่สังคมให้การยอมรับ)
41. ข้อใดเป็นคําอุปสรรคชนิดกร่อนเสียงทั้ง 2 คํา
(1) กระดุม กระเดือก
(2) ระเริง ระรื่น
(3) ระคน ระคาย
(4) สมสู่ สมรู้
ตอบ 2
อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียง เป็นคําที่กร่อนเสียงพยางค์ต้นให้เป็นเสียง “อะ” ได้แก่
1. “มะ” ที่นําหน้าชื่อไม้ผล ไม่ใช้ไม้ผล และหน้าคําบอกกําหนดวัน เช่น หมากม่วง -มะม่วง,หมากนาว – มะนาว, หมากพร้าว – มะพร้าว, เมื่อรีน – มะรืน
2. “ตะ” นําหน้าชื่อสัตว์ ต้นไม้ และคําที่มีลักษณะคล้ายตา เช่น ตาปู – ตะปู,ตาราง – ตะราง, ต้นไคร้ – ตะไคร้, ต้นขบ – ตะขบ, ตัวเข้ – ตะเข้
3. “สะ” เช่น สายคือ – สะดือ, สาวใภ้ – สะใภ้ – สายดึง – สะดึง
4. “ฉะ” เช่น ฉันนั้น – ฉะนั้น, ฉันนี้ – ฉะนี้, เฉื่อย ๆ – ฉะเฉื่อย, ฉาด ๆ – ฉะฉาด
5. “ยะ/ระ/ละ” เช่น ยิบ ๆ ยับ ๆ – ยะยิบยะยับ, รื่น ๆ – ระรื่น, เริง ๆ – ระเริง, เลาะ ๆ – ละเลาะ
6. “อะ” เช่น อันไร/อันใด อะไร, อันหนึ่ง – อนึ่ง ส่วนคําอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามนี้ ได้แก่ ผู้ญาณ + พยาน, ชาตา – ชะตา, ช้าพลู – ชะพลู,เฌอเอม – ชะเอม, ชีผ้าขาว – ชีปะขาว เป็นต้น
42. “ลูกสะใภ้ท่าทางกระโดกกระเดกเดินถือตุ๊กกะตาหน้าตากระจุ๋มกระจิ๋ม”
ข้อใดเรียงลําดับคําอุปสรรคเทียมในประโยคนี้จากหน้าไปหลังได้ถูกต้อง
(1) กร่อนเสียง แบ่งคําผิด เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกัน เทียบแนวเทียบผิด
(2) กร่อนเสียง แบ่งคําผิด เทียบแนวเทียบผิด เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกัน
(3) กร่อนเสียง เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกัน แบ่งคําผิด เทียบแนวเทียบผิด
(4) กร่อนเสียง เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกัน เทียบแนวเทียบผิด แบ่งคําผิด
ตอบ 3
คําอุปสรรคเทียมในประโยคนี้เรียงลําดับจากหน้าไปหลังได้ดังนี้
1. คําอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียง ได้แก่ สะใภ้ (ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ)
2. คําอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกัน ได้แก่ โดกเดก – กระโดกกระเดก
3. คําอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการแบ่งคําผิด ได้แก่ ตุ๊กตา – ตุ๊กกะตา
4. คําอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเทียบแนวเทียบผิด ได้แก่ จุ๋มจิ๋ม – กระจุ๋มกระจิ๋ม
43. ข้อใดเป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดเทียบแนวเทียบผิดทั้ง 2 คํา
(1) กระอิดกระเปื้อน กระเสือกกระสน
(2) กระวนกระวาย กระดุกกระดิก
(3) กระเสาะกระแสะ กระดี๊กระด๊า
(4) กระหืดกระหอบ กระอึกกระอัก
ตอบ 3
อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเทียบแนวเทียบผิด คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไปในคําซ้อนเพื่อเสียงที่พยางค์ต้นและพยางค์ท้าย ไม่ได้สะกดด้วย “ก” ซึ่งยึดการใช้อุปสรรคเทียมที่เพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกันมาเป็นแนวเทียบ แต่เป็นการเทียบแนวเทียบผิด เช่น เสาะแสะ – กระเสาะกระแสะ, ดีด้า – กระดึกระด้า, อิดเอื้อน – กระอิดกระเอื้อน, วนวาย + กระวนกระวาย, หืดหอบ > กระหืดกระหอบ ฯลฯ (ส่วนคําอื่น ๆ เป็นอุปสรรคเทียมชนิดเพิ่มเสียงไม่ให้คอนกัน)
44. ข้อใดเป็นคําอุปสรรคที่เลียนแบบภาษาเขมรทั้ง 2 คํา
(1) ปลุก ฉะฉาด
(2) เคลื่อน ตะราง
(3) ประเดี๋ยว มะรืน
(4) สะพรั่ง ระย่อ
ตอบ 4
อุปสรรคเทียมเลียนแบบภาษาเขมร เป็นวิธีการแผลงคําของเขมรที่ใช้นําหน้าคําเพื่อประโยชน์ทางไวยากรณ์ ได้แก่
1. “ชะ/ระ/ปะ/ประ/พะ/สม/สะ” เช่น ชะดีซะร้าย, ระคน, ระคาย, ระย่อ, ปะปน, ปะติดปะต่อ,ประเดี๋ยว, ประท้วง, พะรุงพะรัง, พะเยิบ, สมรู้, สมยอม, สะสาง, สะพรั่ง, สะสวย ฯลฯ
2. ใช้ “ข ค ป ผ พ” มานําหน้าคํานามและกริยาวิเศษณ์ เพื่อให้มีความหมายเป็นการีต แปลว่า “ทําให้” เช่น ขยุกขยิก, ขยิบ, ขี่, ขยํา, เคลื่อน, ปลุก, ปลด, ปละ, ปรุ, ผละ, พรํา ฯลฯ (ส่วนคําอื่น ๆ เป็นอุปสรรคเทียมชนิดกร่อนเสียง) (ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ)
ข้อ 45, 46, จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) อย่าทํานะ
(2) ทําได้ไหม
(3) ทําดีที่สุดแล้ว
(4) ทําอะไรสักอย่างซิ
45. ข้อใดเป็นประโยคขอร้องหรือชักชวน
ตอบ 4
ประโยคขอร้องหรือชักชวน คือ ประโยคที่ผู้พูดต้องการขอร้องหรือชักชวนให้ผู้ฟังทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ตามที่ตนต้องการ ซึ่งการใช้คําพูดนั้นจะคล้ายกับ ประโยคคําสั่งแต่นุ่มนวลกว่า โดยในภาษาเขียนมักจะมีคําว่า “โปรด/กรุณา” อยู่หน้าประโยคส่วนในภาษาพูดนั้นอาจมีคําลงท้ายประโยค ได้แก่ เถอะ เถิด น่ะ นะ หน่อย ซิ ซี ฯลฯ
46. ข้อใดเป็นประโยคคําสั่ง
ตอบ 1
ประโยคคําสั่ง คือ ประโยคที่ต้องการให้ผู้ฟังทําตามคําสั่ง มักละประธานและขึ้นต้นด้วยคํากริยา เช่น ทําเดี๋ยวนี้ แต่ถ้าหากจะมีประธานก็จะระบุชื่อหรือ เน้นตัวบุคคลเพื่อให้คนที่ถูกสั่งรู้ตัว เช่น แดงออกไป นอกจากนี้ประโยคคําสั่งอาจมีกริยาช่วย “อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อสั่งให้ทําหรือไม่ให้ทําก็ได้
47. “แม้ว่าคนจะกลัวผี หากแต่คนก็ชอบเล่าและฟังเรื่องผี และนี่คงเป็นเหตุผลสําคัญประการหนึ่งที่ว่าเพราะเหตุใดความเชื่อเรื่องผีจึงดํารงอยู่ได้จวบจนกระทั่งทุกวันนี้” ประโยคที่ปรากฏในข้อความนี้เน้นหนัก ไปในทางประโยคชนิดใด
(1) ประโยคคําสั่ง
(2) ประโยคขอร้องหรือชักชวน
(3) ประโยคคําถาม
(4) ประโยคบอกเล่า
ตอบ 4
ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่บอกเล่าเรื่องราวตามธรรมดา อาจใช้ในทางตอบรับหรือตอบปฏิเสธก็ได้ นอกจากนี้ประโยคที่มีคําแสดง คําถามว่า “ใคร/อะไร ที่ไหน/เมื่อไหร่/อย่างไร” อาจใช้ในประโยคบอกเล่าได้ หากไม่ได้แสดงความสงสัยหรือไม่ต้องการคําตอบ แต่จะเป็นการกล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ โดยทั่วไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง
