การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา THA 1003 การเตรียมเพื่อการพูดและการเขียน

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

Advertisement

1. เมื่อเป็นเด็ก ทุกคนต้องหัดพูด การพูดขั้นนี้เรียกว่า
(1) พูดเพื่อสื่อสาร
(2) พูดได้
(3) พูดเป็น
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
คนที่เกิดมาถ้าไม่เป็นใบ้ย่อมจะ “พูดได้” ทั้งนั้น โดยสถิติทางการแพทย์บันทึกไว้ว่าเด็กจะเริ่มพูดได้ตั้งแต่อายุเพียง 10 เดือน และพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนอายุได้ 3 ขวบจึงจะสามารถพูดเป็นประโยคได้ดี รู้จักพูดคุย ซักถาม หรือโต้ตอบได้

2. คําว่า “ศาสตร์ในการพูด” หมายถึง
(1) ศาสตร์และศิลป์ในการพูด
(2) การพูดต้องมีวัตถุประสงค์ที่แน่ชัด
(3) การฝึกฝนตามทฤษฎีการพูด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3
การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ในส่วนที่เป็นศาสตร์ หมายถึง ต้องมีการศึกษาเล่าเรียน มีความมุมานะ หมั่นฝึกฝนตามทฤษฎีการพูดจนเกิดความชํานาญ และมีความมั่นใจ จนพูดได้คล่องแคล่ว ทั้งนี้จะต้องมีศิลป์ประกอบด้วย หมายถึง มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ใช้ถ้อยคํา น้ำเสียง กิริยามารยาทที่สอดคล้องเหมาะกับเวลาและโอกาส พูดด้วยความจริงใจ มีความรับผิดชอบต่อการพูดของตน มีวิจารณญาณที่ดี รู้จักใช้เหตุผล มีหลักฐานอ้างอิงและแสดงออกด้วยความเห็นที่ดี

3. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการพูด
(1) เพื่อการวางรากฐานระบอบประชาธิปไตย
(2) สร้างมนุษยสัมพันธ์
(3) พัฒนาบุคลิกภาพ
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4
วัตถุประสงค์ของการพูดมีอยู่ 5 ประการ คือ
1. เพื่อให้รู้จักการสื่อสารกันด้วยคําพูดที่ถูกต้องและเข้าใจตรงกัน 2. เพื่อเตรียมตัวเป็นผู้นําที่ดี 3. เพื่อวางรากฐานระบอบประชาธิปไตย 4. เพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์ 5. เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ

4. ถ้อยคําที่ว่า “พูดกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น” สอดคล้องกับเรื่องใดของการพูด (1) ความสําคัญของการพูด
(2) วัตถุประสงค์ของการพูด
(3) ถูกข้อ 1 และ 2
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3
(ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ) การพูดเป็นการสื่อสารของมนุษย์ที่มีความสําคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพเป็นอันมาก เพราะมนุษย์จะต้องใช้การพูดเพื่อการสื่อสารให้บุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าใจกันก่อน ถ้าสื่อสารกันได้ดี การกระทํากิจการงานต่าง ๆจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

5. คําพูดของชายหนุ่มต่อหญิงสาวที่ว่า “ผมเคยสัญญาไว้ตอนไหนว่าผมจะรักคุณไปตลอด” เกี่ยวข้องกับเรื่องใดในการพูด
(1) คุณสมบัติของผู้พูด
(2) การบิดเบือนเนื้อหาของการพูด
(3) ข้อจํากัดของการสื่อสารด้วยคําพูด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3
ข้อจํากัดของการสื่อสารด้วยคําพูดมีดังนี้ 1. ถูกจํากัดด้วยสภาพแวดล้อม เช่น เสียงรบกวน เวลาในการพูด ฯลฯ 2. ถ้าเรื่องที่พูดมีข้อความสลับซับซ้อน หรือมีข้อมูลที่จะนําเสนอมาก อาจทําให้ผู้ฟังเข้าใจได้ไม่หมดหรือไม่ดี 3. สารจากคําพูดอยู่ได้ไม่นาน ผู้ฟังไม่มีโอกาสฟังซ้ำ ทําให้หลงลืมจึงไม่อาจนํามาเป็นหลักฐานได้ 4. ถ้าผู้พูดเผอเรอ อาจมีโอกาสผิดพลาดในแง่ข้อเท็จจริง หรือเจตนาของผู้พูดที่ตั้งไว้

6. ข้อใดคือองค์ประกอบในการพูด
(1) ผู้พูด ผู้ฟัง สาร
(2) ผู้พูด ผู้ฟัง สาร สื่อ และสถานการณ์ในการพูด
(3) ผู้พูด ผู้ฟัง สื่อ และสถานการณ์ในการพูด
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2
องค์ประกอบของการพูดให้ประสบความสําเร็จมี 5 ประการ คือ 1. ผู้พูด 2. สาร 3. สื่อ 4. สถานการณ์การพูด 5. ผู้ฟัง

7. ข้อใดคือประเด็นในการวิเคราะห์ผู้ฟังอย่างครบถ้วน
(1) เพศ วัย จํานวน
(2) เพศ วัย จํานวน ทัศนคติ
(3) ไม่มีข้อถูก
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 สิ่งที่ผู้พูดควรพิจารณาในการวิเคราะห์ผู้ฟังมีดังนี้
1. ลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ วัย, เพศ และจํานวนผู้ฟัง
2. ลักษณะทางจิตวิทยา ได้แก่ ทัศนคติ ความเชื่อ และคุณค่าที่ผู้ฟังยึดถือ, ความต้องการพื้นฐานของผู้ฟัง, พื้นความรู้และประสบการณ์ของผู้ฟัง, ฐานะอาชีพของผู้ฟัง, เชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม, สถานภาพการสมรส, กลุ่มอาชีพและกลุ่มสังคมของผู้ฟัง

8. จํานวนผู้ฟังเท่าไหร่ที่จําเป็นต้องพูดแบบเป็นทางการ
(1) 15 คนขึ้นไป
(2) 50 คนขึ้นไป
(3) 30 คนขึ้นไป
(4) แล้วแต่ลักษณะผู้ฟัง
ตอบ 2
การทราบจํานวนผู้ฟังจะทําให้ผู้พูดเตรียมวิธีพูดหรือการนําเสนอ ภาษาที่ใช้และอุปกรณ์ประกอบการพูดไว้ล่วงหน้าได้ คือ 1. ถ้ามีผู้ฟังจํานวนมากตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป การเตรียมวิธีพูดและภาษาที่ใช้ต้องตรงตามรูปแบบที่เป็นทางการ การเตรียมคําขึ้นต้นต้องถูกต้องตามแบบแผน 2. ถ้ามีผู้ฟังจํานวนน้อยประมาณ 10 – 15 คน ผู้พูดจะต้องใช้วิธีพูดอย่างเป็นกันเองไม่ต้องรักษาบรรยากาศที่เป็นแบบทางการให้มากนัก

9. ข้อใดกล่าวคําทักทายได้ถูกต้องในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร
(1) เรียนท่านประธานสภาผู้แทนฯ และสมาชิกสภาผู้แทนฯ ที่เคารพ
(2) เรียนท่านประธานสภาผู้แทนฯ และสมาชิกสภาผู้แทนฯ
(3) ถูกข้อ 1 และ 2
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2
คําปฏิสันถารหรือการกล่าวทักทายผู้ฟังมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1. ชนิดที่เป็นพิธีการ จะไม่นิยมใช้คําที่แสดงความรู้สึกบ่นเข้ามา เช่น คําว่า เคารพ นับถือที่รัก ฯลฯ มักใช้ในงานที่เป็นทางการ งานรัฐพิธีและศาสนพิธีต่าง ๆ ได้แก่ งานวางศิลาฤกษ์งานแจกวุฒิบัตร คํากล่าวเปิดงาน การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ
2. ชนิดที่ไม่เป็นพิธีการ จะนิยมใช้คําที่แสดงความรู้สึกปนเข้ามาด้วย เพื่อแสดงความเป็นกันเองหรือความใกล้ชิดสนิทสนม มักใช้ในงานที่ไม่เป็นทางการมากนัก ได้แก่ งานวันเกิด การแสดงคอนเสิร์ต การรายงานหน้าชั้นเรียน การแสดงปาฐกถา ฯลฯ

10. การทําโครงเรื่องในการพูดคือ
(1) การคิดและเรียงประเด็นในการพูด
(2) การจัดทําประเด็นในการพูด
(3) การกําหนดจุดมุ่งหมายในการพูด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1
การทําโครงเรื่องในการพูด คือ การคิดและเรียงประเด็นในการพูด เป็นการจัดระเบียบของเรื่องโดยแสดงความสัมพันธ์ของความคิดหลักกับความคิดย่อย หรือหัวข้อใหญ่กับหัวข้อย่อย ให้ดําเนินไปตามลําดับขั้นตอน เพื่อให้การพูดดําเนินไปได้โดยสะดวก เป็นระเบียบเรียบร้อย เพราะเส้นทางเดินของการพูดก็คือ โครงเรื่องนั้นเอง

11. ข้อใดคือวิธีการฝึกพูด
(1) ฝึกพูดหน้ากระจก
(2) ฝึกโดยศึกษาจากตํารา
(3) ฝึกโดยใช้เครื่องบันทึกเสียง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
วิธีการฝึกพูดแบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ 1. ฝึกฝนด้วยตนเอง 2. ฝึกฝนโดยศึกษาจากตํารา 3. ฝึกโดยมีผู้แนะนํา

ข้อ 12. – 20. ถ้าข้อความนั้นถูกต้องให้เลือกข้อ 1 ถ้าไม่ถูกต้องให้เลือกข้อ 2
12. ซ้อมพูดโดยบันทึกเสียงและท่าทางไว้ดูตั้งแต่แรกเริ่มจะช่วยแก้ไขข้อบกพร่อง ตอบ 2
การฝึกซ้อมพูดโดยบันทึกเสียงและท่าทาง ควรใช้เมื่อได้ผ่านขั้นตอนการฝึกซ้อมอย่างอื่นมาแล้ว โดยควรแบ่งการฝึกซ้อมออกเป็นตอน ๆ และฝึกซ้อม แต่ละขั้นตอนจนจบ เมื่อบันทึกเรียบร้อยแล้วให้กรอกลับเพื่อเปิดหาจุดที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขหากพบว่ามีปัญหาเรื่องใดให้ฝึกพูดและบันทึกภาพกับเสียงใหม่ จนเกิดความชํานาญและมั่นใจ

13. ซ้อมพูดกับผู้เชี่ยวชาญคือวิธีการที่ดีที่สุด
ตอบ 1
การฝึกพูดโดยมีผู้แนะนํา คือ มีพี่เลี้ยง ครูอาจารย์ดี ๆ หรือมีผู้เชี่ยวชาญคอย แนะนําให้เป็นการส่วนตัว หรือจัดเป็นกลุ่ม มีการฝึกพูดกันเป็นประจํา หรือสมัครเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพูดจัดเป็นวิธีฝึกพูดที่ดีที่สุด ทําให้นักพูดมีความก้าวหน้า และเห็นผลเร็วที่สุด โดยเฉพาะเมื่อฝึกพูดครั้งแรก เพราะผู้แนะนําจะชี้แจงข้อบกพร่องและให้ข้อแนะนําวิธีพูดที่ถูกต้อง ซึ่งจะทําให้ทราบว่าผู้พูดยังบกพร่องในเรื่องใด และควรปรับปรุงแก้ไขตนเองในข้อใด

14. ฝึกเป็นคนหาความรู้อยู่เสมอไม่เกี่ยวกับการฝึกพูด
ตอบ 2
เพียรศักย์ ศรีทอง ได้ให้หลักปฏิบัติในการฝึกพูดไว้ดังนี้
1. ฝึกตนเองให้รู้จักแสวงหาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ 2. ฝึกการพูดให้เป็นสําเนียงภาษาพูด 3. ฝึกความเชื่อมั่นในตัวเอง 4. ฝึกตนให้เป็นคนมีความอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ 5. ฝึกการพัฒนาบุคลิกภาพในการพูด