ข้อ 48, – 49. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ดําพี่แดงเรียนเก่ง
(2) แดงคือคนที่ผมรู้จัก
(3) แดงชอบทําขนม
(4) แดงอ่านหนังสือการ์ตูน
48. ประโยคในข้อใดมีส่วนขยายกรรม
ตอบ 4
ภาคขยายแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
1. ส่วนขยายประธานหรือผู้กระทํา และส่วนขยายกรรมหรือผู้ถูกกระทํา ซึ่งเรียกว่า คุณศัพท์ เช่น ดําพี่แดงเรียนเก่ง (ขยายประธาน), แดงอ่านหนังสือการ์ตูน/เขาเป็นนักเขียนอารมณ์ดี(ขยายกรรม) เป็นต้น
2. ส่วนขยายกริยา ซึ่งเรียกว่า กริยาวิเศษณ์ อาจมีตําแหน่งอยู่หน้าคํากริยา หรืออยู่หลังคํากริยาก็ได้ เช่น เนาวรัตน์เขียนกลอนเก่ง (ขยายกริยา “เขียน”) เป็นต้น
49. แดงในข้อใดทําหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
ตอบ 2
การแสดงการก หมายถึง ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างคําในประโยค ซึ่งสามารถดูได้จากตําแหน่งของคําที่เรียงกันในประโยค แต่บางกรณีคํานามที่ เป็นประธานหรือกรรมอาจเปลี่ยนที่ไปได้ คือ ประธานไปอยู่หลังกรรม กรรมมาอยู่หน้ากริยา ได้ถ้าต้องการเน้น เช่น ประโยค “แดงคือคนที่ผมรู้จัก” ย้ายกรรม (ในที่นี้คือ แดง) มาไว้ที่ ต้นประโยคหน้าคํากริยา (คือ) และประธาน (ผม) เพื่อต้องการเน้นกรรม (แดง)
50. ในข้อใดมีส่วนขยายกรรม
(1) นักเขียนชอบเขียน
(2) เขาเป็นนักเขียนอารมณ์ดี
(3) เนาวรัตน์เขียนกลอนเก่ง
(4) เนาวรัตน์กวีรัตนโกสินทร์ชอบเขียนกลอน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบประกอบ
51. คํานามในข้อใดที่แสดงเพศเดียวกันชัดเจนที่สุดทั้ง 2 คํา
(1) ป้าองุ่นซื้อเสื้อให้น้าทุเรียน
(2) ลุงสมชายไปพบนายอําเภอ
(3) ทิดบุญมาไปกราบลาสมภารวัด
(4) ตํารวจกําลังสอบสวนผู้ต้องหา
ตอบ 3
คํานามในภาษาไทยบางคําก็แสดงเพศได้ชัดเจนในตัวของมันเอง เช่น คําที่บอกเพศชาย ได้แก่ พ่อ พระ เณร ทิด เขย ชาย หนุ่ม บ่าว ปู ตา ผม สมภาร (พระที่เป็นเจ้าอาวาส) ฯลฯ และคําที่บอกเพศหญิง ได้แก่ แม่ ชี สะใภ้ หญิง สาว นาง ป้า ย่า ยาย ดิฉัน ฯลฯ แต่คําบางคําที่เป็นคํารวมทั้งสองเพศ เช่น พี่ น้อง เด็ก น้า อา ลูก หลาน เพื่อน ฯลฯ เมื่อต้องการแสดงเพศให้ชัดเจนตามแบบภาษาคําโดดจะต้องใช้คําที่ บ่งเพศมาประกอบเข้าข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง หรือประสมกันตามแบบคําประสมบ้าง เช่น พี่สาว น้องชาย เด็กสาว น้าชาย อาหญิง ลูกชาย หลานสาว เพื่อนหญิง เพื่อนชาย ฯลฯ
52. คํานามคําว่า หลัง ในข้อใดทําหน้าที่เป็นคําลักษณนาม
(1) เขาปลูกเรือนที่หลังใคร
(2) หลังเรือนปลูกต้นไม้
(3) เรือนหลังใหญ่
(4) เรือนอยู่หลังบ้าน
ตอบ 3
คํานามที่ทําหน้าที่เป็นคําลักษณนามที่กําหนดไว้เฉพาะ โดยมักใช้ไว้ท้ายคําบอกจํานวนหรือบอกประมาณ เช่น เรือน 2 หลัง ฯลฯ หรือใช้ขยายเป็นคํานามและ คําที่มากับลักษณนามเป็นคุณศัพท์บอกความเฉพาะเจาะจง หรือคุณศัพท์บอกลักษณะเพื่อเน้นความให้แน่นอนขึ้น เช่น เรือนหลังใหญ่ ฯลฯ
53. ข้อใดใช้คํานามแตกต่างจากข้ออื่น ๆ
(1) น้องโทรศัพท์หาพี่
(2) นักเรียนไปพบครู
(3) ป้าช้อยไปเที่ยวกับหลานสาว
(4) น้ามีไปเยี่ยมพ่อ
ตอบ 3
(ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ) คํานามในตัวเลือกข้อ 3 แตกต่างจากข้ออื่น ๆ เพราะแสดงเพศเดียวกันชัดเจน คือ เพศหญิง ได้แก่ ป้า, หลานสาว
ข้อ 54, 55, จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ฉันถามถึงเธอคนนั้น
(2) เธอคนไหนชอบร้องเพลง
(3) เธอกับฉันร้องเพลงคู่กัน
(4) คิดถึงเธอที่อยู่เชียงใหม่
54. ข้อใดมีคําสรรพนามเชื่อมประโยค
ตอบ 4
สรรพนามที่ใช้แทนนามและเชื่อมประโยค ได้แก่ “ที่ ซึ่ง อัน” ซึ่งจะใช้ในรูปประโยคที่มีประโยคเล็กซ้อนกับประโยคใหญ่ และสามารถทําให้คําที่ ตามหลังมาทั้งหมดกลายเป็นคําขยายได้ เช่น คิดถึงเธอที่อยู่เชียงใหม่, ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์, ครูซึ่งใจดีย่อมไม่ดู, ชอบเรื่องที่กล่าวมา, โจรย่ามใจกระทําการอันอุกอาจ ฯลฯ
55. ข้อใดมีคําสรรพนามแสดงความเฉพาะเจาะจง
ตอบ 1
สรรพนามที่แสดงความเฉพาะเจาะจง ได้แก่ “นี้นั้นโน้น นี่ นั่น โน่น” ซึ่งใช้แทนสิ่งที่พูดถึง อะไรก็ได้เพราะไม่ได้ระบุชื่อในขณะนั้น นอกจากนี้ก็ยังมีคําที่ใช้เป็นคําอุทานโดยมาก แต่ละคําก็มีความหมายเฉพาะอย่างหนึ่ง ๆ ต่างกันไป ได้แก่ “นั่นแน่ นั่นแน่ะ นั่นซี นั่นแหละ นี่ซิ นี่แหละ นั่นไง นั่นเป็นไง”
56. ข้อใดมีกรรม
(1) นกร้องเพลง
(2) ฝนตกหนัก
(3) ฝนกําลังตก
(4) คนหัวเราะเสียงดัง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) โครงสร้างประโยคในภาษาไทย แบ่งออกเป็น
1. ประโยค 2 ส่วน คือ ประธาน + กริยา (อาจมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น ฝนตกหนัก, ฝนกําลังตก, คนหัวเราะเสียงดัง ฯลฯ
2. ประโยค
3 ส่วน คือ ประธาน + กริยา + กรรม (อาจมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น นก (ประธาน) ร้อง (กริยา) เพลง (กรรม) ฯลฯ
57. คําว่า มา ในข้อใดเป็นคําบอกกาล
(1) ครูเรียกนักเรียนมาพบ
(2) นักเรียนไปพบครูมา
(3) นักเรียนมากันหลายคน
(4) นักเรียนมาสาย
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ) คําว่า “มา” เป็นคํากริยาช่วยที่บอกกาลได้ คือ บอกอดีตที่ผ่านไปแล้ว ส่วนใหญ่มักวางอยู่หลังกริยาแท้ เช่น นักเรียนไปพบครูมา, เขาไปเที่ยวมา, น้อง ๆ ไปเยี่ยมคุณยายมา ฯลฯ
58. ข้อใดมีกริยาที่บอกให้รู้กาล
(1) ฝนตกน้ำท่วม
(2) ฝนตกหนักมาก
(3) ฝนกําลังตก
(4) ฝนตกแดดออก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ
59. ข้อใดเป็นคํากริยาวิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจง
(1) ทําอะไรไปบ้าง
(2) ทําอะไรเขาจึงหลงใหล
(3) ทําอะไรข้ามหน้าข้ามตา
(4) ไปทําอะไรมาดูสวยขึ้น
ตอบ 3
คํากริยาวิเศษณ์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจงได้แก่ อย่างไร อย่างใด เหตุไร เหตุใด เช่นไร เช่นใด กระไร ทําไม เมื่อไร เมื่อใด เท่าไร เท่าใด อะไร ไหน ฯลฯ ซึ่งคําเหล่านี้จะวางอยู่หลังคํากริยา และมักเป็นคํากลุ่มเดียวกันกับคํากริยา วิเศษณ์บอกคําถาม แต่คํากริยาวิเศษณ์บอกความไม่ชีเฉพาะเจาะจงไม่ได้เป็นการถาม แต่จะ กล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ อย่างลอย ๆ ไม่เจาะจง เช่น อยากทําอะไรก็เชิญ, ทําอะไรข้ามหน้าข้ามตา ฯลฯ(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคํากริยาวิเศษณ์บอกคําถาม)
60. “เขาต้องมาแน่เทียว” ประโยคนี้มีคํากริยาวิเศษณ์ชนิดใด
(1) บอกประมาณ
(2) บอกความแบ่งแยก
(3) บอกความชี้เฉพาะ
(4) บอกความไม่ชี้เฉพาะ
ตอบ 3
คํากริยาวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ ได้แก่ จริง แท้ เทียว แน่เทียว ทีเดียว ดอก หรอก แน่ เฉพาะ ฯลฯ ซึ่งมักวางอยู่หลังคํากริยา
61. ข้อใดเป็นคําคุณศัพท์บอกจํานวนนับไม่ได้
(1) ต่างคนต่างมา
(2) คนนั้นมากับคนนี้
(3) คนไหนที่มากับเธอ
(4) คนทั้งหมดมาด้วยใจรัก
ตอบ 4
คําคุณศัพท์บอกจํานวนนับไม่ได้ (ประมาณคุณศัพท์)หรือคําคุณศัพท์บอกจํานวนประมาณ ได้แก่ มาก น้อย นิด หน่อย ครบ พอ เกิน เหลือ ขาด ถ้วน ครบถ้วน หมด หลาย ทั้งหลาย ทั้งหมด ทั้งสิ้น ทั้งนั้น ทั้ง ฯลฯ
62. “เราใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน” ประโยคนี้ใช้คําบุรพบทชนิดใด
(1) เกี่ยวเนื่องกัน
(2) การให้และการรับ
(3) การเปรียบเทียบ
(4) การแสดงความเป็นเจ้าของ
ตอบ 1 คําบุรพบทที่นําหน้าคําที่เป็นเครื่องประกอบ หรือเครื่องเกี่ยวเนื่องกัน ได้แก่ ทั้ง กับ ฯลฯ เช่น นอนทั้งรองเท้า, อยู่กับญาติ, พูดกับครู, ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ฯลฯ
63. ข้อใดสามารถละบุรพบทได้
(1) เขาเดินลงมาจากระเบียงบ้าน
(2) เขาพูดกับเธอด้วยน้ำเสียงเย็นชา
(3) เขามองออกไปนอกหน้าต่าง
(4) ลมหายใจของเขาติดขัด
ตอบ 4
คําบุรพบทไม่สําคัญมากเท่ากับคํานามคํากริยา และคําวิเศษณ์ ดังนั้นบางแห่งไม่ใช้บุรพบทเลยก็ยังฟังเข้าใจได้ ซึ่งบุรพบทที่อาจละได้ แต่ความหมายยังเหมือนเดิม ได้แก่ ของ แก่ ต่อ สู่ ยัง ที่ บน ฯลฯ เช่น ลมหายใจของเขา ติดขัด – ลมหายใจเขาติดขัด ฯลฯ แต่บุรพบทบางคําก็ละไม่ได้ เพราะละแล้วความจะเสีย ไม่รู้เรื่อง หากจะละบุรพบทได้ก็ต้องดูความในประโยคว่าความหมายต้องไม่เปลี่ยนไปจากเดิม (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นไม่สามารถละบุรพบท “จาก/กับ/นอก” ได้)
64. “อย่างไรก็ดี การจะเรียนรู้ภาษาใดภาษาหนึ่งให้ถ่องแท้ไม่สามารถทําได้ในระยะเวลาอันสั้น” ข้อความที่ยกมานี้มีคําสันธานชนิดใด
(1) เชื่อมความให้ไพเราะสละสลวย
(2) เชื่อมความเปรียบเทียบกัน
(3) เชื่อมความคาดคะเนหรือแบ่งรับแบ่งสู้
(4) เชื่อมความตอนหนึ่งที่ยังกล่าวไม่จบกับตอนที่เริ่มต้นกล่าว
ตอบ 1
คําสันธานที่เชื่อมความให้ได้เนื้อความบริบูรณ์และได้ความไพเราะสละสลวย ได้แก่ อย่างไรก็ดี, อย่างไรก็ตาม, อันว่า, อัน
65. ข้อใดใช้คําสันธานเป็นเหตุเป็นผลกัน
(1) ฝนตกหนักจึงทําให้น้ำท่วมขัง
(2) ถ้าฝนไม่ตกน้ำคงไม่ท่วม
(3) น้ำท่วมทั้ง ๆ ที่ฝนไม่ตก
(4) ฝนตกหนักแต่น้ำไม่ท่วม
ตอบ 1
คําสันธานที่เชื่อมความเป็นเหตุเป็นผลกัน ได้แก่ เพราะ เพราะว่า, ด้วย, ด้วยว่า เหตุว่า, อาศัยที่, ค่าที่, เพราะฉะนั้น ดังนั้น จึง, เลย, เหตุฉะนี้
66. “ถ้าอยากมีร่างกายแข็งแรงต้องหมั่นออกกําลังกาย” ประโยคนี้ใช้คําสันธานชนิดใด
(1) คล้อยตามกัน
(2) แบ่งรับแบ่งสู้
(3) เป็นเหตุเป็นผลกัน
(4) ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ตอบ 2
คําสันธานที่เชื่อมความคาดคะเนหรือแบ่งรับแบ่งสู้ ได้แก่ ถ้า, ถ้าก็, ถ้าจึง, ถ้าหากว่า, แม้แต่, แม้ว่า, เว้นแต่, นอกจาก
67. คําอุทานใดแสดงอารมณ์ตกใจ
(1) บ๊ะ ไอ้นี่
(2) ต๊ายตาย
(3) โธ่ถัง
(4) เออน่า
ตอบ 2
คําอุทาน คือ คําที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ต่าง ๆซึ่งบางคําก็กําหนดไม่ได้ว่าคําไหนใช้แสดงอารมณ์อะไรแน่นอน แล้วแต่การออกเสียงและ สถานการณ์ เช่น คําว่า “บ๊ะ” แสดงอารมณ์ไม่พอใจหรือประหลาดใจ, “เฮ้ย/อุ้ย/อุ้ยตาย/ ตายแล้ว/ตายจริง/ต๊ายตาย” แสดงอารมณ์ตกใจหรือแปลกใจ, “โธ่ถัง/โธ่/โถ” แสดงอารมณ์ เสียใจ, “เออน่ะ/เออน่า” แสดงคํารับอย่างรู้สึกรําคาญ เป็นต้น
68. ข้อใดคือคําลักษณนามของ “เศวตฉัตร”
(1) ฉัตร
(2) องค์
(3) ชั้น
(4) เศวตฉัตร
ตอบ 2
คําลักษณนาม คือ คําที่ตามหลังคําบอกจํานวนนับเพื่อบอกรูปลักษณะและชนิดของคํานามที่อยู่ข้างหน้าคําบอกจํานวนนับ มักจะเป็นคําพยางค์เดียว แต่เป็นคําที่สร้างขึ้นใหม่โดยอาศัยการอุปมาเปรียบเทียบ การเลียนเสียงธรรมชาติ การเทียบ แนวเทียบ และการใช้คําซ้ำกับคํานามนั้นเอง (ในกรณีที่ไม่มีลักษณนามโดยเฉพาะ) เช่นเศวตฉัตร (องค์), สถานี (สถานี), เห็ด/กุญแจ (ดอก), หัวปลี (หัว), หวี (เล่ม), ว่าว (ตัว) เป็นต้น
69. ข้อใดคือคําลักษณนามของ “สถานี”
(1) แห่ง
(2) ที่
(3) หลัง
(4) สถานี
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ
70. คําใดใช้ลักษณนามเดียวกับคําว่า “เห็ด”
(1) กุญแจ
(2) หัวปลี
(3) หวี
(4) ว่าว
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ ข้อ
71. – 80. ให้นักศึกษาเลือกคําราชาศัพท์ที่ถูกต้องเติมในช่องว่าง
ในปีพุทธศักราช 2499 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมี 71. ที่จะเสด็จออก 72. โดย 73. ให้ตั้งการพระราชพิธี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็น 74. และทรงได้รับ 75. ว่า “ภูมิพโล”
สํานักพระราชวังแจ้ง 76. พระราชพิธี 77. 78. 79. (100 วัน) 80. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
71.