15. การฝึกท่าทางเพื่อประกอบการพูด ต้องพยายามฝึกพูดในเรื่องขนาด ทิศทาง รูปร่าง
ตอบ 1
การฝึกท่าทางเพื่อประกอบการพูด นักพูดต้องรู้จักใช้ท่าทางให้เหมาะกับการพูดอย่าใช้ท่าทางประกอบเกินความจําเป็น โดยเฉพาะการใช้มือประกอบการพูดจะมีส่วนสําคัญ ในการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้พูดและผู้ฟัง เช่น การอธิบายรูปร่าง ทิศทาง ขนาด และจํานวน

16. เมื่อพูดถึงความยินดีปรีดาให้เบิกตากว้างเต็มที่
ตอบ 2
หลักเกณฑ์ในการฝึกใช้สายตามีดังนี้ 1. เมื่อพูดถึงความเหนื่อยหน่ายอ่อนเพลียให้หลับตาลงช้า ๆ 2. เมื่อพูดถึงเรื่องที่ควรพิจารณา หรือความเกลียดชัง ไม่ไว้วางใจ ให้หรี่ตา 3. เมื่อพูดถึงความยินดีปรีดา ให้เปิดตาและมีประกายยิ้มแย้มแจ่มใส 4. เมื่อพูดถึงความกลัว ประหลาดใจ ให้เบิกตากว้างเต็มที่ ฯลฯ

17. การนั่งพูดหากมีโต๊ะวางข้างหน้า ไม่ควรวางข้อศอกบนโต๊ะ เพราะไม่สุภาพ
ตอบ 2
การนั่งพูดให้นั่งลําตัวตรง อย่าปล่อยให้ท่อนแขนช่วงบนกดชิดลําตัวตลอดเวลาเพราะจะทําให้อึดอัดที่ทรวงอก ถ้ามีโต๊ะอยู่ด้านหน้าควรวางข้อศอกไว้บนโต๊ะ และอาจโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย

18. การตื่นเวทีทุกชนิดไม่มีประโยชน์ต่อการพูด
ตอบ 2
การตื่นเวทีมีประโยชน์ต่อการพูด คือ เป็นสัญชาตญาณทางธรรมชาติในการเตรียมพร้อมเพื่อเผชิญกับการท้าทายที่ไม่คุ้นเคย โดยเมื่อมีอาการของชีพจรเต้นเร็ว หรือเหงื่อซึมออกมา อย่าได้ตกใจ เพราะนั่นคือ การกระตุ้นของร่างกายเพื่อให้พร้อมที่จะมีปฏิกิริยาตอบสนอง

19. เกิดอาการสั่น พูดติดตะกุกตะกัก ปวดท้อง ลืมสิ่งที่จะพูด หรือพูดออกนอกลู่นอกทางไปเลย คือ การตื่นเวที่ประเภท Audience Fear
ตอบ 1
ระดับของการตื่นเวทีมี 3 ระดับ ได้แก่ 1. Audience Tension เป็นระดับที่ผู้พูดมีความรู้สึกเครียดและตื่นกลัวเพียงเล็กน้อย แต่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพูด 2. Audience Fear เป็นระดับที่ผู้พูดมีความหวาดกลัวตลอดเวลาที่พูด เกิดอาการสั่น พูดติด ตะกุกตะกัก ปวดท้อง ลืมสิ่งที่จะพูด หรือพูดออกนอกลู่นอกทาง ซึ่งนับเป็นอุปสรรคต่อการพูด 3. Audience Panic เป็นระดับที่ผู้พูดแสดงออกถึงความหวาดกลัวจนสุดจะระงับไว้ได้อาจถึงขั้นเป็นลม พูดไม่ออก คลื่นไส้ พูดไม่จบ ควบคุมระบบขับถ่ายไม่ได้

20. การใช้ภาษาท่าทางจะช่วยแก้ไขอาการตื่นเวทีของผู้พูด
ตอบ 1
การใช้ภาษาท่าทางจะช่วยแก้ไขอาการตื่นเวทีของผู้พูด หรือสามารถเอาชนะความประหม่าได้ เวลาพูดจึงควรมีการเคลื่อนไหวร่างกายบ้าง แต่ต้องไม่มากจนก่อให้เกิด ความรําคาญแก่ผู้ฟัง จงใช้ท่าทางไปตามธรรมชาติ และสิ่งที่ละเลยไม่ได้ก็คือ การยิ้ม ซึ่งนับเป็นการสร้างความอบอุ่นต่อการพูด ช่วยสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรและความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ฟัง

21. ข้อใดคือการพูดแบบไม่เป็นทางการ
(1) การสนทนาในรายการโทรทัศน์
(2) การทักทายผู้ฟัง
(3) การโทรศัพท์คุยกับลูกค้า
(4) การเล่าเรื่อง
ตอบ 4
การพูดแบบไม่เป็นทางการ เป็นการสื่อสารระหว่าง 2 คนขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 4 – 5 คน มักเป็นการพูดแบบตัวต่อตัว ไม่จํากัดเวลา สถานที่ โดยผู้พูดและผู้ฟังไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน เนื้อหาการพูดก็ไม่แน่นอนและไม่มีขอบเขต แต่เป็นการพูดที่ใช้กันมากที่สุด แบ่งออกเป็น 1. การทักทาย 2. การแนะนําตัว 3. การสนทนา 4. การเล่าเรื่อง 5. การพูดโทรศัพท์ 6. การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นการพูดที่ค่อนข้างเป็นทางการ เพราะจํากัดเวลา สถานที่ และบุคคล ที่พูดด้วย ซึ่งผู้พูดต้องมีการเตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้า)

22. ข้อใดคือการแนะนําตนเองได้ถูกต้องเมื่อพบปะกันเป็นครั้งแรก
(1) “ผมชื่อนายสมพล เกียรติแจ่ม ทํางานในทําเนียบรัฐบาล หน่วยงานที่เป็นหัวใจสําคัญครับ”
(2) “ผมชื่อนายสมพล เกียรติแจ่ม รับราชการอยู่ในกรุงเทพฯ ครับ”
(3) “ผมชื่อนายสมพล ทํางานสําคัญอยู่ในทําเนียบรัฐบาลครับ”
(4) “ผมชื่อนายสมพล เกียรติแจ่ม คนราชบุรี ตอนนี้รับราชการอยู่ในกรุงเทพฯ ครับ” ตอบ 2
การแนะนําตนเองเมื่อพบปะกันเป็นครั้งแรก ควรเริ่มด้วยอวัจนภาษาก่อน เช่น การแสดงสีหน้าท่าทางที่เป็นมิตร แล้วจึงแนะนําตัวด้วยการกล่าวชื่อของตนเองให้ชัดเจน อาจบอกนามสกุล สถานที่เรียน หรือสถานที่ทํางาน แต่ควรระวังว่าไม่ควรบอกตําแหน่งหน้าที่การงาน หรือสถานที่ทํางานที่จะทําให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกด้อย

23. หัวข้อใดต่อไปนี้ควรหลีกเลี่ยงที่สุดในการสนทนา
(1) “คุณว่านักข่าวกับรัฐบาลใครแย่กว่ากัน”
(2) “ได้ข่าวว่าสามีคุณไปมีภรรยาน้อยเหรอ”
(3) “ศาสนาที่คุณนับถือ เขาสอนอะไรบ้าง”
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 เรื่องที่จะนํามาสนทนากัน ควรเป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน เป็นเรื่องที่เหมาะกับกาลเทศะและเหตุการณ์ ไม่ใช่เรื่องที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง เช่น เรื่องการเมือง ศาสนา เรื่องส่วนตัวของทั้ง 2 ฝ่าย เรื่องนินทาผู้อื่น เรื่องโอ้อวดตน ฯลฯ โดยเวลาสนทนาควรใช้ภาษาที่สุภาพ มีมารยาทดี ไม่พูดเสียคนเดียว มีกิริยาสุภาพอ่อนโยน

24. ข้อใดคือลักษณะสําคัญของการประชุมประเภท “สัมมนา”
(1) มีการแบ่งกลุ่มเพื่อพิจารณาปัญหาหรือนโยบาย
(2) มีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้
(3) มีการพิมพ์สรุปผลการสัมมนาไปปฏิบัติต่อไป
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4
การสัมมนา (Seminar) เป็นการประชุมที่นิยมใช้ในหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ มากที่สุดในปัจจุบัน มีลักษณะสําคัญดังนี้ 1. เป็นการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเพื่อนําไปสู่การตัดสินใจ หรือกําหนดนโยบายและแนวทางการทํางาน ” 2. การประชุมจะรวมสมาชิกที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 3. มีวิทยากรหรือผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยายหรืออภิปรายให้ความรู้ มีการซักถามปัญหา และแบ่งกลุ่มเพื่อพิจารณาปัญหาหรือนโยบาย
4. มีการพิมพ์สรุปผลการสัมมนาไว้เป็นหลักฐาน เพื่อนําผลการประชุมไปใช้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป

25. การอภิปราย คือ
(1) นายแสวงและพรรคพวกไม่เกิน 20 คน พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน (2) นายบรรหารและนายสนั่นอภิปรายปัญหาการเมืองในรายการโทรทัศน์
(3) ถูกข้อ 1 และ 2
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1
การอภิปราย คือ การพูดแสดงความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ของบุคคลกลุ่มหนึ่งตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อปรึกษาหารือกันและแสดงความคิดเห็น เพื่อแก้ปัญหา ที่มีอยู่ หรือเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดในเรื่องที่กําหนดให้ ดังนั้นความหมายของการอภิปรายที่ครอบคลุมเนื้อหาสาระมากที่สุดน่าจะเป็น “กระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และข่าวสารของบุคคลจํานวนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือมากกว่านั้น”

26. การพูดแบบใดเหมาะกับการนําเสนอความคิดของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้ประชาชนทั่วไปได้รับฟัง
(1) การอภิปราย
(2) การปาฐกถา
(3) การกล่าวสุนทรพจน์
(4) การบรรยาย
ตอบ 2
การพูดแบบปาฐกถา คือ การพูดที่บุคคลคนเดียวแสดงถึงความรู้ความคิดเห็นของตนเองให้ผู้ฟังจํานวนมาก เป็นการพูดแบบบรรยาย หรืออธิบายขยายความให้ผู้ฟังได้เข้าใจ เรื่องที่พูดอย่างแจ่มแจ้ง โดยอาจเป็นการพูดเกี่ยวกับวิชาการหรือเป็นความรู้ทั่ว ๆ ไปก็ได้ ดังนั้นผู้พูดจึงต้องมีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่พูดอย่างเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

27. ข้อใดอนุโลมให้ใช้วิธีการพูดโดยอ่านจากต้นร่างหรือต้นฉบับ
(1) การให้โอวาท
(2) การอภิปราย
(3) การโต้วาที
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1
การพูดโดยอาศัยอ่านจากร่างหรือต้นฉบับ คือ การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับที่เตรียมไว้ล่วงหน้าแล้วอย่างดี ส่วนมากจะเป็นการพูดที่เป็นพิธีการสําคัญต่าง ๆ เช่น การกล่าวเปิดงาน การกล่าวรายงาน การกล่าวเปิดประชุม การกล่าวรายงานการประชุม การกล่าวสดุดี การปราศรัย การให้โอวาท การกล่าวสุนทรพจน์ของบุคคลสําคัญ คําแถลงหรือประกาศต่าง ๆ ของทางราชการ ฯลฯ

28. วิธีการพูดโดยท่องจําจากต้นร่าง ควรใช้เวลาในการพูดนานเท่าไร
(1) 5 – 10 นาที
(2) 10 – 15 นาที
(3) 3 – 4 นาที
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3
การพูดแบบท่องจําจากต้นร่าง ผู้พูดจะต้องจดจําเนื้อความที่จะพูดอย่างแม่นยํา และต้องมีเวลาในการเตรียมตัว ควรใช้เฉพาะในโอกาสพิเศษหรือ พิธีการที่สําคัญ และควรพูดสั้น ๆ เพียง 3 – 4 นาที โดยมีข้อควรปฏิบัติดังนี้ 1. มีเวลาเตรียมเพียงพอ 2. ใช้วิธีจดจําตามลําดับ เช่น จําจากหัวข้อสําคัญไปหาหัวข้อย่อย 3. ควรทําด้วยความเต็มใจ ไม่ฝืนตัวเอง 4. เวลาพูด พูดอย่างเป็นธรรมชาติ มีชีวิตชีวา