(1) ศรัทธา
(2พระศรัทธา
(3) พระราชศรัทธา
(4) พระมหาราชศรัทธา
ตอบ 3
พระราชศรัทธา = ความเชื่อ ความเลื่อมใส (คําว่า “พระราช” ใช้นําหน้าคํานามสามัญที่สําคัญรองลงมาจาก “พระบรม” ซึ่งจะใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์และพระราชินี)
72.
(1) ผนวช
(2) พระผนวช
(3) ทรงผนวช
(4) ทรงพระผนวช
ตอบ 4
ทรงพระผนวช = บวช ใช้กับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า, ทรงผนวช ใช้กับพระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าลงมาจนถึง พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า (คําว่า “ทรงผนวช” เป็นคํายกเว้นที่ใช้ “ทรง” นําหน้าคํากริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เพราะตามปกติห้ามเติมทรงซ้อนราชาศัพท์)
73.
(1) โปรดเกล้า
(2) โปรดเกล้าฯ
(3) พระกรุณาโปรดเกล้าฯ
(4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ตอบ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ = ทรงพระเมตตาและพอพระราชหฤทัย ใช้กับพระมหากษัตริย์
74.
(1) พระมหาราชอุปัชฌายาจารย์
(2) พระราชอุปัชฌายาจารย์
(3) พระอุปัชฌายาจารย์
(4) พระอุปัชฌาย์
ตอบ 2
พระราชอุปัชฌายาจารย์ = พระเถระผู้เป็นประธานการบวชในพระพุทธศาสนา (ในที่นี้สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ให้กับพระมหากษัตริย์ จึงต้องมีคําว่า “พระราช” นําหน้าคํานามสามัญที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต)
75.
(1) นาม
(2) พระนาม
(3) ฉายา
(4) พระฉายา
ตอบ 4
พระฉายา = ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้เป็นภาษาบาลีเมื่ออุปสมบท (ส่วนคําว่า “นาม/ฉายา”ใช้กับสามัญชน, “พระนาม” = ชื่อ ใช้กับพระบรมวงศานุวงศ์)
76.
(1) กําหนด
(2) หมายกําหนด
(3) กําหนดการ
(4) หมายกําหนดการ
ตอบ 4
หมายกําหนดการ = หมายรับสั่งที่ใช้กับงานพระราชพิธีที่มีเอกสารแจ้งกําหนดขั้นตอนของงาน โดยอ้างถึงพระบรมราชโองการ (ส่วนคําว่า “กําหนด” = หมายไว้ ตราไว้, “หมายกําหนด” ไม่มีบัญญัติไว้ในพจนานุกรม, “กําหนดการ” = รายการต่าง ๆ ที่กําหนดไว้ในงานหรือพิธี ใช้กับงานทั่วไปที่พระราชวงศ์ บุคคลสําคัญ ราชการหรือเอกชนจัดขึ้น)
77.
(1) บําเพ็ญ
(2) ทรงบําเพ็ญ
(3) พระราชบําเพ็ญ
(4) ทรงพระราชบําเพ็ญ
ตอบ 2
พระราชพิธีทรงบําเพ็ญพระราชกุศลสตมวาร (100 วัน) ถวายพระบรมศพ = พระราชวงศ์ชั้นสูงทําบุญถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตครบ 100 วัน
78.
(1) กุศล
(2) พระกุศล
(3) พระราชกุศล
(4) พระมหากุศล
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ
79.
(1) สตมวาร
(2) สัตตมวาร
(3) ปัณรสมวาร
(4) ปัญญาสมวาร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ
80.
(1) ถวายพระบรมศพ
(2) ถวายพระศพ
(3) ทรงถวายพระบรมศพ
(4) ทรงถวายพระศพ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ
ข้อ 81 – 91. อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม
จากความใกล้ชิดกับบรรดาพ่อแม่ที่มีลูกโต (7 ปีขึ้นไปถึงวัยรุ่น) นิตยสาร Life & family บ่อยครั้งก็ได้รับเสียงสะท้อนจากพ่อแม่ว่า ลูกยิ่งโตยิ่งได้รับอิทธิพลจากสื่อทั้งทีวี เพลง มิวสิกวิดีโอ นิตยสาร และอื่น ๆ ทําให้ค่านิยมเปลี่ยนไปในทางที่น่าเป็นห่วงโดยเฉพาะลูกสาววัยรุ่น
เราจึงได้นําเสนอประเด็นนี้ในคอลัมน์รู้จักใจลูกวัย 13 ปีขึ้นไปถึงวัยรุ่น เพื่อสะกิดเตือนพ่อแม่ และผู้ใหญ่ให้เห็นอิทธิพลของสื่อเละทางป้องกัน และนํามาส่งสัญญาณเตือนกันอีกครั้ง ณ ที่นี้ค่ะ
สังคมทุกวันนี้ผสมผสานคลุกเคล้าทั้งวัฒนธรรมไทยวัฒนธรรมต่างชาติจนทั้งเด็กผู้ใหญ่ก็สับสนกัน พอสมควร โดยเฉพาะค่านิยมทางเพศ ผู้หญิงกล้าแสดงออกมากขึ้น เปิดเผยมากขึ้น และก็มีเซ็กซ์กันง่ายขึ้นด้วย
มีงานวิจัยออกมามากว่า วัยรุ่นมากกว่าครึ่งยอมรับว่าการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนเป็นเรื่องธรรมดา หรือค่านิยมใหม่นักศึกษาสาวชอบหลอกฟันหนุ่มบําเรอกาม
ค่านิยมเหล่านี้เข้ามาในสังคมบ้านเราในยุคที่เปิดกว้างรับทุกอย่าง โดยไหลผ่านสื่อเข้ามา และความสามารถในการกรองสื่อของเด็กก็เป็นไปแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ
เรื่องนี้คุณหมอสุกมล วิภาวิพลกุล ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเพศศึกษาได้กล่าวว่า ที่น่าห่วงคือ สื่อต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อเด็กและวัยรุ่นในเรื่องของทัศนคติทางเพศ โดยเฉพาะในรูปแบบของโฆษณา ซึ่งสมัยก่อนหญิงชาย จะแตะเนื้อต้องตัวกันไม่ได้ แต่เดี๋ยวนี้ในโฆษณามีภาพการเล้าโลมสัมผัสหรือฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายเริ่มต้นจีบผู้ชาย ซึ่งตรงนี้จะทําให้ทัศนคติของวัยรุ่นค่อย ๆ เปลี่ยนไป ค่อย ๆ ซึมซับ มองเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องธรรมดา
แล้วในขณะที่สื่อพวกนี้มาแรง สื่อทางวัฒนธรรมไทยก็อ่อนกําลังลง คําพูดที่ว่า อย่าชิงสุกก่อนห่าม ให้อดเปรี้ยวไว้กินหวาน หมดความหมายไปแล้ว ความงาม ที่น่าห่วงคือเด็กยังคิดไปไม่ได้ไกล คิดแต่โป๊อีกนิดสิอินเทรนด์ หรือแค่จีบเล่น ๆ ไม่เห็นเป็นไร แต่ยังไม่ทันคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
คุณหมอแนะว่า ต้องสอนลูกวัยรุ่นให้มีความเป็นตัวของตัวเอง รู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง และมีวุฒิภาวะ ซึ่งเป็นความสามารถของสมองส่วนคิดที่มีเหนือกว่าสมองส่วนหยาบ เด็กต้องได้รับการพัฒนา ความสามารถของสมองส่วนคิด ซึ่งเกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ การศึกษาที่โรงเรียน วัฒนธรรม และ สื่อมวลชน