ข้อ 29. – 30. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การพูดแบบจูงใจ
(2) การพูดแบบให้ความบันเทิง
(3) การพูดแบบบอกเล่าหรือบรรยาย
(4) ถูกทุกข้อ

29. การพูดในที่สาธารณะแบบใดที่ใช้หลักจิตวิทยามากที่สุด
ตอบ 1
การพูดแบบจูงใจหรือชักชวน จะมีเนื้อหาที่ชักชวนให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกคล้อยตาม เป็นลักษณะการโน้มน้าว เกลี้ยกล่อม จูงใจ ปลุกเร้าให้ผู้ฟังเชื่อถือและปฏิบัติตาม ดังนั้นจึงเป็นการพูดที่ต้องใช้หลักจิตวิทยาในการพูดมากที่สุด เพื่อที่จะเร้าอารมณ์และต้องการการสนองตอบจากผู้ฟังให้ได้มากที่สุดด้วย เช่น การโฆษณาชักชวนให้ซื้อสินค้า การหาเสียงการชักชวนให้ร่วมกิจกรรม การปลุกเร้าปฏิกิริยามวลชน ฯลฯ

30. การพูดในที่สาธารณะแบบใดไม่ควรใช้เวลานานในการพูด
ตอบ 2
หลักการพูดแบบให้ความบันเทิงมีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ผู้พูดควรจํากัดเวลาในการพูด เพราะถ้าพูดนานจะทําให้ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่าย โดยถ้ามีผู้พูดหลายคน แต่ละคนไม่ควรพูดเกิน 10 นาที แต่ถ้าพูดคนเดียวก็อาจใช้เวลาประมาณ 35 – 45 นาที
2. ผู้พูดต้องพูดให้ตรงเป้าหมายและพูดให้ได้เรื่องราวที่เหมาะสม 3. เรื่องที่พูดต้องเป็นเรื่องสนุกสนาน เบาสมอง และให้ความบันเทิงจริง ๆ แต่ถ้ามีเรื่องตลกขบขันแทรกก็ต้องเป็นเรื่องที่ไม่หยาบโลน

31. ในการสนทนากับผู้อื่น ควรปฏิบัติตามข้อใดมากที่สุด
(1) พูดด้วยความจริงใจ
(2) ชมเชยยกย่องคู่สนทนาบ่อย ๆ
(3) ยิ้มและหัวเราะอย่างอารมณ์ดีตลอดเวลา
(4) ใช้วาจาและท่าทางสงบเสงี่ยมเรียบร้อย
ตอบ 1
ในการสนทนากับผู้อื่น ผู้พูดควรพูดด้วยความจริงใจให้มากที่สุด โดยควรเป็นการพูดจากใจจริงให้มีประโยชน์และผู้ฟังพึงพอใจ ซึ่งต้องผสมผสานกันอย่างกลมกลืนทุกครั้งไม่ควรพูดเรื่องที่ไม่จริง เพราะแสดงถึงความไม่รับผิดชอบ และผู้ฟังก็จะไม่เชื่อถืออีกต่อไป

32. การพูดต่อหน้าผู้ฟังมีข้อดีอย่างไร
(1) ได้เห็นปฏิกิริยาของผู้ฟัง
(2) ผู้พูดมีชีวิตชีวามากกว่า
(3) ผู้พูดรู้สึกเป็นมิตรกับผู้ฟัง
(4) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 4
การพูดต่อหน้าผู้ฟังมีข้อดี คือ ผู้พูดจะมีชีวิตชีวามากกว่าเพราะกําลังพูดกับสิ่งมีชีวิตที่สามารถแสดงอาการโต้ตอบกลับมาได้ นอกจากนี้ผู้พูดยังสามารถมองเห็น ปฏิกิริยาโต้ตอบของผู้ฟังว่ามีความเข้าใจหรือไม่เข้าใจในเรื่องราวที่พูดมากน้อยเพียงใด แต่ก็อาจมีข้อเสีย คือ การได้เห็นปฏิกิริยาโต้ตอบของผู้ฟัง หรือการมีสายตาของผู้อื่นมาจับจ้องอยู่ อาจทําให้ผู้พูดเกิดความประหม่า เก้อเขิน หรือเกิดความรู้สึกเครียดเพราะต้องระมัดระวังกิริยาท่าทางและคําพูดของตนเองมากเกินไปจนไม่เป็นธรรมชาติ

33. การพูดจากความทรงจํามีข้อเสียหรือไม่อย่างไร
(1) ไม่มีข้อเสีย เพราะเป็นธรรมชาติ
(2) มีข้อเสีย เพราะอาจลําดับความคิดไม่ดี
(3) ไม่มีข้อเสีย เพราะมีข้อมูลสะสมไว้มาก
(4) มีข้อเสีย เพราะผู้พูดมักไม่เตรียมตัว
ตอบ 2
การพูดจากความทรงจํา ถือเป็นการพูดจากใจและจากความรู้สึกที่แท้จริงของผู้พูด จึงเป็นวิธีการพูดที่ดีที่สุด นิยมมากที่สุด และเหมาะสมที่สุดกับการพูดในทุกโอกาส แต่ก็มีข้อเสีย คือ หากผู้พูดใช้วิธีท่องจําสิ่งที่จะนํามาพูดก็จะทําให้การพูดน่าเบื่อหน่าย ผู้พูดมีลักษณะเหมือนหุ่นยนต์ ทั้งยังอาจจะลืมสิ่งที่เตรียมมาพูด จนทําให้การลําดับความคิดไม่ดีไม่สามารถเล่าออกมาให้ต่อเนื่องกันได้

34. การพูดที่มีถ้อยคําดี คือการใช้ถ้อยคําแบบใด
(1) เป็นความจริง
(2) เป็นประโยชน์
(3) มีความจริงใจ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4
การพูดที่มีถ้อยคําดี คือ การพูดที่ประกอบด้วยถ้อยคําที่เป็นความจริง ซึ่งเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นและสําคัญที่สุดของการพูด โดยควรเป็นถ้อยคําที่จริงใจหรือออกมาจากใจจริงและควรให้เป็นประโยชน์ต่อผู้พูดและผู้ฟัง นอกจากนี้ถ้อยคําที่พูดนี้ควรทําให้ผู้ฟังพึงพอใจด้วย

35. การพูดในข้อใดที่มีลักษณะเป็นการสื่อสารสองทาง
(1) การบรรยาย
(2) การเล่าเรื่อง
(3) การประชุม
(4) การโฆษณา
ตอบ 3
การประชุม คือ การที่คนเรามาพบปะพูดคุยกันในลักษณะของการสื่อสารสองทางแบบเผชิญหน้า (Face to Face Communication) เพื่อที่จะแลกเปลี่ยน ข่าวสาร ความรู้ ข้อเท็จจริง และประสบการณ์ในการทํางาน และยังเป็นการช่วยในด้าน การตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ เช่น การวินิจฉัย ตัดสิน และแก้ปัญหา ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องของกลุ่ม มากกว่าปัจเจกบุคคล

36. นักพูดทุกคนควรมีทัศนคติข้อใด
(1) ความมั่นใจ
(2) การเข้าถึงจิตใจของผู้อื่น
(3) ความมีมนุษยสัมพันธ์
(4) ความอดทนอดกลั้น
ตอบ 1
ความมั่นใจ เป็นทัศนคติในทางบวกซึ่งเป็นสิ่งสําคัญที่สุดที่นักพูดทุกคนควรมีโดยนักพูดที่ดีจะต้องเด็ดเดี่ยว เชื่อมั่นในตนเอง สามารถเผชิญเหตุการณ์ได้ทุกอย่าง ควบคุมสติและแก้ไขสถานการณ์ได้ ไม่ท้อถอย ไม่ท้อแท้ มีความอดทน และตั้งสติได้มั่นคง

37. สิ่งใดที่มีผลต่อการพูดและนักพูดมากที่สุด
(1) การตอบกลับของผู้ฟัง
(2) อารมณ์ร่วมของผู้ฟัง
(3) บรรยากาศในการพูดและการฟัง
(4) ความสนุกสนานในการฟัง
ตอบ 1
ในระหว่างการพูด ปฏิกิริยาโต้ตอบหรือการตอบกลับของผู้ฟังนับว่ามีผลต่อการพูดและนักพูดมากที่สุด เพราะทําให้นักพูดทราบว่าการพูดของตนประสบความสําเร็จ มากน้อยเพียงไร เป็นแนวทางให้นักพูดได้มีโอกาสปรับปรุงการพูดของตนให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างอารมณ์ร่วมระหว่างนักพูดกับผู้ฟังอีกด้วย

38. ขณะที่พูด นักพูดสามารถใช้ตัวช่วยข้อใดช่วยให้ผู้ฟังสนใจฟังยิ่งขึ้น
(1) การทักทายเรียกชื่อผู้ฟัง
(2) การดึงผู้ฟังเข้ามาอยู่ในบรรยากาศเดียวกัน
(3) การใช้อารมณ์ขันแทรกในการพูด
(4) การเล่าประสบการณ์ของตนเพื่อคั่นเวลา
ตอบ 4
ในขณะที่พูด นักพูดควรพยายามหาตัวอย่างมาประกอบเรื่องที่พูด เพราะการยกตัวอย่างประกอบที่เข้ากับเรื่องพูดจะทําให้การพูดนั้นมีความน่าสนใจมากขึ้น และผู้ฟังก็จะกระตือรือร้นที่จะสนใจฟังยิ่งขึ้นไปด้วย โดยตัวอย่างที่ยกมาประกอบนั้นอาจทําได้ด้วยการเล่าประสบการณ์ของตนเพื่อคั่นเวลา หรือจากการฟังเรื่องราวต่าง ๆ ที่มีผู้พูดหรือเล่าให้ฟัง ฯลฯ

39. กฎเกณฑ์ของการตอบคําถาม เรียกว่าอย่างไร
(1) 4 Bs
(2) 4 BS
(3) 4 bs
(4) 4 bS
ตอบ 1 หน้า 241 กฎเกณฑ์ของการตอบคําถาม ซึ่งเรียกว่า 4 Bs มีดังนี้
1. มีความถูกต้อง (Be Accurate) 2. มีความสมบูรณ์ (Be Complete)
3. มีความสุภาพ (Be Polite) 4. มีความมั่นใจ (Be Confident)

40. การใช้ภาษาของผู้ฟัง หมายความว่าอย่างไร
(1) ถ้าไปพูดในท้องถิ่น ต้องใช้ภาษาถิ่น
(2) ต้องใช้ภาษาให้สอดคล้องกับพื้นฐานของผู้ฟัง
(3) ใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษาให้เหมาะสม
(4) ปรับบุคลิกภาพของตนให้เข้ากับบุคลิกภาพของผู้ฟัง
ตอบ 2
การใช้ภาษาของผู้ฟัง หมายถึง ผู้พูดต้องใช้ภาษาให้สอดคล้องกับพื้นฐานของผู้ฟัง โดยต้องศึกษาว่าผู้ฟังเป็นใคร เพื่อปรับความยากง่ายของถ้อยคําภาษาของตน ให้เข้ากับผู้ฟัง หรือเป็นภาษาของกลุ่มผู้ฟัง ไม่ใช้ศัพท์ยากเกินไป เพราะถ้าใช้ศัพท์ยากหรือใช้ภาษาที่ผู้ฟังไม่อาจเข้าใจ ก็จะทําให้การพูดนั้นไร้ประโยชน์

41. องค์ประกอบที่ทําให้เกิดวัฒนธรรมในการใช้ภาษาพูด มีอะไรบ้าง
(1) เพศ วัย
(2) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โอกาส และสถานที่
(3) อาชีพ และสถานภาพทางสังคม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4
การใช้ภาษาพูดของบุคคลจะแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่ทําให้เกิดวัฒนธรรมในการใช้ภาษาพูด ได้แก่ 1. เพศ ซึ่งทําให้การใช้ภาษาของบุคคลแตกต่างกันมากที่สุด และยังทําให้สามารถแยกการใช้ภาษาพูดของเพศหญิงและเพศชายได้ชัดเจน 2. วัยหรืออายุ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 4. โอกาสและสถานที่ 5. อาชีพ 6. สถานภาพทางสังคม 7. เนื้อหาในการพูด

42. ข้อใดเป็นการออกเสียงสูงต่ำเพี้ยนมากที่สุด
(1) ขอบคุณค่ะ สวัสดีค่ะ
(2) ขอบคุณคะ สวัสดีค่ะ
(3) ขอบคุณคะ สวัสดีคะ
(4) ขอบคุณนะคะ สวัสดีค่ะ
ตอบ 3
การออกเสียงที่ผิดแบบอีกอย่างหนึ่ง คือ เสียงสูงต่ำเพี้ยนไป โดยเสียงพูดของคนเราบางครั้งจะไม่ตรงกับภาษาเขียน และการพูดของคนบางคนก็จะผิดไปจากคนอื่น ๆ พอมาเขียนเป็นภาษาเขียน ก็เขียนตามเสียงที่ตนเองพูดจนชิน เช่น ดิฉัน ออกเสียงเพี้ยนเป็น ดิชั้น/เดี้ยน/ดั๊น, เร็ว ออกเสียงเพี้ยนเป็น เร้ว ริ้ว, หนังสือ ออกเสียงเพี้ยนเป็น นังสือ/นั้งสือ, สวัสดีค่ะ ออกเสียงเพี้ยนเป็น สวัสดีคะ, ขอบคุณค่ะ ออกเสียงเพี้ยนเป็น ขอบคุณคะ เป็นต้น

43. ข้อใดเป็นเสียงควบกล้ำที่ไม่ปรากฏในภาษาไทย
(1) ทร ใน ทรัสต์, บร ใน แบรนด์
(2) ฟล ใน แฟลต, ปร ใน ปรุ
(3) ดร ใน ดรัม, บล ใน บิล
(4) กร ใน กรัก, ตร ใน ตรอก
ตอบ 1
หน่วยเสียงควบกล้ำในภาษาไทย มีดังนี้
1. เสียง ร และ ล ควบกล้ำกับพยัญชนะ ก/ข/ค/ต/ป/ผ/พ เช่น กร — กรัก, ขร — ขริบ, ตร — ตรอก, ปร — ปรุ, พร — พรู ฯลฯ 2. เสียง ว ควบกล้ำกับพยัญชนะ ก/ข/ค เช่น กว — กวัก, ขว — ไขว้เขว, คว — ควาย ฯลฯ (ส่วนหน่วยเสียงควบกล้ำที่ไม่ปรากฏในภาษาไทย แต่เป็นเสียงควบกล้ำที่มาจากคําทับศัพท์ใน ภาษาอังกฤษ เช่น ดร — ดราฟต์ (Draft/ดรัมเมเยอร์ (Drum major), ทร — ทรัสต์ (Trust), บร — แบรนด์ (Brand), ฟล — แฟลต (Flat) ฯลฯ)

44. คําในข้อใดที่หากออกเสียงควบกล้ำผิด ผู้ฟังจะเข้าใจผิดไปเลย
(1) ขวนขวาย
(2) ข้างขวา
(3) ขวัญข้าว
(4) ขวาบเขวียว
ตอบ 2
คําว่า “ข้างขวา” หากออกเสียงควบกล้ำผิดเป็น “ข้างฝา” จะทําให้ผู้ฟังเข้าใจผิดไปเลย เพราะมีความหมายต่างกัน ซึ่งคําว่า “ข้างขวา” = ด้านที่ตรงข้าม กับซ้าย ส่วนคําว่า “ข้างฝา” = เครื่องกั้นด้านนอกหรือเครื่องกั้นแบ่งห้องของตัวเรือน เช่น ข้างฝาบ้าน ข้างฝาห้อง ฯลฯ

45. ข้อใดไม่มีความหมายแฝงว่า “เร็ว”
(1) พลิ้ว
(2) ปลิว
(3) ฉิว
(4) ลิ่ว
ตอบ 1
ความหมายแฝงที่บอกการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ได้แก่ ฉิว ปลิว ลิ่ว เช่น แล่นฉิว, เดินตัวปลิว, วิ่งตรงลิ่วเข้าไป เป็นต้น ส่วนคําว่า “พลิ้ว” = บิดเบี้ยว เช่น คมมีดพลิ้ว)

46. การประชุมที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือการประชุมแบบใด
(1) การอภิปราย
(2) การระดมสมอง
(3) การสัมมนา
(4) การแลกเปลี่ยนความรู้
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

47. การอภิปรายแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ 2 ประเภท คืออะไร
(1) การอภิปรายแบบแผงและการอภิปรายเป็นคณะ
(2) การอภิปรายกลุ่มและการอภิปรายในที่ประชุมชน
(3) การอภิปรายแบบคณะและการอภิปรายเดียว
(4) การอภิปรายแบบโต้วาที่และการอภิปรายแบบระดมสมอง
ตอบ 2
การอภิปรายแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ 2 ประเภท คือ 1. การอภิปรายกลุ่ม 2. การอภิปรายในที่ประชุมชน

48. มารยาทในการพูดที่ควรปฏิบัติมากที่สุด คือข้อใด
(1) พูดในสิ่งที่ตนสนใจ
(2) เป็นตัวของตัวเอง
(3) อดทนหนักแน่น
(4) มีอารมณ์ขัน
ตอบ 2
มารยาทในการพูดที่ควรปฏิบัติมากที่สุด คือ เป็นตัวของตัวเองเพราะการพูดที่ดีที่สุดนั้นต้องเป็นลักษณะการพูดที่เป็นตัวของเราเอง ซึ่งผู้พูดควรมีความมั่นใจ ในตัวเอง พยายามเป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุด อย่าเลียนแบบผู้อื่น หากเกิดความรู้สึกประทับใจในการพูดของผู้อื่นก็อาจนํามาปรับปรุงให้เข้ากับตนเองมากที่สุด และให้เป็นธรรมชาติ

49. ปัญหาในการใช้ภาษาพูดแบ่งเป็น 2 เรื่องใหญ่ ๆ คืออะไร
(1) การเรียบเรียงคําและประโยค
(2) การออกเสียงสูงต่ำและการใช้วรรณยุกต์
(3) การออกเสียงและการใช้ถ้อยคํา
(4) การพูดตามหลักการพูดและจูงใจผู้ฟัง
ตอบ 3
ปัญหาในการใช้ภาษาพูดแบ่งเป็นเรื่องใหญ่ ๆ 2 เรื่อง ดังนี้
1. การออกเสียง ซึ่งเป็นปัญหาที่สําคัญที่สุด และถือเป็นปัญหาใหญ่ในการพูดปัจจุบันโดยเฉพาะการออกเสียง ร ที่เป็นเสียงพยัญชนะต้นเป็นเสียง ล และออกเสียง รลว ที่เป็น เสียงควบกล้ำไม่ชัดเจน
2. การใช้ถ้อยคํา ซึ่งภาษาพูดที่ดีต้องเป็นถ้อยคําที่ชัดเจน สื่อความหมายได้ดี มีประสิทธิภาพถูกต้องและเหมาะสม

50. การใช้ภาษาท่าทางประกอบการพูดมีผลดีอย่างไร
(1) ดึงดูดผู้ฟัง
(2) ผู้พูดคลายความเครียด
(3) การพูดมีชีวิตชีวา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4
การใช้ท่าทางประกอบการพูดจะช่วยส่งเสริมให้การใช้ถ้อยคําพูดมีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น ทําให้การพูดมีชีวิตชีวาและช่วยดึงดูดใจผู้ฟัง นอกจากนี้ ยังช่วยทําให้ผู้พูดเกิดความมั่นใจ และสามารถลดความตึงเครียดทั้งของผู้พูดและผู้ฟัง แต่ผู้พูด ต้องระวังให้การใช้ท่าทางสอดคล้องกับความคิด คําพูดหรือเรื่องที่จะพูด และวิธีการถ่ายทอดโดยควรใช้ท่าทางให้พอดีและเป็นไปตามธรรมชาติ

ข้อ 51. – 55. ให้พิจารณาว่าข้อใดเป็น “วลีฆาตกร”

51.
(1) ของชิ้นนี้ราคาสูงไปหน่อยนะ
(2) จะซื้อหรือไม่ซื้อก็แล้วแต่เธอเถอะ
(3) โตจนแก่แล้วยังไม่รู้หรือคะ
(4) อุตส่าห์สอบเข้าได้แล้วทําไมถึงไม่เรียน
ตอบ 3
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท ได้เรียกการใช้ภาษาที่จะทําลายบรรยากาศอันดีในที่ประชุมและทําลายความคิดสร้างสรรค์ของผู้เข้าประชุมว่า “วลีฆาตกร” (Kitter Phrases) คือ ภาษาที่อาจทําให้เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบในทางปฏิปักษ์ เช่น เราไม่เคยทําแบบนี้มาก่อน,คุณคิดว่าเขาจะรับข้อเสนอของคุณหรือ ฯลฯ นอกจากนี้วลีฆาตกรยังสามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจําวัน หากเป็นการใช้วาจาที่ก้าวร้าว ไม่สุภาพ จนก่อให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีระหว่าง ผู้พูดและผู้ฟัง เช่น โตจนแก่แล้วยังไม่รู้หรือคะ, หน้าอย่างเธอเนี่ยนะ สอบชิงทุนได้, แหม!ลูกคุณกินนมอะไรคะ ตัวเล็กจัง, กินอะไรก็ไม่รู้ ฉันกินด้วยไม่ได้ ฯลฯ

52.
(1) สอบได้ที่หนึ่งอีกแล้วหรือนี่ เก่งจริง ๆ
(2) จะสอบชิงทุนไปอเมริกาหรือ เอาสิ พยายามหน่อยนะ
(3) หน้าอย่างเธอเนี่ยนะ สอบชิงทุนได้
(4) หน้าอย่างฉันคงเอาไปเสนอไม่ได้
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

53.
(1) แหม! ลูกคุณกินนมอะไรคะนี่ ตัวเล็กจัง
(2) ลูกคุณกินนมแม่หรือเปล่าคะ มีประโยชน์มากนะ
(3) ถ้าให้ลูกกินนมแม่ แม่ควรจะต้องใช้เวลาหยุดงานดูแล
(4) ลูกคุณกินนมวัวก็มีประโยชน์นะคะ ขอให้เป็นนมเถอะ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

54.
(1) คุณคิดว่าเขาจะรับข้อเสนอของคุณไหม
(2) คุณคิดว่าเขาจะรับข้อเสนอของคุณหรือของผม
(3) คุณคิดว่าเขาจะรับข้อเสนอของคุณหรือ
(4) คุณคิดว่าข้อเสนอของผมดีไหม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

55.
(1) กิน กินเข้าไปจะได้โตเร็ว ๆ
(2) กินอะไรก็ไม่รู้ ฉันกินด้วยไม่ได้
(3) ฉันกินกับเธอได้ไหม ฉันไม่มีตังค์
(4) ถ้าไม่กินก็ทิ้งไว้บนโต๊ะนั่นแหละ ฉันกินเอง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ 3

ข้อ 56. – 60, จงพิจารณาว่าคําหรือข้อความที่ขีดเส้นใต้ข้อใดใช้ถูก

56.
(1) ตํารวจสืบสวนคดีฆ่าหั่นศพได้เบาะแสแล้ว
(2) ผู้ร้ายสืบสวนหาคนที่เขาต้องการฆ่าพบแล้ว
(3) พอถูกสืบสวนเข้าหน่อยก็พูดไม่ออกเลยเชียว
(4) สืบสวนกันไปสืบสวนกันมาเสียเวลาจริง ๆ
ตอบ 1
คําว่า “สืบสวน” = แสวงหาข้อเท็จจริงซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจได้ปฏิบัติไปตามอํานาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะ ทราบรายละเอียดแห่งความผิด มักใช้ในกรณีที่ยังหาตัวผู้ต้องหาไม่ได้ เช่น ตํารวจสืบสวน คดีฆ่าหั่นศพได้เบาะแสแล้ว เป็นต้น