เพราะสิ่งเร้าอารมณ์ทั้งหลายมันกระตุ้นสมองส่วนหยาบ
ดังนั้นพ่อแม่ต้องเลี้ยงดูลูกให้รู้จักควบคุมสมองส่วนหยาบ ถ้าเด็กอยากได้อะไรแล้วได้ทันที รอไม่เป็น จะสอนให้เขาควบคุมในเรื่องเพศได้อย่างไร ฝึกลูกให้มีวิจารณญาณต่อเรื่องต่าง ๆ รอบตัว โดยเฉพาะที่มากับสื่อรายการ และต้องเลี้ยงลูกให้ตระหนักในคุณค่าของตัวเอง ไม่ให้ลูกรู้สึกต่ำต้อยด้อยค่าเพราะเพื่อน ๆ มีแฟนกันหมดแล้วตัวเองไม่มี หรือต้องให้มีผู้ชายมารับเพื่อจะได้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า หรือเกิดผู้ชายทิ้งไปแล้ว รู้สึกคุณค่าในตัวเองลดลงจนต้องฆ่าตัวตาย
ความรักความอบอุ่นของพ่อแม่จะทําให้ลูกรู้สึกตัวเองมีคุณค่า และยิ่งพ่อแม่ทําตัวเป็นเพื่อนกับลูก ลูกก็จะกล้าคุยปรึกษาหารือปัญหาต่าง ๆ กับพ่อแม่ โดยเฉพาะเรื่องเพศ พ่อแม่อาจบอกลูกสาวว่า “ลูกคือ เด็กผู้หญิงที่พ่อแม่รักที่สุดในโลก พ่อแม่จึงอยากให้ลูกรักษาเนื้อรักษาตัว โดยการไม่พาตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง เพราะถ้าลูกเป็นอะไรไปคุณพ่อคุณแม่หัวใจแตกสลาย”
และกับลูกชายอาจบอกว่า “ลูกคือเด็กหนุ่มที่พ่อแม่ภาคภูมิใจ เพราะฉะนั้นจึงอยากให้ลูกตั้งใจ เรียนเพื่อรับผิดชอบตัวเองและสามารถรับผิดชอบคนที่จะมาใช้ชีวิตคู่ร่วมกันกับเราได้ รักพี่สาว รักคุณแม่ อย่างไรเราต้องให้เกียรติสุภาพสตรีคนอื่นเช่นเดียวกัน”
เราสามารถใช้สื่อต่าง ๆ เป็นตัวจุดชนวนเปิดประเด็นที่จะคุยกับลูก แล้วฟังเขา หรือฉวยโอกาส สอน เช่น เมื่อมีฉากกอดจูบ เราอาจบอกลูกสาวว่าการกอดจูบเป็นวัฒนธรรมต่างประเทศ เราไม่กอดกัน เพราะว่าเราเป็นเมืองร้อน แล้วเราก็ไม่จูบกันเพราะว่าคนไทยกินอาหารรสจัด แล้วก็แลกเปลี่ยนความคิดกัน
หากลูกมองเห็นคุณค่าในตัวเอง และมีวิจารณญาณกับเรื่องต่าง ๆ รอบตัวแล้ว แม้สิ่งเร้า ภายนอกจะแรงแค่ไหนก็ไหวได้แค่กิ่งใบ ไม่สามารถหักกลางลําได้แน่ค่ะ
(จากเรื่อง วัยรุ่นหญิงไทยใจกล้า เกินงาม)? คอลัมน์ Life & Family หนังสือพิมพ์มติชน)
81. สิ่งใดมีผลต่อค่านิยมที่เปลี่ยนไปของวัยรุ่น
(1) การศึกษาขั้นพื้นฐาน
(2) การศึกษาในระดับอุดมศึกษา
(3) สังคมวัตถุนิยม
(4) ความสามารถในการกรองสื่อ
ตอบ 4 จากข้อความ ลูกยิ่งโตยิ่งได้รับอิทธิพลจากสื่อทั้งทีวี เพลง มิวสิกวิดีโอ นิตยสาร และอื่น ๆทําให้ค่านิยมเปลี่ยนไปในทางที่น่าเป็นห่วงโดยเฉพาะลูกสาววัยรุ่น ค่านิยมเหล่านี้เข้ามาในสังคมบ้านเราในยุคที่เปิดกว้างรับทุกอย่าง โดยไหลผ่านสื่อเข้ามา และความสามารถในการกรองสื่อของเด็กก็เป็นไปแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ
82. สังคมที่คลุกเคล้าวัฒนธรรมมีผลเชิงลบต่อกลุ่มใด
(1) เด็ก
(2) เยาวชน
(3) ผู้ใหญ่
(4) ทุกกลุ่ม
ตอบ 4 จากข้อความ สังคมทุกวันนี้ผสมผสานคลุกเคล้าทั้งวัฒนธรรมไทยวัฒนธรรมต่างชาติจนทั้งเด็กผู้ใหญ่ก็สับสนกันพอสมควร โดยเฉพาะค่านิยมทางเพศ ผู้หญิงกล้าแสดงออกมากขึ้นเปิดเผยมากขึ้น และก็มีเซ็กซ์กันง่ายขึ้นด้วย
83. ความสามารถในการกรองสื่อ หมายถึงลักษณะใด
(1) การวิจารณ์
(2) การวิเคราะห์
(3) การประเมิน
(4) การประมาณ
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ) ความสามารถในการกรองสื่อ หมายถึง การรู้จักวิเคราะห์ใคร่ครวญ กลั่นกรองเนื้อหาของสื่อต่าง ๆ เพื่อแยกแยะค่านิยมที่ดี-ไม่ดีให้ถ่องแท้
84. สิ่งใดมีผลต่อพฤติกรรมที่สมควรของวัยรุ่น
(1) สติ
(2) ความรู้
(3) การคิดเป็น
(4) ความสามารถในการรับรู้
ตอบ 3 จากข้อความ เด็กต้องได้รับการพัฒนาความสามารถของสมองส่วนคิด ซึ่งเกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ การศึกษาที่โรงเรียน วัฒนธรรม และสื่อมวลชน (สมองส่วนคิดในที่นี้คือ การคิดเป็น ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมที่สมควรของวัยรุ่น)
85. เราควรทําอย่างไรกับสมองส่วนหยาบ
(1) จํากัด
(2) กําจัด
(3) พัฒนา
(4) ฝึกทักษะ
ตอบ 1 จากข้อความ เพราะสิ่งเร้าอารมณ์ทั้งหลายมันกระตุ้นสมองส่วนหยาบ ดังนั้นพ่อแม่ต้องเลี้ยงดูลูกให้รู้จักควบคุมสมองส่วนหยาบ ถ้าเด็กอยากได้อะไรแล้วได้ทันที รอไม่เป็น จะสอนให้เขาควบคุม ในเรื่องเพศได้อย่างไร… (การควบคุมสมองส่วนหยาบในที่นี้คือ การกํากับดูแลหรือจํากัดความสามารถของสมองส่วนหยาบไม่ให้เหนือกว่าสมองส่วนคิด)
86. ผู้ที่ทําร้ายจนถึงขั้นทําลายตนเองได้เกิดจากอะไร
(1) สังคมกดดัน
(2) พ่อแม่บีบคั้น
(3) ความรู้สึกว่าตนด้อยค่า
(4) การไม่รักตนเอง
ตอบ 3 จากข้อความ และต้องเลี้ยงลูกให้ตระหนักในคุณค่าของตัวเอง ไม่ให้ลูกรู้สึกต่ำต้อยด้อยค่า เพราะเพื่อน ๆ มีแฟนกันหมดแล้วตัวเองไม่มี หรือต้องให้มีผู้ชายมารับเพื่อจะได้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า หรือเกิดผู้ชายทิ้งไปแล้วรู้สึกคุณค่าในตัวเองลดลงจนต้องฆ่าตัวตาย
87. ข้อใดตรงกับข้อสรุปของข้อความที่ให้อ่าน
(1) เลี้ยงลูกให้ถูกวิธีจะปิดกั้นอิทธิพลลบจากสื่อได้เด็ดขาด
(2) วัยรุ่นอาจหวั่นไหวด้วยอิทธิพลจากสื่อได้บ้าง แต่การเลี้ยงดูที่ถูกต้องจะป้องกันได้ (3) สื่อในทางผิด ๆ และวัฒนธรรมไทยที่อ่อนแอลงมีผลต่อพฤติกรรมวัยรุ่นอย่างไม่มีทางป้องกัน
(4) การแก้ไขพฤติกรรมวัยรุ่นเป็นเรื่องสายเกินแก้เสียแล้ว
ตอบ 2
จากข้อความ หากลูกมองเห็นคุณค่าในตัวเอง และมีวิจารณญาณกับเรื่องต่าง ๆ รอบตัวแล้ว แม้สิ่งเร้าภายนอกจะแรงแค่ไหนก็ไหวได้แค่กิ่งใบ ไม่สามารถหักกลางลําได้แน่ค่ะ
88. ข้อความที่ให้อ่านจัดเป็นวรรณกรรมประเภทใด