57.
(1) นักศึกษาสอบไล่ตกกระจุยกระจายเพราะข้อสอบยาก
(2) คนวิ่งแตกกระเจิดกระเจิงเมื่อได้ยินเสียงปืน
(3) มีของกระจุกกระจุยมาขาย สนใจไหม
(4) อาหารกระจุบกระจิบอย่างนี้อย่ากินเข้าไปเลย
ตอบ 2
คําว่า “กระเจิดกระเจิง” = แตกหมู่เพ่นพ่านไป เตลิดไป เช่น คนวิ่งแตกกระเจิดกระเจิงเมื่อได้ยินเสียงปืน เป็นต้น ส่วนคําว่า “กระจุยกระจาย” = กระจาย ยุ่งเหยิง, “กระจุกกระจุย” = กระจายจากกันอย่างสับสนไม่เป็นระเบียบ, “จุบจิบ/ กระจุบกระจิบ” = การกินน้อย ๆ ไม่เป็นมื้อเป็นคราว กินพร่ำเพรื่อทีละเล็กทีละน้อย)

58.
(1) คนชราเดินกะโผลกกะเผลกเพราะขาเจ็บ
(2) เด็กมีท่าทางกระชุ่มกระชวยที่ได้กินขนม
(3) รถไฟวิ่งกระฉึกกระฉักไปตามราง
(4) ลมพัดกระโชกกระชากอย่างน่ากลัว
ตอบ 1
คําว่า “กะโผลกกะเผลก” = อาการเดินไม่ปรกติ คือ ยกขาข้างหนึ่งไม่ได้ระดับกับอีกข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการเดิน, อาการที่เดินไปด้วยความลําบาก เช่น คนชราเดิน กะโผลกกะเผลกเพราะขาเจ็บ เป็นต้น (ส่วนคําว่า “กระชุ่มกระชวย” = มีผิวพรรณสดใส คล่องแคล่ว และท่าทางกระปรี้กระเปร่า มักใช้กับผู้สูงอายุ, “กระฉึกกระฉัก” ไม่มีบัญญัติไว้ในพจนานุกรม, “กระโชกกระชาก” = อาการพูดอย่างตวาดหรือกระแทกเสียง)

59.
(1) เขาโมโหที่ถูกขัดใจ
(2) อย่าขัดขวางหมาบ้า มันจะกัดเอา
(3) จอมขัดเบาเพราะไม่สบาย
(4) เธอขัดบทของตํารวจได้ยังไง
ตอบ 1
คําว่า “ขัดใจ” = โกรธเพราะทําไม่ถูกใจ, ไม่ยอมให้ทําตามใจ เช่น เขาโมโหที่ถูกขัดใจ เป็นต้น ส่วนคําว่า “ขัดขวาง” = ทําให้ไม่สะดวก ทําให้ติดขัด เช่น ผู้ร้ายขัดขวาง การไล่ล่าของตํารวจ, “ขัดเบา” = ถ่ายปัสสาวะไม่ค่อยออก, “ขัดบท” = แทรกเข้ามาเมื่อเขาพูดยังไม่จบ ขัดคอ ขัดจังหวะ)

60.
(1) เอาผ้ามาขริบริมให้ทนทานและดูสวย
(2) มีดคมขริบอย่างนี้ น่ากลัวจริง ๆ
(3) ขนมปั้นขริบไส้ปลาอร่อยนะ
(4) ใช้กรรไกรขริบผมออกอีกหน่อยจะได้ดูดี
ตอบ 4
คําว่า “ขริบ” = ตัดเล็มด้วยกรรไกร เช่น ใช้กรรไกรขริบผมออกอีกหน่อยจะได้ดูดี เป็นต้น

61. การเตรียมเนื้อหาขั้นตอนใดที่ใช้เวลามากกว่าตอนที่พูดหรือเขียน
(1) การเขียนประโยคกล่าวนํา
(2) การเขียนย่อหน้า
(3) การเลือกหัวข้อเรื่อง
(4) การเขียนโครงเรื่อง
ตอบ 3
หน้า 1 การเลือกหัวข้อเรื่อง หมายถึง การพิจารณาเนื้อหาสาระของเรื่องว่ามีความเหมาะสมที่จะนํามากล่าวหรือไม่ โดยคํานึงถึงเนื้อหาหรือสาระสําคัญของเรื่องเป็นหลัก ดังนั้นการเตรียมเนื้อหาในขั้นตอนการเลือกหัวข้อเรื่องนี้บางครั้งต้องใช้เวลามากกว่าตอนที่ต้องพูดหรือเขียน เรื่องนั้นจริง ๆ เพราะจะต้องประมวลความรู้ความคิดที่เกี่ยวกับเนื้อหาของเรื่องนั้นให้เห็นแจ้งเสียก่อน จึงจะลงมือเขียนได้

62. นิสัยการอ่านในข้อใดที่แตกต่างไปจากข้ออื่น
(1) มีการบันทึกข้อความที่สําคัญ ๆ ไว้
(2) ทดสอบคุณค่าเรื่องที่อ่าน
(3) สร้างภาพพจน์ขึ้นในใจ
(4) ช่างสังเกตและค้นคว้า
ตอบ 4
นิสัยการอ่านที่ดีมีดังนี้ 1. มีนิสัยช่างถาม 2. มีนิสัยสร้างภาพพจน์ขึ้นในใจ 3. มีนิสัยต่อเติมใจความที่บกพร่อง 4. มีนิสัยบันทึกข้อความสําคัญไว้ 5. มีนิสัยทดสอบคุณค่าของเรื่องที่ตนอ่าน

63. ประโยคกล่าวนําคืออะไร
(1) ประโยคเกริ่นนํา
(2) ประโยคสังเขปความคิด
(3) ประโยคสรุป
(4) ประโยคใจความสําคัญ
ตอบ 2
ประโยคกล่าวนํา คือ ประโยคที่เจาะจงขมวดเนื้อหาของหัวข้อเรื่องนั้นเอาไว้ทั้งหมดโดยรวม ๆ อาจเรียกว่า ประโยคจํากัดขอบข่ายความคิด หรือประโยคสังเขปความคิด ซึ่งมีประโยชน์ดังนี้ 1. เพื่อเจาะจงขมวดเนื้อหาทั้งหมดในภาพรวม 2. เพื่อช่วยเลือกสรร เนื้อหาที่จะมาเขียนได้ถูกต้อง 3. เพื่อช่วยเตือนความคิดของผู้เขียนให้มั่นคง 4. เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เขียนเนื้อหาออกนอกเรื่อง

64. คําตอบในข้อใดของขั้นตอนการเขียนโครงเรื่องที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ
(1) ถ้อยคํา
(2) ประโยค
(3) ตัวเลข
(4) อักษรย่อ
ตอบ 1 หน้า 38 เมื่อจัดลําดับประเด็นและเขียนประโยคกล่าวนําเรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็เขียนเป็นตัวโครงเรื่องจริง ๆ คือ ใส่ตัวเลขหรืออักษรย่อกํากับหัวข้อให้ถูกต้อง ซึ่งในขั้นตอนการเขียนโครงเรื่องนี้จะต้องเอาใจใส่กับการใช้ถ้อยคําเป็นพิเศษ

65. ข้อใดไม่ใช่หลักการจัดหมวดหมู่ความคิด
(1) ความคล้ายคลึง
(2) ความแตกต่าง
(3) การถือเกณฑ์เป็นหลัก
(4) การใช้คํากลุ่มเดียวกัน
ตอบ 4
การจัดหมวดหมู่ความคิดต้องอาศัยความคล้ายคลึงและความแตกต่างเป็นหลักในการจัด และต้องมีหลักสําคัญอีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ถือเอาเกณฑ์ของอะไรเป็นหลักในการจัดแต่ละครั้ง คือ ถ้าสิ่งนั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงหรือเหมือนกันตามเกณฑ์นั้นก็อยู่ในพวกเดียวกันแต่ถ้ามีลักษณะแตกต่างออกไปตามเกณฑ์นั้นก็จัดว่าอยู่คนละพวกหรือคนละประเภท

66. ถ้านักศึกษาจะต้องทํารายงาน 1 ฉบับ นักศึกษาจะใช้หลักการเขียนโครงเรื่องแบบใด
(1) โครงเรื่องแบบประโยค
(2) โครงเรื่องแบบหัวข้อ
(3) โครงเรื่องแบบไม่มีพิธีรีตอง
(4โครงเรื่องแบบย่อหน้า
ตอบ 1
โครงเรื่องแบบประโยค จะเขียนด้วยข้อความที่เป็นประโยคสมบูรณ์และชัดเจน มีเลขหรืออักษรย่อกํากับทุกประโยคที่เป็นประเด็นของเรื่องนั้น จึงเป็นโครงเรื่องที่บอกขอบข่ายและรายละเอียดของแต่ละประเด็นไว้ครบถ้วน ง่ายต่อการนําไปเขียนขยายเป็นย่อหน้าหรือเนื้อความ จึงเหมาะสําหรับผู้เริ่มหัดเขียน และมักใช้กับเรื่องที่มีรายละเอียดมากซึ่งต้องใช้เวลานานในการศึกษาค้นคว้า เช่น การทํารายงานทางวิชาการ การวิจัย ฯลฯ

ข้อ 67. – 70. จงพิจารณาว่าเป็นการขยายความแบบใด

(1) ขยายความตามเวลา
(2) ขยายความตามสถานที่และทิศทาง
(3) ขยายความส่วนรวมไปหาส่วนย่อย
(4) ขยายความหมวดหมู่

67. การพรรณนาลักษณะบุคคลที่สะดุดตาและบุคลิกอื่น ๆ
ตอบ 3
การขยายความจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย คือ พูดถึงส่วนรวมหรือส่วนใหญ่ที่เห็นได้ชัดเจนก่อน แล้วค่อย ๆ กล่าวถึงส่วนย่อย ๆ อันเป็นรายละเอียดของส่วนรวมนั้นตามลําดับ เช่น การพรรณนาลักษณะบุคคลก็พูดถึงบุคลิกที่สะดุดตาก่อน แล้วจึงกล่าวถึงบุคลิกปลีกย่อยอื่น ๆ เป็นต้น

68. การกล่าวเนื้อหาเป็นประเภท ชนิด ตามเรื่องราวที่กล่าวถึง
ตอบ 4
การขยายความตามหมวดหมู่ คือ แยกแยะเนื้อหาออกเป็นพวก ๆ เป็นหมวดเป็นหมู่เป็นประเภท เป็นชนิด เป็นวิธี ฯลฯ ตามลักษณะของเรื่องราวที่กล่าวถึง

69. การกล่าวถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์โดยเรียงตามลําดับที่เกิดขึ้น
ตอบ 1
การขยายความตามเวลา คือ การกล่าวถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์โดยเรียงตามลําดับที่เกิดขึ้น หากเรื่องราวหรือเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อนก็กล่าวก่อน ส่วนเรื่องราวหรือเหตุการณ์ใด ที่เกิดขึ้นภายหลังก็กล่าวที่หลังเรียงกันตามลําดับ

70. การกล่าวสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวออกไปหาสิ่งที่อยู่ไกลตัว
ตอบ 2
การขยายความตามสถานที่และทิศทาง คือ การกล่าวจากเรื่องหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวออกไปหาสิ่งหรือเรื่องที่อยู่ไกลตัว จากข้างในไปข้างนอกหรือจากข้างนอกไปข้างใน จากสิ่งที่อยู่ข้างบนลงมาข้างล่างหรือจากข้างล่างขึ้นมาข้างบน จากซ้ายมือไปขวามือ จากทิศเหนือไปทิศใต้ และจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก

ข้อ 71 – 74. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้เติมคําในช่องว่าง
(1) แกะ
(2) แคะ
(3) แงะ
(4) คว้าน