(1) ข่าว
(2) บทความ
(3) บทอภิปราย
(4) เรื่องสั้น
ตอบ 2
บทความ คือ งานเขียนที่มีการนําเสนอข้อมูลที่ได้มาจากเอกสารทางวิชาการหรือผลงานการวิจัย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นเพื่อให้ข้อมูลหรือให้ความรู้ และมีการสรุปให้เห็นความสําคัญของเรื่อง พร้อมทั้งเสนอข้อคิดให้ผู้อ่านนําไปพิจารณา
89. แนวเรื่องเป็นไปในลักษณะใด
(1) ให้ข้อมูล
(2) แสดงทัศนะ
(3) วิพากษ์วิจารณ์
(4) ให้ข้อมูลและแสดงทัศนะ
ตอบ 4
แนวเรื่อง คือ จุดประสงค์ของผู้เขียนในเรื่องนี้จะเป็นไปในลักษณะของการให้ข้อมูลและแสดงทัศนะหรือความคิดเห็นไปพร้อม ๆ กัน
90. โวหารการเขียนเป็นแบบใด
(1) บรรยาย
(2) อธิบาย
(3) พรรณนา
(4) อภิปราย
ตอบ 2
โวหารเชิงอธิบาย คือ โวหารที่ใช้ในการชี้แจงเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ซึ่งเป็นการให้ความรู้หรือข้อมูลเพียงด้านเดียว อาจจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบก็ได้ โดยมีการชี้แจงแสดงเหตุและผล การยกตัวอย่างประกอบ การเปรียบเทียบ และการจําแนกแจกแจง เช่น การอธิบายกฎเกณฑ์ ทฤษฎี และวิธีการต่าง ๆ
91. ท่วงทํานองเขียนเป็นแบบใด
(1) กระชับรัดกุม
(2) เรียบง่ายใช้ภาษาพูดปะปน
(3) สละสลวยสื่อภาพพจน์
(4) มีภาษาต่างประเทศปนอยู่
ตอบ 2
ผู้เขียนใช้ท่วงทํานองเขียนแบบเรียบง่าย คือ ท่วงทํานองเขียนที่ใช้คําง่ายๆชัดเจน การผูกประโยคไม่ซับซ้อน ทําให้อ่านง่ายและเข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาขบคิดมากนัก แต่จะมีการใช้ภาษาพูดปะปนบ้างในบางย่อหน้า
92. ข้อใดมีคําที่สะกดถูกนําคําที่สะกดผิด
(1) สาปแช่ง ผัดเวร เบญจเพศ
(2) สังเกตุ กระเพรา สิงห์โต
(3) วัยเยาว์ จัดสรร กระเพาะ
(4) บังสกุล บิณฑบาตร เหม็นสาบ
ตอบ 1 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ผัดเวร เบญจเพศ สังเกตุ กระเพรา สิงห์โต บังสกุลซึ่งที่ถูกต้องคือ ผลัดเวร เบญจเพส สังเกต กะเพรา สิงโต บังสุกุล
93. ข้อใดสะกดถูกทุกคํา
(1) แค็ตตาล็อก เคาน์เตอร์ เครดิท
(2) เคลิบเคลื้อม ล็อคล้อ บังสกุล
(3) กะทัดรัด เดียรัจฉาน ไดโนเสาร์
(4) คํากิริยา คําวิเศษณ์ ผลัดวันประกันพรุ่ง
ตอบ 3 คําที่สะกดผิด ได้แก่ เครดิท เคลิบเคลื้อม ล็อคล้อ บังสกุล คํากริยา ผัดวันประกันพรุ่ง ซึ่งที่ถูกต้องคือ เครดิต เคลิบเคลิ้ม ล็อกล้อ บังสุกุล คํากริยา ผัดวันประกันพรุ่ง
94. ข้อใดสะกดผิดทุกคํา
(1) ลิขสิทธิ์ ลิงโลด ลําเลิก
(2) ลิปสติก ลิฟต์ โลดลิ่ว
(3) โลกาภิวัฒน์ ลําใย กระทันหัน
(4) ไล่เลียง ไล่เลี่ย ผัดหนี้
ตอบ 3
คําที่สะกดผิด ได้แก่ โลกาภิวัฒน์ ลําใย กระทันหัน ซึ่งที่ถูกต้องคือ โลกาภิวัตน์ ลําไย กะทันหัน
95. ข้อใดมีคําที่สะกดถูกขนาบคําที่สะกดผิด
(1) ออกซิเจน เบรก เต็นท์
(2) กงศุล เทคนิค ไนต์คลับ
(3) ไอศกรีม คอนเสิร์ต สปาเกตตี
(4) โควตา โน๊ตบุ๊ก ช็อกโกแลต
ตอบ 4
คําที่สะกดผิด ได้แก่ กงศุล โน๊ตบุ๊ก ซึ่งที่ถูกต้องคือ กงสุล โน้ตบุ๊ก
96. ข้อใดมีคําที่สะกดถูกสลับกับคําที่สะกดผิด
(1) อนุญาติ ผาสุข กะเพรา เผอเรอ
(2) คลินิก จตุรัส เกล็ดปลา ภาพยนต์
(3) ลายเซ็นต์ ปิคนิค มาตราฐาน ละเอียดละออ
(4) สีสัน รื่นรมย์ โลกาภิวัตน์ ขะมักเขม้น
ตอบ 2
คําที่สะกดผิด ได้แก่ อนุญาติ ผาสุข จตุรัส ภาพยนต์ ลายเซ็นต์ ปิคนิค มาตราฐาน ละเอียดละออ ซึ่งที่ถูกต้องคือ อนุญาต ผาสุก จัตุรัส ภาพยนตร์ ลายเซ็น ปิกนิก มาตรฐาน ละเอียดลออ
ข้อ 97. – 100. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม
(1) ร้อนอาสน์ นกสองหัว ฆ้องปากแตก
(2) ดีดลูกคิดรางแก้ว ชิงสุกก่อนห่าม ปิ้งปลาประชดแมว
(3) ชั่วนาตาปี ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก
(4) น้ำขึ้นให้รีบตัก หมากัดอย่ากัดตอบ รักดีหามชั่ว รักชั่วหามเสา
97. ข้อใดมีแต่สํานวน
ตอบ 1
ข้อแตกต่างของสํานวน คําพังเพย และสุภาษิต มีดังนี้
1. สํานวน หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นอย่างกะทัดรัด ใช้คําน้อยแต่กินความหมายมากและเป็นความหมายโดยนัยหรือโดยเปรียบเทียบ เช่น ร้อนอาสน์ (มีเรื่องเดือดร้อนทําให้ อยู่เฉยไม่ได้), นกสองหัว (คนที่ทําตัวฝักใฝ่เข้าด้วยทั้ง 2 ฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรกัน โดยหวังเพื่อประโยชน์ตน), ฆ้องปากแตก (ปากโป้ง เก็บความลับไม่อยู่), ชั่วนาตาปี (ตลอดปี) เป็นต้น
2. คําพังเพย หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อตีความ สรุปเหตุการณ์ สภาวการณ์ บุคลิกและอารมณ์ให้เข้ากับเรื่อง มีความหมายกลาง ๆ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่แฝงคติเตือนใจ ให้นําไปปฏิบัติหรือไม่ให้นําไปปฏิบัติ เช่น ดีดลูกคิดรางแก้ว (คิดถึงผลที่จะได้อยู่ทางเดียว), ชิงสุกก่อนห่าม (ทําสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน), ปิ้งปลาประชดแมว (ทําประชดหรือแดกดัน ซึ่งรังแต่จะเสียประโยชน์), ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก (ทําการใหญ่ไม่ควรตระหนี่) เป็นต้น
3. สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อสั่งสอนโดยตรง ซึ่งอาจเป็นคติ ข้อติติง คําจูงใจ หรือคําห้าม และเนื้อความที่สั่งสอนก็เป็นความจริง เป็นความดีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก (แม้ไม่พอใจก็ควรแสดงสีหน้ายิ้มแย้ม), น้ำขึ้นให้รีบตัก (มีโอกาสดี ควรรีบทํา), หมากัดอย่ากัดตอบ (อย่าลดตัวลงไปต่อสู้หรือต่อปากต่อคํากับคนพาลหรือ คนที่มีศักดิ์ต่ำกว่า), รักดีหามชั่ว รักชั่วหามเสา (ใฝ่ดีมีความสุขความเจริญ ใฝ่ชั่วก็จะได้รับ ความลําบาก) เป็นต้น
98. ข้อใดมีแต่คําพังเพย
ตอบ 2
ดูคําอธิบายข้อ 97. ประกอบ
99. ข้อใดเป็นสุภาษิตทั้งหมด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 97. ประกอบ
100. ข้อใดเรียงลําดับถูกต้องตั้งแต่สํานวน คําพังเพย และสุภาษิต
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 97. ประกอบ
101. ข้อใดมีความหมายว่า “คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่งแต่ไม่กล้าจริง”
(1) หมาในรางหญ้า
(2) หมาเห่าใบตองแห้ง
(3) เอามือซุกหีบ
(4) ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
ตอบ 2
หมาเห่าใบตองแห้ง = คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่งแต่ไม่กล้าจริง (ส่วนหมาในรางหญ้า =คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้, เอามือซุกหีบ = หาเรื่องเดือดร้อนหรือความลําบากใส่ตัวโดยใช่ที่, ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก = ดีแต่พูดแต่ทําไม่ได้)
102. ข้อใดมีความหมายว่า “ทํางานไม่ประสานกัน”
(1) พายเรือทวนน้ำ
(2) พายเรือในอ่าง
(3) พายเรือคนละที
(4) พายเรือในหนอง
ตอบ 3
พายเรือคนละที่ = ทํางานไม่ประสานกัน (ส่วนพายเรือทวนน้ำ = ทําด้วยความยากลําบาก พายเรือในอ่าง/พายเรือในหนอง = คิด ทํา หรือพูดวกวนกลับไปกลับมา)
103. “น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ” มีความหมายตรงกับข้อใด
(1) อย่าขวางผู้ที่มีอํานาจหรือผู้ที่กําลังโกรธจัด
(2) อย่าพูดหรือทําขวาง ๆ ให้งานเขวออกนอกเรื่อง
(3) อย่าทําอะไรที่ไม่ถูกต้องในทํานองคลองธรรม
(4) อย่าทําอะไรที่ไม่ถูกวิธีอาจทําให้ได้รับความลําบาก
ตอบ 1
น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ = อย่าขัดขวางผู้ที่มีอํานาจหรือผู้ที่กําลังโกรธจัด
104. ตํารวจ…………ไม่ให้ประชาชนเข้าไปในที่เกิดเหตุไฟไหม้
(1) กัน
(2) กั้น
(3) กีดกัน
(4) กีดกั้น
ตอบ 1
คําว่า “กัน” = กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น (ส่วนคําว่า “กั้น”= กีดขวางหรือทําสิ่งกีดขวางเพื่อบัง คั่น หรือกันไว้ไม่ให้เข้ามา, “กีดกัน” = กันไม่ให้ทําได้โดยสะดวก, “กีดกั้น” – ขัดขวางไว้)
105. อาการที่กินของพร่ำเพรื่อทีละเล็กทีละน้อย เรียกว่า
(1) กินจุกจิก
(2) กินจุกกินจิก
(3) กินจุบกินจิบ
(4) กินกระจุกกระจิก
ตอบ 3
คําว่า “จุบจิบ/กินจุบกินจิบ” = อาการที่กินของพร่ำเพรื่อทีละเล็กทีละน้อย(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)
106. ผู้ใหญ่บ้าน……. เงินสร้างศาลา
(1) เรี่ยไร การเปรียน
(2) เรี่ยราย การเปรียน
(3) เรี่ยไร การเปรียญ
(4) เรี่ยราย การเปรียญ
ตอบ 3
คําว่า “เรี่ยไร” = ขอร้องให้ช่วยออกเงินทําบุญตามสมัครใจ, “ศาลาการเปรียญ” = ศาลาวัดสําหรับพระสงฆ์แสดงธรรม (ส่วนคําว่า “เรี่ยราย” = กระจายเกลื่อนไป, “การเปรียน” เป็นคําที่เขียนผิด)
107. เจ้าหน้าที่กําลัง………เพื่อทํา…………
(1) ลาดยางถนน ถนนลาดยาง
(2) ราดยางถนน ถนนราดยาง
(3) ลาดยางถนน ถนนราดยาง
(4) ราดยางถนน ถนนลาดยาง
ตอบ 4
คําว่า “ราดยางถนน” = อาการที่เทยางมะตอยที่ผสมกับหินหรือทรายให้กระจายแผ่ไปหรือให้เรี่ยรายไปทั่วเพื่อทําถนน, “ถนนลาดยาง” = ใช้เรียกถนนที่ปูผิวจราจรด้วยยางมะตอยผสม กับหินหรือทราย (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)
108. ฉันจะรีบไป…….แต่งหน้า…….เดี๋ยวจะได้มากับเธอ
(1) ผลัดแป้ง ผลัดเปลี่ยน
(2) ผลัดแป้ง ผัดเปลี่ยน
(3) ผัดแป้ง ผลัดเปลี่ยน
(4) ผัดแป้ง ผลัดเปลี่ยน
ตอบ 4
คําว่า “ผัดแป้ง/ผัดหน้า” = เอาแป้งลูบที่หน้าเพื่อให้หน้านวล, “ผลัดเปลี่ยน” = ผลัดกันประจําหน้าที่ เช่น ผลัดเปลี่ยนเวรยาม (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)
109. มี………เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการขอด……….มาเล่าให้ฟัง
(1) เกร็ด เกล็ดปลา
(2) เกร็ด เกร็ดปลา
(3) เกล็ด เกล็ดปลา
(4) เกล็ด เกร็ดปลา
ตอบ 1
คําว่า “เกร็ด” = ส่วนย่อยหรือส่วนเบ็ดเตล็ด ซึ่งเป็นเรื่องสนุกหรือน่าสนใจที่เล่าหรือเขียนถึงเหตุการณ์สั้น ๆ “เกล็ดปลา” = ส่วนที่เป็นแผ่น ๆ ซ้อนเหลื่อมกันห่อหุ้มตัวปลา(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)
110. เขามีรูปร่างสูง……….มีฐานะดี คุณสมบัติ……….ทุกอย่าง
(1) เพียว เพียบพร้อม
(2) เพียว เพรียบพร้อม
(3) เพรียว เพียบพร้อม
(4) เพรียว เพรียบพร้อม
ตอบ 3
คําว่า “เพรียว” = เปรียว ฉลวย เรียว เช่น รูปร่างสูงเพรียว, “เพียบพร้อม” = เต็มเปี่ยมครบทุกอย่าง (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)
111. วันนี้ฝนตก…….ข้าว…….. คงสดชื่นขึ้นมาได้
(1) ปรอย ๆ นาปรัง
(2) ปอย ๆ นาปรัง
(3) ปรอย ๆ นาปลัง
(4) บ่อย ๆ นาปลัง
ตอบ 1
คําว่า “ปรอย ๆ” = ที่ตกเป็นระยะ ๆ ไม่หนาเม็ด (ใช้กับฝน) เช่น ฝนตกปรอย ๆ, “นาปรัง” = นาที่ทําในฤดูแล้งนอกฤดูทํานา (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)
ข้อ 112. – 114. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม
(1) ใช้คํากํากวม
(2) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(3) ใช้คําผิดความหมาย
(4) ใช้สํานวนต่างประเทศ
112. “เพลงนี้ถูกขอมามากในรายการ ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 4
การใช้คําตามแบบภาษาไทย คือ การให้ข้อความที่ผูกขึ้นมีลักษณะเป็นภาษาไทย ไม่เลียนแบบภาษาต่างประเทศ ซึ่งจะทําให้ข้อความกะทัดรัด เข้าใจง่าย และไม่เคอะเขิน เช่น เพลงนี้ถูกขอมามากในรายการ (ใช้สํานวนต่างประเทศ) จึงควรแก้ไขให้ ถูกต้องเป็น เพลงนี้มีผู้ขอมามากในรายการ (คําว่า “ถูก” ในภาษาไทยมักใช้ในความหมาย ที่ไม่น่ายินดี เช่น เขาถูกด่า เธอถูกไล่ออก)