71. นายดําไปซื้อทุเรียนที่พ่อค้าได้……….ไว้สําเร็จรูปแล้ว
ตอบ 3
คําว่า “แงะ” = งัดให้เผยอขึ้น เช่น นายดําไปซื้อทุเรียนที่พ่อค้าได้แงะไว้สําเร็จรูปแล้ว เป็นต้น

72. คุณแม่กําลัง……….เงาะเพื่อนําเงาะไปทําลอยแก้ว
ตอบ 4
คําว่า “คว้าน” = เอาสิ่งที่มีคมแหวะให้กว้าง, แขวะให้เป็นช่องเพื่อเอาส่วนข้างในออก เช่น คุณแม่กําลังคว้านเงาะเพื่อนําเงาะไปทําลอยแก้ว เป็นต้น
73. งานไม้ที่…………สลักเป็นลายเครือเถางดงามมาก
ตอบ 1
คําว่า “แกะ” = ทําเป็นลวดลายหรือรูปต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือโดยวิธีแกะ เช่น งานไม้ที่แกะสลักเป็นลายเครือเถางดงามมาก เป็นต้น

74. น้องนิดกําลัง……….ขนมครกออกจากเตาหลุม
ตอบ 2
คําว่า “แคะ” = ใช้เล็บหรือสิ่งมีปลายแหลมเป็นต้น ทําให้สิ่งที่ติดอยู่ข้างในหรือในซอก ในรูหลุดออกมา เช่น น้องนิดกําลังแคะขนมครกออกจากเตาหลุม เป็นต้น

ข้อ 75, – 90, ข้อความต่อไปนี้แบ่งออกเป็นข้อ ๆ จงอ่านให้เป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน แล้วพิจารณาว่าแต่ละข้อความเข้าลักษณะใด จากคําตอบข้างล่างนี้ ให้ระบายข้อที่เลือกในกระดาษคําตอบ

คําตอบ
– ถ้าข้อความนั้นเป็นประโยคใจความ ให้เลือกตอบข้อ 1
– ถ้าข้อความนั้นเป็นประโยคสนับสนุนหลัก ให้เลือกตอบข้อ 2
– ถ้าข้อความนั้นเป็นประโยคสนับสนุนรอง ให้เลือกตอบข้อ 3
– ถ้าข้อความนั้นทําให้เสียเนื้อความในย่อหน้า ให้เลือกตอบข้อ 4

(1) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสําคัญแก่ภาษาไทยมาก (2) แม้พระองค์เสด็จ พระราชสมภพที่ต่างประเทศ (3) พระองค์เกือบไม่ได้ทรงเรียนที่เมืองไทยเลย (4) ทรงศึกษาที่ต่างประเทศ ทั้งหมด (5) แต่พอเสด็จกลับมาถึง (6) ทรงนําความรู้และวัฒนธรรมตะวันตกตะวันออกผสมผสานเข้าหากัน (7) เชื่อมโยงกันอย่างเนียนสนิทที่สุด (8) โดยมีฐานเป็นไทยอยู่ตลอดเวลา (9) ลองสังเกตเวลาพระองค์ทรงมี พระราชดํารัสในวันที่ 4 ธันวาคมของทุกปีที่ศาลาดุสิดาลัย (10) พระองค์ตรัสคําภาษาอังกฤษน้อยมาก นอกจากทรงเจตนา (11) จําได้ว่าทรงกําชับให้ระวัง (12) ผู้ที่ชอบพูดภาษาอังกฤษคําหนึ่งไทยคําหนึ่ง (13) เพราะพูดไปเสร็จแล้วพอสื่อออกไปถึงอีกคนหนึ่ง (14) เขาฟังเขาอาจจะแปลอีกอย่างหนึ่งก็ได้ (15) พระองค์ทรงกําชับพวกเราถ้าพูดคําภาษาอังกฤษร่วมด้วยต้องแปลทันที (16) ทรงระมัดระวังเรื่องภาษามาก

(สุเมธ ตันติเวชกุล, “ครูแห่งแผ่นดิน” ใน ตามรอยพระยุคลบาท ครูแห่งแผ่นดิน, กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 15 – 16)

75. ข้อความหมายเลข (1)
(1) ข้อ ก
(2) ข้อ ข
(3) ข้อ ค
(4) ข้อ ง
ตอบ 1
(คําบรรยาย) ประโยคใจความหรือประโยคสําคัญ คือ ข้อความที่เป็นตอนนําซึ่งเป็นส่วนที่มีความหมายครอบคลุมข้อความทั้งหมดในย่อหน้า หรือเป็นส่วนที่มีความหมายเด่นชัดและมีน้ำหนักมากที่สุด โดยจะกล่าวถึงสาระสําคัญของเนื้อความในย่อหน้านั้นทั้งหมด หรือจํากัดขอบข่ายประเด็นที่จะพูดถึงในย่อหน้า ทั้งนี้ย่อหน้าข้างต้นเป็นแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ซึ่งมีประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนต้น

76. ข้อความหมายเลข (2)
(1) ข้อ ก
(2) ข้อ ข
(3) ข้อ ค
(4) ข้อ ง
ตอบ 4
ประเด็นความคิดที่อยู่นอกขอบข่ายเนื้อหา คือ รายการความคิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับประโยคใจความหรือประโยคสําคัญ ประโยคสนับสนุนหลักหรือประเด็นความคิดหลัก และประโยคสนับสนุนรองหรือประเด็นความคิดย่อย เพราะเมื่อปนเข้ามาก็จะทําให้เนื้อความของเรื่องหรือของย่อหน้านั้นเสียไป

77. ข้อความหมายเลข (3)
(1) ข้อ ก.
(2) ข้อ ข
(3) ข้อ ค
(4) ข้อ ง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

78. ข้อความหมายเลข (4)
(1) ข้อ ก
(2) ข้อ ข
(3) ข้อ ค
(4) ข้อ ง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

79. ข้อความหมายเลข (5)
(1) ข้อ ก
(2) ข้อ ข.
(3) ข้อ ค
(4) ข้อ ง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

80. ข้อความหมายเลข (6)
(1) ข้อ ก
(2) ข้อ ข
(3) ข้อ ค
(4) ข้อ ง
ตอบ 2
ประโยคสนับสนุนหลัก คือ ข้อความที่เป็นตอนอภิปราย หรือประเด็นความคิดหลัก ซึ่งจะทําหน้าที่นํารายละเอียดของเนื้อหาไปสนับสนุนหรือขยายประโยคใจความของย่อหน้า ดังนั้นการเขียนประโยคชนิดนี้จึงต้องวิเคราะห์ประโยคใจความ และจํากัดความคิดที่จําเป็นต้องนํามาสนับสนุนใจความในย่อหน้าเสียก่อน

81. ข้อความหมายเลข (7)
(1) ข้อ ก
(2) ข้อ ข
(3) ข้อ ค
(4) ข้อ ง
ตอบ 3
ประโยคสนับสนุนรอง คือ ข้อความที่เป็นตอนอภิปราย หรือความคิดย่อยในประเด็นความคิดหลัก ซึ่งจะให้รายละเอียดหรือขยายความในประเด็นความคิดหลักหรือประโยคสนับสนุนหลัก (ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ)

82. ข้อความหมายเลข (8)
(1) ข้อ ก
(2) ข้อ ข
(3) ข้อ ค
(4) ข้อ ง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

83. ข้อความหมายเลข (9)
(1) ข้อ ก
(2) ข้อ ข
(3) ข้อ ค
(4) ข้อ ง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

84. ข้อความหมายเลข (10)
(1) ข้อ ก
(2) ข้อ ข
(3) ข้อ ค
(4) ของ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ

85. ข้อความหมายเลข (11)
(1) ข้อ ก
(2) ข้อ ข
(3) ข้อ ค
(4) ข้อ ง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

86. ข้อความหมายเลข (12)
(1) ข้อ ก
(2) ข้อ ข
(3) ข้อ ค.
(4) ข้อ ง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

87. ข้อความหมายเลข (13)
(1) ข้อ ก
(2) ข้อ ข
(3) ข้อ ค
(4) ข้อ ง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

88. ข้อความหมายเลข (14)
(1) ข้อ ก
(2) ข้อ ข
(3) ข้อ ค
(4) ข้อ ง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

89. ข้อความหมายเลข (15)
(1) ข้อ ก
(2) ข้อ ข
(3) ข้อ ค
(4) ข้อ ง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

90. ข้อความหมายเลข (16)
(1) ข้อ ก
(2) ข้อ ข
(3) ข้อ ค
(4) ข้อ ง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

91. ข้อความในข้อใดต่อไปนี้มีจํานวน 8 คํา 10 พยางค์
(1) พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตําลึงทอง
(2) เราเลี้ยงสัตว์ไว้ใช้งานและเป็นอาหาร
(3) โรงงานผลิตผลไม้และอาหารปศุสัตว์
(4) ผู้ประกอบการต้องซื่อสัตย์
ตอบ 2
คํา คือ หน่วยเล็กที่สุดในภาษา ประกอบด้วย พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ซึ่งคําจะไม่จํากัดพยางค์ มีอย่างน้อยตั้งแต่ 1 พยางค์ขึ้นไป เช่น เราเลี้ยงสัตว์ไว้ใช้งานและ เป็นอาหาร (มี 8 คํา 10 พยางค์), พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตําลึงทอง (มี 9 คํา 10 พยางค์), โรงงานผลิตผลไม้และอาหารปศุสัตว์ (มี 6 คํา 13 พยางค์), ผู้ประกอบการต้องซื่อสัตย์ (มี 3 คํา 7 พยางค์) เป็นต้น

92. ข้อใดเป็นวลี
(1) ดอกไม้สีแดงสลับขาวแซมชมพู
(2) ดอกไม้เป็นทรัพยากรที่สําคัญ
(3) สมศรีเก็บดอกไม้ในสวน
(4) การอนุรักษ์ดอกไม้ธรรมชาติ
ตอบ 4
วลีหรือกลุ่มคํา คือ คําตั้งแต่ 2 คําขึ้นไปมาเรียงติดต่อกัน มีความหมายไปในทางเดียวกัน แต่ยังไม่สมบูรณ์เป็นประโยค เพราะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งในภาคประธานหรือ ภาคแสดง แต่ก็สามารถสื่อความหมายได้ และใช้ประกอบคําหรือกลุ่มคําอื่น ๆ จนกลายเป็นประโยค เช่น การอนุรักษ์ดอกไม้ธรรมชาติ เป็นต้น ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นประโยค)

93. ข้อใดเป็นประโยค
(1) แก้วบรรจุน้ำ
(2) ภาชนะจําพวกแก้ว
(3) แก้วใสสะอาดตา
(4) แก้วกลางดง
ตอบ 1
ประโยคที่สมบูรณ์ในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคประธานหรือผู้กระทํา และภาคแสดง (กริยา + กรรม) ซึ่งอาจมีโครงสร้างเป็นประโยค 2 ส่วน ได้แก่ ประธาน + กริยา (อาจมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น นักศึกษาทุกคนกําลังต่อแถวลงทะเบียน เรียน ฯลฯ หรือเป็นประโยค 3 ส่วน ได้แก่ ประธาน + กริยา + กรรม (อาจมีคําขยายหรือ ไม่มีก็ได้) เช่น แก้วบรรจุน้ำ (ประธาน + กริยา + กรรม), เราควรเลือกซื้อเครื่องตัดหญ้าขนาดพอเหมาะ (ประธาน + กริยา + กรรม + ส่วนขยายกรรม) ฯลฯ

94. ข้อใดต่อไปนี้ประกอบด้วย ประธาน กริยา กรรม ขยายกรรม
(1) เราควรเลือกซื้อเครื่องตัดหญ้าขนาดพอเหมาะ
(2) นักกีฬาทุกคนแจ้งรายละเอียดต่อคณะกรรมการ
(3) นายสมชายเรียกประชุมสมาชิกอย่างเร่งด่วน
(4) ครอบครัวนี้อบอวลด้วยมิตรภาพ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 93. ประกอบ

95. ข้อใดเป็นประโยค 2 ส่วน
(1) การผลิตไฟฟ้าต้องใช้พลังน้ำ
(2) หมู่บ้านนี้เต็มไปด้วยความสามัคคี
(3) นักศึกษาทุกคนกําลังต่อแถวลงทะเบียนเรียน
(4) ชายหนุ่มร่างผอมหลังโก่งใบหน้าเหี่ยวย่น
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 93. ประกอบ

96. ข้อใดมีความหมายโดยตรง
(1) เขาพูดจาภาษาดอกไม้
(2) ขอมอบดอกไม้ให้ด้วยใจเสน่หา
(3) ดอกไม้จากสรวงสวรรค์วรรณาวี
(4) เธอเป็นดอกไม้ประดับใจฉัน
ตอบ 2
ความหมายโดยตรง (Denotation) หมายถึง ความหมายเดิม ความหมายประจํา หรือความหมายกลาง ซึ่งเป็นความหมายตามปกติของคําที่เข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องทําการเปรียบเทียบ หรือดูข้อความแวดล้อมประกอบ ดังนั้นจึงเป็นความหมายตาม พจนานุกรมที่ทุกคนเข้าใจได้ตรงกัน เช่น คําว่า “ดอกไม้” = ส่วนหนึ่งของพรรณไม้ที่ผลิออกจากต้นหรือกิ่ง มีหน้าที่ทําให้เกิดผลและเมล็ดเพื่อสืบพันธุ์ มีเกสรและเรณูเป็นเครื่องสืบพันธุ์ เป็นต้น ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นความหมายโดยนัย)

97. คําในข้อใดไม่มีความหมายเชิงอุปมา
(1) ม้ามืด ม้าใช้ แกะดํา ขี้กบ
(2) แมวมอง กาฝาก นางพญา หน้าม้า
(3) ลูกหม้อ เทกระจาด ตกกระป๋อง แฉโพย
(4) มือมืด นกต่อ กระดูกแข็ง กระดูกขัดมัน
ตอบ 1 หน้า 258 ความหมายโดยนัย หมายถึง ความหมายที่เปลี่ยนไปจากความหมายเดิม โดยใช้นัยแห่งความเดิมมาเปลี่ยนความหมาย บางทีก็เรียกว่า “ความหมายเชิงอุปมา” คือ การนําคําที่ ใช้สําหรับสิ่งหนึ่งตามปกติ ไปใช้กับอีกสิ่งหนึ่งที่เห็นว่ามีลักษณะคล้ายกันหรือเข้ากันได้ เช่น ม้ามืด ม้าใช้ แกะดํา, แมวมอง กาฝาก นางพญา หน้าม้า, ลูกหม้อ เทกระจาด ตกกระป๋อง แฉโพย, มือมืด นกต่อ กระดูกแข็ง (ไม่ตายง่าย ๆ) กระดูกขัดมัน (ตระหนี่มาก) เป็นต้น
(ส่วนคําว่า “ขี้กบ” = เศษไม้ที่ออกมาด้วยการไสกบ เป็นความหมายโดยตรง)

98. ข้อใดใช้ภาษาต่างระดับจากข้ออื่น
(1) ปัญหาของวัยรุ่นเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลกําลังแก้ไขอยู่ในขณะนี้
(2) สารกันบูดเป็นสารเคมีประเภทหนึ่งที่นิยมนํามาใช้ในการถนอมอาหาร
(3) ธนาคารพาณิชย์ปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากลงมาอย่างต่อเนื่องและยังไม่มีทีท่าว่าจะสะดุดหยุดลง
(4) โครงการผู้นําเยาวชนเป็นโครงการนําร่องที่ดี สร้างระเบียบวินัยให้กลุ่มวัยรุ่นที่บาดหมางกันให้กลับมาปรองดองกัน
ตอบ 3
ประโยคดังกล่าวใช้ภาษาต่างระดับจากข้ออื่น ซึ่งข้ออื่นจะใช้ภาษาระดับแบบแผน คือ คําที่ใช้ในระดับทางการ ซึ่งเป็นคําที่เลือกสรรใช้ด้วยความประณีต มีความถูกต้องทั้งในด้านหลักภาษา ความชัดเจน และมารยาทในการใช้โดยสมบูรณ์ แต่ว่าประโยคในตัวเลือกข้อ 3 มีการใช้ระดับภาษาปากหรือภาษาพูดปะปน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากลงมาอย่างต่อเนื่องและยังไม่มีทีท่าว่าจะสะดุดหยุดลง

99. ข้อใดมีความหมายมากกว่าหนึ่งความหมายทุกคํา
(1) เจ้าบ้าน ลายคราม
(2) สับหลีก ตามน้ำ
(3) ขึ้นหม้อ ทอดเสียง
(4) หน้าบัน หน้าไม้
ตอบ 2
คําที่มีความหมายมากกว่าหนึ่งความหมายทุกคํา ได้แก่
1. สับหลีก = เปลี่ยนทางหลีกของรถไฟ, โดยปริยายหมายความว่าเปลี่ยนหรือกําหนดนัดไม่ให้ผู้มาหาตนพบกับอีกคนหนึ่ง (มักใช้ในทางชู้สาว)
2. ตามน้ำ = ไม่ทวนกระแสน้ำ, โดยปริยายหมายความว่าไม่ฝ่าฝืน ปล่อยให้เป็นไปตามนั้น (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคําที่มีเพียงความหมายเดียว ได้แก่ คําว่า “เจ้าบ้าน” = บุคคลผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน, “ทอดเสียง” = เอื้อนเสียงให้ยาวกว่าปรกติ, “หน้าบัน” = นิ้ว ใช้กับปราสาท โบสถ์ วิหาร)

100. คําที่ขีดเส้นใต้ในประโยคต่อไปนี้มีความหมายตรงกับข้อใด “นายพูดจี้เส้นดีจัง”
(1) ทําให้จักจี้
(2) ทําให้หวาดเสียว
(3) ทําให้ตื่นเต้น
(4) ทําให้ขบขัน
ตอบ 4
คําว่า “จี้เส้น” = พูดหรือแสดงท่าทางให้เกิดอารมณ์ขัน หรือทําให้ขบขัน

101. ข้อใดต่อไปนี้เป็นประโยคกรรม
(1) รถแล่นบนถนนอย่างรวดเร็ว
(2) จักรยานของฉันถูกขโมยไปแล้ว
(3) สมชายกําลังคิดถึงสมศรี
(4) สมศรีซื้อสินค้าราคาถูก
ตอบ 2
ประโยคกรรม คือ กรรมทําหน้าที่เป็นประธานในประโยค และมีกริยาวลี “ถูก” ตามหลังประธาน เช่น ฉันถูกครูตําหนิอีกแล้ว, จักรยานของฉันถูกขโมยไปแล้ว ฯลฯ หรือกรรมมีตําแหน่งอยู่หน้าประธานและกริยา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการเน้นกรรมมากกว่า เช่น เสื้อยืดตัวนี้ฉันซื้อไว้เอง ฯลฯ

102. ข้อใดเป็นประโยคกริยา
(1) เกิดพายุหมุนที่ใต้ต้นไม้ใกล้บ้านฉัน
(2เกิดเป็นคนจนต้องเจียมตัว
(3) เขาเกิดมาเป็นเด็กฉลาดที่สุดในครอบครัว
(4) เกิดเป็นพ่อของกําเนิดและเป็นลุงของกําแหง
ตอบ 1
ประโยคกริยา คือ ประโยคประธานที่มีคํากริยานําหน้า โดยคํากริยาที่นําหน้านั้นมักจะขึ้นต้นด้วยคําว่า “มี”, “เกิด”, “ปรากฏ” ฯลฯ เช่น มีข่าวแจ้งว่าอากาศจะเย็นมากกว่านี้ เกิดพายุหมุนที่ใต้ต้นไม้ใกล้บ้านฉัน, ปรากฏว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเป็นไปตามที่เราคาดหมาย คือ ฝ่ายค้านเป็นฝ่ายแพ้ เป็นต้น

103. ข้อใดเป็นประโยคการิต
(1) คุณพ่อบอกให้คุณแม่รีบกลับบ้านทันที
(2) จะถูกหรือผิดก็รู้อยู่แก่ใจของแต่ละบุคคล
(3) ฉันถูกลิดรอนสิทธิส่วนบุคคล
(4) คุณแม่ซื้อของมาในราคาถูก
ตอบ 1
ประโยคการิต คือ ประโยคประธานหรือประโยคกรรมซึ่งมีผู้รับใช้แทรกเข้ามา เรียกว่า การิตการก (เป็นทั้งผู้ถูกกระทําและผู้กระทํา) กล่าวคือ ในประโยคจะมีบุคคล 2 คน คนหนึ่งจะเป็นผู้สั่งหรือผู้ชี้แนะ (ผู้กระทํา) ในขณะที่อีกคนหนึ่งจะเป็นผู้รับใช้(ผู้ถูกกระทํา) เช่น คุณพ่อบอกให้คุณแม่รีบกลับบ้านทันที ฯลฯ

104. ข้อใดเป็นประโยคประธาน
(1) ขนมนี้กินอร่อยมาก
(2) พ่อรักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารัก
(3) เกิดอุบัติเหตุนอกเส้นทาง
(4) เขาถูกนายจ้างรังแกตั้งแต่เด็ก
ตอบ 2
ประโยคประธาน คือ ประโยคที่ประธานมักเป็นคํานามหรือสรรพนาม โดยประธานจะทําหน้าที่เป็นผู้กระทํา และวางอยู่หน้าประโยค เช่น พ่อรักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารัก, คุณแม่ซื้อของมา กางเกงในราคาถูก, สมชายกําลังคิดถึงสมศรี ฯลฯ

105. ข้อใดไม่ใช่ประโยคความรวม
(1) ฉันอยากให้ ส.ค.ส. แด่ครูแต่ฉันไม่มีเงิน
(2) ครั้นรถออกจากสถานีเขาจึงเดินทาง
(3) เขาสอบผ่านเพราะเขาขยัน
(4) นักศึกษาสาวคนสวยไปห้องสมุดทุกวัน
ตอบ 4
ประโยคความรวม (อเนกรรถประโยค) คือ ประโยคที่มีใจความสําคัญหลายใจความ เพราะเป็นประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียวเข้าด้วยกัน แล้วเชื่อมด้วยคําสันธาน ซึ่งประกอบด้วยคําต่อไปนี้
1. เนื้อความคล้อยตามกัน ได้แก่ แล้ว, และ, กับ, ถ้าก็, เมื่อก, พอก, ครั้นจึง ฯลฯ
2. เนื้อความขัดแย้งกัน ได้แก่ แต่, แต่ทว่า, ถึงก็, กว่าก็ ฯลฯ
3. เนื้อความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ หรือ, หรือไม่, หรือไม่เช่นนั้น,มิฉะนั้น ฯลฯ เราไม่ได้มาจากกา
4. เนื้อความเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน ได้แก่ เพราะ, จึง, ดังนั้น เพราะฉะนั้น เพราะฉะนั้นจึง รายงานการ เพราะ…จึง ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้อ 4 เป็นประโยคความเดียว)

106. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
(1) ความเมตตาของพระมหากษัตริย์ไทยและพระบรมวงศานุวงศ์ต่อพสกนิกร
(2) นักกีฬาทุกคนมีความพยายามอย่างยิ่งยวดในการต่อสู้ในครั้งนี้
(3) เขาเป็นนักศึกษาที่เก่งทั้งด้านกีฬาและการเรียน
(4) นักบริหารที่ขาดความมั่นใจในตัวเองย่อมประสบความสําเร็จได้ยาก
ตอบ 4
ประโยคความซ้อน หรือประโยคปรุงแต่ง (สังกรประโยค) หมายถึง ประโยคความเดียวที่มีประโยคย่อยเข้ามาแทรกอยู่ด้วย ซึ่งเมื่อแยกประโยคความซ้อนออกจากกันสองประโยคจะมีน้ำหนักไม่เท่ากัน กล่าวคือ ประโยคความเดียวที่เป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค) จะมีใจความสําคัญเพียงประโยคเดียว และมีประโยคย่อย (อนุประโยค) มาช่วยขยายความ เช่น นักบริหารที่ขาดความมั่นใจในตัวเองย่อมประสบความสําเร็จได้ยาก, สุนัขที่เห่ามาก ๆ มักไม่กัดคน, อาหารที่มีสีสวย ๆ อาจเป็นอันตรายได้, ฉันชอบบ้านที่ตั้งอยู่บนเนินเขา เป็นต้น (คําที่ขีดเส้นใต้เป็นประโยคย่อยทําหน้าที่ขยายนาม โดยมีคําว่า “ที่” เป็นคําเชื่อมแทนคํานามที่อยู่ข้างหน้า)