113. “นักมวยฝ่ายแดงชกเข้าตากรรมการ” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 1
การใช้คําที่มีความหมายหลายอย่างจะต้องคํานึงถึงถ้อยคําแวดล้อมด้วยเพื่อให้เกิดความแจ่มชัด ไม่กํากวม เพราะคําชนิดนี้ต้องอาศัยถ้อยคําซึ่งแวดล้อมอยู่เป็น เครื่องช่วยกําหนดความหมาย เช่น นักมวยฝ่ายแดงชกเข้าตากรรมการ (ใช้คํากํากวม) จึงควรแก้ไขให้มีความหมายแน่ชัดลงไปเป็น นักมวยฝ่ายแดงชกคู่ต่อสู้ได้อย่างเข้าตากรรมการ (คําว่า “เข้าตา” = เห็นว่าดีและพอใจ)
114. “วันเพ็ญขึ้นสิบห้าค่ำ วันพระจันทร์เต็มดวง” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 2
การใช้คําฟุ่มเฟือยหรือการใช้คําที่ไม่จําเป็น จะทําให้คําโดยรวมไม่มีน้ำหนักและข้อความก็จะขาดความหนักแน่น ไม่กระชับรัดกุม เพราะเป็นคําที่ไม่มีความหมาย อะไร แม้ตัดออกไปก็ไม่ได้ทําให้ความหมายของข้อความนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่กลับทําให้ดูรุงรัง ยิ่งขึ้น เช่น วันเพ็ญขึ้นสิบห้าค่ำ วันพระจันทร์เต็มดวง (ใช้คําฟุ่มเฟือย) จึงควรแก้ไขให้ถูกต้อง โดยใช้เพียง วันเพ็ญขึ้นสิบห้าค่ำ (คําว่า “วันเพ็ญ” = วันกลางเดือนนับตามจันทรคติ คือ วันที่พระจันทร์ขึ้นเต็มดวง)
115. ประโยคใดวางส่วนขยายผิดที่
(1) ข้อสอบวิชาภาษาไทยไม่ง่ายเหมือนที่ฉันคิดไว้เลย
(2) มหาวิทยาลัยรามคําแหงมีการเรียนการสอนแบบตลาดวิชา
(3) อาทิตย์หน้าฉันกับเพื่อน ๆ จะไปทัศนศึกษาที่จังหวัดเพชรบูรณ์
(4) กรรมการประจําตึกสอบแจ้งให้นักศึกษาทราบเรื่องกฎระเบียบในห้องสอบ
ตอบ 4
การเรียงลําดับประโยคให้ถูกที่ คือ การวางประธาน กริยา กรรม และส่วนขยายให้ตรงตามตําแหน่ง เพราะหากวางไม่ถูกที่จะทําให้ข้อความนั้นไม่ชัดเจน หรือมีความหมายไม่ตรงกับที่เราต้องการ เช่น กรรมการประจําตึกสอบแจ้งให้นักศึกษาทราบเรื่องกฎระเบียบในห้องสอบ (เรียงลําดับประโยคไม่ถูก หรือวางส่วนขยายผิดที่) จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น กรรมการประจําตึกสอบแจ้งเรื่องกฎระเบียบในห้องสอบให้นักศึกษาทราบ
116. “ข้าพเจ้าจะตั้งใจเรียนหนังสือ” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
(1) ใช้คําขยายไม่ถูกต้อง
(2) วางส่วนขยายผิดที่
(3) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(4) ใช้คําต่างศักดิ์กัน
ตอบ 4 หน้า 6 (54351) คําในภาษาไทยมีระดับไม่เท่ากัน หรือเรียกว่ามีศักดิ์ต่างกัน หมายถึง มีการแบ่งคําออกไปใช้ในที่สูงต่ำต่างกันตามความเหมาะสม เช่น ข้าพเจ้าจะตั้งใจเรียนหนังสือ (ใช้คําต่างศักดิ์กัน) จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น ฉันจะตั้งใจเรียนหนังสือ
117. ข้อใดใช้ภาษาเขียน
(1) เธอเป็นคนดีมาก ๆ
(2) ยังไงฉันก็จะรอเขาอยู่ที่นี่
(3) เขาเป็นเพื่อนของฉัน
(4) เมื่อไหร่เขาจะมาเสียที
ตอบ 3 ระดับของคําในภาษาไทยมีศักดิ์ต่างกัน เวลานําไปใช้ ก็ใช้ในที่ต่างกัน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาใช้คําให้เหมาะสม กล่าวคือ
1. คําที่ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ ได้แก่ คําที่ใช้ในภาษาแบบแผน หรือภาษาเขียนของทางราชการ เช่น เขาเป็นเพื่อนของฉัน ฯลฯ
2. คําที่ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ คําที่ใช้ในภาษาพูด หรือการเขียนจดหมายส่วนตัวถึงบุคคลที่สนิทสนมกัน เช่น ยังไงฉันก็จะรอเขาอยู่ที่นี่, เมื่อไหร่เขาจะมาเสียที ฯลฯ ซึ่งใน บางครั้งก็มักจะใช้คําซ้ำ เช่น เธอเป็นคนดีมาก ๆ ฯลฯ หรือตัดคําให้สั้นลง เช่น มะม่วงสุกโลละกี่บาท, ฉันเรียนอยู่ที่คณะวิศวะ ฯลฯ
118. “ถนนในกรุงเทพฯ เต็มไปด้วยรถยนต์ส่วนตัว” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
(1) ใช้คําขยายไม่ถูกต้อง
(2) วางส่วนขยายผิดที่
(3) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(4) ใช้คําผิดความหมาย
ตอบ 3
(ดูคําอธิบายข้อ 112. ประกอบ) ข้อความที่ว่า ถนนในกรุงเทพฯ เต็มไปด้วยรถยนต์ส่วนตัว (ใช้สํานวนต่างประเทศ) จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น ถนนในกรุงเทพฯ มีรถยนต์ส่วนตัวเต็มไปหมดเป็นต้น
119. คําว่า “สร้างสระน้ำเป็นรูปสระโอ” คําที่ขีดเส้นใต้เป็นคําประเภทใด
(1) คําเหมือน
(2) คําพ้องรูป
(3) คําพ้องเสียง
(4) คําไวพจน์
ตอบ 2
คําพ้องรูป คือ คําที่เขียนเหมือนกัน แต่ความหมายและการออกเสียงจะต่างกันดังนั้นจึงต้องออกเสียงให้ถูกต้อง เพราะหากออกเสียงผิด ความหมายก็จะผิดไปด้วย เช่น คําว่า “สระ” คําแรก (อ่านว่า สะ) = แอ่งน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเองหรือคนขุด, “สระ” คําต่อมา (อ่านว่า สะหระ) = ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า เรียกว่า รูปสระ เป็นต้น
120. หน่วยงานใดเป็นผู้จัดทําพจนานุกรม
(1) สํานักนายกรัฐมนตรี
(2) ราชบัณฑิตยสภา
(3) ราชบัณฑิตยสถาน
(4) กระทรวงศึกษาธิการ
ตอบ 3
ราชบัณฑิตยสถาน เป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกรม เป็นหน่วยงานที่จัดทําพจนานุกรม ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมคําที่มีใช้อยู่ใน ภาษาไทย โดยจะให้ความรู้และกําหนดในเรื่องอักขรวิธี (บอกคําเขียน) การออกเสียงคําอ่าน (บอกคําอ่าน) และนิยามความหมาย (บอกความหมาย) ตลอดจนบอกประวัติของคําเท่าที่จําเป็น ซึ่งพจนานุกรมฉบับทางการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554