107. ข้อใดไม่ใช่ประโยคความซ้อน
(1) สุนัขที่เห่ามาก ๆ มักไม่กัดคน
(2) อาหารที่มีสีสวย ๆ อาจเป็นอันตรายได้
(3) ฉันชอบบ้านที่ตั้งอยู่บนเนินเขา
(4) ฉันนัดพบเพื่อนที่ตลาดสี่มุมเมือง
ตอบ 4
ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค) คือ ประโยคเล็ก ๆ หรือประโยคสามัญที่มีความหมายอย่างเดียว หรือมีความหมายเฉพาะอย่างหนึ่ง มักมีโครงสร้างประกอบด้วย ประธาน + กริยา (อาจมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) หรือประกอบด้วย ประธาน + กริยา + กรรม (อาจมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น ฉันนัดพบเพื่อนที่ตลาดสี่มุมเมือง เป็นต้น (คําว่า “ที่” ในประโยคข้างต้นเป็นคําบุรพบทบอกสถานที่ ไม่ใช่ประโยคย่อยที่ช่วยขยายนาม จึงเป็นประโยคความเดียว ไม่ใช่ประโยคความซ้อน) (ดูคําอธิบายข้อ 106. ประกอบ)

108. ข้อใดใช้คํามีความหมายชัดเจน
(1) สมชายไม่กินข้าวเย็น
(2) ปลามันมากจริง ๆ
(3) สมรักษ์ตัวสูงเกินไป
(4) รำถูกอย่างนี้ไม่มีปัญหา
ตอบ 3
ประโยคในตัวเลือกข้อ 3 ใช้คําที่มีความหมายชัดเจน ทําให้สื่อความหมายไม่กํากวม (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นควรใช้คําให้ชัดเจนและกระจ่าง เพื่อไม่ให้ตีความหมายได้ หลายทางจนอาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่ไขว้เขว โดยใช้ว่า สมชายไม่กินข้าวมื้อเย็น,ปลามันมีจํานวนมากจริง ๆ, ท่ารําถูกอย่างนี้ไม่มีปัญหา)

109. ข้อใดใช้คําไม่ถูกต้องตามความหมาย
(1) หล่อนน้ำตาคลอเบ้า เมื่อฟังเรื่องเศร้าสะเทือนใจ
(2) คุณยายโกนผมไฟหลานเมื่ออายุครบเดือน
(3) ที่บ้านคุณยายตอนเย็น ๆ จะได้ยินเสียงจิ้งหรีดเซ็งแซ่
(4) ท่านสามารถบริจาคเงินเท่าไหร่ก็ได้ ทางวัดไม่ได้กะเกณฑ์
ตอบ 4
ประโยคดังกล่าวใช้คําไม่ถูกต้องตามความหมาย หรือใช้คําผิดความหมายเพราะว่าคําบางคํามีความหมายคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกัน แต่ละคํามีความหมายโดยตรงที่ใช้ เฉพาะความหมายคํานั้น จึงควรใช้คําให้ถูกต้องตรงความหมาย โดยใช้ว่า ท่านสามารถบริจาคเงินเท่าไหร่ก็ได้ ทางวัดไม่ได้กําหนด (คําว่า “กําหนด” = หมายไว้ ตราไว้ ส่วนคําว่า “กะเกณฑ์” = บังคับ กําหนดเป็นเชิงบังคับ มักใช้กับการปฏิบัติงาน การร่วมมือกันทํางาน ไม่ใช่กับ การบริจาคเงิน)

ข้อ 110. – 112. คําใดเหมาะสมเติมในช่องว่างจากประโยคต่อไปนี้
110. “นายช่าง………..ให้คนงานทํางานให้เสร็จและส่งมอบงานในวันนี้”
(1) เร่งรัด
(2) เร่งรีบ
(3) เร่งเร้า
(4) เร่งมือ
ตอบ 1
คําว่า “เร่งรัด” = เร่งอย่างกวดขัน เช่น เร่งรัดลูกหนี้ให้ใช้เงินคืน, เร่งรัดให้ทํางานให้เสร็จวันนี้ ฯลฯ (ส่วนคําว่า “เร่งรีบ” = รีบด่วน, “เร่งเร้า” = รบเร้าให้รีบทํา รบเร้าให้ทําโดยเร็ว วิงวอนอย่าง เร่งร้อน, “เร่งมือ” = เร่งทําให้เร็วขึ้น)

111. เกิดอุบัติเหตุขึ้นทําให้รถบรรทุก………การจราจรและทําให้การเดินรถ………
(1) กีดขวาง ขัดข้อง
(2) ขัดขวาง ติดขัด
(3) กีดขวาง ติดขัด
(4) ขัดขวาง ขัดข้อง
ตอบ 3
คําว่า “กีดขวาง” = ขวางกั้นไว้ ขวางเกะกะ และคําว่า “ติดขัด” = ขัดข้อง (ส่วนคําว่า “ขัดข้อง” = ไม่ยอมให้ทํา ไม่ตกลงด้วย ติดขัด, “ขัดขวาง” = ทําให้ไม่สะดวก ทําให้ติดขัด)

112. สมศรี ……….. ชุดทํางานเก่าออกแล้วเอาชุดใหม่มาสวมเพื่อไปทํางานใน……… ที่สองของวันเสาร์
(1) ผัด ผลัด
(2) ผลัด ผัด
(3) ผัด ผัด
(4) ผลัด ผลัด
ตอบ 4
คําว่า “ผลัด” = เปลี่ยนแทนที่กัน เช่น ผลัดเสื้อผ้า ผลัดเวร ผลัดใบ ผลัดขน, ลักษณนามเรียกการผลัดเปลี่ยนเวรยาม เช่น เปลี่ยนเวรวันละ 2 ผลัด (ส่วนคําว่า “ผัด” = ย้ายไปย้ายมา ขอเลื่อนเวลาไป เช่น ผัดวันประกันพรุ่ง (ขอเลื่อนเวลาออกไปครั้งแล้วครั้งเล่า),ผัดผ่อน (ผัดพอให้ทุเลาหรือหย่อนคลายลง), ผัดเพี้ยน (ขอเลื่อนเวลาให้ผิดไป) เป็นต้น)

ข้อ 113. – 116. ประโยคใดมีข้อบกพร่องตรงกับตัวเลือกต่อไปนี้
(1) เรียงคําไม่เป็นสํานวนไทย
(2) เรียงคําขยายไม่ถูกตําแหน่ง
(3) เรียงคําไม่กระชับ
(4) เรียงคําไม่ครบโครงสร้างประโยค

113. สมชายนํากระเช้ามาแสดงความยินดีในการกลับมาจากต่างประเทศของเขา
ตอบ 1
ประโยคดังกล่าวเรียงคําไม่เป็นสํานวนไทย หรือใช้ประโยคที่เลียนแบบสํานวนต่างประเทศ (สํานวนพันทาง) จึงควรเรียงคําให้เป็นสํานวนไทย โดยใช้ว่า สมชายถือกระเช้ามายินดีที่เขากลับมาจากต่างประเทศ

114. มีผู้ใจบุญให้ทุนช่วยเหลือนักศึกษามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ยากจน
ตอบ 3
ประโยคดังกล่าวเรียงคําไม่กระชับ ใช้คําอย่างไม่ประหยัดหรือใช้คํา ฟุ่มเฟือย เพราะว่าคําบางคํามีความหมายสมบูรณ์ในตัวอยู่แล้ว จึงไม่จําเป็นต้องใช้คําขยายมา เพิ่มเติมอีก เนื่องจากจะทําให้ประโยคมีความยืดยาด ดังนั้นจึงควรใช้คําอย่างประหยัดเพื่อให้ กระชับ โดยใช้ว่า มีผู้ใจบุญให้ทุนช่วยเหลือนักศึกษาที่ยากจน (ตัด “มหาวิทยาลัยต่าง ๆ” ออกไป เพราะนักศึกษาก็คือ ผู้ที่ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย)

115. วันนี้อาจารย์สุภาวดีบรรยายให้ฟังวิชาภาษาไทย
ตอบ 2
ประโยคดังกล่าวเรียงคําขยายไม่ถูกตําแหน่ง เพราะตําแหน่งของคําขยายย่อมอยู่ใกล้กับคําที่ต้องการขยายความ จึงควรเรียงลําดับคําขยายให้ถูกตําแหน่ง โดยใช้ว่า วันนี้อาจารย์สุภาวดีบรรยายวิชาภาษาไทยให้ฟัง

116. การกินบะหมี่สําเร็จรูปนั้นง่ายมาก หลังจากเทบะหมี่ใส่ชามแล้วก็กดน้ำร้อนเทใส่
ตอบ 4
ประโยคดังกล่าวเรียงคําไม่ครบโครงสร้างประโยค ทําให้เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ เพราะมีแต่ภาคแสดงเพียงอย่างเดียว ไม่มีภาคประธานหรือ ผู้กระทํา จึงควรเรียงคําให้ครบโครงสร้างประโยค โดยใช้ว่า การกินบะหมี่สําเร็จรูปนั้นง่ายมากหลังจากเราเทบะหมี่ใส่ชามแล้วก็กดน้ำร้อนเทใส่

117. ข้อใดเป็นคําไวพจน์ของคําว่า สวรรค์
(1) ไตรทิพย์ อมร
(2) สุขาวดี ไตรทศาลัย
(3) สุราลัย สุรารักษ์
(4) สรวง สุร
ตอบ 2
การหลากคํา หรือเรียกว่า “คําไวพจน์” คือ คําที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันมาก ซึ่งจัดเป็นคําพ้องความหมาย เช่น คําว่า “ไตรทิพย์/สุขาวดี/ไตรทศาลัย/สุราลัย/สรวง” = สวรรค์ เป็นต้น ส่วนคําว่า “อมร/สุรารักษ์/ สุร” = เทวดา)

118. ข้อใดเป็นคํายืมมาจากภาษาจีนทุกคํา
(1) สุกียากี้ เต้าฮวย
(2) ลิ้นจี่ บะหมี่
(3) ก๋วยเตี๋ยว ปิ่นโต
(4) ซาลาเปา ส่วย
ตอบ 2
พจนานุกรมจะบอกที่มาหรือประวัติของคํา ทําให้ทราบว่าคํายืมนั้นมาจากชนชาติใด โดยจะใช้อักษรย่ออยู่ในวงเล็บ วางไว้หลังข้อความที่บอกความหมาย เช่น คํายืมที่มาจากภาษาจีน (จ.) ได้แก่ เต้าฮวย ลิ้นจี่ บะหมี่ ก๋วยเตี๋ยว ซาลาเปา

119. ข้อใดสะกดถูกทุกคํา
(1) ไสยาสน์ อสงไข
(2) ไถง สไบ
(3) อํามฤต ไมโครเวฟ
(4) ไหหลํา ไอศวรรค์
ตอบ 2 คําที่สะกดผิด ได้แก่ อสงไข ไมโคเวฟ ไอศวรรค์ ซึ่งที่ถูกต้องคือ อสงไขย ไมโครเวฟ ไอศวรรย์

120. คําว่า “กําสรด” ข้อใดอ่านถูกต้อง
(1) กํา-สุด
(2) กํา-สะ-หรด
(3) กํา-สะ-รด
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 1
คําว่า “กําสรด” อ่านถูกต้องว่า กํา-สด = สลด, แห้ง, เศร้า เช่น จักคอยเห็นข้าโหยหาแต่องคเอกา จะแสนกําสรดลําเค็ญ (สุธนู)

Advertisement